PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปลด‘พล.ต.พิสิฐศักดิ์’ ออกจากราชการ แอบอ้างพระราชกระแสหาปย. ภัยความมั่นคงสถาบัน


ปลด พลตรี พิสิฐศักดิ์ เสนีวงศ์ ฯ รองผู้บังคับ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ออกจากราชการ เรียกคืนเครื่องราชฯ กระทําผิดวินัยทหารประพฤติชั่วร้ายแรง แอบอ้างพระราชกระแส ใช้อํานาจในทางมิชอบ หาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง-พวกพ้องเป็นภัยต่อความมั่นคงสถาบัน
piicccw9 11 15
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา วันนี้ (9 พ.ย.58) เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถอดยศทหารและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ปลด พลตรี พิสิฐศักดิ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บังคับ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ออกจากราชการ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดออกจากยศทหาร ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวันที่มีคําสั่งพักราชการ เนื่องจากกระทําผิดวินัยทหารประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กระด้างกระเดื่อง ขัดพระราชบัณฑูร ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งผู้บังคับบัญชา แอบอ้างพระราชกระแส ใช้อํานาจหน้าที่ในทางมิชอบ หาผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้องเป็นภัยต่อความมั่นคงสถาบัน
ทั้งนี้ ตามข้อ ๔ ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตําแหน่ง ข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ และข้อ ๒ ของระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควร จะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญจักรมาลา ที่บุคคลดังกล่าวได้รับพระราชทาน ตามข้อ ๖ และข้อ ๗ (๔) ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สุรชาติ บำรุงสุข:10หลุมระเบิด คสช.

จากรถไฟสายประชาธิปไตยมุ่งหน้าสู่สถานีเลือกตั้งในปี 2559 แต่ก็ประสบอุบัติเหตุกรณีคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้ไปถึงเป้าหมายช้าไป 1 ปี คือปี 2560

แม้ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะออกไปบอกกับชาวโลกว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แต่ก็ยังไม่มีอะไรรับประกันว่าจะเกิดอุบัติเหตุซ้ำอีกคำรบจนทำให้รถไฟไปถึงที่หมายล่าช้ากว่าเดิมอีกหรือไม่ 




ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "สุรชาติ บำรุงสุข" นักวิชาการรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์อุปสรรค หลุมระเบิดที่รอคอยอยู่เบื้องหน้าว่ามีอะไรบ้าง 

- จากนี้ไปอะไรที่เป็นหลุมระเบิด และกับดักที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเผชิญ

หนึ่ง เชื่อว่าในปี 2559 การเมืองจะอยู่ในความควบคุมของผู้นำทหารต่อไป ยังไม่มีโอกาสเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงมากกว่าปัจจุบัน เนื่องจากท่าทีของผู้นำทหารพูดถึงประเด็นละเอียดอ่อน เช่น การปิดประเทศ หรือจำกัดเสรีภาพมากขึ้น อย่างนี้เป็นสัญญาณลบทางการเมือง และส่งผลลบในทางเศรษฐกิจ คำพูดเหล่านี้ยืนยันว่าการเมืองไทยปี"59 จะไม่สดใส  

สอง เชื่อว่าหลังจากนี้ การเมืองไทยจะยิ่งเห็นความชัดเจนของการออกแบบระบบการเมืองที่ตอบสนองผลประโยชน์ของคนชั้นนำ และผู้นำทหารมากขึ้น การเมืองในอนาคตถูกออกแบบแล้ว ไม่เป็นประชาธิปไตย แม้นำไปสู่การเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร หรือเป็นระบบการเมืองที่การเลือกตั้งแบบไม่เสรี เพื่อให้การเลือกตั้งดำรงอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นนำและผู้นำทหารต่อไป

สาม รัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย แต่กำลังถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ประเทศอยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้ หรือการควบคุมทางการเมืองจะเป็นประเด็นหลักมากกว่าการสร้างประชาธิปไตยโดยอาศัยกรอบรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ความฝันเรื่องระบอบรัฐธรรมนูญนิยมจะยังเป็นปัญหาต่อไป  

สี่ ต้องติดตามว่าในที่สุดชนชั้นนำและผู้นำทหารจะยังผลักดันองค์กรที่มีอำนาจพิเศษ อย่างคณะกรรมการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ให้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ ถ้าผลักดันให้เกิด คปป. มีแนวโน้มทำให้เกิดปัญหาเช่นเดิม แม้ผู้นำทหารเชื่อว่าอำนาจของกองทัพที่อยู่ในการเมืองยังสามารถควบคุมทุกอย่างได้ แต่เชื่อว่าแรงกดดันมากกว่ายุคของอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 

ห้า หลังจากนี้จนหลังปีใหม่เป็นช่วงเวลาของการต่อสู้และการเรียกร้องประชาธิปไตยจะเข้มข้นมากขึ้น กลุ่มต่าง ๆ จะออกมาไม่ใช่มีแต่กลุ่มประชาชนเล็ก ๆ บางส่วนที่ผู้นำทหารเห็น เช่น กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ต้องยอมรับบทบาทของสื่อโซเชียลมีเดียทำให้ฐานการเรียกร้องประชาธิปไตยไทยถูกขับเคลื่อน 

หก ผู้นำไทยในการประกาศที่โตเกียวให้คำมั่นว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2559 แต่ในการประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์ก การเลือกตั้งเลื่อนออกไปในปี 2560 เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านการโหวตของ สปช. เชื่อว่าต่างประเทศจะต้องการความมั่นใจว่าท้ายที่สุดการเลือกตั้งในไทยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ 

เจ็ด นับจากนี้จะมีปัญหาความขัดแย้งภายในของปีกผู้มีอำนาจด้วยกันเอง ที่เห็นชัดคือกรณีผู้นำทหารด้วยกันเอง

- นอกจากหลุมระเบิดทางการเมืองมีเรื่องเศรษฐกิจหรือไม่

แปด แรงกดดันจากกลุ่มทางสังคมจะขยายมากขึ้น ในปีหน้าปัญหาใหญ่คือปัญหาภัยแล้ง ปี"59 ที่จะตามมาคือปัญหาราคาสินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์ม ยังไม่เห็นราคาที่เป็นอนาคต ขณะเดียวกัน การส่งออกก็ยังลดลง ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กประสบปัญหารุนแรง แม้รัฐจะพยายามขับเคลื่อนแต่จะยังยากลำบาก และปัญหาเศรษฐกิจชาวบ้าน สภาพอย่างนี้ทำให้กลุ่มสังคมหลาย ๆ ส่วนเริ่มมีแรงกดดันจากการจัดการภาครัฐของ คสช.มากขึ้น

เก้า ความท้าทายใหญ่คือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคของภาครัฐ เช่นการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ อีกมุมหนึ่งต้องมองออกจากบ้านเรา คือ ปัญหา TPP หรือองค์กรการค้าการลงทุนในแปซิฟิก ปีหน้าคงต้องยุติในมุมว่าเราจะเสนอตัว หรือแสดงอะไรกับ TPP แม้ยังไม่ใช่ปีที่เปิดรับสมาชิก ของจริงที่จะมาถึง 31 ธ.ค. 2558 เป็นจุดกำเนิดของประชาคมอาเซียน กฎระเบียบของอาเซียนจะถูกผลักดันเข้ามามากขึ้น คำถามคือรัฐบาลจะรองรับความเปลี่ยนแปลงจากความเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ บ้านเหล่านี้อย่างไร 

สิบ ปัญหาความมั่นคงภายในจะถูกท้าทายมากขึ้น เช่น กรณีวางระเบิดศาลพระพรหมราชประสงค์ ปัญหาความมั่นคงในภาคใต้ที่กลับมาระเบิดมากขึ้น สรุปว่าจากไตรมาส 4 ของปีนี้ จะเริ่มเห็นความเข้มข้นของปัญหา 10 ประเด็นเหล่านี้มากขึ้น

- ใน 10 ประเด็น อะไรคือหลุมระเบิดที่น่ากลัวที่สุด

ตอบไม่ได้ชัดว่าอะไรเป็นหลุมระเบิดหรือกับดักใหญ่ แต่ทุกอย่างสามารถเป็นกับดักใหญ่ได้ทั้งหมด 

- รัฐบาลต้องขยายโรดแมปออกไปมากกว่าปี 2560 เพื่อเลี่ยงทั้ง 10 ประเด็นหรือไม่

โรดแมปขยายไปแล้วในปฏิญาณโตเกียว 2559 พอไปนิวยอร์กกลายเป็น 2560 คำถาม คือ ถ้าไปอีกประเทศหนึ่งในปีหน้าการเลือกตั้งจะขยับออกไปอีกไหม ต่างประเทศให้ความสนใจประเด็นนี้มากเพราะต้องการความมั่นใจ มันส่งผลถึงการลงทุน เชื่อว่าภาคเอกชนในต่างประเทศจับตามองว่า อนาคตการเมืองไทยจะเป็นบวกหรือลบ โดยเฉพาะแนวโน้มการเลือกตั้งจะเกิดอย่างไรภายใต้รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ 

- ปมรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นปมร้อนแรงและท้าทายที่สุดในปีหน้าหรือไม่

ไม่อยากให้ใช้คำว่าท้าทายที่สุดไหม เพราะมันมีหลายประเด็นที่พร้อมจะเป็นระเบิดเวลา รัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในระเบิดเวลาของการเมืองไทย

- หรือการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ คสช.คุมได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำ 5 สาย

วันนี้ คสช.คุมการร่างได้ เพราะอยู่ในปีกของ คสช. แต่เมื่อร่างออกมาแล้วจะเผชิญกับข้อวิพากษ์วิจารณ์ เราเห็นยุคอาจารย์บวรศักดิ์ถึงแม้ว่าจะมีการจัดเวทีสาธารณะให้แสดงความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกันการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้น้อยเลย 

ฉะนั้นข้อถกเถียงจะไปอยู่ในช่วงหลังปีใหม่ เพราะตอนนี้ขณะนี้อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี"58 ซึ่งหลังจากเทศกาลปีใหม่ก็จะกลับมาสู่ปัญหาต่าง ๆ ที่พูดไป ซึ่งปัญหาหนึ่งที่จะกลายเป็นปมใหญ่แน่ ๆ คือ การร่างรัฐธรรมนูญ

- อาจารย์บอก คปป.ว่าน่ากังวล แต่นายกฯบอกว่าต้องมีเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐประหารในอนาคต อาจารย์เห็นแย้งหรือไม่ 

ผมว่า คปป.จะทำให้รัฐธรรมนูญประสบปัญหาเหมือนในยุคอาจารย์บวรศักดิ์ ถ้าสมมุติว่าร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วมี คปป.อยู่ ผมเชื่อว่าเป็นวิกฤต เนื่องจากโดยปกติเราอยู่บนพื้นฐานที่เชื่อว่าไม่มีองค์กรอะไรที่เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ เหนือ 3 อำนาจ คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ถ้า คปป.เกิดขึ้น แล้วเราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถสร้างหลักรัฐศาสตร์ได้ โดยไม่ต้องนำพาซึ่งกระแสสังคม โดยไม่จำเป็นต้องนึกถึงกรอบกติกาสากล คปป. จะเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์จริง ๆ ไม่ใช่รัฐบาล ไม่ใช่รัฐสภา และอาจไม่ใช่สถาบันตุลาการ

เมื่อ คปป.เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ใหม่ มันจะสร้างปัญหาให้กับตัวกระบวนการการเมืองเอง แม้จะมีข้อโต้แย้งว่าจะใช้ได้เมื่อในยามประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะฉะนั้นเมื่อไรก็ตามที่ คปป.ออกมา คนจะสรุปได้ทันทีว่า นี่คือการสร้างกลไกใหม่ เพื่อคงอำนาจของทหารให้อยู่ในรัฐธรรมนูญได้ โดยมีตัวรัฐธรรมนูญรองรับอำนาจของ คปป. ให้อยู่เหนือสถานะ 3 สถาบันทางการเมืองเดิม

- ถ้ารัฐบาลยังไว้ใจ คปป.แม้เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้าง แต่หลักการยังคงเดิม คปป.จะเป็นชนวนให้เป็นวิกฤติรัฐธรรมนูญได้หรือไม่

ก็จะเห็นตัวอย่างเหมือนในยุคอาจารย์บวรศักดิ์ วันนี้เริ่มเห็นอย่างหนึ่งแล้ว คือ ระบบการเลือกตั้ง ซึ่งระบบนี้ถูกออกแบบเพื่อรองรับแบบไทย ๆ แต่ท้ายที่สุดระบบการเลือกตั้ง ถ้าถูกออกแบบมาแล้วไม่สามารถทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยและเดินเข้าสู่ระบอบการเลือกตั้งที่ดี กลับกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง มันจะเป็นปมที่ทำให้เกิดวิกฤตไปเรื่อย และถ้า คปป.เข้ามาก็จะเห็นข้อถกเถียงเรื่องอำนาจพิเศษในรัฐธรรมนูญ แล้วเรื่องรัฐธรรมนูญจะเป็นปมใหญ่ที่ทำให้เกิดวิกฤตแน่ ๆ 

- รัฐบาลและ กรธ.ต้องการออกแบบร่างรัฐธรรมนูญออกมาลักษณะนี้ มองว่าเป็นความหวังดี มากกว่าประสงค์ร้ายหรือไม่ 

วิธีที่ดีที่สุด คือ การพาการเมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ภาวะปกติคือให้การเลือกตั้งเดินไปด้วยตัวเอง แต่ไม่ใช่มีความเชื่อว่าการเลือกตั้งจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ถ้าคิดอย่างนั้นเสียแล้ว การเมืองไทยจะอยู่ในภาวะที่เหมือนการเป็นเด็กอ่อนตลอดเวลา ทหารจะเป็นผู้อภิบาล ถ้าจะถอยหลังประเทศไทยต้องถอยให้กลับสู่ภาวะปกติ และให้การเมืองแบบปกติตัดสินอนาคตของประเทศไทย

- หากการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำการเมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติ จะทำให้เกิดการเรียกร้องบนท้องถนนหรือไม่

ผมเชื่อว่ายังไม่ถึงจุดนั้น แต่แรงวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นน้ำหนักในตัวของมันเอง จากไตรมาสสุดท้ายของปี"58 ยาวไปถึงปี"59 การเมืองไทยยังเหมือนเดิม คือ อยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร การจะชุมนุมของมวลชนขนาดใหญ่ยังเป็นเรื่องที่ยังไกล แต่พลังวันนี้ไม่ได้อยู่บนถนนแบบเก่า แต่พลังวันนี้อยู่ในสื่อใหม่ อยู่ในความรู้สึกของประชาชน อยู่ในสิ่งที่รัฐบาลต่างประเทศสร้างแรงกดดันกลับเข้ามา ถ้ารัฐบาลกังวลอยู่อย่างเดียวว่ากลัวคนกลุ่มเดิมที่ต่อต้านรัฐบาลจะออกมา วันนี้ไม่เป็นแบบนั้น 

ในอดีตเราอาจจะรู้สึกว่า สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียจะอยู่ในสังคมชนชั้นกลางหรืออยู่กับปีกอนุรักษนิยม ซึ่งมีการศึกษา แต่วันนี้ไม่ใช่ มันเปิดมากกว่าที่ผู้นำทหารคิด และการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  

- การต่อสู้ระหว่างขั้วอำนาจเก่ากับขั้วอำนาจใหม่ที่เข้มข้นอยู่ในขณะนี้จะเดินไปสู่จุดไหนได้บ้าง

สามารถตอบได้แบบหยาบ ๆ คือ ทำให้นำไปสู่การเกิดแรงกดดันต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยหลังจากปี"58 เข้าสู่ปี"59 จะเห็นแรงกดดันทางการเมือง เห็นปัญหาการโต้แย้งทางการเมืองมีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ขยายวงมากขึ้น ส่วนจะนำไปสู่ความผกผันหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ เพราะประเด็นที่เป็นกับดักหรือหลุมระเบิดมีมากขึ้น และมีหลายลูกหลายหลุมที่รออยู่ 

- การดำเนินคดีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นจุดพลิกผันทางการเมืองได้หรือไม่

ไม่เป็นจุดพลิกผัน แต่จะเป็นจุดที่ไปตอกย้ำความรู้สึกคนได้มากกว่า ที่คนชอบพูดถึง คือ หนึ่ง สองมาตรฐาน สอง ความเป็นธรรมในการต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรม วันนี้เราเริ่มเห็นและรัฐบาลก็ตระหนักอยู่ 

ถ้าภาพลักษณ์เกิดเพิ่มมากขึ้น ๆ ว่า กระบวนการดำเนินการถอดถอนเป็นเครื่องมือจัดการของฝ่ายตรงข้าม อีกด้านหนึ่งภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมไทยและภาพลักษณ์ของรัฐบาล จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น

- กรณีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะส่งผลกระทบต่อการสร้างความปรองดองในอนาคตหรือไม่

เรื่องการสร้างความปรองดองมีการพูดถึงมานาน แต่ไม่เคยเห็นสัญลักษณ์ หรือการกระทำที่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร การปรองดองถ้าจะเริ่มได้ ต้องเริ่มจากปีกของฝ่ายผู้มีอำนาจที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะปรองดอง แต่ถ้าไม่เริ่มจากฝ่ายผู้มีอำนาจ คนที่ไม่มีอำนาจไม่อยู่ในสถานะที่มากกว่าการเสนอเรื่องปรองดอง เพราะนโยบายอยู่ที่ฝ่ายมีอำนาจเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการจำนำข้าวจึงเป็นการตอกย้ำการเมืองไทยว่า อนาคตการเมืองไทยที่เราอยากเห็นการคลายตัว สภาวะการเมืองไทยที่จะกลับสู่ภาวะปกติ มันจะยิ่งไม่ปกติ 

- 1 ปีที่ผ่านมาผลงานของ คสช. สรุปเป็นวลีสั้น ๆ ว่าอย่างไร 

ทุลักทุเล แม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่ควบคุมการเมืองได้ เราเห็นโจทย์ใหญ่ที่รออยู่ โจทย์ปี"58 ไม่ได้เล็ก แต่โจทย์ปี"59 ใหญ่กว่า ซึ่งมีระเบิดเวลาหลายเรื่อง ปี"59 ก็จะยิ่งทุลักทุเล

รัฐสภาแคว้นคาตาลันรับรองมติให้ “แยกประเทศ” ออกจากสเปน


วันนี้เอง รัฐสภาแคว้นคาตาลันรับรองมติให้ “แยกประเทศ” ออกจากสเปนด้วยเสียง 72 ต่อ 63 กำหนดแผนโรดแม็ป 18 เดือน โดยในเดือนแรกจะร่างแผนการแยกระบบประกันสังคมกับภาษี ระบุว่าเป็น “democratic disconnection” การค่อย ๆ แยกอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยทางคาตาลันจะค่อย ๆ ตัดความร่วมมือกับรัฐบาลส่วนกลาง เงื่อนไขเดียวที่จะทำให้ยุติการดำเนินงานตามโรดแม็ปนี้คือ รัฐบาลกลางต้องยอมให้ทำ “ประชามติ” แบบเดียวกับสก็อตแลนด์ ส่วนนายกฯ Rajoy พูดเหมือนเดิม "Catalonia is not going anywhere, nothing is going to break,"
Catalonia lawmakers approve resolution for secession process from Spain http://on.wsj.com/1MRMZUj

