PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยุคเผด็จการในอดีต

data10Dec14ยุคเผด็จการครองเมือง

จอมพล ป.พิบูลสงครามกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งหลังพ้นคดี “อาชญากรสงคราม” ระหว่างที่ตนเป็นรัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การหวนคืนอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2491 ฐานะนายกรัฐมนตรีของไทยโดยมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์และจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ค้ำบัลลังก์เผด็จการ

ให้อย่างสุดๆในเวลาต่อมา
--

เช้าตรู่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ปฏิวัติ

     คณะรัฐประหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ นาวาอากาศเอกหลวงสงคราม เก่งระดมยิง จอมพล ป.ที่ปรึกษา และผู้บังคับกองพันหลายนายเช่น พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึด

อำนาจจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และนายปรีดี พนมยงค์กองกำลังของกลุ่มปฏิวัติ พุ่งตรงไปยังบ้านทำเนียบท่าช้าง อันเป็นบ้านพักของนายปรีดี พนมยงค์ เพื่อจับกุมตัวแต่นายปรีดี

ได้หนีลงเรือจ้างเข้าคลองบางหลวงไปกับจ่าบัวตำรวจอารักขาหนีออกไปได้ และในที่สุดได้ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ

    อีกสายตรงไปบ้านหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แต่หนีออกทันไปเพียง 5 นาที อีกสายตรงไปยังบ้านพลเรือตรีหลวงสังวร สุวรรณชีพ อธิบดีกรมตำรวจ ถูกขู่จะยิงเข้าบ้านถ้าไม่ยอมเปิด

ไฟในที่สุดก็ยอมจำนนมอบตัวต่อคณะรัฐประหาร

   คณะรัฐประหารได้เชิญเชิญจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งแต่จอมพล ป. ไม่กล้ารับตำแหน่ง อาจเป็นเพราะจอมพล ป. อาจยังมีความเกรงฝ่ายสัมพันธ์มิตรที่ชนะ

สงครามจะตั้งข้อรังเกียจ เนื่องจากจอมพล ป.เคยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธ์มิตรและตนเองเข้ากับฝ่ายอักษะ จนต้องกลายเป็นอาชญากรสงครามคณะรัฐประหารจึงไปเชิญนายควง อภัยวงศ์ หัว

หน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นตำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 โดยคณะรัฐประหารกำหนดรัฐมนตรีและรัฐบาลเงา

    จากนั้นมีรัฐธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ นาวาอากาศหลวงสงครามเป็นผู้ยกร่างและเก็บไว้ใต้ตุ่มแดงที่บ้าน จึงได้รับฉายาว่า “รัฐธรรมนูญตุ่มแดง”

    วันที่ 20 มกราคม 2491 มีการเลือกตั้งทั่วไป และในวันที่ 21 กุมพาพันธ์ 2491 นายควง อภัยวงศ์ ได้รับกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเนื่องด้วยได้รับเสียงข้างมากกว่าพรรคใดๆ ใน

สนามการหาเสียงมีการใช้ทุกรูปแบบยุทธวิธี แม้กระทั่งให้คนไปตะโกนในวิกหนัง “ใส่ร้ายปรีดี”

    แต่นายควง อยู่ในอำนาจได้เพียงเดือนเศษ วันที่ 8 เมษายน 2491 คณะรัฐประหารยื่นคำขาดให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสีย  ก่อนลาออกนายควงกล่าวว่า “พวกคุณทำได้หรือ เมื่อ

บอกว่าทำได้ก็ให้เขาทำไป ผมออกมานอนชักว่ายข้างนอกเสียก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไรนี่ การที่เขามาจี้ผมนั้น ผมจะเอาอะไรไปต่อสู้เขาและถ้าจะสู้สู้เพื่ออะไร??....”

    เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม คุมอำนาจเบ็ดเสร็จอีกครั้งได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยและเลื่อนยศให้ พันเอกเผ่า ศรียานนท์เป็นพลตรีอย่างรวดเร็วยุคจอมพล ป. เป็นยุคที่มีการช่วงชิง

อำนาจ มีการทำรัฐประหารมากมายหลายครั้ง แต่ทหารเอกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ พล.ต.ต.เผ่า และ พล.ต.สฤษดิ์ ได้ออกทำการปราบปรามขบถอย่างราบคาบได้ทุกครั้ง

ขบถเสนาธิการ

1 ตุลาคม  2491 เวลา 20.00 น. เกิดขบถจากนายทหาร เรียกว่า “ขบถเสนาธิการ” มีทั้งทหารคุมกองกำลังและส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในโรงเรียนเสนาธิการทหารที่ไม่พอใจเนื่องจากมีการแต่งตั้งโยก

ย้ายนายทหารตอบแทนผู้เข้าร่วมรัฐประหาร มิได้ทำเพื่อทหารส่วนรวมแม้แต่น้อยหลายครั้งฝ่ายกบฏมี

พล.ต.เนตร เมขะโยธิน
พลตรีพล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต
พล.ต.หลวงวรรณกรรมโกวิท
พล.ท. โพยม จุฬานนท์ ซึ่งเป็น ส.ส. เพชรบุรี
พ.อ.ขุน ศรีสิงหสงคราม เจ้ากรมพาหนะทหารบก
ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี,ร.อ. สุรพันธ์ ชีวรานนท์,ร.ท. บุญช่วย ศรีทองบุญเกิด
นายทหารและนักเรียนเสนาธิการอีกจำนวนหนึ่ง เข้าร่วมก่อการด้วย

    มีการวางแผนถึงขั้นสังหารกลุ่มผู้นำทหารและนายกรัฐมนตรีแบบถอนรากถอนโคนในทำเนียบรัฐบาล โดยในวันนั้นมีงานเลี้ยงส่งนายทหารและแสดงความยินดีในงานพิธีสมรสระหว่าง พล.ต.

สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ความ ลับไม่มีในโลก กบฏครั้งนี้ถูกรัฐบาลจอมพล ป. ซ้อนแผนปราบปรามอย่างราบคาบ ทหารเอกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้ง พล.ต.ต.เผ่า และ

พล.ต.สฤษดิ์  ธนะรัชต์ได้ออกทำการปราบปรามขบถอย่างราบคาบได้และในครั้งต่อๆมาอีก

โดย เผ่า ศรียานนท์ อิงฐานกรมตำรวจตั้ง “รัฐตำรวจ”  สร้างอัศวินตั้งแต่แหวเพชรถึงแหวนทอง ปูนบำเหน็จรางวัลแก่นายตำรวจที่จงรักภักดีตนเป็นยุคอำนาจมืดครองงำไทยมีการปราบปรามนักการ

เมือง นักหนังสือพิมพ์ ถูกคุมขัง ถูกลักพาตัว ถูกฆ่าโดยไม่มีขบวนการยุติธรรมไต่สวนอย่างเป็นธรรม ผู้ปกครองไม่กี่คนตั้งตนเป็นตุลาการตัดสินความด้วยอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ

 ตั้งข้อหากบฏแบ่งแยกดินแดน

ต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันรัฐบาลจอมพล ป.ได้จับกุมพลเรือนนักการเมืองสายเสรีไทย

มีนายทิม ภูริพัฒน์
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายถวิล อดุล
นายฟอง สิทธิธรรม
นายเตียง ศิริขันธ์
ในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน”

ในขณะจับกุมตัวทางจอมพล ป. ได้ปราศรัยทางวิทยุปลุกระดมหาความชอบธรรมในการจับกุมพลเรือนและนักการเมืองในครั้งนี้ว่า ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองสมคิดกันเพื่อกบฏ ทางสภาผู้

แทนราษฎรให้ พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ ปล่อยตัวนายฟอง สิทธิธรรม เพราะอยู่ในสมัยประชุม ได้รับเอกสิทธิ์ทางกฎหมายและต่อมาได้ปล่อยตัวนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เพราะไม่มีหลักฐานอะไร

กบฏวังหลวง

     วันที่ 23 กุมพาพันธ์ 2492 ได้มีนายทหารได้นำรถถังออกมา 6 คัน พร้อมอาวุธครบมือมาทำเนียบรัฐบาล แต่ พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทราบการเคลื่อนไหวนี้เสียก่อน พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ไม่รอช้า

ออกทำการกวาดล้างทันที  สืบลึกเข้าไปกลายเป็นว่าเป็นกบฏใหญ่นายทหารและพลเรือนร่วมวางแผนยึดอำนาจ ข่าวลึกๆเชื่อว่ามีเสรีไทยและนายปรีดี พนมยงค์อยู่เบื้องหลัง

