PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

สงครามเกาหลี



สงครามเกาหลี


 (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) 

เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ

ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี

แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้ง
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลีสหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ

หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน

การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี

แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน

จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951

การปกครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น (1910–45)

หลังราชวงศ์ชิงพ่ายในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (1894–96) จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองจักรวรรดิเกาหลี อันเป็นคาบสมุทรซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อเขตอิทธิพล อีกทศวรรษให้หลัง

หลังจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถพิชิตจักรวรรดิรัสเซียได้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (1904–05) ญี่ปุ่นทำให้เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาโดยสนธิสัญญาอึลซาในปี 1905 แล้วจึงผนวกด้วยสนธิสัญญาการผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลีในปี 1910

นักชาตินิยมและกลุ่มปัญญาชนเกาหลีหลบหนีออกนอกประเทศ และมีบางส่วนก่อตั้งรัฐบาลเกาหลีเฉพาะกาลขึ้นในปี 1919 นำโดย อี ซึงมัน ในเซี่ยงไฮ้ รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ได้รับการรับรองจากไม่กี่ประเทศ จากปี 1919 ถึง 1925 และหลังจากนั้น นักคอมมิวนิสต์เกาหลีนำและเป็นตัวการหลักของการสงครามต่อญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นอาณานิคมที่ถูกปรับให้เป็นอุตสาหกรรม ร่วมกับไต้หวัน และทั้งคู่เป็นส่วนหนึ่งของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ในปี 1937 ข้าหลวงใหญ่อาณานิคม พลเอก จิโร มินามิ ซึ่งบังคับบัญชาการพยายามผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมประชากร 23.5 ล้านคนของเกาหลี โดยห้ามการใช้และศึกษาภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมเกาหลี และบังคับให้ใช้และศึกษาภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแทน มีการออกนโยบายโซชิ-ไกเม เริ่มตั้งแต่ปี 1939 กำหนดให้ประชาชนใช้ชื่อภาษาญี่ปุ่น ในปี

1938 รัฐบาลอาณานิคมเริ่มการเกณฑ์แรงงาน

ในประเทศจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติที่เป็นชาตินิยมและกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่เป็นคอมมิวนิสต์ช่วยจัดระเบียบผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้รักชาติและนักต่อสู้เพื่อเอกราชชาวเกาหลีต่อทหารญี่ปุ่น ซึ่งยังยึดครองบางส่วนของจีนด้วย ชาวเกาหลีที่นักชาตินิยมหนุนหลัง นำโดย อี พมซก สู้รบในการทัพพม่า (ธันวาคม 1941 – สิงหาคม 1945) ส่วนนักคอมมิวนิสต์ชาวเกาหลี นำโดย คิม อิลซอง ฯลฯ

ต่อสู้ทหารญี่ปุ่นในเกาหลีและแมนจูเรีย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นใช้อาหาร ปศุสัตว์ และโลหะของเกาหลีเพื่อความพยายามของสงครามของตน กองกำลังญี่ปุ่นในเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 46,000 นาย ในปี 1941 เป็น 300,000
นาย ในปี 1945 เกาหลีของญี่ปุ่นเกณฑ์แรงงานบังคับ 2.6 ล้านคน ซึ่งควบคุมโดยกองกำลังตำรวจชาวเกาหลีที่ให้ความร่วมมือ ประชาชนราว 723,000 นายถูกส่งไปทำงานในจักรวรรดิโพ้นทะเลและในมหานครญี่ปุ่น

จนถึงปี 1942 ชายชาวเกาหลีถูกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น จนถึงเดือนมกราคม 1945 ชาวเกาหลีคิดเป็น 32% ของกำลังแรงงานญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม 1945 เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ราว 25% ของผู้เสียชีวิตเป็นชาวเกาหลี เมื่อสงครามยุติ ประเทศอื่นในโลกไม่รับรองการปกครองของญี่ปุ่นในเกาหลีและไต้หวัน

ขณะเดียวกัน ที่การประชุมไคโร (พฤศจิกายน 1943) สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาตัดสินใจว่า "เมื่อถึงกำหนด เกาหลีจักเป็นอิสระและมีเอกราช" ภายหลัง การประชุมยัลตา (กุมภาพันธ์ 1945) ให้ "เขตกันชน" ในทวีปยุโรปแก่สหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นรัฐบริวารที่รัฐบาลโซเวียตต้องรับผิดชอบ ตลอดจนการขึ้นเป็นใหญ่ที่คาดหวังไว้ของโซเวียตในจีนและแมนจูเรีย ตอบแทนที่สหภาพโซเวียตเข้าร่วมความพยายามของสงครามต่อญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก

การรุกรานแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต (1945)

สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ตามที่ตกลงในการประชุมเตหะราน (พฤศจิกายน 1943) และการประชุมยัลตา (กุมภาพันธ์ 1945) ว่า สหภาพโซเวียตต้องประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นภายในสามเดือนหลังสงครามในยุโรปสิ้นสุดลง จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม กองทัพแดงยึดครองครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลีตามที่ตกลงกัน และวันที่ 26 สิงหาคม มาหยุดที่เส้นขนานที่ 38 เป็นเวลาสามสัปดาห์เพื่อรอให้กองกำลังสหรัฐมาถึงจากทางใต้

วันที่ 10 สิงหาคม เมื่อญี่ปุ่นใกล้ยอมจำนน อเมริกาสงสัยว่าโซเวียตจะเคารพคณะกรรมาธิการร่วมส่วนของตน หรือความตกลงยึดครองเกาหลีที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุน หรือไม่ อีกหนึ่งเดือนให้หลัง พันเอก ดีน รัสก์ และพันเอก ชาลส์ เอช. โบนสตีลที่สาม แบ่งคาบสมุทรเกาหลีที่เส้นขนานที่ 38 หลังเร่งตัดสินใจว่า เขตยึดครองเกาหลีของสหรัฐจำต้องมีเมืองท่าอย่างน้อยสองแห่ง

เมื่ออธิบายเหตุที่การปักปันเขตยึดครองอยู่ที่เส้นขนานที่ 38 รัสก์ออกความเห็นว่า "แม้ในความเป็นจริง กองกำลังสหรัฐสามารถขึ้นไปเหนือกว่านั้นได้ กรณีที่โซเวียตไม่ตกลง ... เรารู้สึกว่าเป็นการสำคัญที่จะรวมเมืองหลวงของเกาหลีในพื้นที่รับผิดชอบของทหารอเมริกัน" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "เผชิญกับควาขาดแคลนกองกำลังสหรัฐที่มีอยู่ และปัจจัยกาลเทศะ ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะขึ้นเหนือไปไกลมาก ก่อนที่ทหารโซเวียตจะเข้าสู่พื้นที่" โซเวียตตกลงการปักปันเขตยึดครองของสหรัฐเพื่อปรับปรุงฐานะการเจรจาของตนว่าด้วยเขตยึดครองในยุโรปตะวันออก และเพราะทั้งสองจะสนองการยอมจำนนของญี่ปุ่นจากที่ที่ตั้งอยู่

สงครามกลางเมืองจีน (1945–49)

หลังสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองสิ้นสุดลง สงครามกลางเมืองจีนหวนกลับมาอีกครั้งระหว่างคอมมิวนิสต์จีนกับจีนคณะชาติ ขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์แย่งชิงความเป็นใหญ่ในแมนจูเรีย ก็ได้รับการสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยและกำลังพลจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ตามแหล่งข้อมูลของจีน เกาหลีเหนือได้บริจาคยุทธปัจจัย 2,000 ตู้รถไฟ และชาวเกาหลีหลายพันคนรับราชการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนระหว่างสงคราม เกาหลีเหนือยังให้ที่ซ่อนอันปลอดภัยแก่ผู้ที่มิใช่พลรบและการสื่อสารกับจีนส่วนที่เหลือ

การมีส่วนของเกาหลีเหนือแก่ชัยชนะของคอมมิวนิสต์จีนไม่ถูกลืมหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ตอบแทน ทหารผ่านศึกชาวเกาหลีระหว่าง 50,000 ถึง 70,000 คน ถูกส่งกลับพร้อมกับอาวุธ และภายหลัง ทหารเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการบุกครองเกาหลีใต้ขั้นต้น จีนสัญญาจะสนับสนุนเกาหลีเหนือหากเกิดสงครามกับเกาหลีใต้ การสนับสนุนของจีนสร้างการแบ่งแยกร้าวลึกระหว่างคอมมิวนิสต์เกาหลี และอำนาจของคิม อิลซองภายในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกลุ่มแยกจีน ที่นำโดย พัก อิลยู ท้าทาย ภายหลังพักถูกคิมกวาดล้างไป

รัฐบาลจีนตั้งชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา เป็นภัยคุกคามใหญ่สุดต่อความมั่นคงของชาติ การตัดสินใจนี้อิงศตวรรษแห่งความอัปยศของจีนเริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การสนับสนุน

คณะชาติของอเมริการะหว่างสงครามกลางเมืองจีน และการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างพวกปฏิวัติกับพวกปฏิกิริยา ผู้นำจีนเชื่อว่าจะจีนจะเป็นสมรภูมิสำคัญในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ของสหรัฐ

เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้และยกฐานะของจีนในบรรดาขบวนการคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ผู้นำจีนจึงนำนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ทั่วดินแดนขอบขัณฑสีมาของจีนมาใช้
[แก้]การแบ่งเกาหลี (1945–49) บรรดาชาติสัมพันธมิตรตกลงกันในการประชุมพอตสดัม (กรกฎาคม-สิงหาคม 1945) ให้มีการแบ่งเกาหลีอออกเป็นสองส่วน โดยที่ไม่ถามความเห็นของชาวเกาหลี เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงจากการประชุมไคโร

พลโทจอห์น อาร์. ฮอดจ์ ผู้แทนฝ่ายสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงเมืองอินช็อนในวันที่ 8 กันยายน 1945 เพื่อรับการประกาศยอมแพ้สงครามของญี่ปุ่นในอาณาบริเวณคาบสมุทรเกาหลีใต้ต่อเส้นขนานที่ 38 พลโทฮอดจ์มีอำนาจปกครองเกาหลีใต้ในฐานะผู้บัญชาการรัฐบาลทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกาในเกาหลี (USAMGIK) พลโทฮอดจ์คืนอำนาจให้แก่ผู้ปกครองอาณานิคมชาวญี่ปุ่นและกองกำลังตำรวจเกาหลีเดิมที่เคยให้การสนับสนุนญี่ปุ่น รัฐบาลทหารสหรัฐที่ปกครองเกาหลีไม่ให้การรับรองรัฐบาลพลัดถิ่นของสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีซึ่งดำรงอยู่ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากรัฐบาลทหารสหรัฐมีความสงสัยว่ารัฐบาลพลัดถิ่นของเกาหลีนั้นจะเป็นคอมมูนนิสต์ นโยบาลเหล่านี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนชาวเกาหลี นำไปสู่การลุกฮือต่อต้านและสงครามกองโจร

ในวันที่ 3 กันยายน 1945 พลโทโยะชิโอะ โคซุกิ ผู้บัญชาการกองกำลังภาคที่สิบเจ็ดของญี่ปุ่น รายงานต่อพลโทฮอดจ์ว่ากองกำลังของโซเวียตได้ลงมาทางใต้ต่ำกว่าเส้นขนานที่ 38 อยู่ที่เมืองแคซอง
ซึ่งพลโทฮอดจ์ก็เชื่อข่าวกรองของญี่ปุ่น

คณะกรรมาธิการร่วมสหรัฐอเมริกา-สหภาพโซเวียต เข้าปกครองเกาหลีในเดือนธันวาคม 1945 ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประชุมมอสโก (1945) โดยที่ชาวเกาหลีไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาตกลง

คณะกรรมาธิการร่วมได้ข้อยุติว่าให้เกาหลีอยู่ในฐานะทรัสตีเป็นเวลาห้าปีแล้วจึงเป็นเอกราช ปกครองโดยรัฐบาลที่มีแนวความคิดทางการเมืองเหมือนกับประเทศแม่ที่ให้การสนับสนุน ประชาชน

ชาวเกาหลีจึงลุกขึ้นต่อต้านในเกาหลีใต้ บ้างประท้วงบ้างก็ทำการสู้รบ รัฐบาลทหารสหรัฐอเมริกาพยายามจะควบคุมการลุกฮือโดยการออกประกาศห้ามการชุมนุมในวันที่ 8 ธันวาคม 1945 และ

ประกาศให้รัฐบาลปฏิวัติและคณะกรรมาธิการประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเป็นรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1945

เหลิม รอนั่ง นายกรักษาการ


ไทกร พลสุวรรณ

เหลิมนิ่ง......

หลัง ปปช.แถลงว่าจะชี้มูลความผิดของนางยิ่งลักษณ์ในกรณีแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จในวันที่ 4 เมษายน 2556 ได้ตรวจเช็คความเคลื่อนไหวของเฉลิมผ่านคนสนิทที่เป็นแกนนำเสื้อแดงที่จังหวัดอุดรธานี ได้รับข้อมูลยืนยันว่า

1. เฉลิมพร้อมเต็มที่ในการทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2. เฉลิมส่งสัญญานไปยัง ส.ส.คนสนิท และแกนนำเสื้อแดงสายเฉลิม หรือ แกนนำเสื้อแดง ที่รับเงินรายเดือนจากเฉลิมให้นิ่ง ไม่ให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ทั้งแสดงความคิดเห็นเป็นการภายใน หรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ เนื่องจากเฉลิมเกรงว่าทักษิณจะเปลี่ยนใจให้รองนายกรัฐมนตรีคนอื่นทำหน้าที่รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนตนเอง

ดังนั้นต้องอดใจรอดูว่าเฉลิมจะได้นั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเต็มตัวหรือไม่ ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการก็ตาม ต่อไปต้องเรียกเฉลิมใหม่ว่า "ท่าน(รักษาการ)นายกฯเฉลิม"

@@@@@@

กลัวตายหมู่!

หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาทำให้เกิดกระแสวิตกในหมู่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าหากลงมติเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 68 จะเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ จะมีโทษทั้งทางการเมืองและทางอาญาจึงมีการเสนอไปยัง ส.ส.ที่ใกล้ชิดนายใหญ่ให้โทรปรึกษานายใหญ่เพื่อหาทางออกเรื่องนี้ให้ แต่คำตอบที่ได้จากนายใหญ่คือ ใครไม่โหวตผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จะไม่ส่งลงสมัคร ส.ส.ในสมัยหน้า

สรุปจากคำพูดของ ส.ส.เพื่อไทย(จากภาคอีสาน)คนหนึ่งที่ให้ข้อมูลคือ เป็นลูกน้องเขาแล้วก็ต้องทำตามที่เขาสั่ง

เฮ่อ....! ช่างสมกับฉายา"สภาทาส"เสียจริงๆ

สมศักย์เผยบรรหารไว้ใจ ถือฤกษ์ศุกร์นี้เข้ากระทรวง



นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 4 เม.ย.จะเดินทางเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อรับมอบนโยบายในการทำงานก่อน และจะเข้าทำงานที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.เวลา 09.00 น.

ทั้งนี้ความตั้งใจในการทำงานหลังรับตำแหน่งว่า สิ่งที่ตนวิตกกังวลเรื่องการท่องเที่ยวคือ นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเมืองไทยจำนวนก้าวกระโดด จึงกังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว เพราะหลายประเทศในเอเชีย ยุโรป มีข่าวว่านักท่องเที่ยวประสบปัญหาเรื่องอาชญากรรม จึงต้องสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อทำให้ภาพพจน์ประเทศไทยดีขึ้น เพราะวันนี้เราถูกมองว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มเรื่องอาชญากรรมสูง ตนจึงจะอาศัยเครือข่าย มหาดไทย ยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยยึดหลักให้เจ้าหน้าที่ช่วยนักท่องเที่ยวที่ประสบปัญหา
"อย่าให้เขาพึ่งตัวเองแล้วกลับไปเขียนวิจารณ์ในเฟซบุ๊ก ยูทูบ โซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เพราะไอที ถือเป็นสื่อที่ดี รวดเร็ว ดังนั้นต้องใช้เครือข่ายในโลกไซเบอร์นั้นช่วยเป็นตาวิเศษด้านการท่องเที่ยวให้กับเรา เพราะภาพพจน์ความน่าเที่ยวของไทยยังสูงอยู่ เพราะไทยยังเป็นสยามเมืองยิ้ม คนไทยอ่อนนุ่ม ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกระดับ จึงเชื่อว่าการท่องเที่ยวไทยยังไปได้"นายสมศักย์ กล่าว

เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่าจะมีข่าวว่านายบรรหารจะเข้ามาล้วงลูกนายสมศักย์ กล่าวว่า ตนทำงานอยู่สุพรรณบุรีมา 8 ปี นายบรรหารให้โอกาสทำงานอย่างเต็มที่ ไปดูได้ว่างานหลายชิ้นที่ตนทำเองโดยเฉพาะงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เมืองโบราณอู่ทอง เพียงแต่เมื่อทำงานในพื้นที่ใครก็ต้องรายงานให้ท่านทราบ เพราะนายบรรหารเป็นคนติดตามงาน และต้องทำงานเร็ว ซึ่งตนก็เป็นคนที่ทำงานเร็วอยู่แล้ว ผู้ใหญ่คงไว้วางใจเมื่องานที่เราได้รับมอบหมายนั้นมีความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน ได้รับเสียงตอบรับที่

เรียก'สุขุมพันธุ์'10เม.ย.ข้อหาต่อสัญญาบีทีเอส


การเมือง
วันที่ 3 เมษายน 2556 17:14

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ดีเอสไอเรียก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และพวกรับทราบข้อกล่าวหาคดีต่อสัญญาบีทีเอสส่วนต่อขยาย 10 เม.ย.นี้

พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายแถลงว่า จากการสอบสวนขยายผลเพิ่มเติม พบหลักฐานใหม่ว่า ในปี 2552-2553 ผู้บริหารกทม.และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันทำสัญญาจ้างบริหาร 2 สัญญาและสัญญากิจการจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงอีก 2 สัญญา รวม 4 สัญญาในโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนต่อขยายอีก 2 เส้นทาง คือ สีสม-สะพานตากสิน ถึงวงเวียนใหญ่ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร และสายสุขุมวิทสายสุขุมวิท 85-สุขุมวิท 107 ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ไปก่อนล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7,12 พฤษภาคม 52 และวันที่ 19,29 พฤศจิกายน 53 โดยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า ผู้บริหารกทม.ทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นสัญญาที่มีความเกี่ยวพันกับกิจการรถรางส่วนต่อขยายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกทม.หรือเอกชนทำได้

พ.ต.ท.ถวัล กล่าวอีกว่า คณะทำงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้รายงานผลการสอบสวนว่ามีหลักฐานเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องในการลงนามน่าจะกระทำผิด จึงมีความเห็นให้แจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกเพิ่มเติมและมีหนังสือแจ้งทั้งหมดให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 10 เม.ย.เวลา 9.30-16.00 น.โดยจำนวนนี้มี นายจุมพล สำเภาพล ผอ.สำนักการจราจรและขนส่งกทม ซึ่งปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่ากทม.

'ลิขิต'ชี้ศาลรธน.ไม่กลับคำวินิจฉัยแน่


วันที่ 3 เมษายน 2556 18:04

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ลิขิต"คาดศาลรธน. ไม่กลับคำวินิจฉัย ม.68 เดิม ให้ส่งอสส.กลั่นกรองก่อน ชี้แก้รายมาตราไม่ขัดรธน.

นายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต และนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีวิทยุ FM 97.0 MHz. ถึงกรณี 40 ส.ว.ยื่นศาล รธน.สั่งระงับรัฐสภาพิจารณา
ร่างแก้ไขรธน. มาตรา 68 ว่า ม.68 เขียนไว้ว่า ถ้าใครต้องการล้มล้างรธน.ต้องมีการยื่นต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณากลั่นกรองก่อน จากนั้นจึงส่งศาลรธน. อยู่ๆ ศาลรธน.ตีความว่า ม.68 ส่งได้โดยตรง
แล้วจะเขียนอัยการสูงสุดไว้ทำไม และหากส่งพร้อมกัน 2 แห่งทำให้อัยการสูงสุดและศาลรธน.ขัดแย้งกัน เพราะเกิดจากการเขียนกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้กระจ่างจึงต้องส่งให้อัยการสูงสุดก่อนส่งให้ศาลรธน. แต่การจะแก้ ม.68 แล้วบอกว่าขัดรธน.ก็จะมีปัญหา และต้องตีความ ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่าศาลรธน.จะวินิจฉัยอย่างไร เพราะจะตีความขัดแย้งจากที่เคยวินิจฉัยเดิมไม่ได้ ก็ต้องตีความว่าการแก้อันนี้ไม่ถูก แต่จะถึงขั้นว่าล้มล้างรธน.หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากจะแก้ ม.291 ก็ไม่สามารถจะแก้อะไรได้เลย เพราะแก้ทุกอันจะกระเทือนต่อประชาธิปไตย หากมาตราใดขัดแย้งก็แก้ ไม่ได้แปลว่าล้มล้างรธน. หรือประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นการตีความที่กว้างเกินไป

นายลิขิต กล่าวอีกว่า การแก้ ม.68 ควรจะแก้ให้ชัด สุดท้ายถ้าไม่ทำก็ลำบาก เพราะศาลรธน.ก็วินิจฉัยไปอย่างหนึ่ง แต่คนที่เขียนส่วนหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับความเห็นอยางนี้ จึงควรเขียนให้ชัดเลยว่าส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาก่อนส่งศาลรธน. หากตีความจะกลายเป็นช่องโหว่ จึงเป็นปัญหาของกฎหมายเพราะจะเขียนละเอียดมากไม่ได้ แม้แต่วาระ 3 ศาลไม่ได้บอกว่าอย่าพิจารณาวาระ 3 บอกเพียงว่าน่าจะลงประชามติก่อน จะไปโทษศาลรธน.ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิของส.ว.ที่จะร้องได้ แต่ขณะเดียวกันส่อไปส่อมามันไม่ได้ ต้องบอกให้ชัดๆ ว่าแก้ ม.68 ทำให้ศาลรธน.หมดอำนาจ

