PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สนช.ผ่าน 'พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ' ห้ามชุมนุม 'รัฐสภา-ทำเนียบ-ศาล' แจ้งก่อนชุมนุม 24 ชม.

สนช.ผ่าน 'พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ' ห้ามชุมนุม 'รัฐสภา-ทำเนียบ-ศาล' แจ้งก่อนชุมนุม 24 ชม.
Fri, 2015-05-01 23:02

1 พ.ค. 2558 เนชั่นทันข่าวรายงานว่าการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้วในวาระ 2 และ 3 โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อกำหนดสิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีสาระสำคัญคือ การห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และการจัดชุมนุมให้แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
 
ทั้งนี้ในการอภิปราย สนช.สายกฎหมายและกลุ่ม 40 ส.ว.หลายคนแสดงความเป็นห่วงมาตรา 4 ที่ กมธ.ตัดคำนิยามเรื่องศาลออกจากกฎหมายฉบับนี้ ทำให้มีผู้สงวนและสมาชิกขออภิปรายอย่างกว้าง
ขวาง โดยอยากให้มีการระบุเรื่องเขตอำนาจศาลให้ชัดเจน โดยเฉพาะการเพิ่มศาลปกครองเข้ามาอยู่ในอำนาจตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นช่องทางร้องเรียน ในกรณีมีการกระทำเกินกว่าเหตุ อย่างไรก็ตามตัวแทน กมธ.ชี้แจงว่า ไม่จำเป็นต้องกำหนดคำนิยามดังกล่าว เพราะการจะฟ้องศาลใด ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นว่าจะขึ้นอยู่กับศาลใด หากจะไปกำหนดให้ขึ้นอยู่กับเฉพาะศาลแพ่ง กับศาลจังหวัด การกระทำทุกการกระทำจะตกอยู่ภายใต้แค่สองศาลดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับระบบศาลคู่ของไทย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่า แต่ละกรณีจะอยู่ในเขตอำนาจศาลใด จึงอยู่ที่การบังคับใช้ตามกฎหมายของศาลนั้น หลังจากที่กมธ.ชี้แจงแล้ว ทำให้สมาชิกไม่ติดใจ จนกระทั่งเวลา 19.30 น. หลังจากที่สมาชิกอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าวร่วม 4 ชั่วโมง ที่ประชุมลงมติเห็นชอบผ่านวาระ 3 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปด้วยคะแนน 158 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 4
//////////////
(ข้อมูล)


ร่างพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฉบับสตช.57: ประชาชนไทยไม่รู้ไม่ได้
เมื่อ 6 พ.ย. 2557

ก่อนที่เสรีภาพในการชุมนุมจะถูกจำกัดเพราะการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 การชุมนุมสาธารณะเป็นสิ่งที่ทำได้และเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของผู้ที่เดือดร้อนจากโครงการพัฒนาต่างๆการชุมนุมของผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่

เนื่องจากการใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยสภาพแล้วย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชุมนุมสาธารณะที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและชุมนุมต่อเนื่องยาวนาน

เสรีภาพในการชุมนุมจึงเป็นเสรีภาพที่ต้องจำกัดอยู่ภายใต้กฎหมาย

หลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์เคยพยายามผลักดัน “ร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ” มาแล้วครั้งหนึ่ง [ดูได้ที่ http://ilaw.or.th/node/837]

และผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ขั้นตอนของวุฒิสภาแล้ว แต่หลังการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ไม่นำร่างนี้กลับเข้าสู่กระบวนการต่อ 

ปี 2557 หลังผ่านการชุมนุมของกลุ่มกปปส.มา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะกลับมาปัดฝุ่น ปรับแต่งเนื้อหาใหม่อีกครั้ง เตรียมเสนอผ่านคณะรัฐมนตรี และคาดว่าร่าง
ดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในไม่ช้า ในที่นี้ จึงขอหยิบยกบางมาตราที่สำคัญมาอธิบายใหม่ให้เห็นภาพชัดขึ้น

ความหมายของ “การชุมนุม” ตามกฎหมายนี้ 

         "“การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า การรวมตัวกันของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อแสดงความคิดเห็น สนับสนุน คัดค้าน หรือเรียกร้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่

         “ที่สาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นเจ้าของแต่เป็น
ผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ บรรดาซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ รวมตลอดทั้ง ทางหลวงและทางสาธารณะ"

การชุมนุมสาธารณะที่จะถูกควบคุมโดยกฎหมายฉบับนี้ จะต้องจัดในที่สาธารณะ และจะต้องเป็นการแสดงออกที่ปรากฏต่อประชาชนทั่วไป โดยที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ เพราะฉะนั้นหากเป็นการรวมตัวกันแสดงออกแต่จัดในสถานที่ของเอกชน เช่น อิมแพ็คอารีน่า หรือสนามฟุตบอลของเอกชน ที่คนเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมได้ ก็น่าจะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายนี้

ขณะที่การจัดชุมนุมในสถานีรถไฟฟ้าหรือขบวนรถไฟฟ้า แม้สถานที่เป็นทรัพย์สินของเอกชน แต่ประชาชนทั่วไปมี ความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จึงถือว่าเข้าข่ายการชุมนุมตามความหมายของกฎหมายนี้

         "“ผู้จัดการชุมนุม” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ และให้หมายความรวมถึงผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ ผู้ซึ่งเชิญชวนหรือนัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น"

ผู้จัดการชุมนุมตามกฎหมายนี้ หมายถึงผู้ที่จัดให้มีการชุมนุม หรือผู้ที่นัดหมายเชิญชวนให้บุคคลอื่นมาร่วมชุมนุม ในลักษณะที่ทำให้คนเข้าใจได้ว่าผู้เชิญชวนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดการชุมนุม การเขียนกฎหมายเช่นนี้น่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อการจัดชุมนุมได้ง่ายขึ้น ทำให้คนที่ประกาศเชิญชวนปฏิเสธความรับผิดชอบได้ยากขึ้น

การชุมนุมในสถานการณ์พิเศษ ไม่ต้องใช้กฎหมายนี้      

         "มาตรา ๔ การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และการชุมนุมสาธารณะที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง ในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"

การชุมนุมในช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือมาการประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งการชุมนุมที่จัดขึ้นเพื่อหาเสียงเลือกตั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและไม่ถูกควบคุมตามกฎหมายนี้

หมายความว่า ในช่วงที่มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษเพื่อสั่งห้ามการชุมนุม ผู้จัดการชุมนุมก็ไม่ต้องคำนึงถึงขั้นตอนตามกฎหมายนี้และกฎหมายนี้ก็ไม่อาจคุ้มครองการชุมนุสาธารณะได้อีกต่อไป

ความหมายของการชุมนุมที่สงบและไม่สงบ

         "มาตรา ๗ การชุมนุมสาธารณะต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ

         การชุมนุมสาธารณะใดมีการขัดขวางหรือกีดขวางมิให้ประชาชนใช้ทางหลวงหรือ ทางสาธารณะได้ตามปกติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทางนั้น หรือทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกินที่พึงคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร หรือมีการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือมีการกระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองไม่เป็นการชุมนุมสาธารณะโดยสงบ"

ตามมาตรา 7 การชุมนุมที่ผู้ชุมนุมกีดขวางหรือปิดทางสาธารณะโดยพละการ ถือเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ แต่หากเจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้ดุลพินิจปิดทางเพื่อความปลอดภัยของผู้ชุมนุมหรือประชาชนทั่วไป ผู้ชุมนุมไม่มีความผิด

การชุมนุมที่สร้างความเดือดร้อนเกินจำเป็นเช่นมีการใช้เครื่องเสียงที่ดังเกินกฎหมายกำหนด ถือเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบการชุมนุมที่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่นเช่นมีการหน่วงเหนี่ยวผู้ต้องการผ่านทาง ถือเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ

 
วัง-รัฐสภา-ทำเนียบ-ศาล เป็นพื้นที่หวงห้ามจัดการชุมนุม 

         "มาตรา ๘ การจัดการชุมนุมสาธารณะในพื้นที่และเขตปริมณฑล ระยะรัศมีหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรจากสถานที่ประทับพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป สถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ  รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล จะกระทำมิได้"

         "มาตรา ๙  การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางเส้นทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้บริการในสถานที่ ดังต่อไปนี้
         (๑) สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ
         (๒) ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ
         (๓) โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน
         (๔) สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือสถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศ
         (๕) สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด"

คำว่าพื้นที่หมายถึงบริเวณที่มีการกั้นรั้วทั้งหมด คำว่าปริมณฑลหมายถึงพื้นที่บริเวณรั้ววัดออกมาด้านนอกจนถึงระยะที่มีการกำหนด ตามกฎหมายนี้ พื้นที่จัดการชุมนุมสาธารณะจะต้องอยู่ห่างจากรั้วของสถานที่ที่ปรากฎตามมาตรา 8 ไม่น้อยกว่า 150 เมตร

ส่วนสถานที่ตามมาตรา 9 นั้น ยังสามารถจัดชุมนุมด้านหน้าหรือด้านในได้ แต่ห้ามกีดขวาง หรือ ห้ามชุมนุมเพื่อ “ปิด” สถานที่เหล่านั้น


การจัดการชุมนุม ต้องแจ้งก่อน และตำรวจอาจสั่งให้แก้ไขหรือสั่งไม่อนุญาตก็ได้

         "มาตรา ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะและการชุมนุมนั้นอาจจะกระทบต่อการรักษาความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน หรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ให้มีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
         ให้ถือว่าผู้เชิญชวนหรือนัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด รวมทั้งผู้ขออนุญาตใช้สถานที่หรือเครื่องขยายเสียงหรือขอให้ทางราชการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเป็นผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะตามวรรคหนึ่ง”

ตามาตรา 11 ผู้ที่จะจัดการชุมนุม ซึ่งหมายรวมถึงผู้ประกาศเชิญชวนให้ผู้อื่นมาชุมนุม จะต้องทำหนังสือแจ้งการชุมนุมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง หากการชุมนุมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การใช้ที่หรือทางสาธารณะตามปกติของคนทั่วไป

ตามมาตรา 13 หัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้ได้รับมอบหมาย เมื่อรับแจ้งการชุมนุมแล้ว มีอำนาจสั่งให้ "แก้ไข" ซึ่งอาจหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดการชุมนุม เปลี่ยนแปลงระยะเวลาที่จะใช้จัดการชุมนุม หรือให้เลื่อนการชุมนุมออกไปให้อยู่ภายในกรอบที่กฎหมายกำหนด หากผู้จัดการชุมนุมตามกฎหมายนี้ ไม่ดำเนินการแก้ไข ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับแจ้งก็มีอำนาจสั่งห้ามการชุมนุมเป็นลายลักษณ์อักษรไปถึงผู้แจ้งการชุมนุม

หากผู้แจ้งการชุมนุมไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งไปยังผู้บังคับบัญชา ที่มีตำแหน่งสูงกว่า และผู้รับอุทธรณ์จะต้องชี้ขาดว่าการชุมนุมสามารถจัดได้หรือไม่ ภายใน 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่อุทธรณ์ ให้ผู้จัดการชุมนุมระงับการจัดชุมนุมไว้ชั่วคราว


การชุมนุมที่เข้าข่ายเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ตามมาตรา 16 การชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ได้แก่
1. การชุมนุมที่ไม่สงบและปราศจากอาวุธ ตามมาตรา 7
2. การชุมนุมที่ไม่มีการแจ้งก่อนตามมาตรา 11
3. การชุมนุมที่ผู้รับแจ้งสั่งห้ามชุมนุมตามมาตรา 13
4. การชุมนุมที่เกิดขึ้นหลังผู้บังคับการตำรวจที่รับเรื่องผ่อนผัน มีคำสั่งไม่ผ่อนผันการยื่นแจ้งการชุมนุมเกินเวลา รวมทั้งการชุมนุมแม้มีการแจ้งการชุมนุมและไม่ถูกห้าม แต่เป็นการชุมนุมเกินเวลาที่แจ้งโดยไม่มีการยื่นขอ หรือ ไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลา ตามมาตรา 20
5. การชุมนุมที่ผู้จัดการชุมนุมไม่ได้อยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ตามมาตรา 17
6. การชุมนุมที่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม ทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ สวมหน้ากากหรือสิ่งอื่นที่เป็นการปกปิดใบหน้า พกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม ห้ามผู้ชุมนุมทำลายหรือทำให้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตราย ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ปราศรัยในลักษณะก่อให้เกิดความเกลียดชัง

ขั้นตอนการควบคุมการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ขั้นตอนการใช้กำลังเข้าควบคุมการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ปรากฎในมาตรา 23-25

1. การชุมนุมที่ไม่สงบและปราศจากอาวุธ การชุมนุมที่ไม่แจ้งก่อน หรือไม่ได้รับอนุญาต หรือการชุมนุมในเขตหวงห้ามตามาตรา 8 ให้เจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกการชุมนุมภายในเวลาที่กำหนด

2. กรณีการชุมนุมเข้าข่ายผิดตามมาตรา 9, 10, 17, 18, 19 ให้ประกาศให้ผู้ชุมนุมแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด เช่นหากผู้ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสาธารณะก็ให้กำหนดเวลาให้ผู้ชุมนุมออกจากทางสาธารณะ หากไม่ปฏิบัติตามกฎให้สั่งให้เลิกการชุมนุมภายในเวลาที่กำหนด

3. หากสั่งให้เลิกแล้วผู้ชุมนุมยังไม่เลิก ให้เจ้าหน้าที่ประกาศให้บริเวณพื้นที่ชุมนุมเป็นพื้นที่ควบคุมและให้ประชาชนออกจากพื้นที่ภายในเวลาที่กำหนด และรายงานไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

4. หากผู้ชุมนุมยังไม่ออกจากพื้นที่ควบคุมให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมผู้ที่ยังอยู่ในพื้นที่ มีอำนาจค้น ยึด อายัดสิ่งของ และรื้อถอนทรัพย์สินต่างๆ ได้ และมีอำนาจใช้กำลังหรือเครื่องมือควบคุมฝูงชนเท่าที่จำเป็น ตามแผนหรือแนวทางควบคุมการชุมนุมสาธารณะที่จะกำหนดขึ้น


จำกัดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ และตัดอำนาจศาลปกครอง

ตามมาตรา 28 เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายนี้ ที่กระทำการไปโดยสุจริต ไม่เกินขอบเขต และไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย อย่างไรก็ตามผู้เสียหายยังสามารถเรียกค่าเสียหายจากทางราชการได้ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหายหน่วยงานจะเป็นผู้จ่าย เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

การเขียนกฎหมายลักษณะเช่นนี้ มีลักษณะเป็นขวัญกำลังใจและหลักประกันให้กับเจ้าหน้าที่กล้าออกคำสั่งหรือใช้กำลังเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในภายหลัง

         "มาตรา ๒๙ บรรดาข้อกำหนด ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ประกาศ หรือการกระทำ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
         การดำเนินคดีใดๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำ ตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนด ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับประกาศ หรือกระทำการนั้น มาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงาน หรือแสดงเหตุผลเพื่อประกอบ การพิจารณาสั่งใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย"

ตามปกติแล้วการออกคำสั่งห้ามการชุมนุม หรือการใช้กำลังบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เป็นการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชน จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่จะกำหนดหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องทำเพื่อประกันสิทธิขึ้นต่ำของประชาชน  เช่น ต้องระบุเหตุผลประกอบคำสั่ง ต้องให้โอกาสประชาชนชี้แจงโต้แย้ง ต้องแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งให้ชัดเจน เป็นต้น และหากทำให้ประชาชนเสียหาย ประชาชนย่อมฟ้องร้องให้เพิกถอนคำสั่งหรือเรียกร้องค่าเสียหายได้ที่ศาลปกครอง

แต่ร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฉบับนี้กำหนดไว้ว่าการะกระทำใดๆ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เท่ากับว่ากรณีที่เกี่ยวข้องกับกาชุมนุมสาธารณะ จะไม่มีมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม และกำหนดให้คดีความที่เกี่ยวข้องพิจารณาที่ศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลปกครอง ซึ่งขัดกับหลักการที่ก่อตั้งศาลปกครองขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน


บทกำหนดโทษผู้จัดการชุมนุม และผู้ชุมนุม

มาตรา 30 ผู้จัดการชุมนุมที่ไม่แจ้งก่อน มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

มาตรา 31 ผู้จัด ผู้เชิญชวน ผู้สนับสนุน การชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

มาตรา 36 ผู้เข้าร่วมการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ออกจากพื้นที่ควบคุมตามที่เจ้าหน้าที่สั่ง มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

มาตรา 34 ผู้ปราศรัยให้ผู้ชุมนุมใช้กำลังประทุษร้าย มีโทษจำคุกหนึ่งปีถึงห้าปี ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท ผู้ถ่ายทอด เผยแพร่ข้อความนั้นมีโทษเช่นเดียวกัน

"มาสเตอร์โพล" สำรวจแกนนำชุมชนหนุนทำประชามติร่าง รธน. มีผลดีมากกว่าเสีย มั่นใจ "คสช."คุมประชามติได้โปร่งใส


ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพล เรื่องความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่และการทำประชามติ โดยสำรวจความเห็นจากแกนนำชุมชน 19 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 1,080 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่าแกนนำชุมชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 94.7 เห็นด้วยกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของประเทศในตอนนี้ มีเพียงร้อยละ 5.3 ระบุไม่เห็นด้วย สำหรับประเด็นวิตกกังวลต่อผลกระทบจากการเคลื่อนไหวคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญนั้น พบว่าร้อยละ 48.1ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 51.9 ระบุไม่เห็นด้วย

สำหรับข้อเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลสำรวจพบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 55.4 ระบุเห็นด้วย เพราะยังมีบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ประชาชนรากหญ้าจะได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างแท้จริง คิดว่าการทำประชามติก่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในอนาคตได้ อยากให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับได้จริงๆ มีเพียงร้อยละ 39.4 ไม่เห็นด้วย เพราะไม่อยากให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอีก เชื่อมั่นในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีมากกว่าอย่างอื่น คิดว่าการออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้มีวาระซ่อนเร้นอย่างอื่น ๆ

ทั้งนี้แกนนำชุมชนร้อยละ 79.2 เชื่อว่าการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มีผลดีมากกว่าผลเสีย เนื่องจากประชาชนจะได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่แรก ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายไปแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์มากที่สุด และเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรีจะสามารถควบคุมการทำประชามติให้โปร่งใสและเป็นธรรมได้ ทำตอนนี้ ดีกว่าทำหลังเลือกตั้ง อาจจะวุ่นวายมากกว่านี้ ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ระบุมีผลเสียมากกว่า เพราะอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอีก ไม่แน่ใจในความโปร่งใสของการทำประชามติ เกรงว่าจะยืดเวลาการเลือกตั้งออกไปอีก อาจทำให้เกิดการแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอีก เกรงว่ารัฐบาลจะคุมสถานการณ์ไม่อยู่ บ้านเมืองเพิ่งจะเริ่มสงบ จึงไม่อยากให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นมาอีก

สำหรับหน่วยงานที่เห็นว่าควรให้เป็นเจ้าภาพในการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ร้อยละ 42.6 ระบุคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รองลงมาร้อยละ 14.7 ระบุรัฐบาล และร้อยละ 14.7 เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งนี้เมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยและประกาศใช้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่นั้น พบว่าแกนนำชุมชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.3 ระบุยอมรับได้ โดยให้เหตุผลว่าอยากให้บ้านเมืองเรียบร้อยและพร้อมจริงๆ ก่อนที่จะเลือกตั้งใหม่ อยากให้บ้านเมืองเข้าที่เข้าทางก่อน การเลือกตั้งจะได้ไม่มีปัญหา ไม่เกิดความขัดแย้งอีก และเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องทำให้สมบูรณ์ที่สุด มีเพียงร้อยละ 2.5 ระบุยอมรับไม่ได้ เพราะอยากได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งจริงๆ เลือกตั้งแล้วค่อยแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ได้ เกรงว่าจะใช้เวลานานเกินไป

ผบ.ตร.แถลงจับ 4 แก๊งค้ามนุษย์ ย้ายฟ้าผ่า 2 นายตำรวจสะเดา เซ่นคดี 26 ศพโรฮิงญา

ผบ.ตร.แถลงจับ 4 แก๊งค้ามนุษย์ ย้ายฟ้าผ่า 2 นายตำรวจสะเดา เซ่นคดี 26 ศพโรฮิงญา
Cr:ผู้จัดการ
ในวันนี้ (4 พ.ค.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ จ.สงขลาประชุม และรับฟังสรุปความคืบหน้าคดี รวมทั้งวางแนวทางการสืบสวนสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ โดยล่าสุด ได้มีการออกหมายจับผู้ต้องหาแล้วทั้งหมด 8 คน ในข้อหาร่วมกันค้ามนุษย์ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ร่วมกันเรียกค่าไถ่
ในจำนวนนี้จับกุมได้แล้ว 4 คน ประกอบด้วย นายอ่าสัน หรือบังสัน อินทธนู อายุ 42 ปี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ นายร่อเอน สนยาแหละ อายุ 41 ปีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ต.ปาดังเบซาร์ ทั้ง 2 คน ทำหน้าที่จัดหาเสบียง นายอาหลี ล่าเม๊าะ อายุ 47 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ต.ปาดังเบซาร์ ทำหน้าที่ควบคุมแคมป์ และนายซอ เนียง อานู หรืออันวา อายุ 40 ปี ชาวพม่า ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำ จ.นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ ยังยึดอาวุธปืนขนาด 9 มม.อีก 1 กระบอก พร้อมกระสุน 8 นัด และซองพก 1 ซอง และยังแจ้งข้อหาในอ่าสัน มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก 1 ข้อหา พร้อมกับได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คนมาแถลงต่อสื่อมวลชน ซึ่งทั้ง 3 คน ยังให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าของคดีนี้ว่า จะมีการออกหมายจับเพิ่มอีกหลายคน เจ้าหน้าที่กำลังเร่งรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือนักการเมืองท้องถิ่นหากพบว่าเกี่ยวข้องก็จะจับกุมทั้งหมด ส่วนผลการตรวจสอบเก็บหลักฐานภายในแคมป์เจ้าหน้าที่พบศพทั้งหมด 26 ศพ เป็นชาย 25 ศพ และหญิง 1 ศพ มีทั้งที่เสียชีวิตมาแล้วเป็นปี และเพิ่งเสียชีวิต ซึ่งชี้ว่าแคมป์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานาน ส่วนสาเหตุของการตายนั้นต้องรอผลการตรวจจากเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน แต่เบื้องต้นคาดว่าตายเพราะป่วยและขาดอาหาร ซึ่งขบวนการค้ามนุษย์กลุ่มนี้เป็นอาชญากรข้ามชาติ มีทั้งไทย พม่า และมาเลเซีย ทำมาแล้วอย่างน้อย 3-4 ปี
มีรายงานจากชุดสืบสวนว่า นอกเหนือจากผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับทั้ง 8 คนแล้ว เจ้าหน้าที่เตรียมออกหมายจับเพิ่มอีก 3-4 คน ในจำนวนเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นเจ้าของแคมป์ใหญ่บนเทือกเขาแก้ว และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อคดีนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้กว้างขวางในพื้นที่ ต.ปาดังเบซาร์ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่น และมีชาวโรฮิงญาด้วยกันเองรวมอยู่ด้วย และจากการสืบสวนพบว่า ทั้งหมดได้หลบหนีออกนอกพื้นที่ไปแล้ว
นายอารี อารีฟ ตัวแทนสำนักจุฬาราชมนตรี และกรรมการสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำนักจุฬาราชมนตรี ซึ่งเข้ารับฟังการแถลงข่าว ได้เสนอแนวกระบวนการจัดการต่อปัญหาชาวโรฮิงญา โดยขอให้ดำเนินคดีขั้นเด็ดหากมีมุสลิมเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หรือผู้นำศาสนา และให้ทางสำนักจุฬาราชมนตรี และภาครัฐเข้ามาร่วมจัดการด้านมนุษยธรรมต่อชาวโรฮิงญาทั้งที่มีชีวิต และเสียชีวิต
และหลังเกิดคดีพบแคมป์และหลุมฝังศพในพื้นที่ ต.ปาดังเบซาร์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สภ.ปาดังเบซาร์ ล่าสุด ในวันนี้ ทางกองบังคับการตำรวจ ได้มีคำสั่งด่วนให้ตำรวจ สภ.ปาดังเบซาร์ 2 นาย คือ ร.ต.ต.อารีย์ หมัดสมัคร รองสารวัตรป้องกันปราบปราม และ ด.ต.อัศณีย์รัญ นวลรอด ผู้บังคับหมู่งานป้องกันปราบปราม ไปช่วยราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธร จ.สงขลา ไม่มีกำหนดจนกว่าการสอบสวนจะแล้วเสร็จ เพราะจากการสอบสวนพบว่า เข้าไปมีส่วนพัวพันต่อคดีนี้


จับ ส.ท.ปาดังฯ กับพวก! พบหลักฐานร่วมค้ามนุษย์​ ฝัง 26 ศพ 'โรฮิงญา'

จับประเดิมแล้ว 3 คน คดีค้ามนุษย์-หน่วงเหนี่ยวกักขัง-เรียกค่าไถ่ชาวโรฮิงญา หลังพบ 26 ศพบนเขาติดชายแดนด้าน อ.สะเดา เป็น ส.ท.ปาดังเบซาร์ กับ ผช.ผญบ. ยังปฏิเสธ ด้าน ผบ.ตร. บอก งานนี้มี จนท.เอี่ยวด้วย ส่วนจะเป็น ตร.หรือไม่ ขอเวลาสอบสวนก่อน...  
วันที่ 4 พ.ค. 58 ที่กองบินตำรวจ ดอนเมือง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยก่อนลงพื้นที่ไปตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติ กรณีพบศพชาวโรฮิงญาในสถานกักกันบนเขาติดกับชายแดนไทย-มาเลเชีย จ.สงขลา กว่า 20 ศพ
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องจากกรณีดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์และสร้างความเสียหายให้กับประเทศเป็นอย่างมาก จากการตรวจสอบขบวนการดังกล่าว ถือเป็นขบวนการค้ามนุษย์และอาชญากรรมข้ามชาติ และมีมานานแล้ว โดยยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ส่วนจะเป็นใครนั้นขอเวลาในการสืบสวนให้แน่ชัดก่อน
"จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าวด้วยหรือไม่นั้น ต้องทำการสอบสวนอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะกรณีที่พบว่าค่ายกักกันดังกล่าวอยู่ใกล้ค่ายของตำรวจตระเวนชายแดน หรือ ตชด. หากสอบสวนพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนรู้เห็น หรือมีเจตนาปล่อยปละละเลย จะต้องถูกดำเนินการเอาผิดโดยไม่ละเว้น"
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า ได้มีการประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางทหาร โดยเฉพาะ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบกมาโดยตลอด ส่วนความคืบหน้าในการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ได้ออกหมายจับไปแล้ว 3 ราย และเตรียมขออนุมัติหมายจับเพิ่มอีก 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนได้ผลประโยชน์กับขบวนการนี้
ต่อมาได้มีการจับกุมผู้ต้องหา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปาดังเบซาร์ ชุดสืบสวน บก.ภ.จว.สงขลา และชุดสืบสวนภาค 9 โดยผู้ต้องหาประกอบด้วย 1.นายอ่าสัน หรือ บังสัน อินทธนู อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38 ถนเทศบาล 8 ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา มีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ 2.นายร่อเอ สนยาแหละ อายุ 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33/3 หมู่ 8 ต.ปาดังเบซาร์
3.นายอาหลี ล่าเมาะ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 8 ต.ปาดังเบซาร์ และ 4.นายซอ เนียง อานู หรือ นายอันวา อายุ 40 ปี สัญชาติพม่า โดยผู้ต้องหาที่ 2 และ 3 เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ต.ปาดังเบซาร์
ส่วนของกลางมีอาวุธปืนพกสั้น ขนาด 9 มม. 1 กระบอก กระสุนขนาด 9 มม. 8 นัด ซองปืน 1 ซอง เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ร่วมกันเรียกค่าไถ่ และผู้ต้องหาที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต 
โดยพฤติการ์ของผู้ต้องหา สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1-2 พ.ค. 58 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองได้ร่วมกันพิสูจน์ทราบ บริเวณควนหมาถด ป่าเทือกเขาแก้ว หมู่ 8 บ้านตะโละ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่กักตัวชาวโรฮิงญา และตรวจพบชาวโรฮิงญา เสียชีวิตอยู่ในที่พัก 1 คน และจากการขุดหลุมที่ฝังศพ พบอีกจำนวน 25 ศพ
จากการสืบสวนมีเหยื่อและพยาน ให้การยืนยันว่า ผู้ต้องหากับพวกที่หลบหนีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และเรียกค่าไถ่ชาวโรฮิงญาบริเวณควนหมาถด ทางพนักงานสอบสวน สภ.ปาดังเบซาร์ จึงรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติจับกุมผู้ต้องหาต่อศาลจังหวัดนาทวี จากนั้นได้เข้าจับกุมและนำตัวผู้ต้องหา 1-3 ส่งพนักงานสอบสวน
ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3 ให้การปฏิเสธในข้อหาร่วมกันค้ามนุษย์ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ร่วมกันเรียกค่าไถ่ ส่วนผู้ต้องหาที่ 4 ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในคดีฉ้อโกงทรัพย์และเรียกค่าไถ่ชาวโรฮิงญาในคดีอื่นของ สภ.เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งได้อายัดตัวไว้ดำเนินคดี ในคดีนี้แล้ว
ต่อมา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เป็นประธานแถลงผลการจับกุมคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 9 สนธิกำลังตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา จับกุมผู้ต้องหา 4 ราย ตามหมายจับศาลจังหวัดนาทวีดังกล่าว. 

โรฮิงยา

โรฮีนจา[2] หรือ โรฮิงยา (พม่าရိုဟင်ဂျာ, RohingyaโรฮีนจาRuáinggaเบงกาลีরোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศ
ชาวโรฮีนจามีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐยะไข่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในอดีตบริเวณนี้เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมอาหรับที่เดินทางค้าขายมาตั้งแต่โบราณ[3]
ชาวโรฮีนจามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับชาวเอเชียใต้ โดยเฉพาะชาวเบงกอล บางส่วนสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับเปอร์เซีย และปาทาน ที่อพยพมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโมกุล
ในปี พ.ศ. 2521 ชาวโรฮีนจาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า ชาวโรฮีนจาถูกปฏิเสธที่จะได้รับสัญชาติพม่า ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก องค์การนิรโทษกรรมสากลประมาณการว่า มีชาวโรฮีนจาอพยพออกนอกประเทศไปยังบังกลาเทศกว่า 200,000 คน [4]

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกทหารพม่าจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้รัฐบาลทหารพม่าออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน โฆษกกระทรวงกลาโหมพม่า ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[5]
นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน รัฐบาลทหารพม่าให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[6] จากนั้นรัฐบาลทหารพม่าให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด
แอนเจลีนา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่าว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮีนจา และเสนอแนะว่ารัฐบาลทหารพม่าควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิยูเอ็นเอชซีอาร์ มีการบันทึกว่ายูเอ็นเอชซีอาร์ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ...[7][8]

เปิดใจญาติเหยื่อค้ามนุษย์หลังหลานชายถูกฆ่าโหด แฉแคมป์โรฮิงญาคนไทยเป็นเจ้าของ

เปิดใจญาติเหยื่อค้ามนุษย์หลังหลานชายถูกฆ่าโหด แฉแคมป์โรฮิงญาคนไทยเป็นเจ้าของ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 พฤษภาคม 2558 17:17 น. (แก้ไขล่าสุด 4 พฤษภาคม 2558 09:14 น.)
เปิดใจญาติเหยื่อค้ามนุษย์หลังหลานชายถูกฆ่าโหด แฉแคมป์โรฮิงญาคนไทยเป็นเจ้าของ
        นครศรีธรรมราช - เปิดใจน้าชายชาวโรฮิงญาเหยื่อแก๊งค้ามนุษย์ในแคมป์สังหารกลางป่า อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นครั้งแรกหลังหลานชายถูกฆ่าตาย ด้านพยานแฉผู้ถูกคุมตัวในแคมป์มีทั้งถูกตีด้วยท่อนไม้จนตายและยิงทิ้งราวใบไม้ร่วง แฉเบื้องหลังมีคนไทยในพื้นที่สงขลาเป็นเจ้าของแคมป์
      
       วันนี้ (3 พ.ค.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้าคดีเรียกค่าไถ่จากนายกูราเมีย ชาวโรฮิงญาที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อไถ่ตัวหลานชายคือนายคาซิม ที่เดินทางมาจากรัฐยะไข่ โดยถูกกักตัวอยู่ที่ป่าแห่งหนึ่งใน อ.สะเดา จ.สงขลา โดยครั้งแรกได้จ่ายเงินไปแล้ว 95,000 บาท แต่ได้เรียกเพิ่มอีก 120,000 บาท แต่นายกูราเมียไม่มีเงินจึงเข้าแจ้งความ
      
       ขณะที่มีประจักษ์พยานเห็นเหตุการณ์ขณะที่นายคาซิมถูกสังหาร หลังจากที่นายอานัว ผู้ต้องหา รู้ว่านายกูราเมียแจ้งความกับตำรวจนครศรีธรรมราช จึงเข้าเป็นพยานให้กับนายกูราเมีย จนนำไปสู่การออกหมายจับกุมนายอานัว และถูกติดตามจับกุมตัวไว้ได้ในที่สุด และมีการขยายผลไปจนถึงแคมป์จุดฝังศพจำนวนมากในอำเภอสะเดา
        
เปิดใจญาติเหยื่อค้ามนุษย์หลังหลานชายถูกฆ่าโหด แฉแคมป์โรฮิงญาคนไทยเป็นเจ้าของ
       
       นายกูราเมีย ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช น้าชายชาวโรฮิงญาเหยื่อ 1 ในหลายศพจากจุดฝังศพแคมป์โรฮิงญากลางป่าใน อ.สะเดา จ.สงขลา ปรากฏตัวและยอมเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเป็นครั้งแรก ถึงสาเหตุที่เหยื่อถูกสังหาร รวมทั้งประจักษ์พยานหนึ่งในชาวโรฮิงญาที่เห็นเหตุการณ์ขณะสังหาร
      
       นายกูราเมีย ได้กล่าวผ่านล่ามว่า นายอานัวได้ติดต่อว่าคุมตัวหลานชายของตนเองไว้ได้แล้ว และขอค่าไถ่เป็นจำนวนเงิน 95,000 บาท หลังจากที่โอนเงินให้ไปแล้วปรากฏว่าไม่ยอมติดต่อกลับมาอีกเลย จนกระทั่ง 15 วันผ่านไปได้เรียกเงินเพิ่มอีก 120,000 บาท แต่ไม่มีเงินแล้วจึงตัดสินใจเข้าแจ้งความจนกระทั่งนายอานัว รู้ว่าได้เข้าแจ้งความแล้วนายคาซิม หลานชายจึงถูกฆ่า
      
       ขณะที่ประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะที่นายอานัวและลูกน้องรุมฆ่านายคาซิม ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวผ่านล่ามโดยขอสงวนนามและปกปิดการบันทึกภาพว่าได้เดินทางออกมาจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่าโดยถูกหลอกว่าจะนำไปทำงานในมาเลเซียราว 6 เดือนก่อน หลังจากนั้นได้ถูกกักตัวอยู่ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นพบหลุมศพ และสามารถหลุดออกมาได้นั้นเนื่องจากแม่ที่อยู่ในประเทศพม่ายอมขายที่ดินเพื่อเงินโอนมาไถ่ตัวจำนวน 6,000 ริงกิต จึงสามารถออกมาจากแคมป์ดังกล่าวได้
        
เปิดใจญาติเหยื่อค้ามนุษย์หลังหลานชายถูกฆ่าโหด แฉแคมป์โรฮิงญาคนไทยเป็นเจ้าของ
       
       พยานรายนี้เปิดเผยว่าขณะที่อยู่ในแคมป์นั้น รู้ว่ามีการตายเกิดขึ้นมากกว่า 500 คนในทุกแคมป์ตลอดแนวชายแดนไทยมาเลเซีย แคมป์ที่เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นพบหลุมศพนั้น มีชาวโรฮิงญาราว 700-800 คนถูกคุมตัวอยู่ที่นั่นแต่หลังจากที่รู้ว่าเจ้าหน้าที่เข้าไปนั้นจะหลบเข้าไปในป่าฝั่งมาเลเซียที่อยู่ห่างไปราว 200 เมตร ตลอดแนวยังมีชาวโรฮิงญาอยู่อีกนับพันคนที่รอให้ญาติไถ่ตัวหรือซื้อขายแรงงานกัน
      
       “ช่วงที่ผมอยู่ในแคมป์นั้นมีคนถูกฆ่าตายด้วยวิธีการตีด้วยท่อนไม้ขนาดใหญ่จนตายหรือยิงทิ้งราว 17-20 ศพ แต่ชาวโรฮิงญาในแคมป์จะไม่รู้ว่าเขานำไปฝังที่ไหน กรณีของนายคาซิมนั้นถูกนายอานัวตีจนตายและเขารีบลงมาจากบนภูเขาแล้วสั่งให้ลูกน้องอีก 2 คนซึ่งบอกชื่อกับเจ้าหน้าที่ไปแล้วเป็นคนจัดการต่อด้วยการนำไปฝัง ส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่มีเงินไถ่ตัวหรือไม่มีญาติจะถูกตีจนบาดเจ็บสาหัสและตายไปเองหรือป่วยตาย” พยานรายนี้กล่าว
      
       พยานรายนี้ยังกล่าวต่อว่า ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาขณะที่มีชาวโรฮิงญาถูกกักอยู่ที่นี่เจ้าหน้าที่หน่วยงานหนึ่งได้เข้าจับกุมแล้ว แต่หลังจากที่มีการเจรจาปรากฏว่าทั้งหมดถูกปล่อยไป ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของแคมป์แห่งนี้เป็นชาวไทยมุสลิม 2 ผัวเมียชื่อว่า บังฉีและฟารีดา จะเข้ามาติดตามความเคลื่อนไหวทั้งจำนวนคนและยอดเงินที่ได้จากการไถ่ตัว

ย้าย 205 ผบ.พัน

แม่ทัพสีกากี บิ๊กอ๊อด-พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เขียนเสือขู่ขโมย-ขโจร ที่หากินบนความเดือดร้อนของผู้อื่น  ทำบัญชีบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวประเทศเนปาลปลอม ไปตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยคำสั่งกำชับตำรวจทั่วประเทศจัดชุดสืบสวนหาข่าวความเคลื่อนไหวบุคคล หรือกลุ่มแก๊งที่มีพฤติการณ์กระทำผิดหลอกลวงประชาชน ในการรับบริจาคช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล โดยให้รวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ และทำการจับกุมดำเนินคดีในทุกฐานความผิดที่เกี่ยวข้องอย่างเฉียบขาด ซึ่งดูจะทำให้แก๊งเหล่านี้เข็ดขยาดไปพอสมควร แต่ถ้าจะให้ดีน่าจะมีรายการ เชือดไก่ให้ลิงดู จับแก๊งมิจฉาชีพทำบัญชีปลอมมาประเดิมดำเนินคดีให้เป็นเยี่ยงอย่าง นอกจากจะเป็นผลงานชิ้นโบแดงแล้ว จะได้รับเสียงปรบมือจากชาวบ้านดังกระหึ่มแน่ *


ฟอกขาวเรียบร้อยโรงเรียนสีกากี กรณีทหารจับบ่อนพนันที่รีสอร์ตกลางเมืองอุบลราชธานี ได้นักพนัน 16 คน ตั้งแต่กลางเดือนเมษา จน บิ๊กเจี๊ยบพล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก ผบช.ภ.3 มีคำสั่งให้ 5 เสือเมือง อุบลฯ พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ แสงจันทร์ผกก.สภ.เมืองอุบลราชธานี, พ.ต.ท.คมสรรค์ รัตนแสง รอง ผกก.ป.สภ.เมืองอุบลฯ, พ.ต.ท.สุพจน์  จงอุตสาห์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองอุบลฯ, พ.ต.ต.ศุภกิจ คำโท สวป.สภ.เมืองอุบลฯ, พ.ต.ต.บวรศักดิ์ คำรังษี สว.สส.สภ.เมืองอุบลฯ และ 1 เสือกองสืบ พ.ต.อ.สถาพร เอมโอษฐ์ ผกก.สส.ภ.จว.อุบลราชธานี รวมทั้ง ด.ต.พิทักษ์ พละไกร ผบ.หมู่ (สส.) สภ.เหล่าเสือโก้ก ไปปฏิบัติราชการที่ ศปก.ภ.3  ขาดจากตำแหน่งและหน้าที่ทางต้นสังกัดเดิม ล่าสุดวันศุกร์ที่ผ่านมา ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้น ไม่พบความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ยังต้นสังกัดเดิม ยกเว้น ด.ต.พิทักษ์ พละไกร การตรวจสอบข้อเท็จจริงยังไม่ได้ข้อยุติ จึงให้อยู่ปฏิบัติราชการที่ ศปก.ภ.3 ต่อไป *

สปอตไลต์การช่วงชิงเก้าอี้ ผบ.ตร. ที่ก่อนหน้านี้สาดส่องไปที่ บิ๊กแป๊ะ-พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. น้องเลิฟ บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม และพี่รัก โจ๊ก หวานเจี๊ยบ แบบเต็งจ๋าลอยลำมาพักใหญ่ ตอนนี้อะไรแน่ๆ อาจไม่แน่ซะแล้ว เพราะดูท่าที บิ๊กเอก-พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. ตั้งแต่สวมหมวก ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็กเยาวชนและสตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.พดส.ตร.) ซึ่งตรงกับแนวนโยบายปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่รัฐบาล บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ให้ความสำคัญเร่งด่วน เวลาย่างก้าวแต่ละจังหวะในการเดินเครื่องงานปราบปรามการค้ามนุษย์ เหมือนจะเข้าตำราเล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ต้องถึงมือ เอก อย่างเหตุพบหลุมฝังศพชาวโรฮิงญาจำนวนมาก ในพื้นที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา บิ๊กเอก ยังจับเครื่องบินจากเมืองกรุงลงไปคุมการตรวจพิสูจน์ด้วยตัวเอง *

บิ๊กโด่ง-พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ.เซ็นคำสั่งโยกย้ายผู้พัน วันแรงงาน 205 ตำแหน่ง ในกองพลทหารราบที่ 9  กาญจนบุรี ถือว่าขยับมากพอสมควร ไล่ตั้งแต่ พ.อ.เฉลิมชัย   ขัดใจ เสธ.ร.19 เป็นรอง เสธ.พล.ร.9, พ.ท.วรรธ อุบลเดชประชารักษ์ ผบ.ร.19 พัน 3 เป็น เสธ.ร.9, พ.ท.จีรนาท เทพวัลย์รอง ผบ.พัน.ร.มทบ.11 ย้ายไปเป็น ผบ.ร.19 พัน 3, พ.ท.วัชรภ บุรินทร์วัฒนา หัวหน้า ฝกพ.พล.ร.9 เป็น  ผบ.ร.9 พัน 1, พ.ท.ยุทธพงศ์ เอนกศรี ผบ.ร.9 พัน 3 เป็น ฝยก.กองทัพภาคที่ 1, พ.ท.ชูพงษ์ สายอุบล รอง ผบ.กรมทหารพรานที่ 14 เป็น ผบ.ร.9 พัน 3, พ.ต.พลสันต์ รุ่งนิรันดร์รอง ผบ.ม.พัน 19 เป็น รอง ผบ.กรมทหารพรานที่ 14,  พ.อ.ฐนิตพัฒน์ อุทะนิตนันท์ รอง เสธ.พล.ร.9 เป็น รองผบ.ร.29, พ.ท.อนิรุจน์ ดิษฐประชา ผบ.ร.19 พัน 2 เป็น เสธ.ร.29, พ.ท.พิสิษฐ์  ตันกำเนิด หัวหน้า ฝยก.พล.ร.9 เป็น ผบ.ร.19 พัน 2...*

ขณะที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) มีการปรับย้ายเพียงเล็กน้อย เช่น พ.อ.ปรมาธร  บุนนาค รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. เป็น ผบ.กรมทหารพรานที่ 12,  พ.ท.เกรียงศักดิ์ สืบธรรมมา  ผบ.ร.21 พัน 3 รอ. เป็น รอง เสธ.พล.ร.2 รอ., พ.ท.ไชยปราการ  พิมพ์จินดา รอง ผบ.ร.12 พัน 3 รอ. เป็น ผบ.ร.21พัน 3 รอ. พ.ต.พรพิสุค์ บุญรอด รอง ผบ.ร.12 พัน 2 รอ. เป็น รอง ผบ.ร.12 พัน 3  รอ. ในส่วนอื่นทั้ง ราบ ม้า ปืน รบพิเศษ "บิ๊กโด่ง" เขย่าให้เข้าที่แต่ไม่ได้มีเสียงฮือฮามากนัก  ก่อนจะเรียกประชุมหน่วยขึ้นตรงระดับผู้บังคับกองพันขึ้นไปในวันเปิดทำการ 6 พฤษภาคมนี้ ที่กองทัพบก *

ตั้งแล้วสำหรับบอร์ดกองสลาก โดยตำแหน่งประธานบอร์ด บิ๊กแดง-พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 ได้นั่งเก้าอี้ดังกล่าวตามคาด นอกจากนั้น ยังมีชื่อของ พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบช.น.และ พ.ท.หนุน   ศันสนาคม อดีต ผบ.ร.11 พัน 2 รอ. ช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรียุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา  ถือว่าเป็นลูกหม้อของ ร.11 รอ.บางเขนที่ บิ๊กตู่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.จัดทัพมาคุมงานบิ๊ก *


อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2150242

ที่มา ไทยโพสต์ คอลัมน์ กากี กะสีเขียว

′บิ๊กโด่ง′ เซ็นย้าย205 ผบ.พัน ′เด็กบิ๊กป้อม′ พรึบคุมกำลังรบ

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการกองทัพบก (ผบ.ทบ.) มีคำสั่งกองทัพบก ที่ 241/2558 เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและปรับระดับเงินเดือน ซึ่งเป็นการปรับย้ายระดับรองผู้บังคับการกรมและผู้บังคับกองพัน ในเหล่าทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารรบพิเศษ ทหารม้า จำนวน 205 ตำแหน่ง โดยเฉพาะระดับคุมกำลัง โดยการปรับย้ายครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นบุคคลใกล้ชิด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อลงในตำแหน่งสำคัญ อาทิ พ.อ.เฉลิมชัย ชัดใจ เสธ.ร.19 เป็น รอง ผบ.ร.9 พ.ท.วรรธ อุบลเดชประชารักษ์ ผบ.ร.19 พัน.3 เป็น เสธ.ร.19 พ.ท.วัชรภ บุรินทร์วัฒนา หน.ฝกพ.พล.ร.9 เป็น ผบ.ร.9 พัน.1 พ.ท.ยุทธพงศ์ เอนกศรี ผบ.ร.9 พัน.3 เป็น ฝยก.ทภ.1 พ.ท. ชูพงษ์ สายอุบล รอง ผบ.กรม ทพ.14 เป็น ผบ.ร.9 พัน.3 พ.อ.วินิจ สว่างเนตร รอง ผบ.กรม สน.พล.ร.9 เป็น รอง เสธ.พล.ร.9 

พ.ท. อนิรุจน์ ดิษฐประชา ผบ.ร.19 พัน.2 เป็น เสธ.ร.29 พ.ท.พิสิษฐ์ ตันกำเนิด หน.ฝยก.พล.ร.9 เป็น ผบ.ร.19 พัน.2 พ.อ.บรรเจิด จันทร์ส่งเสริม หก.กกพ.มทบ.18 เป็น รอง เสธ.มทบ.15 พ.อ.บุญเสริม บุญบำรุง เสธ.ร.16 เป็น รอง ผบ.ร.16 พ.อ.ปรมาธร บุนนาค รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. เป็น ผบ.กรม ทพ.12 

พ.ท.ธนาธิป เรียงอิศราง ผบ.ร.23 พัน.4 เป็น ผบ.กรม ทพ.26 พ.ท.สมเด็จ พวงผกา รอง ผบ.กรม ทพ.26 เป็น ผบ.ร.23 พัน.4  พ.ท.ไกรพินิช วาเล็กบุตร รอง เสธ.ร.17 เป็น ผบ.ร.7 พัน.1 พ.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ปาณิกบุตร รอง ผบ.ร.14 เป็น รอง ผบ.ร.17 พ.อ.วรเทพ บุญญะ รอง ผบ.ร.17 เป็น รอง ผบ.ร.14 พ.อ.ยรรยง ทิพาปกรณ์ เสธ.ร.17 เป็น รอง ผบ.ร.17 พ.ท.พิพัฒน์ ศรีทองพิมพ์ ผบ.ร.17 พัน.3 เป็น เสธ.ร.17 พ.ท.รัชตะ ท้าวคำลือ หน.ฝยก.พล.ร.7 เป็น ผบ.ร.17 พัน.3 พ.ต.สมนึก ธูปเทียน รอง ผบ.ร.7 พัน.2 เป็น รอง ผบ.ร.7 พัน.5 พ.ท.อัครเดช เปี่ยมไหวพริบ ผช.ฝกบ.ทภ.3 เป็น ผบ.ป.พัน.30 พ.ท.กฤษณ์ กิตยาธิวัฒน์ ผช.ฝกพ.ทภ.3 เป็น ผบ.ร.4 พัน.2
พ.ท.ธีระยุทธ์ สายยืด หน.ฝกบ.พล.ร.4 เป็น ผบ.ร.4 พัน.3 พ.ท.สฐิรพงษ์ อาจหาญ ผบ.ร.153 พัน.3 เป็น ผบ.กรม ทพ.48 พ.ท.ศุภชัย สงสังข์ รอง ผบ.ร.25 พัน.2 เป็น ผบ.ร.153 พัน.3

พ.อ.เปรียว ติณสูลานนท์ รอง เสธ.พล.ร.5 เป็น รอง ผบ.ร.15 พ.อ.เอกคง รัตนบุรี เสธ.ร.15 เป็น ผบ.ร.15 พัน.4 พ.อ.ภูมิพัฒน์ บุญเรืองขาว เสธ.ร.25 เป็น ผบ.ร.15 พัน.1 พ.อ.จรูญ จตุรงค์ ผบ.ร.15 พัน.1 เป็น เสธ.ร.25 พ.อ.ปองเชษฐ์ พูนช่วย เสธ.ป.5 เป็น รอง ผบ.ป.5 พ.ท.ธนชาต เหมะจันทร หน.ศม. เป็น ผบ.ม.พัน.16 

พ.ท.มีชัย ไทรงาม ผบ.หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จทบ.ท.ส. เป็น ผบ.ม.พัน.31 พ.อ.วีระพล เมืองอ่ำ รอง ผบ.รพศ.3 เป็น รอง ผบ.รพศ.2 พ.อ.วชรนันท์ กองศรี เสธ.ม.5 รอ. เป็น รอง ผบ.ม.5 รอ.

images by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.thimages by free.in.thimages by 
free.in.th

พท.' ถูกจำกัด 'ชินวัตร' หมดตัวเล่นจับตา 'บิ๊กจิ๋ว' คัมแบ็กในบท 'คีย์แมน'


ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2558 00:00:21 น.


ทีมข่าวการเมือง

สร้างความประหลาดใจไม่น้อย สำหรับกรณีคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทร ทัศน์ (กสท) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต "PEACE TV" ซึ่งเป็น "รูหายใจ" ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพรรคเพื่อไทย ในช่วงที่คณะรักษาความสงบถือกระบองมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 กดการเคลื่อนไหวต่างๆ ของกลุ่มการเมืองเอาไว้


แม้จะเป็นการดำเนินการโดย "กสทช." ในฐานะที่มีอำนาจโดยตรงเรื่องนี้ มีการแจกใบเหลืองก่อนจะให้ใบแดงตามกฎกติกา แต่ "ฝ่าย นปช."มั่นใจว่า ลำพัง "กสทช." ไม่มีความเด็ดขาดพอในการลงมือ หากไม่ได้รับสัญญาณ "ไฟเขียว" จากฝ่ายอำนาจ

เนื่องจากการ "ปิดสื่อ" ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพกำลังเบ่งบานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้แต่ยุคเผด็จการทหารในปัจจุบันยังไม่สามารถละลาบละล้วงได้ 100% เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่จะโดนข้อหา "ปิดกั้น" การรับรู้ของประชาชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน

การลงมือสั่ง "จอดำ" กับ "PEACE TV" จึงจำเป็นต้องมีการชั่งตวงผลกระทบที่จะออกมาพอสมควรว่า "คุ้ม" ที่จะทำ เพราะมันสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่อาจรู้สึกว่า ถูก "รุกไล่" ฝ่ายเดียว ในขณะที่ "สื่อเลือกข้าง" ลักษณะเดียวกันช่องอื่นยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

หากย้อนกลับไปดูความเคลื่อนไหวของ "PEACE TV" ในช่วงก่อนจะจอดำ พบว่า ในวันที่ 10 เมษายน ถูก "กสท" พักใบอนุญาตออกอากาศเป็นเวลา 7 วัน เนื่องจากมีเนื้อหากระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ ก่อนจะกลับมาออกอากาศได้อีกครั้งในวันที่ 18 เมษายน กระทั่งวันที่ 27 เมษายน "กสท" ได้มีมติเพิกถอนใบอนุญาต โดยให้เหตุผลว่า มีการกระทำผิดซ้ำซาก

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจก่อน "ฟางเส้นสุดท้าย" จะขาด เป็นช่วงจังหวะที่ 2 แกนนำ นปช.คนสำคัญ "ตู่" จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และ "เต้น" ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการเมืองถี่ขึ้น เนื้อหาบางส่วนมีลักษณะท้าทาย และเพิ่มดีกรีปลุกเร้ามากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ทั้งที่เคยมีการทำข้อตกลงกันแล้ว

ซึ่งนอกจากการตักเตือนภายใต้กติกาของ "กสท" ที่ทำแล้วหลายครั้ง ในส่วนของการพูดคุยแบบภายใน ฝ่ายความมั่นคงเองได้มีการส่งสัญญาณถึงความ "ไม่สบายใจ" ในเนื้อหามาแล้วหลายรอบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งละเมิดข้อตกลง ยุทธการ "ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม" จึงเกิดขึ้นฝ่ายความมั่นคงทราบดีว่า การสั่งปิด "ทีวีเสื้อแดง" ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะสร้างความไม่พอใจให้กับมวลชนจนอาจนำไปสู่การหาเงื่อนไขไปปลุกระดม แต่หากไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเลย การรอมชอมอาจเป็นการผลักไปสู่ "ความได้ใจ"ได้เช่นกัน

อีกทั้งมีการประเมินว่า การสั่ง "จอดำ" หนนี้จะไม่ลุกลามใหญ่โตจนควบคุมไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นการไล่บล็อก "สื่อแดง" ที่มีทั้งหมดในประเทศ แต่ดำเนินการเพียงบางช่องเท่านั้น ในขณะที่เครือข่ายเดียวกันอย่าง "VOICE TV" ยังสามารถออกอากาศได้ตามปกติ

ผลกระทบจากการปิด "PEACE TV" ในครั้งนี้ยังไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมในมิติอื่นๆ มากนัก โดยเฉพาะเรื่องโฆษณา ซึ่งหากเป็นช่องที่ป๊อปปูลาร์คงทำได้ลำบาก ในขณะที่ "PEACE TV" เอง ขับเคลื่อนไปได้เพราะมีผู้สนับสนุนเรื่องทุน ไม่ได้พึ่งโฆษณาเหมือนช่องอื่นๆ

นอกจากนี้ การสั่ง "จอดำ" ทีวีของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งนี้ยังใช้ทฤษฎี "อย่างไรก็เกลียด" เป็นเครื่องชั่งตวงก่อนตัดสินใจ เพราะต่อให้ "ปิด" หรือ "ไม่ปิด" คนเสื้อแดงเองไม่มีทางหันมานิยมชมชอบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อยู่ดี

ที่สำคัญ การใช้อำนาจเด็ดขาดหนนี้ยังเป็นการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" เพื่อปรามไปยัง "สื่อเลือกข้าง" ช่องอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายตักเตือนไปแล้วหลายหนให้ระมัดระวังอย่า "ล้ำเล้น" ข้อตกลงที่ทำกันไว้

อย่างไรก็ตาม การลาจอของ "PEACE TV" เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับการกลับมาเป็นตัวละครสำคัญทางการเมืองอีกครั้งของ "บิ๊กจิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีหนำซ้ำยังเกี่ยวพันกับกลุ่ม นปช.แบบเหมาะเจาะกับเวลา โดยเฉพาะภาพการร่วมรับประทานอาหารกับแกนนำ นปช. และผู้บริหาร "PEACE TV" นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์กับสื่อช่องดังกล่าวในประเด็นที่ถูกพาดพิงว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุคาร์บอมบ์บริเวณลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน

น่าสนใจสำหรับการเคลื่อนไหวของ "บิ๊กจิ๋ว" ทั้งในรูปแบบที่จงใจให้เป็นข่าว และในรูปแบบที่ไม่จงใจให้เป็นข่าวในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเข้าไปวางพวงหรีด และกล่าวกับกำลังพลของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ก่อนที่จะเกิดเหตุคาร์บอมบ์ขึ้นจนนำมาสู่การถูกพาดพิง

หลังจากนั้น "บิ๊กจิ๋ว" ยังปรากฏตัวอีกครั้ง ในการเดินทางไปเป็นประธานในงานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบ 7 ปี การก่อตั้งชมรมปิยะมิตรไทย และรำลึกครบรอบ 28 ปี การเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย ของอดีตกลุ่มโจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ที่โรงแรมลี การ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 เมษายน

การเดินทางไปพบปะเยี่ยมเยียนอดีต ผรท. แม้เพิ่งจะมาปรากฏเป็นข่าวในช่วงนี้ แต่ที่ผ่านมา "บิ๊กจิ๋ว" เองมีการเดินสายลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องมา 1-2 ปีแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานที่มีการจัดตั้ง "สมาพันธ์ ผรท." ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีจำนวนมหาศาล และเป็นเนื้อเดียวกับกลุ่มคนเสื้อแดงแบบแยกกันไม่ออก

เป็นตัวละครสำคัญที่โผล่ขึ้นมาในช่วงคาบลูกคาบดอกของการเมืองไทย และเป็นการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญระหว่างที่ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวเข้าสู่โรดแม็พระยะที่ 3 ซึ่งกำลังมีการถกเถียงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกอยู่ในสังคม

ก้าวย่างของ "บิ๊กจิ๋ว" กับการรุมวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของบรรดานักการเมือง แกนนำกลุ่มการเมืองต่างๆ แม้จะเป็นคนละบริบทกัน แต่กลับมีความสอดประสานกันไม่น้อย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกฉบับของ "ดร.ปื๊ด" บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ และทีมงาน เปิดโอกาสให้ "กลุ่มการเมือง" สามารถลงรับเลือกตั้งได้ ในขณะที่สถานะของ "พรรคเพื่อไทย" จะถูกจำกัดพื้นที่และจำนวน ส.ส.โดยระบบเลือกตั้งแบบใหม่ที่พรรคใหญ่ได้รับผลกระทบโดยตรง

การเคลื่อนไหวพบปะ ผรท.อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะหลังมานี้ของ "บิ๊กจิ๋ว" ถูกมองว่าเป็นการเตรียมพร้อมหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดโอกาสให้ "กลุ่มการเมือง" ลงเลือกตั้งหรือไม่

ซึ่งเป็นไปได้ไม่น้อยหากจะมีการปรับหมากในกระดาน โดยให้ "บิ๊กจิ๋ว" เป็นเสมือน "แม่ทัพ นปช." คนใหม่ เพื่อแก้เกมหลังจากที่ฝั่ง "พรรคเพื่อไทย" กำลังถูกไล่ต้อนในกระบวนการยุติธรรมและกติกาในอนาคต

เป็นการเตรียมการรองรับในสภาวะที่ "พรรคเพื่อไทย" มีที่เดินจำกัดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นการเตรียมการรองรับในสภาวะที่ "ตระกูลชินวัตร" ถูกบล็อกทางการเมืองหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" อดีตนายกรัฐมนตรีแม้ภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา "บิ๊กจิ๋ว" จะถูกมองว่าอยู่ภายใต้บงการของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ความจริงแล้วบทบาทของ "บิ๊กจิ๋ว" ไม่ใช่บุคคลที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" จะสั่งซ้ายหันขวาหันในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาได้แบบนักการเมืองคนอื่นๆ หากแต่เป็นบุคคลที่สามารถสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองได้

มีเครือข่ายและมวลชนของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ผรท.ที่เป็นเนื้อเดียวกับคนเสื้อแดงหรือกลุ่มเกษตรกรบางส่วน ตลอดจนนายทหารทั้งที่เกษียณอายุราชการไปแล้วและยังอยู่ในราชการ ซึ่งเป็นคนที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" จะขอพึ่งในการสร้างอำนาจต่อรองของตัวเองได้

มีการมองว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้ "กลุ่มการเมือง" ลงสมัครรับเลือกตั้งได้จริงๆ "พรรคเพื่อไทย" อาจเดิน "สองขา" คือ มีทั้งพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองแล้วไหลไปรวมกันในสภาฯ

พรรคเพื่อไทยเล่นเกมสองหน้า "แบบเปิด" ตามน้ำเหมือนทุกพรรคด้วยการอัดรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน "แบบปิด" ก็เตรียมรับมือกติกาใหม่ในทุกๆ รูปแบบเหมือนกัน.!!.
////
"มีเครือข่ายและมวลชนของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ผรท.ที่เป็นเนื้อเดียวกับคนเสื้อแดงหรือกลุ่มเกษตรกรบางส่วน ตลอดจนนายทหารทั้งที่เกษียณอายุราชการไปแล้วและยังอยู่ในราชการ ซึ่งเป็นคนที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" จะขอพึ่งในการสร้างอำนาจต่อรองของตัวเองได้"

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2150237

กฎเหล็กกสท.! พบวิทยุออกอากาศยั่วยุปิดทันที3วัน-เรียกค่าเสียหายไม่ได้

กฎเหล็กกสท.! พบวิทยุออกอากาศยั่วยุปิดทันที3วัน-เรียกค่าเสียหายไม่ได้

เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 04 พฤษภาคม 2558 เวลา 11:18 น.
เขียนโดย
isranews
กฎเหล็ก ! กสท. ชง กสทช. ออกมาตรการหากพบวิทยุใดออกอากาศปลุกปั่น-สร้างความขัดแย้ง ขัดข้อตกลง สั่งปิดชั่วคราวทันที 3 วัน เจ้าของไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายได้ หลังหน่วยงานความมั่นคงพบหลายสถานีเสนอข่าวยั่วยุ-ปลุกปั่น
PIC radio 4 5 58 1
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ของ กสทช. มีมติกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามข้อตกลงเพิ่มเติม โดยกำหนดให้การฝ่าฝืนข้อกำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับการออกอากาศ โดยการออกอากาศปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง สามารถพักใบอนุญาตได้คราวละไม่เกิน 3 วัน โดยผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ได้
โดยกรณีนี้เกิดจากหน่วยงานความมั่นคงได้ประสานงานแจ้งสำนักงาน กสทช. ทราบว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงบางสถานีมีการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาเป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ดังนั้น จึงขอให้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ดำเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กสทช. โดยสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.) พิจารณาแล้ว จึงเสนอต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณา โดย กสท. จะแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้ปฏิบัติการแทน กสทช. มีกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ กสทช. มีมติ
นอกจากนี้กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามข้อตกลงฯเพิ่มเติม โดยกำหนดให้ “การฝ่าฝืนข้อกำหนดในข้อตกลงฯ โดยการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาเป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครองให้พักใช้ใบอนุญาต คราวละไม่เกิน 3 วัน หรือเพิกถอนใบอนุญาต โดยผู้รับใบอนุญาตไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการฝ่าฝืนเงื่อนไขในข้อตกลง อันเป็นเหตุให้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้”
โดยที่ประชุม กสท. พิจารณาแล้ว น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ แจ้งว่า จะทำบันทึกข้อเสนอแนะไปยังสำนักงาน กสทช. ต่อไป
PIC ปดวทย 1