CIAสารภาพสังหาร"มาริลีน มอนโร"

Normand Hodges เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ CIA ที่ปัจจุบันมีอายุ 78 ปี ซึ่งระหว่างที่เขากำลังเข้ารักษาอาการป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเซนทารา เจเนรัล เขาก็ได้เปิดเผยความจริงน่าช็อกโลกว่า "เขาเป็นคนลงมือฆ่ามาริลีน มอนโร"
โดยเขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดับสูงให้กับ CIA มาเป็นเวลานานกว่า 41 ปี และหนึ่งในหน้าที่การทำงานของเขาก็คือ "การลอบสังหารบุคคลต่างๆ" ให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีทั้งดารานักแสดง นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้ที่อาจจะมีภัยต่อสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้เขายังได้รับการฝึกฝนความเชี่ยวชาญมาเป็นพิเศษอีกด้วย ทั้งทางด้านศิลปะการป้องกันตัว มือปืนสไนเปอร์ วัตถุระเบิดและสารพิษ
และตลอดเวลาที่เขาเป็นเจ้าหน้าที่ CIA เขาลอบสังหารคนมาแล้วกว่า 37 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "มาริลิน มอนโร" โดยเขาเปิดเผยว่า ทาง CIA มีหลักฐานว่า มาริลินไม่เพียงแต่นอนกับเคเนดี้เท่านั้น แต่เธอยังนอนกับ ฟิเดล กัสโตร นักปฏิวัติและผู้นำคิวบาที่เป็นศัตรูกับอเมริกาอีกด้วย
ด้วยความกลัวว่าข้อมูลของสหรัฐอเมริกาจะรั่วไหลไปถึงพวกคอมมิวนิสต์ จิมมี เฮย์วอร์ธ ผู้บังคับบัญชาการของนอร์แมนจึงสั่งให้เขาสังหารมาริลิน มอนโร โดยทำให้เหมือนกับว่าเธอฆ่าตัวตายด้วยการใช้ยาเกินขนาด
และในวันที่ 5 สิงหาคม 1962 ก็เป็นคืนที่เขาลงมือลอบสังหารมาริลิน มอนโร ด้วยการลักลอบเข้าไปในห้องนอนของเธอซึ่งเป็นเวลาที่เธอกำลังนอนหลับอยู่ จากนั้นก็ฉีดยาให้เธอจนเธอถึงแก่ความตาย
โดยเขาเปิดเผยเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เขาไม่เคยลงมือฆ่าผู้หญิงเลย ดังนั้นเธอจึงเป็นผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่เขาลงมือสังหาร ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลการเสียชีวิตของมาริลิน มอนโร โดยเธอเสียชีวิตในปี 1962 จากการใช้ยาเกินขนาด ทั้งเธอยังมีความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีเคเนดี้จริงๆ เสียด้วย...
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "wittyfeed"

ร่องรอยในรายทาง"พยัคฆ์"

หนังสือพิมพ์รายวัน/ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์

10 ต.ค. 2558 06:18

พยัคฆ์ตัดพยัคฆ์ “บิ๊กหมู VS บิ๊กโด่ง”

โดย: ASTVผู้จัดการรายวัน

ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เรียกว่าร้อนฉ่าไปทั้ง “กองทัพบก” และเลยไปถึง “กระทรวงกลาโหม” ตามต่อด้วย “รัฐบาล” และ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)” กันเลยทีเดียว สำหรับ “ปฏิบัติการหมูเขี้ยวตัน” ของ “บิ๊กหมู-พล.อ.ธีรชัย นาควานิช” ผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ ที่กระทำต่อ “บิ๊กโด่ง-พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร” เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร 14 ที่วันนี้พ้นจากเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบกไปเป็น “เจ้านาย” ตามสายการบังคับบัญชาในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
เมื่อ พล.อ.ธีรชัยลงนามคำสั่งแต่งตั้งนายทหารระดับพันเอกพิเศษ รองนายพลและผู้การกรมจำนวน 271 นาย พร้อมกับการเด้ง “ผู้การโจ้-พ.อ.คชาชาต บุญดี (ตท.27) ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์(ผบ.ป.1 รอ.)ลูกน้องมือขวาของบิ๊กโด่ง ซึ่งบิ๊กโด่งมีคำสั่งแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง “รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11(รอง ผบ.มทบ.11) ก่อนเกษียณอายุราชการในเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบกเพียงแค่ 1 วัน เข้ากรุไปเป็น “ฝ่ายประจำเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3”
เรียกว่า ย้ายกันอย่างไม่ไว้หน้า พล.อ.อุดมเดช ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทั้งในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร 14 เป็นอดีตผู้บังคับบัญชาคือผู้บัญชาการทหารบก และเจ้านายในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมกันเลยทีเดียว
ยัง....ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น 
เพราะก่อนหน้าที่ พล.อ.ธีรชัยจะมีคำสั่งย้ายนายทหาร 271 นายซึ่งรวมถึง ผู้การโจ้-พ.อ.คชาชาตเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในวันเดียวกันนั้นคือวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ได้ พล.อ.ธีรชัยมีคำสั่งให้รื้อกำแพงหรือฉากหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หน้า บก.ทบ. รวมทั้งมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่จากกรมการทหารช่าง นำแผ่นโลหะมาปิดทับบ่อน้ำพุบริเวณ ลานด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบก และอนุญาตให้รถยนต์ของกำลังพล รวมถึงผู้ที่มาติดต่อราชการกองทัพบก ได้จอดรถบริเวณด้านหน้าอาคารได้อีกด้วย ซึ่งบ่อน้ำพุและลานจอดรถได้ทำการปรับปรุงใหม่ในสมัยที่ พล.อ.อุดมเดช เป็น ผบ.ทบ. 
โดยมีข่าวว่า งานนี้ถึงกับมีการทุบโต๊ะดังปังว่า “วันจันทร์อย่างให้เห็นอีกทั้งกำแพงและน้ำพุ”
ทั้งนี้ พล.อ.อุดมเดชสร้างกำแพงฉากหลังขึ้นมาด้วยเหตุผลในเรื่องของความสวยงามและกั้นไม่ให้เห็นชั้นล่างของหอประชุมกิตติขจรที่มักมีการนำข้าวของมาวางพักเวลาจัดงานต่างๆ หรือบางครั้งมีการนำสินค้าเกษตรของ ทบ.มาจำหน่ายให้กำลังพล จึงทำฉากกั้นเพื่อให้เห็นสิ่งที่ไม่เรียบร้อย
ขณะที่กระแสข่าวรายงานว่า เหตุที่ พล.อ.ธีรชัย สั่งให้รื้อก็เพราะต้องการให้พระบรมราชานุสาวรีย์กลับมาเป็นเหมือนเดิมสมัยที่เป็นโรงเรียนนายร้อย จปร. และเชื่อว่า พระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งที่ทหารในกองทัพบกเคารพบูชาและถวายราชสักการะอยู่เป็นประจำ ดังนั้นไม่ควรมีอะไรมาบดบังความศักดิ์สิทธิ์ของ “เสด็จพ่อ ร.5” 
จนทำให้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ปฏิบัติการหมูเขี้ยวตันดังกล่าวอาจจะลามไปถึงคำสั่งย้ายนายทหารระดับพันเอกพิเศษ รองนายพลและผู้การกรมที่จะคลอดออกมาในวันเดียวกันด้วย
และสุดท้ายก็เป็นไปอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้จริงๆ 
แน่นนอน ไม่ต้องถามว่า ทำได้หรือไม่ได้ แต่ต้องถามว่า ทำไม พล.อ.ธีรชัยถึงได้ตัดสินใจแบบห้าวเป้งไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมเช่นกัน ซึ่งถ้าหากย้อนหลังกลับไปพิจารณาต้นสายปลายเหตุของเรื่อง ก็จะสามารถเห็นข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
พล.อ.อุดมเดชลงนามคำสั่ง ทบ.ที่ 579/2558 เรื่องให้นายทหารรับราชการ ลงวันที่ 29 กันยายน 2558 ก่อนเกษียณอายุราชการในเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบกเพียงวันเดียว โดยโยกย้าย “3 พันเอกพิเศษ” และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558
คนแรกคือ ผู้การโจ้ พ.อ.คชาชาต บุญดี(ตท.27) ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์(ผบ.ป.1 รอ.) ขึ้นรองนายพลเป็นรองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11(รองผบ.มทบ.11) 
ไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติของการบริหารราชการที่จะกระทำในลักษณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแต่งตั้งโยกย้าย ยิ่งเป็นทหารด้วยแล้ว ยิ่งไม่ปรากฏให้เห็น เนื่องจากตามธรรมเนียมหรือ “ขนบ” ของ ทบ.นั้น คำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพันเอกพิเศษทั้งระดับรองนายพล หรือผู้การกรมจะต้องให้ ผบ.ทบ.คนใหม่เป็นคนจัดทำและลงนาม
คนที่สองคือ เสธ.ต่อ-พ.อ.นิติ ติณสูลานนท์(เตรียมทหาร 26) รองผบ.กรมนักเรียนนายร้อย จปร.หลานชาย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กลับใต้ไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารพัฒนาที่4
และเมื่อต้องย้ายเสธ.ต่อ ก็ต้องทำให้มีการย้ายนายทหารคนที่ 3 เพื่อเปิดทางคือย้าย พ.อ.กิตติศักดิ์ ถาวร ผบ.กรมทหารพัฒนาที่ 4 เพื่อนเตรียมทหาร 26 รุ่นเดียวกันขึ้นมาเป็นฝ่ายเสนาธิการผู้บังคับบัญชา
และถ้าจะว่าไปแล้ว การย้ายเสธ.ต่อไปพร้อมๆ กับผู้การโจ้นั้น ก็เป็นเพียงแค่การทำ “ไม่ให้น่าเกลียด” เท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว การโยกย้ายเสธ.ต่อกลับใต้ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนอะไร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผลทั้งปวง เพราะถือเป็นธรรมเนียมปกติที่จะย้ายกลับไปหน่วยปกติเมื่อทำหน้าที่ในโรงเรียนนายร้อย จปร.มาเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งก็เชื่อได้ว่า พล.อ.ธีรชัยจะไม่มีปัญหาอะไรกับเก้าอี้ของ เสธ.ต่อ
แต่ พล.อ.อุดมเดชจะลงนามย้ายผู้การโจ้ลูกน้องมือขวาเพียงคนเดียวก็จะน่าเกลียด จึงจำต้องพ่วง เสธ.ต่อเข้ามาด้วย
คำถามมีอยู่ว่า ทำไม พล.อ.อุดมเดชถึง “ต้องตัดสินใจ” ทำแบบนั้น ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่า จะเกิดข้อครหาตามมามากมาย 
สมมติฐานที่เป็นไปได้มากที่สุด พล.อ.อุดมเดชรู้อยู่แก่ใจว่า ลูกน้องตนเองจะได้รับการโยกย้ายไปอยู่ในที่ในทางที่เหมาะสมตามที่ตนเองอยากให้เป็น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดการในช่วงที่ตนเองยังคงมีอำนาจอยู่ในมือ
เรื่องนี้มีที่มาที่ไป และเกี่ยวพันเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.อุดมเดชกับพล.อ.ธีรชัย ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่า ไม่เป็นที่ลงรอยกันเท่าใดนัก
หากยังจำกันได้ก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์การโยกย้ายซึ่งเกี่ยวโยงโดยตรงกับกรณีของ พ.อ.คชาชาต นั่นคือกรณีของ “ผู้การโต-พล.ต.สุชาติ พรหมใหม่” ผบ.ร.11 รอ.(เตรียมทหาร รุ่น 27) ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น “นายพล” ในการโยกย้ายนายทหารระดับนายพลที่ผ่านมา 
ผู้การโตคือน้องรักของ พล.อ.อุดมเดช และเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยนายโด่งสร้าง “อุทยานราชภักดิ์” อุทยานแห่งความจงรักภักดีที่วันนี้กลายเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ
เป็นที่รับรู้กันว่า ถ้าหากผู้การโตไม่ได้ถูกขยับขยายไปไหน ยังคงนั่งเป็น ผบ.ร.11 รอ. ก็คงไม่แคล้วถูกโยกย้ายพ้นจากเก้าอี้ พล.อ.อุดมเดชจึงโยกให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญการ ทบ.เพื่อไปทำหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการของ ตนเองในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ขณะที่ ผู้การโจ้-พ.อ.คชาชาตคือเพื่อนรักของ พล.ต.สุชาติที่ถูกดึงเข้ามาช่วยงาน พล.อ.อุดมเดชในยามที่ต้องการมือไม้และคนรู้ใจช่วยทำงาน โดยก้าวขึ้นมาเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์(ผบ.ป.1 รอ.) จนกลายเป็นคำเรียกขานแบบหยิกแกมหยอกว่าเป็นคู่หูคนดัง “โต-โจ้” ซึ่งเก้าอี้ของผู้การโจ้ถือว่ามีความสำคัญเพราะ ป.1 รอ.รับผิดชอบพื้นที่สำคัญๆ ได้แก่ ทำเนียบรัฐบาล บก.ทบ.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ คนที่มารั้งตำแหน่ง ผบ.ป.1 รอ.ซึ่ง พล.อ.ธีรชัยเซ็นคำสั่งย้ายพร้อมๆ กับเด้ง ผู้การโจ้-พ.อ.คชาชาตก็คือ “เสธ.มิตต์-พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ” รอง ผบ.ป.1 รอ. นายทหารฝ่ายเสนาธิการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งเสธ.มิตต์นั้นถือเป็นนายทหารที่มีบทบาทสำคัญและทำงานกับพล.อ.ประยุทธ์มาเป็นเวลานาน จนถูกตั้งฉายาเปรียบเทียบว่า “นายกฯ น้อย”
ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของ พล.อ.ธีรชัยกับ พล.อ.อุดมเดชนั้น ก็เป็นที่รับรู้ว่า มีปัญหาอันเนื่องมาจากเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบก
ว่ากันว่า พล.อ.อุดมเดชสนับสนุนให้ “บิ๊กติ๊ก-พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา” น้องชายคลานตามกันมาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่สืบต่อจากตนเอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ พล.อ.ธีรชัยเป็น “ตัวเต็ง” มาโดยตลอด เพราะผ่านเก้าอี้สำคัญๆ ที่ผู้บัญชาการทหารบกควรจะเป็นมาแล้ว โดยเฉพาะตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 
ขณะที่ผู้สนับสนุนคนสำคัญและประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ พล.อ.ธีรชัยเป็น ผบ.ทบ.ก็คือ “บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนทำให้โผทหารและเก้าอี้ ผบ.ทบ.พลิกไปพลิกมาหลายรอบก่อนที่จะมีการเจรจาต้าอ่วยจากฝีมือของพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์จนจบลงที่ชื่อของ พล.อ.ธีรชัยในท้ายที่สุด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตรและพล.อ.ประยุทธ์มีการพูดคุยหรือตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเคาะชื่อ พล.อ.ธีรชัยเป็น ผบ.ท.บ.
ดังนั้น พล.อ.ธีรชัยจึงถือเป็นสายตรงของ พล.อ.ประวิตร และมิได้มีบุญคุณติดค้างอันใดกับ พล.อ.อุดมเดช ซึ่งแม้จะเป็นเพื่อนเตรียมทหาร 14 เหมือนกัน แต่ก็มิได้มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวจงอย่าแปลกใจที่ พล.อ.ธีรชัยจะกล้าหัก พล.อ.อุดมเดชในการเด้งผู้การโจ้-พ.อ.คชาชาตเช่นนี้
งานนี้ ผู้ที่เต้นเป็นเจ้าเข้าเห็นจะหนีไม่พ้นพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ “บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่พยายามเป็น “กาวใจ” พา พล.อ.อุดมเดชและ พล.อ.ธีรชัยเดินโชว์ที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมออกปากแจงแทนทั้งคู่ว่า “ไม่มีอะไร เพื่อนกัน เขาคุยกันแล้ว”
เหตุที่ พล.อ.ประวิตรต้องออกโรงแจงก็เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ความขัดแย้งของ พล.อ.อุดมเดชและ พล.อ.ธีรชัยนั้นส่งผลสะเทือนมาถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกองทัพ และเลยมาถึงภาพลักษณ์ของ คสช.ที่มีกองทัพบกยืนเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้ 
แต่ไม่ว่าจะพยายาม “สร้างภาพ” หรือ “เล่นมุก” ใดๆ ความจริงก็ยังคงเป็นความจริงวันยังค่ำว่า กำลังเกิดรอยร้าวครั้งใหญ่ในความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน เตรียมทหาร 14 จนยากที่จะเยียวยา 
5 ตุลาคม 2558
ขณะที่ พล.อ.อุดมเดช ยิ้มและบอกว่า “เมื่อกี้คุยกันแล้ว” 
ขณะที่พี่ป้อม พล.อ.ประวิตรลงทุนลดกระจกรถลงพร้อมกับพูดว่า “หมูใจเย็นๆ” พร้อมกับหัวเราะ
แต่ พล.อ.ธีรชัยไม่ขอแจงเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้นทั้งโผโยกย้ายและการปรับภูมิทัศน์ใน บก.ทบ โดยตอบสั้นเพียงแต่ว่า “ฝนตก”
6 ตุลาคม 2558
พล.อ.ประวิตรออกมาให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ไม่มีอะไร ผบ.ทบ.คนเก่า และผบ.ทบ.คนใหม่คุยกันเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.แล้ว อาจจะมีการเข้าใจอะไรผิดกัน ไปเขียนจนเหมือนทะเลาะกัน แต่เขาไม่ได้ทะเลาะกัน ส่วนที่ พล.อ.ธีรชัยสั่งปรับภูมิทัศน์ที่กองบัญชาการกองทัพบกนั้นเป็นเรื่องของบุคคล ไม่เป็นอะไร เพราะอาจจะมองกันคนละแบบคนละด้าน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะพี่ใหญ่ได้พูดคุยกับทั้งสองคนหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่มีอะไร ตนไม่ใช่พี่ใหญ่อะไร ตนเป็นผู้บัญชาเขาก็ต้องดูแลเขา ทั้งสองคนก็ไม่ได้คิดอะไรกัน ทั้งคู่ทำงานเพื่อกองทัพ เขาเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว เป็นถึง ผบ.ทบ.จะไปให้ข้อคิดอะไรเขา ไม่ได้มีอะไรเลย เมื่อถามว่าเกรงว่าจะเกิดเรื่องกระเพื่อมหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่มีกระเพื่อมร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้ไม่มีอะไร จบไปแล้ว สบายใจได้
พล.อ.อุดมเดช.กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไร รอฟังผู้ใหญ่ก็แล้วกัน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยน้ำเสียงอันดุดันว่า “มันคนละเรื่อง ไม่ได้แยกแตกคออะไร มันแยกกันไม่ได้อยู่แล้ว... เดี๋ยวเขาไปคุยกันเอง อย่าไปยุ่งกับเขา เป็นเรื่องคนละความคิด แต่ไม่ได้ทะเลาะกัน เป็นเพื่อนกันจะทะเลาะกันได้อย่างไร ผมอยู่ตรงนี้ ยังไงก็ทะเลาะกันไม่ได้อยู่แล้ว เว้นแต่สื่อไปเขียนให้ทะเลาะกัน มันจะแตกแยกกันตรงไหน มันจะสนิมในเนื้อบ้าบอคอแตกอย่างที่เขียนกันมาหรือ ตราบใดที่ผมอยู่สั่งได้หมด ทำไมจะมีการปฏิวัติ รัฐประหารหรืออย่างไร”
วันนี้ แม้ภาพความขัดแย้งระหว่าง พล.อ.ธีรชัยกับ พล.อ.อุดมเดชจะสร่างซาลงจากฝีมือของ พล.อ.ประวิตร และคำรับประกันของ พล.อ.ประยุทธ์ รวมทั้งรับประกันได้ว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะมิได้มีผลต่อการรัฐประหารเพราะต่างก็เป็นบูรพาพยัคฆ์ แต่เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า “รอยแผลเป็น” ที่เกิดขึ้นในใจคงจะไม่จางลงไปง่ายๆ 
และคงต้องติดตามกันต่อไปว่า หลังการเกษียณอายุราชการในเก้าอี้ ผบ.ทบ.ของ พล.อ.ธีรชัยในเดือนกันยายน 2559 บรรดานายทหารในไลน์ของ พล.อ.อุดมเดชจะกลับมาผงาดอีกครั้งได้หรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้จะไม่ได้เป็น ผบ.ทบ.แต่ พล.อ.อุดมเดชยังคงเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่
รวมกระทั่งถึง “อนาคต” ของ พล.อ.อุดมเดชเองที่สามารถกล่าวได้ว่า ยังคงสดใสและยังมีเส้นทางชีวิตอีกยาวไกล เนื่องจากยังคงได้รับความไว้วางใจจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเป็นอย่างดี เพราะหากยังจำกันได้เคยมีข่าวถึงขนาดเป็น “แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี” แทน พล.อ.ประยุทธ์เลยทีเดียว
ล้อมกรอบ
ขุนพลคุมกำลังรบ “ยุคบิ๊กหมู”
พ.อ. ธิติพันธ์ ฐานะจาโร ลูกชาย พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร อดีตผบ.ทบ. เป็นรอง ผบ.พล.ร.11, พ.อ.มนัส จันดี เป็นรอง เสธ.ทภ.1, พ.อ.กัณฑ์ชัย ประจวบอารีย์ นายทหารคนสนิท พล.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และยังมีผลงานกระชับพื้นที่ในการ ปราบเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ได้เป็นรอง ผบ.พล.1 รอ., พ.อ.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง เป็นรอง ผบ.พล.ร.2 รอ., พ.อ.ศักดิ์วุฒิ วงศ์วานิช และ พ.อ.ชัยยา จุ้ยเจริญ เป็นรอง ผบ.มทบ.18, พ.อ.นิธิศ เปลี่ยนปาน, พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ เป็นรอง ผบ.มทบ.11, พ.อ.ดิฐพงษ์ เจริญวงศ์ เป็นรอง ผบ.มทบ.12, พ.อ.อิทธิพล สุวรรณรัฐ เป็นรอง ผบ.มทบ.13, พ.อ.ชาติชาย น้าวแสง เป็นรอง ผบ.มทบ.19, พ.อ.พิเชษฐ์ อาจฤทธิวงค์ เป็นรอง ผบ.มทบ.21, พ.อ.พิชิต วันทา และ พ.อ.พูลศักดิ์ สมบูรณ์ เป็นรอง ผบ.มทบ.22
พ.อ.อุกฤษฎ์ นุตคำแหง เป็นรอง ผบ.พล.ร.4, พ.อ.บรรณวัฒน์ พรหมจรรย์ เป็นรอง ผบ.พล.ร.7, พ.อ.กฤษดา พงษ์สามารถ เป็นรอง ผบ.พล.ร.5, พ.อ.สิทธิพร มุสิกะสิน เป็นรอง ผบ.พล.ร.15, พ.อ.สุวิทย์ เกตุศรี และ พ.อ.กันตพจน์ เศรษฐารัศมี เป็นรอง ผบ.พล.ม.2 รอ., พ.อ.วรวุฒิ วุฒิศิริ และ พ.อ.นพพร ดุลยา เป็นรอง ผบ.พล.ปตอ., พ.อ.ธราพงษ์ มะละคำ เป็น ผบ.ร.12 รอ., พ.อ.กิตติพงศ์ ชื่นใจชน เป็น ผบ.ร.14, พ.อ.นฤทธิ์ ถาวรวงษ์ เป็น ผบ.ม.3, พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ อดีตโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็น ผบ.ป.5, พ.อ.ชาตรี กิตติขจร เป็นเสธ.พล.รพศ.1, พ.อ.สมบัติ ธัญญะวัน เป็น เสธ.พล.ม.2 รอ., พ.อ.ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ เป็น ผบ.ร.16, พ.อ.วรเทพ บุญญะ เป็นรอง ผบ.ร.17, พ.อ.นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณ หรือ "ผู้การอรัญ" หนึ่งในนายทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่บริเวณหน้า รร.สตรีวิทยาและบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดในเหตุการณ์ครั้งนั้น ขึ้นเป็น ผบ.ม.1 รอ.
พ.อ.เกรียงศักดิ์ เสนาะพิน เป็น ผบ.ปตอ.2, พ.อ.ธานี วาศภูติ เป็น เสธ.พล.ปตอ., พ.อ.บรรยง ทองน่วม เป็น ผบ.ร.9, พ.อ.ชิษณุพงศ์ รอดศิริ เป็น ผบ.ร.2 รอ., พ.อ.สราวุธ ไชยสิทธิ์ เป็น ผบ.ร.29, พ.อ.ทรงพล สาดเสาเงิน เป็น ผบ.ร.31 รอ., พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ นายทหารคนสนิท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็น ผบ.ป.1 รอ.แทน

สยบข่าว'หมอหยอง'ตาย 'ไพบูลย์'ย้ำ'เช้านี้กินโจ๊ก' | เดลินิวส์

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 58 พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวผ่านรายการ "เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์" ถึงกรณีกระแสข่าวลือว่า นายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ “หมอหยอง” อายุ 53 ปี นักโหราศาสตร์ชื่อดัง ซึ่งตกเป็น 1 ใน 3 ผู้ต้องหามีความผิดฐาน “หมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เสียชีวิตว่า ตนยังไม่ได้รับรายงาน เช้าวันนี้มีประชุมประจำเดือน อธิบดีกรมราชทัณฑ์จะมารายงาน เพราะมีลือเรื่องนี้มาตั้งแต่เมื่อวาน (25 ต.ค.) ซึ่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรมก็ชี้แจงไปแล้ว แต่เช้านี้ก็ยังมีข่าวลืออีก แต่ยังไม่ได้รับรายงาน 

พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คน ถูกส่งไปที่มทบ.11 ก็ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กับคดีระเบิดราชประสงค์ เพราะสะดวกต่อการสอบสวนในคดีเร่งด่วน เมื่อถามถึงกรณี "สารวัตรเอี๊ยด" หรือ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา อดีตสว.กก.1 บก.ปอท. ผูกคอตาย พล.อ.ไพบูลย์ ตอบว่า "ใช่ๆ ก็ยืนยันไปแล้ว อธิบดีกรมราชทัณฑ์-รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ไปดูหลักฐานก็สรุปมา แต่ตนไม่ได้ไปดู เจ้าหน้าที่พิสูจน์ก็มีหลายฝ่าย สั่งไปแล้ว เพราะเมื่อวันที่ 23 ต.ค. เกิดเหตุ(ผูกคอตาย) ก็ดำเนินการ วันที่ 24 ต.ค.ก็ดำเนินการแต่เย็น แจ้งเสร็จก็รายงานไปที่ตำรวจ จากนั้นดำเนินการออกใบมรณบัตร ก็สั่งไปแล้ว ใครเป็นคนเซ็นต้องทำให้เรียบร้อย "หมอหยองป่วย เพราะเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเข้าโรงพยาบาลไปตรวจ ได้ข่าวว่าไปสแกนสมองด้วยซ้ำ เป็นเรื่องปกติในเรือนจำที่ทำเป็นระบบ เป็นอำนาจของโรงพยาบาลที่จะส่งไป ก็รักษาในระดับของกรมราชทัณฑ์ สั้นๆ เลย ไม่มี ไม่เสียชีวิต ไม่ตาย เช้านี้(เค้า)ก็นั่งกินโจ๊กอยู่ ต่อไปให้ไปถามอธิบดีกรมราชทัณฑ์ จะเป็นคนชี้แจงข่าว"พล.อ.ไพบูลย์กล่าว เมื่อถามถึงกรณีของ "อาท ชัตเตอร์มหาเทพ" หรือนายจิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ คนสนิทของหมอหยอง ที่ถูกคุมขังด้วยกัน มีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือไม่ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ไม่ทราบเลย ไม่ได้ลงรายละเอียดของผู้ต้องขัง ระบบเค้ามีปกติ เค้าทำงานตามระบบ ถ้ามีประเด็นก็จะโทรถาม รายละเอียดปลีกย่อย จะไม่ถาม “

