PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว6ต.ค.2557

**แถลงการณ์ฉบับ2ในหลวง

แถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 2 

คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานว่า อัตราการเต้นของพระหทัยเร็วในบางช่วงเวลา ความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิพระวรกายในรอบ 24 ชั่วโมง (จาก
ช่วงเย็นวันที่ 4-5 ต.ค.) ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส แต่มีพระปรอทสูงถึง 38.5 องศาเซลเซียส ครั้งหนึ่ง

เย็นวานนี้ (วันที่ 5 ต.ค.) คณะแพทย์ ได้ขอพระราชทานงดพระกระยาหาร ถวายน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิต และได้ถวายตรวจด้วยเครื่องเอ็กเซเรย์คอมพิวเตอร์ ร่วมกับการฉีดสารกัมมันตภาพรังสี
(FDG-PET CT) เข้าทางหลอดพระโลหิต พบว่า ถุงพระปิตตะ (ถุงน้ำดี) อักเสบบวมมาก

เมื่อคืนนี้ เวลา 21.45 น. คณะแพทย์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ถวายพระโอสถระงับความรู้สึกทั่วพระวรกาย และส่องกล้องเข้าในช่องพระนาภี (ช่องท้อง) ตัดเอาถุงพระปิตตะ (ถุงน้ำดี) ออก การผ่าตัดใช้เวลา 1.15 ชม. การผ่าตัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พระอาการหลังผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจ ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับห้องประทับเวลา 00.20 น.ของวันที่ 6 ต.ค.

เช้าวันนี้ พระอาการทั่วไปดีขึ้น อัตราการเต้นของพระหทัยลดลง ความดันพระโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปรกติ พระปรอทต่ำลง คณะแพทย์ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะ และยังคงถวายน้ำเกลือทางหลอด
พระโลหิต ต่อไป


จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
สำนักพระราชวัง
6 ต.ค. 2557
//////////
****โปรดเกล้า 250 สปช.ไม่พลิกโผคนดังเพียบ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ 250 สปช. ก๊วน 40 อดีต ส.ว. ยกพลนั่งตำแหน่งตามคาด ปู่ชัย-จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ติดโผด้วย!

วันที่ 6 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายชื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน อาทิ นายคํานูณ สิทธิสมาน, นายคุรุจิต นาครทรรพ, นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, นายชัย ชิดชอบ, นายดิเรก ถึงฝั่ง, นายประสาร มฤคพิทักษ์, นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, นายดํารงค์ พิเดช, นายชูชัย ศุภวงศ์, นายจรัส สุวรรณมาลา, นายเทียนฉาย กีระนันทน์, พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา, นางสาวรสนา โตสิตระกูล, นางตรึงใจ บูรณสมภพ, นายไพบูลย์ นิติตะวัน, นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์, ประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า รายชื่อสปช. 250 คน ที่ประกาศออกมา โดยเฉพาะในส่วน ของอดีตกลุ่ม 40 ส.ว.นั้น มีรายชื่อติดเป็นสปช.จำนวนมาก ตามที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ขณะรายชื่อ
ที่น่าสนใจ มีรายชื่อของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ติดโผด้วย ขณะที่ผู้ที่หลุดโผรายชื่อบางส่วนก็เป็นไปตามคาดเช่นกัน คือ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
------------
"ยงยุทธ" ชี้ เป็นเรื่องดี สปช. มาจากกลุ่มคนหลากหลาย เข้ามาช่วยตรวจสอบ ร่วมกันปฏิรูปประเทศ ไม่กังวลกลุ่มเห็นต่างวิพากษ์วิจารณ์

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงรายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ที่มีการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดสรร สปช.ด้านการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่มีรายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 250 คน มีกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มอยู่ร่วมกัน ที่จะได้มีคนหลากหลายกลุ่มเข้ามาช่วยตรวจสอบ และร่วมปฏิรูปประเทศไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง สปช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะต้องตั้งคณะกรรมการในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่า ตามกรอบเวลาภายใน 6 เดือน กระบวนการน่าจะแล้วเสร็จเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม ไม่กังวลที่มีกลุ่มเห็นต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และตรวจสอบการทำงานของ สปช. ซึ่งมองว่าจะเป็นเวทีคู่ขนานที่จะช่วยกันตรวจสอบต่อไป
----------
สภาเปิดรับรายงานตัว สปช. 8-15 ต.ค. นี้ ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ภายหลังจากการประกาศรายชื่อสมาชิกสภาปฏิรปแห่งชาติ (สปช.) สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เปิดเผยกำหนดการรับรายงานตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตั้งแต่วันที่ 8-15 ตุลาคม 57 ในเวลา 08.30-16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยสมาชิกต้องนำหลักฐาน ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาใบสำคัญสมรส, สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส และรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 รูป, ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 6 รูป และขนาด 3 นิ้ว จำนวน 6 รูป

ทั้งนี้ สมาชิก สปช. ที่มารายงานตัวสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ http://www.parliament.go.th/
////////
***นายกฯปัดประชานิยมแจกเงินชาวนา

นายกรัฐมนตรี เตรียมประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หลังนำคณะรัฐมนตรีลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภารกิจของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. วันนี้ ในเวลา 09.00 น. เตรียมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. ครั้งที่ 1/2557 ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากนำคณะรัฐมนตรี เข้าลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช จากนั้น ช่วงบ่าย เวลา 14.30 น. นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เฉลิมฉลองวาระ 150 ปี วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และประกาศถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พุทธศักราช 2557 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง
------------
นายกรัฐมนตรี ประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว พร้อมช่วยเหลือชาวนามีรายได้เพิ่ม เตรียมการระบายข้าว เร่งทำแผนราคาข้าวสูงขึ้น

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. นัดแรก พร้อมกล่าวเริ่มการประชุมว่า จะต้องพิจารณาช่วยเหลือประชาชนและชาวนาให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องมีการคำนึงเศรษฐกิจของโลก ขณะเดียวกัน จะมีการรับทราบรายงานในสถานการณ์ข้าวโลก การตรวจสอบของคณะกรรมการระบายข้าวในเบื้องต้น การเตรียมการระบายข้าวเพื่อการส่งออก รวมถึงหารือมาตรการให้ราคาข้าวสูงขึ้นในฤดูกาลต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการระยะสั้นออกมาแก้ไขในขณะนี้ แต่ต้องวางการแก้ปัญหาในระยะยาวให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามมาตรการช่วยเหลือชาวนา หลังรัฐบาลจะประกาศขอความร่วมมือชาวนางดปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ 26 จังหวัด เนื่องจากน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอช่วงหน้าแล้ง โดยให้หันมา
ปลูกพืชฤดูแล้ง ใช้น้ำน้อยแทน
-------
นายกรัฐมนตรี มอบรัฐมนตรีมหาดไทย จัดโซนนิ่งการเกษตร ขณะห่วงประชาชนมีรายได้น้อย ไร้ที่ดินทำกิน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ระบุว่า รัฐบาลเตรียมจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร โดยมอบหมายให้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานรับผิดชอบส่วนศูนย์ดำรงธรรมซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยอยู่แล้ว จะได้ทำงานควบคู่ไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะกำหนดพื้นที่สนับสนุนการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย มีผลผลิตสูง พร้อมยืนยัน ไม่ได้จ้างเกษตรกรให้เลิกปลูกข้าว

ทั้งนี้ ยังเป็นห่วงประชาชนที่มีรายได้น้อย ไม่มีที่ดินทำกิน ซึ่งขณะนี้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมาชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนเองเป็นประธาน ไปสำรวจหาพื้นที่ทำงานแบบบูรณาการ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
////////
**ประชุม นขต.ยันไม่เลิกกฎอัยการศึก

หน่วยงานความมั่นคง เตรียมประชุมสรุปงาน ไม่ชัดมีประเด็นยกเลิกอัยการศึกหรือไม่ เสนอ พล.อ.ประวิตร นำหารือ ครม.-คสช. วันพรุ่งนี้

นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (6 ตุลาคม) คณะทำงานด้านความมั่นคง 4 กระทรวง ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะมีการประชุมเพื่อสรุปงานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นงานด้านความมั่นคงทั้งหมด รวมถึงสถานการณ์ภายในประเทศด้วย ส่วนเรื่องการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ยังไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ เพื่อรายงานต่อ พล.อ.ประวิตร นำไปรายงานต่อที่ประชุมร่วมรัฐบาล และ คสช. ในวันที่ 7 ตุลาคม นี้
---
นายกรัฐมนตรี ประชุมคณะกรรมการ นบข. นัดแรก จับตาเร่งรัดองค์การคลังสินค้าคืนเงินค้ำประกันข้าวที่คงค้างให้กับผู้ประกอบการ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว (นบข.) นัดแรก โดยวันนี้ กระทรวงพาณิชย์เตรียมเสนอขอมติยกเลิกมาตรการห้ามขนย้ายข้าวสารและสินค้าเกษตรข้ามเขต เพื่อลดปัญหาการค้าให้คล่องตัวมากขึ้น แต่สมาคมโรงสีข้าวไทย ยังกังวลว่ารัฐบาลจะไม่พิจารณายกเลิกให้ทั้งหมด โดยเฉพาะในพื้นที่ติดชายแดน ซึ่งทางโรงสีมีความเป็นห่วงมาก เพราะได้รับผลกระทบจากการรับซื้อข้าว ซึ่งติดปัญหาการขนย้าย จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาโดยเร็วก่อนจะมีปัญหากับข้าวฤดูกาลใหม่ นอกจากนี้ จะพิจารณาการเร่งรัดองค์การคลังสินค้า (อคส.) คืนเงินค้ำประกันข้าวคงค้างให้กับผู้ประกอบการ และขออนุมัติระบายมันสำปะหลังและข้าวโพดค้างสต๊อก เพื่อลดภาระค่าจัดเก็บและสินค้าเสื่อมสภาพหมดแล้ว
---------
พล.อ.อุดมเดช นัดประชุม นขต.นัดพิเศษ คาดชี้แจงนโยบายหลังรับตำแหน่งใหม่ ขณะเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

บรรยากาศที่กองบัญชาการกองทัพบก ถ.ราชดำเนิน ช่วงเช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่ทหารยังคงรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามปกติ โดยยังคงมีการตรวจสอบบุคคลรวมถึงยานพาหนะที่จะเดินทางเข้าพื้นที่อย่างละเอียด ขณะที่บริเวณหน้าสนามมวยราชดำเนิน ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรักษาความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม สำหรับวาระงานภายในกองบัญชาการกองทัพบกวันนี้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก จะเป็นประธานการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกวาระพิเศษ โดยคาดว่า พล.อ.อุมเดช จะมอบนโยบายการทำงานของกองทัพบกแก่ผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง ภายหลังที่เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่
-----------
พล.อ.อุดมเดช ประชุม นขต. ลั่น ปกป้องสถาบัน ดูแลประชาชน ยึดนโยบายรัฐบาล เร่งแก้ไฟใต้ 

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานการประชุมหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบกวาระพิเศษ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกภายหลังการเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยกล่าวในที่ประชุมว่า นโยบายหลักของกองทัพบกคือภารกิจการปกป้องอธิปไตย ดูแลพื้นที่ชายแดนให้สงบภายใต้ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน การช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงการพิทักษ์เทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และรัฐบาล ให้เกิดความมั่นคง รวมทั้งการดูแลพื้นที่ภาคใต้ให้เกิดความสงบสุข

ขณะเดียวกัน ให้ผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงทยอยเดินทางไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองผู้บัญชาการทหารบก นำผู้บังคับบัญชาระดับสูงและผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีที่ พล.อ.อุดมเดช ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พร้อมกล่าวยืนยันว่า การทำงานจะสนองตอบนโยบายผู้บัญชาการทหารบก เพื่อให้กองทัพบกมีความก้าวหน้า และเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาและประชาชน
-------------
ผบ.ทบ. ไม่ขอพูดเรื่องยกเลิกกฎอัยการศึก ประชุมร่วม ครม.-คสช. วันพรุ่งนี้ ก็ไม่มีการหารือ เชื่อหากบ้านเมืองเรียบร้อยจะมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการยกเลิกกฎอัยการศึกว่า ยังไม่ขอกล่าวถึงในตอนนี้ ส่วนการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในวันพรุ่งนี้นั้น คงจะยังไม่มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว โดยการประชุมในวันพรุ่งนี้เป็นการติดตามการบริหารงานในกลุ่มต่าง ๆ ที่เคยแบ่งไว้ ซึ่งจะช่วยเสริมการทำงาน รวมถึงข้อเสนอแนะให้เป็นไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตาม คงจะมีการสรุปสถาการณ์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหากสถาการณ์เรียบร้อยอาจจะมีการปรับบางอย่าง แต่ในขณะนี้ยังคงอยู่ในช่วงการติดตามประเมินผลอยู่

พร้อมกันนี้ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ในส่วนของการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น จะเน้นการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและจะควบคุมสถาการณ์ต่าง ๆ ให้ได้ และขอความร่วมมือกลุ่มเคลื่อนไหวต่าง ๆ ร่วมกันแก้ไขพูดคุยและแสดงออกตามกรอบที่ทางรัฐบาลได้วางไว้
---------------
ผบ.ทบ. เผยหลังประชุม นขต. ปี 2558 มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม เร่งดำเนินการ 12 เรื่องสำคัญ แก้ใต้ต้องคุมสถานการณ์ลดเหตุให้ได้ 50%

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวภายหลังการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก ว่า วันนี้เป็นการชี้แจงนโยบายแก่ผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง ซึ่งในปี 2558 กองทัพบกจะมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ให้เป็นรูปธรรม โดยสานต่อนโยบายของอดีตผู้บัญชาการทหารบกคนก่อน ซึ่งงานเร่งด่วนมี 12 ประการ อาทิ การดูแลกำลังพล การบริหารงาน การปกป้องชายแดน การรักษาความมั่นคง การปกป้องเทิดทูนสถาบัน เป็นต้น ทั้งนี้ ในเรื่องปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสานต่อนโยบาย ซึ่งในหนึ่งปีจะต้องควบคุมสถานการณ์ให้เหตุลดลงอย่างน้อย 50% และจะต้องทำให้สถาการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารบกมีคติพจน์การทำงานคือ ร่วมใจ ริเริ่ม จริงจัง เพื่อชาติและราชบัลลังก์
---------
นายกรัฐมนตรี ขอกำลังใจรัฐบาลทำงาน แนะนักการเมืองหยุดวิจารณ์ พร้อมยืนยันไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ระบุว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี และ คสช. ในวันพรุ่งนี้ จะมีการรายงานการทำงานของ คสช. 4 เดือนที่ผ่านมา เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลใน 5 กลุ่มงาน ประกอบด้วย ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และฝ่ายกิจการพิเศษ ว่าแต่ละด้านมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง ขณะเดียวกัน การประชุมจะยังไม่มีการพิจารณายกเลิกกฎอัยการศึก เนื่องจากยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านอยู่ พร้อมให้นักการเมืองหยุดวิจารณ์และควรทำตามกฎหมาย

ทั้งนี้ เข้าใจดีว่า ปัญหาของบ้านเมืองสะสมมานานเป็น 10 ปี ดังนั้น การที่ คสช. และรัฐบาลเข้ามาเพียง 4 เดือน ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ต้องให้โอกาส และให้กำลังใจตนมากกว่าจะมาวิจารณ์ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการเจรจากับกลุ่มนักการเมือง และกลุ่มต่อต้าน
///////////
***สนช.ถอดถอนนักการเมือง

สนช. รอเรื่องจาก ป.ป.ช. ยังไม่มีการพูดคุยประเด็นถอดถอน คาดสัปดาห์นี้จัดตั้ง กมธ.เรียบร้อย

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ขณะนี้ สมาชิก สนช. ไม่ได้มีการพูดถึงประเด็นการถอดถอนแต่อย่างใด เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังไม่ส่งเรื่องกลับมา ซึ่งตามขั้นตอนนั้นหากมีการส่งมาก็จะประสานโดยตรงกับประธาน สนช. และประธานก็จะพิจารณา เพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมภายใน 30 วันทันทีต่อไป

สำหรับการประชุมในสัปดาห์นี้ จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 8 ฉบับ โดย 7 ฉบับเป็นร่าง พ.ร.บ. ที่เข้ามาใหม่ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอีก 1 ฉบับเป็นร่าง พ.ร.บ. ที่เลื่อนมาจากสัปดาห์ก่อน ส่วนเรื่องการจัดสรร สนช. เข้าเป็นกรรมาธิการในคณะต่าง ๆ น่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์นี้ และจะมีการคัดเลือกบุคคลไปนั่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
-------
"พีระศักดิ์" ยัน ป.ป.ช. ยังไม่ส่งสำนวนถอดถอนให้ สนช. แจงเป็นคนละส่วนที่พรรคเพื่อไทยจะยื่นศาล รธน.

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงสำนวนคดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำนักงานป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะส่งมาให้ สนช. พิจารณาว่า ขณะนี้สำนวนดังกล่าวยังได้ถูกส่งมา ทั้งนี้จากการหารือกับ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เห็นว่าควรให้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา 16 คณะ เพื่อให้แต่ละคณะคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.ชุดถาวร) ซึ่งจะหน้าที่ในการคัดกรองเรื่องดังกล่าวว่าควรเสนอให้ที่ประชุม สนช. พิจารณาหรือไม่

นอกจากนี้ นายพีระศักดิ์ ยังกล่าวว่า การส่งสำนวนถอดถอนของ ป.ป.ช. เป็นคนละส่วนกับที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยจะยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า สนช. มีอำนาจการถอดถอนหรือไม่ ซึ่งตนก็

มองว่าศาลจะไม่รับไว้พิจารณา เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการ
////////////
"พีระศักดิ์" มั่นใจ สนช. มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมใหญ่สมัชชาสภาอาเซียน ประเทศใดไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิของประเทศนั้น

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่า สหภาพรัฐสภานานาชาติ หรือ ไอพียู เตรียมพิจารณาสถานภาพของสมาชิก สนช.ไทย ที่จะเข้าร่วมในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภานานาชาติ (AIPA) ช่วงวันที่ 12-16 ต.ค. นี้ ว่า สนช. ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดภายในประเทศ ทำให้ สนช. มีสิทธิ์สมบูรณ์ทุกประการที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่สมัชชาอาเซียน หรือ AIPA ซึ่งหากประเทศใดไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิของประเทศนั้น แต่ผู้ที่จะมีสิทธิพิจารณาคือคณะกรรมการบริหาร

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาสถานภาพของ สนช.ไทย ในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายหลังจาก นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ประสานงานยุโรป องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย และแกนนำกลุ่มคน
เสื้อแดง ส่งหนังสือถึงเลขาธิการสหภาพรัฐสภานานาชาติให้ทบทวน เนื่องจาก สนช. ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นในการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภานานาชาติที่ควรมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย
///////////////////////////
****คดีเกาะเต่า

ผกก.พะงัน เผย บ่ายนี้ ผบช.ภ.8 พร้อมทีมสอบสวนคดีฆ่า 2 ฝรั่งประชุมร่วมอัยการเพื่อสรุปสำนวนคดีสั่งฟ้อง คาด ไม่เย็นนี้หรือพรุ่งนี้ถึงมืออัยการ

พ.ต.อ.ประชุม เรืองทอง ผกก.สภ.พะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ (6 ต.ค.) ทาง พล.ต.ต.เดชา บุตรน้ำเพชร รรท. ผบช.ภ.8 จะทำการประชุมทีมสอบสวนร่วมกับอัยการจังหวัดสมุย เพื่อพิจาณาสำนวนคดี 2 ชาวพม่า ฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า ว่ามีความสมบูรณ์แล้วหรือยัง หรือต้องเพิ่มเติมจุดใดอีกบ้าง

โดยคาดว่า หลังการประชุมแล้วเสร็จ หากสำนวนคดีไม่มีปัญหาใด ๆ หรือมีความครบถ้วนแล้ว ก็จะส่งมอบให้กับอัยการจังหวัดสมุยได้ทันทีในช่วงเย็นวันนี้ แต่หากว่าไม่ทัน ก็จะส่งมอบให้อัยการในวันพรุ่งนี้ เพื่อเข้ากระบวนการในการพิจารณาสั่งฟ้องในชั้นศาลต่อไป
---------------
อัยการจังหวัดเกาะสมุย เผย ตร. จะส่งสำนวนคดีฆาตกรรม 2 นทท.เกาะเต่า มาให้อัยการในวันนี้ แต่ยังไม่ระบุเวลา

นายไพบูลย์ อาชวนันทกุล อัยการจังหวัดเกาะสมุย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแถลงผลการจับกุม นายเวพิว หรือ วิน (ไม่ทราบนามสกุล) อายุ 21 ปี และ นายซอลิน หรือ โซเรน อายุ 21 ปี (ไม่ทราบนามสกุล) สัญชาติเมียนมาร์ (ยะไข่) ผู้ต้องหาก่อเหตุฆาตกรรม นายเดวิด วิลเลียม อายุ 24 ปี และ น.ส.ฮานนาห์ วิคตอเรีย วิทเธอริดจ์ นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา บริเวณหาดทรายรี ต.เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ล่าสุดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งสำนวณการสืบสวนสอบสวนของผู้ต้องหาให้กับทางอัยการจังหวัดเกาะสมุยพิจารณาในวันนี้ (6 ตุลาคม 57) แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ระบุเวลาที่จะส่งสำนวณคดีมาให้ที่แน่ชัด โดยในส่วนของทางอธิบดีอัยการภาค 8 นั้น จะลงมาดูแลคดีนี้ด้วยตัวเองเพื่อให้ความชัดเจนและเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ต่อไปก็จะหน้าที่ของอัยการ ซึ่งตนไม่ได้มีความเป็นกังวลมากนัก แต่ห่วงอยู่เรื่องเดียว คือเรื่องภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ดังนั้น จึงต้องทำงานทุกอย่างด้วยความรอบคอบ อย่างไรก็ตาม หากในกรณีที่ไม่มีการสั่งฟ้องเพราะสำนวนยังไม่สมบูรณ์ก็จะมาพิจารณากันว่า ประเด็นไหนที่ยังไม่สมบูรณ์ และเน้นย้ำว่าจะต้องเป็น
ประเด็นที่สำคัญเท่านั้น
---------------
รอง ผบ.ตร. กำชับ ภาค 8 และ สตม. ควบคุมต่างด้าว เข้า-ออก เกาะเต่าและเกาะพีพี หลังเกิดคดีสะเทือนขวัญฆ่า 2 นักท่องเที่ยว 

พลตำรวจโทจักรทิพย์ ชัยจินดา รักษาราชการแทนรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปก.ตร. ให้กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กำหนดมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวที่จะเดินทางเข้า-ออกในพื้นที่เกาะเต่าและเกาะพีพี หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี และให้ตำรวจสันติบาลติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มที่เห็นต่างกับรัฐบาล โดยเฉพาะพื้นที่ที่จะมีการจัดกิจกรรมหรือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์

ด้าน พลตำรวจโทเรืองศักดิ์ จริตเอก รักษาราชการแทนรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับให้ตำรวจสันติบาลประสาน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. เพื่อวิเคราะห์และติดตามการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เนื่องด้วยห้วงเดือนตุลาคมมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตหลายเหตุการณ์และหลาย ๆ กลุ่ม ซึ่งอาจจะมีการเรียกร้องหรือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมไปถึงให้ผู้บังคับบัญชาทุกหน่วยเอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด พิจารณาแนวทางการกู้ยืมเงินของข้าราชการตำรวจ เพื่อไม่ให้เกิดภาระหนี้สินเกินตัว จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายเนื่องจากเกิดภาวะเครียด พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการตำรวจสังกัดทราบถึงช่องทางการขอคำปรึกษาหากเกิดความเครียด พร้อมสภาวะทางจิตจาก ร.พ.ตำรวจ ผ่านสายด่วน 1599

สำหรับการติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง สถานการณ์ด้านความมั่นคงทั้งภายในและต่างประเทศ เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศปก.ตร.
จะเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนและบริหารสถานการณ์ เพื่อรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป

(ข้อมูล)สภาปฏิรูปแห่งชาติ สปช.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ

สภาปฏิรูปแห่งชาติสำคัญอย่างไร

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ เพื่อให้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

จำนวนสภาปฏิรูปแห่งชาติ 
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีจำนวนไม่เกิน 250 คน จากคณะกรรมการสรรหาจังหวัด จำนวน 77 คน และคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)แต่งตั้ง รวม 11 คณะ จำนวน 173 คน (ตามจำนวนที่เห็นสมควร)

คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
     - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
     - มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
     และจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  • เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  • เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  • เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
  • เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ
  • อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
  • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
  • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ 

สมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง กรณีดังนี้
  • ตาย
  • ลาออก
  • ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ และจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะพ้นจากตำแหน่ง 
  • ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมเกินจำนวนที่กำหนดตามข้อบังคับ
  • ร่างรัฐธรรมนูญตกไป หรือไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

ที่มาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 

คณะรักษาความสงบแห่งชาติดำเนินการคัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอชื่อจังหวัดละ 5 คน แล้วพิจารณาเหลือ จังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 77 คน ที่เหลือคัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฯ (11 คณะ) เสนอให้ ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 250 คน

อำนาจหน้าที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ 
  • ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ เสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
  • พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
  • สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่เสนอผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 20 คน
  • ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย
    • ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอ จำนวน 1 คน
    • สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 20 คน
    • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 5 คน
    • คณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 5 คน
    • และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 5 คน
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เห็นว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรื่องใดไม่ถูกต้อง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ละบุคคลสามารถเสนอแก้ไขได้ แต่ไม่ผูกพันคณะกรรมาธิการในการพิจารณาแก้ไข
  • ลงมติในการพิจารณารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
หมายเหตุ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการ

(ข้อมูล)โผสปช.ก่อนหน้าโปรดเกล้าฯ

สะพัด! รายชื่อ 173 คน ที่คาดว่าได้รับคัดเลือกเป็น สปช. ทั้ง 11 ด้าน มี “บวรศักดิ์ - ชัยอนันต์ - ชัย ชิดชอบ” อยู่ด้านการเมือง “พะจุณณ์ - ทนายวันชัย - คำนูณ” ติดโผด้านกฎหมายฯ ส่วน “รสนา” เข้าร่วมด้านพลังงาน 
       
       เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ได้มีการเผยแพร่เอกสารระบุว่าเป็นรายชื่อบุคคล 173 ราย ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ใน 11 ด้าน จากทั้งหมด 250 ราย มีชื่อดังต่อไปนี้
       
       ด้านการเมือง
       
       1. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ 2. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช 3. พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร 4. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ 5. นางตรึงใจ บูรณสมภพ 6. นายดำรง พิเดช 7. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา 8. พล.ร.อ.สุรินทร์ เริงอารมณ์ 9. นายประสาร มฤคพิทักษ์ 10. พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ 11. นายชัย ชิดชอบ 12. พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก 13. นายไพบูลย์ นิติตะวัน 14. นายชูชัย ศุภวงศ์
       
       ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
       
       1. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง 2. นายอนันตชัย คุณานันทกุล 3. พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป 4. พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ 5. ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ 6. รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร 7. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ 8. นายวรรณชัย บุญบำรุง 9. นายวันชัย สอนสิริ 10. นายคำนูณ สิทธิสมาน 11. นายเสรี สุวรรณภานนท์ 12. พล.อ.อ.มนัส รูปขจร 13. รศ.เจริญศักดิ์ ศาลากิจ 14. นายจีระวัฒน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
       
       ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
       
       1. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ 2. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ 3. พล.อ.วัฒนา สรรพานิช 4. นายประมนต์ สุธีวงศ์ 5. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย 6. พล.อ.ท.เจษฎา วิจารณ์ 7. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประกาศ 8. นายพลเดช ปิ่นประทีป 9. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ 10. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร 11. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ 12. นายศุภชัย ยาวะประภาษ 13. พล.ต.อ.ชาญชิต เพียรเลิศ
       
       ด้านการศึกษา
       
       1. อมรวิทช์ นาครทรรพ 2. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน 3. พล.ท.พอพล มณีรินทร์ 4. นายกมล รอดคล้าย 5. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ 6. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ 7. นายณรงค์ วรงค์เกรียงไกร 8. นางประภาภัทร นิยม 9. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 10. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ 11. นายมีชัย วีระไวทยะ 12. นางทิชา ณ นคร 13. พล.อ.วุฒินันท์ ลีลายุทธ์ 14. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร
       
       ด้านการปกครองท้องถิ่น
       
       1. นายวุฒิสาร ตันไชย 2. นายจรัส สุวรรณมาลา 3. นายไพโรจน์ พรหมสาสน์ 4. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ 5. พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย 6. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ 7. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง 8. นายอุดม ทุมโฆสิต 9. นายเชื้อ ฮั่นจินดา 10. นายสรณะ เทพเนาว์ 11. นายพงศ์โพยม วาศภูติ 12. นายสยุมพร ลิ่มไทย 13. พล.ต.อดุลย์ศักดิ์ บุญวัฒนะกุล
       
       ด้านเศรษฐกิจ
       
       1. นายสมชัย ฤชุพันธ์ 2. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล 3. นายนรีวรรณ จินตกานนท์ 4. น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช 5. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม 6. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร 7. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ 8. นายสายัณห์ จันทร์นิวาสวงศ์ 9. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี 10. นายเกริกไกร จีระแพทย์ 11. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง 12. นายกงกฤช หิรัญกิจ 13. นางอัญชลี ชวนิชย์ 14. นายมนู เลียวไพโรจน์ 15. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ 16. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
       
       ด้านพลังงาน
       
       1. นายทองฉัตร หงส์ลดารมย์ 2. นายคุรุจิต นาครทรรพ 3. นายมนูญ ศิริวรรณ 4. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ 5. นายดุสิต เครืองาม 6. นายวิบูลย์ คูหิรัญ 7. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ 8. นายอลงค์กรณ์ พลบุตร 9. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล 10. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช 11. พล.อ.ประสูติ รัศมีแพทย์ 12. นางสาวรสนา โตสิตตระกูล
       
       ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
       
       1. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ 2. นางสาวทัศนา บุญทอง 3. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์ 4. นายสุวัฒน์ วิริยพงศ์สุกิจ 5. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา 6. นางพรพันธุ์ บุณยรัตนพันธุ์ 7. นายบัณฑูร เศรษศิโรจน์ 8. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว 9. นายสุชาติ นาควงษ์ 10. นายสุวัช สิงหพันธุ์ 11. นายปราโมทย์ ไม้กลัด 12. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ 13. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
       
       ด้านสังคม
       
       1. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง 2. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี 3. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 4. พล.ต.เดชา ปุญญบาล 5. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 6. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ 7. นายวินัย ดะห์ลัน 8. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ 9. นางริศินา ปวโรฬารวิทยา 10. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ 11. น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา 12. นายสังสิต พิริยะรังสรรค์ 13. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง 14. นายสิระ เจนจาคะ 15. นายอำนาจ จินดาวัฒนะ 16. นางอุบล หลิมสกุล
       
       ด้านสื่อสารมวลชน
       
       1. พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร 2. พล.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ 3. นายมานิจ สุขสมจิตร 4. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล 5. นางสุกัญญา สุดบรรทัด 6. นายพนา ทองมีอาคม 7. นางภัทรียา สุมะโน 8. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ 9. นางเตือนใจ สินธุวณิก 10. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช 11. นายนิพนธ์ นาคสมภพ 12. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด 13. นายจุมพล รอดคำดี 14. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
       
       ด้านอื่นๆ
       
       1. พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ 2. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา 3. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ 4. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 5. นายปรีชา เถาทอง 6. พล.ร.อ.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ 7 พล.ร.อ.ศุภกร บูรณดิลก 8. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช 9. นางพรรณี จารุสมบัติ 10. นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต 11. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส 12. พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ 

(ข้อมูล)โปรดเกล้า 250สปช.คนดังอดีตสว.เพียบ

ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์ประกาศโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 250 คน พบ “ชัย ชิดชอบ-ธวัชชัย สมุทรสาคร” มีชื่อตามคาด อดีต ส.ว. “คำนูณ-ไพบูลย์-ประสาร-วันชัย-รสนา” ได้รับแต่งตั้ง “พะจุณณ์” นายทหารคนสนิท “ป๋าเปรม” ติดโผด้วย ภาคประชาชน “สารี” ได้ด้วย รายงานตัว 8-16 ต.ค.
       
       วันนี้ (6 ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 199 ง โดยมีเนื้อหาดังนี้
       
       ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
       
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้
       
       ๑. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
       ๒. นายกาศพล แก้วประพาฬ
       ๓. นายกิตติ โกสินสกุล
       ๔. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์
       ๕. นายกงกฤช หิรัญกิจ
       ๖. นายกมล รอดคล้าย
       ๗. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล
       ๘. นางกอบแก้ว จันทร์ดี
       ๙. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
       ๑๐. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
       ๑๑. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง
       ๑๒. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
       ๑๓. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี
       ๑๔. นายเกริกไกร จีระแพทย์
       ๑๕. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง
       ๑๖. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส
       ๑๗. นายโกเมศ แดงทองดี
       ๑๘. นายโกวิทย์ ทรงคุณ
       ๑๙. นายโกวิท ศรีไพโรจน์
       ๒๐. นายไกรราศ แก้วดี
       ๒๑. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
       ๒๒. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
       ๒๓. พลตํารวจตรี ขจร สัยวัตร์
       ๒๔. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
       ๒๕. นายเขมทัต สุคนธสิงห์
       ๒๖. นายเข็มชัย ชุติวงศ์
       ๒๗. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
       ๒๘. นายคณิศร ขรรัง
       ๒๙. นายคํานูณ สิทธิสมาน
       ๓๐. นายคุรุจิต นาครทรรพ
       ๓๑. นายจรัส สุทธิกุลบุตร
       ๓๒. นายจรัส สุวรรณมาลา
       ๓๓. พันตํารวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา
       ๓๔. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง
       ๓๕. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
       ๓๖. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข
       ๓๗. พันตํารวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
       ๓๘. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
       ๓๙. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
       ๔๐. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
       ๔๑. นางจุรี วิจิตรวาทการ
       ๔๒. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน
       ๔๓. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
       ๔๔. นายจุมพล รอดคําดี
       ๔๕. นายจุมพล สุขมั่น
       ๔๖. นายเจน นําชัยศิริ
       ๔๗. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ
       ๔๘. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์
       ๔๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
       ๕๐. นายจําลอง โพธิ์สุข
       ๕๑. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
       ๕๒. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
       ๕๓. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
       ๕๔. นางชัชนาถ เทพธรานนท์
       ๕๕. นายชัย ชิดชอบ
       ๕๖. นายชัยพร ทองประเสริฐ
       ๕๗. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ
       ๕๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
       ๕๙. นายชาลี เจริญสุข
       ๖๐. นายชาลี เอียดสกุล
       ๖๑. นายชาลี ต้งจักรวงษ์
       ๖๒. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ
       ๖๓. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่
       ๖๔. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
       ๖๕. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์
       ๖๖. นายชูชัย ศุภวงศ์
       ๖๗. นายชูชาติ อินสว่าง
       ๖๘. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
       ๖๙. นายเชิดชัย วงศ์เสรี
       ๗๐. นายเชื้อ ฮั่นจินดา
       ๗๑. นายฐิติ วุฑฒโกวทย์
       ๗๒. พลโท ฐิติวัจน์ กําลังเอก
       ๗๓. นางฑิฆัมพร กองสอน
       ๗๔. นายณรงค์ พุทธิชีวิน
       ๗๕. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร
       ๗๖. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา
       ๗๗. นายดิเรก ถึงฝั่ง
       ๗๘. นายดํารงค์ พิเดช
       ๗๙. นายดุสิต เครืองาม
       ๘๐. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
       ๘๑. พลโท เดชา ปุญญบาล
       ๘๒. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล
       ๘๓. นางตรึงใจ บูรณสมภพ
       ๘๔. นางเตือนใจ สินธุวณิก
       ๘๕. นางถวิลวดี บุรีกุล
       ๘๖. นายถาวร เฉิดพันธุ์
       ๘๗. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์
       ๘๘. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง
       ๘๙. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ
       ๙๐. นางสาวทัศนา บุญทอง
       ๙๑. นางทิชา ณ นคร
       ๙๒. นายทิวา การกระสัง
       ๙๓. นายเทียนฉาย กีระนันทน์
       ๙๔. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ
       ๙๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
       ๙๖. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
       ๙๗. นายธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์
       ๙๘. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
       ๙๙. นายธวัช สุวุฒิกุล
       ๑๐๐. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล
       ๑๐๑. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
       ๑๐๒. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
       ๑๐๓. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์
       ๑๐๔. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์
       ๑๐๕. นายธํารง อัศวสุธีรกุล
       ๑๐๖. พลโท นคร สุขประเสริฐ
       ๑๐๗. นางนรีวรรณ จินตกานนท์
       ๑๐๘. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์
       ๑๐๙. พลโท นาวิน ดําริกาญจน์
       ๑๑๐. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด
       ๑๑๑. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง
       ๑๑๒. นายนิพนธ์ คําพา
       ๑๑๓. นายนิพนธ์ นาคสมภพ
       ๑๑๔. นายนิมิต สิทธิไตรย์
       ๑๑๕. นายนิรันดร์ พันทรกิจ
       ๑๑๖. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
       ๑๑๗. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
       ๑๑๘. นายนําชัย กฤษณาสกุล
       ๑๑๙. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
       ๑๒๐. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
       ๑๒๑. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
       ๑๒๒. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์
       ๑๒๓. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
       ๑๒๔. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
       ๑๒๕. นายประชา เตรัตน์
       ๑๒๖. นายประทวน สุทธิอํานวยเดช
       ๑๒๗. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
       ๑๒๘. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
       ๑๒๙. นางประภาภัทร นิยม
       ๑๓๐. นางประภาศรี สุฉันทบุตร
       ๑๓๑. นายประมนต์ สุธีวงศ์
       ๑๓๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์
       ๑๓๓. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
       ๑๓๔. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์
       ๑๓๕. นายประเสริฐ ชิตพงศ์
       ๑๓๖. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์
       ๑๓๗. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
       ๑๓๘. นายปรีชา เถาทอง
       ๑๓๙. นายปรีชา บุตรศรี
       ๑๔๐. พลตํารวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ
       ๑๔๑. นายปิยะวัติ บุญ-หลง
       ๑๔๒. นายเปรื่อง จันดา
       ๑๔๓. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
       ๑๔๔. นายพงศ์โพยม วาศภูติ
       ๑๔๕. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
       ๑๔๖. นายพนา ทองมีอาคม
       ๑๔๗. นายพรชัย มุ่งเจริญพร
       ๑๔๘. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
       ๑๔๙. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช
       ๑๕๐. นางพรรณี จารุสมบัติ
       ๑๕๑. นายพรายพล คุ้มทรัพย์
       ๑๕๒. นายพลเดช ปิ่นประทีป
       ๑๕๓. พลเอก พอพล มณีรินทร์
       ๑๕๔. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
       ๑๕๕. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร
       ๑๕๖. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
       ๑๕๗. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
       ๑๕๘. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ
       ๑๕๙. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
       ๑๖๐. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
       ๑๖๑. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร
       ๑๖๒. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
       ๑๖๓. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์
       ๑๖๔. นางภัทรียา สุมะโน
       ๑๖๕. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ
       ๑๖๖. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
       ๑๖๗. นายมนู เลียวไพโรจน์
       ๑๖๘. นายมนูญ ศิริวรรณ
       ๑๖๙. นายมานิจ สุขสมจิตร
       ๑๗๐. นายมีชัย วีระไวทยะ
       ๑๗๑. พันตํารวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
       ๑๗๒. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
       ๑๗๓. นางสาวรสนา โตสิตระกูล
       ๑๗๔. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
       ๑๗๕. นายวรรณชัย บุญบํารุง
       ๑๗๖. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
       ๑๗๗. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
       ๑๗๘. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้
       ๑๗๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
       ๑๘๐. นายวันชัย สอนสิริ
       ๑๘๑. นายวัลลภ พริ้งพงษ์
       ๑๘๒. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์
       ๑๘๓. พลเอก วิชิต ยาทิพย์
       ๑๘๔. นายวิทยา กุลสมบูรณ์
       ๑๘๕. นายวินัย ดะห์ลัน
       ๑๘๖. นายวิบูลย์ คูหิรัญ
       ๑๘๗. นายวิริยะ นามศิริพงศพันธุ์
       ๑๘๘. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
       ๑๘๙. นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร
       ๑๙๐. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน
       ๑๙๑. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
       ๑๙๒. นายวุฒิสาร ตันไชย
       ๑๙๓. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
       ๑๙๔. นายศานิตย์ นาคสุขศรี
       ๑๙๕. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
       ๑๙๖. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์
       ๑๙๗. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์
       ๑๙๘. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา
       ๑๙๙. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก
       ๒๐๐. นายศุภชัย ยาวะประภาษ
       ๒๐๑. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
       ๒๐๒. นายสมเกียรติ ชอบผล
       ๒๐๓. นายสมเดช นิลพันธุ์
       ๒๐๔. นายสมชัย ฤชุพันธ์
       ๒๐๕. นายสมบัติ ธํารงธัญวงศ์
       ๒๐๖. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
       ๒๐๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
       ๒๐๘. นายสยุมพร ลิ่มไทย
       ๒๐๙. นายสรณะ เทพเนาว์
       ๒๑๐. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
       ๒๑๑. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
       ๒๑๒. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
       ๒๑๓. นายสิระ เจนจาคะ
       ๒๑๔. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
       ๒๑๕. นางสีลาภรณ์ บัวสาย
       ๒๑๖. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ
       ๒๑๗. นางสุกัญญา สุดบรรทัด
       ๒๑๘. นายสุชาติ นวกวงษ์
       ๒๑๙. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
       ๒๒๐. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม
       ๒๒๑. นายสุพร สุวรรณโชติ
       ๒๒๒. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
       ๒๒๓. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
       ๒๒๔. นายสุวัช สิงหพันธุ์
       ๒๒๕. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
       ๒๒๖. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์
       ๒๒๗. นายเสรี สุวรรณภานนท์
       ๒๒๘. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
       ๒๒๙. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์
       ๒๓๐. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ
       ๒๓๑. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
       ๒๓๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล
       ๒๓๓. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
       ๒๓๔. นายอมร วาณิชวิวัฒน์
       ๒๓๕. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ
       ๒๓๖. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย
       ๒๓๗. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ
       ๒๓๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
       ๒๓๙. นางสาวอ่อนอุษา ลําเลียงพล
       ๒๔๐. นางอัญชลี ชวนิชย์
       ๒๔๑. พลตํารวจโท อาจิณ โชติวงศ์
       ๒๔๒. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
       ๒๔๓. นายอําพล จินดาวัฒนะ
       ๒๔๔. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
       ๒๔๕. นายอุดม ทุมโฆสิต
       ๒๔๖. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
       ๒๔๗. นางอุบล หลิมสกุล
       ๒๔๘. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
       ๒๔๙. นายเอกราช ช่างเหลา
       ๒๕๐. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
       
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า จากจำนวนรายชื่อ สปช. 250 คนดังกล่าว พบว่า นายชัช ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา บิดานายเนวิน ชิดชอบ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น สปช. เช่นเดียวกับ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 ที่ก่อนหน้านี้ได้ลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้าม เพราะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในนามพรรคชาติพัฒนา โดยการชักชวนของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรค ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น สปช. เช่นกัน ส่วน พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษและนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้รับการแต่งตั้งเช่นกัน และ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก นายทหารคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งด้วย
       
       ขณะเดียวกัน กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตั้งแต่ปี 2543-2557 จำนวน 22 คน โดยเฉพาะอดีตกลุ่ม 40 ส.ว. เกือบทั้งกลุ่ม เช่น นายคำนูณ สิทธิสมาน, นางตรึงใจ บูรณสมภพ, นายประสาร มฤคพิทักษ์, นายไพบูลย์ นิติตะวัน, น.ส.รสนา โตสิตระกูล, นายวันชัย สอนศิริ, นางพรพันธุ์รรณ บุณยรัตพันธุ์, นางทัศนา บุญทอง นอกจากนี้มีอดีต ส.ว. เลือกตั้งและสรรหาปี2543-2551 อาทิ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ อดีต ส.ว.มุกดาหาร, นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี, นายประเสริฐ ชิตพงศ์ อดีต ส.ว.สงขลา, นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ว.ตรัง, พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีต ส.ว.สรรหา, นายมีชัย วีระไวทยะ อดีต ส.ว.กทม. และนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีต ส.ว.กทม.
       
       ส่วนกลุ่มอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 (กมธ.ยกร่างฯ) อาทิ น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช อดีตรองประธาน สนช. ปี 2549, นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธาน สสร., นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี อดีต สสร. บิดา น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร แกนนำ กปปส., นางจุรี วิจิตวาทการ อดีต สสร., นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ, นายกงกฤช หิรัญกิจ อดีต สนช., นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อดีต สนช., นายวุฒิสาร ตันไชย อดีต กมธ.ยกร่างฯ ปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีต สสร. และน้องชายนายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช. อย่างไรก็ตาม คาดว่า นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า จะได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
       
       อีกด้านหนึ่ง ยังพบว่า นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย น้องชายของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักธุรกิจโซลาร์เซลล์ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น สปช. ด้วย เช่นเดียวกับนายมนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ส่วนภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวด้านพลังงาน พบว่านางสารี อ่องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็ได้รับการแต่งตั้ง
       
       นอกจากนี้ยังมีกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเคลื่อนไหวในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) จำนวนมาก อาทิ นายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีต ส.ว. กทม., นายชัยอนันต์ สมุทวณิช นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์, นายชูชัย ศุภวงศ์, นายสมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), นายพลเดช ปิ่นประทีป, นายพงศ์โพยม วาศภูติ, นายสังศิต พิริยะรังสรรค์, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รวมถึงนายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีตกรรมการ คตส. ซึ่งมีบทบาทตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2549 ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก
       
       ด้านนักวิชาการได้รับแต่งตั้งให้เป็น สปช. อีกด้วย ได้แก่ นายธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายวิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายวิริยะ นามศิริพงศพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, , พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า, นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
       
       ส่วนบุคคลในแวดวงสื่อสารมวลชน พบว่ามี นายจุมพล รอดคําดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นายบุญเลิศ คชายุทธเดช หรือ บุญเลิศ ช้างใหญ่ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 และอดีตบรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์มติชน, นายพนา ทองมีอาคม กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.), นายมานิจ สุขสมจิตร สื่อมวลชนอาวุโส, นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และอดีตรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.),นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด กรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สปช.
       
       ด้านนักการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียง พบว่ามีนายดํารงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย, นายพรชัย มุ่งเจริญพร นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย จ.สุรินทร์, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีต รมช.กลาโหม ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีข่าวเรื่องคลิปถั่งเช่าอันโด่งดัง, นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ อดีตทีมทนายความคดีรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มข้าราชการในอดีตและปัจจุบัน อาทิ นางผานิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, นายประชา เตรัตน์, นายไพโรจน์ พรหมสาส์น อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, นายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนกลุ่มเอ็นจีโอ อาทิ นายทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก, นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น(ประเทศไทย) น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการ
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อม รับรายงานตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตั้งแต่วันที่ 8-16 ต.ค. เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยสมาชิกฯ ต้องนำหลักฐาน ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาใบสำคัญสมรส, สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส และรูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 รูป, ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 6 รูป และขนาด 3 นิ้ว จำนวน 6 รูป
       
       ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อคิดเห็นการปฏิรูป 11 ด้าน ตามที่คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปของกระทรวงกลาโหมดำเนินการ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แจกให้กับ สปช. ได้ใช้ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมการทำงาน