PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

‘สฤณี’ ประกาศ ไม่รับตำแหน่ง หลังบิ๊กตู่เซ็นแต่งตั้งเป็นกก.ผู้ทรงคุณวุฒิ เมืองอัจฉริยะ

‘สฤณี’ ประกาศ ไม่รับตำแหน่ง หลังบิ๊กตู่เซ็นแต่งตั้งเป็นกก.ผู้ทรงคุณวุฒิ เมืองอัจฉริยะ


วันนี้ (29 ม.ค.) น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความปฎิเสธการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยระบุว่า

“มีน้องส่งมาให้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ตัวเองเป็น “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” มีลายเซ็นผู้นำเผด็จการทหารในฐานะนายกฯ ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา ขอแจ้งสั้นๆ นะคะว่า ตัวเองไม่เคยได้รับการทาบทามใดๆ มาก่อนเลย และต่อให้ได้รับการทาบทาม ก็ “ไม่ยินดี” ที่จะทำงานใดๆ ให้กับคณะกรรมการไหนก็ตามที่เผด็จการแต่งตั้ง เบื่อหน่ายและรู้สึกเซ็งมากกับเรื่องแบบนี้ เมื่อไหร่เผด็จการทหารจะเลิก “ตู่” เอาเองเสียที ที่ผ่านมาก็เคยเจอเรื่องประมาณนี้มาแล้วสองสามครั้ง หน่วยงานอะไรสักอย่างจะเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการที่เผด็จการตั้ง แต่อย่างน้อยหน่วยงานเหล่านั้นยังให้เกียรติโทรมาถาม พอตอบปฏิเสธไปเขาก็ไม่เสนอชื่อต่อ อ่านเฟซบุ๊กคนที่คุณอยากแต่งตั้งดูมั่ง เมืองจะอัจฉริยะได้ไงในเมื่อเผด็จการยังบังคับให้คนเป็นนั่นเป็นนี่ที่เขาไม่ได้อยากจะเป็น” น.ส.สฤณี กล่าว

ภาพที่แท้จริงแห่งอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

 

มักมีคนจำนวนมากเชื่อว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในอเมริกาและในโลก ความเชื่อเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นมายาคติหรือความเชื่อผิดๆ เพราะตามความจริงแล้วประธานาธิบดีมีอำนาจจำกัดและไม่สามารถทำหรือสั่งอะไรได้ตามอำเภอใจเหมือนกับกษัตริย์ในเทพนิยายเสมอไปเพราะเขาต้องรับมือจากการได้รับแรงกดดันหรืออิทธิพลจากกลุ่มทางการเมืองหลายกลุ่ม แม้ตามการปกครองแบบประธานาธิบดีนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเป็นทั้งประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารซึ่งเปี่ยมด้วยบารมีอย่างท่วมท้นทั้งในและนอกประเทศ แต่ระบบการเมืองอเมริกันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อตรงกันข้ามกับการปกครองแบบกษัตริย์นิยมของอังกฤษคือมีวัตถุประสงค์ไม่ให้ผู้ใดมีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาดเช่นให้สถาบันทางการเมืองต่างๆ มีการตรวจสอบและคานอำนาจกันเอง (Check and Balance) รวมไปถึงการยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นหลักตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)

คนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจการเมืองของสหรัฐฯ มักคิดว่าถ้าได้ประธานาธิบดีเป็นคนดี ทุกอย่างทั้งในและนอกประเทศก็จะดีตาม ซึ่งผู้ลงแข่งขันสมัครประธานาธิบดีมักอาศัยความเข้าใจเช่นนี้ในการสร้างภาพเพื่อดึงคะแนนเสียงให้กับตัวเองในช่วงหาเสียงดังเช่นคำขวัญที่ว่า “เปลี่ยน” (change) หรือคำสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในอเมริกาของบารัก โอบามา แต่ในอีกหลายปีต่อมา นอกจากขีดจำกัดดังกล่าวแล้ว โอบามายังจัดได้ว่าเป็นประธานาธิบดีที่ความสามารถปานกลางและขาดความเด็ดขาดจึงทำให้คะแนนความนิยมของเขาตกต่ำอย่างมากเพราะผู้ที่ศรัทธาเขาตั้งแต่ต้นอาจไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกจำนวนมากที่มองว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่มีอำนาจอะไรเลยและเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มอิทธิพลทั้งหลาย ในบทความนี้จึงต้องการแสดงให้เห็นว่าภาพที่จริงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่สุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง และประธานาธิบดียังมีความพยายามในการสร้างอำนาจให้กับตัวเอง อนึ่งบทความจะเน้นไปที่นโยบายการต่างประเทศและการทหารเป็นหลัก
 


การมองอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเกินจริง

สำหรับชาวโลกจำนวนมากแล้ว การมองอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเกินจริงอาจเกิดจากการอนุมานแบบง่ายๆ เพราะสหรัฐฯ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นผู้นำสูงสุดของสหรัฐฯ จึงต้องมีอำนาจสูงสุดเช่นกัน หรือ สาเหตุอื่นก็ได้แก่การนำเอาการเมืองของตัวเอง (ที่มักเป็นเผด็จการอย่างเช่นไทย) มาทับกับภาพของการเมืองอเมริกา และปัจจัยที่ทรงอิทธิพลที่สุดคือการนำเสนอและการผลิตซ้ำภาพของประธานาธิบดีตาม  "ลัทธิบูชาบุคคล"  หรือ "ทฤษฎีมหาบุรุษ" ที่สังคมประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบอเมริกาเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ผ่านสื่ออันยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ไม่ว่าสำนักข่าวซึ่งเน้นไปที่ตัวประธานาธิบดีเป็นหลัก รวมไปถึงภาพยนตร์ฮอลลีวูดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากได้นำเสนอภาพของประธานาธิบดีในเชิงที่ยิ่งใหญ่หรือมีอำนาจเกินกว่าเหตุ ด้วยภาพยนตร์เหล่านั้นมักเป็นภาพยนตร์แนวต่อสู้ อิงวิทยาศาสตร์ผสมแฟนตาซี ทำรายได้สูงๆ   มากกว่าภาพยนตร์หลายเรื่องที่นำเสนอฉากความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีกับรัฐสภาและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ  ซึ่งใกล้เคียงกับภาพที่แท้จริงของการเมืองแบบอเมริกันแต่เข้าสู่สายตาของชาวโลกน้อยกว่ามากเพราะเป็นภาพยนตร์แบบชีวิต รักโรแมนติกหรือสืบสวนสอบสวน

สาเหตุที่ภาพยนตร์ฮอลลีวูดนำเสนอภาพของประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่หรือเป็นผู้บัญชาการทหารหรือจอมทัพ (Commander-in-chief) ซึ่งไม่สอดคล้องกับตัวตนที่แท้จริงของประธานาธิบดีเท่าไรนักก็เพราะผู้สร้างต้องการตอบสนองกระบวนทัศน์ของคนอเมริกันจำนวนมากที่ยังคงยกย่องความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเหนือประเทศต่างๆ ในโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นการเชิดชูประชาธิปไตยโดยเฉพาะมิติทางอำนาจของพลเรือนเหนือกองทัพ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีภาพยนตร์ที่นำเสนอความยิ่งใหญ่ของนายทหารระดับสูงอย่างเช่นนายพล 5  ดาวหรือคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐอเมริกา (Joint chief of staff) เท่ากับ วีรกรรมของนายทหารระดับล่าง ๆ อันจะเป็นการยกย่องจิตวิญญาณของทหารมากกว่าความหวังในลาภยศสรรเสริญของผู้นำกองทัพ ดังเช่นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่กองทัพ (โดยเฉพาะนาวิกโยธิน) ต้องต่อสู้กับเหล่ามนุษย์ต่างดาวผู้ชั่วร้าย

อนึ่งเป็นเรื่องน่าสังเกตว่าคนในวงการฮอลลีวูดจำนวนมากมักสนับสนุนพรรคเดโมแครตและมีแนวคิดเสรีนิยมจึงมักนำเสนอภาพของประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตในด้านบวกและพรรครีพับลิกันในด้านลบ ดังเช่นเรื่อง The Butler (2013) ซึ่งสร้างมาจากชีวิตจริงของคนใช้ผิวดำในทำเนียบขาวได้นำเสนอภาพของจอห์น เอฟ   เคนนาดี (เดโมแครต) ในด้านดีเช่นเป็นคนอ่อนโยน เข้าใจหัวอกคนสีผิว   ภาพของริชาร์ด นิกสัน   (ริพับลิกัน) ในด้านลบเช่นนักการเมืองเห็นแก่ตัวและขี้โกง ภาพของโรนัลด์ เรแกน (ริพับลิกัน) ในด้านลบเช่นใช้สิทธิยับยั้งรัฐสภาไม่ให้ทำการคว่ำบาตรประเทศแอฟริกาใต้ที่มีนโยบายเหยียดสีผิว แต่เขาก็ไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นพวกเหยียดสีผิว  และในที่สุดภาพยนตร์ก็เชิดชูโอบามา ประธานาธิบดีสีผิวคนแรกของสหรัฐฯ (ซึ่งตัวเอกที่เกษียณแล้วได้ไปเข้าพบตอนจบของเรื่อง)  ดังนั้นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดมักจะมาจากพรรคเดโมแครต ดังเช่นเรื่อง ID 4  ภาพยนตร์มนุษย์ต่างดาวบุกโลกที่ประธานาธิบดีมีบุคลิกของบิล คลินตันของเดโมแครต (แต่ก็แอบขโมยภาพของนักบินผู้เก่งกาจจากบุชผู้พ่อ)


ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับกลุ่มการเมืองภายในประเทศ

ตามความเป็นจริงแล้วแล้วอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีจำกัด กลุ่มการเมืองกลุ่มแรกที่ประธานาธิบดีต้องรับมือคือรัฐสภาซึ่งมีหน้าที่สำคัญเช่นการออกกฎหมายและการอนุมัติงบประมาณที่ประธานาธิบดีร้องขอ  สำหรับการเมืองอเมริกันนั้นกฎหมายไม่ได้ออกมาอย่างง่ายดายเหมือนกับหลายประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา กฎหมายจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต้องผ่านการเห็นชอบจากเสียงของทั้ง 2 สภาคือวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถึง 2 ใน 3  (Supermajority)  ดังนั้นจึงมีหลายครั้งที่ประธานาธิบดีมีความขัดแย้งกับสภาซึ่งมักประกอบด้วยเสียงส่วนใหญ่คือสมาชิกจากพรรคตรงกันข้ามกับพรรคที่ประธานาธิบดีสังกัดอยู่จนทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางอำนาจ กฎหมายฉบับสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันไม่สามารถออกมาได้จนกระทั้งในบางปีรวมไปถึงการอนุมัติงบประมาณของประเทศจนทำให้รัฐบาลบาลกลางต้องปิดทำการชั่วคราว (สหรัฐ ฯ มีระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคใหญ่คือเดโมแครตและริพับลิกัน กระนั้นก็มีพรรคอื่นซึ่งมีขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล)  ล่าสุดโอบามาทำงานได้ไม่เป็นที่พึงพอใจของคนอเมริกันนัก จึงทำให้คนอเมริกันเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากพรรคริพับลิกันเข้าไปเป็นจำนวนมากจึงทำให้พรรคริพับลิกันมีเสียงของสมาชิกใน 2 สภามากกว่าเดโมแครต อันจะยิ่งทำให้โอบามาต้องพยายามหนักยิ่งขึ้นในการผลักดันกฎหมายของตนและพรรคเดโมแครตให้เกิดความสำเร็จ  (แน่นอนว่าจะส่งผลถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตในอีก 2 ปีข้างหน้าซึ่งก็น่าจะเป็นฮิลลารี คลินตัน)

แม้ว่าประธานาธิบดีมีบทบาทสำคัญต่อตัวกฎหมายคือเป็นผู้ลงนามเพื่อให้กฎหมายที่ผ่านสภามานั้นสมบูรณ์  ประธานาธิบดียังสามารถส่งกฎหมายกลับคืนเพื่อให้สภาพิจารณาใหม่ หรือแสดงความต้องการยับยั้งกฎหมาย (veto) ฉบับนั้น  แต่ถ้าทั้ง 2 สภายังคงยืนยันกฎหมายฉบับเดิม กฎหมายก็จะถูกนำออกมาใช้ได้แม้ว่าจะไม่มีลายมือชื่อของประธานาธิบดีก็ตาม  (อนึ่งประธานาธิบดีสามารถการคัดค้านแบบอื่นเช่นไม่ลงนามในกฎหมายภายใน 10 วันเพื่อให้กฎหมายผ่านไปโดยไม่มีลายมือชื่อของตัวเอง แต่ถ้าการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นในช่วงที่การประชุมสภาถูกเลื่อนออกไปกฎหมายนั้นจะตกไป ดังที่เรียกว่า pocket veto)  เช่นเดียวกับการที่ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งรัฐมนตรี  ประธานศาลสูง เอกอัครราชทูต ฯลฯ ได้สำเร็จนั้นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อนอันสะท้อนให้เห็นว่าอำนาจของทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างถ่วงดุลอำนาจกันอย่างมาก นอกจากนี้ประธานาธิบดีมีอำนาจเพียง 2 อย่างซึ่งไม่ต้องขอการอนุมัติจากรัฐสภาคือการการออกคำสั่งของฝ่ายบริหาร (Executive order) และการประกาศวันสำคัญที่อุทิศให้กับบุคคลซึ่งมีความสำคัญหรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมอเมริกันแต่อำนาจทั้ง 2 อย่างนี้ก็ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญอีก

ประธานาธิบดียังพบกับขีดจำกัดทางอำนาจอื่นเช่นรัฐบาลระดับมลรัฐซึ่งมีรัฐบาลและรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง ผู้นำรัฐบาลระดับมลรัฐคือผู้ว่าการรัฐซึ่งอาจจะมีนโยบายการบริหารงานที่แตกต่างจากประธานาธิบดีก็ได้แม้จะอยู่ในพรรคเดียวกันก็ตามเพราะความอิสระของแต่ละมลรัฐ ส่วนสภาของมลรัฐก็มีอิสระในการออกกฎหมายเอง  ดังนั้นในแต่ละรัฐจะมีกฎหมายหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน (และดูแปลกๆ เพราะเป็นกฎหมายเก่าที่อายุกว่าร้อยหรือ 2 ร้อยปีมาแล้ว)  โดยที่รัฐบาลกลางเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้แต่กฎหมายของมลรัฐจะต้องไม่อาจขัดแย้งกับกฎหมายของรัฐบาลกลางและตัวรัฐธรรมนูญ สำหรับรัฐบาลกลางก็มีอำนาจที่สงวนไว้ไม่กี่อย่างเช่นการผลิตธนบัตร การทหารและการแต่งตัวเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ยังไม่นับฝ่ายตุลาการโดยเฉพาะศาลสูง (Supreme court) ซึ่งนอกจากที่กรุงวอชิงตันดีซีแล้วมีประจำอยู่ทุกมลรัฐ ก็ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย ซึ่งมีคนจำนวนมากโดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านนำกฎหมายหรือคำสั่งของฝ่ายบริหารจากรัฐบาลกลางไปให้ศาลสูงตีความว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งส่งผลให้กฎหมายต่างๆ หรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารผลักดันต้องยุติหรือว่าชะลอไปดังเช่นคำสั่งของฝ่ายบริหารในการให้สิทธิแก่ผู้อพยพผิดกฎหมายในยุคของโอบามาหรือในกรณีกฎหมายการประกันสุขภาพที่ผลักดันโดยโอบามาจนประสบความสำเร็จ แต่มลรัฐหลายแห่งโดยเฉพาะที่ผู้ว่าการรัฐที่สังกัดพรรคริพับลิกันปฏิเสธจะปฏิบัติตามเพราะยึดตามศาลสูงที่ตีความว่าการที่รัฐบาลกลางบังคับให้มลรัฐขยายโครงการทางสุขภาพเช่นนี้เป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญ  อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีก็มีอำนาจในการถ่วงดุลกับฝ่ายตุลาการจากอำนาจในการให้อภัยโทษ (Pardon) ลดโทษลงบางส่วน (Commute) หรือแก่ผู้ที่ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางอาญา  เพียงแค่ในศตวรรษที่ 20 มีการให้อภัยโทษหรือลดโทษของประธานาธิบดีแก่บุคคลต่างๆ ถึง 20,000 ครั้ง แต่ประธานาธิบดีต้องยอมรับความเสี่ยงทางการเมืองและความน่าเชื่อถือทางสังคมจากการใช้สิทธิครั้งนี้ดังเช่นเจอรัล ฟอร์ด ให้อภัยโทษแก่นิกสันก่อนที่ขบวนการถอดถอนจากคดีวอเตอร์เกตจะสิ้นสุดอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟอร์ดต้องพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่จิมมี คาร์เตอร์

นอกจากนี้ประธานาธิบดียังต้องรับมือกับกลุ่มข้าราชการที่ทำงานให้กับรัฐบาลกลางซึ่งตามหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของประธานาธิบดี แต่ก็ยังก่อปัญหาให้กับประธานาธิบดีเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะคนเหล่านั้นมีความรู้เฉพาะด้านและประสบการณ์มากกว่าจึงกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งที่ทรงอิทธิพล ตัวอย่างที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์ได้แก่สำนักสอบสวนกลางหรือ FBI ซึ่งขึ้นตรงกับประธานาธิบดี แต่ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรกคือเจย์ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ (ดำรงตำแหน่งในช่วงปี 1935 –1972) ได้ทำให้สำนักสอบสวนกลางเหมือนกับแก๊งค์มาเฟียเพราะได้ก่อกวนคู่ปรปักษ์ทางการเมืองไม่ว่านักการเมืองหรือนักกิจกรรมทางสังคม รวมไปถึงการเก็บข้อมูลลับต่อบรรดาคนดังและผู้นำทางการเมืองด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย (แต่มักมีข้ออ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงเช่นต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์)  ยังกล่าวกันว่าฮูเวอร์ ได้เก็บความลับของประธานาธิบดีหลายคนในยุคหลังสงครามโลกจึงไม่มีประธานาธิบดีคนใดกล้าแทรกแซงการทำงานหรือปลดเขาออกจำตำแหน่งจนเขาเสียชีวิตไปเอง  หรืออย่างในปัจจุบันได้แก่กระทรวงกลาโหมซึ่งมีที่ทำงานคือเพนตากอนเป็นกระทรวงซึ่งทรงอิทธิพลที่สุดกระทรวงหนึ่งด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาลคือประมาณร้อยละ 4.8 ของมวลผลิตภัณฑ์ของทั้งประเทศได้ก่อปัญหาให้กับโอบามาซึ่งมีแผนจะตัดงบประมาณครั้งใหญ่แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าไรนัก กระนั้นเหตุการณ์ไม่สงบของตะวันออกกลางและการแผ่อิทธิพลของจีนในเอเชียหนือได้ทำให้โอบามาต้องหันมาเพิ่มงบประมาณในปีนี้

ประธานาธิบดียังต้องกับแรงกดดันคือกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) หรือกลุ่มตัวแทนของประชาชน ที่มีความต้องการให้รัฐปฏิบัติตามความต้องการของตนในประเด็นใดประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นการสร้างทางลัดในการต่อรองทางอำนาจกับรัฐบาลนอกเหนือจากการเลือกตั้ง ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์นี้ไม่ได้เป็นตอบสนองนายทุนหรือเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งเสมอไปดังที่อาจารย์สุลักษณ์เข้าใจเพราะกลุ่มผลประโยชน์ไม่ได้มีเพียงกลุ่มทุนหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้น หากยังมีอีกมากที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมเช่นกลุ่มเพื่อสิทธิของชนสีผิว สิทธิสตรี สิทธิพวกรักร่วมเพศ การรักษาสิ่งแวดล้อม สิทธิสัตว์ ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้จะมีนักวิ่งเต้น (Lobbyist) ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อทั้งตัวประธานาธิบดี  พรรคการเมือง และรัฐสภาผ่านเงินบริจาค  การช่วยรณรงค์หาเสียงหรือการหาข้อมูลสำคัญให้ กลุ่มผลประโยชน์นี้ยังร่วมมือกับรัฐสภาและระบบราชการในการมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลอีกต่อหนึ่ง ดังที่เรียกว่าสามเหลี่ยมเหล็กกล้าหรือ Iron Triangle

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ว่าประธานาธิบดียังต้องรับมือกับชุดบริหารของเขาเองเช่นรองประธานาธิบดี  รัฐมนตรีและคณะที่ปรึกษา ตัวอย่างเช่นรองประธานาธิบดีซึ่งโดยปกติไม่มีอำนาจเท่าไรนักแต่ในรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุช  นายดิก เชนีย์ถือได้ว่าเป็นรองประธานาธิบดีที่มีอำนาจอยู่เบื้องหลังประธานาธิบดีมากที่สุดในประวัติศาสตร์  ในด้านรัฐมนตรีนั้นได้แก่นางฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศยังเบียดบังภาพลักษณ์ของโอบามาในเวทีต่างประเทศและวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล ส่วนคณะที่ปรึกษาซึ่งมีตัวอย่างคือเฮนรี คิสซิงเจอร์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในยุคของริชาร์ด นิกสันนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสูงมากรวมไปถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อน (เช่นเป็นมิตรผสมกับการกับคู่แข่ง)  กับตัวนิกสันเอง คิสซิงเจอร์ยังเบียดบังบารมีของนิกสันโดยการรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1973

ท้ายนี้เรายังไม่สามารถปฏิเสธปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อตัวประธานาธิบดีเอง เช่นสื่อมวลชนซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐและมักสามารถทั้งทำให้ฝ่ายบริหารสะดุดหรือหยุดชะงักจากพลังในการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีและอิทธิพลในการชี้นำทัศนคติของมวลชน หรือแม้แต่การตีแผ่โครงการอันไม่เปิดเผยต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งทำให้ทำเนียบขาวต้องระมัดระวังในการเก็บความลับจำนวนมากให้พ้นจากสื่ออย่างเช่นกรณีนักข่าวของสำนักพิมพ์วอชิงตันโพส 2 คนได้ทำการขุดคุ้ยคดีอื้อฉาววอเตอร์เกต (Watergate) อันเป็นสาเหตุให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันต้องลาออกในปี 1974 ก่อนที่รัฐสภาจะเสร็จสิ้นกระบวนการไต่สวนเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งหรือ Impeachment  (ซึ่งก็เป็นขีดจำกัดทางอำนาจของประธานาธิบดีอีกอย่างหนึ่งแม้ประธานาธิบดีแม้ว่าจะสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึง 4 ปีโดยไม่ต้องถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเหมือนกับนายกรัฐมนตรี)

ในทางกลับกันประธานาธิบดีก็ต้องทำตนให้โปร่งใสและเปิดกว้างในเรื่องข่าวสารข้อมูลเพื่อความสะดวกของสื่อมวลชนในการสะท้อนให้ประชาชนได้เห็นการทำงานของรัฐบาล เช่นตัวประธานาธิบดีต้องเป็นกันเองและได้รับความนิยมจากนักข่าว (ไม่ใช้คำหยาบคายและขู่ว่าจะชกหน้าหรือเอาโปเดียมทุ่มใส่) อันจะส่งผลถึงคะแนนความนิยม (approval rating) ของตัวประธานาธิบดีรวมไปถึงคะแนนเสียงที่จะมีให้กับสมาชิกของพรรคการเมืองที่ประธานาธิบดีผู้นั้นสังกัดอยู่ กระนั้นก็มีสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีอุดมการณ์ตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีจึงมักจะนำเสนอภาพของประธานาธิบดีในด้านลบอย่างต่อเนื่องดังเช่นสำนักข่าวฟอกซ์นิวส์ซึ่งมีอุดมการณ์ไปทางขวาและมักโจมตีโอบามา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดสื่อทางเลือกใหม่ซึ่งอาจมีพลังเสียยิ่งกว่านั้นคือสื่อทางโลกออนไลน์หรือ Social media เช่นอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์อันจะมีพลังสำหรับมุมมองและความนิยมของประชาชนต่อประธานาธิบดีอย่างมาก เพราะความแพร่หลายของสื่อเช่นนี้แล้ว ด้วยการยึดถือเสรีภาพของการแสดงออกทางการเมือง รัฐก็ไม่อาจออกกฎหมายแบบมาตรา 112 ในการห้ามไม่ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ ด่าทอหรือล้อเลียนตัวประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ (ยกเว้นจะเกี่ยวกับความมั่นคงเช่นการคุกคามหรือขู่ฆ่าประธานาธิบดี) หากพิจารณาในเว็บไซต์หรือบล็อคแล้ว บุชนั้นมีภาพแห่งความชั่วร้ายไม่ต่างจากฮิตเลอร์ หรือโอบามามีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เหมือนสตาลินหรือเลนิน
 

อำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระดับโลก

การที่ชาวโลกมองว่าสหรัฐฯ นั้นยิ่งใหญ่คับโลกหรือต้องการครองโลกตามความทะเยอทะยานของจักรวรรดินิยม (ซึ่งทำให้ใครหลายหันหันมาสนับสนุนจีนและรัสเซียโดยหารู้ไม่ว่าทั้ง 2 ชาติก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกับสหรัฐฯ เพียงแต่ยังไม่พบกับโอกาส) ความเชื่อเช่นนี้ก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า สหรัฐฯ เป็น superpower หรือมีอำนาจมากที่สุดในโลกและมีงบประมาณทางทหารสูงที่สุดในโลก  ดังนั้นประธานาธิบดีน่าจะสั่งเป็นสั่งตายกับใครในประเทศไหนก็ได้  แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง สหรัฐฯ ไม่อาจจะทำสงครามกับใครได้อย่างอำเภอใจเพราะประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทำให้สหรัฐฯ ตระหนักดีว่าแม้ประเทศที่มีกำลังทางทหารด้อยกว่าตนมากก็ไม่ได้ว่าจะแพ้สหรัฐฯ เสมอไป (ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงประเทศที่มีอำนาจไม่ห่างกันมากอย่างเช่นจีนและรัสเซีย)  แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เป็นจำนวนมากเคียงคู่ไปกับรัสเซียแต่ก็ไม่ได้นำไปใช้กับประเทศใดได้นับตั้งแต่กับญี่ปุ่นเมื่อสมัยสงครามโลกไม่ว่าเพราะกฎหมายระหว่างประเทศหรือผลกระทบที่ตามมาจะย้อนกลับมาสู่สหรัฐฯ อย่างใหญ่หลวงนักโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์นี้  และที่สำคัญที่สุดก็จะกระทบถึงคะแนนความนิยมของตัวประธานาธิบดีจากประชาชนอเมริกันเองซึ่งมีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านสงครามหรือการไปแทรกแซงประเทศอื่น ยกเว้นว่าจะเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ทำให้สาธารณชนคล้อยตามดังเช่นเครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดปี 2001 อันนำไปสู่การบุกอัฟกานิสถาน

นอกจากนี้สหรัฐฯ มีอำนาจและบทบาทในการเมืองโลกอย่างจำกัด สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศทั้งหลายแม้แต่ประเทศซีกโลกตะวันตกอย่างเช่นยุโรปตะวันตกไม่ได้เป็นแบบสั่งซ้ายหันขวาหัน แม้แต่อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรอันเหนียวแน่น  ลักษณะของความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้เป็นแค่การใช้อำนาจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจกดดัน แต่ยังรวมไปถึงการทูตเช่นการเกี้ยวพาราสี (เหมือนจีบผู้หญิง) การต่อรอง การชิงไหวชิงพริบในรูปแบบต่างๆ อันอาจได้ผลไปสู่ความขัดแย้งหรือแม้แต่ความล้มเหลวด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำของรัฐบาลในแต่ละยุคอีกด้วยเพราะผู้นำเหล่านั้นในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงคะแนนความนิยมและคะแนนเสียงของประชาชนซึ่งก็มีทัศนคติต่อสหรัฐฯ ในระดับที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่สงครามเวียดนาม ประเทศซึ่งมักถูกมองโดยชาวโลกว่าในสังกัดของสหรัฐฯอย่างเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตกล้วนแต่ปฏิเสธที่จะส่งทหารเข้าไปร่วมรบเช่นเดียวกับช่วงสงครามอิรักในปี 2003 ที่สหรัฐอเมริกาในยุคของบุชแม้จะได้รับการสนับสนุนจากโทนี แบลร์ของอังกฤษ (จนแบลร์ถูกล้อเลียนว่าเป็นสุนัขพูเดิลของบุช) แต่ก็มีความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในยุคของญัก ชีรักและเยอรมันในยุคของแกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์อย่างรุนแรง ยิ่งในปัจจุบันการออกมาแฉโดยเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนอดีตเจ้าหน้าที่ของซีไอเอว่าทางการสหรัฐฯ ได้จารกรรมความลับจากบรรดาผู้นำของประเทศซึ่งเป็นมิตรกับตนย่อมทำให้เกิดผลทางด้านลบในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศเหล่านั้นมากขึ้น

ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่ากับประเทศในซีกอื่นๆ ของโลกไม่ว่าตะวันออกกลางดังเช่นซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ การ์ตา  เอเชียใต้ดังเช่นอินเดียและโดยเฉพาะปากีสถาน เอเชียแปซิฟิก (ซึ่งสหรัฐฯ พยายามเพิ่มอิทธิพลแข่งกับจีน) ทั้งนี้ไม่นับประเทศที่อยู่นอกวงโคจรอำนาจของสหรัฐฯดังเช่นในทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา  สหรัฐฯ  จะดำเนินความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ยืดหยุ่นหรือผ่อนปรนด้วยต่อประเทศเหล่านั้น (หรือจะเรียกว่ากะล่อนก็สุดแล้วแต่) อันกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศและการทหารของตัวประธานาธิบดีด้วย อันเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากสำหรับคนที่คิดว่าสหรัฐฯ เป็นตำรวจโลกซึ่งจะทำอะไรก็ได้ ยิ่งอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนเข้ามาเบียดขับอยู่ด้วย หรือในกรณีของไทยนั้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนซึ่งเราจะนำไปถกเถียงกันต่อไปในบทความหน้า
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลและอำนาจของประธานาธิบดี

ในทางกลับกันกลับมีคนเชื่อตามทฤษฎีสมคบคิดว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่มีอำนาจอะไรเลย    อันอยู่ตรงกันข้ามสุดโต่งกับความเชื่อแรกที่ว่าประธานาธิบดีมีอำนาจมากที่สุดในโลก มีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่ามีนักธุรกิจชาวยิว หรือสมาคมลับมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ  (บางคนถึงกลับบอกว่ายิวครองอเมริกา)  เป็นที่น่าสังเกตว่าทฤษฎีเช่นนี้มักเป็นการพูดหรือสืบต่อกันลอยๆ ผ่านสื่อแบบประชานิยมเช่น ภาพยนตร์  นวนิยาย การเสวนาในเว็บไซต์ ฯลฯ   ยังหาข้อพิสูจน์ออกเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนนัก ตามความจริงกลุ่มอิทธิพลของอิสราเอลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ใกล้เคียงกับทฤษฎีนี้ที่สุดได้แก่กลุ่มผลประโยชน์ที่เพื่อประโยชน์ของอิสราเอล อันมีชื่อเป็นทางทางการว่า American Israel Public Affairs Committee หรือ AIPAC  ที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลหรือนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ สูงมาก กระนั้นก็มีหลายครั้งที่สหรัฐฯ ไม่ได้เอาใจอิสราเอล ดังกรณีคลองสุเอซในปี 1956 ที่อิสราเอลวางแผนทางทหารกับอังกฤษและฝรั่งเศสในการเข้ายึดคลองสุเอซคืนจากอียิปต์และหวังว่าสหรัฐฯ  จะให้การสนับสนุน รัฐบาลของไอเซนฮาวร์ร่วมกับสหภาพ     โซเวียต กลับทำตรงกันข้ามคือบีบให้ทั้ง 3 ประเทศถอนกำลังออกไป จึงทำให้คลองสุเอซอยู่กับอียิปต์เหมือนเดิม หรือในปี 2012 ตอนที่มิตต์ ลอมนีย์ลงสมัครแข่งขันประธานาธิบดีกับโอบามา ลอมนีย์ให้การสนับสนุนอิสราเอลอย่างมากเพื่อเอาใจคนอเมริกันเชื้อสายยิวในขณะที่โอบามาได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีที่ต่อต้านอิสราเอลมากที่สุดในประวัติศาสตร์และมีความสัมพันธ์ไม่ดีกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคือเบนจามิน เนทันยาฮู แต่โอบามากลับชนะการแข่งขันเป็นสมัยที่ 2  (อันสะท้อนให้เห็นว่าคนอเมริกันเชื้อสายยิวอาจไม่ได้ผูกพันกับอิสราเอลหรือเห็นด้วยกับนโยบายของอิสราเอลต่อปาเลสไตน์เสมอไป) และยังแต่งตั้งทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมที่ถูกว่าเป็นพวกต่อต้านยิวอีกด้วย ปัจจุบันสหรัฐฯ ก็แสดงตนเป็นกลางคือกดดันให้อิสราเอลถอนการลงหลักปักฐานออกไปจากเขตปาเลสไตน์ แต่ก็พยายามวิ่งเต้นและกดดันไม่ให้สหประชาชาติรับรองความเป็นรัฐให้กับปาเลสไตน์ สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ สหรัฐฯ จึงกลายเป็นที่เกลียดชังของทั้ง  2 ฝ่าย  นอกจากนี้สหรัฐฯ ก็ไม่ยอมส่งกองทัพโจมตีซีเรียและอิหร่านตามคำขอของอิสราเอล  (ในทางกลับกันโอบามายังพยายามติดต่อพูดคุยกับประธานาธิบดีอิหร่านอีกด้วย)  ล่าสุดเมื่อตอนต้นเดือนมีนาคม ปีนี้นายเนทันยาฮูได้เดินทางมายังสหรัฐฯ เพื่อกล่าวคำปราศรัยที่รัฐสภาตามคำเชิญของรัฐสภาซึ่งพรรคริพับลิกันเป็นเสียงส่วนใหญ่ เพื่อเป็นกลยุทธทางเมืองในการกดดันโอบามา ซึ่งได้การเมินเฉยจากโอบามาและรัฐบาลรวมไปถึงสมาชิกของพรรคเดโมแครตอีกเป็นจำนวนมาก อันสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผลประโยชน์ที่วิ่งเต้นผลเพื่อประโยชน์ของอิสราเอลนั้นไม่ได้มีอำนาจไม่จำกัดและยังต้องต่อสู้กับกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดด้วยที่ว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญแก่อิสราเอลเพียงประเทศเดียวในตะวันออกกลาง  สหรัฐฯ ยินดีช่วยเหลือทุกประเทศที่ตอบสนองประโยชน์ตัวเองและความมั่นคงในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ พร้อมจะเป็นมิตรกับหลายประเทศซึ่งแม้ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็จัดตัวเองว่าเป็นรัฐฆราวาส (secular state)  เช่นอียิปต์ยุคหลัง กามัล อัลนัสเซอร์ที่สหรัฐฯ ต้องการหว่านล้อมให้เป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์และเป็นหลักความมั่นคงในตะวันออกกลาง รวมไปตุรกี (หากนับว่าอยู่ในตะวันออกกลาง) ซึ่งมีรูปแบบการปกครองค่อนไปทางเผด็จการมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับอินโดนีเซียซึ่งมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก หรือแม้แต่รัฐที่จัดว่าตัวเองเคร่งศาสนาดังเช่นซาอุดิอาระเบียและกาตาร์แต่ก็ถ้าประสานผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ได้ก็ถือว่าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับกลุ่มทุนสามานย์

นอกจากยิวและสมาคมลับแล้ว นักทฤษฎีสมคบคิดหลายคนยังเชื่อว่าประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์  ทฤษฎีนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากสื่อในเมืองไทยซึ่งเกลียดชังทักษิณและยังรับเอาทฤษฎีจากฝ่ายซ้ายเช่นนอม ชอมสกีมาใช้ในการวิเคราะห์ บางสื่อถึงกลับบอกว่าทักษิณเป็นเด็กดีของประธานาธิบดีและประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์ ดังนั้นทักษิณจึงเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนสามานย์ (ในรายการนั้น ผู้เขียนสังเกตว่า พอผู้ดำเนินรายการถามว่ากลุ่มทุนนั้นเป็นใครบ้าง เจ้าของทฤษฎีกลับตอบแบบไม่เต็มเสียงและเลี่ยงไปพูดประเด็นอื่นแทน)   เป็นเรื่องที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มักมีนโยบายเอาใจบริษัทขนาดใหญ่หรือ บริษัทข้ามชาติ จนทำให้ฝ่ายต่อต้านเห็นว่าคนพวกนี้สามารถสั่งประธานาธิบดีแบบซ้ายหันขวาหันได้ (คนพวกนี้มักจะลืมวิเคราะห์พลเอกประยุทธ์ซึ่งก็มีลักษณะเช่นนี้ไม่ผิดเพี้ยน)  ดังเช่นอาจารย์สุลักษณ์  ศิวลักษณ์ในบทความ จดหมายรักถึงเผด็จการ แม้ว่าบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทข้ามชาตินั้นก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์ที่มีกลุ่มนักวิ่งเต้นที่ทรงพลังมากและทุนทรัพย์สูงมาก แต่ผู้เขียนคิดว่าอิทธิพลของกลุ่มเหล่านี้เป็นเพียง "ระดับสูง" แต่ไม่ใช่ "ทั้งหมด" เพราะประธานาธิบดีจะต้องคำนึงถึงเรื่องอื่นด้วยเช่นอุดมการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ (เช่นเน้นเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่หรือเน้นผลประโยชน์ของชนรากหญ้าอเมริกันด้วย)  ทัศนคติของประชาชน ที่ปรึกษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคง และสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่เกิดขึ้น และปัจจัยอื่นอีกร้อยแปด ฯลฯ

ตัวอย่างได้แก่กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มทุนที่มักตกเป็นจำเลยมากที่สุดก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธหรือ Military  Industrial Complex  หากเราลองศึกษาดูนโยบายการทหารและการต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดังเช่นในกรณีสงครามเวียดนาม หากใช้ทฤษฎีสมคบคิดแบบ โอลิเวอร์ สโตน ก็จะบอกว่าเพราะเคนนาดีไม่ต้องการขยายอิทธิพลทางทหารไปมากกว่านี้ก็เลยถูกกลุ่มนี้ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น   ซีไอเอ เอฟบีไอ กองทัพ  ฯลฯ ในการลอบสังหาร และเชิดลินดอน บี จอห์นสันซึ่งก็ถือกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในแผนครั้งนี้ขึ้นมา แต่ตามความจริงแล้วไม่มีการรับประกันว่าเคนนาดีนั้นจะไม่ขยายอิทธิพลทางทหารในอนาคต หากเขาไม่ถูกลอบสังหาร เพราะกระบวนทัศน์แห่งภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์หรือทฤษฎีโดมิโนนั้นมีอิทธิพลในทำเนียบขาวนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 (ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคมืดหรือยุคที่คนอเมริกันหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์อย่างมาก)  ผสมกับความไร้ประสิทธิภาพและความฉ้อฉลของรัฐบาลเวียดนามใต้ในยุคของ    โง ดินห์ เดียม (ซึ่งเคนนาดีมีส่วนรู้เห็นในการให้ซีไอเอหนุนให้ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเดียม แต่อาจไม่ได้คาดคิดว่าเดียมและน้องจะถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม  ข้อมูลส่วนนี้ในภาพยนตร์ของโอลิเวอร์ สโตนไม่ได้กล่าวถึง)  รวมไปถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลยุคหลังเดียม จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จอห์นสันต้องส่งกำลังทหารไปเข้าในเวียดนามใต้ในปี 1965 แม้ว่าจอห์นสันจะมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธ (ซึ่งก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขาอย่างแน่นอน) แต่ถ้าเคนนาดีจะยังดำรงตำแหน่งอยู่หรือว่าเป็นคนอื่นขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ก็อาจจะเข้าร่วมในสงครามเวียดนามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หรือในยุคของริชาร์ด นิกสัน (1968-1974) นั้น  แม้เขาจะสัญญาต่อประชาชนในช่วงหาเสียงว่าจะพากองทัพสหรัฐฯ ออกจากเวียดนาม แต่เขากลับขยายขอบเขตสงครามไปในลาวและกัมพูชา สำหรับคนที่มองว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มทุนก็มองว่าการกระทำของนิกสันเกิดจากการบงการจากวงการอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว หากเราคำนึงถึงเงื่อนไขทางการเมืองแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่สหรัฐฯ จะถอนตัวออกจากเวียดนามใต้เพื่อปล่อยให้เวียดนามเหนือเข้ายึดอย่างง่ายดาย นิกสันและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติอย่างเช่นเฮนรี คิสซิงเจอร์คาดคิดว่าจะทำให้สหรัฐฯ เสียหน้าเพราะสงครามเวียดนามได้ทำให้สหรัฐ ฯสิ้นเปลืองงบประมาณและชีวิตของกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก อันจะส่งผลร้ายต่อดุลทางอำนาจที่สหรัฐฯ มีไปทั่วโลก เช่นเดียวกับก็จะเป็นตัวทำลายคะแนนความนิยมและคะแนนเสียงที่มีคนอเมริกันมีต่อตัวนิกสันและพรรคริพับลิกันอย่างมาก นิกสันจึงหาทางออกบนนโยบาย “การออกจากเวียดนามอย่างมีเกียรติ” หรือ Honorable exit  ดังนั้นนิกสันจึงต้องทำให้กองกำลังเวียดกงที่ช่วยเหลือเวียดนามเหนือชะงักงันจากการทิ้งระเบิดอย่างหนักลงในช่องทางลำเลียงของพวกเวียดกงในลาวและกัมพูชาอันจะเป็นการเสริมสร้างความความปลอดภัยแก่เวียดนามใต้  รวมไปถึงการทิ้งระเบิดอย่างหนักที่เวียดนามเหนือเพื่อจะบังคับให้เวียดนามเหนือยอมเจรจายุติการโจมตีเวียดนามเหนือภายใต้สัญญาที่ชื่อ Paris Peace Accords ในปี 1973 ก่อนที่สหรัฐฯจะถอนฐานทัพออกไป และการที่นิกสันสามารถสร้างนโยบายอันยิ่งใหญ่เช่นการไปเชื่อมความสัมพันธ์กับจีนในปี 1972  และความสำเร็จของเขาในการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียตในปีเดียวกันนั้น อันเป็นการลดความตึงเครียดระหว่าง 2 มหาอำนาจจนถึงปี 1979 ก็ไม่อาจเป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับทฤษฎีที่ว่าประธานาธิบดีเป็นหุ่นเชิดให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธ

นอกจากนี้ในยุคของโรนัลด์ เรแกน ไม่มีหลักฐานเป็นรูปธรรมว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธนั้นสนับสนุนให้ เรแกนเป็นประธานาธิบดีชนิดที่ว่าเหมือนกับส่งเป็นตัวแทน (เหมือนกับที่สุลักษณ์ได้อ้างไว้ในบทความจดหมายรักถึงเผด็จการ) อาจจะจริงที่ว่ามีการสนับสนุน แต่เราก็ต้องดูว่าเป็นการสนับสนุนของกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ หรือไม่ กระนั้นสาเหตุที่งบประมาณของสหรัฐฯ จะสูงมากในยุคของเขาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะเรแกนเป็นนักต้านคอมมิวนิสต์และต้องการเน้นนโยบายต่างประเทศกับการทหารในเชิงรุกกับสหภาพโซเวียต แต่แล้วในหลายปีต่อมา เรแกนสามารถเปลี่ยนนโยบายจากนโยบายแบบเหยี่ยวในการทำสงครามมาเป็นการเจรจาการลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียตร่วมกับกอร์บาชอฟได้สำเร็จเพราะเขาได้รับอิทธิพลจากการประท้วงอาวุธนิวเคลียร์ของชาวอเมริกัน (ซึ่งเป็นสิ่งที่สุลักษณ์ไม่ได้กล่าวถึง) เช่นเดียวกับแผนสตาร์วอร์ของเขาซึ่งเป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อขู่สหภาพโซเวียตเพราะกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์สามารถวิ่งเต้นรัฐบาล
โดยพิสูจน์ได้ว่าโครงการนี้สร้างผลเสียมากกว่าผลดี

เช่นเดียวกับบารัก โอบามา หากเขาเป็นไปอย่างที่ทฤษฎีสมคบคิดบอกว่าเป็นหุ่นเชิดให้วงการอุตสาหกรรมอาวุธ สหรัฐฯ คงทำสงครามกับซีเรียและอิหร่านซึ่งเป็นศัตรูของอิสราเอลไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีคำถามว่าเหตุใด   โอบามาจึงเสนอให้ตัดงบประมาณของกระทรวงกลาโหม แม้ว่าจะไม่สำเร็จนักเพราะอาศัยการร่วมมือจากรัฐสภา (ก็น่าสนใจว่ามีความพยายามในบรรดาสมาชิกของสภาหลายคนในการทำให้กระทรวงกลาโหมนั้นสามารถถูกตรวจสอบงบประมาณได้โปร่งใสกว่าเดิม) แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดีนั้นมีความเป็นตัวของตัวเองซึ่งดำเนินนโยบายต่างๆ อันตั้งอยู่การคิดอย่างมีเหตุผล ความโลภ หรือความโง่ขลาหรืออะไรก็แล้วแต่  อุปนิสัยประการหนึ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคนคือรักในเกียรติของตนและต้องการเอาชนะอุปสรรคหรือขีดจำกัดที่อยู่รอบตัวเอง


ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และกองทัพ

ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และกองทัพ (Civilian-military relations) ถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอำนาจของประธานาธิบดีอีกเช่นกัน  จากบทความของสุลักษณ์คือจดหมายรักถึงเผด็จการ สุลักษณ์ได้อ้างว่า “แม่ทัพนายกอง” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการบริหารรัฐกิจนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าเขาน่าจะหมายถึงบรรดานายพลในกองทัพ อันสะท้อนให้เห็นว่าสุลักษณ์อาจนำเอาบริบททางการเมืองไทยมาสวมทับกับการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังบทความของผู้เขียน “รู้แล้วว่าเหตุใดจำนวนนายพลไทยจึงมีมากกว่านายพลอเมริกัน” สะท้อนให้เห็นว่านายพลทั้งหลายไม่มีอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับไทยหรือประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นเผด็จการทั้งหลาย ค่านิยมของการเป็นมืออาชีพของกองทัพอเมริกันนั้นเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจเช่นเดียวกับบทบาทของพลเรือนที่มีอยู่เหนือกองทัพ กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าความสัมพันธ์ระหว่างบรรดา “แม่ทัพนายกอง” กับประธานาธิบดีอเมริกันหาได้ราบรื่นอย่างที่เข้าใจกันเสมอไป อันเป็นธรรมชาติของทุกประเทศไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตย (คงมีบางประเทศที่ยกเว้นเช่นไทยเพราะทหารปกครองประเทศเสียเอง)  เพราะบรรดานายพลทั้งหลายนั้นเป็นทหารอาชีพซึ่งมีความรู้ความสามารถอย่างเต็มเปี่ยม ในขณะที่ประธานาธิบดีนั้นเป็นพลเรือนย่อมไม่อาจเทียบเท่าได้  (สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีเพียง ดีดี ไอเซนฮาวร์ที่เคยเป็นนายทหารอาชีพมาก่อน)  ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญหรือวิกฤตขึ้นมาจึงมีความเป็นไปได้สำหรับความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายพลดังเช่นกรณีสงครามเกาหลีที่ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมนได้ปลดนายพลดักกลัส แม็คอาเธอร์ออกจากการเป็นผู้บัญชาการกองทัพของสหประชาชาติในเกาหลีใต้เพราะทัศนคติไม่ตรงกันที่ว่าแม็คอาร์เธอร์ต้องใช้การอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์กับจีนและเกาหลีเหนือ ในขณะที่   ทรูแมนไม่ต้องการขยายวงของสงครามไปมากกว่านี้  กระนั้นประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะแต่แม็คอาเธอร์ได้ปฏิเสธในภายหลังว่าเขาต้องการใช้อาวุธนิวเคลียร์พร้อมกับชี้ว่าเป็นข้อกล่าวหาของทรูแมน  หากแม็คอาร์เธอร์พูดถูก สาเหตุสำคัญที่น่าจะทำให้ทรูแมนปลดแม็คอาร์เธอร์ก็ได้แก่การแสดงตัวท้าทายเขาต่ออำนาจของประธานาธิบดี  มีเรื่องเล่าว่าเมื่อทรูแมนได้พบกับแม็คอาร์เธอร์ ฝ่ายหลังได้จับมือกับฝ่ายแรกแทนที่จะแสดงการเคารพแบบทหารอันสะท้อนว่าแม็คอาร์เธอร์ไม่ได้เคารพในตัวประธานาธิบดีเลย

หรือในยุคของบิล คลินตันและจอร์จ ดับเบิลยู บุชนั้นมีภาพของผู้ไม่เจนจัดในสงครามเพราะคลินตันมีประวัติของการหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามเวียดนามอันจะเป็นตัวซ้ำเติมให้ความสัมพันธ์ระหว่างคลินตันกับกองทัพถือว่าย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์นอกเหนือจากนโยบายต่างๆ ของเขาที่ขัดแย้งกับกองทัพ ในขณะที่บุชถูกกล่าวหาว่าใช้เส้นสายของบิดาในฐานะวุฒิสมาชิกของรัฐเท็กซัสไปเป็นสมาชิกของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) ด้านการป้องกันทางอากาศและยังไม่ยอมมาปฏิบัติหน้าที่เป็นเดือนๆ   ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์ Transformers (2008)  ที่เป็นภาพยนตร์เชิดชูลัทธิกองทัพนิยมและน่าจะสะท้อนมุมมองของทหารได้ในระดับหนึ่งยังล้อเลียนบุชโดยให้ประธานาธิบดีดูขาดความเก่งกาจ และไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้การทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักของที่ล้มเหลวย่อมทำให้กองทัพนั้นหันมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของบุช กรณีอันโด่งดังได้แก่ขบถนายพล (Generals revolt) ในปี 2006 ที่บรรดานายพลที่เกษียณอายุราชการไปแล้วได้วิจารณ์และเรียกร้องให้นายโดนัลด์ รัมส์เฟลด์รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมลาออกจากตำแหน่ง  ส่วนโอบามานั้นก็ยังถูกโจมตีว่าขาดความเป็นผู้นำทางทหารและนโยบายทางทหารสับสนและไม่ประสบความสำเร็จนัก(ดังกรณีในตะวันออกกลาง) ดังเช่นในปี 2010      นายพลสแตนลีย์ แม็คไครส์ทัลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาการของไอเอสเอเอฟหรือกองทหารนานาชาติที่นำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือได้ให้สัมภาษณ์ต่อนิตยสารโรลิ่งสโตนในเชิงวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อมาเขาจึงถูกโอบามาไล่ออก

โดยภาพรวมแล้วแม้ว่ากองทัพอเมริกันจะมีปัญหาและเสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาลพลเรือนแต่กองทัพไม่เคยก้าวล่วงไปถึงการแทรกแซงทางการเมืองนอกจากจะมุ่งไปที่ประเด็นเรื่องการทหารเสียมากกว่า กองทัพจึงไม่สามารถมีอำนาจเหนือประธานาธิบดีหรือสามารถกดดันประธานาธิบดีมากจนเกินไปหรือแม้แต่การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศเสียเองผ่านการทำรัฐประหารเหมือนกับประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ ดังนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงยังคงเป็นจอมทัพอยู่ไม่ว่าในทางกฎหมายหรือเชิงปฏิบัติ

การเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดี

ด้วยความต้องการเอาชนะขีดจำกัดที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในประวัติศาสตร์ซึ่งไม่ต้องการจะถูกเรียกว่าเป็นประธานาธิบดีเป็ดง่อย (Lamb duck president) จึงมุ่งเพิ่มหรือแสวงหาอำนาจให้กับตัวเองได้หลายรูปแบบเช่นจากการสร้างบารมีให้กับตัวเองโดยใช้สิ่งที่ตัวเองมีอยู่ตั้งแต่ก่อนเป็นประธานาธิบดีเช่น บุคลิก หน้าตา วงศ์ตระกูล ภรรยา ครอบครัวหรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงผ่านการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ (โดยมีคำว่า First นำหน้าเช่น First Lady หรือสุภาพสตรีหมายเลข 1 อันหมายถึงภรรยาของประธานาธิบดี) แม้แต่ภาพยนตร์ซึ่งผู้เขียนคิดว่าทำเนียบขาวนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลในวงการฮอลลีวูดไม่มากก็น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมแครตได้เป็นประธานาธิบดีเพราะอุดมการณ์ค่อนข้างมีความสอดคล้องกัน  นอกจากนี้ทีมงานของประธานาธิบดียังใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการดึงดูดความสนใจของคนยุคใหม่เช่นการมีเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ของตัวประธานาธิบดีเอง ถึงแม้ปัจจัยแรกนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของประธานาธิบดีโดยตรงแต่ก็สามารถมีอิทธิพลเหนืออารมณ์ความรู้สึกของคนอเมริกันโดยเฉพาะเพศหญิงโดยประธานาธิบดีที่ทำสำเร็จมาแล้วได้แก่เคนนาดี เรแกนและคลินตัน   นอกจากนี้ประธานาธิบดีต้องส่งอิทธิพลให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ได้เข้าไปในสภาทั้ง 2 สภาคือวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ได้จนเป็นเสียงข้างมากเพื่อความสะดวกในการออกกฎหมาย การอนุมัติงบประมาณหรือมอบอำนาจพิเศษให้กับตน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวประธานาธิบดีเองว่าจะทำให้คนอเมริกันเกิดความศรัทธาเสียก่อน ดังเช่นโอบามามีส่วนให้ให้พรรคเดโมแครตได้เสียงข้างมากในสภาเป็นเวลา 2 ปีนับแต่เขาดำรงตำแหน่ง

ประธานาธิบดีเองยังต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกพรรคเพื่อที่ว่าจะไม่มีคนแปรพักตร์หรือก่อขบถไปเข้าลงคะแนนเสียงให้กับพรรคตรงกันข้ามในการออกกฎหมายฉบับต่างๆ  ถึงแม้ว่าตำแหน่งประธานาธิบดีจะไม่ได้เปลี่ยนมือง่ายๆ เหมือนกับการเมืองแบบรัฐสภาอย่างเช่นอังกฤษหรือออสเตรเลีย แต่รัฐสภาซึ่งไม่เป็นมิตรกับประธานาธิบดีจะสร้างปัญหาให้กับภาวะความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น  นอกจากนี้ภาพพจน์ของประธานาธิบดีอันจะส่งผลถึงการเมืองระดับมลรัฐเช่นผู้ว่าการรัฐในพรรคที่ประธานาธิบดีได้รับความนิยมอย่างสูงอาจอาศัยภาพของประธานาธิบดีในการสร้างคะแนนเสียงให้กับตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าการรัฐก็อาจจะเอาตัวออกห่างจากประธานาธิบดีที่คะแนนความนิยมตกต่ำเพื่อเอาตัวรอด ในด้านตุลาการประธานาธิบดียังสามารถแต่งตั้งตุลาการศาลสูงซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับพรรคของตนได้อันจะทำให้มีการตีความกฎหมายที่ตนและพรรคของตนพยายามผลักดันในด้านเป็นคุณให้ (ดังที่รูสเวลต์เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว) กระนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องรับประกันว่าจะสำเร็จเสมอไปเพราะประธานาธิบดีไม่สามารถสั่งปลดตุลาการที่ตัวเองแต่งตั้งได้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังต้องสามารถสร้างดุลทางอำนาจกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งก็แย่งกันในการเข้ามาอิทธิพลเหนือรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อให้อำนาจของประธานาธิบดีมีความศักดิ์สิทธิ์ในสายตาของคนอเมริกันดังเช่นโอบามาได้ใช้สิทธิยับยั้งกฏหมายเกี่ยวกับท่อส่งน้ำมันคีย์สโตน เอ็กซ์แอลถึงแม้ว่ากลุ่มผลประโยชน์ทางพลังงานจะทำการวิ่งเต้นอย่างมากจนกฎหมายผ่านทั้ง 2 สภาก็ตาม  การกระทำของโอบามาเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

นอกจากนี้ประธานาธิบดี (โดยเฉพาะจากพรรคเดโมแครต) มักจะสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อมวลชนทั่วประเทศ อาจจะทำให้รัฐบาลท้องถิ่นคือมลรัฐต้องพึ่งพิงงบประมาณของรัฐบาลกลางมาก ดังนั้นประธานาธิบดีจึงสามารถมีอิทธิพลเข้าครอบงำผู้ว่าการรัฐได้แก่  แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ซึ่งออกนโยบาย นิวดีลในช่วงปี 1933-1938 เพื่อฟื้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งพบกับความหายนะจากวิกฤตเศรษฐกิจนั้น นอกจากจะทำให้สหรัฐฯ จะมีเศรษฐกิจดีขึ้นจากการสร้างโครงการจำนวนมากเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนและการเพิ่มจำนวนงานแก่คนอเมริกันของรัฐบาลกลางแล้ว ยังทำให้รูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศ จนมีคนมองว่าเขาเป็นเผด็จการและยังเป็นเรื่องน่าสนใจว่าหากเขาไม่ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อนขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 4 ในปี 1945 เขาจะสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้อีกกี่สมัย (วาระของประธานาธิบดีถูกจำกัดเหลือเพียง 2 สมัยตั้งแต่ปี 1951)

สุดท้ายประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถสร้างอำนาจให้กับตนผ่านสงครามในฐานะเป็นจอมทัพ   ตามมติเกี่ยวกับอำนาจในเรื่องสงคราม (War Powers Resolution) ในปี 1973 ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสามารถสั่งกองทัพให้มีปฏิบัติการทางทหารได้ภายใน 60 วันก่อนที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อการทำสงคราม (และยังขยายต่อได้อีก 30 วันหากจำเป็น)  ดังนั้นประธานาธิบดีทุกคนจึงพยายามหาช่องทางในการหาสาเหตุอันเหมาะสมเพื่อสร้างอำนาจและชื่อเสียงไม่ว่าในระดับประเทศหรือระดับโลกให้กับตัวเองเช่นการปฏิบัติการทางทหารอย่างมีขีดจำกัดในพื้นที่ต่างๆ เช่นบิล คลินตันสั่งกองทัพสหรัฐฯ ร่วมกับองค์การนาโตในการโจมตียูโกสลาเวียในปี 1999 (บ้างก็ว่าเพื่อกลบเกลื่อนเรื่องอื้อฉาวทางเพศระหว่างเขากับเด็กฝึกงานที่ทำเนียบขาว)  หรือยิ่งไปกว่านั้นการที่รัฐสภาประกาศสงครามไม่ว่าจะเป็นทางการหรืออยู่ในชื่ออื่นจากกรณีพิเศษเช่นการพบกับภัยคุกคามต่อประเทศจะเป็นการอนุมัติให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเหนือระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามไม่ว่าบรรดานายพลหรือข้าราชการในกระทรวงกลาโหมมากกว่าเดิม เช่นประธานาธิบดีมีอำนาจในการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการทำสงครามโดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาก่อน   นอกจากนี้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงการทำสงครามหรือไม่ก็ตาม ประธานาธิบดีสามารถรับมือกับนายพลในกองทัพได้โดยการสร้างชุดที่ปรึกษาด้านความมั่นคงที่เป็นพลเรือนแต่มีความรู้ความสามารถในด้านการทำสงครามหรือการแก้ไขวิกฤตที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศ ตัวอย่างเช่นคณะกรรมาธิการของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ EXCOMM ของจอห์น เอฟ เคนนาดีซึ่งช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์คิวบาในปี 1962 แต่เป็นเรื่องทีประธานาธิบดีต้องตระหนักให้ดีว่าเขาจะต้องคงความเป็นผู้นำของกลุ่มเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้สงครามยังทำให้ประธานาธิบดีสร้างชื่อเสียงและบารมีจนสามารถข่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สื่อมวลชนหรือประชาชนจนต้องคล้อยตามนโยบายของประธานาธิบดี ดังเช่นเมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดเมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2001 ทำให้รัฐสภาอนุมัติให้บุชมีอำนาจจากการเห็นชอบแก่ปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลในอัฟกานิสถานซึ่งเป็นที่ซ่อนตัวของบิน ลาเดนผู้ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในครั้งนี้ อนึ่งบุชยังใช้โอกาสนี้ในการผลักดันรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิหรือ PATRIOT Act ในการสร้างอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายเช่น การดักฟังโทรศัพท์ การเข้าถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นอีเมล์ เว็บไซต์ต่างๆ  ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลซึ่งจะเพิ่มอำนาจทางฝ่ายบริหารเหนือสังคมอเมริกันอีก  รวมไปถึงการก่อตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ในปี 2002 เพื่อตอบรับภัยที่จะเกิดในประเทศไม่ว่าจากการก่อการร้ายหรือภัยจากธรรมชาติอันเป็นการเพิ่มตำแหน่งของข้าราชการกว่าสองแสนตำแหน่งซึ่งก็เป็นการเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีอีกต่อหนึ่ง

สำหรับการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ ในปี 2003  (โปรดสังเกตว่าผู้เขียนไม่ได้ใช้คำว่าสงคราม เพราะรัฐสภาไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการกับประเทศใดเลยนับตั้งแต่ปี 1942)  ซึ่งก็มีข้อกล่าวหาต่อรัฐบาลอเมริกันมากมายและหนึ่งในนั้นของฝ่ายซ้ายที่น่าเชื่อถือก็คือการเข้าไปครอบครองแหล่งผลิตน้ำมันและแรงผลักดันจากอุดมการณ์นวอนุรักษ์นิยมในการส่งออกประชาธิปไตย (ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากวงการอุตสาหกรรมอาวุธ) แต่สาเหตุอื่นที่จะกล่าวในที่นี้ก็คือความพยายามของบุชในการเป็นประธานาธิบดีที่เก่งกาจในสายตาของคนอเมริกันและชาวโลกเพราะทำให้สหรัฐฯ มีอำนาจมากและสามารถจัดระเบียบโลกใหม่ผ่านวาทกรรมสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) ได้ยิ่งใหญ่กว่าบุชผู้พ่อเมื่อบัญชาการให้สหรัฐฯ บุกรุกอิรักครั้งแรกในปี 1991  แต่ผลที่ได้กลับล้มเหลวอันกลายเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งนอกไปจากการก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008  บุชจึงกลายเป็นประธานาธิบดีที่มีคะแนนความนิยมที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่งภายหลังการสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2009

ตัวอย่างล่าสุดได้แก่โอบามาซึ่งมีโนบายการต่างประเทศและการทหารค่อนข้างสับสน แม้ว่าในช่วงต้นของตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะพยายามทำสัญญาที่เคยให้ไว้คือการสิ้นสุดสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักรวมไปถึงสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในสมัยรัฐบาลบุชซึ่งไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชน แต่ด้วยความต้องการของโอบามาในการสร้างผลงานเพื่อเรียกคะแนนความนิยมอันเป็นการตอบรับกับเหตุการณ์ต่างประเทศไม่ว่าสงครามกลางเมืองและความวุ่นวายในอิรักและลิเบีย ซีเรียอันเป็นผลให้เกิดกลุ่มผู้ก่อการร้ายไอเอส (ซึ่งเราก็ไม่สามารถปฏิเสธแรงกดดันจากกลุ่มอื่นเช่นขีดจำกัดดังที่กล่าวไว้ข้างบนไม่ว่าอิทธิพลจากที่ปรึกษาความมั่นคง กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ) ทำให้โอบามาต้องดำเนินนโยบายสงครามต่อไปดังเช่นเรียกว่าสงครามต่อต้านการก่อการร้ายภาค 2.0 (War on Terror 2.0)  เช่นโอบามาส่งกองกำลังจำนวนหลายหมื่นคนเข้าไปในอัฟกานิสถานในปี 2009 นอกจากนี้เขายังอนุมัติให้เครื่องบินไร้คนขับโจมตีผู้ก่อการร้ายในปากีสถานอันยังผลให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบันและในปี 2015 นี้   โอบามายังได้เรียกร้องให้รัฐสภาอนุมัติอำนาจพิเศษให้กับเขาในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายไอเอสเป็นเวลา 3 ปี

และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้นโยบายทั้งการต่างประเทศและการทหารสำเร็จอันนำไปสู่อำนาจ ประธานาธิบดีจึงจำต้องข้ามเส้นแห่งความผิดชอบชั่วดีไปสู่การอนุมัติให้รัฐบาลมีปฏิบัติการลับ (covert operation) ในต่างประเทศอันจะเป็นการปลดเปลื้องตัวประธานาธิบดีออกจากขีดจำกัดทุกอย่างรอบตัวไม่ว่าหลักทางจริยธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนซึ่งสหรัฐฯมักใช้เป็นการกดดันประเทศอื่น  รัฐสภาและฝ่ายค้าน สื่อมวลชน รวมไปถึงคนอเมริกันซึ่งต่อต้านตน ปฏิบัติการเช่นนี้เป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมกระทำนับตั้งแต่ปฏิบัติการณ์ลับของทั้งไอเซนฮาวร์และเคนนาดีในการนำเอาชาวคิวบาพลัดถิ่นมาฝึกเพื่อโค่นล้มฟีเดลคาสโตรในปี 1961 ดังที่เรียกว่า Bay of pigs ปฏิบัติการณ์ที่อนุมัติโดยริชาร์ด นิกสันอันมีชื่อว่าปฏิบัติการเมนู (Operation Menu) และปฏิบัติการณ์ฟรีดอม ดีล (Freedom deal) ในการทิ้งระเบิดเหนือลาวและกัมพูชา ระหว่างปี 1969-1973 ซึ่งเป็นปฏิบัติการลับที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพราะลาวและกัมพูชาไม่ได้เป็นคู่กรณีเหมือนกับเวียดนามเหนือ ปฏิบัติการณ์นี้ยังขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญเพราะรัฐสภาไม่ได้รับรู้ก่อน หรือแม้แต่คุกลับที่ดำเนินการโดยซีไอเอในการทรมาณนักโทษเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายในช่วงรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุช แม้ปฏิบัติการณ์เหล่านั้นโดยมากจะมีการตัดความรับผิดชอบทางกฎหมายไม่ให้ถึงตัวประธานาธิบดี แต่การเปิดเผยของสื่อมวลชนในภายหลังได้ทำให้คนอเมริกันและชาวโลกเสื่อมความศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมไปถึงตัวสหรัฐฯ เองอย่างมาก

สั้นดีกว่ายาว

สั้นดีกว่ายาว


คาถาวิเศษ “ลงเรือแป๊ะต้องตาม ใจแป๊ะ” ยังขลังจริงๆไม่อิงนิยาย
ถ้าไม่ขลังจริงๆที่ประชุม สนช.คงไม่ทะลุ่มทะลุยโหวตเห็นชอบให้ขยายเวลาบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.ออกไปอีก 90 วัน
จนส่งผลให้โรดแม็ป คสช.ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ต้องเลื่อนปุบปับออกไปอีก 3 เดือน
“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่า การยืดเลือกตั้งออกไปอีก 90 วัน ก็ไม่ถึงกับล่าช้าอะไรมากมาย
แต่ประเด็นสำคัญ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและ หน.คสช. ท่านไปป่าวประกาศโรดแม็ปกับนานาชาติว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้แน่นอน
การเลื่อนโรดแม็ปไปอีก 90 วัน ทำให้สิ่งที่ผู้นำรัฐบาลไทยประกาศไว้ไม่เกิดขึ้นจริงอย่างที่ฉายหนังโฆษณา
การเลื่อนเลือกตั้งไป 90 วัน จะคุ้มค่าเสียหายหรือเปล่าเท่านั้นเอง??
ส่วนกรณีรัฐบาลอเมริกัน และสหภาพยุโรป กระชุ่นเตือนรัฐบาลไทยให้เร่งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามโรดแม็ปที่ประกาศไว้โดยเร็ว
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าการที่อเมริกาและกลุ่มอียู ออกมาเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ตามกรอบโรดแม็ปที่ประกาศไว้เดิม
ไม่ใช่เรื่องต้องวิตกตื่นเต้นอะไรมากมาย
เพราะการขยับเลือกตั้งออกไป 90 วัน ยังไม่เข้าง่ามที่นานาชาติจะกล่าวหารัฐบาล คสช.เจตนาบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา
เนื่องจากอ้างได้ว่าเป็นเรื่องที่ สนช. ดำเนินการฝ่ายเดียว
รัฐบาลไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง
ไม่มีใบเสร็จยืนยันว่ามีใบสั่งจาก คสช.ให้ยืดเลือกตั้งออกไป
ถือเป็นข้ออ้างที่ฟังขึ้นนะโยม
“แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่าการเลื่อนโรดแม็ปไปอีก 3 เดือน จะเป็นการเลื่อนครั้งสุดท้ายซะที
(แม้ยังมีช่องทางให้เลื่อนเลือกตั้งได้อีกก็ตาม)
ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายเนติบริกร สรุปว่าขั้นตอนต่อไปหลังจาก สนช.ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. เริ่มจากประธาน สนช.จะส่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปให้ กรธ.ของ อจ.มีชัย ฤชุพันธุ์ และ กกต.ของ อจ.สมชัย ศรีสุทธิยากร พิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่อีก 30 วัน
ถ้า กรธ. และ กกต.เห็นว่าการยืดเวลาบังคับใช้เพิ่มอีก 90 วัน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรีก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯประกาศใช้ภายใน 90 วัน
และต้องแช่ไว้อีก 90 วัน จึงมีผลบังคับใช้ตามกติกา
จากนั้นต้องบวกเพิ่มอีก 150 วัน เพื่อเตรียมจัดเลือกตั้งใหม่เป็นอันจบขั้นตอน
พูดง่ายๆคือ บวก 30 วัน และบวกอีก 90 วัน และบวกอีก 90 วัน รวมเป็น 210 วัน
จากนั้นต้องบวกอีก 150 วัน รวมเบ็ดเสร็จเป็น 360 วัน
ดังนั้น การเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า หรืออีก 1 ปีจากนี้ไป
ยกเว้น...ถ้า กรธ. หรือ กกต.เห็นว่าการยืดเวลาบังคับใช้ออกไป 90 วันเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
เรื่องสั้นก็จะกลายเป็นเรื่องยาว
และอาจจะยาวไปอีกหลายเดือน
แค่นี้ก็ยาวมากแล้ว อย่าให้ยาวกว่านี้เลยพ่อคุณ.
"แม่ลูกจันทร์"

ผ่าเหลี่ยมกฎหมายดึงจังหวะ “ขยับ” โรดแม็ปเลือกตั้ง : หน่วงเวลา หวังผลชัวร์

ผ่าเหลี่ยมกฎหมายดึงจังหวะ “ขยับ” โรดแม็ปเลือกตั้ง : หน่วงเวลา หวังผลชัวร์


อากาศแปรปรวนทั่วโลก กรุงเทพฯต้องเจอกับภาวะขมุกขมัว

เหมือนหมอกควันปกคลุมตลอด 2–3 วัน

ผลจากปรากฏการณ์สภาพอากาศนิ่ง และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก แนวโน้มเกินมาตรฐาน ถึงขั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ทำให้คุณภาพอากาศใน กทม.ที่แย่อยู่แล้ว ยิ่งเลวร้ายไปกันใหญ่
ในขณะที่บรรยากาศทางการเมืองก็ตกอยู่ในภาวะฝุ่นควันตลบอบอวล กับปรากฏการณ์ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่มีการปรับแก้มาตรา 2 จากร่างเดิมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้บังคับใช้หลังพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

นั่นหมายถึงเงื่อนไขที่ส่งผลให้โรดแม็ปเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป

จากเดิมที่ “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. ยืนยันระหว่างการเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา จะประกาศกำหนดวันเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน 2561 และทำการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน ปลายปีเดียวกัน

มันจึงต้องนับปฏิทินเวลาเพิ่มไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ

เบื้องต้นเลย ฟังจากเหตุผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการ สนช.ที่ยืนยันการเลื่อนเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 รวมถึงให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และให้พรรคการเมืองมีเวลามากพอ ในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเบื้องต้น หรือไพรมารีโหวต

จัดให้ตามที่นักการเมืองเรียกร้อง กลัวจะเตรียมตัวเลือกตั้งไม่ทัน

ขณะเดียวกัน ก็มีการแจกแจงโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ที่อธิบายบนเวทีตอบข้อซักถามสื่อมวลชนในงานสื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า ที่ทำเนียบรัฐบาล

โดยยืนยันถึงแม้จะเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไป 90 วัน ก็จะไม่ได้ไปกระทบกับวันเลือกตั้งยาวนานมากนัก

คงอยู่ในระหว่าง 1 เดือนหรือเดือนเศษเท่านั้น

ถ้าไม่มีเหตุพลิกผัน ภายในเดือนมิถุนายน คสช.ก็จะเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคการเมือง กกต. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มาประชุมเพื่อหารือกำหนดโรดแม็ปเลือกตั้งซึ่งจะเป็นโรดแม็ปสุดท้ายของประเทศ และเป็นโรดแม็ปที่ชัดเจนที่สุดว่า พร้อมจะเลือกตั้งเมื่อใด

พร้อมประกาศวันเลือกตั้งให้คนไทยรู้ทั้งประเทศ

ว่ากันตามนี้ มันก็แค่เทคนิคทางกฎหมาย การผ่อนคลายเงื่อนบังคับตามความจำเป็น
ไม่ใช่เรื่องของเหลี่ยมจงใจดึงเกมชัดเจนสักเท่าไหร่

เหนืออื่นใด ก็ยังมีปมเงื่อนเวลาที่ไม่มีใครกำหนดได้ สถานการณ์ที่นายวิษณุได้สั่งการให้กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้พร้อม

กระบวนการเปลี่ยนผ่านแผ่นดินยังไม่แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ ทำให้การเลือกตั้งยังลงวันเวลาไม่ได้
ตามปัจจัยสถานการณ์นอกเหนือการเมือง

เรื่องของเรื่อง มันก็มีแค่นักการเมือง นักวิชาการ ขบวนการต้านรัฐบาล คสช.เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่ส่งเสียงโหวกเหวกโวยวาย อาละวาดฟาดหาง

ตั้งป้อมขวางยุทธการ “สมคบคิด” ยื้อเลือกตั้ง

ดักทาง “นายกฯลุงตู่” และขุมอำนาจ คสช.ส่อเบี้ยวสัญญาประชาคมที่ประกาศไว้

แต่สังเกตว่า ภาคธุรกิจยังนิ่ง นักลงทุนไม่ได้สะดุ้งสะเทือนอะไรกับการเลื่อนเลือกตั้งออกไปตามเงื่อนไขการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.

เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภาพรวมกำลังติดลมบน

ส่วนปฏิกิริยาจากต่างประเทศ ท่าทีสหรัฐอเมริกา และชาติในสหภาพยุโรป ก็มีการเทกแอ็กชั่นตามฟอร์มในการเรียกร้องให้ประเทศไทยกลับสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยโดยไว

แต่ก็ยังมีสร้อยทิ้งท้าย เร็วสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เปิดช่องไว้ให้หายใจ ไม่ได้บีบบังคับกันหน้าดำหน้าเขียว ตามอารมณ์พี่เบิ้ม สหรัฐฯ ชาติตะวันตก ก็เข้าใจบริบทประชาธิปไตยไทยนิยมมากกว่าที่ผ่านมา

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการประคองผลประโยชน์เกมการเมืองโลกมากกว่า

ส่วนประชาชน ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปก็ไม่ได้หืออือกับการยื้อเลือกตั้ง ฟังจากเสียงคนส่วนใหญ่ยังชอบที่บ้านเมืองสงบภายใต้การบริหารของรัฐบาล คสช. ไม่มีม็อบมาป่วนเมือง ทำมาหากินได้ตามปกติ

ที่สำคัญกำลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการอัดฉีด

“แก้จน” ของรัฐบาล
ตามปรากฏการณ์ใส่เกียร์ห้า เดินหน้าเต็มสูบ ล่าสุดที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน

เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่ตามแนวทางประชารัฐ

โดยนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานกรรมการ รองนายกฯทั้งหมดเป็นรองประธาน คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ทั้งหมด 61 คน

และยังมีการแยกย่อยเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัด อำเภอ ไปจนถึงทีมขับเคลื่อนการพัฒนา
ประเทศไทยตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนระดับตำบล ที่ให้นายอำเภอทุกอำเภอแต่งตั้งทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน จำนวน 7–12 คน

โดยมีองค์ประกอบคือ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานด้านความมั่นคง ปราชญ์ชาวบ้าน จิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เป็นชุดปฏิบัติงานในพื้นที่ในการแก้ปัญหาในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงในพื้นที่หมู่บ้าน เป็นชุดปฏิบัติงานในพื้นที่ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ปูพรม “ไทยนิยม” ทั่วทุกตารางนิ้วประเทศไทย

เป็นจังหวะต่อเนื่องกับยุทธการ “คิกออฟ” แก้จน ที่ พล.อ.ประยุทธ์และกัปตันทีมเศรษฐกิจอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ เร่งเครื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ตามโปรแกรมที่ “ลุงตู่” และทีมงานเดินสายตรวจราชการต่างจังหวัดถี่ยิบ แจกเงิน แจกที่ดินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ฝึกทักษะอาชีพระยะยาว

ตั้งเป้าให้ประเทศไทยพ้นขีดเส้นความยากจนให้ได้ในปี 2561

แสดงถึงยุทธศาสตร์ “แก้จน” อย่างเป็นระบบ

ขณะเดียวกันก็แทรกคิวแฝงในการล้างระบบหัวคะแนนของนักการเมือง เคลียร์อิทธิพลของนักเลือกตั้งอาชีพ ลดแรงเสียดทานของกองเชียร์เสื้อสีต่างๆ

ในบทที่ “รัฏฐาธิปัตย์” อย่าง “ลุงตู่” ทำได้เนียนกว่านักการเมืองด้วยซ้ำ

และจุดนี้เอง น่าจะเป็นจุดแปรผัน ทำให้กระแสยื้อเลือกตั้งไม่ได้ทำประชาชนส่วนใหญ่แตกตื่นอะไร

เพราะถึงตรงนี้ เดินตาม “ลุงตู่” ก็ยังชัวร์กว่าไปลุ้นสถานการณ์หลังเลือกตั้ง ที่ยังไม่รู้จะถอยหลังลงเหวอีกหรือไม่ ในเมื่อหัวเชื้อความขัดแย้งยังแฝงอยู่เต็มไปหมด

ทั้งหมดทั้งปวง ผู้นำอำนาจพิเศษไม่ได้ทำตัวเหมือนเผด็จการรุ่นพี่ในอดีต

ตรงกันข้าม มีการทำการบ้านเป็นอย่างดีมาตลอดหลายปี เพราะมีบทเรียนมาแล้วตั้งแต่วิกฤติปี 2549
ตามปรากฏการณ์ปล่อยเลือกตั้งเร็ว โดยที่ไม่ได้มีการเตรียมแผนรองรับ ก็จะได้ผลลัพธ์แบบยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ ที่เปิดไฟเขียวให้ลงสนามแค่ผ่านปีแรกของรัฐบาล ก็เป็นพรรคพลังประชาชนชนะถล่มทลาย ได้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี

หรือถัดมาก็เป็นยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่โชว์แมนทิ้งเก้าอี้นายกฯก่อนกำหนดเวลา แล้วก็ต้องแพ้ยับเยินให้พรรคเพื่อไทย ได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีประสบการณ์ลงสนามการเมืองแค่ 49 วัน

นี่คือปัญหายาก โจทย์หินของฝ่าย คสช. ฆ่ากระแส “ทักษิณ” ไม่ตายง่ายๆ

ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ การได้ “หน่วง” เวลาออกไป ในจังหวะที่ “ลุงตู่” ก็เดินหน้าตุนแต้ม “รีเทิร์น” อีกรอบ

มันก็ทำให้ผลชัวร์กว่ารีบปล่อยเลือกตั้งแน่นอน.

“ทีมการเมือง”

ผู้เล่นก็ไม่พร้อมลงสนาม

ผู้เล่นก็ไม่พร้อมลงสนาม


อภินิหารทางกฎหมายเสร็จสิ้นไปอีกด่าน

ตามคิวที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 213 เสียง

เสียง สนช.มาแบบท่วมท้น ไม่มีแตกแถว ไฟเขียวขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมายลูกดังกล่าวออกไป 90 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ยืดเวลาแบบพอหอมปากหอมคอ ไม่บ้าจี้ยื้อยาวไปถึง 120 วัน ให้ถูกด่าหนักขึ้น

และล่าสุดส่อเค้าเป็นลูกติดพัน ขยายผลมาถึง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ให้ขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมายออกไปเช่นกัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส.

แท็กทีมกรุยทางช่วย “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ต่อวีซ่าอำนาจไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน

ตรงกับที่ “กูรูกฎหมาย” นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แย้มโปรแกรมหย่อนบัตรเลือกตั้งรอบใหม่ อาจถูกขยับออกไปเป็นช่วงประมาณเดือน ก.พ.2562

หลังจากที่ต้องคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องโรดแม็ปเลือกตั้งอยู่เรื่อยๆในทิศทางที่ คสช.ต้องคลายล็อกทีละขั้น ค่อยๆเปิดหน้าไพ่ทีละใบ เพราะไม่รู้จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นอีกข้างหน้า

นั่นหมายถึงโรดแม็ปใหม่ เลือกตั้งต้นปีหน้าก็ยังไม่ชัวร์จะใช่คำตอบสุดท้ายหรือไม่ ต้องลุ้นกันต่อไปตามสไตล์ประชาธิปไตยแบบไทยนิยม

จะมีตัวแปรอื่น อาทิ สนช.คว่ำกฎหมายลูก การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมาย หรือเงื่อนไขพิเศษที่เหนือความคาดหมาย เขยื้อนตารางเลือกตั้งออกไปอีกหรือไม่

โรดแม็ปคืนประชาธิปไตยยังวุ่นวาย อีนุงตุงนัง ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันสร้างความมั่นใจ ฤกษ์เลือกตั้งของจริงจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ภาพลักษณ์ด้านความเชื่อมั่นของผู้นำ คสช.ถดถอย ถูกครหาด้านความน่าเชื่อถือ

แรงปะทะรอบด้านพุ่งใส่ “บิ๊กตู่” หลังคิวเลือกตั้งไม่มาตามนัด เบี้ยวสัญญาที่รับปากไว้

ตามปฏิกิริยาภายนอกประเทศอย่างคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และโฆษกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่กำลังจับตาจุดยืนเรื่องการเลือกตั้งของไทย

แสดงท่าทีอยากให้ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งภายในเดือน พ.ย.2561 ตามกำหนดเดิม เพื่อกลับสู่เวทีประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด

เวทีโลกหันมาทวงสัญญาโรดแม็ปกดดันประเทศไทยอีกครั้ง บีบผู้นำ คสช.ให้ทำงานยากขึ้น

ยังไม่นับรวมแรงเสียดทานในประเทศ ที่พรรคการเมืองใช้จังหวะผสมโรงเขย่ารัฐบาล โจมตีปฏิบัติการ “สมคบคิด” แบ่งบทกันเล่น โดยอาศัยเหลี่ยมกฎหมายยื้อเวลาเพื่อสืบทอดอำนาจ

แต่ในทางตรงข้าม นักเลือกตั้งเองก็แอบโล่งใจไม่น้อยที่ได้อานิสงส์ยื้อเวลาบังคับใช้กฎหมาย 90 วัน
ช่วยให้มีเวลาสำรวจตรวจสอบสถานะสมาชิกพรรค การเลือกเฟ้นผู้สมัครระบบไพรมารีโหวตตามกติกาใหม่อย่างรอบคอบ ไม่ต้องฉุกละหุก รีบแต่งตัวขึ้นสังเวียนโดยที่ยังไม่พร้อม

ที่เห็นออกแอ็กชั่นโหวกเหวกโวยวาย แค่ตีกิน สร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง ดิสเครดิตฝั่งตรงข้าม

อย่างที่เห็นๆ 2 พรรคใหญ่ “เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์” ก็ยังมีร่องรอยความไม่ลงตัวภายในพรรค

ในส่วนพรรคเพื่อไทยยังต้องระทึกชนักปักหลัง มีคดีจ่อขึ้นเขียงมากมาย อาทิ คดีจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

คดีเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยมิชอบ

ยังจัดทัพไม่ได้ เพราะทั้งระดับหัวแถว ผู้เล่นแถวสอง แถวสาม ต่างติดร่างแหอยู่ในขั้นตอนพิจารณาคดีของ ป.ป.ช.

ขณะที่ยี่ห้อประชาธิปัตย์ติดปัญหาปลาสองน้ำ มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนผู้นำ คสช. แย่งชิงการนำในพรรคกันฝุ่นตลบ

ฝั่งก๊วน กปปส. “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ และทีมงาน มีคดีกบฏและก่อการร้ายติดตัว ต้องลุ้นใจหายใจคว่ำจะรอดวิบากกรรมหรือไม่

ผู้เล่นของฝ่ายการเมืองมีแผลติดตัวกันถ้วนหน้า เจอรุกไล่ล้างกระดาน ในยามที่ คสช.คอนโทรลกลไกอำนาจรัฐและกติกาได้เบ็ดเสร็จ เป็นผู้กุมอำนาจตัวจริง

ถึงเวลาสนามเลือกตั้งเปิดยังไม่รู้จะเหลือรอดมากี่คน!!!

ทีมข่าวการเมือง

ตท.12คนแรกที่เป็นหน.รัฐประหารควบนายกฯ

เตรียมทหาร 12...."บิ๊กตู่ Young Fellow" นายกฯจาก เตรียมทหาร คนแรก ที่ เป็น หัวหน้ารัฐประหาร ควบนายกฯ

"บิ๊กตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เตรียมทหาร 12 จปร.23  ถือเป็น ศิษย์เก่า เตรียมทหารคนแรก ที่เป็น นายกฯ ที่เป็นหัวหน้ารัฐประหาร (คสช.) และเป็นนายกฯ จากรัฐประหาร ที่อยู่ในตำแหน่ง นานกว่า3 ปี

และเป็นนายกฯ คนที่2 ที่เป็นนายกฯจากการรัฐประหาร โดยคนแรก คือ บิ๊กแอ้ด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ตท.1 หลัง พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ตท.6 ที่นำรัฐประหาร ที่ถิอเป็น หัวหน้ารัฐประหาร ที่เป็น เตรียมทหารคนแรก

และเป็นนายกฯคนที่ 3 ที่เป็นศิษย์เกาา เตรียมทหาร...คนแรก คือ อดีต พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เตรียมทหาร10 และเป็นนายกฯเตรียมทหารคนแรก ที่มาจากการเลือกตั้ง 

โดยในขณะเรียน เตรียมทหาร และ จปร. พลเอกประยุทธ์ จะอยู่ในกลุ่มเพื่อน ที่เรียกตัวเองว่า Young Fellow

รร.เตรียมทหาร ก่อตั้งในปี 2501 เริ่มนับเป็น รุ่น1

ปล่ากดดันโพลนิด้า

"บิ๊กตู่" ชักฉุน ถูกซัก คสช.กดดัน นิด้าโพลล์ ใครจะว่าอะไรก็ว่า ไปเถอะ  บ้านเมืองจะได้ไม่สงบดีไง ยัน ไม่ได้กดดัน ไม่ได้บังคับ นิด้าโพลล์  นาฬิกา"บิ๊กป้อม"

"นายกฯบิ๊กตู่" ปฏิเสธข่าว คสช.แทรกแซง กดดัน นิด้าโพลล์ เรื่องผลสำรวจความเห็นประชาชน ต่อกรณี นาฬิกา"บิ๊กป้อม" จน ผอ.นิด้าลาออก ว่า ไม่มีใครไปยุ่งอะไร ผมอ่านจากโซเชี่ยลฯ แล้ว ไม่มีใครไปบังคับเขานี่นา  ส่วนคสช.ได้ส่งสัญญาณอะไรไปหรือไม่ นั้น ก็ใครจะว่าอะไรก็ว่า ไปเถอะ  พวกคุณก็ไปขยายความให้ เขาไปเรื่อยๆไปแล้วกัน บ้านเมืองจะได้ไม่สงบดีไง

ไม่เคยสัญญา

"ผม ไม่เคยสัญญา"
ไม่รู้ ภารกิจ คสช.จบ กพ.62 มีเลือกตั้งหรือไม่
เลือกเอาว่า ท่านจะเอาผม หรือจะอยากกลับไป ที่เดิม

"นายกฯบิ๊กตู่"ยังไม่ยืนยันว่า ครั้งนี้ จะเลื่อนเลือกตั้ง ครั้งสุดท้าย หริอไม่ ชี้คสช ไม่ได้เป็นคนเลื่อน ดังนั้น ไม่มีเลื่อนก่อนเลื่อนหลัง หริอเลื่อนครั้งสุดท้าย ชี้ สนช.เลื่อน ไม่เกี่ยวกับสร้างสถานการณ์ให้เลื่อน ยันยึดตามโรดแมพ ชี้เรื่องกม. จะไปบังคับเขาได้หรือ เขายังไม่จบขั้นตอนของเขา  บอกไม่รู้ ภารกิจคสช.จบ กพ.62 มีเลือกตั้งหรือไม่

ถามว่าภารกิจของ คสช. จะจบเมื่อใดนั้น ก็ต้องจบตามโรดแมพ  ตามกำหนดเวลา ส่วนจะจบภายในกพ.62 ที่จะมีเลือกตั้งหรือไม่ นั้น ไม่รู้ๆ  กฏหมายเขาว่ายังไงล่ะ เห็นว่าจะมีใครยื่นฟ้องศาลให้ตีความอีกไม่ใช่เหรอ ไม่รู้ ผมไม่เคยยืด

เมื่อถามว่า ท่านได้สัญญาไว้แล้ว นั้น นายกฯถาม กลับมา แล้วทีนักการเมือง เค้าเลื่อนล่ะ คุณไม่เห็นพูด

"ผมไม่ได้ไปสัญญาอะไร ผมบอกว่าผมจะทำหน้าที่ตรงนี้ ตามโรดแมพ  ไม่มีเปลี่ยนแปลง"

"เลือกเอาว่า ท่านจะเอาผม จะทำตามโรดแมพ หรือจะอยากกลับไป ที่เดิม เลือกเอา"