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/crime/356688
///////
รองปลัดยธ.ปัด'หมอหยอง' เสียชีวิต/ยันอยู่ดีในเรือนจำ | เดลินิวส์
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ออกมาสยบกระแสข่าวลือ "หมอหยอง" หนึ่งในผู้ต้องขังคดี 112 เสียชีวิตขณะถูกควบคุมตัวเป็นรายที่สอง โดยยืนยันว่าหมอดูชื่อดังยังถูกคุมตัวในเรือนจำ และอาการปกติดี 
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 17:00 น. 
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบกรมราชทัณฑ์ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวระบุว่า นายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ หมอหยอง หนึ่งในผู้ต้องขังคดีความผิดมาตรา 112 เสียชีวิตขณะถูกควบคุมตัวอีกรายต่อจากพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ผู้ต้องหาในคดีเดียวกันที่ผูกคอตายภายในเรือนจำชั่วคราว แขวงถนนนครไชยศรี ภายในมณฑลทหารบกที่ 11 ว่า ขณะนี้ นายสุริยัน ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี ภายในมณฑลทหารบกที่ 11 ไม่ได้มีอาการน่าเป็นห่วง 
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกรณี พ.ต.ต.ปรากรม หนึ่งในผู้ต้องขังคดีความผิดมาตรา 112 ซึ่งเป็นคู่คดีกับ นายสุริยัน ผูกคอฆ่าตัวตายในห้องขังภายใน มทบ.11 วานนี้ (24 ต.ค.) ล่าสุดไม่ได้มีการสั่งให้ปรับการดูแลหรือเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ผู้คุม แต่ย้ำให้ปฏิบัติตามระเบียบปกติ โดยเรือนจำชั่วคราวฯดังกล่าวยังมีผู้ต้องขังคดีระเบิดศาลพระพรหมแยกราชประสงค์รวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงให้ปฏิบัติตามหลักการเดิม เพียงแค่ต้องตรวจสอบการเดินเวรยามของเจ้าหน้าที่ผู้คุมให้ครบตามเวลาอย่างเคร่งครัด.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/crime/356615
///////////

อย่างไม่เป็นทางการ


ฉ่วย มาน ประธานรัฐสภาเมียนมา แถลงรับความพ่ายแพ้ หลังคะแนนโหวต เทเสียงส่วนใหญ่ ให้พรรคฝ่ายค้านของอองซาน ซูจี
ฉ่วย มาน, เลือกตั้งพม่า
16.00 น. วันนี้ แม้การนับคะแนนเลือกตั้งในเมียนมา จะยังไม่สิ้นสุดลง แต่กระนั้น นายฉ่วย มาน ก็ทราบดีว่า ศึกทางการเมืองในครั้งนี้ มีความหวังริบหรี่ที่จะประสบชัยชนะพรรคฝ่านค้านของนางออง ซาน ซูจีได้ (อ่านต่อ  . . .)


ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศเมียนมา พรรค NLD ของนาง อองซาน ซูจี ชนะขาดหลายหน่วย โดยจะทยอยประกาศผลอย่างทางการวันนี้ เริ่มเวลา 09.00 น.
วันนี้ (9 พ.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บรรยากาศภายหลังจากการปิดหีบลงคะแนนในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเมียนมา และหลายหน่วยเริ่มนับคะแนนทันที โดยประชาชนจะทราบผลการเลือกตั้งจากการเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลหรือผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาล
657557-01
เลือกตั้งพม่า พรรค NLD ของซูจีชนะขาด! หลายหน่วย
หลายหน่วยเลือกตั้งแม้ยังไม่มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ แต่ผลการนับคะแนนของหลายหน่วยที่สามารถนับคะแนนหมดลง ปราฏว่า พรรคเอ็นแอลดี ของนาง อองซาน ซูจี มีคะแนนนำทิ้งห่างพรรค ยูเอสดีพี ค่อนข้างขาดหลายหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งจะเริ่มทยอยประกาศผลการนับคะแนนตั้งแต่วันนี้ เริ่ม เวลา 09.00 น. และจะประกาศในเวลา 12.00 น. 15.00 น. และ 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
ขณะที่ภาพรวมของการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยไม่มีเหตุความรุนแรงหรือพบการทุจริตการเลือกตั้งแต่อย่างไร มีแต่รายงานว่าพบระเบิดปลอมซุกซ่อนในบางหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่คาดว่า เป็นการก่อกวนมากกว่าการประสงค์ร้าย
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า ชาวเมียนมาเป็นจำนวนมากพากันมาร่วมชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่พรรคเอ็นแอลดีในย่างกุ้ง ภายหลังปิดหีบเลือกตั้ง โดยผู้ชุมนุมต่างร้องตะโกนสนับสนุนพรรครวมทั้งมีการติดตั้งจอยักษ์ตามจุดต่าง ๆ หน้าที่ทำการพรรค เพื่อติดตามการรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์ในบรรยากาศการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ด้าน นายทิน อู ผู้ก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดี ร่วมกับ นางอองซาน ซูจี ออกกล่าวกับประชาชนหน้าที่ทำการใหญ่ของพรรค ระบุไม่คาดหวังผลการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ผลคะแนนที่ปรากฏออกมาเป็นที่น่าพอใจมาก และกล่าวว่าอยากให้ประชาชนรอผลจากบ้านของตัวเอง เมื่อผลออกมาตนเองต้องการให้ยอมรับมันอย่างใจเย็น
……………………………………………………………………………………………….
บรรยากาศการเลือกตั้งทั่วไป ของเมียนมาร์ บางพื้นที่ได้ทำการปิดหีบเลือกตั้ง และเริ่มนับคะแนนในแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว
เมื่อเวลา 16.30 น. ที่ผ่านมา วันนี้ ( 8 พ.ย. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการเลือกตั้งทั่วไป ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ บางพื้นที่ได้ทำการปิดหีบเลือกตั้ง และเริ่มนับคะแนนในแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าที่หน่วยเลือกตั้งซูจีได้เกิดเหตุไฟดับไป 15 นาที ขณะนี้สามารถนับคะแนนต่อได้แล้ว ขณะที่กรุงย่างกุ้งฝนตกหนักมาก ทั้งนี้คาดว่าจะทราบผลภายในวันจันทร์นี้ (9 พ.ย. 58)
เลือกตั้งพม่า
อย่างไรก็ดีมีรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในเมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉานจำนวนมาก ยังคงไม่เสร็จสิ้นในการลงคะแนนเสียง โดยทางคณะกรรมการเลือกตั้งในเมืองตองจี คาดว่าการเลือกตั้งในพื้นที่จะแล้วเสร็จภายในเวลา 20.00 น.ของวันนี้
ขอบคุณภาพ @thapanee3miti
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
‘ซูจี’ ใช้สิทธิ์ลต.กองเชียร์ล้น-แรงงานพม่าทยอยไปคูหา
“ออง ซาน ซูจี” ใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ท่ามกลางกองเชียร์แน่น โห่ร้อง “เราชนะ” ส่วนด่านแม่สอดคึกคักชาวเมียนมากลับไปใช้สิทธิ
บรรยากาศการเลือกตั้งทั่วไป ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ล่าสุด “นางออง ซาน ซูจี” ได้เดินทางใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่หน่วยเลือกตั้งในเขตบาฮัน ของนครย่างกุ้งแล้ว ท่ามกลางชาวเมียนมาที่มารอร้องเชียร์ว่า “เราชนะ” ขณะที่ประชาชนยังคงทยอยใช้สิทธิเลือกตั้งคึกคัก นับตั้งแต่หน่วยเลือกตั้งเปิดให้ลงคะแนนเมื่อเวลา 6.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นหรือตรงกับ 06.30 น.ตามเวลาไทย
ซูจีใช้สิทธิ์ลต.กองเชียร์ล้น-แรงงานพม่าทยอยไปคูหา
ทั้งนี้บริเวณด่านชายแดน ด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ไม่มีเหตุการณ์ตึงเครียดหรือผิดปกติ มีเพียงการตรวจบุคคลและสินค้าเข้า-ออกที่เข้มงวดมากขึ้น โดยนายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้ออกตรวจดูแลความสงบเรียบร้อย พร้อมได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทั้งด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร อำนวยความสะดวกให้ประชาชนชาวเมียนมาที่จะเดินทางข้ามฝั่งกลับประเทศ
ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดีได้มีการประสานงานกับทางจังหวัดตาก ขอความร่วมมืออำนวยความสะดวกให้ประชาชนชาวเมียนมาที่จะเดินทางกับประเทศไปลงคะแนนเลือกตั้ง ทำให้การค้าชายแดนด้านอำเภอแแม่สอดในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา คึกคักเป็นอย่างมาก และไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร ประชาชนของทั้งสองประเทศก็ยังทำการค้าขายสินค้านำเข้า-ส่งออกเป็นปรกติเหมือนเดิม
ที่มา INN

