PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

สักวันฉันคงชรา...


การเดินทางครั้งสุดท้ายของหญิงชรา ซึ่งเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และ แท็กซี่ซึ่งมีน้ำใจอดทนรอคอย


มันเป็นเวลาเกือบจะหมดกะรถแท็กซี่ของผมแล้ว  แต่ผมก็รับคำสั่งที่ให้ไปรับผู้โดยสารรายหนึ่ง ทั้งๆ ที่ผมก็เหนื่อยล้ามาทั้งวันและใจก็คิดอยากกลับบ้านไปพักผ่อนเหลือเกิน

ผมขับแท็กซี่คู่ใจไปถึงที่อยู่ของผู้โดยสาร ที่โทรเรียกบริการ และบีบแตรรถส่งสัญญาณให้ผู้โดยสารทราบว่าผมมาถึงแล้ว สองสามนาทีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครออกมา ผมไม่รอช้ารีบบีบแตรซ้ำเพื่อเร่งผู้โดยสาร

ผมเกือบจะขับรถหนีไปโดยไม่รับผู้โดยสารที่ชักช้าคนนี้ เพราะไหนๆ นี่ก็เป็นเที่ยวโดยสารสุดท้ายก่อนหมดกะของผม แต่ผมกลับจอดรถ เดินลงไปที่ประตูบ้านและเคาะประตูเรียก “รอสักครู่นะคะ” มันเป็นเสียงสั่นเครือ ของหญิงชราในวัยที่เปราะบาง ผมแอบได้ยินเสียงอะไรบางอย่างถูกลากมากับพื้น

เสียงเงียบไปพักใหญ่ ประตูบานนั้นก็เปิดออก หญิงร่างเล็กวัยกว่า 90 ปียืนอยู่ตรงหน้าผม เธอสวมเสื้อลายพิมพ์สีสดและหมวกทรงกลมเล็กๆ มีผ้าลูกไม้บางๆ กลัดไว้ มองแล้วเหมือนใครสักคนที่เพิ่งหลุดออกมาจากภาพยนตร์ย้อนยุคเมื่อ 5 หรือ 60 ปีก่อน

ข้างตัวเธอมีกระเป๋าเดินทางที่กรุด้วยผ้าไนล่อนใบหนึ่ง  อพาร์ตเม้นท์ของเธอดูราวกับไม่มีใครอาศัยอยู่มาเป็นแรมปี เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดถูกคลุมไว้ด้วยผ้าใบ บนฝาผนังบ้านไม่มีนาฬิกาสักเรือน ไม่มีข้าวของหรือเครื่องครัวบนเค้าท์เตอร์ แต่ที่มุมห้องกลับมีกล่องกระดาษหลายใบที่มีภาพถ่ายเก่าและเครื่องแก้วบรรจุอยู่เต็ม
“พ่อหนุ่ม เธอจะช่วยยกกระเป๋าของฉันไปที่รถหน่อยได้ไหม?” หญิงชราถาม ผมยกกระเป๋าของเธอไปแล้วเดินกลับมาช่วยประคองเธอเดินไปขึ้นรถ หญิงชราจับมือของผมและเราทั้งสองก็เดินช้าๆ ไปที่ทางเท้า

เธอเฝ้าแต่กล่าวคำขอบคุณในความกรุณาของผม “มันไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โตเลยครับ”
ผมบอกเธอ... “ผมก็แค่ปฏิบัติกับผู้โดยสารของผมเหมือนกับที่ผมอยากจะให้ผู้คนปฏิบัติกับแม่ผมเท่านั้นเองครับ”

“โอ้ เธอช่างเป็นเด็กที่ดีจริงๆ” หญิงชราตอบ พอเราไปถึงที่รถแท็กซี่ เธอก็เอาที่อยู่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่เธอต้องการไปมาให้ผมและถามผมว่า “เธอจะช่วยขับรถผ่านเข้าไปกลางเมืองสักหน่อยได้ไหมจ๊ะ พ่อหนุ่ม”

“แต่นั่นไม่ใช่ทางที่สั้นที่สุดนะครับ” ผมรีบตอบ

“ไม่เป็นไรหรอก” เธอตอบ “ฉันไม่ได้รีบร้อนอะไร ฉันกำลังจะไปที่ hospice (สถานที่สำหรับดูแลคนคนป่วยซึ่งไม่สามารถรักษาได้แล้ว ในระยะสุดท้ายของชีวิต)

ผมแอบมองหน้าเธอทางกระจกมองหลัง ดวงตาหญิงชราเป็นประกาย “ฉันไม่มีญาติพี่น้องหรือครอบครัวเหลืออยู่แล้ว” เธอพูดต่อด้วยเสียงเบาบาง “หมอบอกว่าฉันคงอยู่ได้อีกไม่นานนัก”

ผมค่อยๆ เอื้อมมือไปปิดมิเตอร์ค่าแท็กซี่ทิ้ง

“คุณอยากให้ผมขับพาคุณไปตามถนนสายไหนหรือครับ” ผมถาม

ระยะเวลาสองชั่วโมงจากนั้น เรานั่งรถผ่านกลางเมือง เธอชี้ให้ผมดูอาคารที่ครั้งหนึ่งเธอเคยทำงานเป็นคนคุมลิฟต์ เราขับผ่านละแวกบ้านที่เธอและสามีเคยอยู่อาศัยเมื่อทั้งคู่พบรักและแต่งงานกันใหม่ๆ และเธอก็ขอให้ผมจอดรถสักครู่ ที่หน้าโกดังโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานลีลาศที่เธอเคยมาเต้นรำเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กสาว

บางครั้งเธอก็ขอให้ผมขับชลอรถลงช้าๆ เมื่อผ่านหน้าอาคารหรือมุมถนน และเธอจะนั่งนิ่งๆ มองผ่านหน้าต่างรถออกไปยังความมืดอันว่างเปล่า โดยไม่พูดอะไรเลยสักคำ

เมื่อแสงตะวันอ่อนแรงลงที่ตรงปลายฟ้า เธอก็พูดขึ้นทันทีว่า “ฉันเหนื่อยแล้วหล่ะ เราไปกันเถอะ”

เราขับรถเงียบๆ ไปยังจุดหมายปลายทางที่เธอให้ไว้กับผม มันเป็นอาคารเตี้ยๆ เหมือนศูนย์พักฟื้นทั่วๆ ไป มีช่องทางให้รถผ่านเข้าไปใต้หลังคาอาคารเพื่อส่งผู้โดยสาร

พนักงานบ้านพักคนชราสองคนออกมาต้อนรับเรา พวกเขาดูใส่ใจกับเธอมาก เฝ้าดูหญิงชราในทุกอริยบทอย่างไม่ละสายตา พวกเขาคงรอการมาถึงของเธออยู่ก่อนแล้ว

ผมเปิดท้ายรถและเอากระเป๋าเดินทางของเธอไปที่ประตู หญิงชราได้นั่งอยู่บนเก้าอี้รถเข็นแล้ว “ฉันค้างจ่ายค่ารถเธอเท่าไร” หญิงชราถามพร้อมๆ กับเอื้อมมือเปิดกระเป๋าสตางค์ของเธอ

“ไม่ต้องจ่ายอะไรเลยครับ” ผมตอบ

“แต่เธอก็ต้องอยู่ต้องกินนะ” หญิงชรากล่าว

“ผมยังมีผู้โดยสารรายอื่นๆ อีกครับ” ผมตอบ

โดยแทบไม่ได้คิดอะไรเลย ผมก้มตัวลงและกอดเธอไว้ในอ้อมแขน หญิงชรากอดผมไว้แน่น “เธอได้มอบเวลาแห่งความสุขเล็กๆ ให้กับคนแก่คนหนึ่ง”

เธอพูด “ขอบใจมากนะ”

ผมบีบมือเธอแน่นเป็นการร่ำลาและเดินกลับออกไป เสียงประตูถูกปิดลง มันเป็นเสียงปิดลงของชีวิตชีวิตหนึ่ง

ผมไม่ได้รับผู้โดยสารอื่นอีกเลยในกะนั้น ผมขับแท็กซี่ของผมไปอย่างไร้เป้าหมาย หลงล่องลอยอยู่ในความคิดของตัวเอง วันนั้นทั้งวันผมแทบพูดอะไรไม่ถูก

มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหญิงชราคนนั้นต้องพบกับคนขับรถแท็กซี่ขี้โมโห หรือคนขับที่คิดแต่จะส่งรถให้ทันกะ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าผมปฏิเสธที่จะรับงานนั้น เพราะมันเกือบจะหมดกะของผมเหมือนกัน หรือถ้าผมแค่กดแตรเรียกเพียงครั้งเดียว พอไม่มีใครขานตอบผมก็ขับหนีออกไปทันที 

ผมทบทวนเรื่องนี้ซ้ำไปซ้ำมา ผมคิดไม่ออกว่าผมเคยได้ทำอะไรที่สำคัญกว่านี้มาบ้างหรือเปล่าในชีวิต

เราถูกทำให้เชื่อว่าชีวิตของเราได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่

แต่บ่อยครั้งเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่ว่านั้น มันกลับมาปรากฏต่อหน้าเราอย่างที่เราไม่ทันตั้งตัว

และมาปรากฎตัวในรูปที่ถูกห่อไว้อย่างหมดจดงดงามโดยที่คนอื่นๆ อาจไม่คิดว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่อะไรเลย

แปลโดย:โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
(แก้ไขนิดหนึ่งตรงคำว่า Hospice ให้ตรงความหมายจริง)
อย่างไรก็ตามถ้าอ่านต้นฉบับได้ก็จะตรงและซึ้งกว่าครับ


A sweet lesson on patience. 

A NYC Taxi driver wrote:

I arrived at the address and honked the horn. After waiting a few minutes I honked again. Since this was going to be my last ride of my shift I thought about just driving away, but instead I put the car in park and walked up to the door and knocked.. 'Just a minute', answered a frail, elderly voice. I could hear something being dragged across the floor.

After a long pause, the door opened. A small woman in her 90's stood before me. She was wearing a print dress and a pillbox hat with a veil pinned on it, like somebody out of a 1940's movie.

By her side was a small nylon suitcase. The apartment looked as if no one had lived in it for years. All the furniture was covered with sheets.

There were no clocks on the walls, no knickknacks or utensils on the counters. In the corner was a cardboard
box filled with photos and glassware.

'Would you carry my bag out to the car?' she said. I took the suitcase to the cab, then returned to assist the woman.

She took my arm and we walked slowly toward the curb.

She kept thanking me for my kindness. 'It's nothing', I told her.. 'I just try to treat my passengers the way I would want my mother to be treated.'

'Oh, you're such a good boy, she said. When we got in the cab, she gave me an address and then asked, 'Could you drive
through downtown?'

'It's not the shortest way,' I answered quickly..

'Oh, I don't mind,' she said. 'I'm in no hurry. I'm on my way to a hospice.

I looked in the rear-view mirror. Her eyes were glistening. 'I don't have any family left,' she continued in a soft voice..'The doctor says I don't have very long.' I quietly reached over and shut off the meter.

'What route would you like me to take?' I asked.

For the next two hours, we drove through the city. She showed me the building where she had once worked as an elevator operator.

We drove through the neighborhood where she and her husband had lived when they were newlyweds She had me pull up in front of a furniture warehouse that had once been a ballroom where she had gone dancing as a girl.

Sometimes she'd ask me to slow in front of a particular building or corner and would sit staring into the darkness, saying nothing.

As the first hint of sun was creasing the horizon, she suddenly said, 'I'm tired.Let's go now'.
We drove in silence to the address she had given me. It was a low building, like a small convalescent home, with a driveway that passed under a portico.

Two orderlies came out to the cab as soon as we pulled up. They were solicitous and intent, watching her every move.
They must have been expecting her.

I opened the trunk and took the small suitcase to the door. The woman was already seated in a wheelchair.

'How much do I owe you?' She asked, reaching into her purse.

'Nothing,' I said

'You have to make a living,' she answered.

'There are other passengers,' I responded.

Almost without thinking, I bent and gave her a hug.She held onto me tightly.

'You gave an old woman a little moment of joy,' she said. 'Thank you.'

I squeezed her hand, and then walked into the dim morning light.. Behind me, a door shut.It was the sound of the closing of a life..

I didn't pick up any more passengers that shift. I drove aimlessly lost in thought. For the rest of that day,I could hardly talk.What if that woman had gotten an angry driver,or one who was impatient to end his shift? What if I had refused to take the run, or had honked once, then driven away?

On a quick review, I don't think that I have done anything more important in my life.

We're conditioned to think that our lives revolve around great moments.

But great moments often catch us unaware-beautifully wrapped in what others may consider a small one.
การเดินทางครั้งสุดท้ายของหญิงชรา ซึ่งเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และ แท็กซี่ซึ่งมีน้ำใจอดทนรอคอย


มันเป็นเวลาเกือบจะหมดกะรถแท็กซี่ของผมแล้ว แต่ผมก็รับคำสั่งที่ให้ไปรับผู้โดยสารรายหนึ่ง ทั้งๆ ที่ผมก็เหนื่อยล้ามาทั้งวันและใจก็คิดอยากกลับบ้านไปพักผ่อนเหลือเกิน

ผมขับแท็กซี่คู่ใจไปถึงที่อยู่ของผู้โดยสาร ที่โทรเรียกบริการ และบีบแตรรถส่งสัญญาณให้ผู้โดยสารทราบว่าผมมาถึงแล้ว สองสามนาทีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครออกมา ผมไม่รอช้ารีบบีบแตรซ้ำเพื่อเร่งผู้โดยสาร

ผมเกือบจะขับรถหนีไปโดยไม่รับผู้โดยสารที่ชักช้าคนนี้ เพราะไหนๆ นี่ก็เป็นเที่ยวโดยสารสุดท้ายก่อนหมดกะของผม แต่ผมกลับจอดรถ เดินลงไปที่ประตูบ้านและเคาะประตูเรียก “รอสักครู่นะคะ” มันเป็นเสียงสั่นเครือ ของหญิงชราในวัยที่เปราะบาง ผมแอบได้ยินเสียงอะไรบางอย่างถูกลากมากับพื้น

เสียงเงียบไปพักใหญ่ ประตูบานนั้นก็เปิดออก หญิงร่างเล็กวัยกว่า 90 ปียืนอยู่ตรงหน้าผม เธอสวมเสื้อลายพิมพ์สีสดและหมวกทรงกลมเล็กๆ มีผ้าลูกไม้บางๆ กลัดไว้ มองแล้วเหมือนใครสักคนที่เพิ่งหลุดออกมาจากภาพยนตร์ย้อนยุคเมื่อ 5 หรือ 60 ปีก่อน

ข้างตัวเธอมีกระเป๋าเดินทางที่กรุด้วยผ้าไนล่อนใบหนึ่ง อพาร์ตเม้นท์ของเธอดูราวกับไม่มีใครอาศัยอยู่มาเป็นแรมปี เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดถูกคลุมไว้ด้วยผ้าใบ บนฝาผนังบ้านไม่มีนาฬิกาสักเรือน ไม่มีข้าวของหรือเครื่องครัวบนเค้าท์เตอร์ แต่ที่มุมห้องกลับมีกล่องกระดาษหลายใบที่มีภาพถ่ายเก่าและเครื่องแก้วบรรจุอยู่เต็ม
“พ่อหนุ่ม เธอจะช่วยยกกระเป๋าของฉันไปที่รถหน่อยได้ไหม?” หญิงชราถาม ผมยกกระเป๋าของเธอไปแล้วเดินกลับมาช่วยประคองเธอเดินไปขึ้นรถ หญิงชราจับมือของผมและเราทั้งสองก็เดินช้าๆ ไปที่ทางเท้า

เธอเฝ้าแต่กล่าวคำขอบคุณในความกรุณาของผม “มันไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โตเลยครับ”
ผมบอกเธอ... “ผมก็แค่ปฏิบัติกับผู้โดยสารของผมเหมือนกับที่ผมอยากจะให้ผู้คนปฏิบัติกับแม่ผมเท่านั้นเองครับ

“โอ้ เธอช่างเป็นเด็กที่ดีจริงๆ” หญิงชราตอบ พอเราไปถึงที่รถแท็กซี่ เธอก็เอาที่อยู่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่เธอต้องการไปมาให้ผมและถามผมว่า “เธอจะช่วยขับรถผ่านเข้าไปกลางเมืองสักหน่อยได้ไหมจ๊ะ พ่อหนุ่ม”

“แต่นั่นไม่ใช่ทางที่สั้นที่สุดนะครับ” ผมรีบตอบ

“ไม่เป็นไรหรอก” เธอตอบ “ฉันไม่ได้รีบร้อนอะไร ฉันกำลังจะไปที่ hospice (สถานที่สำหรับดูแลคนคนป่วยซึ่งไม่สามารถรักษาได้แล้ว ในระยะสุดท้ายของชีวิต)

ผมแอบมองหน้าเธอทางกระจกมองหลัง ดวงตาหญิงชราเป็นประกาย “ฉันไม่มีญาติพี่น้องหรือครอบครัวเหลืออยู่แล้ว” เธอพูดต่อด้วยเสียงเบาบาง “หมอบอกว่าฉันคงอยู่ได้อีกไม่นานนัก”

ผมค่อยๆ เอื้อมมือไปปิดมิเตอร์ค่าแท็กซี่ทิ้ง

“คุณอยากให้ผมขับพาคุณไปตามถนนสายไหนหรือครับ” ผมถาม

ระยะเวลาสองชั่วโมงจากนั้น เรานั่งรถผ่านกลางเมือง เธอชี้ให้ผมดูอาคารที่ครั้งหนึ่งเธอเคยทำงานเป็นคนคุมลิฟต์ เราขับผ่านละแวกบ้านที่เธอและสามีเคยอยู่อาศัยเมื่อทั้งคู่พบรักและแต่งงานกันใหม่ๆ และเธอก็ขอให้ผมจอดรถสักครู่ ที่หน้าโกดังโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานลีลาศที่เธอเคยมาเต้นรำเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็กสาว

บางครั้งเธอก็ขอให้ผมขับชลอรถลงช้าๆ เมื่อผ่านหน้าอาคารหรือมุมถนน และเธอจะนั่งนิ่งๆ มองผ่านหน้าต่างรถออกไปยังความมืดอันว่างเปล่า โดยไม่พูดอะไรเลยสักคำ

เมื่อแสงตะวันอ่อนแรงลงที่ตรงปลายฟ้า เธอก็พูดขึ้นทันทีว่า “ฉันเหนื่อยแล้วหล่ะ เราไปกันเถอะ”

เราขับรถเงียบๆ ไปยังจุดหมายปลายทางที่เธอให้ไว้กับผม มันเป็นอาคารเตี้ยๆ เหมือนศูนย์พักฟื้นทั่วๆ ไป มีช่องทางให้รถผ่านเข้าไปใต้หลังคาอาคารเพื่อส่งผู้โดยสาร

พนักงานบ้านพักคนชราสองคนออกมาต้อนรับเรา พวกเขาดูใส่ใจกับเธอมาก เฝ้าดูหญิงชราในทุกอริยบทอย่างไม่ละสายตา พวกเขาคงรอการมาถึงของเธออยู่ก่อนแล้ว

ผมเปิดท้ายรถและเอากระเป๋าเดินทางของเธอไปที่ประตู หญิงชราได้นั่งอยู่บนเก้าอี้รถเข็นแล้ว “ฉันค้างจ่ายค่ารถเธอเท่าไร” หญิงชราถามพร้อมๆ กับเอื้อมมือเปิดกระเป๋าสตางค์ของเธอ

“ไม่ต้องจ่ายอะไรเลยครับ” ผมตอบ

“แต่เธอก็ต้องอยู่ต้องกินนะ” หญิงชรากล่าว

“ผมยังมีผู้โดยสารรายอื่นๆ อีกครับ” ผมตอบ

โดยแทบไม่ได้คิดอะไรเลย ผมก้มตัวลงและกอดเธอไว้ในอ้อมแขน หญิงชรากอดผมไว้แน่น “เธอได้มอบเวลาแห่งความสุขเล็กๆ ให้กับคนแก่คนหนึ่ง”

เธอพูด “ขอบใจมากนะ”

ผมบีบมือเธอแน่นเป็นการร่ำลาและเดินกลับออกไป เสียงประตูถูกปิดลง มันเป็นเสียงปิดลงของชีวิตชีวิตหนึ่ง

ผมไม่ได้รับผู้โดยสารอื่นอีกเลยในกะนั้น ผมขับแท็กซี่ของผมไปอย่างไร้เป้าหมาย หลงล่องลอยอยู่ในความคิดของตัวเอง วันนั้นทั้งวันผมแทบพูดอะไรไม่ถูก

มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหญิงชราคนนั้นต้องพบกับคนขับรถแท็กซี่ขี้โมโห หรือคนขับที่คิดแต่จะส่งรถให้ทันกะ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าผมปฏิเสธที่จะรับงานนั้น เพราะมันเกือบจะหมดกะของผมเหมือนกัน หรือถ้าผมแค่กดแตรเรียกเพียงครั้งเดียว พอไม่มีใครขานตอบผมก็ขับหนีออกไปทันที

ผมทบทวนเรื่องนี้ซ้ำไปซ้ำมา ผมคิดไม่ออกว่าผมเคยได้ทำอะไรที่สำคัญกว่านี้มาบ้างหรือเปล่าในชีวิต

เราถูกทำให้เชื่อว่าชีวิตของเราได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์สำคัญที่ยิ่งใหญ่

แต่บ่อยครั้งเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่ว่านั้น มันกลับมาปรากฏต่อหน้าเราอย่างที่เราไม่ทันตั้งตัว

และมาปรากฎตัวในรูปที่ถูกห่อไว้อย่างหมดจดงดงามโดยที่คนอื่นๆ อาจไม่คิดว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่อะไรเลย

แปลโดย:โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
(แก้ไขนิดหนึ่งตรงคำว่า Hospice ให้ตรงความหมายจริง)
อย่างไรก็ตามถ้าอ่านต้นฉบับได้ก็จะตรงและซึ้งกว่าครับ


A sweet lesson on patience.

A NYC Taxi driver wrote:

I arrived at the address and honked the horn. After waiting a few minutes I honked again. Since this was going to be my last ride of my shift I thought about just driving away, but instead I put the car in park and walked up to the door and knocked.. 'Just a minute', answered a frail, elderly voice. I could hear something being dragged across the floor.

After a long pause, the door opened. A small woman in her 90's stood before me. She was wearing a print dress and a pillbox hat with a veil pinned on it, like somebody out of a 1940's movie.

By her side was a small nylon suitcase. The apartment looked as if no one had lived in it for years. All the furniture was covered with sheets.

There were no clocks on the walls, no knickknacks or utensils on the counters. In the corner was a cardboard
box filled with photos and glassware.

'Would you carry my bag out to the car?' she said. I took the suitcase to the cab, then returned to assist the woman.

She took my arm and we walked slowly toward the curb.

She kept thanking me for my kindness. 'It's nothing', I told her.. 'I just try to treat my passengers the way I would want my mother to be treated.'

'Oh, you're such a good boy, she said. When we got in the cab, she gave me an address and then asked, 'Could you drive
through downtown?'

'It's not the shortest way,' I answered quickly..

'Oh, I don't mind,' she said. 'I'm in no hurry. I'm on my way to a hospice.

I looked in the rear-view mirror. Her eyes were glistening. 'I don't have any family left,' she continued in a soft voice..'The doctor says I don't have very long.' I quietly reached over and shut off the meter.

'What route would you like me to take?' I asked.

For the next two hours, we drove through the city. She showed me the building where she had once worked as an elevator operator.

We drove through the neighborhood where she and her husband had lived when they were newlyweds She had me pull up in front of a furniture warehouse that had once been a ballroom where she had gone dancing as a girl.

Sometimes she'd ask me to slow in front of a particular building or corner and would sit staring into the darkness, saying nothing.

As the first hint of sun was creasing the horizon, she suddenly said, 'I'm tired.Let's go now'.
We drove in silence to the address she had given me. It was a low building, like a small convalescent home, with a driveway that passed under a portico.

Two orderlies came out to the cab as soon as we pulled up. They were solicitous and intent, watching her every move.
They must have been expecting her.

I opened the trunk and took the small suitcase to the door. The woman was already seated in a wheelchair.

'How much do I owe you?' She asked, reaching into her purse.

'Nothing,' I said

'You have to make a living,' she answered.

'There are other passengers,' I responded.

Almost without thinking, I bent and gave her a hug.She held onto me tightly.

'You gave an old woman a little moment of joy,' she said. 'Thank you.'

I squeezed her hand, and then walked into the dim morning light.. Behind me, a door shut.It was the sound of the closing of a life..

I didn't pick up any more passengers that shift. I drove aimlessly lost in thought. For the rest of that day,I could hardly talk.What if that woman had gotten an angry driver,or one who was impatient to end his shift? What if I had refused to take the run, or had honked once, then driven away?

On a quick review, I don't think that I have done anything more important in my life.

We're conditioned to think that our lives revolve around great moments.

But great moments often catch us unaware-beautifully wrapped in what others may consider a small one.

"นิรโทษกรรม เพื่อใครบ้าง"


พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์

การเลื่อน ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ของนาย วรชัย เหมะ ขึ้นมาพิจารณาในวาระแรก ซึ่งจะเข้าสู่สมัยการประชุมใน สิงหาคม นี้ จะส่งผลอะไรบ้าง พอสรุปได้คร่าวๆดังนี้

(1)แม้ร่าง พรบ.ฉบับนี้ จะไม่มีการนิรโทษกรรมไปถึง คุณ ทักษิณฯ แต่ก็อาจมีการนำไปร่วมพิจารณากับร่าง พรบ.นิรโทษกรรมอีก4ฉบับ ที่ค้างอยู่ในสภาฯ ซึ่งจะมีเรื่องนิรโทษกรรม ไปถึงคุณ ทักษิณฯร่วมอยู่ด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆครับ

(2)ถ้า ร่าง พรบ.ผ่าน จะทำให้คดีต่างๆทั้งคดีเผาบ้านเมือง และ คดีหมิ่นประมาทสถาบัน เช่น คดี ดา ตอร์ปิโด,คดี สมยศฯ,สุรชัย ฯลฯหลุดไปหมด

(3)จะทำให้หลักฐานในคดีอาญา ที่จะเชื่อมโยงไปสู่ คดีสำคัญๆของแกนนำหลายคดีสาบสูญตามไปด้วย

(4)จะทำลายหลัก กฏหมายสำคัญ ที่ว่า "ใครทำผิดก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น"ลงโดยสิ้นเชิง

เห็นได้ชัดเจนว่า ร่าง พรบ.ฉบับนี้ให้ประโยชน์โดยตรงต่อกลุ่มแกนนำ จึงไม่ควรสนับสนุน ส่วนผู้ชุมนุมที่ผิดกฏหมาย เล็กๆน้อยๆก็สมควรที่จะมีการนิรโทษกรรมได้ แต่ต้องไม่รวมคดีสำคัญๆ เช่น
ยิงวัดพระแก้ว คดี ม.112 ฯลฯ ผมยืนยันว่าเป็นความคิดส่วนตัวครับ ก็ไม่รู้ว่า ใครคิดแบบผมหรือเปล่า

Gen Y ไทยสารภาพ “ลงแดง” ถ้าขาดสมาร์ทโฟ


Gen Y ไทยสารภาพ “ลงแดง” ถ้าขาดสมาร์ทโฟน [วิจัย]

Mobile Addict
ซิสโก้ (Cisco® Connected World Technology Report – CCWTR) ได้ทำการสำรวจ ความคิดเห็นของนักศึกษาและคนทำงานอายุ 18 ถึง 30 ปี จำนวน 1,800 คนใน 18 ประเทศ โดยมุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนรุ่น Gen Y ในการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์พกพาเพื่อเชื่อมต่อโลก ผลการศึกษานี้เปิดเผยถึงพฤติกรรมและทัศนคติของคนเหล่านี้ในการสร้าง การเข้าถึง และการรักษาความเป็นส่วนตัวจากสมาร์ทโฟน กล้องวิดีโอ มอนิเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่อง จนเป็นที่มาของพฤติกรรมที่น่าสนใจมากมาย ในที่นี่ Brand Buffet ขอนำเสนอเฉพาะงานวิจัยในประเทศไทยก่อน แล้วครั้งต่อไปจะนำผลวิจัยของทั่วโลกมานำเสนอ โดยการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาและคนทำงาน 50 คน อายุตั้งแต่ 18 ถึง 30 ปี ในประเทศไทยโดยบริษัท พีซีแอนด์แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง เป็นผู้ทำการสำรวจ และพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
-98 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่น Gen Y ในประเทศไทยระบุว่า พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนเพื่อดูข่าวคราวอัพเดตในอีเมล ข้อความ และไซต์โซเชียลมีเดีย ก่อนที่จะลุกจากเตียง
-คนรุ่น Gen Y ที่แบบสอบถามกว่าเก้าในสิบคนกล่าวว่า เขาเช็คสมาร์ทโฟนครั้งแล้วครั้งเล่าจนไม่อาจนับครั้งได้
-กว่า 91 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะมีอาการ “ลงแดง” และ “รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนกับว่ามีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต” ถ้าหากไม่สามารถเช็คสมาร์ทโฟนได้อย่างสม่ำเสมอ
-ผู้ตอบแบบสอบถาม 100 เปอร์เซ็นต์ใช้สมาร์ทโฟนบนเตียงนอน กว่า 1 ใน 3 ใช้สมาร์ทโฟนในห้องน้ำ
-98 เปอร์เซ็นต์ ส่งข้อความ อีเมล และตรวจสอบโซเชียลมีเดียระหว่างรับประทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
-100 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามรุ่น Gen Y กล่าวว่า โมบายล์แอพพลิเคชั่น (์Mobile App)มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน
-98 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองใช้เวลาเท่ากันหรือมากกว่าสำหรับการติดต่อเพื่อนฝูงทางออนไลน์ เมื่อเทียบกับการพบปะพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว
- 9 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าแต่ละคนมีภาพลักษณ์ออนไลน์ (online identities) และภาพลักษณ์ออฟไลน์ (offline identities) ที่แตกต่างกัน
-97 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่า “นายจ้างไม่ควรตรวจสอบติดตามกิจกรรมออนไลน์ของพนักงาน เพราะไม่ใช่ธุระอะไรของนายจ้าง”
-9 ใน 10ของคนรุ่น Gen Y ที่ตอบแบบสอบถามซื้อสินค้า/บริการทางออนไลน์
- 80% เต็มใจที่จะเปิดเผยอีเมลแอดเดรสของตนเองแก่ร้านค้าและไซต์ออนไลน์เพื่อรับแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลดราคาและโปรโมชั่นพิเศษ แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ
-87 เปอร์เซ็นต์ออนไลน์เฟซบุ๊คตลอดเวลา และ 97 เปอร์เซ็นต์อัพเดตเฟซบุ๊ควันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย
Cisco
ดร. ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ ประเทศไทย ก่าวถึงผลการสำรวจในครั้นี้ว่า  “จากผลการสำรวจ Generation Y ทั่วโลกและในประเทศไทยแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทุกที่ทุกเวลาเท่ากับกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า เช่น การแปรงฟัน การเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาในปัจจุบันส่งผลต่อกิจกรรมในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการช็อบปิ้งออนไลน์ การเล่น การใช้ชีวิต และการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผลการจากการเชื่อมต่อนี้ทำให้องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องพิจารณาในการมีเน็ตเวิร์คอัจฉริยะที่จะสนับสนุนพนักงานในการทำงานรูปแบบใหม่ทุกที่ทุกเวลาที่กำลังจะแพร่หลายในไม่ช้านี้”

ความสามารถในการจัดการและชีวิต


22 เมษายน 2013

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ความสำเร็จของสังคมหรือของบุคคลมีรากฐานมาจากความสามารถในการจัดการ ผู้ที่มีความสุขในชีวิตล้วนเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการทั้งสิ้น

การจัดการซึ่งแปลมาจากคำว่า management นั้นอยู่รอบตัวมนุษย์อย่างนึกไม่ถึง บ่อยครั้งที่เรานึกถึงการจัดการในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การจัดการขององค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน แต่เรามักมองข้ามการจัดการของสมาชิกอื่น ๆ ของสังคม เช่น แม่บ้านในเรื่องการเลี้ยงอบรมดูลูก ทำงานบ้าน ปรุงอาหาร สอนลูกทำการบ้าน ฯลฯ และสำหรับ “single mums” หรือแม่ที่เลี้ยงดูลูกคนเดียวนั้นทำงานหนักเหล่านี้แล้วยังทำงานหาเงินไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ความสามารถในการจัดการของแม่บ้านเกี่ยวพันกับโลจิก ความเข้าใจลำดับความสำคัญของงาน การฝึกฝนทักษะ ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะในการจัดการอารมณ์ของตนเองและของคนรอบข้าง วินัยในการดำรงชีวิต ความอดกลั้น ความอดทน ฯลฯ


แม่บ้านโดยเฉพาะ “single mums” ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ผลิตคนดีที่สามารถยืนบนขาตนเองได้จึงเรียกได้ว่าเป็นนักบริหารจัดการตัวยงทีเดียว

นักการทหาร แพทย์ พยาบาล เจ้าของธุรกิจ SME’s ตั้งแต่หาบเร่แผงลอย ขายข้าวแกงฯลฯ จนถึงเจ้าของร้านอาหาร และผู้บริหารทุกระดับในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการจัดการทั้งสิ้น

การจัดการของมนุษย์นั้นอยู่ในสายเลือดตั้งแต่อพยพกันออกมาจากอาฟริกาเมื่อ 150,000-200,000 ปี ถ้าบรรพบุรุษของเราขาดความสามารถในการจัดการ ไม่ว่าในเรื่องการหาอาหาร ป้องกันตนเองและครอบครัวจากภัยต่าง ๆ สร้างที่อยู่อาศัย ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม สะสมภูมิปัญญาในเรื่องการรักษาตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว พวกเราคงไม่มีวันนี้กันเป็นแน่

มหาบุรุษคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ เจิ้งเหิง (Zhèng Hé (ค.ศ. 1371-1433)) ขันทีมุสลิมผู้เป็นนักเดินเรือชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก นำขบวนเรือครั้งแรกเดินทางไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย (ครั้งที่ 3 มาถึงอยุธยาด้วย) และกลับอย่างปลอดภัยโดยใช้เรือถึง 317 ลำ รวมลูกเรือ 28,000 คน ถ้าหากไม่เข้าใจเรื่องโลจิสติกส์และไม่มีความสามารถในการจัดการอย่างเป็นเลิศแล้วขบวนเรือคงย่อยยับ ไม่มีโอกาสนำออกไปอีก 6 ครั้งเป็นแน่ (โคลัมบัสในปี 1492 นำขบวนเรือเพียง 6 ลำเดินทางไปทวีปอเมริกา)

นักคิดในประวัติศาสตร์โลกหลายคนได้เขียนเรื่องราวของการจัดการแทรกไว้ในหนังสือ เช่น พระไตรปิฎก รามเกียรติ์ มหาภารตะ สามก๊ก The Art of War (โดยซุ่นหวู่เมื่อ 2,600 ปีก่อน) ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำราสอนผู้คนในวัฒนธรรมต่าง ๆ ของโลก

ความรู้เรื่องการจัดการสอดแทรกอยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์เล่มสำคัญ คือ The Wealth of Nations โดย Adam Smith ใน ค.ศ. 1776 ซึ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กรผ่านการแบ่งงานกันทำ (division of labor)Adam Smith เสนอให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยยกตัวอย่างเรื่องการผลิตเข็ม แรงงานคนหนึ่งอาจผลิตเข็มได้วันละ 200 เล่ม แต่ถ้าแบ่งงานกันทำโดยเชี่ยวชาญกันคนละอย่าง เช่น ตัดลวด ฝนลวด ตกแต่งฯ จะผลิตเข็มได้วันละ 48,000 เล่ม สิ่งที่เขาบรรยายไว้นี้ก็คือรากฐานของระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

ในการเรียนเรื่องการจัดการอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น มีตำราเรื่องการจัดการเล่มแรก ๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 เช่น Science of Management โดย Henry R. Towne

บุคคลที่เพิ่มองค์ความรู้และทำให้วิชาการจัดการแพร่หลายก็คือ Peter Drucker (ค.ศ. 1909-2005) เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญชื่อ Concept of Organization ในปี 1946 หลังจากที่ Harvard Business School เปิดหลักสูตร MBA ขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนหน้านั้น 25 ปี และหลักสูตรนี้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีการจัดการที่เด่นชัดขึ้นใน ค.ศ. 1920 อย่างไรก็ดีมันยังไม่ใช่ตำราเล่มแรกเกี่ยวกับการจัดการที่ใช้กันในมหาวิทยาลัย ตำราเล่มแรกนั้นตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1911 โดย J.Duncan

เมื่อหันมาดูการดำเนินชีวิตของผู้คน ความสามารถในการจัดการในสองเรื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ (1)การครองชีวิต และ (2) การจัดการเรื่องเงิน

หากผู้ใดหรือครอบครัวใดครองชีวิตด้วยความประมาท ไม่ระมัดระวัง ไม่รอบคอบขาดปัญญาในการดำเนินชีวิตแล้วก็อาจไม่มีชีวิตที่มีความสุขได้ ชีวิตมนุษย์นั้นเปราะบางอย่างยิ่ง ความสามารถในเรื่องนี้เท่านั้นที่จะช่วยให้เอาชนะความเปราะบางของมันได้

สำหรับความสามารถในการจัดการเรื่องเงินนั้น ความมีวินัยในการบังคับใจตนเองให้มีอำนาจเหนือความปรารถนาในด้านวัตถุอย่างมีเหตุมีผล มีความสมดุล บวกความสามารถในการจัดการให้เงินที่ตนอดออมได้นั้นงอกเงยเป็นหัวใจสำคัญ

การขาดความสามารถในการจัดการทั้งสองเรื่องข้างต้นซึ่งโดยแท้จริงแล้วเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกจะนำไปสู่ชีวิตที่ขาดคุณภาพ

เมื่อชีวิตของมนุษย์ไม่มีรีแมช ความสามารถในการจัดการจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการหาความสุขจากชีวิตเดียวที่เรามีกัน

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์อาหารสอมง น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอังคารที่ 16 เมษายน 255

เมื่อฉันแก่ตัวลง

เมื่อฉันแก่ตัวลง

เรื่องเล่าของลูกผู้ชายชาวจีนคนหนึ่ง

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ เคยอ่านมารึยัง ถึงจะยาวหน่อย แต่เนื้อหาดีมากๆเลยนะ
เรื่องเล่าของลูกผู้ชายชาวจีนคนหนึ่ง
ซึ่งเมื่อเติบโตขึ้นต้องมีภารกิจเดินทาง และตั้งถิ่นฐานอยู่ไกลจากพ่อแม่
แต่ก็มักติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์กับแม่อยู่เสมอ...

แม่มักจะบอกเขาว่า “ไม่ต้องห่วงแม่” ไม่ต้องกลับมาเยี่ยมบ่อยๆ
เพราะจะสิ้นเปลืองเงินทอง...
ยิ่งพูดก็ยิ่งซ้ำๆซากๆ เขารู้ดีว่า แม่เริ่มคิดถึงเขามาก

จนกระทั่งปีนึง ที่แม่มีอายุครบ 75 เขาจึงตั้งใจจะกลับไปเยี่ยมแม่
โดยตั้งใจว่าจะอยู่ด้วยสัก 1 เดือน ขอเป็นเพื่อนแม่เพียงอย่างเดียว

พอบอกข่าวนี้ให้แม่ทราบ แม้จะมีเวลาอีกตั้ง 2 เดือนเศษ
แม่ก็เริ่มเตรียมตัวในการกลับมาเยี่ยมบ้านของลูก
แม่ดึงเอาสมุดบันทึกมาจดสิ่งที่ต้องตระเตรียม
แม่เตรียมรายการอาหารที่ลูกชอบ
รื้อเอาผ้าห่มที่ลูกเคยชอบห่มมาปะชุนใหม่...
สำหรับคนอายุ 75 เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย...

พอลูกกลับถึงบ้าน ตอนอยู่บนเครื่องบิน
เคยตั้งใจว่าจะขอกอดแม่ให้ชื่นใจสักครั้ง
แต่พอมาเห็นแม่ แม่ที่ยืนอยู่ตรงหน้า ผอมแห้ง หน้าตาเหี่ยวย่น
ช่างไม่เหมือนแม่ คนก่อนหน้านี้เลย...

แม่ใช้เวลาเป็นชั่วโมงเตรียมอาหารที่ลูกเคยชอบ
โดยที่หาทราบไม่ว่า ลูกไม่ได้ชอบอาหารแบบนั้นแล้ว
และเพราะแม่ตาไม่ค่อยดี รสชาติอาหารจึงแย่มากๆ บางจานก็เค็มจัด
บางจานก็จืดสนิท ผ้าห่มที่แม่อุตส่าห์เตรียมให้ ทั้งหนาทั้งหยาบ
ไม่สบายกายเลย...แม่หารู้ไม่ว่า เดี๋ยวนี้ลูกนอนห้องแอร์
และใช้ผ้าห่มขนแกะแล้ว
แต่เขาก็ไม่บ่นอะไร เพราะเขาตั้งใจจะกลับมาเป็นเพื่อแม่จริงๆ

สองสามวันแรก แม่ยุ่งอยู่กับเรื่องจิปาถะ จนไม่มีเวลาพักผ่อน พอเริ่มได้พัก
แม่ก็เริ่มพูดมาก สอนโน่นสอนนี่ พูดแต่ปรัชญาเก่าๆ ซึ่งปรัชญาเหล่านั้น 10
กว่าปีก่อนก็เคยพูดแล้ว พอลูกบอกให้ฟังว่า
ปรัชญาเหล่านั้นไม่ทันสมัยแล้วแม่ก็เริ่มนิ่งเงียบและเศร้าซึม


“เหตุการณ์เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ผมพบว่าสุขภาพแม่แย่ลง โดยเฉพาะสายตา
อาหารบางจานมีแมลงวันด้วย บางทีอาหารหกบนเตา แม่ก็เก็บใส่จานตามเดิม
ครั้นผมพยายามชวนแม่ไปกินนอกบ้าน แม่ก็บอกอาหารข้างนอกไม่สะอาด
ของแปลกปลอมเยอะ เมื่อผมบอกแม่ว่าจะหาคนรับใช้มาช่วยแม่สักคน
แม่ก็โวยวายว่าแม่เองยังสามารถทำงานเลี้ยงดูเด็กให้ผู้อื่นได้เลย
ผมเลยพูดไม่ออกพอผมจะออกไปช้อปปิ้ง แม่ก็จะตามไปด้วย ทำเอาวันนั้นทั้งวัน
พวกเราไม่ได้ไปช้อปปิ้งเลย...”

“พอพวกเราเริ่มคุยกันในเรื่องทันสมัย แม่ก็จะหาว่าพวกเราเพี้ยน
ผมก็เริ่มบอกแม่อย่างไม่ค่อยเกรงใจว่า แม่ นี่มันสมัยใหม่แล้ว
แม่ต้องหัดมองโลกในแง่ใหม่ๆบ้าง... ช่วงครึ่งเดือนหลังที่อยู่กับแม่
ผมเริ่มขัดแม่มากขึ้นเรื่อยๆ
และรู้สึกรำคาญเพิ่มมากขึ้นแต่เราไม่เคยทะเลาะกันนะ พอผมขัดแม่
แม่ก็หยุดกึกลง ไม่พูดไม่จา ในตามีแววเหม่อลอย –
โลกซึมเศร้าแบบคนแก่ของแม่ชักหนักขึ้นเรื่อยๆ”

“ได้เวลาที่ผมจะต้องเดินทางกลับ
แม่ดึงกล่องกระดาษกล่องหนึ่งออกมาในนั้นเป็นข่าวหนังสือพิมพ์ที่แม่ตัดเก็บไว้ในช่วงที่ผมไปอยู่เมืองนอก
แม่เริ่มสนใจข่าวต่างประเทศเมื่อผมเดินทางไปนอก
ทุกครั้งที่มีข่าวตึงเครียดในประเทศนั้นๆ แม่จะตัดข่าวเก็บไว้
ตั้งใจจะมอบให้ผมตอนที่ผมกลับมา แม่พูดอยู่เสมอว่า
อยู่นอกบ้านนอกเมืองต้องระวังตัวให้มากๆ
ครั้งหนึ่งมีเรื่องคนญี่ปุ่นต่อต้านและข่มเหงคนจีน มีการปะทะกันด้วย
แม่เป็นห่วงมาก
ถามเพื่อนบ้านว่าจะส่งข่าวไปเตือนผมที่ญี่ปุ่นได้อย่างไรตอนนั้นผมสอนอยู่ที่ญี่ปุ่น”