     กองกำลังในการปราบกบฏครั้งนี้มีคำสั่งให้ พ.ท.กฤช ปุณณกันต์ ผบ.กรมราบ และ พ.ท.ถนอม กิตติขจร ผบ.ราบ 11 นำรถถังออกปราบด้วย มีการรบพุ่งทั้งสองฝ่ายจนถึงเช้าวันที่ 09.00 น.ของ

วันที่ 27 กุมพาพันธ์ 2492 มีการเจรจาหยุดยิงกันได้เมื่อตอนเวลา 10.15 น. ต่างฝ่ายต่างเคลื่อนกำลังกลับเข้าสู่ที่ตั้งของตนได้มีการบุกค้นบ้านผู้ต้องสงสัย และมีการสังหารโหดอย่างเช่นกับราย

พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข เคยร่วมงานกับนายปรีดีพนมยงค์ได้ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นพวกกบฏ โดยเช้าตรู่วันที่ 29 กุมพาพันธ์ 2492 กองกำลังฝ่ายจอมพล ป.เข้าตรวจค้นภายในบ้าน พลันเกิดเสียงปืน

ดังหลายนัด ผู้เข้าจับกุมให้การว่า พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ขัดขืนและทอดร่างกลายเป็นศพ เหมือนหลายๆคดีที่ตำรวจมักกล่าวว่า ผู้ต้องหาต่อสู้เจ้าหน้าที่พนักงาน สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป

 เพียงแค่สงสัยใครเป็นพวกนายปรีดี บุคคลนั้นก็ชะตาขาดเสียแล้ว

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีจุดมุ่งหมายแน่วแน่ที่จะโค่นอำนาจนายปรีดี พนมยงค์และกลุ่มเสรีไทยแบบถอนรากถอนโคน เพียงแค่สงสัยใครเป็นพวกนายปรีดี บุคคลนั้นก็ชะตาขาดเสียแล้ว

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ปรามปรามประชาชนและนักการเมืองรวมถึงทหารที่เอาใจออกห่างคนแล้วคนเล่าข้าราชการชั้นเอก นายตำรวจและนายทหารระดับพันเอกหลายคนถูกพวกอัศวินดำของ

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์สังหารโดยไม่มีความผิด

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสียงไทย ถูกลอบยิงทำร้ายผู้นำกรรมกรถูกจับ สมาคมกรรมกรถูกค้นโรงเรียนจีนและ นสพ.จีนถูกค้นหลายระลอก ครูโรงเรียนจีนและนักหนังสือพิมพ์จีนถูกจับและถูก

เนรเทศเป็นจำนวนมาก  รวมถึงการพัวพันสังหารโหด หะหยีสุหรง นักการเมืองไทยมุสลิมผู้กล้าหาญแห่งภาคใต้ และนายพร มะสิทอง ส.ส.สมุทรสาคร

 คืนสังหารโหด 4 อดีตรัฐมนตรี

มีการจับกุมตัวนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อดุล ถูกคุมตัวมาไว้ที่สันติบาลวันที่ 28 กุมพาพันธ์ 2492
และนายจำลอง ดาวเรือง ก็โดนจับกุมมีการค้นบ้าน ดร.เปลว ชลภูมิรัฐบาลพบโทรเลข ทราบข่าว ดร.เปลว ชลภูมิจะกลับไทยหลังจากหนีลี้ภัยไปปีนัง เมื่อครั้งเกิดการรัฐประหารปี 2490 จึงมีการ

ไปดักจับ ดร.เปลว ชลภูมิถึงลานจอดเครื่องบิน ในคืนวันที่ 4 มีนาคม 2492 ตำรวจสันติบาลนำดร.เปลวออกจากสนามบินทันทีที่เครื่องบินลงไปกองบัญชาการสวนกุหลาบ

คนทั้ง 4 ที่ถูกจับกุมเคยเป็นรัฐมนตรีในสมัยก่อนๆ ทราบกันว่าเป็นสายเสรีไทยสนิทกับนายปรีดี พนมยงค์ตายอย่างมีเงื่อนงำ

วันที่ 4 มีนาคม 2592 รถตำรวจ 3 คัน เบิกผู้ต้องหาทั้ง 4 ไปสอบสวนระหว่างรถถึงหลักกิโลเมตรที่ 14-15 เสียงปืนดังแผดคำรามขึ้นหลายนัด แล้วผู้ต้องหาการเมืองทั้ง 4 ก็ดับดิ้นตรงนั้น ทุกศพมี

รอยกระสุนคนละหลายนัดบอกกันว่าโจรมาลายูเข้าชิงตัวผู้ต้องหา? แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจลูกน้องเผ่าปลอดภัยทุกคน?

 สังหารครูเตียง ศิริขันธ์

นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด มีความห่วงใยในการศึกษาของชาวบ้านท่านจึงได้ตั้งโรงเรียนขึ้นมา 2 แห่งชื่อว่าโรงเรียนมัธยมเตียง ศิริขันธ์ 1 และโรงเรียนมัธยมเตียง ศิริขันธ์ 2 เมื่อปีพ.ศ.

2478 นายเตียงและเพื่อนครูอีก 2 คนในโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี นายคือปั่น แก้วมาตรและนายญวง เอี่อมศิลาโดน “ข้อหามีการกระทำเป็นคอมมูนิสต์”  ต่อมาในปีเดียวกัน การเตียงกับนาย

ปั่นถูกปล่อยตัว ส่วนนายญวงถูกตัดสินจำคุกพร้อมเพื่อนอีกจำนวนหนึ่ง

นายเตียงได้เดินทางไปเรียนต่อที่ระดับครู ป.ม.ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนหอวังระยะหนึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ครูเตียงได้กลับไปสมัคร ส.ส.ที่จังหวัดสกลนคร ครูครอง

จันดาวงศ์ ช่วยวิ่งเต้นหาเสียงให้ด้วยจนชนะคะแนนหลวงวรนิติปรีชา ส.ส.แต่งตั้งคนเดิม

ในปี 2497 นายเตียง ศิริขันธ์ ส.ส. สกลนคร หัวหน้าเสรีไทยภาคอีสานพร้อมพร้อมคนขับรถถูกจับไปสังหารโหดที่กลางป่าจังหวัดกาญจนบุรี ปฏิบัติการป่าเถื่อนไร้ทำนองคลองธรรมของผู้กุมอำนาจ

รัฐสร้างแรงบีบคั้นให้กับผู้รักความเป็นธรรมคนแล้วคนเล่าก็กลายเป็นเหยื่อความทารุณโหดร้ายต่อไป!

 กบฏแมนฮัตตัน (จับจอมพล ป.บนเรือแมนฮัตตัน)

ทหารบางส่วนของกองทัพเรือไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลจอมพล ป. มากนัก ยังมีนายทหารเรือคบคิดกบฏจะยึดอำนาจจอมพล ป.อีกหลายครั้งหลายคราวแต่มักมีเหตุไม่พร้อมสอดแทรกอยู่เสมอ

เช่น วันที่ 22 ตุลาคม 2493 คิดคุมตัวจอมพล ป. ในพิธีส่งทหารไปเกาหลี

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2543วางแผนจับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ในสนามกีฬาแห่ชาติขณะมีการแข่งขันรักบี้ ระหว่างทีมกองทัพบกกับทีมกองทัพเรือกระทั่งต้นปี 2494 คิดทำการอีกในกระทรวงกลาโหม

จะทำการแจกเข็มเสนาธิปัตย์ มีจอมพลป.เป็นประธานทหารบางส่วนที่ตกลงกันไว้ไม่กล้าเคลื่อนออกมาความพยายามไม่สิ้น

กลุ่มทหารเรือหนุ่มกำหนดวันที่ 26 มิถุนายน 2494 ก่อการอีกครั้ง จะบุกควบคุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ทำเนียบและจู่โจมยึดวังปารุสกวัน ครั้งถึงกำหนดนาวิกโยธิน 2 หน่วยไม่สามารถเคลื่อนพลได้

ทั้งๆที่หน่วยอื่นพากันขนอาวุธยุทธภัณท์ออกจากกรมกองแล้ว ความผิดพลาดครั้งนี้ทำให้ ขบวนการต่างๆเฉพาะอย่างยิ่งจากกองทัพบก ขอถอนตัว กระนั้นก็ยังมีส่วนอดทนยึดมั่นอุดมการณ์จะทำ

