PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โรฮิงยา

โรฮีนจา[2] หรือ โรฮิงยา (พม่าရိုဟင်ဂျာ, RohingyaโรฮีนจาRuáinggaเบงกาลีরোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศ
ชาวโรฮีนจามีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐยะไข่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในอดีตบริเวณนี้เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมอาหรับที่เดินทางค้าขายมาตั้งแต่โบราณ[3]
ชาวโรฮีนจามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับชาวเอเชียใต้ โดยเฉพาะชาวเบงกอล บางส่วนสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับเปอร์เซีย และปาทาน ที่อพยพมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโมกุล
ในปี พ.ศ. 2521 ชาวโรฮีนจาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า ชาวโรฮีนจาถูกปฏิเสธที่จะได้รับสัญชาติพม่า ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก องค์การนิรโทษกรรมสากลประมาณการว่า มีชาวโรฮีนจาอพยพออกนอกประเทศไปยังบังกลาเทศกว่า 200,000 คน [4]

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกทหารพม่าจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้รัฐบาลทหารพม่าออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน โฆษกกระทรวงกลาโหมพม่า ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[5]
นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน รัฐบาลทหารพม่าให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[6] จากนั้นรัฐบาลทหารพม่าให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด
แอนเจลีนา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่าว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮีนจา และเสนอแนะว่ารัฐบาลทหารพม่าควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิยูเอ็นเอชซีอาร์ มีการบันทึกว่ายูเอ็นเอชซีอาร์ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ...[7][8]

ไม่มีความคิดเห็น: