PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มาลาลา ยูซาฟไซ เด็กสาวชาวปากีสถานวัย17ปี คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2014

ปากกระบอกปืนหรือจะเปลี่ยนความมุ่งหมายและความมุ่งมั่นของเรา
มาลาลา ยูซาฟไซ เด็กสาวชาวปากีสถานวัย17ปี คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2014 นับเป็นบุคคลอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
มาลาลา ซึ่งรอดชีวิตจากการถูกกลุ่มตอลิบานยิงที่ศีรษะบนรถโรงเรียนเมื่อปี 2012 กลายเป็นที่รู้จักในฐานะนักสิทธิมนุษยชนรุ่นเยาว์ที่เรียกร้องสิทธิ์ในการศึกษาเล่าเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนทั่วโลกได้เห็นว่า พวกเขาสามารถมีส่วนยกระดับสถานภาพของตนเองได้อย่างไร
คณะกรรมการโนเบลสันติภาพกล่าวถึงเธอว่า “เธอยืนหยัดทำสิ่งเหล่านี้แม้จะตกอยู่ในอันตรายใหญ่หลวง ด้วยการต่อสู้อย่างกล้าหาญนี้ เธอจึงกลายเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องสิทธิทางการศึกษาของเด็กหญิง”
12 กรกฎาคม 2556 มาลาลาได้รับเชิญจากสหประชาชาติให้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสภาเยาวชนระหว่างประเทศประจำปี 2556 ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ
การกล่าวถ้อยแถลงของนาวสาวมาลาลาในครั้งนี้มีขึ้นตรงกับวันเกิดอายุ 16 ของเธอ และวันนี้ได้รับการประกาศจากสหประชาชาติให้เป็น “วันมาลาลา” เพื่อระลึกถึงเป้าหมายทางการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน นอกจากนี้ ในโอกาสเดียวกัน เธอได้มอบหนังสือร้องเรียน ซึ่งลงชื่อโดยประชาชน 4 ล้านคน แก่นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนเด็ก 57 ล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่ได้รับการศึกษา โดยหนังสือร้องเรียนดังกล่าวเรียกร้องผู้นำทั่วโลกให้สนับสนุนเงินทุนในการจ้างครูใหม่ สร้างโรงเรียนใหม่ และซื้อหนังสือ รวมทั้งยุติการใช้แรงงานเด็ก การแต่งงานก่อนวัยอันควร และการค้าเด็ก
มาลาลากล่าวว่าการศึกษาเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นและเรียกร้องนักการเมืองเร่งดำเนินการให้สิทธิในการศึกษาแก่เยาชนทุกคน พร้อมกันนี้ เธอยังได้เรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกให้การศึกษาภาคบังคับฟรีแก่พลเมืองเยาวชนของตน ต่อต้านการก่อการร้ายและความรุนแรง รวมทั้งปกป้องพลเมืองเยาวชนของตนให้ปลอดภัยจากการทารุณกรรมต่างๆ นอกจากนี้ เธอยังประกาศว่าเธอกำลังเรียกร้องสิทธิให้แก่สตรี เนื่องจากเห็นว่าสตรีเป็นเพศที่ถูกกดขี่มากที่สุดและการกระทำของกลุ่มก่อการร้ายไม่อาจทำให้เธอล้มเลิกอุดมการณ์ดังกล่าวได้ โดยในการกล่าวถ้อยแถลงครั้งนี้ เธอยืนยันว่าไม่ได้เพื่อต่อต้านหรือแก้แค้นบุคคลกลุ่มใดเป็นพิเศษ
มาลาลา ยูซาฟไซ เด็กสาวปากีสถานวัย 15 ปีที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางการศึกษาจากกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงตอลิบาน จนนิตยสารไทม์ได้จัดให้เธอเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก เธอเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อการศึกษาของสตรี
มาลาลา เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2540 ณ เมืองมินโกราเขตสวัด จังหวัดไคเบอร์ปัคตุนควา พ่อของเธอนายไซอุดดิน เป็นเจ้าของโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่ง ในช่วงต้นปี 2550 อิทธิพลของกลุ่มนักรบติดอาวุธหัวรุนแรงตาลิบานได้ขยายเติบโตขึ้น มัวลานา ฟาสลูลลาห์ ผู้นำกลุ่มฏอลิบานอาศัยผลประโยชน์จากช่วงเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาทำการรวมอำนาจในเขตสวัด การสอนกฎหมายศาสนาอิสลามผ่านทางวิทยุกระจายเสียง FM ของนายมัวลานานั้นป็นที่แพร่หลายอย่างมากในช่วงเวลานั้น
ในที่สุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 พื้นที่เขตสวัดก็กลายเป็นแหล่งก่อการร้าย ตาลิบานเริ่มรณรงค์ล้มล้างสถาบันของรัฐ ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายคือโรงเรียนสตรีโดยอ้างว่าเป็นการขัดต่อการสอนของศาสนาอิสลามที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ โรงเรียนสตรีไม่ต่ำกว่าร้อยโรงเรียนได้ถูกเผาทำลายพร้อมกับการข่มขู่ทั้งนักเรียนและครู แต่ทว่าโรงเรียนที่มาลาลาศึกษาอยู่ยังคงทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ถึงแม้จะถูกข่มขู่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
เมื่อมาลาลาอายุได้ 11 ปี เธอได้ปรากฏสู่สาธารณะครั้งแรก โดยนายไซอุดดิน ได้พาลูกสาวไปเข้าร่วมงานชุมนุมที่อำเภอเมือง เปชวาร์ เพื่อร่วมต่อต้านการโจมตีโรงเรียนสตรีของฏอลิบาน มาลาลาได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “ฏอลิบานอาจหาญอย่างไรในการระงับสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษาของฉัน” ซึ่งในการกล่าวต่อหน้าผู้ชุมนุมนี้เธอได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอย่างดี
มาลาลาเริ่มมีชื่อเสียงผ่านบล๊อคที่เธอเขียนให้แก่ บีบีซี โดยใช้นามแฝงที่ชื่อว่า “กุล มาไค ” เธอเริ่มลงข้อความตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตในช่วงที่ถูกฏอลิบานควบคุมและจำกัดสิทธิเสรีภาพของสตรี เช่น ห้ามผู้หญิงแต่งกายสีฉูดฉาด ห้ามผู้หญิงเดินตลาด และห้ามนักเรียนหญิงไปโรงเรียน เธอเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกเมื่อได้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ที่ต่อต้านฏอลิบาน ซึ่งมีผู้ฟังมากถึง 25 ล้านคน
ในเดือน พ.ค. 2552 นิตยสารนิวยอร์คไทม์ ได้ถ่ายสารคดีเกี่ยวกับเธอ โดยได้ถ่ายทำจริงในระหว่างที่กองทัพปากีสถานได้เข้าทำการสู้รบในสงครามครั้งที่สองแห่งสวัด ซึ่งทำให้มาลาลาเป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น มาลาลากับชาวปากีสถานนับล้านได้หลบหนีออกจากหุบเขาสวัด จากเหตุความวุ่นวายในครั้งนี้ ทำให้มาลาลาและครอบครัวแยกจากกัน การต่อสู้ดำเนินไปในที่แห่งนี้นานหลายเดือน จนถึงเดือนสิงหาคม พวกเขาได้กลับมาที่สวัดอีกครั้งเมื่อกองทัพทหารปากีสถานได้ประกาศว่าเขตสวัดอยู่ในความสงบแล้ว ในตอนนั้นเองพ่อของมาลาลาได้เปิดเผยว่ามาลาลานั้นเองที่เป็นคนเขียนบล็อคให้แก่ BBC ส่งผลให้พวกฏอลิบานมุ่งเป้าคุกคามคนในครอบครัวเธอตั้งแต่นั้นมา
หลังสงครามสงบ มาลาลาได้ทำหน้าที่เป็นประธานของสภาเด็กแห่งเขตสวัด เพื่อเรียกร้องให้มีอิสรภาพทางการศึกษาทั้งในปากีสถานและในเวทีโลก จนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555มาลาลา ยูซาฟไซถูกลอบยิงจากมือปืนฏอลิบานขณะเธอนั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน โดยมีมือปืนสวมหน้ากากได้หยุดรถโรงเรียนของมาลาลา มีผู้บาดเจ็บจากการลอบยิงครั้งนี้ 3 คน ส่วนมาลาลาโดนกระสุนสองนัด นัดหนึ่งที่ศีรษะ และอีกนัดหนึ่งที่ต้นลำคอ ทำให้เธออยู่ในสภาพบาดเจ็บสาหัสอยู่หลายวันจนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 กลุ่มผู้นำศาสนา 50 คนในปากีสถานได้ออกแถลงการณ์ฟัตวา แสดงความไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์ลอบยิงครั้งนี้ แต่ได้รับตอบกลับจากพวกฏอลิบานว่าพวกเขาตั้งใจจะฆ่ามาลาลาและบิดาของเธอให้ได้จริงๆ วันที่ 15 ตุลาคมเธอได้ถูกย้ายไปรักษาตัว ที่ประเทศอังกฤษ
ด้วยความมุ่งมั่นของมาลาลา ทำให้นายกอร์ดอน บราวน์ อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร และปัจจุบันเป็นทูตพิเศษสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโลก ได้รณรงค์ส่งเสริมการศึกษาเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอในหัวข้อที่ชื่อว่า “I am Malala” โดยส่งเสริมการศึกษาในประเทศปากีสถานด้วยกองทุนสากลและเป็นการริเริ่มโครงการภายในประเทศอีกด้วย นายบราวน์ชี้ให้เห็นว่ามี 32 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นนักเรียนหญิงที่ไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งนักเรียนหญิงเหล่านี้อยู่ในประเทศปากีสถานถึงร้อยละ 10 หรือประมาณ 3.2 ล้านคน บราวน์ประกาศให้ความช่วยเหลือโดยร่วมมือวางแผนกับรัฐบาลปากีสถาน องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และองค์กรสากลอื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาทั้งหมดภายในปี 2558 และเพื่อเป็นการยกย่องแก่มาลาลา
นอกจากนี้องค์กร Vital Voices Global Partnership ซึ่งก่อตั้งโดยนางฮิลลารี่ คลินตัน ได้จัดตั้งกองทุนมาลาลาขึ้น เพื่อให้เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่นักเรียนหญิงตามวิสัยทัศน์ของมาลาลา โดยเป้าหมายแรกของเธอคือให้การศึกษาแก่เด็กหญิง 40 คนในเขตบ้านเกิดของเธออย่างลับๆ ในสถานศึกษาที่ปลอดภัย ด้วยจำนวนเงิน 45,000 เหรียญสหรัฐฯ มาลาลายังมีเป้าหมายที่จะขยายกองทุนนี้เพื่อช่วยเหลือเด็กไปทั่วโลก โดยได้กล่าวเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันบริจาคกองทุนมาลาลาโดยขยายการช่วยเหลือจาก 40 คนให้กลายเป็น 40 ล้านคน ซึ่งกองทุนก็ได้รับเงินทุนก้อนโตจากนายอาซิฟ อาลี ซาดารี ประธานาธิบดีของปากีสถานด้วยจำนวนเงิน 10,000,000 เหรียญสหรัฐฯ กองทุนนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากดาราฮอลลีวูดชั้นนำอย่าง แองเจลีนา โจลี ด้วยยอดเงินบริจาค 200,000 เหรียญสหรัฐฯอีกด้วย
จากการเรียกร้องถึงอิสรภาพในการศึกษาอย่างไม่ย้อท้อ ทำให้เธอได้รับรางวัลต่างๆมากมาย อาทิ รางวัลสิทธิมนุษยชนเพื่ออิสรภาพของผู้หญิงนานาชาติ ( Simone de Beauvoir Prize, International Human Rights Prize for Women's Freedom, 2013) และรางวัลเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งชาติ (National Youth Peace Prize, 2011) ซึ่งมาลาลาถือเป็นคนแรกของปากีสถานที่ได้รับรางวัลนี้
นิตยสาร TIME ได้ประกาศมาลาลาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอันดับสองแห่งปี 2555 รองจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนสตรีเอดจ์บาสตัน ในเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ

คริสตี้ เข้าพบอำลา หม่อมอุ๋ย

คริสตี้ เข้าพบอำลา หม่อมอุ๋ย เจตนาแท้จริง ขอความมั่นใจว่า รัฐบาลไทย จะดำเนินนโยบาย เอื้อประโยชน์ให้สหรัฐฯ โดยเฉพาะ ความตกลงด้านการค้าและการลงทุนในกรอบ Trade and Investment Framework Agreement : TIFA พร้อมสอบถาม นโยบายปฎิรูปด้านการขนส่ง และสาธารณูปโภค และการปฎิรูปพลังงาน
TIFA มะกันเจอปัญหาซ้ำซาก ครั้งแรกอ้อยกำลังจะเข้าปากช้าง ปี 2549 สมัยทักษิณ เกิดรัฐประหาร ครั้งหลังโอบามาลงทุนมาไทย เอง ได้พบยิ่งเละ คิดว่าหวานหมูยิ่งเละเตรียมแก้ ม.190 เปิดประตูกว้าง เรื่องกำลังจะไปได้ดี มีรัฐประหารอีก โดยสหรัฐฯ เสนอว่า FTA ไทย-สหรัฐจะต้องเป็น FTA Plus คือ ต้องมีอะไรที่มากกว่า การเปิดเสรีทางการค้า ต้องเป็นการเจรจาแบบ “across the board” คือต้องเปิดเสรีทุกสาขา

สถานการณ์ข่าว10ต.ค.57

j"อนุพงษ์"ชี้คนอกหักเก้าอี้ "สปช." มีลุ้นนั่งผู้ช่วยฯแทน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในส่วนของผู้ที่พลาดจากการถูกคัดเลือกว่า เท่าที่ทราบนั้น นายกรัฐมนตรีได้มีความคิดที่จะนำบุคคลเหล่านั้นมาร่วมปฏิรูปในหลายส่วนด้วยกัน ส่วนหนึ่งก็จะนำมาเป็นผู้ช่วยของคณะปฏิรูปโดยตรง อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเข้าเป็นคณะกรรมธิการต่างๆ ที่สามารถเข้าไปเป็นได้ ซึ่งมีอยู่กว่า 10 คณะ นอกจากนี้ก็อาจจะหาวิธีการอย่างไรเพื่อนำมารวมกันเป็นกลุ่ม จะได้นำความคิดเหล่านั้นมาให้ สปช.ใช้ในการปฏิรูป อย่างไรก็ตามก็ต้องรอนายกรัฐมนตรีสั่งการลงมาให้แน่ชัด ซึ่งก็คงต้อรอรายละเอียดของ สปช. คือ ในการเลือกประธาน แล้วกำหนดวิธีการทำงาน หัวข้อการพัฒนา ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของ สปช.โดยตรง ทางกระทรวงมหาดไทยคงเข้าไปยุ่งไม่ได้
---------
"ยุทธศักดิ์"เล็งขอร่วมงานกองทัพร่วมสร้างความปรองดอง

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้ารายงานตัวต่อสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะฝ่ายเลขานุการสปช.ถึงแนวทางการปฏิรูป ว่าตนมีแนวคิดที่จะเข้า
ช่วยการปฏิรูปเรื่องความขัดแย้งและสร้างความปรองดองตามแนวทางการศึกษาของพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สปช. ในฐานะผู้อำนวยการสันติวิธีและธรรมาภิบาล ของสถาบันพระปกเกล้า เนื่องจาก
ตนมองว่าเหตุผลสำคัญที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 คือต้องการเข้ามาแก้ไขความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง เบื้องต้นตนจะเข้าไปพูดคุยกับ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะทำงานทำงานเตรียมการปฏิรูปประเทศไทย และพล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่1 ฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เพราะมีความสนิทสนมกันดี เพื่อปวราณาตัวเข้าร่วมทำงานปรองดองและแก้ไขความขัดแย้ง เบื้องต้นเชื่อว่าหากตนเข้าไปมีส่วนร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบันและทางกองทัพจะได้ประโยชน์ ส่วนแนวทางของการร่วมทำงานเพื่อสร้างความปรองดองนั้นอาจใช้รูปแบบพูดคุย แต่ตนยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่าจะเป็นรูปแบบของการพูดคุยกับแกนนำคนเสื้อแดงเพื่อชักชวนเข้าร่วมการปฏิรูปประเทศรอบนี้หรือไม่
------
65 ปี"อนุพงษ์" ท็อบบู๊ตพรึ่บมหาดไทยอวยพรวันเกิด

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2557 เวลา 06.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้เดินทางเข้าทำบุญเป็นการส่วนตัว ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เนื่องในวันคล้ายวันเกิด อายุครบ 65
ปี ก่อนเดินทางเข้ากระทรวงมหาดไทย

ต่อมาในเวลา 09.30 น. ที่กระทรวงมหาดไทย(มท.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ได้เดินทางเข้าอวยพรวันเกิด พล.อ.อนุพงษ์

พร้อมด้วยเหล่าเสือ ทบ. อาทิ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผบ.ทบ. พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผบ.ทบ. และพล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก ขาดเพียง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รอง

ผบ.ทบ. ในฐานะรมว.พาณิชย์ ที่ติดภารกิจร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเยือนประเทศพม่า

จากนั้น นายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย เพื่อนร่วมรุ่นอำนวยศิลป์คณะเรา พร้อมด้วยเหล่า บิ๊กข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำ

คณะรองปลัด มท. อธิบดี 6 กรม และผู้บริหาร 5 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดได้เข้าร่วมอวยพรวันเกิด พล.อ.อนุพงษ์ อย่างพร้อมเพรียง ด้วยเช่นกัน
//////////
ถกสำนวนฟ้องยิ่งลักษณ์"ปปช.-อสส."ไม่ได้ข้อสรุป

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2557 เวลา 12.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานร่วมพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวนคดีโครงการรับจำนำข้าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะทำงานร่วมป.ป.ช.กับอัยการสูงสุด (อสส.) ในข้อไม่สมบูรณ์เป็นครั้งที่ 2 ว่า จากการหารือข้อไม่สมบูรณ์หลายด้านในวันนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เรามีความเห็นตรงกันเพียง 1-2 ข้อเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังต้องพูดคุยในรายละเอียด ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ครั้งนี้เป็นการให้รายละเอียดซึ่งกันและกัน และป.ป.ช.ได้ขอไปพิจารณาในรายละเอียดบางประเด็นจึงจะให้ความเห็นกลับมาอีกครั้ง ส่วนข้อไม่สมบูรณ์ยังเป็นข้อไม่สมบูรณ์เดิมที่อัยการสูงสุดส่งกลับมา และต้องพิจารณาในรายข้อ ทั้งนี้คณะทำงานร่วมมีการเร่งพิจารณายุติเพื่อประโยชน์ของคดีโดยไม่ได้มีความกังวลใดๆ อสส.ต้องการให้คดีมีความสมบูรณ์ทุกอย่างเพื่อนำไปฟ้องและศาลสามารถลงโทษได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการให้สอบพยานเพิ่มหรือไม่ นายวุฒิพงศ์ กล่าวว่า หากจะสอบพยานเพิ่มต้องดำเนินการร่วมกัน โดยให้มีการสอบพยานเพิ่มจำนวนหลายปากด้วยกัน และพยานบางส่วนเคยเป็น
พยานที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เคยร้องขอต่อป.ป.ช.มาแล้ว โดยได้มีการนัดหมายหารือในวันที่ 7 พ.ย.ซึ่งอาจจะได้ข้อสรุป หรือไม่ก็ได้

เมื่อถามย้ำว่า พยานที่จะขอสอบเพิ่มต้องการสอบลึกในประเด็นใดบ้าง นายวุฒิพงศ์ กล่าวว่า มีหลายเรื่องแต่ยังไม่ต้องการเปิดเผย

/////////
เกาะเต่า

ตร.ขู่โซเชียลเข้าข่ายหมิ่นประมาทตร.จับแพะเกาะเต่า

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2557 จากกระแสข่าวคดีฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี ภายหลังจากที่ตำรวจจับกุม 2 ผู้ต้องหาชาวพม่าเชื้อสายยะไข่ได้แล้วนั้น แต่ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันหนาหูในทำนองอาจจะไม่ใช่คนร้ายตัวจริง รวมถึงเรื่องการส่งสำนวนกลับให้แก้ไขจุดบกพร่องดังได้เสนอข่าวไปอย่างต่อเนื่องนั้น