งานปฏิวัติก็ยังมีอยู่

 ถึงคราวลงมือกันเสียที

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป.จะทำพิธีรับเรือมอบเรือขุดแมนฮัดตัน จากอเมริกามอบให้ที่ท่าเรือราชวรดิษฐ์ท่ามกลางทูตประเทศต่างๆมากมาย เมื่อรับเสร็จจอมพล ป.ขึ้นไปชมเรือ

น.ต.มนัส จารุภา พร้อมหน่วยรบจำนวนหนึ่งนำปืนกลแมดเสน กรูขึ้นสะพานเรือพร้อมยิงหากมีคนขัดขืน จอมพล ป.เดินมาจากหัวเรือพร้อมผู้ติดตาม ถึงจุดที่ น.ต.ยืนรออยู่ “เราต้องการแต่ตัวท่าน

จอมพล คนอื่นไม่เกี่ยวถอยออกไป ขอเชิญจอมพลมาทางนี้”  นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “จะให้ไปทางไหน”

มีการควบคุมนายกรัฐมนตรีไปขึ้นเรือรบหลวงอยุธยาแล้วเล่นไปตามลำน้ำถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อมุ่งหน้าสู่สะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อไปจอดหน้าสรรพวุธทหารเรือ บางนา แต่สะพาน

พุทธฯไม่เปิด นาวิกโยธินที่ 4 และ 5 ไม่สามารถเคลื่อนพลออกมาได้ ทหารเรือส่วนหนึ่งยึดโรงไฟฟ้าและโทรศัพท์กลางวัดเลียบได้แล้วแต่ถูกรถถังตำรวจล้อมปิดไว้

ฝ่ายรัฐบาลได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของผู้ก่อการ เรียกร้องให้มอบตัวและส่งจอมพล ป.คืนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยื่นคำขาดให้จำนนในตอนรุ่งเช้า มิฉะนั้นจะใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง

06.00 น. รุ่งอรุณของวันที่ 30 มิถุนายน 2454 อาวุธหนักของรัฐบาลโจมตีทหารเรือ กระสุนเบาถล่มเรือรบหลวงศรีอยุธยาเป็นระยะๆ  ส่วนบนบกทหารฝ่ายรัฐบาลอยู่ฝั่งพระนครทหารฝ่ายก่อการอยู่

ฝั่งธนต่างสาดกระสุนใส่กัน เสียหายทั้งสองฝ่าย

เวลา 15.00 น. ไม่มีทหารกองอื่นๆรวมถึงแม่ทัพเรือเข้าร่วมกับฝ่ายก่อการดังที่ฝ่ายก่อการคาดหวังไว้ ฝ่ายกบฏหมดทางสู้ทุกประตู

จอมพลฟื้น ฤทธาคนี ผู้บัญชาการทหารอากาศสั่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเรืออยุธยา เพลิงไหม้ลามถึงคลังลูกปืน เรือค่อยๆจมลง ปืนเล็กยาวระดมยิงใส่พวกลอยคอที่ว่ายพ้นหัวเรือ ทหารฝ่ายก่อการที่อยู่

ฝั่งธนบุรีสามารถสกัดยับยั้งการยิงได้ แต่ไม่อาจหยุดยั้งการยิงกราดจากเครื่องบินได้ เมื่อบรรดาคนที่ว่ายน้ำเคลื่อนเข้ามาใกล้ฝั่ง จึงเห็นว่ามีจอมพล ป.ก็รวมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย รัฐบาลปราบปรามฝ่าย

กบฏอย่างราบคาบ ฝ่ายทหารเรือจึงหมดอำนาจทางการเมืองตั้งแต่นั้นมา

 ยุคทมิฬ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ นักอุ้มฆ่า

ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ พล.ต.อ.เผ่า สร้างรัฐตำรวจขึ้น ก่อตั้งตำรวจรถถังและยานเกราะ ตำรวจกองปราบ,ตำรวจพลร่มและอื่นๆ

พล.ต.อ.เผ่า มีความสนิทกับจอมพล ป.เป็นพิเศษ  เคยเป็นทหารยศพันเอกแต่ถูกโอนมาคุมตำรวจ ไต่ตำแหน่งอย่างรวดเร็ว ได้ทำการกวาดล้างเสี้ยนศัตรูทางการเมืองของจอมพล ป.อย่างรุนแรงและ

เฉียบพลัน ตำรวจยุคนี้ได้มีส่วนในการเข่นฆ่า ขังลืม ขังห้องมืดนักโทษการเมืองรวมถึงสังหารโหด 4 รัฐมนตรีกลางถนนที่บางเขน นักการเมืองจำนวนมากต้องลี้ภัยหนีตายและหลบไปกบดานอยู่

ในชนบท

เช้าวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 รัฐบาลเรียกร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบทางวิทยุกระจายเสียง รัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมนัดคิดนักเขียน นักหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมาก ในข้อหากบฏ

อาทิเช่น


นายอารีย์ ลีวีระ ผู้อำนวยการบริษัทไทยาณิชย์จำกัด
นายแสวง ตุงคบรรหาร บก.หนังสือพิมพ์สยามนิกร
นายบุศย์ สิมะเสถียร หนังสือพิมพ์ไทย
นายอารี อิ่มสมบัติ บ.กฺ. ธรรมจักรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ
นายเปลื้อง วรรณศรี
นายฉัตร บุณยศิริ
นายนเรศ นโรปกรณ์
นายมารุต บุนนาค และอีกมากมายรวม 104 คน เรียกว่า “กบฎ 10 พ.ย. 2495”

 มีการวางแผนฆ่านักหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่คือ

ในคืนวันที่ 6 กุมพาพันธ์ 2496 ศาลได้สั่งปล่อยนายอารี ลีวีระ ผู้อำนวยการบริษัทไทยพาณิชย์การ จำกัดซึ่งมี หนังสือพิมพ์สยามนิกรและพิมพ์ไทย อยู่ในสังกัด ครั้นถึงวันที่ 23 กุมพาพันธ์ ปีเดียวกัน

นายอารีย์ได้เข้าสู่พิธีสมรสกับนางสาวกานดา บุญรัตน์ และเดินทางไปหัวหินเพื่อดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ระหว่างการไปพักที่หัวหิน ได้เกิดเรื่องสลดสะเทือนใจคนวงการหนังสือพิมพ์ เนื่องจาก

เช้าวันที่ 9 มีนาคม 2496 เวลา 08.50 น. มีรถจี๊ปสีเขียวเข้าไปในเรือนพักของหนุ่มสาวคู่นี้ แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัดแล้วรถดังกล่าวออกไปเมื่อตำรวจหัวหินวิทยุสกัดรถคันนี้ได้ พบมีตำรวจยศสิบ

โท และพลตำรวจอีก 4 นาย เป็นตำรวจกองกำกับการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ให้การว่า พ.ต.ท.ศิริชัย กระจ่างวงศ์ ให้มาดักจับคนร้าย ซึ่งนายตำรวจดังกล่าวเป็นนายตำรวจอัศวินแหวนเพชรของ

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ นั่นเอง

 การเลือกตั้งที่มีการโกงครั้งมโหฬาร

อย่างไรก็ตามจอมพล ป.พิบูลสงคราม มักแสดงให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลของเขามีประชาธิปไตย เห็นความสำคัญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังนั้นในปี 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุม

พาพันธ์ 2500 ปรากฏว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มีการใช้อุบายต่างๆ การทุจริตครั้งนี้มีการกระทำกันอย่างเอิกเกริก มีทั้งพลร่มไพ่ไฟและการเวียนเทียนลงบัตร มีการส่งโค๊ดเลือก

ผู้แทนของตน มีการปักตราพรรคเสรีมนังคศิลา (พรรครัฐบาลจอมพล ป.) มีรูปหัวไก่สีแดงเป็นเครื่องหมายที่กระเป๋ามองเห็นชัด เมื่อกรรมการเห็นก็ให้บัตรลงคะแนนทันทีโดยไม่ต้องตรวจสอบราย

ชื่อ การทุจริตการเลือกตั้งปั่นป่วนไปทั่ว ทุลักทุเลอึมครึม มีการใช้อำนาจรัฐเต็มที่

ประชาชนและนักศึกษาที่รักประชาธิปไตยพยายามต่อสู้แต่ก็มีอันพาลทางการเมืองเข้ารุมซ้อ ให้ประชาชนบาดเจ็บมากมาย สื่อมวลชนกล่าวหาว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งสกปรกที่สุดในประเทศไท ผล

การเลือกตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาได้ 86 เสียงจาก 160 เสียง ขณะเตรียมจัดตั้งรัฐบาล ประชาชนนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและออกใบปลิวโจมตี จอมพล ป.กับ พล.ต.อ.เผ่า ให้รับผิดชอบลาออก

 ประชาชนเดินขบวนไล่รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม

ประชาชนเริ่มเดินขบวนจนในที่สุด จอมพล ป.ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม 2500ห้ามชุมนุมในที่สาธารณะและห้ามพิมพ์โฆษณาเกี่ยวกับการเมือง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทำหนังสือเรียกร้องให้ผู้แทนฯลาออกจากตำแหน่งนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประท้วงด้วยการลดธงลงครึ่งเสานักศึกษาทั้ง 2 แห่งกับประชาชนต่างลุกฮือบุกเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาล

 สองเสือองค์รักษ์พิทักษ์จอมพล ป.ขัดแย้งกันหนัก

เสือสฤษดิ์ กับเสือ เผ่า แสดงการขัดแย้งกันอย่างหนัก อำนาจและกลไกของจอพล ป. เริ่มพิกลพิการภายในพรรคเริ่มแตกแยกยากที่จะประสานผลประโยชน์กันต่อไปได้อีก จอมพล ป.สั่งยกเลิก

ตำแหน่งผู้บัญชาการทหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งของ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์

วันที่ 20 สิงหาคม 2500 เป็นวันจุดแตกหักเมื่อ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี พล.ท.ถนอม กิตติขจร รมช.กลาโหม พล.ท.ประภาส จารุเสถียร

รมช.มหาดไทย พล.อ.ท.เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูล รมช.เกษตร พล.ต.ศิริ สิริโยธิน รมช.สหกรณ์ ลาออกตามไปด้วย

วันที่ 13 กันยายน 2500 เหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งขุนพลเตรียมพร้อม ส่วน พล.ต,อ. เผ่า ศรียานนท์ ก็ระดมกำลังพร้อมเช่นกันต่างคุมเชิงคุมกองกำลังกันอยู่

 พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการจอมพล ป.พิบูลสงครามและ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เพื่อนคู่รักคู่แค้น

วันที่ 14-15 กันยายน 2500  คณะนายทหารกองทัพบกทำหนังสือบังคับให้รัฐบาลจอมพล ป.ลาออกแต่จอมพล ป.หน่วงเหนี่ยวเวลา วันที่ 16 กันยายน 2500  เวลา 20.00 น.พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่ง

รถถังเคลื่อนเข้ายึดที่ทำการสำคัญของรัฐบาลทันที รัฐประหารครั้งนี้ไร้การต่อต้าน จอมพล ป. หนีออกไปทางจังหวัดตราด นายทหารและตำรวจฝ่ายรัฐบาลเข้ารายงานตัวต่อคณะปฏิวัติ ในนี้มี

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ด้วย ตอนหนึ่ง เสือสฤษดิ์ถามเสือเผ่า ว่า “ก่อนหน้าจะยึดอำนาจ 2 วัน มึงไปถอนเงินจากกระทรวงการคลังไป 11 ล้านจริงหรือไม่?” พล.ต.อ.เผ่าตอบฉะฉาน “เออ...จริงว่ะ แต่

ใช้ไปหมดแล้ว”

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ส่วน จอมพล ป.หนีทันเข้า จ.ตราด เพื่อเข้าสู่เขมรต่อไป 9 ปีที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อำนาจมาด้วยปืนรถถังและเขาจากอำนาจไปด้วยปืน

และรถถังแบบเดียวกัน

นักศึกษาประชานชาวไทยต่างดีใจที่จอมเผด็จการคนเก่าจากไปแต่หารู้ไม่ว่าเผด็จการตัวใหม่กำลังย่างก้าวทะมึนเข้าแทนที่.....โหดเหี้ยมไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย......เขาคือ จอมเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัช

จอมพลเจ้าน้ำตา"ผิน"


data10Dec14จอมพลเจ้าน้ำตา

 เมื่อจอมพลผิน ชุณหะวัณ ตอนมียศพล.ท. เป็นหัวหน้าคณะทหารเข้ายึดอำนาจรัฐ ทำการรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เจ้าของฉายา ‘นายกสาลิกาลิ้นทอง’ พอเรียบร้อยเสร็จสรรพ

พล.ท.ผิน ออกแถลงข่าวกล่าวหารัฐบาลที่ตนเองเพิ่งคว่ำไปหยกๆ ว่า
     
        “เวลานี้คนไทยจะอดข้าวอยู่รอมร่อ แต่ข้าวถูกลักลอบออกนอกประเทศ จับไม่ได้สักที มาจับได้ยายมา แกเอาไปกระบุงหนึ่งจะเอาไปกิน ส่วนข้าวที่ไหลไปต่างประเทศตั้งหมื่นแสนกระสอบจับ

ไม่ได้
     
        สัญญาที่ทำกับต่างประเทศจะส่งข้าวให้เขาแล้วก็ขาดส่งเอามากๆ เป็นการเสียเครดิตของชาติ
     
        สิ่งเหล่านี้เป็นภาวะสุดทนทานได้ ผมทนดูเขาโกงกันไม่ไหว ดูซิคุณ เขารวยกันเป็นล้านๆ ผมเป็นนายพลนุ่งกางเกงปะก้น
     
        เกิดมาผมยังไม่เคยเห็นเงินหมื่น เห็นรถยนต์ ‘บูอิค’ ซึ่งรัฐมนตรีนั่งทีไรก็เหมือนกับวิ่งอยู่บนอก”
     
        นั่นไงครับ!
     
        พล.ท.ผินฯหัวหน้าคณะรัฐประหารรุ่นเก๋า ท่านพูดได้อร่อยดีจริงๆว่า เห็นเขานั่งรถอเมริกันคันโตแล้ว เหมือนรถแล่นทับหน้าอกตัวเองเลย ว่าแล้วก็น้ำตาไหลพรากๆ
     
        ตอนหลังพวกนักหนังสือพิมพ์จึงตั้งฉายาให้ท่านว่า “นายพลเจ้าน้ำตา” พอได้ยศจอมพล ก็กลายเป็น “จอมพลเจ้าน้ำตา” ไป ดูไปแล้วก็ไม่ผิดอะไรกับพล.อ.สนธิฯ ที่ เห็นพวกทักษิณคอรัปชั่น

แล้วอยากร้องไห้ แถมยังบอกว่าว่าชาติจะเหลือแต่กระดูก
     
        โอ้โฮเฮะ...ดุเดือดขนาดนั้นเลย เรียกว่ามาฟอร์มเดียวกับจอมพลผิน ไม่มีผิดกันเลยแม้แต่น้อย หรือพูดให้ทันสมัยหน่อยก็อาจบอก ว่า
     
        คณะรัฐประหารนั้น ไม่ว่าชาติไทยหรือชาติใด มันก็ไอ้ ‘ส่ำเดียวกัน’ หรือพวกเดียวทั้งนั้น ดูอย่างประเทศ ฟิจิ ที่เพิ่งมีการปฏิวัติหยกๆก็เห็นได้ชัดเลย
     
       ถ้าป๋าผินมาเป็นนายทหารใหญ่ตอนนี้ คงไม่มีความรู้สึกอย่างนั้นแล้ว เพราะหลวงท่านจัดรถยุโรป อย่างเบ๊นซ์คันโตๆ รุ่นล่าสุดคันละหลายล้านบาท ให้นายทหารใหญ่ และข้าราชการระดับสูง

กันอยู่แล้ว ไม่ใช่ของแปลกอะไรในยุคนี้
     
        เมื่อพล.ท.ผินทำรัฐประหารยึดอำนาจแล้ว ท่านก็ไม่ได้ตั้งรัฐบาลเอง แต่มอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแทน โดยตัวท่านเองให้สัมภาษณ์ว่า
     
        คณะทหารไม่ต้องการตำแหน่งรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี (ข้ออ้างนี่ก็เหมือนกันกับคณะรัฐประหารปัจจุบันอีกเหมือนกัน) แต่ให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.

๒๔๙๐ ที่คณะรัฐประหารมีมาเสร็จสรรพ จัดทำโดย พล.ท.หลวงกาจสงคราม ซึ่งร่างเอาซ่อนไว้ใต้ตุ่มแดง แล้วชักออกมาใช้เมื่อรัฐประหารเสร็จสรรพ ไม่ต้องมาสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้

เมื่อยตุ้มอย่างยุคนี้กันอีก
     
        หลวงกาจฯท่านเป็นบิดา พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง นายทหารผู้บุกเบิกสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกสนามเป้า เลยได้ฉายาว่า “นายพลตุ่มแดง” ไป รัฐธรรมนูญก็ได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับ

ใต้ตุ่ม” ในที่สุด
     
        นักการเมืองอย่างนายควง เป็นนายกรัฐมนตรีมาได้เพียงแค่วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. 2491 ๒๔๙๑ ก็ลาออกจากตำแหน่ง ไม่ได้ลาออกเพราะความเต็มใจ แต่ถูกคณะรัฐประหารชุดเดียวกับที่ตั้งท่าน

มา คือคณะรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จี้บังคับให้ลาออกภายใน ๒๔ ชั่วโมง ท่านควงเห็นว่าอยู่ไปเดี๋ยวเปลืองตัวเปล่า ก็ยอมลาออกโดยดี
     
        นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่ผู้สู้อุตส่าห์ทำปฏิวัติกันมา แล้วให้คนอื่นเข้ามาบริหารแทน ความอยากเข้ามาเป็นใหญ่เสียเองซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ คณะรัฐประหารรุ่นเดอะนี่ก็เหมือนกัน ทนดูคนอื่น

เขานั่งเป็นนายกฯได้แค่ ๕ เดือน ในที่สุดก็เข้าบริหารประเทศเองโดยส่งเทียบเชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี
     
        ท่านจอมพลคนปีไก่ ทำกระบิดกระบวนให้คณะรัฐประหารอ้อนวอนพอเป็นพิธี แล้วก็ยอมรับตำแหน่ง แต่พูดเอาเชิงว่า
        จำใจที่ทนไม่ได้ที่เห็นประเทศชาติขาดผู้นำ ทั้งๆที่ใจจริงไม่อยาก (ฟอร์มประจำของการรัฐประหาร) ในที่สุดก็ยินยอมรับตำแหน่งแต่โดยดี ด้วยความปรีดาปราโมทย์
        ภายใต้การบริหารงานของจอมพล ป.แม้ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง แต่การปกครองในระบอบของท่านจอมพล ก็ยืนยาวมานานถึง ๘ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ จอมพล

สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้ทำการรัฐประหาร
        จอมพลตราไก่ต้องลี้ภัยไปพำนักยังประเทศเขมรเป็นเวลา ๒ เดือน และย้ายไปพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และได้กลับไปพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

ด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ชานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๗ สิริรวมอายุได้ ๖๗ ปี
       
        นายทหารที่ร่วมรัฐประหารกับพล.ท.ผิน (ยศวันรัฐประหาร) หรือผิน ชุณหะวัณ จอมพลคนเจ้าน้ำตา มีคนสำคัญ เช่น
        -พันเอกสฤษต์ ธนะรัชต์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑
       -พันโทประภาส จารุเสถียร ผู้บังคับกองพัน กรมทหารราบที่ ๑
       -พันโทถนอม กิตติขจร อาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก
     
       ไม่น่าเชื่อว่าทั้ง ๓ นายทหาร ต่อมาได้เป็นจอมพลหมดทุกท่าน และมีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน คือ ทั้งจอมพลสฤษดิ์กับจอมพลถนอม เป็นผู้นำการปฏิวัติรัฐประหาร ส่วนจอมพลประภาสนั้น แม้จะไม่

เคยเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารเหมือนอย่าง ๒ ท่าน แรก แต่ก็เชื่อกันว่า ท่านมีอำนาจมากกว่าจอมพลถนอมด้วยซ้ำไป
     
       ที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่ง คือจอมพลทั้ง ๓ ท่าน ที่เป็นผู้นำและคนสำคัญในการก่อรัฐประหาร ที่ลงท้าย......ถูกยึดทรัพย์หมดทุกราย!
     
       (มีบางคนเขาบอกว่า น่าจะเป็น ‘เวรกรรม’ ของพวกรัฐประหาร!!)
     
        ส่วนพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ผู้นำการรัฐประหารครั้งนั้น ไม่ได้ถูกยึดทรัพย์อะไรกับเขา แต่เมื่อทำรัฐประหารแล้ว ไม่ต้องเป็นนายพลนุ่งกางเกงตูดปะอีกต่อไป เพราะเมื่อได้ติดยศเป็น ‘จอมพล’ ก็

ได้ลงหลักปักถ่อทางการเมือง ให้กับลูกหลานอย่างมั่นคง โดยพากันไปปลูกบ้านอยู่รวมกันในซอยราชครู พหลโยธิน อันเป็นจุดกำเนิดของ “ก๊กราชครู” ซึ่งเป็นก๊วนการเมืองสำคัญในเวลาต่อมา

และหลังการรัฐประหารลูกเขยทั้ง พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ก็กลายเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองด้วยกันทั้งคู่
     
       สำหรับบุตรชายของท่าน คือ ร.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะทำการรัฐประหาร) ได้เจริญก้าวหน้าทางทหาร แต่เมื่อทางฝ่ายก๊กราชครูหมดอำนาจลง เพราะการปฏิวัติของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เจ้า

ของฉายา ‘จอมพลผ้าขาวม้าแดง’ ชาติชายซึ่งตอนนั้นมียศเป็นนายพลจัตวา ถูกส่งไปเป็นเอกอัครราชทูตอาเจนติน่า เพราะจอมพลสฤษดิ์ไม่ไว้วางใจ ต่อมาได้ย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตออสเตรีย
     
       เมื่อหมดยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ไปแล้ว คุณชาติชายก็ได้กลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้ง ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของรัฐบาลจอมพลถนอม

กิตติขจร
     
       เมื่อมีเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ จอมพลถนอมฯต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ชาติชายได้ร่วมกับพี่เขยคือ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสารและญาติ ตั้งพรรคชาติไทยขึ้นมาดำเนินงาน

ทางการเมือง และบุญพาวาสนาส่ง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในเวลาต่อมา
     
       อาจเป็นเพราะ ‘น้าชาติ’ ไม่ได้นุ่งการเกงตูดปะอย่างผู้บุพการี จึงชอบสูบซิการ์ฮาวานาร์ จิบไวน์ชั้นเลิศ ซิ่งรถมอร์เตอร์ไซด์ยี่ห้อ ‘ฮาร์เลย์-เดวิดสัน’ ราคาแพง ก่อนเป็นนายกฯก็ปรากฏกายกับ ‘

ตุ่น’ คู่หู ในสถานบันเทิงเป็นประจำ ตามแบบผู้มีรสนิยมอันวิไล เลยถูกเรียกขานว่าเป็น playboy เข้าไปอีก แต่เจ้าตัวก็ชอบ
     
        รัฐบาลของท่านก็ถูกกล่าวหา ว่า คอรัปชั่นวินาศสันตะโร ผู้คนรับกันไม่ได้ บอกว่าเป็น “บุพเฟ่แคบบิเนต์” ในที่สุดก็ถูกพวก รสช. ทำรัฐประหารล้มคว่ำลงไป ตัวนายกเพลย์บอยก็ถูกบีบให้เดิน

ทางออกนอกประเทศ ส่วนแก๊งค์ รสช.นั้น ต่อมาก็ถูกฝูงชนขับไล่ถึบตกกระป๋องไป หลังจากฆ่าฟันประชาชน ล้มตายกลางถนนราชดำเนินเสียหลายศพ
     
        น้าชาติไม่ได้ออกนอกประเทศไปเฉยๆ หากยังถูกแก๊งค์ รสช. ‘ยึดทรัพย์’ อีกด้วย แต่โดยการขัดข้องทางเทคนิคของกฎหมาย ทำให้เจ้าตัวหลุดบ่วงกรรมนั้นออกมาได้ หลังจากนั้นนายกเจ้า

สำราญคนนี้ ก็ไม่ได้มีโอกาส โผล่ขึ้นมากินบุปเฟต์กับคาบิเนต์อีกเลย จนเสียชีวิตไปในที่สุด
     
        ทิ้งให้ ‘จิ้งหรีดไหหลำ’ กรีดร้องว้าเหว่ ไปแต่ตามลำพัง!
     

วันรัฐธรรมนูญ กับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ


วันรัฐธรรมนูญ กับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ

//////////
วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี


 ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ


 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

            อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

            รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่
การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

            พระมหากษัตริย์
         
            สภาผู้แทนราษฎร
         
            คณะกรรมการราษฎร
         
            ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ

          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ

ดังนี้

           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

           2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
 
           3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
   
           4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
   
           5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

           6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
 
           7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

           8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

           9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
 
           10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

           11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
   
           12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
 
           13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
 
           14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
 
           15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
   
           16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
 
           17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
   
           18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)

////
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ

           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น

           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

            คำปรารภ
   
            หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
   
            หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
   
            หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
   
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
   
            หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
   
            หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
   
            หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
   
            หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
   
           หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
   
            หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
   
            หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
 
            หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
   
            หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
   
            หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

            หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
   
            บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)

////////////////
 วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

            มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
////////////
๑๐ ธันวา.วันรำลึกถึงรัฐธรรมนูญ “ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร” ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475..-. สำหรับปีนี้ วันที่.๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗.คือวันที่ประเทศไทย"ติดเกียร์ว่าง"เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญ จึงขอไว้อาลัยให้แก่รัฐธรรมนูญไทย ๑๘ ฉบับที่ถูกทหารฉีกทิ้งทำลายฆ่าตัดตอนให้ตายไปจากประเทศไทย....เศร้าใจจริงๆ...

10 ธันวาคม  "วันรัฐธรรมนูญ " ของทุกปี

ความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภาได้ทรงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศจึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทาน รัฐธรรมนูญ “ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร” ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้ “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร์

รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งหมด 16 ฉบับ ได้แก่

ฉบับที่ 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว)
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)
ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
/////////////////////

ประวัติรัฐธรรมนูญไทย


นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้น จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ ๆ 15 ฉบับด้วยกัน ดังนี้

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) มีส่วนอย่างสำคัญในการร่าง ถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกและเป็นฉบับชั่วคราว

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน


2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

ระหว่าง 13 ปี 5 เดือนนี้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น “รัฐธรรม-นูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ไปด้วย

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี

แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลา
อยู่ในตำแหน่งผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมี พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 

พ.อ. กาจ กาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 มีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างและเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ “ใต้ตุ่ม” หรือ “ตุ่มแดง”

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ระหว่าง 1 ปี 4 เดือน 14 วันนี้ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 แก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยกำหนดอายุผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ต่ำกว่า 35 ปี และให้ พระบรมวงศานุวงศ์สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2491 แก้ไขกำหนดเวลาในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2491 แก้ไขให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีเอกสิทธิ์และคุ้มกัน เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการ รัฐประหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งมี พล.อ. ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้

บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2502 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร ซึ่งจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า เป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างยาวนานถึง 9 ปี 4 เดือน 20 วัน แต่มีอายุในการประกาศและบังคับใช้เพียง 3 ปี 4 เดือน 27 วัน

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยการรัฐประหารของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งมี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูง

สุดและผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นหัวหน้า

รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี

11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2519 และถูก “ฉีกทิ้ง” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารของ “คณะปฏิวัติ” ซึ่งมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี

12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521” อันเป็นธรรมนูญฉบับที่ 13

13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528 

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 โดยผลจากข้อกำหนดในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควร หากไม่นับบทบัญญัติเฉพาะกาลที่มีผลใช้บังคับอยู่ในช่วง 4 ปีแรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งประสบความสำเร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2528

14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 ภายหลังจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยได้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 

ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เป็นรัฐ-ธรรมนูญที่ตราขึ้นเพื่อใช้แทนธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 โดยมีการแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของ
ประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง 6 ฉบับ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 ปี 10 เดือน 3 วัน

ที่มา:http://www.kpi.ac.th/kpidb/politicalDetail.asp?typeID=1&categoryID=12&subCategoryID=161&politicalID=136

"พึ่ง ศรีจันทร์"ปธ.สภาผู้ไม่กลัวคณะปฏิวัติ

     นายพึ่ง ศรีจันทร์
       วันที่ 12พฤศจิกายน 2490 เวลา 10.00 น.
     
        นายพึ่ง ศรจันทร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2489 สังกัดพรรคสหชีพ อันเป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่สนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์

และเป็นพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
   

        ท่านได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2490
     
        พล.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2490

และได้รับการบรรจุเข้าวาระ ใช้เวลาอภิปรายซักฟอกรัฐบาลในหลายประเด็นอยู่ 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2490 เป็นต้นไป
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างเที่ยงธรรม โดยไม่คำนึงถึงพรรค ยึดถือแต่ระเบียบข้อบังคับ จนแม้แกนนำพรรคฝ่ายค้านที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน ก็ยังเขียน

บันทึกคำชมเชยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
     
        เพราะท่านยึดถือว่าขณะทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น ท่านไม่ได้สวมหมวกสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล
     
        แต่สวมหมวกประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
     
        อย่าว่าแต่จะเปิดโอกาสให้ส.ส.พรรคฝ่ายค้านแสดงความคิดเห็น หากทำถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ
     
        ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล รัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี หากกระทำการไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตรงตามระเบียบข้อบังคับ นายพึ่ง ศรีจันทร์ก็ไม่เคยละเว้นที่จะเตือน
     
        แม้แต่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็เคยถูกประธานสภาผู้แทนราษฎรท่านนี้ห้ามไม่ให้พูดนอกประเด็น
     
        เกิดรัฐประหารล้มรัฐบาลฝ่ายสนับสนุนท่านปรีดี พนมยงค์เมื่อคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
     
        แต่ก่อนหน้านั้น 1 วัน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 นายพึ่ง ศรีจันทร์สั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรออกหนังสือเชิญประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามปกติในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490
     
        ท่านจึงไม่หนีไปไหน
     
        เมื่อถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490 นายพึ่ง ศรีจันทร์เดินทางไปยังที่ทำการรัฐสภาในขณะนั้น คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ขึ้นนั่งบัลลังก์ประธานสภาผู้แทนราษฎรตรงตามกำหนดนัดเวลา

10.00 น. โดยไม่ยอมรับรู้อำนาจของคณะรัฐประหาร ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นรถถังยังคงตรึงกำลังอยู่ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าหน้าที่ทำการรัฐสภา และมีกำลังทหารอยู่ภายในบริเวณที่ทำการรัฐสภา

ด้วย
     
        มีส.ส.เข้าร่วมประชุมวันนั้นประมาณ 20 คน
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์สั่งเลิกการประชุม เพราะองค์ประชุมไม่ครบ
     
        ขณะที่กำลังดำเนินการประชุมชั่วช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั้น พล.ท.หลวงกาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร เดินทางมาเชิญตัวนายพึ่ง ศรีจันทร์ รวมทั้งนายเจริญ ปัณฑโร และนาย

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ไปกักตัวไว้ที่กระทรวงกลาโหม และสอบสวนเพื่อเอาผิดในข้อหากบฏ
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์ชี้แจงว่ากำหนดนัดประชุมมีขึ้นโดยอำนาจที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 ก่อนวันรัฐประหาร 1 วัน
     
        ท่านในฐานะผู้สั่งการให้มีการประชุม ต้องรับผิดชอบ จะไม่มาประชุมได้อย่างไร
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์ชี้แจงว่ากระทำไปโดยอำนาจตามกฎหมาย จะหาว่ากบฏได้อย่างไร คณะรัฐประหารเองต่างหากที่กระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมือง เข้า

ลักษณะกบฏ
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์ ถูกกักตัวอยู่ 3 วัน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระโดยคณะรัฐประหารไม่ได้ตั้งข้อหาอะไร ภายใต้การวิ่งเต้นช่วยเหลือของม.จ.นิตยากร วรวรรณ อดีตส.ส.พระ

นครศรีอยุธยาผู้มีสมญาว่า “เห่าหม้อ” ที่เคารพนับถือกันมานานวัน
     
        นายพึ่ง ศรีจันทร์ ยุติบทบาททางการเมืองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันนั้น แต่ก็ยังคงมีบทบาทเคลื่อนไหวรับใช้ส่วนรวมในท้องถิ่นตามโอกาสอันควร ตราบจนสิ้นลมปราณตามอายุขัยเมื่อ

วันที่ 13 ตุลาคม 2535 สิริอายุได้ 85 ปี
     
        ทิ้งไว้แต่ “ตำนาน” ให้คนรุ่นหลังได้พิจารณา !

ชาวสวนยางภาคใต้ บุกกรุงเทพฯ 10 ธ.ค. นี้ ย้ำ "ตายในคุกดีกว่าอดตาย"

คำสั่งจากสวนโมกข์ ? "ศูนย์บัญชาการใหญ่". ท้าทายอำนาจ รัฐบาลทหาร และ คสช. ออกมาขู่อีกแล้ว คนใต้เก่งจัดม็อบเสียจริงๆ " กลัวคนใต้อดตาย กลัวยางใต้สูญพันธ์" ต้องออกมาบุกกรุงเทพฯ "ตายในคุกดีกว่าอดตาย"



ThaiE  News
ชาวสวนยางภาคใต้ บุกกรุงเทพฯ 10 ธ.ค. นี้ ย้ำ "ตายในคุกดีกว่าอดตาย"



















Foto: ไม่เกี่ยวกับการเมืองจริงๆคะ 

ม็อบสวนยางวันนี้... 

กรั๊กๆ




Foto: กล้าหาญ ท้าทาย เย้ย คสช.มากคะ!!!

ปลัดสิงห์แห่งเมืองตรัง บ้านเกิดนายหัวชวน
ขึ้นป้ายคัดเอาท์จัดม็อบ มากดดัน คสช เรียกร้องราคายาง

คสช. โทรเรียกมาปรับทัศนคติหรือยังคะ ?




กล้าหาญ ท้าทาย เย้ย คสช.มาก!!! ปลัดสิงห์แห่งเมืองตรัง บ้านเกิดนายหัวชวน
ขึ้นป้ายคัดเอาท์จัดม็อบ มากดดัน คสช เรียกร้องราคายาง

Mon, 2014-12-08 14:39

จอม เพชรประดับ
ที่มา ประชาไท


ชาวสวนยางภาคใต้ เอาจริง เตรียมเดินเท้า เข้ากรุงเทพฯ 10 ธค.นี้ จี้ “ประยุทธ์” ทำราคายางขึ้นไม่ได้ ควรออกไป ท้าทหารจับ ย้ำ“ตายในคุก ดีกว่าอดตาย”

ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม มุกดา ตัวแทนชาวสวนยาง จ.ตรังให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางจากปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำในขณะนี้ว่า ราคายางพาราที่วิกฤติที่สุดในรอบหลายสิบปี จากราคา 100 บาท ลดลงมาเหลือ 30 บาทกว่า ทำให้ชีวิตคนใต้พูดไม่ออก บอกไม่ถูก และไร้ที่พึ่ง เพราะยางพาราเป็นสินค้าหลักของคนใต้ ถ้าราคายางตก ก็จะกระทบกับความเป็นอยู่ ค่าครองชีพในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง คนใต้ตอนนี้ไม่มีเงินที่จะจับจ่ายใช้สอย ต้องกู้เงินเพื่อให้ลูกไปโรงเรียน ไม่มีเงินผ่อนรถ ผ่อนบ้านและกระทบกับธุรกิจเกือบทุกชนิดในภาคใต้

ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม กล่าวว่า เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องแก้ปัญหา ไม่ได้ตำหนิรัฐบาล แต่ที่ผ่านมารัฐบาลได้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง นำไปสู่การออกมาตรการช่วยเหลือที่ไม่ถูกต้องกับปัญหาที่วิกฤติ รัฐบาลจะต้องทบทวนมาตรการแก้ปัญหา โดยเอาคนที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์เข้าร่วมหารืออย่างเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤตินี้ให้ได้ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมาได้ช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม กล่าวว่า ถ้าได้ผล ราคายางต้องสูงขึ้นกว่านี้ แต่ขณะนี้ ราคายางก็ยังคงดิ่งลงตลอดเวลา ส่วนการโอนเงินให้เจ้าของสวนยางเพื่อแก้ปัญหา ตามข้อเท็จจริง เจ้าของสวนยางกับเกษตรกรสวนยางไม่เหมือนกัน

“เจ้าของสวนยางจริงๆ มีแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เกษตรกรที่รับจ้างตัดยาง ไม่ได้เป็นเจ้าของสวนยาง มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรัฐบาลโอนเงินเข้ามา จึงไม่ได้สะพัดสู่ท้องตลาด เพราะเจ้าของสวนยางมีเงินทุนอยู่แล้ว กลายเป็นเงินเก็บของเจ้าของสวนยาง แต่ 80 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นคนรับจ้างกรีดยางไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้เท่าที่ควร เกษตรรายย่อย อาจจะมีสวนเพียง 15 ไร่ ให้มาไร่ละ 1000 บาท เงิน 15000 บาท แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย กับภาวะหนี้สินที่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกวัน” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าว

ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวต่อไปว่า ข้อเรียกร้องเบื้องต้นเพื่อแก้วิกฤติเฉพาะหน้าคือ ให้รัฐบาลใช้กลไกแทรกแซงตลาด เพื่อให้ราคายางสูงขึ้น ประโยชน์ก็จะทั่วถึง คนกรีดก็ได้ เจ้าของสวนก็ได้ ธุรกิจ หรือการค้าการขายทุกระดับก็ได้รับประโยชน์ทั่วกันหมด และยังส่งผลต่อรายได้ของประเทศในภาพรวมด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า วันที่ 10 ธันวาคมนี้ จะคุยกันอย่างไร และมีข้อเรียกร้องอะไร ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า ชาวสวนยาง จังหวัดตรัง จะพูดคุยกันที่สี่แยกอันดามัน จากนั้นก็จะรวมตัวกันที่ อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้นำต้นยางพาราต้นแรกมาปลูกในประเทศไทย และเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ ไปยัง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่ม 10 โมงเช้าของวันที่ 10 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ จะถึงกรุงเทพฯ วันไหนอย่างไร ก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ เพื่อจะเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนใจปัญหา และเรียกร้องให้ออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือชาวใต้ในภาวะวิกฤตินี้ให้ได้

“ชาวสวนยางในหลายจังหวัด จากสงขลาขึ้นไปถึงสุราษฎร์ธานี ชุมพร จนถึงกรุงเทพฯ เส้นทางที่เราผ่าน จะมีพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน ร่วมสมทบ เราจะให้ข้อมูลไปเรื่อย และสุดท้ายก็จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ แม้ว่าสุดท้ายจะเหลือผมคนเดียวก็จะเดิน เพื่อให้รัฐบาลออกมาตรการเร่งด่วนหากสิ่งที่พวกเราทำ เป็นการละเมิด หรือผิด ผมก็พร้อมที่จะถูกจับ แต่ผมมั่นใจว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะฟังพวกเรา ” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าว

ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวต่อไปว่า หลายคนหวาดกลัว เพราะมีกฎอัยการศึก แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการปิดถนน ไม่สร้างความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้ใคร

“ในเบื้องต้น มาตรการที่จะเรียกร้องต่อรัฐบาลคือ 1.ให้แทรกแซงราคายางพารา เราขอที่ราคา 70 – 80 บาท ในระยะ 3 เดือนหรือ 6 เดือนแรกเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน และเมื่อรัฐบาลสามารถทำให้ราคายางขึ้นได้ผ่านกลไกตลาดแล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าไม่กลัวกฎอัยการศึก รัฐบาลต้องการให้บ้านเมืองสงบ ว่าที่ร้อยตรี สิงห์สยามกล่าวว่า ที่ผ่านมาประชาชนให้ความร่วมมือและให้เวลาต่อรัฐบาลมาแล้วหลายเดือน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ผล ความเดือดร้อนยิ่งรุนแรงมากขึ้นจึงจำเป็นต้องออกมา

“นี่คือสิทธิของมนุษย์ สิทธิของคนไทย และ คสช.ในฐานะรัฐบาลไทย ต้องฟังประชาชน ถ้าเราไม่มีเหตุผลก็จับเรา เราผิดเราพร้อมมอบตัว แต่ถ้าเราเดือดร้อน รัฐบาลก็ไม่ควรปล่อยให้ประชาชนอดตาย เพราะความผิดพลาดการบริหารของรัฐบาล คสช. รัฐบาล ใช้เงินภาษีประชาชน ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไม่ฟังประชาชน ไม่เฉพาะชาวสวนยาง แต่ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารประเทศผิดพลาด ไม่ใช่จะออกมาจับกุมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า กลไกของรัฐบาลในการรับฟังเสียงประชาชนก็มีอยู่แล้ว ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า เมื่อรัฐบาลรับฟัง แต่มาตรการที่ออกมากลายเป็นการเอาดารามาโชว์ มาแสดงคอนเสิร์ต อันนี้ไม่ตรงกับความเดือดร้อนของพวกเรา อย่างกรณีที่ข้าราชการทหาร ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง เรียกร้องขึ้นเงินเดือน เพราะเดือดร้อนเรื่องค่าครองชีพ รัฐบาลก็เอาเงินภาษีมาเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ วันนี้ เกษตรกรเดือดร้อน มาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือด้วย ทำไมรัฐบาลจะไม่รับฟังและแก้ปัญหาให้ด้วย ไม่ว่ารัฐบาลมาจากการปฎิวัติ มาจากการเลือกตั้ง เมื่อประชาชนเดือดรอ้นจะต้องรับฟังและเร่งแก้ปัญหา เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ใช้อำนาจเผด็จการ

“ผมยืนยันตรงนี้ครับว่า ถ้าทหารมาจับผม ผมก็พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ในคุก ดีกว่าจะอยู่อย่างอดตาย ถ้าการเคลื่อนไหวของผม ทำให้คนอื่นเดือดร้อนผมยินดีเดินไปมอบตัวครับ แต่วันนี้เราเดือดร้อน ซึ่งรัฐบาลไม่ว่าประเทศไหน ถ้าแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่ได้ รัฐบาลต้องพิจารณาตัวเองครับ” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวและว่าวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ มาเป็นรัฐบาล ราคายางพาราตก ต่อให้รัฐบาล นายชวน หลีกภัย มาบริหาร ถ้าราคาดิ่งแบบนี้ ก็ต้องออกมาเคลื่อนไหว เพราะเคลื่อนไหวในฐานะประชาชนที่เดือดร้อนไม่ได้จะมาเป็นศัตรูกับรัฐบาล

“ภาวะหนี้สินที่เกิดขึ้น จากภาวะราคายางพาราตกต่ำมาเป็นเวลากว่าปีแล้วนั้น สถาบันการเงินของรัฐ รู้ปัญหาดี ว่าชาวสวนยางพาราตอนนี้หนี้ท่วม มาตรการพักหนี้ก็เอาตัวไม่รอด ตอนนี้ มีการสร้างหนี้นอกระบบกันมากมาย เราจะพึ่งใครถ้าไม่พึ่งรัฐ เราไม่ได้คัดค้านรัฐบาล แต่มาตรการแก้ปัญหาราคายางพาราที่ผ่านมาไม่ได้ผล เรามาแก้ปัญหาร่วมกันได้มั้ย” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ผ่านมา พยายามจะแก้ปัญหาให้ราคายางพาราอยู่ที่ 80 – 90 บาทด้วยซ้ำ แต่ชาวสวนยางปักษ์ใต้ออกมาขับไล่ไป ถึงตอนนี้ก็ต้องรับชะตากรรมกันเอง คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำให้ชาวนาภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวอย่างมาก ชาวสวนยางปักษ์ใต้ก็ไม่เคยอิจฉา กลับยินดีด้วยซ้ำ แต่ปัญหามีการคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวเท่านั้นเอง ส่วนการช่วยเกษตรกรอื่นๆ คนปักษ์ใต้ยินดีอยู่แล้ว

“วันนี้ชาวสวนยางเดือดร้อน และอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้ง สังคมเกิดความแตกแยก แต่วันนี้เราเดือดร้อนขนาดที่เรียกได้ว่าไม่มีจะกินแล้ว ไม่ได้ออกมาเพื่อทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่ม แต่ออกมาเพราะเราเดือดร้อนจริงๆ และให้รัฐบาลช่วยเหลือ” ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวและว่า ต้องมองข้ามประเด็นการเมือง วันนี้เป็นความทุกข์ของชาวสวนยาง ถ้าในอนาคต คนภาคเหนือ ภาคอีสานเดือดร้อน ชาวสวนยางปักษ์ใต้ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ แม้ว่าในยามที่เกิดอุทกภัยในภาคเหนือ ภาคอีสาน คนใต้ก็ร่วมบริจาคช่วย เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน การที่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะความเดือดร้อน เป็นความจำเป็นของการอยู่รอด ไม่ใช่เรื่องการเมือง คนใต้ก็ยังขอบคุณ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้ช่วยคนใต้ไว้หลายเรื่อง รัฐบาลที่มาจากคนเหนือ คนอีสาน ก็ช่วยเหลือคนใต้ไว้หลายเรื่อง การเมืองเป็นเรื่องของเกมการแข่งขัน แต่ความเรื่องความอยู่รอด ความเดือดร้อนของประชาชนมันไม่ใช่ การต่อสู้ทางการเมือง

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรกับคำพูดของพระสุเทพที่บอกว่าคนปักษ์ใต้อย่าเพิ่งออกมาคัดค้าน พล.อ.ประยุทธ์ เพราะกำลังช่วยเหลืออยู่ ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยาม กล่าวว่า เป็นการรอคอยที่มีเหตุผล แต่ในส่วนของชาวสวนยางจริงๆ ต้องสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนให้ทราบ เพื่อจะให้แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนและขอร้องทุกฝ่าย ช่วยโอบอุ้มชาวสวนยางปักษ์ใต้ให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า กฎอัยการศึกทำให้หลายคนกลัว เพราะจะถูกสกัดจากทหารแน่นอน จะทำอย่างไร ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า ทหารคงสกัดแน่ ถ้าถูกจับเดือดร้อนแน่เงินสู้คดีก็ไม่มี ลูกเมียก็เดือดร้อน ดังนั้นภายใต้กฎอัยการศึก ช่องทางที่ทำได้คือพูดความจริงถึงความเดือดร้อน โดยไม่สร้างความเสียหาย ให้กับคนอื่น ไม่โจมตี ไม่ด่ารัฐบาล เพียงแต่วิจารณ์การทำงานรัฐบาลที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะถูกจับจะรับมืออย่างไร ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า ถ้าทหาร มาคุยก็พร้อมจะคุย หากจะมาปรับทัศนคติว่าว่าเป็นการทำผิด ก็จะไม่ยอมรับ ถ้าจะขัง ก็จะยอมให้ขังอยู่ในคุก ดีกว่าต้องมาอดตายอยู่นอกคุก ดีกว่าเห็นความทุกข์ ความลำบากของพี่น้องประชาชน

“ผมขอท้าเลยครับ ถ้ารัฐบาลไม่ฟังและไม่เข้าใจความเดือดร้อนของประชาชน ก็ไม่ควรเป็นรัฐบาล ออกมาอยู่ข้างนอกก็ไม่มีความสุข แต่เราจะมุ่งมั่นว่า ราคายางพาราต้องดีกว่านี้ และรัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชน เราเรียกร้องอย่างสงบ แต่อย่าให้ใครมาสรุปว่า ความสงบคือการอดทนต่อความทุกข์ยาก โดยไม่พูดคุยถึงความเดือดร้อน อย่าให้พวกเราต้องกลืนเลือด ต้องล้มหายตายจากเพราะความยากจนให้พื้นที่ได้คุยกันอย่างมีศักดิ์ศรีเถิดครับ” ว่าที่สิงห์สยามกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดอย่างไรกับคำพูดของคุณชวน หลีกภัยที่เคยแนะนำให้ชาวสวนยางหันมาปลูกจำปาดะแทน ว่าที่ร้อยตรีสิงห์สยามกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา คนที่มีพื้นที่ก็ทำสวนผสมเพิ่มรายได้ได้ แต่เกษตรกรภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่ เป็นเจ้าของที่ดินเพียง 5-10 ไร่เท่านั้น และหลายคนเป็นคนรับจ้างกรีดแล้วแบ่งน้ำยางกัน การทำสวนผสม ใช้ต้นทุนสูง ปลูกพืชผสมในสวนยาง ต้องรดน้ำพรวนดิน และพืชเหล่านั้นจะไปแย่งอาหารต้นยาง ทำให้น้ำยางลดลง ถ้าเข้าใจการทำสวนยางจริงๆ จะรู้เหตุผลว่าทำไมชาวสวนยางจึงมีอาชีพเสริมน้อยกว่าเกษตรกรที่อื่น