ส่วนที่ว่าเป็นการริดรอนสิทธิประชาชนนั้น อัยการสูงสุดต้องทำหน้าที่อยู่แล้ว และศาลรธน.ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ริดรอน และหากอัยการสูงสุด ไม่กรองเรื่อง อัยการสูงสุดก็ส่งศาลรธน. ซึ่งศาลรธน.ยังอยู่ไม่ได้เลิกหรือริดรอน หากอสส.ไม่กรองเรื่องก็ยื่นถอดถอนตาม ม.157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีอย่าใช้ความรู้สึก และเรื่องนี้ไม่ใช่กฎหมายนิติศาสตร์ แต่เป็นปัญหาทางอำนาจและการเมือง ที่พยายามเอาชนะคะคานกัน และแม้จะชนะด้วยเสียงข้างมาก ก็ยังมีปัญหา อย่างไรก็ตาม การจะทำประชามติก็ต้องได้เสียงท่วมท้น

"สำหรับทางออกนั้น แม้ว่าจะชนะก็ไม่จบ หรือจะเป็นเสียงข้างมากก็มีปัญหา เพราะสังคมไทยพูดกันไม่ได้ และหากจะทำประชามติก็ต้องได้รับเสียงท่วมท้น กลุ่มต่างๆมีโอกาสมีพื้นที่เล่นเกมการเมืองถ่วงดุลกันเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ต้องถูกต้องตามหลักกฎหมายสากลด้วย ไม่ใช่ถูกต้องโดยออกฎหมายย้อนหลัง หรือให้คนกลุ่มหนึ่งมากุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ได้ และต้องเอาความชอบธรรมทางการเมืองด้วย การจะให้ใครเป็นนายกฯทำได้ ตามกฎหมาย ผู้หญิงก็เป็นได้ แต่มีความชอบธรรม เป็นที่ยอมรับ เหมาะสม ไม่ใช่เอาคนนั้นแทนคนนี้มาโดยไม่ดูความรู้สึกของประชาชน ไม่ดูความสามารถ ความเหมาะสมไม่ได้ หรือไม่ดูว่ากระบวนการทางการเมืองต้องผลัดไปผลัดมาต้องเอาหลายๆฝ่าย หรือเปลี่ยนผู้บริหารที่เอาจากคนกลุ่มเดียวกันโดยไม่ดูความสามารถไม่ได้ แม้ไม่ผิด แต่ความชอบธรรมทางการเมืองไม่มี " นายลิขิต กล่าว

ส่วนที่จะตัดทิ้ง สว.สรรหา จะเป็นระเบิดอีกลูกนั้น นายลิขิต กล่าวว่า ตนเป็นคนเสนอเองในรธน. 50 ที่ให้ สว.เลือกจังหวัดละ 1 คน และเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพอีกจำนวนหนึ่ง ที่เหลือ 24 คนให้แต่งตั้งจากอดีตนายกฯ อดีตผบ.ตร. และอดีตอธิบดี ที่มีการเลือกกลุ่มอาชีพเพราะเกลียดการสรรหา เพราะการสรรหามีปัญหา ผู้สรรหาจำนวนหนึ่งกลายเป็นถูกถอนได้โดยส.ว. ถือว่าผลประโยชน์ขัดแย้งกัน เพราะสรรหาแล้วไปถอดถอน ข้อเท็จจริงในอดีตที่ผ่านมาก็ถูกครอบงำด้วยการเมือง แล้วจะมีอะไรประกันว่าจะไม่ใช้เงินซื้อเสียง มีอะไรประกันหรือไม่ว่าจะไม่สมัครเป็นสมาชิกพรรคอย่างไม่เป็นทางการ และมีเลือกตั้งที่ไหนในโลกที่ห้ามหาเสียง แต่หากต้องเลือกก็เลือกทั้ง 77 คน ที่เหลือ 150 ก็เลือกกลุ่มอาชีพ แต่ไม่ใช่ให้สรรหาโดยองค์กรอิสระ เพราะองค์กรอิสระต้องอิสระเป็นกลางจากการเมือง สามัญสำนึกมันขัดกัน หากจะสรรหาควรมาจากกลุ่มอาชีพมากกว่า

4รองผู้ว่ากทม."สุขุมพันธ์"


มารู้จักประวัติและประสบการณ์ การทำงานที่ผ่านมาของรองผู้ว่าฯ ทั้ง 4 ท่าน จากที่ผมแต่งตั้งครับ
ประวัติรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทั้ง 4 ท่าน

1. นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม. ด้านโยธาสาธารณูปโภค
• เกิด เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2496 ที่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

• การศึกษา : จบการศึกษามัธยม ศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- จบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา และวิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ประกาศนียบัตร การบริหารงบประมาณภาครัฐแนวใหม่จาก UCLA
- ประกาศนียบัตร การบริหารจัดการภาครัฐ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ประกาศนียบัตร ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม การจราจรและขนส่ง
- ประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง “มหานคร รุ่นที่ 1” จาก กทม.
- วุฒิบัตร หลักสูตร “ผู้นำมหานคร” จาก กทม.ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า

• ประสบการณ์ทำงาน : ตำแหน่งวิศวกร ผู้รับผิดชอบการออกแบบโครงข่ายถนนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมการจราจร และขนส่ง - รวมทั้งการบริหาร จัดการด้านการควบคุม การก่อสร้างของโครงการสำคัญ
- ผู้อำนวยการกองรังวัดและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
- รองผู้อำนวยการสำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
- รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง
- รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา
- ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง
- ผู้อำนวยการสำนักการโยธา
- รองปลัด กทม. ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 56

• ผลงานที่ผ่านมา : เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับถนนพระราม 4 (สะพานไทย-ญี่ปุ่น) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยก 10 แห่ง โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกถนนพระราม 9 โครงการก่อสร้างถนนพระราม 9 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ (ทางลอด) ถนนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ โครงการสะพานพระราม 8 โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว โครงการขนส่งมวลชนรถเมล์ด่วนบีอาร์ที และดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการอนุญาตและควบคุมการก่อสร้างอาคารในกรุงเทพฯ

2. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯ กทม.ด้านความปลอดภัย
• เกิด เมื่อวันที่ 15 ก.พ. พ.ศ. 2494 ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับ นางวาสนา ขวัญเมือง มีบุตรชาย 3 คน

• การศึกษา : จบจากระดับชั้น มศ.3 โรงเรียนด่านช้างวิทยา
โรงเรียนตำรวจภูธร รุ่นที่ 7
โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน นรต.รุ่น 30
จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16
หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45

• ประสบการณ์ทำงาน
พ.ศ. 2520 (ร.ต.ต.) รอง สวส.สน.สำเหร่ (หัวหน้าสายสืบ)
พ.ศ. 2522 (ร.ต.ท.) รอง สวส.สภ.อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ. 2524 รอง สวป.สภ.อ.เมืองนครปฐม
พ.ศ. 2525 (ร.ต.อ.)
พ.ศ. 2526 สว.ผ.5 กก.สส.บก.ภ.3 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2528 (พ.ต.ต.) สว. สภ.อ.ด่านช้าง (หัวหน้าสภ.อ.) จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ. 2531 (พ.ต.ท.)
พ.ศ. 2532 รอง ผกก.วท.บก.ภ.3 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2534 (พ.ต.อ.) ผกก.วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
พ.ศ. 2536 รกน.ผกก.สส.ภ.7 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2538 รอง ผบก.ป.
พ.ศ. 2541 (พล.ต.ต.) ผบก.ภ.เชียงราย
พ.ศ. 2542 ผบก.ป.
พ.ศ. 2543 กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2544 ผู้ช่วย ผบช.ก.
พ.ศ. 2547 รอง ผบช.ก.
พ.ศ. 2549 (พล.ต.ท.) ผบช.ภ.2
พ.ศ. 2550 ผบช.น. (ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล)
พ.ศ. 2551 ผช.ผบ.ตร. กรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษา สบ 10, รักษาการแทนผบช.ภ.2, รรท.ผบช.ภ.1
พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษา สบ 10

• ผลงานที่ผ่านมา : ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบฝีมือดีคนหนึ่ง เคยผ่านคดีสำคัญ ๆ ระดับชาติมาแล้วหลายคดี อาทิ คดีสังหารนายศุภฤกษ์ เรือนใจมั่น (โจ ด่านช้าง) คดีคาร์บอมบ์รถอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คดีจับกุมนายประชา โพธิพิพิธ (กำนันเซี๊ยะ) คดีจับกุมนายนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว) และคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว) เป็นต้น เคยได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “อัศวินปิดจ๊อบ” เนื่องจากมีการทำงานที่ดุดัน รวดเร็ว และ “มือปราบไผ่เขียว” และในปี พ.ศ. 2553 ยังได้รับเลือกเป็นพ่อดีเด่นแห่งชาติอีกด้วย

3. นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯ กทม. ด้านสังคมคุณภาพชีวิต
• เกิด เมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2494 ที่ อ.เมือง จังหวัดตรัง ปัจจุบันอายุ 62 ปี สมรสกับ นายบดินทร์ ตามไท นักวิชาการอิสระ ประธานมูลนิธิธรรมไทย

• การศึกษา : จบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- จบปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ (เคมี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปริญญาโทและปริญญาเอก วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา โดยทุนจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

• ประสบการณ์ทำงาน : วิทยากรกระบวนการ เรื่อง รัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพ กลไกคุ้มครองสิทธิความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง
- ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ 
- รองประธานกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ จ.เชียงใหม่
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่าง ๆ
- ด้านสังคม เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ร่าง พ.ร.บ. องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 พ.ร.บ.กสทช.
- กรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
- กรรมาธิการการแรงงาน
- พ.ศ. 2547 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ
- พ.ศ. 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
นอกจากนี้ เคยเป็นอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีปรีชาญาณทางวิทยาศาสตร์ นักวิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

• ผลงานที่ผ่านมา : นางผุสดี เป็นหนึ่งในนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทในการรณรงค์ความเสมอภาคหญิงชาย โดยดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ เช่น ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ และยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ ผู้อำนวยการพรรค ปชป. กรรมการมูลนิธิธรรมไทย กรรมการสมาคมศิษย์วังหลังวัฒนา และอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

4. นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. รับผิดชอบงานด้านบริหารและการคลัง
• เกิด เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2500

• การศึกษา
พ.ศ. 2523 ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2534 ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2543 ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2545 หลักสูตรการบริการภาครัฐและกฎหมายมหาชน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ. 2546 หลักสูตร Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
พ.ศ. 2554 หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง วิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
พ.ศ. 2555 หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (รุ่น 4) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
พ.ศ. 2555 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (รุ่น 1) สถาบันพัฒนาเมือง

• ประสบการณ์ทำงาน
- กรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
- กรรมการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- อนุกรรมการพิจารณาโครงการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- กรรมการอำนวยการ คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

(ทีมงาน)
ประวัติรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทั้ง 4 ท่าน

1. นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม. ด้านโยธาสาธารณูปโภค
• เกิด เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2496 ที่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

• การศึกษา : จบการศึกษามัธยม ศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- จบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา และวิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ประกาศนียบัตร การบริหารงบประมาณภาครัฐแนวใหม่จาก UCLA
- ประกาศนียบัตร การบริหารจัดการภาครัฐ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ประกาศนียบัตร ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม การจราจรและขนส่ง
- ประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง “มหานคร รุ่นที่ 1” จาก กทม.
- วุฒิบัตร หลักสูตร “ผู้นำมหานคร” จาก กทม.ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า

• ประสบการณ์ทำงาน : ตำแหน่งวิศวกร ผู้รับผิดชอบการออกแบบโครงข่ายถนนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมการจราจร และขนส่ง - รวมทั้งการบริหาร จัดการด้านการควบคุม การก่อสร้างของโครงการสำคัญ
- ผู้อำนวยการกองรังวัดและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
- รองผู้อำนวยการสำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
- รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง
- รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา
- ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง
- ผู้อำนวยการสำนักการโยธา
- รองปลัด กทม. ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 56

• ผลงานที่ผ่านมา : เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับถนนพระราม 4 (สะพานไทย-ญี่ปุ่น) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยก 10 แห่ง โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกถนนพระราม 9 โครงการก่อสร้างถนนพระราม 9 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ (ทางลอด) ถนนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ โครงการสะพานพระราม 8 โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว โครงการขนส่งมวลชนรถเมล์ด่วนบีอาร์ที และดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการอนุญาตและควบคุมการก่อสร้างอาคารในกรุงเทพฯ

2. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯ กทม.ด้านความปลอดภัย
• เกิด เมื่อวันที่ 15 ก.พ. พ.ศ. 2494 ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับ นางวาสนา ขวัญเมือง มีบุตรชาย 3 คน

• การศึกษา : จบจากระดับชั้น มศ.3 โรงเรียนด่านช้างวิทยา
โรงเรียนตำรวจภูธร รุ่นที่ 7
โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน นรต.รุ่น 30
จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16
หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45

• ประสบการณ์ทำงาน
พ.ศ. 2520 (ร.ต.ต.) รอง สวส.สน.สำเหร่ (หัวหน้าสายสืบ)
พ.ศ. 2522 (ร.ต.ท.) รอง สวส.สภ.อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ. 2524 รอง สวป.สภ.อ.เมืองนครปฐม
พ.ศ. 2525 (ร.ต.อ.)
พ.ศ. 2526 สว.ผ.5 กก.สส.บก.ภ.3 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2528 (พ.ต.ต.) สว. สภ.อ.ด่านช้าง (หัวหน้าสภ.อ.) จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ. 2531 (พ.ต.ท.)
พ.ศ. 2532 รอง ผกก.วท.บก.ภ.3 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2534 (พ.ต.อ.) ผกก.วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
พ.ศ. 2536 รกน.ผกก.สส.ภ.7 จ.นครปฐม
พ.ศ. 2538 รอง ผบก.ป.
พ.ศ. 2541 (พล.ต.ต.) ผบก.ภ.เชียงราย
พ.ศ. 2542 ผบก.ป.
พ.ศ. 2543 กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2544 ผู้ช่วย ผบช.ก.
พ.ศ. 2547 รอง ผบช.ก.
พ.ศ. 2549 (พล.ต.ท.) ผบช.ภ.2
พ.ศ. 2550 ผบช.น. (ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล)
พ.ศ. 2551 ผช.ผบ.ตร. กรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษา สบ 10, รักษาการแทนผบช.ภ.2, รรท.ผบช.ภ.1
พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษา สบ 10

• ผลงานที่ผ่านมา : ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบฝีมือดีคนหนึ่ง เคยผ่านคดีสำคัญ ๆ ระดับชาติมาแล้วหลายคดี อาทิ คดีสังหารนายศุภฤกษ์ เรือนใจมั่น (โจ ด่านช้าง) คดีคาร์บอมบ์รถอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คดีจับกุมนายประชา โพธิพิพิธ (กำนันเซี๊ยะ) คดีจับกุมนายนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว) และคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว) เป็นต้น เคยได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “อัศวินปิดจ๊อบ” เนื่องจากมีการทำงานที่ดุดัน รวดเร็ว และ “มือปราบไผ่เขียว” และในปี พ.ศ. 2553 ยังได้รับเลือกเป็นพ่อดีเด่นแห่งชาติอีกด้วย

3. นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯ กทม. ด้านสังคมคุณภาพชีวิต
• เกิด เมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2494 ที่ อ.เมือง จังหวัดตรัง ปัจจุบันอายุ 62 ปี สมรสกับ นายบดินทร์ ตามไท นักวิชาการอิสระ ประธานมูลนิธิธรรมไทย

• การศึกษา : จบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- จบปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ (เคมี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปริญญาโทและปริญญาเอก วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา โดยทุนจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