อองซานซูจี

ออง ซาน ซูจี (พม่าAung San Suu Kyi (Burmese).svg, เกิด 19 มิถุนายน 2488) เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านชาวพม่าและประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในประเทศพม่า ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2533 NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 59% และที่นั่ง 81% (392 จาก 485 ที่นั่ง) ในรัฐสภา ทว่า เธอถูกควบคุมตัวในบ้านก่อนการเลือกตั้ง เธอยังอยู่ภายใต้การควบคุมตัวในบ้านในประเทศพม่าเป็นเวลาเกือบ 15 จาก 21 ปีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 จนการปล่อยตัวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ทำให้เธอเป็นนักโทษการเมืองที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งของโลก
ซูจีได้รับรางวัลราฟโต (Rafto Prize) และรางวัลซาฮารอฟสำหรับเสรีภาพทางความคิด (Sakharov Prize for Freedom of Thought) ในปี 2533 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2534 ในปี 2535 เธอได้รับรางวัลชวาหระลาล เนห์รูเพื่อความเข้าใจระหว่างประเทศ (Jawaharlal Nehru Award for International Understanding) โดยรัฐบาลอินเดีย และรางวัลซีมอง โบลีวาร์ระหว่างประเทศ (International Simón Bolívar Prize) จากรัฐบาลเวเนซุเอลา ในปี 2555 รัฐบาลปากีสถานมอบรางวัลชาฮิด เบนาซีร์ บุตโตเพื่อประชาธิปไตย (Shaheed Benazir Bhutto Award For Democracy) ในปี 2550 รัฐบาลแคนาดาประกาศให้เธอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศ เป็นคนที่สี่ที่ได้รับเกียรตินี้ ในปี 2554 เธอได้รับเหรียญวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg Medal) วันที่ 19 กันยายน 2555 ออง ซาน ซูจีได้รับเหรียญทองรัฐสภา ซึ่งร่วมกับเหรียญเสรีภาพประธานาธิบดี เป็นเกียรติยศพลเรือนสูงสุดในสหรัฐอเมริกา
วันที่ 1 เมษายน 2555 พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยประกาศว่าเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในปีตูลุ้ดดอ (Pyithu Hluttaw) สภาล่างของรัฐสภาพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งกอว์มู (Kawhmu) พรรคของเธอยังได้ที่นั่งว่าง 43 จาก 45 ที่นั่งในสภาล่าง คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการยืนยันผลการเลือกตั้งในวันรุ่งขึ้น
วันที่ 6 มิถุนายน 2556 ซูจีประกาศบนเว็บไซต์ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมว่าเธอต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2558 ทว่า ซูจีถูกห้ามมิให้เป็นประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งมิอาจแก้ไขได้โดยปราศจากการรับรองจากสมาชิกสภานิติบัญญัติทหารอย่างน้อยหนึ่งคน
ในปี 2557 นิตยสารฟอบส์จัดให้เธอเป็นหญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกอันดับที่ 61

ออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ ย่างกุ้ง พม่าของอังกฤษ (British Burma) [1] บิดาของเธอ นายพลอองซาน ผู้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น ช่วยให้ญี่ปุ่นยึดพม่าจากสหราชอาณาจักรได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับทางญี่ปุ่นให้แต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี นายพล ออง ซาน ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เมื่อเธอได้อายุได้ 2 ปี ดอว์ขิ่นจี ผู้เป็นภรรยาของนายพลอองซาน ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง 3 คนโดยลำพังหลังจากสามีถูกลอบสังหาร ซูจีเป็นลูกคนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุ จมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตคือ อองซาน อู เติบโตมากับการดูแลของมารดา ที่เข้มแข็ง และความเอ็นดูของเครือข่ายอำนาจเก่าของบิดา
พ.ศ. 2503 ดอว์ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่า ประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยสตรีศรีราม ที่นิวเดลี จากนั้นไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญาที่เซนต์ฮิวส์คอลเลจ ในสหราชอาณาจักร ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2510 ช่วงที่ศึกษาอยู่นั้น ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำประเทศอินเดีย และย้ายกลับไปยังย่างกุ้ง ซูจีจึงแยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก ตามคำชักชวนของเพื่อนบิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติในขณะนั้น คือ นายอูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า ซูจีเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ
เดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามี ที่ราชอาณาจักรภูฏาน ซูจีได้งานในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฏาน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอนวิชาหิมาลัย และทิเบตศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปี พ.ศ. 2516 และบุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ. 2520 นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดาจากความทรงจำของตนเองโดยมิต้องอาศัยเอกสารหลักฐานใดๆ
พ.ศ. 2528-2529 ซูจี และไมเคิลตัดสินใจแยกจากกันระยะหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] ซูจีได้รับการติดต่อจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต เพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของบิดาของเธอ ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็กไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลได้พาอเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาไมเคิลประสานงานภายใน Indian Institute of Advanced Studies เพื่อให้ซูจีได้รับทุนสนับสนุนเช่นกัน ซูจีจึงพาคิมมาสมทบกับสามีที่ซิมลา ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2530 ไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอได้แสดงความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า

กลับบ้านเกิดเพื่อสานความฝันในการปกครองพม่าของบิดา[แก้]

นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่า
ปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาเยี่ยมนางดอว์ขิ่นจี มารดา ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่ากดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [2]
ประชาชนไม่พอใจต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นั้นสะสมต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการปลุกระดมภายหลังจากที่รัฐประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 25 จัต 35 จัต และ 75 จัต ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งประท้วงด้วยการทำลายร้านค้าหลายแห่ง จนมีเหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังเกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในหมู่นักศึกษาประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวินต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวินใน วันที่ 23 กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงย่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงแผ่ขยายไปทั่วประเทศ
ออง ซาน ซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องสิทธิในการขึ้นปกครองประเทศของตนจากความดีความชอบของบิดาผู้ล่วงลับ วันที่ 26 สิงหาคม ออง ซาน ซูจี ในขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง โดยต่อมาซูจีเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน และได้ทำการปราบปรามและจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคนวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 ออง ซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้น (National League for Democracy: NLD) และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ชีวิตทางการเมืองของนางออง ซาน ซูจี จึงได้เริ่มต้น นับแต่นั้น
มารดาของซูจี ดอว์ขิ่นจี ซึ่งมีอาการป่วยมานาน ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531

เกียรติยศ และการจองจำ[แก้]

อเล็กซานเดอร์ อาริสและคิมบิน อาริส บุตรทั้ง 2 ของอองซานซูจีในวันรับรางวัลโนเบล
รัฐบาลภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปี และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีประกาศจะอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องขอให้นำสมาชิกพรรคคนอื่นๆ มาอยู่ที่เดียวกันในบ้านพักของเธอ โดยเวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซึ่งในที่สุด ซูจีมิได้อดอาหารประท้วงโดยอ้างว่ารัฐบาลได้ให้สัญญาแล้วว่าจะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดี ก็ยังคงได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลทหารในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ” ยื่นข้อเสนอการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ซูจี โดยให้ซูจียุติบทบาทการปลุกระดมทางการเมือง แต่ซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารจึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มอีก 1 ปีในเวลาต่อมา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งซูจีไม่ได้เดินทางไปรับรางวัลด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมจึงบินไปรับรางวัลแทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ อเล็กซานเดอร์กล่าวกับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า “ผมรู้ว่าถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้อง ให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ ให้ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ”
ต่อมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ซูจีประกาศสู่สื่อมวลชนทั้งในพม่าและสื่อนานาชาติ ว่าจะมอบเงินรางวัลจำนวน 1.3 ล้านเหรียญ เพื่อให้รัฐบาลใช้จัดตั้งกองทุนสุขภาพและการศึกษาของประชาชนพม่า จากข่าวดังกล่าวรัฐบาลจึงยกเลิกคำสั่งการกักบริเวณของเธอ ซูจีจึงได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณ อย่างไรก็ดี ในภายหลัง ไม่พบว่ามีหลักฐานการโอนเงินรางวัลดังกล่าวจากนางซูจีเข้ากองทุนฯ แต่อยางใด

การเคลื่อนไหว[แก้]

ออง ซาน ซูจีขณะอยู่ในบ้านพักขนาดใหญ่ของเธอ
การปล่อยตัวจากการกักบริเวณครั้งนี้ ซูจี ได้ปราศรัยต่อฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอ และตระเวนหาเสียงในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งบางพื้นที่จะมีฝูงชนที่ไม่พอใจซูจี พยายามทำร้ายเธอและเพื่อนร่วมคณะ โดยใช้ก้อนหินขว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย จากนั้น เมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก จึงมีเจ้าหน้าที่รัฐติดตามไปทุกแห่ง ซูจี จึงให้สัมภาษณ์ต่อสื่มมวลชนว่าเธอยังคงรู้สึกเหมือนถูกติดตามความเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ
แนวทางการต่อสู้ทางการเมืองของ ซูจี นั้น เธอปฏิเสธไม่ดำเนินการตามกฎระเบียบการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลโดยตรง แต่เลือกที่จะดำเนินการต่อสู้โดยใช้สื่อมวลชนและกระแสสังคมเป็นเครื่องมือ ด้วยการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวิดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ในทุกวิธีเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อสร้างแรงกดดันระดับนานาชาติต่อรัฐบาลพม่า โดย เดือน กรกฎาคม 2541 ระหว่างที่เธอเดินทางออกจากย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติ มีการแจ้งให้ผู้สื่อข่าวต่างชาติเข้ามาทำข่าวเธอเพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก โดย ซูจี ประกาศว่าจะทำการนั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ของเธอเอง และเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ขบวนรถของซูจี ถูกสกัดไม่ให้เดินทางไปพบปะสมาชิกพรรคของเธอ ซูจี จึงเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาถึงหกวัน จนเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด เธอจึงกลับที่พักหลังจากนั้น
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซูจี และสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติ จะเดินทางเพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ถูกสกัดไม่ให้เดินทางออกพ้นชานย่างกุ้ง เนื่องจากตำรวจได้เบาะแสว่ามีฝูงชนกลุ่มหนึ่งวางแผนดักทำร้ายเธอระหว่างทาง ซูจียืนยันที่จะเดินทางต่อโดยใช้วิธีเผชิญหน้ากับตำรวจ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง 9 วัน จนถึงวันที่ 2 กันยายน สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี พร้อมคณะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วโดยสารทางออกจากเมืองย่างกุ้ง แต่มีฝูงชนที่ต่อต้านเธออยู่บริเวณนั้น รัฐบาลจึงได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ ไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของนางซูจี
ภายหลังการปราศรัยปลุกระดมมวลชนที่สนับสนุนเธอให้ต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาล ซูจี จึงถูกกักบริเวณเป็นครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ขณะที่ทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปี ของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่น ๆ
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนผู้ไม่พอใจนางซูจีกับกลุ่มผู้สนับสนุนซูจี การปลุกระดมครั้งนี้ทำให้ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักอีกเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546

การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550[แก้]

การประท้วงที่นำโดยคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี นักศึกษาและประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จากการปลุกระดมให้เกิดความไม่พอใจต่อการประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและขึ้นราคาก๊าซหุงต้มของรัฐบาลทหารพม่า การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ 5 กันยายน มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป
คณะพระภิกษุ ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับบิณฑบาตจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546

การละเมิดกฎหมาย พ.ศ. 2552[แก้]

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จอห์น ยัตทอว์ ชายชาวอเมริกัน ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบอินยาไปยังบ้านพักของออง ซาน ซูจี และถูกจับกุมเมื่อเขากลับออกมาในอีกสามวันให้หลัง[3]เขาได้พยายามทำแบบเดียวกันเมื่อสองปีก่อน แต่เบนหนีโดยไม่ทราบสาเหตุ[4] ภายหลังเขาอ้างในการไต่สวนว่า เขามีเหตุจูงใจจากนิมิตของพระเจ้าซึ่งประสงค์ให้เขาบอกให้เธอทราบถึงความพยายามลอบสังหารก่อการร้ายที่คุกคาม[5] วันที่ 13 พฤษภาคม ซูจีถูกจับกุมในข้อหาละเมิดเงื่อนไขคำสั่งกักบริเวณของเธอ เพราะอนุญาตให้ชายชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอาศัยอยู่ในบ้านของเธอเป็นเวลาสามวัน ซึ่งเธออาจถูกตัดสินจำคุกจากการละเมิดกฎหมายดังกล่าว[6] การพิจารณาซูจีและคนรับใช้หญิงของเธออีกสองคนเริ่มขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยมีผู้ประท้วงจำนวนน้อยรวมตัวกันอยู่ด้านนอก[7][8] ทูตและผู้สื่อข่าวถูกห้ามมิให้เข้าร่วมการพิจารณา อย่างไรก็ดี ในโอกาสหนึ่ง ทูตหลายคนจากสิงคโปร์ รัสเซีย ไทย และผู้สื่อข่าวได้รับอนุญาตให้เข้าพบซูจีได้[9] อัยการเดิมมีแผนเรียกพยาน 22 ปาก[10] นอกจากนี้ ยังกล่าวหาจอห์น ยัตทอว์ว่าทำให้พม่าขายหน้า[11] ระหว่างการแก้ต่าง ซูจีแก้ต่างว่าเธอบริสุทธิ์ โดยมีพยานเพียงหนึ่งปาก ขณะที่อัยการสามารถเรียกพยานได้ถึง 14 ปาก ทั้งนี้ ศาลปฏิเสธพยานสองปาก คือ สมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ทิน อู และวิน ทิน และอนุญาตให้การแก้ต่างเรียกได้เฉพาะผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเท่านั้น[12] หัวหน้าตำรวจแห่งชาติภายหลังยืนยันว่า ยัตทอว์เป็น "ผู้กระทำผิดอาญาหลัก" ในคดีที่ฟ้องต่อซูจี[13] ตามข้อมูลในบันทึกช่วยจำ ซูจีต้องฉลองวันเกิดครบรอบ 64 ปีของเธอในเรือนจำ [14]
การจับกุมเธอและการพิจารณาคดีภายหลังได้รับการประณามจากทั่วโลก รัฐบาลพม่าวิจารณ์แถลงการณ์ดังกล่าวอย่างรุนแรง เพราะมันได้สร้าง "ประเพณีอันไม่เป็นที่ยอมรับ"[15]และวิจารณ์ประเทศไทยว่าแทรกแซงกิจการภายในของพม่า[16]
รัฐมนตรีต่างประเทศ ญาณ วิน กล่าวในหนังสือพิมพ์แสงใหม่ของเมียนมาร์ ว่า เหตุการณ์ดังกล่าว "ถูกแสร้งทำให้เพิ่มแรงกดดันนานาชาติต่อพม่า โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทั้งในและนอกประเทศ ผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบวกต่อนโยบายของประเทศเหล่านั้นต่อพม่า"[11] เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน สนองต่อการรณรงค์นานาชาติ ด้วยการบินไปยังพม่าเพื่อเจรจา แต่พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วยปฏิเสธคำร้องของเขาทั้งหมด[17]
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 การพิจารณาสิ้นสุดลง โดยซูจีถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาสามปี โทษนี้ได้รับการลดหย่อนโดยผู้ปกครองทหารให้เป็นการกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านต่อไปอีก 18 เดือน[18] วันที่ 14 สิงหาคม วุฒิสมาชิกสหรัฐ จิม เว็บบ์ เยือนพม่า เข้าพบหัวหน้ารัฐบาลทหาร พลเอก ตาน ฉ่วย และภายหลังกับซูจี ระหว่างการเข้าพบ เว็บบ์เจรจาการปล่อยตัวยิตทอว์และการส่งตัวออกนอกพม่า[19] หลังคำตัดสินการพิจารณา ทนายความของซูจีว่า ตนจะอุทธรณ์ต่อโทษ 18 เดือน[20] วันที่ 18 สิงหาคม ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามาขอให้ผู้นำทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด รวมทั้งออง ซาน ซูจี[21] ในการอุทธรณ์ ออง ซาน ซูจีได้แย้งว่า การพิพากษาลงโทษไม่มีหมาย อย่างไรก็ดี การอุทธรณ์ต่อโทษเดือนสิงหาคมถูกศาลพม่าปฏิเสธเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คำตัดสินดังกล่าวหมายความว่า เธอไม่อาจเข้าร่วมในการเลือกตั้งที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2553 ครั้งแรกในพม่าในรอบสองทศวรรษ ทนายความของเธอแถลงว่า ทีมกฎหมายของเธอจะอุทธรณ์รอบใหม่ภายใน 60 วัน[22]

ปล่อยตัว[แก้]

ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เธอได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลทหารพม่า[23] เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน เธอได้พบกับบุตรชายคนเล็กครั้งแรก โดยเธอได้รอรับบุตรชายที่สนามบินมิงกะลาดง เธอและบุตรชายได้ปรากฏตัวที่มหาเจดีย์ชเวดากอง เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เธอได้อยู่ร่วมกับครอบครัว แม้จะไม่สมบูรณ์ก็ตาม[24]
ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2555 นางซูจีได้เดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ถูกกักบริเวณเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยเข้าร่วมประชุมสภาเศรษฐกิจโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่ประเทศไทย โดยก่อนหน้าการประชุมนางซูจีได้เยี่ยมแรงงานชาวพม่าที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ และให้กำลังใจแรงงานดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ซูจี ยังได้เดินทางเพื่อไปตระเวนเยือนยุโรปตลอดเดือนมิถุนายน 2555 โดยนางซูจีเดินทางไปเยือนสวิตเซอร์แลนด์เป็นชาติแรกในยุโรป จากนั้นเดินทางต่อไปยังนอร์เวย์ เพื่อไปรับรางวัลโนเบลสันติภาพด้วยตัวเอง หลังจากได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้คว้ารางวัลเมื่อหลายสิบปีก่อน จากนั้นจึงตระเวนเดินทางต่อไปยัง ไอร์แลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยระหว่างเยือนยุโรป นางซูจี กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกล่าวแถลงในรัฐสภาอังกฤษ รวมทั้ง เข้ารับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรนิรโทษกรรมสากล ในกรุงดับลิน ของไอร์แลนด์ จาก โบโน ร็อกสตาร์ชื่อดัง คนสนิทของเธอไม่เปิดเผยรายละเอียดการเยือนต่างประเทศของเธอมากนัก โดยกล่าวเพียงว่า เธอต้องพกยากล่อมประสาทไปด้วยจำนวนมาก เพราะเธอเมาเรือและเมาเครื่องบินง่ายมาก การเยือนยุโรปของ นางซูจี มีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งอย่างรุนแรงในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า ซึ่งเกิดการจลาจล และการเผาบ้านเรือนหลายร้อยหลัง โดยเธอปฏิเสธไม่ขอออกความเห็นในเรื่องดังกล่าว

การศึกษา[แก้]

  • จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนฟรานซิสคอนแวนต์ ประเทศพม่า
  • ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน Methodist English High School ในย่างกุ้ง จากนั้นย้ายไปศึกษาและจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนคอนแวนต์ ประเทศอินเดีย
  • จบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ที่ Lady Shri Ram College ในเครือมหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย
  • จบปริญญาตรีทางด้านการเมือง ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์ จาก St. Hugh's College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
  • จบปริญญาโท [ไม่ทราบข้อมูล]
  • จบปริญญาเอกจาก SOAS (School of Oriental and African Studies) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  • 26 ธันวาคม 2547 ได้รับปริญญา ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จากมหาวิทยาลัยรังสิต
  • 19 มิถุนายน 2548 ได้รับปริญญา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ในโอกาสครบรอบ 60 ปี)
  • 20 มิถุนายน 2555 ได้รับปริญญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร