PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

สนช.3วาระรธน.57

สนช.ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว2557ครั้งที่สามในวันนี้(13 มค.) โดยการพิจารณาด้วยกรรมาธิการเต็มสภาสามวาระ มีเหตุผลในการแก้ไข คือ"ตามที่นายกฯได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ...ขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงพิจารณานั้น ต่อมาครม.และคสช.ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีรายละเอียดใน2มาตราที่แก้ไข คือ
ม.3 ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และให้ปธ.รัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และเมื่อกรณีเป็นไปตามมาตรานี้แล้ว มิให้นำความในม.18,ม.19 และม.20ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาใช้บังคับ
ม.4 ให้ยกเลิกความในวรรค11ของม. 39/1 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว2557แก้ไขฉบับที่2ปีพ.ศ2559)และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"เมื่อนายกฯนำร่างฯขึ้นทูลเกล้าฯถวายตามวรรค9ประกอบกับวรรค10แล้วหากมีกรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตุว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดภายใน90วันให้นายกฯขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตุนั้นและประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง และแก้ไขเพิ่มเติมคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน แล้วให้นายกฯนำร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯถวายใหม่ภายใน30 วันนับแต่วันที่ได้รับพระราชทานคืนมาตามที่ขอ เมื่อนายกฯนำร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯถวายและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วให้ประกาศในราชกิจจาฯและใช้บังคับได้ โดยให้นายกฯลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น90วันนับแต่วันที่นายกฯนำร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วแต่กรณีขึ้นทูลเกล้าฯถวายแล้วมิได้พระราชทานคืนมาให้ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป"

รองฯวิษณุที่รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาล ชี้แจงต่อสภาว่า
รัฐบาลเห็นว่าการแก้ไขตามข้อสังเกตุที่แจ้งจากราชเลขาฯนั้น ควรดำเนินการเลย
น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะยังอยู่ในขั้นตอนการใช้พระราชอำนาจ 
ถ้าดำเนินการภายหลังจะยุ่งยากเพราะการแก้ไขบางมาตราอาจต้องกลับไปทำประชามติ ครับ

Sent from my iPad