PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

ชะตากำหนดมา !!

ชะตากำหนดมา !!
“บิ๊กตู่” ลั่น ผมไม่กลัว ปม “ถวายสัตย์ฯ” ยัน จิตใจบริสุทธิ์ อยู่เพื่อทำงาน ไม่ใช่เพื่ออำนาจ ชี้อายุ65 แล้ว อยากพัก แต่พักไม่ได้ ชะตากำหนดมา
“บิ๊กตู่” ถาม “แล้วใครลงพระปรมาภิไธย รธน....พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จบแล้วใช่ไหม”...ถาม ทำไมต้องเริ่มต้นใหม่ ในเมื่อทำมาตามขั้นตอน สมบูรณ์แล้ว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวตอนหนึ่ง ในการลงพื้นที่ ที่พิษณุโลก ถึงเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณ ว่า
“ไม่ต้องกลัว ผมไม่กลัวเพราะมีจิตใจบริสุทธิ์ ที่จะทำทุกอย่างเพื่อพวกเรา
และที่อยู่มาถึงวันนี้ อยู่เพื่อต้องการทำงาน ไม่ใช่อยู่เพื่อหาอำนาจ อยากเป็นใหญ่ อยากเป็นนายกฯ ไม่เคยคิด แต่ชะตากำหนดมาให้ถึงวันนี้ ผมก็ไม่รู้ทำอย่างไร แทนที่ไปพักผ่อนอายุ 65 แล้ว แต่ผมเห็นพวกเราทุกคนก็ทิ้งไม่ได้ ไม่มีความสุขตราบใดที่ยังมีรายได้น้อยกันแบบนี้
"ผมเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีผิดจากรัฐธรรมนูญ เคยอ่านรัฐธรรมนูญกันไหม เถียงกันจังเลยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ผมก็ปฏิบัติตามทุกอย่าง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของปวงชนชาวไทย แล้วใครลงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จบแล้วใช่ไหม ปวงชนชาวไทย และพระองค์ท่านทรงรับสั่งว่าอย่างไร มีพระปฐมบรมราชโองการ ว่าเราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนใช่ไหม มันสมบูรณ์แล้ว ผมถวายสัตย์สมบูรณ์ไหม ไปบอกให้ผมหน่อย”
“วันนี้ขอให้ทุกคนหาความรู้จากโทรศัพท์ให้มากขึ้น แต่ข่าวที่ทะเลาะกันอย่าไปฟังมากนัก เอานายกฯไปตอบเติบอะไร ปล่อยไปเถอะ ผมก็จะทำตามกระบวนการ ถ้าทำแต่พิธีนี้. ต่อไปมันก็ทำอะไรไม่ได้แล้วทำไมต้องเริ่มต้นใหม่ในเมื่อเราทำมาถึงเวลานี้ตามขั้นตอน ทุกอย่างเดินมาตามขั้นตอน “

"ผมเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีผิด จากรัฐธรรมนูญ

แล้วใครลงพระปรมาภิไธย ?!!
"ผมเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีผิด จากรัฐธรรมนูญ
เคยอ่านรัฐธรรมนูญกันมั้ย เถียงกันจังเลย เรื่องไม่เป็นเรื่อง
ผมก็ปฏิบัติตามทุกอย่าง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของปวงชนชาวไทย
แล้วใครลงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จบแล้วใช่มั้ย ปวงชนชาวไทย
และพระองค์ท่านทรงรับสั่งว่าอย่างไร มีพระปฐมบรมราชโองการ ว่าเราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนใช่มั้ย
มันสมบูรณ์แล้ว ผมถวายสัตย์สมบูรณ์มั้ย ไปบอกให้ผมหน่อย” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 4กย.2562
พิษณุโลก

“ถ้าทำไม่ดี แม้จะเป็นพี่ รักมากเพียงใด ก็ไม่ให้..”

“ถ้าทำไม่ดี แม้จะเป็นพี่ รักมากเพียงใด ก็ไม่ให้..”
“บิ๊กตู่” รำลึกความหลัง พี่น้องทหารเสือฯ ร.21รอ. “พี่ป้อม-พี่ป๊อก” นอนบ้านหลังเดียวกัน ลั่น ผมมีวันนี้ได้เพราะพี่ สอนผมมา ไม่มีใครเข้าใจเราหรอก อยู่ชายแดนด้วยกันมา ยัน ไม่ใช่เรื่องตอบแทน ไม่ใช่เรื่องผล ประโยชน์ ถ้าทำไม่ดี แม้จะเป็นพี่ รักมากเพียงใด ก็ไม่ให้..”
เผยวันแรก เป็น ร้อยตรีไปรายงานตัวกับ พี่ป้อม เป็น ผบ.ร้อย สมาร์ท เห็นเราเดินส่ายอาดๆๆ ก็คงจะคิดว่า มึงแน่แค่ไหนวะเนี่ย ต้องดูกันอีกนาน กว่าท่านจะไว้ใจผม ยัน ไม่ใช่เรื่องตอบแทน ไม่ใช่เรื่องผล ประโยชน์ ถ้าถ้าทำไม่ดี แม้จะเป็นพี่ รักมากเพียงใด ก็ไม่ให้..”
นายกฯตอกย้ำสัมพันธ์ 3 ป. ร่วมชะตากรรม ตั้งแต่รับราชการวันแรก อยู่ด้วยกัน มากกว่า 40 ปี ไม่มีใครเข้าใจ บอกแม้เป็นพี่และรักมาก หากทำไม่ดีก็ไม่ได้ เตือนระวังบริวาร หากถูกแอบอ้างขอให้มาถามทั้งสามคน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวตอนหนึ่ง ระหว่างรับฟังการแถลงผลการศึกษาเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61 วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 60 วิทยาลัยการทัพบกรุ่นที่ 64 วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 51 และวิทยาลัยทัพอากาศรุ่นที่ 53 โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พลเอกชัญชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกห.ผบ.สา. เข้าร่วมรับฟัง ที่สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
โดยเล่าถึง ความสัมพันธ์ 3 ป. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพง ษ์เผ่าจินดา รมว. กลาโหม ว่า ไม่มีเข้าใจ ซึ่งตนเองอยู่ชายแดนมาด้วยกันมีความห่วงใย และร่วมชะตากรรมกันมา
“เป็นทหารบรรจุราชการครั้งแรก ในยศร้อยตรี ไปรายงานตัวกับพลเอกประวิตร ซึ่งตอนนั้นยังสมาร์ทอยู่
คงคืดว่า ไอ้คนนี้เป็นใคร เดินส่ายอาดๆๆ แน่แค่ไหน ก็ต้องพิสูจน์ตนเองกว่าจะได้รับความไว้วางใจ
ผม โตมาแบบนี้ กับพลเอกประวิตร และพลเอกอนุงพงษ์ ก็อยู่และนอนบ้านเดียวกันมาโดยตลอด ดังนั้นความสัมพันธ์ มีมากกว่า 40 ปี ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์
แต่ตนเองมีหลักการในการทำงาน ถ้าทำดีต้องได้ดี แต่ถ้าทำไม่ดี แม้จะเป็นพี่รักมากเพียงใด ก็ไม่ให้ทุกคนต้องรู้หน้าที่และวางบทบาทตัวเองให้ชัดเจน
พร้อมยกตัวอย่างคนที่นำนามสกุลจันทร์โอชา ไปแอบอ้าง ขายนาฬิกา ยืนยันว่าส่วนตัวไม่เคยรู้จัก หรือเป็นญาติกัน ซึ่งคนที่แอบอ้างนายกฯเป็นจำนวนมาก ยืนยันว่าตนเองไม่เคยสั่ง ดังนั้นหากใครอ้างก็จะถูกเล่นงาน และเมื่อมีข้อสงสัย ให้สอบถามทั้งสามคนได้
ที่ มีการซื้อตำแหน่งในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงตำแหน่งละ 600ล้านบาท โดยขอให้ไปสอบสวนก่อน และส่วนตัวไม่ทราบมาก่อนมีการซื้อขายกันขนาดนี้ ดังนั้นต้องไปสอบสวนมา และพร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เช่นเดียวกับการซื้อขายตำแหน่งตำรวจ ที่ยังเป็นหนังหน้าไฟอยู่

นายกฯยันไปชี้แจงปมถวายสัตย์ต่อสภาฯ

“วิญญูชน ควรรู้ว่าอะไรเป็นอะไร“ ปม ”ถวายสัตย์ฯ”

“บิ๊กตู่” ชี้ ลงพระปรมาภิไธย จบแล้ว ถ้าเคารพรัฐธรรมนูญ ไม่ลำบากใจ พูดเกร่ยวกับสถาบันฯ แต่จะต้องไปพูดคุยกันก่อนว่า จะสามารถพูดได้แค่ไหนอย่างไร หากพูดแล้วมีผลกระทบ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวเมื่อถูกถามว่า นายกฯอาจมีความลำบากใจในการชี้แจงที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 ก.ย. ในประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณตน หากต้องมีการพูดถึงสถาบันว่า ผมไม่รู้สึกลำบากใจ แต่จะต้องไปพูดคุยกันก่อนว่า จะสามารถพูดได้แค่ไหนอย่างไร หากพูดแล้วมีผลกระทบ

เมื่อถามว่าในวันเดียวกันนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะนัดพิจารณาเรื่องคุณสมบัติประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ว่ากันไป ถือเป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องแยกแยะให้ออก
โดยตนได้ส่งฝ่ายกฎหมายของตนไป

ส่วนที่ฝ่ายค้านแสดงความกังวลว่านายกรัฐมนตรีอาจหยิบมาเป็นประเด็นจะไม่เดินทางเข้ามาที่ประชุมรัฐสภาในวันดังกล่าว คงไม่เกี่ยวกัน ถ้าตนไปได้ตนก็ไป ซึ่งทุกวันนี้ก็มีงาน 4-5งาน ทั้งช่วงบ่ายและช่วงเย็น ทุกๆวันจะเป็นอย่างนี้

ขอให้เห็นใจผมบ้าง ซึ่งทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าอะไรคืออะไร แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะทำให้เกิดความสับสน ซึ่งตนก็ต้องหาข้อยุติให้ได้

ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ ผมก็มีงานที่ต้องทำอยู่เหมือนกัน แต่ผมยืนยันว่าจะเข้าไปฟัง แต่หากมีภารกิจผมก็ต้องออกมาบ้าง แล้วจะกลับไปฟังใหม่ คงต้องเป็นแบบนี้ จะไม่ให้ผมทำงานอย่างอื่นเลยหรือ

เมื่อถามว่านายกฯไม่ได้เคลียร์งานเอาไว้ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ผมจะเคลียร์ ได้อย่างไร
เมื่อถามย้ำว่า ฝ่ายค้านบอกว่าเวลามีอยู่อย่างจำกัด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “จะพูดกันนานแค่ไหน 3-5 วันเลยหรืออย่างไร กับเรื่องการถวายสัตย์ฯ ซึ่งก็มีอยู่เรื่องเดียว ผมก็รู้อยู่แล้วว่าเขาก็พูดเหมือนเดิม “

เมื่อถามว่าควรจะอภิปรายเพียงแค่ครึ่งวันใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนก็ไม่รู้เหมือนกันแล้วแต่วิปรัฐบาล

ส่วนที่ฝ่ายค้านจะบอกว่าจะลากเวลาถึงเวลา 24.00 น. ตนมองว่าเท่าไหร่ก็เท่านั้น ก็แล้วแต่ ซึ่งคำชี้แจงต่างๆอยู่ในหัวของตนหมดแล้ว

เมื่อถามว่าจำเป็นต้องมีองรักษ์พิทักษ์หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่าองครักษ์ของผมเป็นใคร หากเป็นส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐก็เป็นเรื่องของส.ส. ถ้าพูดนอกประเด็น เขาก็มีสิทธิ์ เช่นเดียวกับที่ฝ่ายรัฐบาลพูดอะไรไปฝ่ายค้านก็มีสิทธิ์ที่จะพูด นี่คือสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน จะไปบังคับใครได้

เมื่อถามถึงกรณีที่นายกฯไปพูดระหว่างลงพื้นที่จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ระบุว่าเรื่องนี้ได้มีการลงพระปรมาภิไธยไปแล้วถือว่าจบแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็แล้วแต่จะคิด และควรรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะเป็นวิญญูชน และการอภิปรายครั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการลงมติ ซึ่งตนก็จะชี้แจงเท่าที่ชี้แจงได้ และทำอย่างไรไม่ให้ก้าวล่วงไปถึงสถาบัน ซึ่งก็เห็นบทบัญญัติอยู่แล้ว แต่ก็เป็นประเด็น
แต่ถ้าบอกว่าเคารพรัฐธรรมนูญ แล้วที่ผ่านมาที่ว่าเคารพและธรรมนูญมันเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง

เมื่อถามว่า นายกฯสบายใจแล้ว หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อยู่ที่สื่อ แต่ผมก็สบายใจทุกวัน

จี้รัฐบาลลาออก หากพรก.ชะลอกฎหมายครอบครัวไม่ผ่านสภา

ประธานวิปฝ่ายค้าน จี้รัฐบาลลาออก ตามประเพณีปฏิบัติ หากพ.ร.ก.ชะลอกฎหมายครอบครัวไม่ผ่านสภา ชี้เป็นพฤติกรรมบกพร่อง-ลุอำนาจชัดเจน
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 เพราะเป็นการเสนอ พ.ร.ก. เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลลุแก่อำนาจ และเป็นความบกพร่องที่ชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นที่ออก พ.ร.ก. เพื่อมีผลกระทบต่อพ.ร.บ. อย่างไรก็ตามตนเข้าใจว่าการเสนอ พ.ร.ก. ให้เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามมติของวิปรัฐบาล ในวันนี้ ( 4 กันยายน) เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่าเมื่อรัฐบาล ออก พ.ร.ก. แล้ว ต้องนำมาให้ที่ประชุมสภาฯ พิจารณาในการประชุมนัดแรกทันที แต่พรรคฝ่ายค้านล่าสุดได้ยื่นเรื่องต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยความชอบของการตรา พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว จึงทำให้เป็นประเด็นที่การพิจารณาเรื่องดังกล่าวต้องชะลอออกไป แต่บุคคลที่จะสั่งให้ชะลอหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับนายชวน ไม่ใช่วิปรัฐบาลจะใช้มติให้ชะลอหรือถอนเรื่องออกจากการพิจารณา ขณะที่ผลการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว ยอมรับว่ามีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการชะลอ พ.ร.บ.คุ้มครองสถาบันครอบครัวจึงมีผลต่อไป
นายสุทิน กล่าวด้วยว่าในอดีต หาก สภาฯ ซึ่งพิจารณาพ.ร.ก. แล้วไม่เห็นชอบ รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง แต่ปัจจุบันต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลมีพฤติกรรมลุแก่อำนาจและเป็นการกระทำที่บกพร่องชัดเจน
เมื่อถามว่าข้อเรียกร้องให้ลาออก ทั้งที่ พ.ร.ก.ชะลอพ.ร.บ.ครอบครัว ไม่ใช่กฎหมายการเงิน ตามเงื่อนไขใหม่ของรัฐธรรมนูญ จะสมเหตุผลหรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า แม้ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการเงิน แต่เป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบตามประเพณีปฏิบัติ

ฝ่ายค้านจ้องขย่มในสภา!แพร่ พ.ร.ก.ชะลอ กม. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวฯ พม.อ้างคนไม่พร้อม

ราชกิจจานุเบกษาแพร่ พ.ร.ก.ชะลอบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุ้มครองสถาบันครอบครัวปี’62 หลังมีผลเมื่อ 20 ส.ค. 62 โดยจะบังคับใช้ได้ต้องตราเป็น พ.ร.ฎ. อ้างเหตุผล ยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากร อาจก่อให้เกิดผลร้ายแก่สังคม เลขาฯรมว.พม.แจงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน รบ. ขอเบรกไว้ก่อน 1 ปีเพื่อปรับปรุงแก้ปัญหา วิจารณ์แซ่ด! ทำไม่ได้ เหตุไม่ใช่กรณีฉุกเฉินตาม รธน. ม.172 ฝ่ายค้านเตรียมขย่มในสภา
PIC prk 26 8 62 777
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองและสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 โดยมีสาระสำคัญคือให้ชะลอการใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 2562 เป็นจะบังคับใช้เมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 3)
ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวฯให้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 (ที่ถูกยกเลิกไปโดยพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวฯ )ยังคงมีผลใช้บังคับ (มาตรา 4)
นอกจากนั้นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งเตรียมการรองรับและดำเนินการพิจารณาแก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรการ และกลไกที่เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว (มาตรา 6)
(อ่าน พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองและสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/092/T_0001.PDF)
ขณะที่หมายเหตุในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้คือ โดยปัจจุบันได้มีการตรา พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯ มีการกำหนดมาตรการในการลดการกระทำความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งปรับปรุงกลไก บทบาท อำนาจ และหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับหน่วยปฏิบัติ และปรับปรุงการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนไปจนถึงกระบวนการในชั้นศาล การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นอย่ายิ่งที่ต้องอาศัยความพร้อมในด้านความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความพร้อมในด้านบุคลากร
แต่โดยที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับในวันที่ 20 ส.ค. 2562 ที่ผ่านมา และปรากฎข้อเท็จจริงว่าหน่วยงานที่จะเป็นผู้ปฏิบัติการหรือบังคับการตามกฎหมายยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากรและขั้นตอนการปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องขยายกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับของ พ.ร.บ.นี้ออกไปก่อน เนื่องจากหากมีการใช้บังคับตามกำหนดเวลาเดิมในขณะที่ยังไม่มีความพร้อมอาจเกิดผลร้ายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง และสมควรให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพในครอบครัวฉบับเดิมมาใช้บังคับต่อไปก่อนเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวจึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางสังคม อันจะส่งผลถึงความปลอดภัยสาธารณะและความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.นี้
PIC เหตผลพรกเบรกพรบครอบครว 1
วันเดียวกัน น.ต.สุธรรม ระหงษ์ เลขานุการของนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงเหตุผลในการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา เมื่อ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ไปนั้น ปรากฏว่ามีประเด็นในเรื่องของความไม่พร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ประกอบกับช่วงนี้ยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ทำให้การดำเนินการตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีความใหม่ของหน่วยงานต่าง ๆ นั้นอาจจะมีความไม่พร้อมตามมาด้วย จึงเป็นสาเหตุทำให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงต้องออก พ.ร.ก.ดังกล่าวออกมา โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อต้องการที่จะมีการชะลอ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯออกไปก่อนเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยช่วง 1 ปีหลังจากนี้ ทางกระทรวงก็จะมีการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความพร้อมกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯฉบับใหม่ให้มากกว่านี้
น.ต.สุธรรม กล่าวอีกว่า นายจุติเข้าใจในประเด็นเรื่องปัญหาเหล่านี้ว่าจะถูกทางด้านของฝ่ายค้านนำมาเป็นประเด็นซักถามในรัฐสภา ขณะนี้จึงเตรียมข้อชี้แจงต่าง ๆ โดยละเอียดเกี่ยวกับการออก พ.ร.ก.เพื่อเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดีกรณีนี้ถูกนักกฎหมายที่ศึกษา พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯ วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่า การออก พ.ร.ก.เพื่อชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฯ ครั้งนี้ อาจไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ระบุถึงเหตุผลและความจำเป็นในการออก พ.ร.ก.ไว้ว่า ต้องเป็นกรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่กรณีนี้ไม่ได้มีความเร่งด่วนแต่อย่างใด เป็นการบริหารงานผิดพลาดของฝ่ายรัฐบาลเอง ขณะเดียวกันได้รับการติดต่อขอข้อมูลจากฝ่ายค้านเพื่อเตรียมนำเรื่องนี้ไปอภิปรายในสภาแล้ว
สำหรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 บัญญัติว่า ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะพระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกําหนดตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา โดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรี ต้องดําเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติหรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบต่อกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกําหนดนั้น
หากพระราชกําหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดและพระราชกําหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก มีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกําหนดนั้นมีผล
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกําหนดนั้น หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในกรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การพิจารณาพระราชกําหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภา และการยืนยันการอนุมัติพระราชกําหนด จะต้องกระทําในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ

เปิดรายชื่อ 36 รัฐมนตรี ครม. ประยุทธ์ 2 ใครเป็นใคร?



เปิดรายชื่อ 36 รัฐมนตรี ครม. ประยุทธ์ 2 ใครเป็นใคร?
เปิดรายชื่อ 36 รัฐมนตรี ครม. ประยุทธ์ 2 ใครเป็นใคร?
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อเข้าบริหารราชแผ่นดิน ภายหลังได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มีหัวหน้าคณะรัฐมนตรีคือ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 แต่เป็นสมัยแรกที่มาจากการโหวตโดยที่ประชุมร่วมของรัฐสภา โดยมีองค์ประกอบคือ รัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน รวม 1 นายกรัฐมนตรี จึงเท่ากับ 36 คน หนนี้ พล.อ. ประยุทธ์ นั่งควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม ด้วยตนเอง
คณะรัฐมนตรีที่ได้รับการจัดสรรเก้าอี้ มีเพียง 6 พรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่ พลังประชารัฐ, ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย, ชาติไทยพัฒนา, รวมพลังประชาชาติไทย และชาติพัฒนา แต่การจับมือเป็นขั้วการเมืองฝ่ายรัฐบาลยังมีพรรคการเมืองอีกจำนวนกว่า 10 พรรค ซึ่งไม่ได้รับการจัดสรรตำแหน่งใน ครม.
อย่างไรก็ตาม เมื่อ ครม. ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ จะทำให้ คสช. ซึ่งเป็นหมวกอีกใบของ พล.อ. ประยุทธ์ สิ้นสภาพไป และไม่สามารถใช้อำนาจพิเศษ ม.44 ได้อีก
  • พล.อ.​ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตำแหน่ง: นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ฉายาที่สื่อมวลชนเรียกคือ ‘บิ๊กตู่’ อดีตผู้บัญชาการทหารบกสายบูรพาพยัคฆ์ เป็นผู้นำการรัฐประหารล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี 2557 ตั้งแต่นั้นจึงดำรงตำแหน่งหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ถูกเทียบเชิญจากพรรคพลังประชารัฐให้เป็นแคนดิเดตชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 และชนะการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของรัฐสภาด้วยคะแนน 500 เสียง ถือเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย
  • พล.อ.​ ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ตำแหน่ง: รองนายกรัฐมนตรี ดูแลงานความมั่นคงและตำรวจ
‘บิ๊กป้อม’ พี่ใหญ่ของแก๊ง 3 ป. ประกอบด้วย บิ๊กป้อม บิ๊กป๊อก และบิ๊กตู่ เคยดำรงตำแหน่งอดีตผู้บัญชาการทหารบกสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลประยุทธ์สมัยแรก
ล่าสุดให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าตนพอแล้วกับการดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม เพราะดำรงตำแหน่งมา 8 ปี และตอนนี้สุขภาพร่างกายย่ำแย่
  • สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ตำแหน่ง: รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
อดีตขุนพลด้านเศรษฐกิจคนสำคัญสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของรัฐบาลทักษิณ
หลังการรัฐประหารปี 2549 ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจกับต่างชาติ ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีเนื่องจากเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
ภายหลังการรัฐประหารของปี 2557 สมคิดได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
  • วิษณุ เครืองาม
ตำแหน่ง: รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย
เป็นมือทำงานและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ได้รับการยอมรับทั้งในวงการราชการและการเมือง เคยเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พล.อ. สุจินดา คราประยูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลังการรัฐประหารปี 2549
ภายหลังการรัฐประหารปี 2557 ได้รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้ คสช. และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
‘บิ๊กป๊อก’ อดีตผู้บัญชาการทหารบก เป็นหนึ่งในคณะรัฐประหารที่ล้มรัฐบาลทักษิณ เมื่อปี 2549 สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่หนึ่ง
ต่อมาเคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ปี 2553 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์
หลังการรัฐประหารปี 2557 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลประยุทธ์ 1
  • พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ อดีตโฆษก กทม. และรองผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม.
เคยเป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ร่วมกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ ในนามกลุ่ม กปปส. เคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภา เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ต่อมาได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และเข้าร่วมงานกับรัฐบาลประยุทธ์ ในตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ
  • อุตตม สาวนายน
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หนึ่งใน ‘ทีมสมคิด’ เป็นผู้มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาอย่างยาวนาน
หลังการยึดอำนาจในปี 2557 ได้รับเชิญจากสมคิดให้มาร่วมทำงานกับรัฐบาลประยุทธ์ โดยมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนจะลาออกมาเล่นการเมืองเต็มตัวในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งในปี 2562
  • สันติ พร้อมพัฒน์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
อดีต ส.ส. แบบแบ่งเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. แบบสัดส่วนสังกัดพรรคพลังประชาชน
เคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ต่อมาสันติพร้อมสมาชิกในกลุ่มหลายสิบคน ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยเพื่อไปสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ
  • อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นบุตรชายของวิรัช และ ทัศนียา รัตนเศรษฐ ถือเป็นครอบครัวอดีต ส.ส. ตระกูลรัตนเศรษฐ ซึ่งครองฐานเสียงในจังหวัดนครราชสีมามาอย่างยาวนาน ต่อมาครอบครัวรัตนเศรษฐได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและย้ายมาร่วมงานเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ
  • สุวิทย์ เมษินทรีย์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ
เคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ และเคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
หลังการรัฐประหารปี 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลประยุทธ์ ตามลำดับ
เป็นหนึ่งในกลุ่ม 4 รัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ที่ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อมาเป็นสมาชิกของพรรคพลังประชารัฐในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค
  • สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของรัฐบาลประยุทธ์ตามลำดับ
ต่อมาเป็นหนึ่งใน 4 รัฐมนตรีที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
  • ดอน ปรมัตถ์วินัย
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในกระทรวง อดีตเอกอัครราชทูตในหลายประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป อดีตเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ
หลังการยึดอำนาจในปี 2557 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลประยุทธ์
  • ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
‘ผู้กองมนัส’ เริ่มต้นเส้นทางการเมืองกับพรรคไทยรักไทย โดยดูแลยุทธศาสตร์การเลือกตั้งกรุงเทพฯ ให้พรรค ต่อมาในปี 2557 ได้เป็นผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย
หลังการรัฐประหารของ คสช. และเมื่อมีการตั้งพรรคพลังประชารัฐ จึงถูกชวนให้ย้ายมาสังกัดเป็นสมาชิกพรรคโดยรับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์ภาคเหนือ เนื่องจากพื้นเพเป็นคนจังหวัดพะเยา จนสามารถเจาะพื้นที่ภาคเหนือของพรรคเพื่อไทยได้หลายเขต
ถือเป็นมือทำงานการเมืองคนสำคัญของพรรคและเป็นผู้เจรจาต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลในหลายสถานการณ์
  • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
อดีตเลขาธิการและแกนนำพรรคไทยรักไทย อดีตผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรค เคยดำรงตำแหน่งในกระทรวงเกรดเอ ทั้ง รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.คมนาคม เคยถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี จากคดียุบพรรคไทยรักไทย
หลังปี 2552 หวนกลับสู่สนามการเมืองในฐานะสมาชิกพรรคภูมิใจไทย จนเมื่อปลายปี 2561 ก่อนเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง สุริยะกับพวกได้ร่วมกันตั้งกลุ่มสามมิตร ที่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของพรรคพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
  • สมศักดิ์ เทพสุทิน
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตแกนนำกลุ่มวังน้ำยมของพรรคไทยรักไทย ภายหลังถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี จากคดียุบพรรคไทยรักไทย จึงกลายเป็นแกนนำกลุ่มมัชฌิมาของพรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกยุบจึงไปเข้าร่วมทำงานกับพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2557 ได้ลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย
ต่อมาในช่วงปี 2561 ได้ประกาศย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐพร้อมสุริยะ โดยร่วมกันก่อตั้งกลุ่มสามมิตรเพื่อทาบทามอดีต ส.ส. และนักการเมืองท้องถิ่นให้เข้ามาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ
  • อิทธิพล คุณปลื้ม
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เป็นน้องชายของ สนธยา คุณปลื้ม อดีตสมาชิกพรรคชาติไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
เคยลงเล่นการเมืองท้องถิ่นโดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา จนได้ชนะการเลือกตั้ง 2 สมัย ปัจจุบันย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐโดยได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค แต่สอบตกในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา
  • ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี 2556-2557 ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไปร่วมเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำกลุ่ม กปปส. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
  • พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคล
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
อดีตข้าราชการกระทรวงกลาโหม เคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงในปี 2558 และได้เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมในปี 2559 ดำรงตำแหน่งต่อจาก พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายของ พล.อ. ประยุทธ์
ต่อมาในปี 2560 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลประยุทธ์ ที่มีพลเอกประวิตรเป็นเจ้ากระทรวง โดยเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร
  • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ตำแหน่ง: รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน ได้รับการเลือกจากสมาชิกฯ ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงาและแบบบัญชีหลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญมากมาย ทั้งอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยฯ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข
  • จุติ ไกรฤกษ์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นบุตรชายคนเดียวของ โกศล ไกรฤกษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถือเป็นนักการเมืองรุ่นที่ 3 ของตระกูลไกรฤกษ์ เคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์
  • เฉลิมชัย ศรีอ่อน
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคกลาง ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคของนายอภิสิทธิ์ หลังการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 เฉลิมชัยจึงได้รับการเลือกจากที่ประชุมของพรรคให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่
  • ถาวร เสนเนียม
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดูแลพื้นที่ภาคใต้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เคยเป็นหนึ่งในเก้า ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกเพื่อเข้าร่วมเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำกลุ่ม กปปส. โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ลาออกไปตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย
  • นิพนธ์ บุญญามณี
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
อดีตนายก อบจ. จังหวัดสงขลา อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เคยดำรงตำแหน่งอดีตเลขานุการรัฐมนตรีและอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ
  • สาธิต ปิตุเตชะ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองหลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับรางวัล ส.ส. ที่ไม่เคยขาดประชุมเมื่อปี 2546 ปัจจุบันได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองอีกหนึ่งสมัยและได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมพรรคให้เป็นรองหัวหน้าพรรคดูแลพื้นที่ภาคกลาง
  • คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตผู้สมัครอิสระลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2543 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาของพรรค
ปัจจุบันได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคตามภารกิจ คุณหญิงกัลยายังถือเป็น ส.ส. สตรีที่มีอายุมากที่สุดที่ยังเล่นการเมืองอยู่ในขณะนี้
  • อนุทิน ชาญวีรกูล
ตำแหน่ง: รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สื่อมวลชนมักเรียกว่า ‘เสี่ยหนู’ อดีตสมาชิกและกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรค เป็นบุตรชายของ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
‘โกะเกี๊ยะ’ หรือ ‘ซุ่นเกี๊ยะ’ อดีตนักธุรกิจ เจ้าของปั๊มน้ำมันพีที สวนปาล์ม รังนก และฟาร์มกุ้ง เป็นสามีของ ดร.นาที รัชกิจประการ ผู้เป็นเหรัญญิก และ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งล่าสุดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากปกปิดบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.
ตระกูลรัชกิจประการ รับผิดชอบเข้ามาดูแลการเลือกตั้งภาคใต้ให้พรรคภูมิใจไทยจนสามารถเจาะพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ได้หลายเขต
  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
น้องชายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นอดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังพ้นกำหนดตัดสิทธิทางการเมืองได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยในปี 2555 และได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรค
  • ทรงศักดิ์ ทองศรี
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคประชาชน ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย
  • มนัญญา ไทยเศรษฐ์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี จังหวัดอุทัยธานี ได้รับการเสนอชื่อให้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในโควตาของ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ซึ่งมีสถานะเป็นพี่ชายและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีหลายสมัย ปัจจุบันชาดาเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย
  • วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
‘กำนันป้อ’ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อและกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย เป็นแม่ทัพนำศึกเลือกตั้งของพรรคที่จังหวัดโคราชจนได้ ส.ส. มา 3 ที่นั่ง เป็นผู้คลุกคลีอยู่ในวงการเกษตรกรการทำไร่มันสำปะหลัง เป็นเจ้าของธุรกิจบริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดนครราชสีมา จึงเป็นที่มาของฉายา ‘แป้งมันพันล้าน’ ก่อนหน้านี้ ในการเลือกตั้งปี 2557 กำนันป้อเคยส่งลูกชายของตัวเองลงเลือกตั้งสังกัดพรรคเพื่อไทย ก่อนที่ตนเองจะย้ายมาซบพรรคภูมิใจไทยในภายหลัง
  • กนกวรรณ วิลาวัลย์
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ลูกสาวสุนทร วิลาวัลย์ เป็นผู้นำพรรคภูมิใจไทยสู้ศึกเลือกตั้งในจังหวัดปราจีนบุรี จนสามารถได้ ส.ส. ยกจังหวัด 3 ที่นั่ง
  • วราวุธ ศิลปอาชา
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นบุตรชายคนสุดท้องของบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองคนดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีสังกัดพรรคชาติไทย ในปี 2544, 2548 และ 2550 เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคชาติไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคชาติไทยพัฒนา
  • ประภัตร โพธสุธน
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อดีตเลขาธิการพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคชาติไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนาและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกหนึ่งสมัย
  • ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หรือ ‘หม่อมเต่า’ ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในอดีตเคยตำแหน่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย
  • เทวัญ ลิปตพัลลภ
ตำแหน่ง: รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
น้องชายของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องถึงหลายสมัย จนเมื่อปี 2550 ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีจากคดียุบพรรคไทยรักไทย และในปี 2561 ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ดูข่าวต้นฉบับ

18 ก.ย.ศึกดวลเดือด!!! ปมถวายสัตย์ 'บิ๊กตู่ vs ฝ่ายค้าน'

ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งออกมาจากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 3 ก.ย. ต่อเรื่องการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ก็คือ รัฐบาลจะให้มีการประชุมสภาฯ กันในวันพุธที่ 18 ก.ย. ที่เป็นวันเปิดประชุมสภาฯ วันสุดท้ายของสมัยประชุมสภาฯ รอบนี้ 
                อันหมายถึงว่า การอภิปรายของ ส.ส.ฝ่ายค้านที่จะอภิปรายในกรอบของญัตติที่ยื่นไป 2 ประเด็น คือ 1.การถวายสัตย์ปฏิญาณของ พลเอกประยุทธ์ ถ้อยคำไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 และ 2.การแถลงนโยบายรัฐบาลไม่ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 162
                การอภิปรายของฝ่ายค้านและการชี้แจงของ พลเอกประยุทธ์ ตลอดจนตัวแทนรัฐบาลที่จะชี้แจงต่อฝ่ายค้าน กระบวนการทั้งหมดต้องทำให้เสร็จภายในไม่เกินเที่ยงคืนของวันพุธที่ 18 ก.ย. ซึ่งเป็นวันที่มีพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาฯ จะเกินกว่านี้ไม่ได้ หลังก่อนหน้านี้วิปรัฐบาลชงกรอบเวลามาให้รัฐบาลพิจารณา 2 วันคือ 11 และ 12 ก.ย. แต่สุดท้าย พลเอกประยุทธ์นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลก็เคาะเอาวันพุธที่ 18 ก.ย. เป็นวันชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ เพื่อเผชิญหน้ากับ ส.ส.ฝ่ายค้านกลางสภาฯ อันจะเป็นการเข้าประชุมสภาฯ นัดแรกของ พลเอกประยุทธ์ เพราะก่อนหน้านี้ตอนมาแถลงนโยบายรัฐบาลก็เป็นการประชุมร่วมรัฐสภา ไม่ใช่ประชุมสภาฯ จึงทำให้หลายฝ่ายจับตามองอย่างมากกับการประชุมสภาฯ นัดนี้ เพราะเพียงเข้าประชุมสภาฯ นัดแรก “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์” ก็ต้องเจอกับศึกหนักเสียแล้ว
                ท่าทีดังกล่าวของรัฐบาล ทางแกนนำรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐ “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์" รมว.พลังงาน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยหลังการประชุม ครม.ไว้ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้วันที่ 18 ก.ย.นี้ เป็นวันอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ตามที่ฝ่ายค้านได้เสนอญัตติ
                “พล.อ.ประยุทธ์จะเดินทางไปชี้แจงกรณีดังกล่าวในสภาฯ ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สาเหตุที่ไม่กำหนดให้เป็นระหว่างวันที่ 11 และ 12 ก.ย. ตามที่วิปรัฐบาลเสนอนั้น เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ติดภารกิจ ส่วนวันที่ 16 ก.ย. จะเป็นการประชุมวุฒิสภานัดสุดท้าย ส่วนวันที่ 17 ก.ย.นั้นจะเป็นการประชุม ครม.”
                ฟาก บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ ก็ยืนยันหลังประชุม ครม.ว่าพร้อมชี้แจงปมถวายสัตย์ต่อที่ประชุมสภาฯ แต่ท่าทีของนายกฯ ที่น่าสนใจก็คือ ไม่ได้การันตีว่าสุดท้ายจะเกิดการเสนอให้ประชุมลับหรือไม่ในช่วงการอภิปราย
                เรื่อง "ปมถวายสัตย์ฯ"!!!
“ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้ควรจะลับหรือไม่ลับ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาร่วมกัน ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องพิจารณากันมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็จะไปชี้แจงแค่นั้นเอง” พล.อ.ประยุทธ์ระบุ
                ด้านท่าทีของฝ่ายค้าน สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน “ออกตัวไว้ก่อนว่า ไม่ขัดข้องที่จะประชุมกันวันที่ 18 ก.ย.”
                กระนั้นประธานวิปฝ่ายค้านก็มีเหน็บรัฐบาลเล็กๆ ว่า การที่ให้ประชุมสภาฯ แค่วันเดียว และเป็นวันที่ 18 ก.ย. แสดงให้เห็นถึงเจตนาว่ารัฐบาลค่อนข้างใจแคบและกลัว จึงบีบให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายเพียงวันเดียว ฝ่ายค้านคงได้แต่ต้องจำใจรับ และเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ที่วิปฝ่ายค้านวางตัว ส.ส.ทั้งทัพหน้า-ทัพรอง ในการเตรียมขึ้นอภิปรายพลเอกประยุทธ์ เรื่องปมถวายสัตย์ฯ และสอบถามรัฐบาลในเรื่องการแถลงนโยบายโดยไม่แสดงที่มาของงบประมาณ จากเดิมที่วางตัว ส.ส.ฝ่ายค้านไว้อภิปราย 10-15 คน เมื่อสุดท้ายรัฐบาลให้เวลา 1 วัน ดังนั้นก็ต้องมีการปรับลดจำนวน ส.ส.ของฝ่ายค้านในการอภิปราย เพื่อให้เพียงพอกับเวลาการประชุม 
                เมื่อมีความชัดเจนในส่วนนี้แล้วว่า การประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาญัตติของฝ่ายค้านดังกล่าว จะเกิดขึ้นวันที่ 18 ก.ย. โดยถึงตอนนี้ก็เชื่อได้ว่า พลเอกประยุทธ์จะเดินทางไปชี้แจงตอบข้อซักถามของฝ่ายค้านกลางที่ประชุมสภาฯ แน่นอน
                มีการประเมินกันว่า แท็กติกทางการเมืองที่ฝ่ายพลังประชารัฐและรัฐบาลอาจจะใช้ในช่วงการประชุมสภาฯ วันที่ 18 ก.ย. นอกจากเรื่องการเสนอขอให้ประชุมลับ ซึ่งถึงตอนนี้ดูเหมือนความเป็นไปได้ที่จะใช้แท็กติกดังกล่าวพบว่ามีความเป็นไปได้น้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะก็เป็นที่รู้กันดีว่า แม้ต่อให้สภาฯ ประชุมลับกันอย่างไร แต่การที่มี ส.ส.ในห้องประชุมสภาฯ ร่วม 500 คน แล้วแต่ละคนก็สามารถพกพาโทรศัพท์มือถือไปอัดเสียง-อัดคลิปภาพในห้องประชุมได้อยู่แล้ว รวมถึงการจดจำสิ่งที่มีการอภิปรายและชี้แจงจากทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล เพื่อนำไปเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ รวมถึงการให้ข่าวกับสื่อมวลชน ถึงเนื้อหาและประเด็นการอภิปรายในห้องประชุมลับ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยปกติอยู่แล้ว ส่วนครั้นฝ่ายรัฐบาลหรือสภาฯ จะถึงขั้นเสนอให้ขอเก็บโทรศัพท์มือถือของ ส.ส.ระหว่างประชุมลับ ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหนักขึ้นไปอีก และประเมินไว้ว่า วิปรัฐบาล จริงๆ ก็คงไม่ประสงค์จะใช้วิธีการดังกล่าว เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความวุ่นวาย ประท้วงกันไปใหญ่
                วิเคราะห์ได้ว่า หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ ก็คาดได้ว่า พลเอกประยุทธ์และตัวแทนรัฐบาลที่จะร่วมชี้แจงในประเด็นเรื่องการใช้งบประมาณเพื่อมาดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ยังไงก็คงใช้วิธีการปักหลักชนกับฝ่ายค้านแบบซึ่งๆ หน้า กลางห้องประชุมสภาฯ กันไปเลยจะดีกว่า เพราะมีความสง่างามทางการเมืองมากกว่าที่จะมาขอประชุมลับ โดยที่ไม่ได้ลับจริง
                เพียงแต่ก็อาจมีบางบริบท ที่หากพลเอกประยุทธ์เห็นว่าลำบากใจที่จะชี้แจงในประเด็นเรื่อง ถวายสัตย์ฯ ไม่ครบ ที่ต้องชี้แจงผ่านการถ่ายทอดสดทางทีวี-วิทยุ แล้วเห็นว่าเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ก็อาจเป็นไปได้ที่พลเอกประยุทธ์ก็อาจใช้วิธีการเลี่ยงที่จะลงรายละเอียดในการพูดถึงเรื่องถวายสัตย์ฯ โดยใช้วิธีการตอบไปว่า เรื่องดังกล่าวอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
                อย่างไรก็ตาม แท็กติกตัดบทดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็อยู่ในเงื่อนไขที่ว่า ในช่วงวันที่  18 ก.ย. ทางศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำวินิจฉัยใดๆ ออกมาก่อน ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ที่ พลเอกประยุทธ์ ก็อาจใช้วิธีการตัดบทว่าไม่ขอลงรายละเอียดในการอธิบายเรื่องนี้ โดยยกเหตุผลว่า ไม่ต้องการให้การอภิปรายและการชี้แจงเรื่องนี้เป็นการไปก้าวล่วงการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ
                ถึงกระนั้นขอให้เชื่อได้ว่า ต่อให้ พลเอกประยุทธ์ ยกเหตุผลดังกล่าวมาขอตัดบทฝ่ายค้าน แต่หัวเด็ดตีนขาด พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่มีทางยอมง่ายๆ จะต้องพยายามไล่บี้ พลเอกประยุทธ์ ต่อไปให้ได้ โดยอ้างว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำวินิจฉัยใดๆ ออกมา แต่กระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบการอภิปรายซักถามของฝ่ายค้านเป็นคนละส่วนกัน เพราะการอภิปรายของฝ่ายค้านเป็นกระบวนการทางนิติบัญญัติ ไม่เกี่ยวข้องกันกับศาลรัฐธรรมนูญ พลเอกประยุทธ์จึงไม่สามารถยกเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญมาตัดบท ทำลายเกมของฝ่ายค้านได้
                การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติดังกล่าวของฝ่ายค้าน ในวันพุธที่ 18 ก.ย. แม้ดีกรีการอภิปรายและผลทางการเมืองจะไม่หนักเท่ากับการซักฟอกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ดูจากการโหมโรงของฝ่ายค้าน แม้รู้ดีว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่สามารถล้มรัฐบาลและพลเอกประยุทธ์ได้ แต่ก็คาดหวังไว้สูงในการไล่ถลุงพลเอกประยุทธ์กลางสภาฯ ในแมตช์นี้ให้ได้ ก่อนที่จะถึงแมตช์ใหญ่ของจริง ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจช่วงปลายปีนี้ ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมืองเกิดขึ้นกับรัฐบาลเสียก่อน!. 

แผงอำนาจใหม่ใน "ศาล รธน.” มองยาวถึงเก้าอี้ประธาน

ไทยโพสต์ 5ก.ย.62

หลังที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อ 2 กันยายนที่ผ่านมา มีมติตั้งคณะ กมธ.วิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 รายชื่อ ที่จะมาแทนตุลาการศาล รธน.ที่จะต้องพ้นตำแหน่งเพราะครบวาระ จำนวน 5 คน อันประกอบด้วย นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาล รธน., ชัช ชลวร อดีตประธานศาล รธน., บุญส่ง กุลบุปผา, อุดมศักดิ์ นิติมนตรี และจรัญ ภักดีธนากุล
ทางคณะกรรมาธิการฯ ก็เร่งเครื่องประชุมกันทันที โดยต่อมา 3 ก.ย. กมธ.ก็ประชุมลงมติเลือก พลเอกอู้ด เบื้องบน สมาชิกวุฒิสภาเป็นประธาน กมธ. จากนั้น กมธ.ได้มีการวางกรอบการตรวจสอบประวัติในด้านต่างๆ  ทั้ง เปิดเผย-ปิดลับ ที่ก็เป็นวิธีการที่ใช้ทำกันมาทุกยุคสมัย เช่น การทำหนังสือในนาม กมธ. สอบถามไปยังหน่วยราชการที่สำคัญ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อให้ตรวจสอบหาข้อมูลในทางเปิดเผย-ลึก-ลับ ของผู้ที่ถูกส่งชื่อมาให้วุฒิสภา เลือกเป็น ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามีข้อมูลถูกสอบสวน ร้องเรียน หรือมีคดีความอะไรหรือไม่ มีประวัติส่วนตัวและการทำงานที่เข้าข่ายขัดคุณสมบัติต้องห้ามการเป็นตุลาการศาล รธน.หรือไม่ เป็นต้น เพื่อที่ กมธ.จะนำมาเขียนไว้ในรายงานต่อไป
รายชื่อว่าที่ตุลาการศาล รธน. ซึ่งรอบนี้ส่งมา 5 ชื่อ อันเป็น 5 ชื่อเสียงข้างมากในการลงมติของที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีต่างๆ ที่มีด้วยกัน 9 คน ดังนั้น 5 เสียงของตุลาการศาล รธน.ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ต่อจากนี้ จึงถือเป็นเสียงข้างมากในการกำหนดทิศทางการลงมติของศาล รธน.ให้ออกมาในทางใดทางหนึ่ง
ทั้งนี้ ชื่อ 5 ว่าที่ตุลาการศาล รธน. ชุดใหม่ ที่จะเข้ามาเป็น แผงอำนาจใหม่ ในองค์กรศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมาได้ ชี้เป็นชี้ตายและ สร้างจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทย มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ยกตัวอย่างมาได้มากมาย ทั้งการยุบพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งพรรคใหญ่-พรรคเล็ก-พรรคใหม่-พรรคเก่า หรือการตัดสินในคำร้อง จนส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สมัคร สุนทรเวช หรือ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในคดียุบพรรคพลังประชาชน เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ ทิศทางแผงอำนาจใหม่, เสียงข้างมากในศาล รธน. 5 คน ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไปอีกร่วม 7 ปี หรือไม่เกินอายุ 75 ปี จึงอยู่ในความสนใจของสังคมอย่างยิ่ง
โดย 5 ว่าที่ตุลาการศาล รธน.แผงอำนาจใหม่ ที่ถูกส่งชื่อมาให้วุฒิสภาลงมติ เห็นชอบ-ไม่เห็นชอบ แต่ละรายชื่อมีที่มาจากสามทาง ประกอบด้วย รายชื่อที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา คือ อุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา, วิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และ จิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
ส่วนอีก 2 ชื่อ แยกเป็น ผู้ได้รับการคัดเลือกจากการลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาล รธน. ที่มีชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ซึ่งได้ลงมติเลือก นภดล เทพพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกด้วยเสียงเอกฉันท์ หลังที่ประชุมต้องเลือกกันถึงสามรอบเพราะคะแนนสูสีกับเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการศาล รธน.คนปัจจุบัน ก่อนที่สุดท้ายกรรมการสรรหาจะเทเสียงเลือกนพดลไปในทางเดียวกัน ทำให้เชาวนะพลาดโอกาสเป็นตุลาการศาล รธน.ไปแบบเกือบได้เฮ
และชื่อสุดท้ายมาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คือ ชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเสนอตัวเพียงคนเดียวจากตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่มีอยู่รวม 25 คน ทำให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จึงมีมติด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมด เลือกชั่งทองให้ได้รับการเสนอชื่อให้ไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากปฏิทินตัดสินคดีที่รอการวินิจฉัยของที่ประชุมตุลาการศาล รธน.ในเวลานี้ ทั้งคำร้องที่รับไว้วินิจฉัยและคำร้องที่รอการวินิจฉัย เปรียบเทียบกับกรอบเวลาการที่ 5 ว่าที่ตุลาการศาล รธน.จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ก็พบว่ายังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน เช่น การตรวจสอบคุณสมบัติ-ขั้นตอน การลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบของวุฒิสภา ที่น่าจะใช้เวลาร่วม 2-3 เดือน จากนั้น ก็นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป และยังต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับกรณีเกิดเหตุคาดไม่ถึง เช่น หากเกิดกรณี ส.ว.ลงมติตีร่วง ไม่เห็นชอบบางรายชื่อ หรือไม่เห็นชอบทั้งหมด ซึ่งดูแล้วคงเกิดขึ้นได้ยากในกรณีหลัง คงไม่เหมือนกับที่เคยมีเคสสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติคว่ำกระดานโหวตล้ม กกต.-กสทช.
พิจารณาจากลำดับขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมายข้างต้น จึงทำให้มีการประเมินกันว่า หากสุดท้ายว่าที่ตุลาการศาล รธน.ทั้ง 5 ชื่อ ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภาทั้งหมด ยังไงก็ไม่สามารถเข้าพิจารณาตัดสินคดีร้อนๆ ของศาล รธน.ในเวลานี้ได้อยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่การพิจารณาของศาล รธน.ก็ใกล้งวดพิจารณากันไปมากแล้ว บางคำร้องก็จ่อลงมติกันหลายเรื่องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคดีหุ้นสื่อของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, คดีหุ้นสื่อของ ส.ส.รัฐบาลและฝ่ายค้าน, คดียุบพรรคอนาคตใหม่, คดีถวายสัตย์ฯ ของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็คือ เมื่อ 5 รายชื่อว่าที่ตุลาการศาล รธน.ข้างต้น ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นตุลาการศาล รธน. สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ การเลือกประธานศาล รธน. คนใหม่แทนนายนุรักษ์ที่ต้องพ้นวาระไป ซึ่งถึงตอนนั้นจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่จะยังทำหน้าที่ต่อไป 4 คน ประกอบด้วย วรวิทย์ กังศศิเทียม อดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด, ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อดีต อจ.นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ปัญญา อุดชาชน อดีตเลขาธิการศาล รธน. และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีต อจ.รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
มีการมองกันว่า จาก 4 ชื่อข้างต้น คนที่มีอาวุโสและถูกคาดหมายจากบางฝ่ายว่าอาจจะได้ลุ้นเป็น ปธ.ศาล รธน.ก็คือวรวิทย์ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เมื่อแผงอำนาจใหม่ของศาล รธน.เข้ามาทั้ง 5 เสียง ความคาดหมายดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่?