• ประสบการณ์ทำงาน : วิทยากรกระบวนการ เรื่อง รัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพ กลไกคุ้มครองสิทธิความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง
- ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ
- รองประธานกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ จ.เชียงใหม่
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่าง ๆ
- ด้านสังคม เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ร่าง พ.ร.บ. องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 พ.ร.บ.กสทช.
- กรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
- กรรมาธิการการแรงงาน
- พ.ศ. 2547 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ
- พ.ศ. 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
นอกจากนี้ เคยเป็นอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีปรีชาญาณทางวิทยาศาสตร์ นักวิชาการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

• ผลงานที่ผ่านมา : นางผุสดี เป็นหนึ่งในนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทในการรณรงค์ความเสมอภาคหญิงชาย โดยดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ เช่น ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ และยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ ผู้อำนวยการพรรค ปชป. กรรมการมูลนิธิธรรมไทย กรรมการสมาคมศิษย์วังหลังวัฒนา และอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

4. นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. รับผิดชอบงานด้านบริหารและการคลัง
• เกิด เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2500

• การศึกษา
พ.ศ. 2523 ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2534 ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2543 ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2545 หลักสูตรการบริการภาครัฐและกฎหมายมหาชน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ. 2546 หลักสูตร Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
พ.ศ. 2554 หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง วิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
พ.ศ. 2555 หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (รุ่น 4) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
พ.ศ. 2555 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (รุ่น 1) สถาบันพัฒนาเมือง

• ประสบการณ์ทำงาน
- กรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
- กรรมการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- อนุกรรมการพิจารณาโครงการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- กรรมการอำนวยการ คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปาก

นายกนาจิบ ประกาศยุบสภาแล้ว


ข่าวต่างประเทศ

ผู้นำมาเลเซียประกาศยุบสภา เตรียมจัดการเลือกตั้ง

มาเลเซีย 3 เม.ย.- นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย ได้ประกาศยุบสภาแล้วในวันนี้ เพื่อเตรียมตัวจัดการเลือกตั้งทั่วไป ที่ถูกมองว่า เป็นความท้าทายที่หนักที่สุดสำหรับรัฐบาล ที่ครองอำนาจมานานถึง 56 ปี
นายกรัฐมนตรีนาจิบ แถลงว่า เขาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดี เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ พร้อมกราบทูลขอพระบรมราชานุญาติยุบสภา เพื่อกรุงทางไปสู่การเลือกตั้งครั้งที่ 13 / ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะจัดประชุมร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นภายในสองสัปดาห์ เพื่อกำหนดวันเลือกตั้ง / นักวิเคราะห์ ได้ทำนายว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดสูสีที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับปัญหาคอรัปชั่น , ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น , และปัญหาอาชญากรรม ภายใต้การบริหารประเทศโดยรัฐบาลพรรคผสม บาริซาน นาเซียนัล ที่ครองอิทธิพลมายาวนาน นับตั้งแต่ได้รับเอกราช เมื่อปี 2500  ในกลุ่ม 13 พรรคร่วมรัฐบาล พรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ หรือ อัมโน ภายใต้การนำของนายนาจิบ ได้ชื่อว่าเป็นพรรคใหญ่ที่สุด / นายนาจิบ ได้พยายามทำงานหนักเพื่อกอบกู้คะแนนนิยม ด้วยการผลักดันแผนปฏิรูปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้เสรีภาพแก่พลเมืองมากยิ่งขึ้น
คู่แข่งสำคัญของพรรคอัมโน คือ 3 พรรคฝ่ายค้าน รวมทั้ง ปากาตัน รัคยัต ภายใต้การนำของนายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งสร้างความสั่นคลอนอย่างไม่คาดฝันในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เมื่อปี 2551 และปัจจุบันพรรคของนายอันวาร์ ครองที่นั่ง 75 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง และยังครองเสียงข้างมากใน 4 รัฐ จากทั้งหมด 13 รัฐ นักเคลื่อนไหวและฝ่ายค้าน ต่างเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและยุติธรรม และยังจัดการชุมนุมใหญ่หลายครั้ง เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจัดการเลือกตั้งที่ใสสะอาดหลัรงการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ เต็มไปด้วยความผิดปกติ ซึ่งรัฐบาลนายนาจิบ ได้ขานรับด้วยการนำวิธีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การใช้หมึกที่ลบไม่ออก และให้ชาวมาเลเซียลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์ได้ 
ในการแถลงยุบสภาผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ นายนาจิบ ได้เรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมือง ช่วยกันเป็นหูเป็นตาในเรื่องการรักษากฎหมาย พร้อมกับรับปากว่า จะส่งมอบอำนาจให้อย่างราบรื่น ถ้าฝ่ายค้านชนะ 

ป.ป.ช.นัดพิจารณาคดีนายกฯปล่อยกู้30ล. 4เม.ย.นี้


ป.ป.ช.นัดพิจารณาคดีนายกฯปล่อยกู้30ล. 4เม.ย.นี้



ป.ป.ช. เตรียมประชุมพิจารณาคดี ปล่อยเงินกู้ 30 ล้าน ของ นายกรัฐมนตรี ให้บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด หลังเจ้าหน้าที่รวมพยานหลักฐาน ส่งมอบ 4 เม.ย.นี้
 
 
นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. เกี่ยวกับความคืบหน้า คดีปล่อยเงินกู้ 30 ล้านบาท ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร ว่า ขณะนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. เตรียมนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณาคดีดังกล่าว หลังจากทางเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานตามประเด็น จัดทำรายงานเสนอให้ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. รับทราบเรียบร้อยแล้ว และได้นำเรื่องเสนอที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เพื่อเตรียมการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 เมษายนนี้