PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำสั่งคณะกรรมการ กปปส.ฉบับที่ 1 /2556 ..

เรื่องให้นายกรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการภายใน 24 ชั่วโมง 

ตามที่คณะกรรมการ กปปส.ได้เรียกคืนอำนาจการปกครองแผ่นดินจากกลุ่มการเมืองดังกล่าวคืนสู่ประชาชนและได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันแล้วนั้น คณะกรรมการกปปส.ขอให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

1.ขอให้นายกรัฐมนตรีและครม.ไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการและไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นรักษาการ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป


2.ขอให้มวลมหาประชาชนได้อยู่ร่วมแสดงพลังกับปฏิบัติการประชาภิวัฒน์ครั้งนี้ต่อไปอีก 3วันเพื่อให้ปฏิบัติการอื่นๆลุล่วงไปได้ด้วยดี

ขอชี้แจงเพิ่มเติมให้เข้าใจว่าที่ต้องออกคำสั่งนี้เพื่ออะไร เมื่อกปปส.ประกาศในนามมวลมหาประชาชนเรียกคืนอำนาจการปกครองแผ่นดินจากกลุ่มการเมือง ปรากฎว่ารัฐบาลนี้ยังแข็งขืน ยื้ออำนาจเราจึงประกาศเป็นคำสั่ง ให้นายกรัฐมนตรีและครม.ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่รักษาการอีกต่อไป และไม่ต้องแต่งตั้งบุคคลอื่นๆมารักษาการ

ทั้งนี้รัฐบาลต้องปฏิบัติให้เสร็จเรียบร้อยตามคำสั่งภายใน 24 ชั่วโมงนี้ เนื่องจากอำนาจของเราเป็นอำนาจของปวงชนชาวไทยจึงขอให้พี่น้องอยู่ร่วมกันอีก 3 วัน เพื่อให้ปฎิบัติการประชาภิวัฒน์ลุล่วงไปได้ด้วยดี และถ้ามีปัญหาขัดข้องในทางปฏิบัติ เช่น รัฐบาลไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง

พิทยา ว่องกุล:อำนาจสูงสุดประชาชน

อำนาจสูงสุดประชาชน
บทความพิเศษ
พิทยา ว่องกุล

โดยธรรมชาติ ความเป็นสังคมมนุษย์และการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ต้องตั้งอยู่บนกฎ ระเบียบ กฎหมาย และคุณธรรมของสมาชิก นับตั้งแต่กษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร ขุนนาง รัฐบาล หัวหน้าเผ่า ข้าราชการ ลงมาถึงประชาชน ซึ่งต้องมีบทบาทและหน้าที่ต่อกันตามลักษณะของสังคมนั้นๆ หรือยุคสมัย แม้แต่ในเรื่องอำนาจรัฐที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับปกครองสังคมขนาดใหญ่และสลับซับซ้อน
ก็ต้องมีกฎหมายและบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองตามลำดับชั้นลดหลั่นลงมา

law and Rule (กฎหมายและการปกครอง) เป็นวิถีการปกครองที่สังคมตะวันตกยึดถือ ขณะที่สังคมประเทศตะวันออกยึดหลักธรรมะ หรือที่เรียกว่าการปกครองโดยธรรม ดังจะพบว่า อินเดีย และประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ สืบทอดหลักการปกครองโดยธรรม ซึ่งพระมหากษัตริย์ในอดีตทรงใช้ทศพิธราชธรรมเป็นหลักยึด เพื่อบริหารจัดการให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสันติ

อย่างไรก็ตาม หากศึกษาถึงต้นกำเนิดรัฐศาสตร์ตะวันตก จะพบว่าหลักกฎหมายและการปกครองของกรีก โสกราตีส ได้เน้นว่า "...ผู้ปกครองที่ยุติธรรม ไม่แสวงหาผลประโยชน์เฉพาะตัว หากแสวงผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยที่รู้อยู่ว่า ความสุขสบายของตนไม่อาจแยกจากประชาชนของตนได้..." ศ.เสน่ห์ จามริก (แปล), M .Judd Harmon, ความคิดทางการเมืองจากเปลโต้ถึงปัจจุบัน, สถาบันวิถีทรรศน์, 2554 หน้า 43.

จุดกำเนิดปรัชญาตะวันตก ซึ่งพัฒนามาเป็นระบอบประชาธิปไตยรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ฐานที่มาแห่งรัฐบาลหรือรัฐนั้น เน้นว่า รัฏฐาธิปัตย์ (อำนาจรัฐ) นั้น จักต้องเป็นการใช้อำนาจที่เป็นธรรม

เช่นเดียวกับหลัก "ธรรมราชา" ในอินเดีย หรือตะวันออก หนังสือเล่มสำคัญชื่อ "อุตมรัฐ" ของเพลโต นักปรัชญากรีกเขียนไว้ว่า "รัฐที่ชอบด้วยกฎหมาย จะต้องเป็นรัฐที่มีคุณธรรม" มีความรู้ ซึ่งแสดงออกโดยกฎหมายเป็นพลังนำ ทั้งได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า "ผู้ทรงคุณธรรม ควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้คือคุณธรรม จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างระบบผู้ปกครองที่เป็นธรรม ระบบการศึกษาซึ่งทำหน้าที่ในอุตมรัฐ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง"

ความจริงนี้สอดคล้องกับพระราชปณิธานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ตรัสเป็นสัญญาประชาคมว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" จึงทรงทุ่มเทพระองค์สร้างคุณูปการในหลายด้านเพื่อพัฒนาสังคม เป็นแบบอย่างเพื่อให้รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่า รัฐบาลพลเรือนรวมถึงรัฐบาลทหารหลายยุคสมัย ไม่เข้าใจว่า รัฐมีลักษณะเป็นประชาคม มาจากประชาชนยินยอมพร้อมใจมอบอำนาจให้ปกครอง เรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์ โดยมีรัฐบาลทำหน้าที่แทนประชาชนทั้งหมดผู้เป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง รัฐบาลที่เป็นองค์กรแทนนี้อาจหมายถึง กษัตริย์ คณะบุคคล หรือรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยตามลักษณะความต้องการของแต่ละประเทศ

อริสโตเติล นักปรัชญากรีก เห็นว่า รัฐเป็นประชาคม รัฐจึงต้องมีกฎข้อบังคับ มีกฎหมายเพื่อจัดการกับราษฎรของรัฐ เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นรัฐ และเพื่อความมั่นคง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่ง อำนาจรัฐที่ประชาชนให้ไปนั้น จักต้องไม่ขัดขวาง ทำลาย ประชาชนที่อยู่ร่วมกันด้วยพันธะของประชาคม และเป็นสมาชิกภาพอย่างแน่นแฟ้นยิ่งกว่าด้วยกฎหมาย เหตุนี้ รัฐธรรมนูญจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม "เป็นรัฐธรรมนูญที่ชอบ โดยวินิจฉัยจากมาตรฐานยุติธรรมอันสมบูรณ์"

นักปราชญ์สมัยหลังอธิบายว่า ประชาชนที่มารวมกันเป็นประชาคม มีลักษณะเป็นรัฐ เหตุนี้ความสำคัญของรัฐอยู่ที่ความมั่นคงของประชาคม โดยประชาชนยินยอมสูญเสียสิทธิเสรีภาพบางประการ เพื่อให้อำนาจแก่รัฐในการบริหารปกครอง และรักษาความมั่นคงของประชาคมเอาไว้ ได้แก่ อำนาจอธิปไตยที่เป็นกฎหมาย ข้อบังคับ หรือรัฐธรรมนูญที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของปวงชนหรือประชาคม ไม่ใช่ของใคร บุคคล หรือตัวแทนใดๆ รัฐบาลที่ใช้อำนาจอธิปไตยไปเพื่อประโยชน์ตนหรือพรรคพวก ล้วนกระทำผิดกฎหมายของประชาคม ประชาชนไม่พึงเชื่อฟัง และรวมพลังโค่นรัฐบาลนั้นได้โดยชอบธรรม เพราะรัฐบาลนั้นได้ทรยศต่อความมั่นคงของประชาคม ยกฐานะตนเป็นอภิสิทธิ์ชนที่อยู่เหนือเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็นธรรม

>>ยัง โบแดง (Jean Bodin) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เขียนถึงอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงไว้ดังนี้

"ในประการแรก อำนาจอธิปไตยควรใช้โดยรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย... อำนาจอธิปไตยไม่ได้เพียงแต่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใดที่ใช้อำนาจเท่านั้น ผู้ที่ได้ตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นทรราช ซึ่งไม่
เพียงอาจจะไม่ได้รับการเคารพเชื่อฟังเท่านั้น แต่อาจถูกโค่นหรือแม้แต่สังหารเสียก็ได้... "อ้างแล้ว, หน้า 229"

เหตุนี้ เมื่อประชาคม (ประชาชน) ได้ใช้การเลือกตั้งทั่วประเทศ เป็นอำนาจประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ไปเลือกตัวแทนเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภา เพื่อใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน(Representative Democracy)แล้ว ไม่ว่าสถาบันนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ได้เป็นตัวแทนนั้น จะเป็นของพรรคใดหรือของใคร หน้าที่ของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร จะต้องใช้อำนาจอธิปไตยไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเนื้อแท้ก็คือความยุติธรรมของสังคม เจตนารมณ์ที่ทำเพื่อส่วนรวมของเจ้าของอำนาจ อันได้แก่ความมั่นคงของประชาชนนั่นเอง ทั้งเพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริง มีอำนาจในตัวเองเหนือกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้าหากตัวแทนหรือรัฐบาลใช้กฎหมายไปในทางที่ผิด หรืออกกฎหมายขัดกับเจตนารมณ์ที่ประชาชน รวมตัวเป็นประชาคมที่ต้องการความมั่นคงในการอยู่ร่วมกัน หรือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริง รัฐบาลหรือสภานั้นทรยศต่อประชาชน

โธมัส ฮอบส์ ปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้อธิบายการเกิดขึ้นของรัฏฐาธิปัตย์ เป็นกฎธรรมชาติ มาจากความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างยุติธรรม ในหนังสือ "รัฏฐาธิปัตย์" (Leviathan) บทที่ 10 ไว้ดังนี้

"อารมณ์ซึ่งชวนให้คนใฝ่สันติภาพ ได้แก่ ความกลัวตาย ความต้องการสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอันสะดวกสบาย และความหวังที่จะได้สิ่งเหล่านั้นนั้นมาด้วยความอุตสาหะของตน เหตุผลสอนให้รู้จักกฎเกณฑ์อันอำนวยต่อสันติภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่คนถูกชักนำให้มาตกลงกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า กฎเกณฑ์ธรรมชาติ" (ศ.เสน่ห์ จามริก, อ้างแล้ว)

ดังนั้น ฮอบส์ จึงสรุปว่า รัฏฐาธิปัตย์เกิดจากประชาชนมาทำสัญญาประชาคมขึ้น ในการจัดตั้งองค์อธิปัตย์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งอำนาจอธิปัตย์นั้น และมอบให้รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ไม่ว่าจะในรูปแบบการปกครองโดยกษัตริย์ คณะบุคคล หรือ ระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ตัวแทนจึงต้องรับผิดชอบในสิ่งใดๆ ที่กระทำไป และต้องตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชน หากบรรดาตัวแทนไม่ปฏิบัติ หรือนำไปใช้เพื่ออำนาจ และความมั่นคั่งของตัวเอง หรือมีผลทำลายความมั่นคงของประชาคม เจ้าของอำนาจอธิปัตย์ที่แท้จริงจักต้องรับผิดชอบ ทวงคืนอำนาจมาได้ หรือจะตั้งตัวแทนใหม่ขึ้นดำเนินการแทน (สภาประชาชน เป็นอำนาจอธิปไตยทางตรง ที่ประชาชนจัดตั้งขึ้นมาได้) รวมไปถึงสามารถทำการปฏิวัติของประชาชนต่อบรรดาตัวแทนที่กระทำผิดเจตนารมณ์ประชาชน

บทเรียนในอังกฤษที่เป็นแบบอย่างการก่อเกิดลัทธิประชาธิปไตยนั้น ได้มีการปฏิวัติของประชาชนขึ้นในปี ค.ศ.1688 ซึ่งเรียกว่า "การปฏิวัติอันเรืองเกียรติ หรือปราศจากการนองเลือด (Glorious or Bloodless Revolutiom) มีลักษณะคล้ายคลึงกับการชุมนุมของประชาชนไทย โค่นล้มระบอบทักษิณในขณะนี้ โดยประชาชนที่นิยมโปรเตสเตนต์ ไม่ใช้กำลังความรุนแรงใดๆ ต่อฝ่ายคาทอลิก ที่พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ให้การสนับสนุน หากอาศัยพลังประชาชนจำนวนมากทั่วประเทศร่วมมือการทำการปฏิวัติ ต่อต้านอำนาจพระเจ้าเจมส์ที่ 2 อย่างท่วมท้น และสภาประชาชนฝ่ายนิมโปรเตสแตนต์ก็ได้ทวงคืนอำนาจโดยทำการถอดถอนพระเจ้าเจมส์จากราชบัลลังก์ แสดงอำนาจสูงสุดของสภาในการปกครองประเทศ ตามทฤษฎีของจอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชางอังกฤษ ที่เสนอเรื่องอำนาจเด็ดขาดของรัฏฐาธิปัตย์ โดยให้องค์กรนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุดในจักรภพอังกฤษ แต่จอห์น ล็อก ไม่ได้ถือว่า "เป็นอำนาจเด็ดขาด" เพราะเจ้าของอำนาจที่แท้จริงคือปวงประชาชน

"ถึงแม่ล็อกจะอ้างถึงองค์กรนิติบัญญัติว่าเป็นอำนาจสูงสุดในจักรภพ แต่เขาก็ไม่มีเจตนาว่าจะให้ถือว่ามีอำนาจเด็ดขาด มีข้อจำกัดอำนาจนี้ระบุไว้โดยเฉพาะ 4 ประการ 1.อำนาจนั้นไม่อาจใช้โดยอำเภอใจ 2.จะต้องมุ่งเพื่อประโยขน์ของสังคม 3.ไม่อาจลิดรอนทรัพย์สินของบุคคลใด โดยปราศจากความยินยอมของเขา 4.ไม่อาจยอมสละอำนาจจัดทำกฎหมายของตนให้แก่องค์กรหรือบุคคลอื่นใดได้ เพราะเฉพาะประชาชนเท่านั้นที่มีสิทธิมอบหมายอำนาจนิติบัญญัติ ยิ่งกว่านั้น อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุดก็เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาลเท่านั้น แต่ไม่เหนือกว่าอำนาจของประชาชน ซึ่งก่อตั้งอำนาจนิติบัญญัติขึ้นมา ศ.เสน่ห์ จามริก, อ้างแล้ว, น.355)

หลักการนี้สอดคล้องกับหลักรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก และก็เช่นกัน ในมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เหตุนี้ ถ้าหากรัฐบาลยิ่งลักษณ์กระทำความผิดในการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ โดยไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และพฤติกรรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจอธิปไตยตัวแทนไปในทางทุจริต ละเมิดกฎหมายอื่นๆ

เช่น ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรือ อำนาจบริหาร เกื้อกูลกลุ่มคนเสื้อแดงที่เผาบ้านเผาเมือง แล้วได้รับเงินชดเชย 7.5 ล้านบาท ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยไม่คำนึงถึงหลักความยุติธรรม ทำลายหลักความยิติธรรมของประเทศ ที่ต้องผ่านการพิจารณาของศาล พยายามแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อรวบอำนาจขององค์อธิปัตย์มาเป็นของรัฐบาล การออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อย่างไม่โปร่งใส่ ผิดหลักปฏิบัติในการตรวจสอบงบประมาณ แฝงไว้ด้วยทุจริตมากมาย โดยเฉพาะการปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญจากความผิดที่รัฐบาลและสภาได้ก่อขึ้น อันถือว่าเป็นขบฏ ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงและเป็นองค์อธิปัตย์สูงสุด ย่อมมีสิทธิทวงคืนอำนาจที่มอบให้กระทำแทนกลับมา รวมไปถึงสามารถแสดงประชาชนพลังโค่นรัฐบาลได้ ดังเช่น ยัง โบแดง ได้เขียนไว้

เพราะเมื่อรัฐบาลปฏิบัติในวิถีไม่ชอบธรรมแล้ว ถือว่าได้ทำลายหลักประชาคมของประชาชนที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

การเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อปฏิเสธรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐสภา จึงเป็นไปตามมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญ บทบาทของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไคยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัรตยิ์เป็นประมุข (กปปส.) โดยการเแสดงความเห็นด้วยของประชาชนจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จึงเป็นประชาคมที่มีความชอบธรรมในการทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และปฏิเสธสภาขี้ข้าที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ต่อเจตจำนงของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

เหตุนี้ ประชาชนไทยจึงมีอำนาจอธิปไตยโดยตัวเอง ในฐานะองค์อธิปัตย์ยือย่างสมบูรณ์ ไม่มีรัฐบาลและรัฐสภาไปโดยปริยาย หากแม้รัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือสภาขี้ข้าจะอ้างว่าตนเองยังเป็นตัวแทนอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย

ในกรณีที่ตัวแทนขัดขืนไม่ยอมส่งคืนอำนาจ จึงมีแง่มุมมองดังนี้

1.หากประชาชนยังยึดถือรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่เช่นเดิม กปปส.หรือประชาชนอื่นๆ สามารถที่จะยื่นฟ้องร้องต่อศาลอาญาหรืออื่นๆ ตามความผิดของรัฐบาลขี้ข้า และพรรคการเมืองได้กระทำและฟ้องร้องได้ ในฐานะเป็นกบฏ และรอคำตัดสินของศาล

2.ทวงคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเป็นของปวงชนชาวไทย โดยได้รับประชามติของประชาชน ที่ลุกขึ้นมายอมรับทั่วประเทศ ทำการปฏิวัติโดยไม่ใช้ความรุนแรง (เช่นสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2) แต่เป็นความพร้อมใจของประชาชนทั่วประเทศ ทำให้รัฐบาลและรัฐสภาทำหน้าที่ไม่ได้ แล้วประชาชนเสนอรัฐบาลชั่วคราว โดยทูลเกล้าฯ ถวายเสนอต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีประกาศ เลิก ยุบรัฐบาล และรัฐสภาขี้ข้า แล้วจัดตั้งสภาประชาชนให้มีขอบข่ายทั่วประเทศขึ้นมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อปฏิรูปการเมืองไทย และดำเนินการเลือกตั้งตัวแทนในภายหลัง ตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในขั้นตอนต่อไป และรัฐธรรมนูญของประชาชนฉบับใหม่จะต้องผ่านการลงประชามติ.

แถลงการณ์ กปปส.9ธ.ค.56

คำต่อคำ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ขึ้นเวทีนางเลิ้ง 9 ธันวาคม 2556 

18.00 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ขึ้นเวทีนางเลิ้งอ่านแถลงการณ์ ปรากฏชัดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ถูกคลอบงำโดยทักษิณ นักโทษหนีคดีอาญา ละเมิดกฏหมาย และรัฐธรรมนูญหลายประการ เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของทักษิณ เผด็จการเสียงข้างมาก ส.ส.ที่นำโดยกลุ่มการเมืองเผด็จการเสียงข้างมาก ผ่านร่าง พรบ.นิรโทษกรรม แก่ผู้กระทำผิดการชุมนุมทางการเมือง

นิรโทษกรรมย้อนหลังไปถึงปี 2547 โดยมุ่งหมายลบล้างการกระทำความผิดกรณีกรือเซะ ตากใบ และการกระทำตามนโยบายในการปราบปรามยาเสพติด เป็นนโยบายของทักษิณ มีผู้เสียชีวิต 2,873 คน อันเป็นการไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม ทั้งยังรวบรัดลงมติฯ ในเวลา 04.30 น. ทรยศ ประชาชน นอกจากนี้ยังขัดต่อหลักการ ประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง เพราะกล่าวอ้างเสียงข้างมาก เอื้อประโยชน์คนบางคน เร่งรัด เร่งรีบ ผิดวิสัยผู้สุจริต ล้มล้างการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการและฝ่ายตรวจสอบ แม้นายกฯ จะบอกว่่า รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้เสนอ แต่ รัฐบาลคุมเสียงข้างมากในสภา จึงไม่อาจปฏิเสธ รัฐบาลเพิกเฉยต่อการใช้ความรุนแรงที่ผิดกฎหมายของมวลชนที่สนับสนุน รัฐบาล เป็นเหตุให้ นักศึกษารามฯ ถึงแก่ความตาย ให้ตำรวจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลยังเลือกปฏิบัติกรณีที่คนของฝ่ายตนได้รับความเสียหายจากเหตุจลาจลปี 53 ให้มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้เสียหายทั่วไป เยียวยาเหนือกว่าทหาร รัฐบาลสร้างความแตกแยกในสังคมอย่างรุนแรง ร้าวลึก และกว้างขวาง ปลุกปั่่น ยุยงและหลอกลวงในหมู่ ประชาชน เพื่อให้กระด้างกระเดื่องต่อ กฏหมายแผ่นดิน

ผู้ชุมนุมซึ่งไม่เห็นด้วยกับ รัฐบาลกลับถูก รัฐบาลนี้ใช้กฎหมายเล่นงานอย่างเต็มที่ สองมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัด เลือกใช้หลักนิติธรรมเฉพาะที่ตนได้ประโยชน์ มือถือสาก ปากถือศีล รัฐบาลเล่นพรรคเล่นพวก แต่งตั้งพวกพ้องของตนให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงเพื่อรับใช้ทักษิณ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่หลักคุณธรรม ธรรมมาภิบาล ประพฤติมิชอบในวงราชการ ใช้นโยบายประชานิยมที่ก่อให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบาย เสียหายโดยรวม ระบบการเงินการคลังและงบประมาณเสียหาย โครงการจำนำข้าว ทุจริตและเกิดความเสียหายแก่ประเทศหลายแสนล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำกู้เงินหลายแสนล้าน ส่อทุจริตคอรัปชั่่นฯกู้เงิน 2.2 ล้านบาท ฉ้อฉล แนวโน้มนำไปสู่การทุจริตและการดำเนินโครงการ สร้างหนี้ผูกพันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดคือทักษิณและครอบครัว กระทำอุกอาจ ซึ่งหน้า


กปปส.จึงไม่อาจยินยอมให้กลุ่มการเมืองเผด็จการเสียงข้างมาก และทุนนิยมผูกขาด เมื่อ รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ทรยศประชาชนด้วยการใช้อำนาจเพื่อความมั่นคงและผาสุกของทักษิณ ครอบครัว และบริวาร ทำลายสัญญาประชาคมอย่างชัดแจ้ง ประชาชนไม่อยู่ใต้อำนาจอีกต่อไป ดังนั้น การใช้อำนาจของ ประชาชน ตามมาตรา 3 ของ รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า....ขอประกาศว่า มวลมหาประชาชน ที่ได้แสดงพลังร่วมกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์มีความจำเป็นต้องพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย ใช้สิทธิเรียกคืนอำนาจปกครองแผ่นดิน อันเป็นการประชาภิวัฒน์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ขจัดภยันตรายอันเกิดจากการทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไปและดำเนินการทางการเมืองให้เป็นธรรม กปปส. ขอประกาศยืนยันแทน มหาประชาชน ว่าพวกเราทั้งหลายมีความจงรักภักดีฯ และจะร่วมพิทักษ์ราชบัลลังก์ด้วยชีวิต ขอความร่่วมมือจาก ประชาชน ในการสร้างอนาคตที่เป็นธรรม ผาสุก สงบ สันติ เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นหลังสืบไป

ลงชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ
เลขาธิการ กปปส

///////
สุเทพ" แถลงการณ์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่สั่งการโดยพ.ต.ท.ทักษิณ หมดความชอบธรรม 6 ข้อ ประกาศใช้สิทธิ์ ม.3 เรียกคืนอำนาจประชาชน ขอพิทักษ์ราชบัลลังก์ด้วยชีวิต

1. นายกฯ นำร่าง รธน.ที่มาส.ว.ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่สนว่าจะทำให้ทรงระคายเบื้องพระยุคลบาท

2. ใช้เผด็จการเสียงข้างมากผลักดันผ่านร่างนิรโทษฯล้างผิดให้ผู้กระทำอาญาแผ่นดิน และนิรโทษย้อนหลังถึงปี47 การผ่านพรบ.นิรโทษฯ เพื่อหวังล้างผิดเหตุการณ์ กรือเสะ ของพ.ต.ท.ทักษิณ และการผ่านร่างตอน 04.00 เป็นการเร่งรีบ เร่งรัด ผิดวิสัยประชาธิปไตย

3. รัฐบาลเพิ่งเฉยต่อการทำผิดกฎหมายต่อการเสียชีวิตของนศ.รามคำแหง

4. รัฐบาลและรัฐสภาสร้างความแตกแยกต่อสังคมปลุกปั่นยุยงแต่รบ.ไม่ดำเนินการใด 2มาตรฐานกับบทลงโทษกับผู้ไม่เห็นด้วย

5. รัฐบาลไม่ใช้อำนาจบริหารแผ่นดิน ข่มเหงขรก.โดยไม่เป็นธรรมตั้งพวกพ้องให้รับตำแหน่งระดับสูงเพื่อรับใช้ทักษิณ

6. รัฐบาลทุจริตในราชการ-หน่วยงานรัฐใช้นโยบายประชานิยมเสียหายต่อเศรษฐกิจ ผู้รับผลประโยชน์คือทักษิณและครอบครัว

ตาม ม.3 ขอประกาศว่ามวลมหาประชาชน มีความจำเป็นต้องพิทักษ์หลักการประชาธิปไตยใช้สิทธิ์เรียกคืนอำนาจให้กับประชาชน
ประกาศปฏิรูปไทย ขจัดทุจริตออกไป ทำให้การเมืองเป็นธรรมต่อประชาชนทุกภาคส่วน

กปปส ขอประกาศต่อปวงชนว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพิทักบัลลังก์ด้วยชีวิต
กปปส.จะรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อทุกประเทศอย่างเป็นกลาง ให้เกิดความสงบเพื่อลูกหลานสืบต่อไป

จึงแถลงมาเพื่อทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 9 ธ.ค.
ลงชื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เลขาธิการ กปปส. 

โปรดเกล้าฯ พรฎ.ยุบสภา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พรฎ.ยุบสภา และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ 2 กุมภาพันธ์ 2557



"ปปช."ยันยุบสภาไม่มีผลยังมีอำนาจไต่สวนคดีถอดถอน 383 ส.ส.-ส.ว.แก้รธน.ที่มาส.ว

"ปปช."ลั่น"ยิ่งลักษณ์"ยุบสภาไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ ยันยังมีอำนาจไต่สวนคดีถอดถอน 383 ส.ส.-ส.ว.แก้รธน.ที่มาส.ว.

ขอเรียนเพื่อความเข้าใจอันดีของสื่อมวลชนทั้งหลายว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่มีผลเพียงให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 106 (1) เท่านั้น หาได้กระบต่ออำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ประการใดไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังคงมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดได้ตามนัยมาตรา 43 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 โดย กรณีการถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ไต่ส่วนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป เนื่องจากหากผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจะมีผู้ให้ผู้นั้นถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี มาตรา 272 มาตรา 273 และมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสำหรับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ต่อไปตามบทบัญญัติมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญฯ ประกอบมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2554

ปปช.รายงานความคืบหน้า กรณีหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า การกระทำความผิดต่อตำแหน่งที่ราชการฯ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 270 กรณีเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงข่าวเรื่อง กรณีกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทงการเมืองว่ากระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฯ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 270 โดยได้มีการกำหนดกรอบแนวทางและกรอบระยะเวลาในการไต่สวนเบื้องต้นแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ประธานวุฒิสภาได้มีหนังสือ แจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์และคณะ ได้ยื่นคำร้องเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมากชิกวุฒิสภารวม 383 คน ออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช.จะ

ได้นำเรื่องดังกล่าวรวมพิจารณากับเรื่องที่ อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป

ส่วนการที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วนั้น จะมีผลกระทบต่อกระบวนการ

ไต่สวนถอนถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ ขอเรียนเพื่อความเข้าใจอันดีของสื่อมวลชนทั้งหลายว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่มีผลเพียงให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 106 (1) เท่านั้น หาได้กระบต่ออำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ประการใดไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังคงมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดได้ตามนัยมาตรา 43 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 โดย กรณีการถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ไต่ส่วนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป เนื่องจากหากผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจะมีให้ผู้นั้นถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี มาตรา 272 มาตรา 273 และมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสำหรับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ต่อไปตามบทบัญญัติมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญฯ ประกอบมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2554

ทั้งนี้ ขณะนี้เรื่องดังกล่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เตรียมการแจ้งคำสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา และเชิญผู้กล่าวหามาให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รวมถึงจะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อไป

คำประกาศประชาภิวัตน์ของกำนันสุเทพ

Surawich Verawan 刘永真 · ผู้ติดตาม 3,801 คน
10 นาทีที่แล้ว บริเวณ Bangkok · 
  • คำประกาศประชาภิวัตน์ของกำนันสุเทพ

    กำนันสุเทพแถลงการณ์ในนามกปปส.ว่า การบริหารราชการแผ่นดินโดยยิ่งลักษณ์ นายกฯที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ มีการใช้อำนาจโดยการครอบงำของทักษิณ นักโทษคดีอาญา ซึ่งหลบหนีคดีในต่างประเทศ เป็นหุ่นที่ถูกเชิด ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย มีการใช้อำนาจเสียงข้างมากที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมายและหลักการสำคัญในระบอบประชาะิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มากซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศซึ่งไม่ใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ

    1 การใช้อำนาจภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย และส.ว.จำนวนหนึ่งซึ่งตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการเงิน แก้ไขรัฐธรรมนูญทำลายดุลยภาพของการตรวจสอบจนศาลรธน.วิินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรธน. ทำลายกลไกตรวจสอบถ่วงดุลของรัฐสภา ฉ้อฉลและทรยศต่อความไว้วางใจของปชช. ไม่ชอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ลงมติแทนกันใช้เสียงข้างมากตัดสินสมาชิกรัฐสภา ศาลรธน.วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ทำลายหลักนิติธรรมแและหลักปชต.เพื่อไม่ให้ได้อำนาจปกครองประเทศที่ไม่เป็นวิถีทางในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลโดยนายกฯกลับเร่งนำร่างรธน.ที่มีปัญหาขึ้นทูลเกล้า โดยไม่นำพาต่อรธน.และคำวินิจฉัยของศาล ไม่สนใจว่าจะกระทบพระราชอำนาจและระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ประธานสภาและประธานวุฒิและรมว.มหาดไทย กลับแถลงชัดเจนว่าไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว ทั้งที่ตนต้องเคารพและรักษาความเป็นกม.สูงสุดของรธน. ประกาศตนอยู่เหนือระน.

    2 ส.ส.ที่นำโดยกลุ่มการเมืองเผด็จการเสียงข้างมากผ่านร่างพรบ.นิรโทษ ซึ่งตอนแรกแถลงว่าจะแถลงนิรโทษกรรมเฉพาะผู้เข้าร่วมใชุมนุม แต่กลับตระบัดสัตย์เร่งรัดแก้ไขเพื่อตนและพวกพ้อง และล้างผิดให้การกระทำผิดฐานทุจริต และนิรโทษกรรมย้อนหลังไปถึง2547 โดยมุ่งหมายเพื่อให้ลบล้างการกระทำผิดกรณีกรือเซะ ตากใบ และการปราบปรามยาเสพติดซึ่งเป็นนโยบายของทักษิณซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2873คน ซึ่งไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม และยังลงมติในเวลา 4.30 น. ทรยศต่อปชช. ไร้เหตุผล ขัดความชอบธรรม ไม่ยึดหลักคุณธรรมทางกม. ขัดกับหลักสากลที่ไม่นิรโทษกรรมการทุจริต ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง โดยอ้างเสียงข้างมากเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนบางคน กระทำการเร่งรัดเร่งรีบตามวิสัยของเผด็จการ ล้มล้างการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการและองค์กรตรวจสอบขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ แม้นายกฯจะอ้างว่ารัฐบาลไม่ใช่ผู้เสนอญัตติ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลกุมเสียงข้างมากในสภาจขึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้

    3 รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงของกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลทำให้นักศึกษารามเสียชีวิต ให้ตำรวจซึ่งเป็นกองกำลังของรัฐบาลละเว้นปฏิบัติหน้าที่รู้เห็นเป็นใจให้ปิดล้อมนศ.ไม่คำนึงถึงหน้าที่ตนเป็นรัฐบาล ยังเลือกปฏิบัติที่กลุ่มตนได้รับความเสียหายในปี2553ให้มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ใดเหนือกว่าทหารตำรวจพลเรือนที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อประเทศชาติ ทั้งที่คนเหล่านั้นกระทำเพื่อหวังผลทางการเมือง เพื่อให้ได้อำนาจทางการเมือง

    4. รัฐบาลและรัฐสภาที่นำโดยเสียงข้างมากกระทำหลายประการทั้งทางตรงและทางอ้อมสร้างความแตกแยกในสังคมไทย ปลุกกปั่นยุยงหลอกลวงในหมู่ประชาชนเพื่อให้กระด้างกระเดื่องต่อกม.แผ่นดิน ข่มขู่องค์กรตุลาการ แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ในขณะที่ผู้ชุมนุมที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลกลับถูกรัฐบาลใช้กม.ดำเนินการอย่างเต็มที่ เป็นสองมาตรฐาน ยอมรับเฉพาะกม.ที่ตนได้ประโยชน์แต่ถ้าเสียประโยชน์ตนไม่ยอมรับ

    5 รัฐบาลใช้อำนาจในการบริการราชการแผ่นดินเล่นพรรคเล่นพวกข่มเหงรังแกขรก. แต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม แต่งตั้งผู้ด้อยประสบการณ์พวกพ้องของตนให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานของรัฐเพื่อรับใช้ทักษิณ จนเกิดความเสียหายแก้หลักคุณธรรม นำประเทศกลับไปสู่ระบบอุปถัมภ์

    6 รัฐบาลทุจริตในวงราชการอย่างแพร่หลายกว้างขวางใ ช้นโยบายประชานิยมที่ทุจริตเชิงนโยบายนำมาเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ มีการก่อหนี้สาะารณะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันของประเทศลดลงอย่างรุนแรง เช่น จำนำข้าวที่ทุจริตและก่อความเสียหายหลายแสนล้านบาท โครงการบริหารจัดการนำที่กู้เงินหลายแสนล้านและส่อในทางทุจริตเชิงนโยบาย และการกู้เงิน2.2ล้านที่ตรากม.โดยฉ้อฉลและมีแนวโน้มไปสู่การทุตจริตและล้มเหลวแต่สร้างหนี้ให้ประชาชนและประเทศโดยไม่มีเหตุผล โดยผู้ได้รับประโยชน์คือทักษิณและครอบครัว

    ดังนั้นกปปส.จึงไม่อาจยินยอมให้กลุ่มการเมืองเผด็จการเสียงข้างมากและทุจริตผูกขาด ใช้เผด็จการรัฐสภา หักหลังการไว้วางใจของประชาชน ทำลายดุลยภาพของระบอบประชาธิปไตย และได้้อำนาจมาโดยไม่เป็นแนวทางระบอบประชิปไตย ใช้อำนาจเพื่อความมั่นคงของทักษิณครอบครัวและบริวาร ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยจึงไม่จำต้องอยู่ใต้อำนาจของตัวแทนที่ตนแต่งตั้งอีกต่อไป จึงอาศัยม.3ของรธน.ของประกาศว่ามวลมหาชน ขรก.พลเรือน ทหารและตำรวจผู้รักความเป็นธรรมที่ได้แสดงพลังร่้วมกันอย่างที่ไม่ปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ จึงใช้สิทธิของมวลมหาชนเรียกคืนอำนาจการปกครองแผ่นดินจากลุ่มการเมืองดังกล่าวกลับสู่ประชาชนเจ้าของอำนาจ

    อันเป็นการประชาภิวัตน์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยขจัดอันตราบจากการทุจริตให้หมดไปและดำเนินการทางการเมืองให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างแท้จริงทุกภาคส่วน คณะกปปส.ขอประกาศยืนยันแทนมวลมหาประชาชนว่า พวกเราทั้งหลายปวงชนชาวไทยทั้งหลายมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และจะพิทักษ์ราชบังลังก์ด้วยชีวิต

    อนึ่งกปปส.จะยึดมั่นในพันธะกรณีระหว่างประเทศและจะรักษาความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศและองค์กรต่างประเทศ จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

แถลงการณ์คณะปฏิวัติประชาชน6 ข้อ ล้มรัฐบาล ยิ่งลักษณ์...

แถลงการณ์คณะปฏิวัติประชาชน6 ข้อ ล้มรัฐบาล ยิ่งลักษณ์...

มองอย่างศึกษา และเปรียบเทียบ จะเห็นว่า รูปแบบการแถลงการณ์ ของ นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเสมือนหัวหน้าคณะปฏิวัติ (ประชาชน) ทำให้รู้สึกคล้ายๆ ผบ.เหล่าทัพ ออกทีวี.แถลงเหตุผลในการปฏิวัติเลย แต่ทว่าเป็นประชาชน ไม่ได้ถืออาวุธ แบบทหารเท่านั้น
18.00 น. สรุป...นาย สุเทพ แถลงการณ์ 6 ข้อ ระบุ นายกฯ รัฐบาลใช้อำนาจภายใต้การครอบงำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และมี รัฐสภา เป็นหุ่นเชิด ไม่ชอบโดย รธน. และ กระทำย่ำยี ต่อรธน. ทรยศโดยเร่งออก นิรโทษกรรมให้ทุกฝ่ายหมด ทั้งๆที่ตอนแรกจะไม่รวมทั้งหมด ความเร่งรีบ และเผด็จการ ไม่รับฟังเสียงข้างน้อย. การปล่อยให้ปืดลัอม นศ. ทำให้เสียชีวิต. รัฐให้สิทธิพิเศษ เหยื่อปี2553 เหนือกว่า ทหาร ตำรวจ ผู้อื่น หวังผลการเมือง สร้างตวามแตกแยก ในสังคมไทย ปล่อยปละให้มีการกระทำต่อตุลาการ
ใช้กม .สองมาตรฐาน. และใช้อำนาจ การบริหาร ดต่งตั้งพรรคพวก แทรกแซงข้าราชาร ประจำ เต่งตั้งโยกย้าย เอาแต่พวกพ้อง และมีการทุจริต อย่างแพร่หลาย กว้างขวาง ใช้ประชานิยม ทุจริตเชิงนโยบาย ทำชาติเสียหาย. ก่อหนึ้สาธารณะ ทุจริตจำนำจ้าว ทำให้ชาติเสียหาย. บริหารจัดการน้ำ กู้เงิน 2 ล้านๆ บาท
โดย ทักษิณ และครอบครัว ได้ประโยชน์ เป็นทุนนิยม ผูกขาด และ เผด็จการีฐสภา

ดังนั้น กปปส. ที่ประกอบด้วย พลเรือน ข้าราชการ ประชาชน ทหาร ตำรวจ จึงขอประกาศว่า มีความจำเป็นที่ตัองพิทักษ์หลักการสำคัญ ของปขต. อันมีพระมหากษัตรืย์ทรงเป็นประมุข. เราจึงขอเรียกรัองทวงคืนอำนาจ ของประชาชนคืน

ประกาศ เมิ่อ9 ธค.2556


29บริษัทผ่านคุณสมบัติชิงทีวีดิจิทัล

บอร์ดกสท.เห็นชอบผู้ยื่นซองประมูลทีวีดิจิทัล"ทุกราย"รวม 29 บริษัท ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัล กำหนดวันประมูลไม่เกิน 11 ม.ค.

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจาย กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าการประชุม บอร์ด กสท. วันนี้ (9 ธ.ค.) ได้พิจารณาผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นซองประมูลโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ที่สำนักงาน กสทช. ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ

ทั้งนี้ บอร์ด กสท."เห็นชอบ" ให้ผู้ยื่นซองประมูลทีวีดิจิทัล "ทุกราย" รวม 29 บริษัท จำนวน 41 ซอง ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัล โดยสำนักงาน กสทช. จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติทั้ง 29 รายในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ หลังจากประกาศรายชื่อดังกล่าวแล้ว ตามประกาศ กสทช. จะต้องจัดให้มีการประมูลภายใน 30 วัน หรือกำหนดประมูลวันสุดท้ายไม่เกินวันที่ 11 ม.ค. 2557

โดยในวันจันทร์ที่ 16 ธ.ค.นี้ กสทช.จะประกาศ "เวลา วัน ลำดับ และสถานที่" การประมูลทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่อง 4 ประเภท คือ เอชดี ,วาไรตี้ เอสดี ,ข่าว และเด็ก ทั้งนี้ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา วันและลำดับการประมูล 3 รูปแบบ คือ ประมูล 1 วัน 4 ประเภท ,ประมูล 2 วัน วันละ 2 ประเภท และประมูล 4 วัน วันละประเภท

หลังจาก กสทช.กำหนดวันประมูลทีวีดิจิทัล ผู้เข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัลทุกราย จะต้องส่งรายชื่อ "ผู้เข้าประมูล" ไม่เกิน 5 คน ในแต่ละประเภทที่เข้าประมูลให้ กสทช. ภายใน 7 วัน ก่อนวันประมูล

นอกจากนี้ได้กำหนดวันทดลองประมูล (pre mock auction) 2 ครั้ง คือในวันที่ 12-13 ธ.ค. และ 19-20 ธ.ค.นี้ ที่ กสท โทรคมนาคม บางรัก อย่างไรก็ตามคาดว่าการประมูลจะอยู่ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.นี้ หรือ ต้นม.ค.ปีหน้า

ทหารนิ่ง"การปฏิวัติประชาชน"

ครั้งนี้ อาจจะกำลังถูกเรียกว่า เป็น "การปฏิวัติประชาชน" ครั้งแรกของประเทศไทย หรือไม่.... 9ธค.2556 ......เมื่อรัฐบาล ต้องยุบสภา เมื่อประชาชนลุกขึ้นมาอย่างมหาศาล ยึดสถานที่ต่างๆ รัฐบาลก็ไม่กล้าใช้ความรุนแรง ไม่กล้าปราบม็อบ เพราะมีแต่ตำรวจ ในมือ เพราะฝ่ายทหาร นิ่ง ขอปล่อยประชาชนก่อการปฏิวัติ.....การนิ่ง อาจถูกมองว่่า หนุน ก็เป็นได้ ในเมื่อทหารไม่มีทางเลือก เพราะถ้าเลือกอยู่ข้างรัฐบาล ก็ต้องปราบม็อบอีก ทั้งๆที่บาดแผล ปราบเสื้อแดง ปี๕๓ ยังคงอยู่ ...แต่หากจะเลือกข้างประชาชน แล้วออกมาปฏิวัติล้มรัฐบาล ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลก นานาชาติ และอาจกลายเป็นแพะรับบาปในท้ายที่สุด เมื่อการปฏิวัติไม่อาจแก้ปัญหาได้ในอนาคต...นี่จึงเป็น ทางเลือกเดียวของกองทัพ ที่จะต้อง นิ่ง เฉย เป็น ท.ทหารอดทน.....รอดูว่า ปลายทางจากนี้ จะนำไปสู่ การตั้งสภาประชาชน ได้หรือไม่ อย่างไร....น่าศึกษายิ่ง ทั้งทางการเมือง และบทบาททหาร


"เสื้อแดง"ยกเลิกชุมนุมใหญ่อยุธยา 10 ธค.



นายก่อแก้ว พิกุลทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช. กล่าวถึงการนัดชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง ที่จังหวัดอยุธยา ในวันที่ 10 ธ.ค. นี้ ว่า จากการหารือกันของแกนนำน่าจะงดไปก่อน เพราะแกนนำเกรงว่าจะมีม็อบฝั่งตรงข้ามที่อารมณ์ค้างจะไปหาเรื่องพวกเราถึงที่โน่น อย่างไรก็ตามยังมีการหารือกันถึงการที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ทำให้มีแกนนำบางส่วนมีความเห็นแบ่งเป็น 2 ฝ่ายโดยฝ่ายแรกเข้าใจและรับได้ถึงการตัดสินใจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วยที่ยุบสภา เพราะเห็นว่ายุบสภาเร็วไป และไม่พอใจที่รัฐบาลยอมฝ่ายโน้นมากเกินไป

เมื่อถามว่าคิดว่าแกนนำคนเสื้อแดงจะได้อยู่ในบัญชีรายชื่อ ของพรรคเพื่อไทยลำดับต้น ๆ จำนวนมากอีกหรือไม่ นายก่อแก้ว กล่าวว่า ไม่รู้เหมือนกัน ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้

แถลงการณ์สภาทนายความ

แถลงการณ์สภาทนายความ

เรื่อง ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการประกาศยุบสภาของนายกรัฐมนตรี

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฏรผ่านทางสื่อสารมวลชน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นั้น สภาทนายความเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนสมบูรณ์ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ

1. มาตรา 108 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า การยุบสภาผู้แทนราษฏรเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

2. มาตรา 108 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า การยุบสภาผู้แทนราษฏรให้กระทำโดยพระราชกฤษฏีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฏร และวันเลือกตั้งนั้น ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

กรณีนี้จึงเป็นปัญหาว่า การที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภานั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือเป็นแค่หลอกให้หลงทางอย่างที่นายกรัฐมนตรียิ้มเป็นนัย ๆ ตอนกล่าวจบ สภาทนายความจึงขอให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามรัฐธรรมนูญให้ถูกต้อง และชัดเจน

สภาทนายความ
9 ธันวาคม 2556
12.45 น.


กกต.เผยจะจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หรือไม่เกิน 2 ก.พ.57

นางสดศรี สัตยธรรม หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วันตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด หรือไม่เกินวันที่ 2 ก.พ.57 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาในวันนี้

"คาดว่าจะไม่เกินวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งไม่เกิน 60 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด" นางสดศรีกล่าว ขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องรอโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับกรณี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกยกพรรคก็สามารถกลับเข้ามารับสมัครเลือกตั้งใหม่ได้ แต่จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้อาจจะได้เห็น ส.ส.ย้ายพรรค ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ กกต.กำหนดให้มีการเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ใน 8 เขตก็ต้องยกเลิกไป โดยจะจัดมีการเลือกตั้งครั้งใหม่พร้อมกันเลย


แถลงข่าว ศอ.รส. วันที่ 9 ธ.ค. 56 เวลา 11.10 น.

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ศอ.รส. 

- ขณะนี้ มวลชนได้เดินทางถึงบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลแล้ว มีการกระจายตัวอยู่บริเวณถนนพิษณุโลก สะพานชมัยมรุเชษฐ์ และถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นไปตามเส้นทางต่างๆ ที่ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วยังไม่พบปัญหาใดนอกเหนือจากปัญหาด้านการจราจร โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรโดยตลอด

- บริเวณถนนคู่ขนานของถนนวิภาวดีรังสิต ในขณะนี้สามารถใช้งานได้แล้ว หลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเดินผ่าน 

- บริเวณศูนย์ราชการและกระทรวงการคลังเริ่มมีการถอนกำลังออกไปหมดแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้องและบางซื่อตามลำดับ อำนวยความสะดวกในเรื่องการเคลื่อนย้ายกำลัง และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดกั้นบริเวณพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบความเสียหาย เพื่อที่จะได้ดำเนินกาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 

- ชี้แจงกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางคืนที่ผ่านมา โดยในวันที่ 8 ธ.ค. 56 เวลา 22.00 น. เหตุที่เกิดขึ้นบริเวณสะพานอรทัยฯ ซึ่งมีกลุ่มไม่ทราบฝ่ายได้ใช้หัวน็อตยิงเข้ามายังแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และในวันนี้ 9 ธ.ค. 56 เวลาประมาณ 02.30 น. บริเวณจุดตรวจ ถ.พระราม 1 (จุดตรวจของ บก.น.6) ได้มีการจับกุมนายกัมพล พานทอง อายุ 34 ปี พร้อมด้วยของกลาง คือ อาวุธปืนขนาด .45 มม. 1 กระบอก // แม็กกาซีน จำนวน 1 อัน // กระสุนขนาด .45 มม. จำนวน 48 นัด // ซองพกหนัง 1 ซอง และกระเป๋าสะพาย 1 ใบ จากการสอบสวนเบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าเป็นกำนัน ต.พังราด อ.แกลง จว.ระยอง เดินทางมาจากระยองกำลังไปร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางนำส่ง พงส. สน.ปทุมวันต่อไป 

- ฝากประชาชนให้ช่วยเป็นหูเป็นตา แม้ว่าในขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมจะอยู่ในความเรียบร้อย แต่ว่าอาจจะมีกลุ่มไม่ทราบฝ่ายเข้ามาก่อความวุ่นวายด้วย 

- ศอ.รส. ยังมุ่งเน้นไปในเรื่องการเคารพสิทธิของผู้ชุมนุมที่ชุมนุมโดยสงบและเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย โดยจะดูแลเรื่องการจราจรและความเรียบร้อย ตลอดจนเหตุแทรกซ้อนอื่นๆ สำหรับการแจ้งเหตุแทรกซ้อนนั้นสามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการจราจรได้ด้วยเช่นกัน 

- ผอ.ศอ.รส. เน้นการสนับสนุนให้มีการแสวงหาทางออกทุกฝ่ายให้เป็นไปในสันติวิธีเพื่อให้บ้านเมืองของเรากลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดย ศอ.รส. ยังมุ่งเน้นย้ำให้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ผู้มีบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ชุมนุม ตลอดจนผู้ร่วมชุมนุมทุกคน เพื่อให้สถานการณ์เหล่านี้คลี่คลายไปได้ 

พ.ต.อ.หญิง วิชญ์ชยากรฯ รอง โฆษก ศอ.รส.

- ผอ.ศอ.รส.ได้เน้นย้ำและถือเป็นนโยบายสำคัญให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนเป็นอย่างถึงที่สุด 

- จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น อาจเกิดความกระทบกระทั่งกับผู้ที่ใช้เส้นทางจราจร ศอ.รส. ขอแนะนำให้ใช้คำ 2 คำ คือ คำว่า ‘ขอบคุณ’ และ ‘ขอโทษ’ เพื่อช่วยให้สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบ

- ศอ.รส. ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือกับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุม ซึ่งหากผู้ชุมนุมมีอาการไม่สบาย ศอ.รส. ได้จัดแพทย์ฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเคลื่อนที่เร็วอย่างเต็มกำลังเพื่อรอให้บริการแก่ประชาชน

- จากกรณีมีการข่าวว่ามี มือที่ 3 เข้ามาสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย จึงขอความร่วมมือแจ้งข่าวสารหรือเบาะแสได้ในหลายช่องทาง เช่น หมายเลขโทรศัพท์ 1599, 191 และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ดูแลในพื้นที่ชุมนุม


ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจรัฐและ สงคราม 5 ประการ

จะยึดอะไรก็ยึดไปครับ เพราะเอ็งไม่ได้อำนาจรัฐ ให้สบายใจกันได้ (รีรัน) มึงอ่านกันให้จบด้วยสลิ่ม

ตามทฤษฎีว่าด้วยอำนาจรัฐและ สงคราม 5 ประการ ดังนี้

แบบจำลอง 5 วง เป็นโมเดลที่ใช้ในการทำสงคราม กล่าวคือเปรียบเทียบการยากในการเข้าถึง โดยวงในสุดจะเข้าถึงได้อยากที่สุด และหากเข้าถึงได้การที่จะมีชัยชนะก็จะมีมากกว่า โมเดลดังกล่าว บอกว่าวงที่ยากในการเข้าถึงมากที่สุดเรียงลำดับ ได้ดังนี้
1. ผู้นำ – Leadership ซึ่งหมายถึงผู้นำรัฐ หรือผู้นำหน่วย ตราบใดจับได้คือจบ
2. สิ่งจำเป็น – System Estentials หมายถึง ยุทธภัณฑ์ ยุทโธปกรณ์และเสบียงที่ใช้ในการทำสงคราม
3. สาธารณูปโภค – Infrastructures เช่นช่องทางการสื่อสาร ไฟฟ้าถนน หนทาง
4. พลเมือง – Population คือมวลชนที่สนับสนุนในการที่จะทำการปกครอง
5. กำลังทหาร – Military คือส่วนที่จะดำรงค์สถานะความเป็นรัฐชาติและความมั่นคง

จาก 5 ข้อดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยังไม่สามารถดำรงค์สถานะ ที่ได้เปรียบรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ จะสามารถทำการก่อกวนได้บ้าง แต่ก็เพียงแค่เล็กน้อย ไม่สามารถที่จะทำให้ความมั่นคงแห่งรัฐคลอนแคลน มวลชนส่วนใหญ่ในชาติยังไม่สามารถยอมรับ ม๊อบซึ่งทำผิดกฎหมายได้

โดยรัฐได้ปฏิบัติกับผู้ชุมนุมด้วยความเมตตา ไม่กระทำเช่นรัฐบาลที่ผ่านมา เงื่อนไขต่าง ๆ ไม่สามารถทำให้กองทัพอ้างเป็นเหตุในการกระด้างกระเดือ่งได้ อีกทั้งยังมีมวลชนเสื้อแดง และนานาชาติยังคงให้การรับรองรองอยู่ แม้จะมีสื่อบางสถานี ที่เป็นใจกับฝ่ายต่อต้าน แต่ยังไม่สามารถควบคุมสื่อได้ทั้งหมดยังคงมีสื่อทางเลือกอีกมากมาย ในการหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงได้

ดังนั้น จึงอยากให้ประชาชนทั้งสองฝ่าย และบุคคลที่เป็นกลาง พิจารณาตามความเป็นจริง และโปรดอยู่ในความสงบ อย่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ต้องการอำนาจรัฐด้วยการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในการรัฐประหาร หรือเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ 3 ครั้งล่าสุด ใช้วิธีการ ตามหลัก five ring model ตามโพสต์ที่แล้วเช่นกัน คือดำเนินการกำจัดอำนาจผู้นำของรัฐคือตัวนายกรัฐมนตรี เพียงแต่ต่างกัน ในยุทธวิธีเท่านั้น

ในการรัฐประหาร ปี 34 โดย รสช. พล.อ.ต.อมฤต จาระยะพันธ์ ได้ทำการ ตัดอำนาจ วงที่ 1 โดยการเข้าจู่โจม จี้ตัว นายก พล.อ.ชาติชาย ชุนหวรรณ ได้สำเร็จ โดยใช้กำลังคอมมานโดที่ตนเองควบคุมกำลัง เข้าจู่โจม ทำให้ศูนย์กลางการบังคับบัญชา สิ้นสุดลง และทำการเคลื่อนกำลังเข้ายึดพระนคร และสถาปนาอำนาจรัฐ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ การรัฐประหาร
สำเร็จ

ในการรัฐประหาร 9/9/49 คปค.ได้ทำการเคลื่อนกำลัง เข้ายึดอำนาจโดยการตัดศูนย์การสื่อสารและบังคับบัญชา จากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร ขณะที่อยู่ต่างประเทศทำให้สภาพการตัดสินใจของ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น สิ้นไป รวมทั้งเข้าไปล๊อคตัวผู้นำทหารที่อยู่ฝ่ายรัฐบาล

ในการใช้ตุลาการภิวัฒน์ ปี 2551 โค่นอำนาจ นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะที่มีมวลชน ยึดทำเนียบ ยึดสนามบินโดยขณะนั้น ได้วางแผนที่ีจะเข้าสลายที่ทำเนียบ และมีการพยายามตัดสินใจของนานาชาติ ที่จะเข้าสลายที่สนามบินสุวรรณภูมิ

3เหตุการณ์ดังกล่าว คือโมเดลในการยึดอำนาจรัฐ ซึ่งขณะนี้ ยังไม่เห็นหนทางใดที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จะทำได้สำเร็จเลย

ดังนั้นใครที่ไม่อยากกลายเป็นผู้กบฎร่วมได้โปรด พิจารณา ที่จะไปรวมตัวด้วย

/////

หมายเหตุ : จากบทความของ ผู้พันสู้ตัวจริง ในเฟสบุ๊ค 9/12/56

ศาลอาญา ยกคำร้องหมายจับ 13 แกนนำม็อบนกหวีด เป็นกบฏ

9ธ.ค.56 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย , นายชุมพล จุลใส , นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ , นายอิสระ สมชัย , นายวิทยา แก้วภราดัย , นายถาวร เสนเนียม , นายณัฐพล ทีปสุวรรณ , นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ , นางอัญชะลี ไพรีรัก , นายนิติธร ล้ำเหลือ , นายอุทัย ยอดมณี ,เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ , พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและรัฐบาล รวม 13 คน ในข้อหา ร่วมกันเป็นกบฏ , กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน , มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133 , 116 , 215 วรรคสาม , 216 ประกอบมาตรา 83

อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายกรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ก.) ยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2556 มาตรา 108 อันเป็นวิถีทางแห่งประชาธิปไตย จึงเชื่อว่าเหตุการณ์ต่างๆ น่าจะลดความรุนแรงลง ชอบที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนแล้วออกหมายเรียกไปยังผู้ต้องหาทั้ง 13 คนเสียก่อน ในชั้นนี้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะออกหมายจับ ให้ยกคำร้อง 

ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับการประท้วง (โดย: อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์)

1. mob (ตามดิกชันเนรี Macmillan ของผู้เขียน) หมายถึงฝูงชนขนาดใหญ่ที่อันตรายและยากที่จะควบคุม ดังนั้นควรใช้คำว่า protester อันหมายถึงผู้ประท้วงซึ่งมีพฤติกรรมที่สงบ
2. Illegal political participation –การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย
3.Flash mob/smart mob ตามวิกิพีเดียภาษาไทยคือ การรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่หนึ่ง อย่างฉับพลัน
4. Demagogue -นักปลุมระดมมวลชนโดยใช้กลยุทธต่างๆ
5. Propaganda -การโฆษณาชวนเชื่อ
7. Deception -การหลอกลวง
8. Hidden dictatorship -เผด็จการแบบแอบแฝง
9. Mastermind -จอมบงการ
10. Mediator -ผู้ไกล่เกลี่ย
11. Intervener – ผู้เข้ามาแทรกแซงหรือมือที่ 3
12. Civil war -สงครามกลางเมือง

ประชาไท วันที่ 8 พ.ย. 2556
http://prachatai.com/journal/2013/12/50272

โดย: อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

In chess, the pawns go first.
ในเกมหมากรุก ตัวเบี้ยลุยไปก่อน

แมคเนโต ใน X-Men: The Last Stand


1. Mob

ผู้เขียนเคยตั้งข้อสังเกตว่าการที่ภาษาไทยของสื่อมวลชนนำเอาคำว่าม็อบหรือ Mob มาใช้กับผู้ชุมนุมประท้วงเป็นการไม่ยุติธรรมนัก เพราะ mob (ตามดิกชันเนรี Macmillan ของผู้เขียน) หมายถึงฝูงชนขนาดใหญ่ที่อันตรายและยากที่จะควบคุม ดังนั้นควรใช้คำว่า protester อันหมายถึงผู้ประท้วงซึ่งมีพฤติกรรมที่สงบ สันติและเป็นไปตามกรอบของกฎหมายจึงน่าจะไม่ได้เป็นการเหมารวม นอกจากนี้คำว่า demonstrator ก็ยังสามารถนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ แต่คำนี้ยังอาจหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มาชุมนุมกันเพื่อสนับสนุนใครหรือประเด็นอะไรสักอย่างก็ได้


2. Illegal political participation –การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตามผู้เขียนเองก็เข้าใจสื่อมวลชนที่ว่านอกจากการใช้คำว่าม็อบเพราะสะดวกและติดตาแนบหูประชาชนดีแล้ว มีผู้ประท้วงจำนวนมากโดยเฉพาะเมืองไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ขยับขยายกิจกรรมตามวิถีของ protester มาเป็น mob เช่นการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการ และสถานที่สำคัญของประเทศรวมไปถึงการใช้ความรุนแรงทางกายและอาวุธกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองรวมไปถึงผู้มีความคิดเห็นต่างกับตน จึงทำให้คำว่า Mob ดูโดดเด่นเหนือคำอื่น สำหรับผู้ประท้วงนั้นก็มีเหตุผลเป็นของตัวเอง เพราะการประท้วงแบบเรียบร้อยนั้นมักไม่ค่อยได้ผลและต้องใช้เวลานานอาจทำให้การประท้วงล้มเหลว ผู้นำการประท้วงและผู้ประท้วงจำนวนมากจึงแอบหวังลึกๆ ว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผิดกฎหมายเช่นนี้มักนำไปสู่ความสำเร็จเช่นการล้มรัฐบาล


3. Flash mob/smart mob

Flash mob ตามวิกิพีเดียภาษาไทยคือ การรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่หนึ่ง อย่างฉับพลัน เพื่อแสดงสิ่งแปลกตาและดูเหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายในช่วงระยะเวลาอันสั้นโดยผ่านสื่อเทคโนโลยีเช่นมือถือหรืออินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อย่างไรก็สำหรับการประท้วงทางการเมืองที่กลุ่มผู้ประท้วงมีการวางแผนอย่างดีโดยสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีทันสมัยต้องใช้คำว่า smart mob


4. Demagogue -นักปลุมระดมมวลชนโดยใช้กลยุทธต่างๆ

หัวใจสำหรับการประท้วงคือการมีผู้จัดตั้งและผู้นำการประท้วง การจะทำให้มวลชนซึ่งอาจมีความคิดสอดคล้องกันเพียงแค่บางประการให้คิดเหมือนกันหมด ผู้นำการประท้วงหรือนักปลุกระดมมวลชนจึงมักมีบารมี (Charisma) และเป็นที่นับถือหรือเป็นที่นิยมของมวลชนไม่ว่าเป็นนักธุรกิจชื่อดัง นักกิจกรรมทางสังคม ดารา นักการเมืองที่คว่ำหวอด หรือแม้แต่พระสงฆ์ ฯลฯ ซึ่งต้องใช้วาทศิลป์ในการกล่อมให้ฝูงชนเกิดอารมณ์คล้อยตามและปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อถกเถียงจนสามารถยอมตายแทนได้ ซึ่งน่าสนใจว่าผู้ที่เป็นเอตทัคคะในด้านนี้ในอดีตคืออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งกลยุทธของเขาถูกนำมาใช้โดยนักการเมืองของประเทศต่างๆ ในยุคหลัง (ซึ่งจำนวนมากก็ได้ประณามฮิตเลอร์ไปด้วย ปฏิบัติตามฮิตเลอร์ไปด้วย) อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ว่าเหตุใดผีของฮิตเลอร์ยังคงสิงสู่โลกเหมือนปัจจุบัน


5. Propaganda -การโฆษณาชวนเชื่อ

หากได้ศึกษาการปลุกระดมมวลชนของบรรดาผู้นำการประท้วงแล้ว เราก็จะตกใจไม่น้อยว่าการประท้วงที่อ้างว่าเพื่อประชาธิปไตยนั้นกลับเต็มไปด้วยกิจกรรมที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการตั้งเวทีเพื่อเสนอข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับเป้าหมายของการประท้วง (เช่นรัฐบาล) ผ่านกิจกรรมทุกอย่างเท่าที่จะทำได้นอกจากการใช้วาทศิลป์ของ demagogue เช่น การแสดงภาพและตัวหนังสือบนจอที่ปลุกใจ การโฟนอินของบุคคลสำคัญ การแสดงละครและดนตรี การนำเอาเด็กหน้าใสๆ ขึ้นเวที หรือแม้แต่พิธีกรรมทางศาสนาผสมผสานกับรวมไปถึงความพยายามในการเชิดชูอุดมการณ์ที่ตนนับถืออย่างไม่ลืมหูลืมตาและเสนอภาพด้านบวกของผู้นำหรือการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มตัวเอง เช่นนำเสนอการแต่งงานของคนที่มาเจอกันขณะประท้วง หรือผู้ประท้วงยื่นดอกไม้ให้ทหาร ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของผู้นำการประท้วงดูคล้ายคลึงกับโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิชาตินิยมในประเทศต่างๆ


6. Militia -กองกำลังติดอาวุธ

หรืออย่างที่เรียกกันทั่วไปว่าเป็นฝ่ายคุ้มครองการประท้วงหรือการ์ด ซึ่งคนเหล่านั้นมีการแอบเก็บสะสมอาวุธในรูปแบบต่างๆ (ที่ต้องแอบเพราะจะได้ไม่ต้องเสียภาพพจน์ของการประท้วงแบบอหิงสา) และพร้อมจะเป็นแนวหน้าในการทำสงครามต่อสู้กับผู้มาก่อกวนหรือกลุ่มฝ่ายตรงกันข้ามได้ เมื่อเกิดเหตุปะทะกันการ์ดซึ่งมักเป็นชาวบ้านตาดำ ๆ มักเป็นฝ่ายแรกที่บาดเจ็บ และล้มตาย หรือถูกจับดำเนินคดีกับติดคุกเป็นเวลานาน อันเป็นชะตากรรมที่ค่อนข้างแตกต่างจากกลุ่มผู้นำประท้วงซึ่งมักสามารถหายตัวไปได้ก่อนจะมีการปราบปรามหรือจับกุมผู้ประท้วงครั้งใหญ่


7. Deception -การหลอกลวง

ในการโฆษณาชวนเชื่อนั้น กิจกรรมสำคัญสำหรับผู้นำการประท้วงก็คือการหลอกลวง การโกหกเพื่อให้ผู้ประท้วงเกิดความเกลียดชังเป้าหมายจนเข้าสู่สภาวะคลุ้มคลั่ง (insane) โดยใช้ข้อมูลที่เกินจริง ตัดทอนเอาข้อมูลบางส่วนที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อของตนออกไป เน้นแต่อารมณ์เป็นสำคัญ ส่วน demagogue หลายคนนอกจากจะใช้การด่าทอที่เต็มไปด้วยคำหยาบคาย แล้วยังพยายามใช้คำกำกวมเช่นการประกาศชัยชนะจนพร่ำเพรื่อ สู้จนตัวตาย หรือประกาศเงื่อนไขที่ดูดีแต่มีประเด็นซ่อนเร้นเช่นผู้นำมักประกาศว่าถ้าไม่ชนะก็ยินยอมให้ถูกจับกุม เพราะผู้นำฝ่ายประท้วงมักมีอำนาจทางการเมืองในการต่อรองสูง จึงมักไม่ติดคุกหรือติดคุกไม่นาน เป็นที่น่าสนใจว่าการหลอกลวงแบบนี้จะถูกหัวเราะเยาะจากฝ่ายอื่น แต่พวกเดียวกันกลับสามารถเชื่อได้อย่างน่าอัศจรรย์ อันสะท้อนให้เห็นถึงพลังของการโฆษณาชวนเชื่อ


8. Hidden dictatorship -เผด็จการแบบแอบแฝง

น่าสนใจว่าการประท้วงส่วนใหญ่ อำนาจการตัดสินใจมักรวมศูนย์อยู่ที่หัวหน้าและคณะกรรมการ เพราะการประท้วงเป็นระบบเปิดคือให้คนจากร้อยพ่อพันแม่เข้าร่วม การเปิดให้ทุกคนตัดสินใจร่วมกันในขณะเดียวกันผู้นำการประท้วงต้องการให้ผู้เข้าร่วมประท้วงปฏิบัติตามแบบซ้ายหันขวาหันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากยิ่ง ผู้นำการประท้วงจึงมักใช้ลูกไม้ (trick) เช่นการกล่อมให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเคลิบเคลิ้มและคล้อยตามแล้วจึงแสร้งถามความเห็นของมวลชนเพื่อให้ได้คำตอบที่ตัวเองได้เตรียมไว้แล้วและจะได้ไว้ใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็นฉันทามติของผู้ประท้วง (และสุดท้ายย่อมอ้างไปถึงประชาชนคนไทยทั้งมวล) แน่นอนว่าเวทีการประท้วงย่อมไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน (มากเกินไปนัก ) หรือไม่มีทางที่จะเปิดให้มีการถกเถียง (debate) กันอย่างเสรีระหว่างผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการประท้วง


9. Mastermind -จอมบงการ

น่าสนใจที่ว่าการประท้วงจำนวนมากจะมีจอมบงการที่อยู่เบื้องหลัง เป็นนักวางแผนตัวจริงและเป็นผู้สนับสนุนด้านทุนและกำลังคนส่วนหนึ่ง จอมบงการมักไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุมประท้วงหรือปรากฏตัวเพียงชั่วขณะหรือส่งสัญญาณบางประการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มประท้วงหรือดึงดูดใจให้มีคนเข้าร่วมประท้วงมาก ๆ จอมบงการมักเป็นผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบในด้านลบหากเกิดการปรามปรามของรัฐหรือความรุนแรงและเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากความขัดแย้งครั้งนี้อย่างแท้จริงถ้าฝ่ายตนชนะ การรับรู้ของสาธารณชนต่อตัวตนของคนเช่นนี้ค่อนข้างหลากหลายเช่นเป็นที่รู้กันทั่วไปบ้าง รู้บ้างไม่รู้บ้าง หรือสื่อไม่ได้นำเสนอแต่คนจำนวนมากก็รู้บ้าง


10. Mediator -ผู้ไกล่เกลี่ย

เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่ายที่ไม่ยอมความกันแล้ว วิธีการที่ดีที่สุดประการหนึ่งคือการหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย แต่ปัญหาคือในช่วงความขัดแย้งนี้ทุกคนล้วนเต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจกัน (distrust) ดังนั้นจึงหาผู้มาไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันได้ยากยิ่ง เพราะต่างฝ่ายอาจมองว่าผู้ไกล่เกลี่ยแท้ที่จริงอาจเป็นจอมบงการที่อยู่เบื้องหลังหรือแอบเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะเป็นมือที่ 3


11. Intervener –ผู้เข้ามาแทรกแซงหรือมือที่ 3

มือที่ 3 อาจเกิดจากจอมบงการอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาแทรกแซงเหตุการณ์อันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่มด้วยการเป็นตัวจุดประกายให้การเผชิญหน้าดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้นมาเพื่อที่ตนจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในภายหลัง มือที่ 3 เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่สังเกตได้ยากเพราะไม่แสดงตนและผู้ปฏิบัติการมักจะพรางตนให้เกิดความเข้าใจผิดจากรัฐบาลและฝ่ายประท้วงว่าเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง วีรกรรมของมือที่ 3 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเช่นช่วงพฤษภาทมิฬปี 2535 ที่มีชายฉกรรจ์ไปเผาโรงพักนางเลิ้ง หรือว่าชายชุดดำในสงครามกลางเมืองของไทยเมื่อปี 2553


12. Civil war -สงครามกลางเมือง

สงครามกลางเมืองหมายถึงการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือเป็นคนชาติเดียวกัน หากดูจากเวบบอรด์ต่างๆ จะพบว่ามีหลายคนหวาดกลัวว่าการประท้วงใหญ่ครั้งนี้จะนำไทยไปสู่สงครามกลางเมืองแบบซีเรีย ผู้เขียนซึ่งสนใจการเมืองตะวันออกกลางพอสมควรคิดว่าไม่ควรที่จะนำเอาการเมืองของประเทศที่มีบริบทแตกต่างจากเรามาเปรียบเทียบ เพราะซีเรียนั้นอาจจะเริ่มต้นแบบเดียวกับไทย (หรือยูเครนหรืออื่น ๆ ) แต่เกิดการลุกลามไปได้เพราะต่างชาติเช่นตะวันตก รัสเซียและจีน รวมไปถึงกลุ่มผู้ก่อการร้ายเข้ามาแทรกแซงให้การสนับสนุนผู้ประท้วงและฝ่ายขบถในด้านอาวุธและกำลังคน ซีเรียยังเกิดความจากความขัดแย้งระหว่างนิกาย 2 นิกายคือชีอะห์และซุนนีห์ อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถตัดเอาคำว่า Civil war ออกไปจากอนาคตของการเมืองไทยได้ หากกลุ่ม 2 กลุ่มซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคนไทยในจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ทิ้งห่างกันเท่าไรยังคงขัดแย้งและความเกลียดชังต่อกันอย่างสูงอยู่เช่นนี้
ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับการประท้วง

ประชาไท วันที่ 8 ธ.ค. 2556
http://prachatai.com/journal/2013/12/50272