PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป


วันนี้ (26 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถนนแจ้งวัฒนะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยทีมทนายความ ได้เดินทางมาที่ศาลฎีกาฯ ตามนัดไต่สวนพยานโจทก์นัดที่ 3 คดีโครงการรับจำนำข้าว ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
       
       โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าห้องพิจารณาคดีว่า ตอนนี้คนไทยอยากเห็นการเลือกตั้ง การคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว ถ้าทำได้ก็จะทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับคืนมา ตนไม่อยากเห็นสภาพบ้านเมืองถูกควบคุมแบบนี้ อยากให้สิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยกลับคืนมา อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และเป็นของประชาชนตามหลักสากล ถ้าเราไม่เดินตามกลไกประชาธิปไตยก็ไม่สามารถทำให้นักลงทุนต่างประเทศเชื่อมั่นได้ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าห่วง
       
       ขณะเดียวกัน ตนก็เข้าใจข้อจำกัดของรัฐบาล คสช.ที่ต้องดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศ อยากฝากว่ามีวิธีใดหรือไม่ที่จะทำให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา คิดว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือเพราะอยากเห็นประเทศไทยเดินไปข้างหน้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยากจะให้ คสช.ทำตามโรดแมปอย่างเคร่งครัดและทำให้เต็มที่จะได้ประกาศการเลือกตั้งโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเฝ้ารอคอย 
       
       โดยวันนี้ อัยการ โจทก์ นำ นายวิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พยานให้ศาลไต่สวนปากแรก สรุปว่า พยานมีประสบการณ์การส่งออกข้าวมานานเกือบ 40 ปี ได้เป็นนายกสมาคมผู้ส่งออก ฯ ติดต่อ 2 สมัย 4 ปี ก่อนที่จะมาเป็นนายกกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน โดยพยานเคยให้การในชั้น ป.ป.ช.2 ครั้งในปี 2556 และ 2557 สำหรับโครงการจำนำข้าวที่มีการวางกรอบซื้อ-ขายข้าวแบบจีทูจี ( รัฐต่อรัฐ) ไม่ใช่การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐอย่างแท้จริง เพราะมีการส่งข้าวที่ขายให้ผู้แทนไทยที่หน้าโกดังในประเทศไทย ไม่ใช่การส่งออกไปตลาดต่างประเทศ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดปกติไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดช่องโหว่ นำข้าวนั้นมาหมุนเวียนขายในประเทศได้ ซึ่งการขายแบบจีทูจีที่ดำเนินการช่วงปลายของรัฐบาลจำเลย ที่พยานเห็นว่าดำเนินการจริงน่าจะมีเพียง 1 ล้านตันเท่านั้น ที่บริษัทคอฟโก้รัฐวิสาหกิจจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เดินทางมากับรัฐบาลจีนแล้วทำสัญญารับซื้อข้าวที่เป็นข้าวใหม่ ส่วนสัญญาฉบับอื่นในช่วงแรกที่มีการซื้อข้าว 2 ล้านตันนั้นเป็นข้าวเก่าทั้งหมด ทั้งที่ปกติจีนจะซื้อข้าวใหม่เท่านั้นเพราะประชาชนจีนไม่นิยมบริโภคข้าวเก่า ขณะที่ประเทศจีนมีโควตารับซื้อข้าวต่างประเทศเพียง 5.3 ล้านตัน แต่มีระบุว่ามีการทำสัญญาซื้อขายจีทูจี 14 ล้านตัน พยานจึงไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะข้าวนั้นเป็นข้าวเก่าที่เก็บในโกดังด้วย อีกทั้งบริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนของประเทศจีนที่ได้สิทธิ์ซื้อข้าว ต้องเป็นบริษัทคอฟโก้บริษัทเดียวตามพันธะที่ประเทศจีนแจ้งไว้กับ WTO ส่วนบริษัท ไห่หนาน เกรน แอนด์ ออยล์ อินดัสเทรียล เทรดดิ้ง ซึ่งรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์อ้างว่าได้ทำสัญญาซื้อขายข้าวด้วยนั้น จะมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวแทนจีนในการทำการค้าแทนได้ โดยภายหลังการยึดอำนาจมีการนำโควต้ามาให้สมาคมจัดสรรกับบริษัทผู้ส่งออก ซึ่งมีความถูกต้องและเป็นธรรมที่สุด
       
       นายวิชัย เบิกความอีกว่า แม้มติ ครม.ปี 2554 อนุมัติให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้เจรจาซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับต่างประเทศ แต่ในมติก็ระบุชัดเจนว่าเมื่อเจรจาถึงขั้นสุดท้ายแล้วให้สรุปรายงานถึง รมว.พาณิชย์ หากเห็นด้วยให้เซ็นสัญญาได้ ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวทำตามกรอบซื้อขายที่ กนข.วางไว้ ขณะที่ปกติประเทศไทยจะผลิตข้าวได้ปีละ 20 ล้านตัน แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 10 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะเป็นการส่งออก แต่เมื่อมีการแทรกแซงตลาด ด้วยราคารับจำนำ 15,000 บาทที่สูงกว่าราคาตลาดทั่วไป โดยข้าวไปอยู่ในมือรัฐบาลถึง 13 ล้านตัน ขณะที่ไม่มีข้าวเหลือพอให้เอกชนส่งออกนั้นก็เป็นเหมือนการผูกขาด แต่ที่เอกชนยังส่งออกได้ถึง 7 ล้านตัน เพราะมีข้าวหมุนเวียนขณะที่รัฐบาลไม่ได้ระบายข้าวจีทูจีที่แท้จริง จึงทำให้มีการข้าวรั่วไหลมาถึงเอกชน
       พยานยังเห็นว่า แม้รัฐบาลจะรับซื้อข้าวแพง แต่กลับไปขายได้ราคาถูก เพราะคุณภาพข้าวลดลงเมื่อถูกเก็บในโกดังหลายปี ซึ่งปกติข้าวหอมมะลิควรที่จะต้องขายขณะสดใหม่ โดยราคาข้าวในท้องตลาดระหว่างข้าวหอมมะลิ กับข้าวขาวที่ค้างเก่าจะมีราคาต่างกันถึงครึ่งหนึ่ง ขณะที่สมาคมฯ เคยทำหนังสือท้วงติงถึงรัฐบาล 8 ครั้ง และการขอเข้าพบนายนิวัฒน์ ธำรงบุญทรงไพศาล รมว.พาณิชย์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะว่า ให้มีการจำกัดจำนวนข้าวที่รับจำนำ เพราะในช่วงแรกของโครงการรัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวทุกเม็ด กระทั่งงบประมาณเริ่มจะไม่เพียงพอ รัฐบาลจึงจำกัดจำนวนรับซื้อเหลือรายละ 350,000 บาท และขอให้มีการประกาศขายข้าวตามมาตรฐานกระทรวงพาณิชย์ที่จะกำหนดคุณภาพและลักษณะเม็ดข้าวแต่ละประเภทไว้ชัดเจน ไม่ใช่การขายข้าวตามสภาพที่อยู่ในโกดังที่มีข้าวเก็บไว้จำนวนมากเป็นหมื่นตัน อาจมีการนำข้าวด้อยคุณภาพปะปน เมื่อไม่มีผู้แทนคลังสินค้ารับผิดชอบการตรวจสอบคุณภาพข้าวเมื่อซื้อแล้วต้องยอมรับข้าวทั้งหมดไม่อาจฟ้องกลับรัฐบาลได้หากพบข้าวไม่ได้มาตรฐานหรือผิดประเภท ดังนั้นถ้าจะขายข้าวตามสภาพเอกชนก็ต้องเสี่ยง เว้นแต่เอกชนจะรู้จักกับโกดังนั้นแล้วทราบสภาพข้าวที่แท้จริง แต่สมาคมฯ ไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาลเรื่องดังกล่าว
       
       ขณะที่ทนายความของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ พยายามซักถามพยานถึงการกำหนดราคารับจำนำข้าวที่สูงจะช่วยเกษตรกร นายวิชัย ตอบว่า การกำหนดราคาข้าวไม่ควรจะสูงเกินไปจนขายข้าวไม่ได้ ซึ่งผลกระทบไม่ได้อยู่เพียงแค่ข้าวเหลือเก็บโกดังที่จะเน่า แต่ข้าวที่รับจำนำไปอยู่ในมือของรัฐบาลทั้งหมดทำให้เอกชนไม่เหลือข้าวส่งออก ซึ่งผู้ค้า-ผู้ส่งออกมีหน้าที่ระบายข้าวแต่ละปีไม่ให้เหลือโดยเอกชนจะปรับราคาตามกลไกตลาด ไม่ใช่การตั้งราคาสูงราคาเดียวติดต่อยาวนาน 3 ปีเหมือนรัฐบาลทำ เพราะถ้าราคาสูงตลาดโลกรับซื้อไม่ได้ข้าวจะเหลือค้าง เช่น ปี 2551 ราคาข้าวในตลาดเคยสูงสุดถึง 13,000 บาทต่อตัน แต่ข้าวสามารถขายได้และได้กำไรเพราะข้าวดีมีคุณภาพไม่มีข้าวเหลือ แต่ช่วงรัฐบาลจำเลย รับจำนำราคาสูง 15,000 บาทต่อตัน แล้วนำมาขายได้เพียงราคา 6,000 บาทต่อตัน เพราะเป็นข้าวเก่าที่เก็บไว้นาน แสดงว่าการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาล ไม่สัมพันธ์กับราคาตลาด
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการไต่สวน ทนายความจำเลยพยายามซักถามพยานว่า ข้อมูลสถิติตัวเลข เป็นเรื่องความเห็นของพยานเองใช่หรือไม่ ขณะที่นายวิชัย พยานได้ส่งสรุปข้อมูลตัวเลขการค้าข้าวเสนอศาลเป็นหลักฐาน พร้อมระบุว่าสถิติได้รวบรวมข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์
       
       ขณะที่พยานปากที่ 2 นายระวี รุ่งเรือง เครือข่ายแกนนำชาวนา เบิกความว่า ภาพรวมโครงการจำนำข้าว เป็นโครงการที่ดี มีระบบจัดการ แต่เรื่องการตรวจสอบให้โครงการมีประสิทธิภาพไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว ความชื้นข้าว การตรวจสอบคุณภาพข้าว ขณะที่การสวมสิทธิ์ข้าวของชาวนาโดยโรงสี มีจริง แต่ตรวจสอบหาหลักฐานได้ยาก เพราะลักษณะเป็นสมยอมกันระหว่างชาวนากับโรงสีที่ได้ประโยชน์ ซึ่งการสวมสิทธิ์นั้นทางโรงสีจะซื้อใบประทวนจากชาวนา ที่ได้ปลูกข่าวได้จำนวนต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะสวมสิทธิ์ส่วนที่เหลือ โดยให้ค่าตอบแทน 1,000 – 3,000 บาทต่อใบประทวน แล้วเมื่อหน่วยงานรัฐลงมาตรวจสอบโรงสีจะนำข้าวอื่นที่ไม่ได้คุณภาพมาใส่แค่ให้ครบจำนวนตรวจสอบตามใบประทวน ดังนั้นจึงหาหลักฐานได้ยากคล้ายกับการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งที่ไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษร แต่เป็นการรับรู้ทั่วกัน โดยสามารถจับกุมดำเนินคดีทั่วประเทศ 270 คดี ซึ่งเทียบกับสัดส่วนชาวนาที่ร่วมโครงการถือว่าน้อยมาก ขณะที่การดำเนินคดีก็ไม่ใช่โรงสีรายใหญ่
       
       ทั้งนี้นายระวี ยังเบิกความตอบ ที่ทนายความจำเลยซักถามว่า ร่วมชุมนุม กปปส.ปิด ธกส. เพื่อไม่ให้รัฐบาลนำเงินมาจ่ายชาวนาด้วยว่า ตั้งแต่ ต.ค.56 รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนา เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีสิทธิ์กู้เงินจากสถาบันการเงิน จึงร่วมกับมวลชนเพื่อให้รัฐบาลที่มีอำนาจแท้จริงมาผลักดันกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนา
       
       เมื่อศาลไต่สวนพยานทั้ง 2 ปากเสร็จสิ้น ศาลได้นัดไต่สวนพยานโจทก์ปากต่อไปวันที่ 4 มี.ค.นี้ เวลา 09.30 น.
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ทนายความจำเลย ได้แถลงต่อศาล ให้ดำเนินการกับกรณีที่พยานของอัยการโจทก์ นายระวี รุ่งเรือง เครือข่ายชาวนาไทย ที่จะเข้าไต่สวนวันนี้ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนลักษณะโฟนอิน ประเด็นที่จะนำสืบวันนี้ก่อนนั้นว่าไม่เหมาะสมถูกต้อง ภายหลังจากศาลเคยสั่งห้ามคู่ความ 2 ฝ่ายให้สัมภาษณ์ที่จะชี้นำกระทบต่อคดี
       
       นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จึงแจ้งคู่ความว่า ศาลได้ติดตามและเตรียมที่จะแจ้งให้คู่ความทราบอยู่แล้วว่า มอบให้สำนักงานศาลยุติธรรม แถลงข่าวต่อสาธารณะที่จะไม่ให้บุคคลอื่น นอกเหนือจากคู่ความ สัมภาษณ์กระทบต่อคดี ที่จะเป็นการละเมิดศาลตามกฎหมาย โดยศาลกำชับให้ฝ่ายอัยการ ดูแลพยานด้วย
       
       โดยวันนี้ นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม จึงได้ออกคำแถลงเป็นหนังสือต่อสื่อมวลชน ระบุว่า ขณะนี้ได้มีการนำคำให้การพยานในคดี ไปวิเคราะห์ในสื่อสิ่งพิมพ์หรือเผยแพร่ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง อันมีลักษณะที่เป็นการชี้นำหรือบิดเบือนให้ผิดไปจากข้อเท็จจริง นอกจากนี้ยังมีพยานบางปาก ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีระหว่างที่ดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลฎีกาฯ ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้น
       สำนักงานศาลยุติธรรม ขอเรียนว่า การเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ตาม บรรดาข้อความหรือความเห็นที่อาจก่อให้เกิดอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานในคดี หรืออาจทำให้สาธารณชนเข้าใจว่าข้อความหรือความเห็นนั้น มีอิทธิพลต่อการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป โดยเฉพาะข้อมูลที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงแห่งคดี การรายงานหรือการย่อเรื่องหรือ การวิพากษ์เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาอย่างไม่เป็นกลาง ไม่ถูกต้อง หรือโดยไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน รวมทั้งการแถลงข้อความที่ทำให้เสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ว่าข้อความเหล่านั้นอาจเป็นความจริงหรือการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้และอาจเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32 (2)
       
       “ ขอความร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย งดการวิเคราะห์หรือให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อันอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลและอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในคดีดังกล่าว 
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)
        
“ปู” ขึ้นศาลฎีกาฯ คดีรับจำนำข้าว อ้อนอยากเห็น คสช.คืนอำนาจตามโรดแมป (มีคลิป)

เริ่มขึ้นแล้ว!การลาดตระเวนในลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 43

เริ่มขึ้นแล้ว!การลาดตระเวนในลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 43
เมื่อเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีน-ลาว-เมียนมาร์-ไทย เริ่มร่วมปฏิบัติการลาดตระเวนตามลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 43 ที่ท่าเรือกวนเหล่ย จังหวัดสิบสองปันนา มณฑลยูนนานของจีน เพื่อเพิ่มกำลังรักษาความสงบในลุ่มน้ำโขงให้มากขึ้น
โดยการลาดตระเวนครั้งนี้มีปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบ โดยผสมผสานกันระหว่างการลาดตระเวนร่วมกันตลอดเส้นทางกับการลาดตระเวนร่วมเป็นระยะๆ การลาดตระเวนโดยกองเรือกับการลาดตระเวนโดยเรือเดี่ยว การตั้งจุดตรวจสอบกับการสุ่มตรวจสอบ
อีกทั้งยังเพิ่มการตรวจสอบเรือพาณิชย์ที่แล่นผ่านไปมาเพื่อปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ ตามลุ่มน้ำโขง เช่น การก่อการร้าย การค้าแบบหนีภาษี การลักลอบข้ามแดน การค้ายาเสพติด การค้าปืน และการค้ามนุษย์ ตลอดจนรับรองความมั่นคงและเสถียรภาพของลุ่มน้ำด้วย
(ขอขอบคุณข่าวและรูปจาก fanpage China Face by CRI)

ตร.ออกหมายเรียก ‘พะจุณณ์’ รับทราบข้อกล่าวหาแชตไลน์หลุด 10 มี.ค.


เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีรายงานว่า พนักงานสอบสวนคดีที่มีข้อความแชตในแอพพลิเคชั่นไลน์แบบกลุ่ม กล่าวหาว่ามี พล.อ.รายหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งตำรวจ ได้สืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน กระทั่งล่าสุดวันนี้พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียก พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯในวันที่ 10 มีนาคม เวลา 10.00 น. ณ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ศูนย์ราชการ ย่านแจ้งวัฒนะ แล้ว

คสข. ไม่สน ข้อเสนอ "บิ๊กจิ๋ว" สะกิดคสช.คืนอำนาจ เลือกตั้ง ปีนี้

คสข. ไม่สน ข้อเสนอ "บิ๊กจิ๋ว" สะกิดคสช.คืนอำนาจ เลือกตั้ง ปีนี้ ยัน ยึดโรดแมพเดิม เลือกตั้ง ปี2560 มอง บิ๊กจิ๋ว ห่วงชาติบ้านเมือง ไม่มีเบิ้องหลัง ไม่คิดเรียกปรับทัศนคติ
พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคสช. บอกว่า ตนเองเป็นนายทหารรุ่นน้อง หรือรุ่นลูกหลาน ไม่ตอบโต้ บิ๊กจิ๋ว พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯและ อดีตผบ.ทบ.
โดย มองในแง่ดี ว่า พลเอกชวลิต ท่านเป็น ผู้ใหญ่ ที่ทำงานเพื่อกองทัพ และชาติบ้านเมือง มาในอดีต ตอนนี้ท่านคง ห่วงชาติบ้านเมือง ออกมาแสดงความเห็น ไม่มีอะไรเบื้องหลัง สิ่งไหนเป็นประโยชน์ก็รับฟัง สิ่งใดท่านไม่เข้าใจ เราก็ชี้แจง ไม่คิดเชิญปรับทัศนคตื เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็น ในช่วงนี้ ที่เป็นการปรับแก้ ร่างรธน. แต่ไม่ใช่เพราะเป็น อดีตผู้นำทหาร กฏในการเชิญปรับทัศนคติ เสมอภาคกันไม่ว่า เป็นพลเรือน หรือทหาร
ยันยึด โรดแมพเดิม ไม่อาจเลือกตั้ง ในปีนี้ได้ เพราะเป็นขั้นตอนการร่าง รัฐธรรมนูญ และรอการทำประชามตื ยันมีเลือกตั้งปี 2560
พ.อ.ปิยพงศ์ ขอ ไม่ตอบโต้"อนุสรณ์ เอี่ยมสอาด" พรรคเพื่อไทย เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
มีหน้าที่ชี้แจงสร้างความเข้าใจปชช .ไม่สร้างความขัดแย้ง การไปตอบโต้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ แค่"มดงาน-ลิ่วล้อ"
ส่วนกรณีที่ พลเอกชวลิต ระบุว่า มีองค์กร Black Swan เป็นกลุ่มก่อการร้ายในภาคใต้ นั้น พันเอกปิยพงศ์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีรายงานยืนยันในเรื่องนี้ กำลังให้หน่วยข่าวตรวจสอบ อยู่
พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่าขอบคุณพล.อ.ชวลิต ที่แสดงความคิดเห็น ซึ่งท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาและบริหารบ้านเมืองมาก่อน ดังนั้นข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต ถือว่าเป็นประโยชน์อยู่บ้าง
"แต่สถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก เพราะกำลังเข้าสู่โหมดการปฏิรูปประเทศชาติ จึงจำเป็นที่คนไทยทั้งชาติต้องผ่านความยากลำบากด้วยกัน แต่คิดว่าจะใช้เวลาอีกไม่นานจะเห็นความสำเร็จของประเทศชาติร่วมกันในอนาคต ส่วนที่มีความเป็นห่วงเรื่องปัญหาเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกชะลอตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะเศรษฐกิจทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งทีมเศรษฐกิจก็มีความตั้งใจเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ในระยะนี้"พ.อ.ปิยะพงศ์ กล่าว
พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า ทุกอย่างต้องเดินตามโรดแมป เพราะมีกรอบเวลา ทั้งเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ และการเลือกตั้ง ทุกอย่างไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง สิ่งใดที่เป็นข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ คสช.ยินดีรับฟังทุกเรื่อง และนำมาคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง
ส่วนข้อห่วงใยว่าคสช.จะต่ออำนาจไปอีก 5 ปีนั้น อาจจะเป็นข้อกังวลของพล.อ.ชวลิต แต่ข้อเท็จจริงเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วก็ต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน
เมื่อถามว่าคสช.ได้ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่าทำไมช่วงนี้มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นกันถี่มากขึ้น พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไข เชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องเชิญพล.อ.ชวลิต มาปรับทัศนคติหรือไม่ พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องเชิญมาปรับทัศคติ เพราะพล.อ.ชวลิตเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง และมีคุณูปการต่อบ้านเมืองเสมอมา ส่วนพลเรือนคนอื่นก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน ทุกคนมีความเสมอภาคกัน แต่ขอร้องว่าต้องไม่เป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง

นายกฯ บิ๊กตู่ บอกทำทุกวันนี้ ไม่ได้อยากได้สักคะแนน แต่ขอวางยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ไว้ให้

นายกฯ บิ๊กตู่ บอกทำทุกวันนี้ ไม่ได้อยากได้สักคะแนน แต่ขอวางยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ไว้ให้
"วันนี้ รัฐบาลพยายามทำเต็มที่ แก้ไขปัญหาประชาชนในทุกมิติ สร้างสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต ที่ผมพูดเพื่อให้ทุกคนเข้าใจ ไม่มีอะไรเป็นส่วนตัว
ผมสงสารพ่อแม่พี่น้องประชาชน ผมเป็นทหาร ทุกคนเป็นทหาร ทุกคนถูกทับซ้อนทั้งหมด การบริหารราชการไม่สามารรถทำเป็นชิ้นเป็นอันได้ ประเทศถูกซอยย่อยด้วยกระบวนการที่ผ่านมาทั้งหมด
วันนี้ต้องไม่ทำแบบนั้นอีก ต้องเข้มแข็งด้วยตัวของท่านเอง กำหนดชะตากรรมของท่าน การเลือกตั้งที่จะมาในอนาคตท่านต้องกำหนดอนาคตตัวเอง อย่าให้คนมาชี้นำ การทำอะไรนอกกฎหมายต้องไม่เกิดขึ้นอีก
รัฐบาลไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ใครทั้งสิ้น เศรษฐกิจทั้งหมดต้องเชื่อมโยงขนาดใหญ่ไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นห่วงโซ่มูลค่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็ตายลูกเดียว โดยทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ ถ้าเป็นแบบเดิมก็ไม่เกิดผลสำฤทธิ์ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำแล้วดีใจเมื่อได้คะแนนเสียงเข้ามา
แต่ผมไม่ต้องการสักคะแนน และอยากให้นึกถึง 20 ปีข้างหน้า นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่ต้องวางจัดทำแบบสะเปะสะปะไม่ได้แล้ว ซึ่งผมไม่ได้บังคับใคร แต่วางไว้ว่าควรจะทำอะไร โดยทุกๆรัฐบาลจะต้องดูแลทุกพื้นที่ให้ทั่วถึง ส.ส.ต้องดูแลพื้นที่ ส่งข้อมูลปัญหามายังรัฐบาลเพื่อจัดทำแผนไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะพวกของตัวเอง ทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ พรรคการเมืองจะทำตามนโยบายของตัวเองก็ว่าไปแต่อย่าทำอะไรให้เกิดความเสียหาย อย่างนี้พอไปได้หรือไม่ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ผู้ว่าฯ ก็ต้องไปคุยต่อ ไม่ใช่ทุกอย่างจะเกิดโดย ส.ส.ทุกอย่างต้องรายงานมาที่รัฐบาลเพื่อวางแนวทางให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ปลายทาง รัฐบาลต้องดูแลคนทั้งประเทศจะได้ไม่เกิดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันประชาชนก็มีสิทธิ์ท้วงติงว่านโยบายไหนที่ดี หรือนโยบายใดที่จะทำให้เกิดความเสียหาย" พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี อุทัยธานี 26กพ.2559

นายกฯ บิ๊กตู่ ขอเห็นใจ ยันไม่เปลี่ยน "พลเอกฉัตรชัย" รมว.เกษตรฯ

นายกฯ บิ๊กตู่ ขอเห็นใจ ยันไม่เปลี่ยน "พลเอกฉัตรชัย" รมว.เกษตรฯ ขอให้เห็นใจท่านทำงานทุกวัน แล้วมาบอกว่าไม่ชอบรมว.เกษตรฯ ถึงไม่ชอบก็ไม่เปลี่ยน ขอชาวอุทัย เห็นใจ รมว.เกษตรฯ เพราะเขาเหนื่อย จากปัญหาที่ทับซ้อนมากมาย แต่วันนี้ดีขึ้น
พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ กล่าวกับชาวบ้าน ที่อุทัยธานี ในตอนหนึ่งว่า อยากให้เห็นใจ พลเอกฉัตรชัย รมว.เกษตรและสหกรณ์ด้วย ท่านทำงานทุกวันแล้วมาบอกว่า ไม่ชอบรมว.เกษตรฯ ถึงไม่ชอบก็ไม่เปลี่ยน เพราะเขาเหนื่อยและเหนื่อยกันทุกคน จากปัญหาที่ทับซ้อนมากมายมหาศาล แต่วันนี้ดีขึ้น ขอบคุณข้าราชการที่ให้ความร่วมมือ แต่ช้าบ้างเร็วบ้าง ก็ต้องปรับเปลี่ยนและปฏิรูปตัวเองทั้งหมด ทั้งข้าราชการ รัฐบาล ประชาชน ภาคประชาสังคมและนักการเมือง รัฐบาลไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ใครทั้งสิ้น เศรษฐกิจทั้งหมดต้องเชื่อมโยงขนาดใหญ่ไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นห่วงโซ่มูลค่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็ตายลูกเดียว โดยทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ ถ้าเป็นแบบเดิมก็ไม่เกิดผลสำฤทธิ์ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำแล้วดีใจเมื่อได้คะแนนเสียงเข้ามา แต่ตนไม่ต้องการสักคะแนน และอยากให้นึกถึง 20 ปีข้างหน้า นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่ต้องวางจัดทำแบบสะเปะสะปะไม่ได้แล้ว ซึ่งตนไม่ได้บังคับใคร แต่วางไว้ว่าควรจะทำอะไร โดยทุกๆรัฐบาลจะต้องดูแลทุกพื้นที่ให้ทั่วถึง ส.ส.ต้องดูแลพื้นที่ ส่งข้อมูลปัญหามายังรัฐบาลเพื่อจัดทำแผนไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะพวกของตัวเอง ทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ พรรคการเมืองจะทำตามนโยบายของตัวเองก็ว่าไปแต่อย่าทำอะไรให้เกิดความเสียหาย อย่างนี้พอไปได้หรือไม่ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ผู้ว่าฯ ก็ต้องไปคุยต่อ ไม่ใช่ทุกอย่างจะเกิดโดย ส.ส.ทุกอย่างต้องรายงานมาที่รัฐบาลเพื่อวางแนวทางให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ปลายทาง รัฐบาลต้องดูแลคนทั้งประเทศจะได้ไม่เกิดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันประชาชนก็มีสิทธิ์ท้วงติงว่านโยบายไหนที่ดี หรือนโยบายใดที่จะทำให้เกิดความเสียหาย
“วันนี้ถ้าผมทำไม่ได้ผมก็ผิดด้วย ประชาชนต้องให้ความร่วมมือ ถ้าไม่ร่วมมือก็ไปไม่ได้ ก็ถือว่าผิดด้วยกัน วันนี้เราต้องสร้างสังคมเมืองในชนบทเพื่อให้สาธาณูปโภคต่างๆเข้ามาพัฒนาพื้นที่ได้ง่ายขึ้น โดยพื้นที่อำเภอระบำถือเป็นตัวอย่าง วันนี้เห็นหน้าตายิ้มแย้ม ต่อไปขอให้ใช้เป็นชื่อสหกรณ์เริงระบำก็แล้วกัน” นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้กำนันผู้ใหญ่บ้าน จะต้องทำงานเป็นทีมเดียวกัน เดินตามแนวทางประชารัฐและต้องรู้จัก ไอจี (อินโฟกราฟฟิก) ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา จะได้มาพัฒนาตัวเอง ตนดีใจที่ได้มาวันนี้แต่ก็ยังเสียใจที่การพัฒนาประเทศยังช้าไปเสียใจ ไทยพัฒนาช้าไม่ทันโลก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การจะทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องคิดถึงคนอื่นให้มาก ตนรู้สึกเสียใจที่ประเทศไทยพัฒนาได้ช้า ไม่ทันสถานการณ์โลก อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่วันนี้ เราทำตามแนวทางพระราชดำริของพระราชินี ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่ดิน หรือเรื่องป่า ทำเพื่ออนาคตของลูกหลาน จึงขอให้ทุกคนช่วยกัน สำหรับปัญหาภัยแล้งรัฐบาลมีหลายมาตราการในการดูแล และอยากขอความร่วมมือเกษตรกรว่าอย่าทำนาปรังในพื้นที่น้ำน้อย น้ำวันนี้มีปริมาณจำกัด ต้องช่วยกันประหยัด เราดูแลทุกคนในประเทศไม่ใช่ดูแลเพียงกลุ่มใดกลุ่มเดียว ที่ผ่านมาประเทศมีปัญหาก็เพราะการเลือกดูเพียงบางกลุ่ม ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราต้องการให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ และหาอาชีพเสริม วันนี้ต้องทำให้พื้นที่ของตัวเองพัฒนา มีความแข็งแรง เพื่อที่จะไม่ต้องออกไปทำงานที่อื่น
นายกฯ กล่าวต่อว่า การแข่งขันทางการค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเทศไทยเองยังมีปัญหาเกี่ยวกับสินค้าประจำท้องถิ่น ซึ่งในประเทศอาเซียน ก็มีสินค้าในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นการแข่งขันจึงสูงขึ้น ประชาชนต้องเตรียมตัวให้พร้อมโดยการสร้างความเชื่อมโยง ซึ่งรัฐบาลได้เริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลาง เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยง อย่างไรก็ตาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องรวมตัวกันเป็นหนึ่ง เป็นประชารัฐ เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ

เบื้องหลังคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ยกเว้นกฎหมายผังเมืองและเขตเศรษฐกิจพิเศษ 100 ปีเพื่อใคร?

        ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ติดสินใจใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ออกคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ คำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 ทำให้ประชาชนได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น 
       
        และนับจากนี้ 2 คำสั่งนี้จะถูกจับตาว่าจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่จะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งที่ขยายไปวงกว้างมากน้อยแค่ไหน?
       
        สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อาศัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2557 เแต่งตั้ง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (และแต่งตั้งกรรมการชุดดังกล่าวเพิ่มเติมโดยอาศัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 109/2557 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
       
        ต่อมาหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2557แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจได้เพียงวันเดียว จึงได้พบต่อมาในราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์ประกาศเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยสาระสำคัญคือให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ "ปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ทำลาย หรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่า" รวมถึงการสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้ การนำเข้าและส่งออกไม้ "ตลอดแนวชายแดน"
       
        ในเวลานั้น คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ได้รับการขนานนามว่าเป็นคำสั่ง "ทวงคืนผืนป่า"เพราะประชาชนและสื่อมวลชนเข้าใจว่า พลเอกประยุทธ์มีความปรารถนาต้องการรักษาป่าเอาไว้ให้ลูกหลานอย่างถึงที่สุด
       
        ต่อมาคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ (ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2557) ได้ออกประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ "ตลอดแนวชายแดน"มาแล้ว 2 ครั้ง คือ
       
        ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ประกาศเขตพัฒนาเศษฐกิจพิเศษตาก ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด
       
        ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ประกาศเขตพัฒนาเศษฐกิจพิเศษหนองคาย ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี
       
        ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 เรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง
       
        ในเวลานั้นก็ไม่มีใครได้คิดว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษจะไปเกี่ยวข้องกับเขตป่าสงวน หรือเขตป่าไม้ถาวรใดๆ เพราะ 1 ปีก่อนหน้านั้น คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ทำการเข้าจับกุมและปราบปรามการทำลายป่าอย่างเข้มแข็ง
       
        แต่ ความสำคัญของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 นั้นได้ทำการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ เพิกถอนเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เพิกถอนเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน และถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามแนวเขตแผนที่ในคำสั่งนี้ ให้ตกเป็นที่ราชพัสดุเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ ที่ดินในท้องที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, ที่ดินในท้องที่ตำบลคำอาฮวน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร, ที่ดินในท้องที่ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว, ที่ดินในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด, ที่ดินในท้องที่ตำบลสระไคร อำเภอสระไคร จังหวัดหนองคาย 

รายงานพิเศษที่ต้องอ่าน! เบื้องหลังคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ยกเว้นกฎหมายผังเมืองและเขตเศรษฐกิจพิเศษ 100 ปีเพื่อใคร?
        คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 ยังกำหนดในข้อ 5 อีกด้วยว่าถ้ามีเอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินในแผนที่ซึ่งกำหนดไว้ให้ตกเป็นที่ราชพัสดุแล้ว และเป็นผลทำให้พื้นที่ไม่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันหรือมีลักษณะไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจดำเนินการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำที่ดินอันเป็นที่ราชพัสดุแลกเปลี่ยนกับที่ดินของเอกชนรายนั้นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกำหนดเอาเอง หรือจะสั่งให้ชดใช้เงินแทนการแลกเปลี่ยนที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และหากมีการแลกเปลี่ยนที่ดินก็ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทั้งปวง และใหได้รับการยกเว้นภาษีการแลกเปลี่ยนซึ่งอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
       
        นอกจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะมีอำนาจล้นฟ้าในการนำที่ราชพัสดุแลกที่ดินกับเอกชน หรือสั่งชดใช้เงินให้เอกชนได้แล้ว คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 ยังกำหนดในข้อ 6 ด้วยว่าที่ดินซึ่งได้นำมาเป็นที่ราชพัสดุนั้น ให้กรมธนารักษ์จัดหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ หรือจัดให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนเพื่อใช้เป็นพื้นที่พัฒนา "ตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งอัตราค่าเช่า" ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะกำหนดขึ้น 
       
        ข้อสำคัญ "ระยะเวลาการเช่า" นั้นยังได้ถูกกำหนดเอาไว้ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 ยังกำหนดในข้อ 6 ด้วยว่า "ต้องไม่น้อยกว่าคราวละ 50 ปี" และอาจต่อสัญญาอีกได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะกำหนดขึ้น
       
        ส่วนที่ดินซึ่งได้มาแล้วปล่อยเช่าโดยอาศัยมติคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น คำสั่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 ยังกำหนดในข้อ 7 ด้วยว่าผู้เช่ามีสิทธินำไปให้เช่าช่วงหรือนำไปหาประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้อีก และการให้เช่าแม้จะจะเกิน 100 ไร่ ก็ให้กระทำได้โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน 
       
        คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ดำเนินการนำพื้นที่มาจากถอนสภาพที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเขตป่าไม้ถาวร เขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน และที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ให้มาเป็นที่ราชพัสดุแล้ว ยังได้พื้นที่ของหน่วยราชการมาใช้ประโยชน์ให้เอกชนและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่าเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งสิ้นประมาณกว่า 19,211 ไร่
       
        ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มติคณะรัฐมนตรีได้รับทราบอัตราค่าเช่าที่ดินและค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามที่กระทรวงการคลังเสนอปรากฏข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ระบุว่า:
       
        ค่าเช่า ปีแรกไร่ละ 24,000 - 40,000 บาท ต่อปี (ไร่ละ 2,000 - 3,333 บาทต่อเดือน) และปรับขึ้นร้อยละ 15 ทุก 5 ปี
       
        ค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าต่อไร่ต่อ 50 ปี อยู่ที่ 160,000 - 300,000 บาท โดยผ่อนชำระ 5 ปี โดยจ่ายปีที่ 6 -10
       
        สำหรับค่าเช่าของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลดให้ 30% หรือคิดเป็นค่าเช่าปีแรกไร่ละ 16,800 - 28,000 บาท ต่อปี (ไร่ละ 1,400 - 2,333 บาทต่อเดือน)
       
        ระยะเวลาการเช่า 50 ปี และอาจต่อสัญญาเช่าได้อีก 50 ปี (รวมเป็น 100 ปี)
       
        ที่ดินป่าสงวน ที่ดินป่าถาวร เขตปฏิรูปที่ดิน และพื้นที่ อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และที่ดินหน่วยราชการ ซึ่งเอกชนและประชาชนทั่วไปได้เคยถูกห้าม และถูกจับกุมในการใช้พื้นที่ กำลังถูกทวงคืนผืนป่านำมาจัดสรรใหม่ให้ธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม ด้วยสิทธิประโยชน์มากมายถึง 50 -100 ปี ด้วยค่าเช่าเริ่มต้นเดือนละประมาณไร่ละ 1,500 - 3,000 บาท (และสามารถนำไปปล่อยเช่าต่อทำกำไรได้ด้วย)
       
        นอกจากจะได้รับที่ดินมาบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว เขตเศรษฐกิจพิเศษยังต้องมีการลงทุนโดยได้งบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2560 รวม 19,114 ล้านบาท
 แบ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3,974 ล้านบาท, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจีสติกส์ 13,238 ล้านบาท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 1,610 ล้านบาท และการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม 292 ล้านบาท
       
        ถามว่ากลุ่มธุรกิจใดจะได้ประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ?
       
        จากการนำเสนอที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ระบุกิจการเป้าหมายสำหรับการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจจำนวน 13 กลุ่มกิจการเป้าหมาย ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง, 2. เซรามิกส์, 3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง, 4. อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน, 5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, 6. การผลิตเครื่องมือแพทย์, 7.อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน, 8. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, 9. การผลิตพลาสติก, 10. การผลิตยา, 11. กิจการโลจิสติกส์, 12. นิคมหรืออุตสาหกรรม, 13. กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
       
        เป็นที่น่าสังเกตว่า เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมประมง รวมถึง การผลิตพลาสติก ก็น่าจะมี "ขาใหญ่"เตรียมตัวรองรับโครงการเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้อยู่แล้ว
       
        มิพักต้องพูดถึงทุนข้ามชาติที่จะได้โอกาสครั้งสำคัญในการเช่าที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษในแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยได้คราวละไม่ต่ำกว่า 50 ปี และต่อได้อีก 50 ปี รวมเป็น 100 ปีได้ด้วย!!!
       
        และอย่าเพิ่งดีใจเพราะคิดว่าจะเกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับแรงงานไทย เพราะมติคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบการจัดระบบการจ้างคนต่างด้าวสํญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ ตามฤดูกาล ตามมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 รองรับเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

       
        และเมื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษตัดขัดในอุปสรรคของผังเมืองและประกาศทั้งหลาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ลงนามคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 เพื่อยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม รวมถึงยกเว้นข้อบัญญัติท้องถิ่น ยกเว้นประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ห้ามก่อสร้าง ห้ามดัดแปลง ห้ามรื้อถอน ห้ามเคลื่อนย้าย หรือการห้ามใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่เป็นอุปสรรคทั้งปวง ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่อไป
       
        แต่ที่ต้องจับตาไปมากกว่านั้นก็คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ลงนามคำสั่ง ที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 อีกด้วย
       
        คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 นี้ให้ยกเว้นการใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองสำหรับการประกอบกิจการคลังน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และการประกอบกิจการที่เป็นโรงงานผลิต หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าทุกโรงทุกขนาด และให้ยกเว้นการใช้บังคับผังเมือรวมถึงการประกอบกิจการโรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติส่งหรือจำหน่ายก๊าซ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
       
        คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ความหมายก็คือการยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงผลิตก๊าซ โรงงานกำจัดขยะ และโรงงานรีไซเคิลขยะและของเสีย
       
        นับจากนี้โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงผลิตก๊าซ โรงงานกำจัดขยะ และโรงงานรีไซเคิลของเสีย โรงงานที่มีมลพิษเหล่านี้จะไม่ต้องใช้ผังเมืองมาบังคับทั่วประเทศแล้ว !!!
       
        และคำสั่งนี้ไม่ได้มีผลเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อไป ต่อไป และตลอดไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดใด ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกคำสั่งนี้ 

       
        คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 นั้น ได้อ้างเหตุผลในการใช้คำสั่งมาตรา 44 ครั้งว่า:
       
        "โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบปัญหาความมั่นคงในการจัดหาพลังงานและปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เนื่องจากเป็นเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาขยะล้นเมือง การบริหารจัดการขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จนนำไปสู่การกำหนดให้การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ซึ่งในความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวกลับปรากฏข้อขัดข้องหรืออุปสรรคจากข้อกำหนดทางกฎหมายบางประการ จึงจำเป็นต้องระงับและแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน"
       
        คำแถลงในคำสั่งดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง เพราะในวันนี้การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมาจนล้นกำลังสำรองมาตรฐานไปอย่างมากมายมหาศาล ข้ออ้างเรื่องความเร่งด่วนจึงไม่น่าจะฟังขึ้น นอกจากหวังที่จะเร่งสร้างโรงไฟฟ้าให้ได้โดยไม่ต้องติดผังเมืองเท่านั้น ใช่หรือไม่?
       
        แต่การขอพ่วงโรงงานกำจัดขยะ โรงไฟฟ้าขยะ และโรงงานรีไซเคิลขยะให้ไม่ต้องติดขัดอุปสรรคของผังเมืองไปด้วย ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามใช้อำนาจพิเศษ โดยอาศัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) มาตรา 44 มาช่วยขจัดอุปสรรคผังเมืองให้กับธุรกิจเหล่านี้ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
       
        แต่คนที่มีความกระตือรือล้นในการผลักดันการกำจัดขยะและต้องการแก้ไขขยะมากที่สุดในรัฐบาลชุดนี้มากกว่าใคร ต้องยกให้ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บูรพาพยัคฆ์รุ่นพี่ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เคยให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ว่า:
       
        " ขณะนี้ได้ทำพื้นที่กำจัดขยะไว้แล้วทั่วประเทศ 141 แห่ง โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพราะมีขยะพอเพียงทำโรงไฟฟ้าได้มี 44 แห่ง ส่วนกรณีไม่พอเพียง แต่อยู่ในรัศมีใกล้กัน 4 กิโลเมตร หากคุ้มที่จะทำก็จะขนมาให้ได้เป็นจุดเดียว โดยปริมาณขยะที่ต้องการสำหรับเป็นโรงเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าจะอยู่ประมาณวันละ 500 ตัน หากต่ำกว่านั้นจะไม่คุ้มทุน ทั้งนี้ ในขั้นต่อไปจะพิจารณาว่ารัฐจะลงทุนหรือจะให้เอกชนลงทุน หรือจะมีใครมาร่วมทุน โดยจะต้องศึกษาพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ว่าจะต้องปฏิบัติตามอย่างไร หากจะต้องการจะดูตัวอย่างก็ได้มีโครงการนำร่องแล้วที่ จ.พระนครศรีอยุธยา"
       
        ฝากคำเตือนในฐานะกัลยาณมิตรว่า ประชาชนทั่วไปเขาคาดหวังมากเรื่องการใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์โดยมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว)นั้น มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศในสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง เช่น การยึดและอายัดทรัพย์นักการเมืองและข้าราชการที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง, การแก้ไขปัญหาการผูกขาดและผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐในธุรกิจพลังงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนเป็นใหญ่ ฯลฯ การที่ไม่เคยมีคำสั่งดังกล่าวข้างต้นนั้นก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเกรงใจนักการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มทุนสามานย์ ไปถึงไหนและเมื่อไหร่?
       
        แต่ที่แน่ๆ คือประชาชน ไม่เคยมีความต้องการคาดหวังการใช้อำนาจพิเศษ เพื่อยกเลิกผังเมือง ลดสิทธิพลเมือง และห้ามคนมาชุมนุมประท้วงคัดค้าน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบางกลุ่มเป็นใหญ่ !!! 

"บิ๊กจิ๋ว"เปิดบ้าน จี้คสช.สละอำนาจโดยเร็ว ค้านอยู่ต่อห้าปี

"พล.อ.ชวลิต" เปิดบ้าน จี้คสช.สละอำนาจโดยเร็ว ค้านอยู่ต่อห้าปี เตือนซ้ำรอบอดีตตอนเข้าได้ออกไม้ ออกไปได้ก้อนอิฐ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เปิดบ้านพักซอยปิ่นปรภาคม เพื่อให้สัมภาษณ์ถึงร่างรัฐะรรมนูญ และได้ทำทำจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนชาวไทยผู้รักชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลทั้งในและนอกเครื่องแบบ ประมาณ 10 คนร่วมสังเกตการณ์ แต่ครั้งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารเฝ้าสังเกตการณ์และบันทึกภาพเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา 

ทั้งนี้จดหมายเปิดผนึก ระบุว่า นับแต่ คสช.อาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาของชาติและความขัดแย้งของบ้านเมืองตั้งแต่วันที่22 พ.ค.57 ซึ่งสามารถระงับยับยั้งความขัดแย้งได้ในระดับหนึ่ง แต่จากการบริหารงานมาครบ 2 ปี ปรากฏว่าแนวทางที่รัฐบาล คสช.กำลังดำเนินการกลับมีแนวโน้มนำไปสู่ความขัดแย้งในบ้านเมืองยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนเดือดร้อน เศรษฐกิจเข้าสู่ยุคเงินฝืด ประชาชนขาดกำลังซื้อ การส่งออกลดลงอย่างรุนแรง 

ขณะที่การร่างรัฐธรรมนูญที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการยกร่าง นั้น ได้รับการต่อต้านจากหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้น โครงสร้างและเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตยที่อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง มิหนำซ้ำยังถอยหลังเข้าคลองหลายสิบปี ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการปรับปรุงก่อนไปสู่ขั้นตอนการจัดทำประชามติ มีข่าวว่ารัฐบาลพยายามทุกวิถีทางผลักดันเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน ประชามติให้ได้ ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็มีเครือข่ายเตรียมการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและไม่ให้ประชามติครั้งนี้ผ่านไปได้ 

“จากประสบการณ์ในชีวิตของข้าพเจ้าที่ได้มีส่วนเข้าไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศช่วงที่ผ่านมา เชื่อได้ว่าเป็นการยากที่ คสช. และรัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและรุมเร้าอยู่ได้ และทราบว่าเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาผู้ช่วยเลขาธิการใหญ่องค์กรสหประชาชาติ ฝ่ายการเมืองและคณะได้เดินทางมาประเทศ ไทยเพื่อติดตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยหวังให้ไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย” 

เนื้อหา ระบุอีกว่า จากปัญหาที่ซับซ้อนดังกล่าว การเสียสละอำนาจของ คสช.ถ้าไม่เกิดขึ้นโดยเร็วก็ยากที่จะขจัดปัญหาให้หมดสิ้น ซึ่งจะตกเป็นภาระแก่ชนรุ่นหลัง ในฐานะนายทหารรุ่นพี่ขอร้อง คสช.ไตร่ตรองปัญหาประเทศโดยเมื่อท่านได้ทำหน้าที่รักษาความสงบของบ้านเมืองแล้วก็ควรจะเสียสละอำนาจส่งต่อภาระหน้าที่ให้กับคณะกรรมการกลางที่จะมาจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันบริหารจัดการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปี 2559 เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 

จากนั้น พล.อ.ชวลิตให้สัมภาษณ์ถึงร่างรัฐธรรมนูญว่า ตนกับนายมีชัยและนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เคยทำงานร่วมกันมา ก็ไม่ทราบว่าจะผ่านหรือไม่ แต่ขอให้ช่วยร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับที่ดีที่สุด จะได้ไม่ถูกฉีกอีก ทั้งนี้ ขอให้นายมีชัยยืนอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง อย่าถึงขั้นต้องรับคำสั่งโดยตรง อย่าต้องถึงขั้นเดินให้ตรงเปี๊ยะ 

ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับคำสั่งจาก คสช.​เพื่อให้ประชามติผ่านหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา แต่ตนมองว่าอยากให้ทหารถอนตัว เพราะไม่ใช่หน้าที่ของทหาร 

เมื่อถามถึงกรณีที่รัฐบาล คสช.จะอยู่ต่อช่วงเปลี่ยนผ่านไปอีก 5 ปี พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า จะเป็นไปได้อย่างไร บอกหลายทีแล้วว่า คสช. มีภาระหน้าที่แค่ไหน ท่านเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเท่านั้น มีหน้าที่แค่นี้ จะขออยู่ต่ออีก 5 ปีได้อย่างไร แค่ 5 เดือนก็ไม่ไหวแล้ว เพราะตลอด 2 ปีที่บริหารประเทศก็เห็นแล้วว่าเป็นอย่างไร ยิ่งมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีก็ยิ่งแย่ เป็นไปไม่ได้ ส่วนถ้า คสช.อยู่ต่อแล้วอาจจะเหมือนอดีตรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ตอนเข้ามาได้ดอกไม้ พอออกไปก็ได้รับก้อนอิฐ 

เมื่อถามว่ามองอย่างไรกับการเคลื่อนไหวและการให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในช่วงนี้ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า เชื่อว่าท่านคงพูดด้วยความเป็นห่วงบ้านเมือง 

เมื่อถามว่าอยากฝากอะไรถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า อยากให้คนไทยมีงานทำ อยากให้นายกฯ เอาของไปขายต่างประเทศ จะทำเป็นรถเข็นใช้ชื่อ “รถจันทร์โอชา” ก็ได้ เป็นรถขายข้าวราดแกง เอาไปตั้งขายตามเมืองต่างๆ ที่บริโภคข้าวไทย ซึ่งจะทำให้คนรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ทำเป็นจอมอนิเตอร์แสดงสินค้าโอท็อปไปขายด้วยก็ดี คนไทยจะได้ไม่ตกงาน

สร้าง 'เยาวชน' ฐานประชามติ กับเนื้อหาว่าด้วย 'ในหลวง'


สร้าง 'เยาวชน' ฐานประชามติ กับเนื้อหาว่าด้วย 'ในหลวง'

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
 ศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 00:00:09 น.

เป็นช่วงเดินสายของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.) นำโดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานฯ จัดทำ ซึ่งเป็นกำลังหลักในการไปพูดทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับร่าง รธน.ฉบับใหม่ พร้อมไปกับการรับฟังข้อเสนอแนะ ก่อนจัดทำร่างสุดท้าย เพื่อเตรียมนำไปลงประชามติ โดยกลุ่มแรกคือ "หน่วยทหาร" ซึ่งกำลังพลต้องใช้ "เนื้อหา" เหล่านั้นไปทำความเข้าใจ และชี้แจงถึงรายละเอียดให้ครอบครัว พร้อมทั้งมวลชนในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) เพื่อให้ออกมาลงประชามติในช่วงเดือนกรกฎาคม ตาม"โรดแมป" ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ได้จัดกิจกรรม "เสวนาการรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อความผาสุกที่ยั่งยืน" ที่ห้องประชุมโชติปาโล โรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี โดยมีเรือโทกฤษณ์ จินตเวช นายอำเภอบางกรวย เป็นเจ้าบ้าน ซึ่งในงานได้เชิญนายมีชัย ฤชุพันธุ์  บรรยายถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีการเสวนาจากตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี นักเรียนจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ตัวแทนจากโรงเรียน ซึ่งในงานมีนักเรียนจากทั้ง 300 โรงเรียนมาร่วมกิจกรรมรวม 600 คน  พร้อมด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนประมาณ 200 คน

ขณะที่ พลตรีสุรใจ จิตต์แจ้ง ผบ.พล.ปตอ. ระบุว่า ในฐานะผู้ประสานงานจัดกิจกรรม คาดหวังให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องการกระตุ้นให้สังคมตระหนักในการออกไปใช้เสียง สิทธิเสรีภาพของตนเองต่อร่าง รธน. กิจกรรมวันนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจ และให้ทุกคนใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณในการลงประชามติอย่างไร ซึ่งในระหว่างนี้เรายังสามารถเสนอแนะต่อกรรมการร่าง รธน.

ซที่สำคัญคือ การเปิดเวทีให้กับอนาคตของชาติ เพราะหลายคนอายุเพิ่ง 18 ปี หลายคนมีสิทธิ์มีเสียงที่จะลงคะแนนได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะอยู่กับคนไทยไปอีกนาน การเสวนาครั้งนี้จึงเกี่ยวพันกับเรา " ผบ.พล.ปตอ. ระบุ

ที่น่าสนใจคือ การ บรรยายพิเศษ เรื่อง "การปกป้องและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข"  โดย พันเอกถิรวัฒน์ บุญเพ็ญ ราชองครักษ์ ประจำกรมราชองครักษ์ ที่ระบุว่า

"ปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำงานครบ 70 ปี ดีพอหรือยังที่มีใครมาพูดถึงพระองค์ท่านว่าทำอะไรเพื่อคนทั้งประเทศแล้วเราจะนั่งตัวตรงฟัง ถ้าคิดได้แล้วช่วยกัน เชื่อว่าเราจะสู้อะไรได้หลายๆ อย่างในโลกนี้ ทั้งอาเซียนและสหภาพยุโรป แต่อยากให้หันมาดูตัวเองและหันมาทำอะไรเพื่อพระองค์ท่าน เพราะอย่างน้อยเมื่อทำตอนนี้ก็ได้ทำช่วงที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีชีวิตอยู่ วันนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะกลับมามองตรงนี้ หันมาทำอะไรเพื่อพระองค์ท่านอย่างจริงจัง อยากให้เริ่มทำตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีชีวิตอยู่ ซึ่งท่านทำงานตั้งแต่ทรงอายุ 16 ปี........

......จุดเปลี่ยนในชีวิตของผมมาจากคุณยายของผมเองที่ไปเก็บขยะขาย ซึ่งได้บอกผมว่า เงินแค่บาทเดียวดูไม่มีความสำคัญ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นของเรา คำพูดนั้นส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ ในเมื่อในหลวงเป็นของพวกเรา ทำไมไม่ดูแลพระองค์ท่านบ้าง ผมเกิดมาในช่วงที่พระองค์ท่านทำงานอยู่ ผมบรรยายมากว่า 20 ปีทั่วภูมิภาคของประเทศ แต่ไม่เคยพูดเรื่องการเมือง สิ่งที่ผมอยากจะพูดคือ อยากให้เด็กๆ ทุกคนเป็นกลไกสร้างความสำนึกให้กับประเทศในอนาคต เด็กรุ่นใหม่ก็สามารถดูแลประเทศได้ เพียงต้องให้โอกาส"

เขายังบอกว่า คนไทยชอบรอให้คนอื่นช่วยเหลือ แต่เมื่อคนที่เข้ามาช่วยเหลืออ่อนแรงลงก็จะหันกลับมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์มักจะช่วยสิ่งที่เรามองไม่เห็นเท่านั้น เมื่อหมดหนทางคนไทยจะหันมาโทษกันเอง และหาคนถูกคนผิดจนทะเลาะกัน ผมไปบรรยายมาหลายที่ และถามเยาวชนมามากว่าเคยเห็นผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในหมู่บ้านหรือในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่ แต่เด็กไม่มีใครยกมือ เพราะตั้งแต่เด็กๆ อายุ 4 ขวบก็จะเห็นภาพผู้ใหญ่ทะเลาะกันทั้งที่บอกให้เด็กรู้จักคำว่าสามัคคี ดังนั้นโมเดลที่ประเทศไม่สามารถทำได้ คือ การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นต่อคนในชาติ สุดท้ายต่อให้ทะเลาะกันแค่ไหนเราก็คือคนไทยต้องอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน ก็คือแผ่นดินไทย เราก็คือคนไทยเหมือนกัน วันนี้ทุกคนในประเทศไม่สามารถตอบได้ว่าคนไทยสามัคคี

พันเอกถิรวัฒน์กล่าวอีกว่า ตลอดชีวิตของในหลวงไม่เคยขอให้คนไทยรักพระองค์ ไม่เคยมีคำสอนใด ขอให้รักแต่ขอให้พวกเรารักกัน วันนี้ถ้าจะทำอะไรเพื่อในหลวงไม่จำเป็นต้องใช้เงิน แต่ขอให้รักกันและดูแลประเทศนี้ เพราะในหลวงเป็นคนคนเดียวที่ทำงานเพื่อทุกคนในประเทศตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จุดแข็งในประเทศของเราอยู่ที่ธงชาติไทยที่มี 3 สี  ประกอบด้วย 1.สีแดง คือชาติ 2.สีขาว คือศาสนา 3.สีน้ำเงิน คือพระมหากษัตริย์ แต่เหตุใดจึงมีสีแดงและขาวถึง 2 แถบเพราะประเทศไทยมีประชากรหลายเชื้อชาติจึงไม่ต้องการให้เชื้อชาติมาแบ่งแยกความเป็นคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยกล่าวและมีคำว่า บวร แปลว่า บ้าน วัด โรงเรียน และอีกคำคือ คำว่าบรม แปลว่า บ้าน โรงเรียน มัสยิด สุดท้ายแม้จะหลายเชื้อชาติหลายศาสนา แต่ประเทศไทยก็ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทุกคนคือพระมหากษัตริย์ วันนี้การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกมาแต่ละครั้งคิดเป็นวินาทีเพราะทรงประชวร

"วันนี้น้องๆ เยาวชนไม่สามารถที่จะเก็บภาพในพระราชกรณียกิจที่ในหลวงทรงปฏิบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.2552 อีก 40 ปีข้างหน้าเราจะมีอะไรไปบอกลูกหลานว่า เราเกิดมาในรัชกาลที่ 9 แม้แต่คนต่างชาติก็ยังรักและบูชาในหลวง แล้ววันนี้พวกเราคนไทยทำอะไรเพื่อในหลวงบ้าง ทุกวันนี้คนไทยแสดงออกว่ารักในหลวง เพราะเห็นคนอื่นรักบ้างเคารพบ้าง ยืนตรงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพราะรู้ว่าเป็นเพียงทำเนียมปฏิบัติ แต่ไม่เคยคิดที่จะหาคำตอบว่าร้องเพื่ออะไร อยากขอให้หาคำตอบและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีชีวิตอยู่"

ราชองครักษ์ผู้นี้ยังบอกว่า ถ้าวันนี้ยังไม่รู้จะทำอะไรเพื่อใคร ไม่รู้ว่าจะสามัคคีเพื่ออะไร ขอให้ทบทวนว่าบ้านของเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยอมอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมในโรงพยาบาลและทำงานเพื่อคนไทย แม้ท่านจะประชวร ท่านมีเงินมากมายจะให้หมอไปอยู่ที่บ้านท่านก็ได้ แต่ท่านเลือกที่จะอยู่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลศิริราชมีทั้งหมด 16 ชั้น ท่านอยู่ชั้นที่ 16 ส่วนชั้น 14-15 เป็นชั้นของข้าราชบริพาร และชั้น 1-13 เป็นของขอทานที่ไม่มีเงินอยู่ร่วมกับพระองค์ท่าน หมอและเครื่องมือที่ใช้รักษาก็ทรงใช้ร่วมกัน

"วันนี้ประเทศไทยต้องเดินไปข้างหน้า อย่ามองว่าประชาธิปไตยจะเต็มใบหรือไม่ เพราะเมื่อ 40 ปีที่แล้วที่ประเทศไทยยังเป็นระบอบคอมมิวนิสต์มีแต่พระองค์ท่านที่ลงไปแก้ปัญหาและช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยจนทุกวันนี้ ซึ่งถึงเวลาที่คนไทยต้องมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตน และหันมามองผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อลูกหลานจะได้มีแผ่นดินอยู่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่พระองค์ท่านทรงทำงานอยู่จนทุกวันนี้" พันเอกถิรวัฒน์ระบุ

อาจมองได้ว่านอกจากเนื้อหาที่กองทัพต้องการให้เยาวชนได้เห็นถึงความสำคัญของ รธน.ว่ามีจุดแข็งตรงไหน มีกลไกในการดูแลสถานการณ์บ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ให้สถานการณ์วนกลับไปสู่วิกฤติก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 อย่างไร แต่ก็ยังมีเนื้อหาในส่วนของสถาบันกษัตริย์ที่คนรุ่นใหม่ต้องพิทักษ์รักษาปกป้องไว้อีกด้วย

และฐานเสียงที่สำคัญ และ คสช.คาดหวังว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญก็คือ "เยาวชน" กลุ่มที่เพิ่งมีสิทธิ์ลงคะแนนประชามติเป็นครั้งแรก!!!

"วันนี้ประเทศไทยต้องเดินไปข้างหน้า อย่ามองว่าประชาธิปไตยจะเต็มใบหรือไม่ เพราะเมื่อ 40 ปีที่แล้วที่ประเทศไทยยังเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ มีแต่พระองค์ท่านที่ลงไปแก้ปัญหาและช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยจนทุกวันนี้ ซึ่งถึงเวลาที่คนไทยต้องมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตนและหันมามองผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อลูกหลานจะได้มีแผ่นดินอยู่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่พระองค์ท่าน"ทรงทำงานอยู่จนทุกวันนี้"

บรรยายใต้ภาพ
พันเอกถิรวัฒน์ บุญเพ็ญ

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2370302