แม่ดึงเอาปึกกระดาษข่าวนั้นออกมาอย่างยากลำบากวางใส่ในมือผมเหมือนของวิเศษชิ้นหนึ่ง
มันหนักมาก ผมเริ่มรู้สึกลำบากใจเพราะผมไม่อยากนำกลับไป
มันไม่มีประโยชน์อะไรแล้วผมรู้ว่าแม่เก็บมันด้วยความยากลำบาก
แม่สายตาไม่ค่อยดี ต้องใช้แว่นขยาย
อ่านได้วันละ 2 หน้าก็เก่งแล้ว นี่ยังตัดเก็บได้ขนาดนี้
ทันใดนั้นมีข่าวแผ่นหนึ่งปลิวหลุดลงมา
แม่รีบเอื้อมไปหยิบแต่แทนที่แม่จะเก็บเข้ากองเดิม
แม่กลับพับเก็บไว้ในกระเป๋าของตัวเอง

ผมรู้สึกเอะใจ เลยถามว่า “แม่ นั่นกระดาษอะไร
ขอผมดูหน่อยนะ”แม่ลังเลอยู่ครู่หนึ่ง
จึงล้วงออกมาวางบนข่าวปึกนั้นแล้วหุนหันเข้าครัวไปทำกับข้าวทันที


ผมหยิบแผ่นข่าวนั้นขึ้นมาดู มันเป็นบทความบทหนึ่ง ชื่อว่า “เมื่อฉันแก่ตัวลง”
ตัดจากหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2004
เป็นช่วงที่ผมเริ่มเถียงกับแม่ถี่มากขึ้นทุกทีบทความนั้นคัดมาจากนิตยสารฉบับหนึ่งของเม็กซิโก
ฉบับเดือนพฤศจิกายน ผมอ่านบทความนั้นทันที ....


เมื่อฉันแก่ตัวลง.....ไม่ใช่ฉันที่เคยเป็น ขอโปรดเข้าใจฉัน
มีความอดทนต่อฉันเพิ่มขึ้นอีกสักนิด

ถ้าฉันทำน้ำแกงหกใส่เสื้อตัวเอง....ถ้าฉันลืมวิธีผูกเชือกรองเท้า
ขอให้คิดถึงตอนเธอเด็กๆ...ที่ฉันสอนเธอหัดทำทุกอย่าง

ถ้าฉันเริ่มพร่ำบ่นแต่เรื่องเดิมๆที่เธอรู้สึกเบื่อ….ขอให้อดทนสักนิด
อย่าเพิ่งขัดฉัน ตอนเธอยังเล็กๆ ฉันยังเคยเล่านิทานซ้ำๆซากๆ จนเธอหลับเลย

ถ้าฉันต้องการให้เธอช่วยอาบน้ำให้ อย่าตำหนิฉันเลยนะ
ยังจำตอนที่เธอยังเล็กๆได้ไหม
ฉันต้องทั้งกอดทั้งปลอบเพื่อให้....เธอยอมอาบน้ำ

ถ้าฉันงงกับวิทยาการใหม่ๆโปรดอย่าหัวเราะเยาะฉัน….
จำตอนที่ฉันเฝ้าอดทนตอบคำถาม
“ทำไม ทำไม”ทุกครั้งที่เธอถามได้ไหม

ถ้าฉันเหนื่อยล้าจนเดินต่อไม่ไหว
ขอ....จงยื่นมือที่แข็งแรงของเธอออกมาช่วยพยุงฉัน
เหมือนตอนที่ฉันพยุงเธอให้หัดเดินในตอนที่เธอยังเล็กๆ

หากฉันเผอิญลืมหัวข้อที่กำลังสนทนากันอยู่โปรดให้เวลาฉันคิดสักนิด
ที่จริงสำหรับฉันแล้ว.....กำลังพูดเรื่องอะไรไม่สำคัญหรอก
ขอเพียงมีเธออยู่ฟังฉัน......ฉันก็พอใจแล้ว

ตอนนี้ถ้าเธอเห็นฉันแก่ตัวลง...ไม่ต้องเสียใจ...ขอให้เข้าใจฉัน....สนับสนุนฉัน
ให้เหมือนตอนที่ฉันสนับสนุนเธอตอนเธอเพิ่งเรียนรู้อะไรใหม่ๆ

ในตอนนั้น....ฉันนำพาเธอเข้าสู่เส้นทางชีวิต
ตอนนี้....ขอให้เธอเป็นเพื่อนฉันเดินไปให้สุดเส้นทางของชีวิต……
โปรด....ให้ความรักและความอดทนต่อ....ฉัน

ฉันจะยิ้มด้วยความขอบใจ....
ในแววตาอันฝ้าฟางของฉัน....มีแต่ความรักอันหาที่สิ้นสุดมิได้
ของฉันที่มีให้กับ..........เธอ

ผมอ่านบทความนั้นรวดเดียวจบทันที.... เกือบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่
ตอนนั้นแม่เดินออกมา ผมแกล้งทำเป็นไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ตอนแรกแม่คงอยากให้ผมได้อ่านบทความนี้หลังจากผมกลับไปแล้วจึงคะยั้นคะยอให้ผมนำข่าวปึกนั้นกลับไป
ตอนผมจัดกระเป๋าเดินทาง
ผมต้องสละไม่เอาสูทกลับไป 1 ตัว
จึงยัดเก็บปึกข่าวเหล่านั้นเข้าไปได้รู้สึกแม่จะดีใจมากเหมือนกับว่า

หนังสือพิมพ์เหล่านั้นเป็นยันต์โชคลาภสำหรับผมและเหมือนกับว่าการที่ผมยอมรับหนังสือพิมพ์เหล่านั้น

ผมได้กลับมาเป็นเด็กดีของแม่อีกครั้งหนึ่งแม่ตามมาส่งผมจนถึงรถแท็กซี่เลยที่เดียว

หนังสือพิมพ์ที่ผมนำกลับมาเหล่านั้น ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไรเลย แต่บทความ
“เมื่อฉันแก่ตัวลง” บทนั้น ผมได้ตัดเก็บไว้ในกรอบ เอาไว้ข้างตัวฉันตลอดไป

ตอนนี้ ผมขออุทิศบทความนี้
ให้กับลูกๆทั้งที่พเนจรและไม่ได้พเนจรทั้งหลาย...ถ้ามีเวลาว่างก็แวะไปหาท่าน

หรือไม่ก็โทรไปหาท่านบ้าง บอกท่านว่าคุณอยากกินอาหารที่ท่านทำเสมอ....
ท่านไม่ได้ต้องการอะไรจากเรามากไปกว่า..

.แค่ได้รับรู้ว่า
เราสุขสบายดี..ถ้าหากเราไม่สามารถไปเยี่ยมท่านได้....ตอนคุยโทรศัพท์กับท่าน...

โปรดยิ้มให้กว้างๆและยิ้มบ่อยๆ...แม้ท่านจะมองไม่เห็น..แต่ท่านจะรู้สึกได้......