พล.ต.ต.ปวีณ พงษ์สิรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ในฐานะหัวหน้าชุดรวบรวมสำนวนการสอบสวนคดีนี้ กล่าวว่า สำนวนการสอบสวนทั้งหมดนำส่งพนักงานอัยการจังหวัดเกาะสมุยใน
ช่วงเช้าของวันที่ 7 ต.ค.57 ที่ผ่านมา โดยในเรื่องของเอกสารทุกอย่างสมบูรณ์ ไม่มีการตีกลับให้แก้ไขใหม่ โดยส่วนที่ทางพนักงานอัยการจังหวัดเกาะสมุยประสานกลับมาคือเรื่องของซีดีจำนวน 27
แผ่น ซึ่งเป็นภาพวงจรปิดที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในวันเกิดเหตุเพื่อประกอบสำนวน ซึ่งทางพนักงานอัยการจังหวัดเกาะสมุยเปิดดูไม่ได้ จึงได้ประสานให้พนักงานสอบสวนนำไปแก้ไขและตอนนี้
เปิดได้สมบูรณ์ทุกอย่างแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ในขั้นตอนของพนักงานสอบสวนในส่วนของตำรวจถือว่าสมบูรณ์แบบทุกอย่าง ซึ่งข้อมูลบางส่วนต้องเป็นความลับไม่สามารถที่จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เพราะอาจจะมีผลต่อทางคดี แต่ยืนยันว่าทางตำรวจทำงานตามแนวทางที่ถูกต้อง เชื่อมั่นในพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และ พยานแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ และผู้ต้องหาผ่านตรวจร่างกายจากแพทย์ที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ทุกอย่าง ทั้งนี้ในส่วนของผู้ต้องหามีสิทธิที่จะกลับคำให้การในชั้นศาลได้ เพราะเป็นสิทธิของเขา โดยขั้นตอนนี้นับว่าเสร็จสิ้นกระบวนการของทางตำรวจแล้ว ส่วนขั้นตอนต่อไปอยู่ที่การพิจารณาของศาลที่จะชี้ชัดออกมา

พล.ต.ต.ปวีณ กล่าวอีกว่า กรณีที่นักสืบโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตำรวจในทางเสื่อมเสีย โดยใช้จินตนาการไม่ได้ใช้หลักการด้วยเหตุด้วยผล ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายเป็นการหมิ่นประมาท สามารถเอาผิดได้ จึงฝากย้ำเตือนนักสืบโซเชียลด้วย

วันที่โพสข่าว : 10 ตค. 2557 เวลา 15:58 น.

"พิชิต"ตั้งข้อสังเกต เหตุใดป.ป.ช.ส่งเรื่องถอดถอน"ยิ่งลักษณ์"ซัด! มีที่ไหนมองข้ามกม.แม่ ใช้กม.ลูกแทน

"พิชิต"ตั้งข้อสังเกต เหตุใดป.ป.ช.ส่งเรื่องถอดถอน"ยิ่งลักษณ์"ซัด! มีที่ไหนมองข้ามกม.แม่ ใช้กม.ลูกแทน
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม นายพิชิต ชื่นบาน ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) และที่ปรึกษากฎหมายทีมทนายความคดีโครงการรับจำนำข้าว ตั้งข้อสังเกตต่อข่าวของสำนักงาน ป.ป.ช. กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่อง ถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปยัง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะในการทำความเข้าใจ ว่า

1. ทำไมต้องเร่งรีบ รวบรัด ทั้งๆ ที่มีข้อโต้แย้งถึงรายงานและสำนวนการสอบสวนของอัยการสูงสุดว่าคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด (8 พ.ค.) นั้น มีข้อไม่สมบูรณ์ การไต่สวนพยานหลักฐานที่ผ่านมายังไม่สิ้นกระแสความในหลายประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ และข้อไม่สมบูรณ์ถือเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่ อันเป็นมูลเหตุที่มีการกล่าวหาในคดีอาญา และคดีถอดถอนออกจากตำแหน่ง เมื่อเหตุของการส่งเรื่องสำนวนและรายงานยังไม่สมบูรณ์ ผลที่สภา สนช.จะไปดำเนินการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ฯ จะสมบูรณ์ได้อย่างไร เพราะเมื่อองค์กรในกระบวนการยุติธรรมในทางอาญาด้วยกันยังโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายอยู่
นอกจากนี้ คดีถอดถอนก่อนการชี้มูลความผิด นางสาวยิ่งลักษณ์ฯ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปผูกรวมไว้กับคดีอาญา ทั้งๆที่เป็นคนละกรณีกัน และทีมทนายของน.ส.ยิ่งลักษณ์ โต้แย้งการรวมคดีมาตลอด ป.ป.ช. ไม่รับฟัง แต่เมื่อคดีอาญาถูกอัยการสูงสุดชี้ว่ามีข้อไม่สมบูรณ์ ทำไมเวลานี้ ป.ป.ช. กลับจะแยกสำนวนถอดถอนออกจากสำนวนคดีอาญาไม่รอว่าผลที่สุดคดีอาญาจะมีผลเป็นประการใด แม้เทคนิคทางกฎหมาย ป.ป.ช. จะอ้างว่าทำได้แต่ต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมด้วย

2. มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขัดแย้งในตัวเอง อย่างมีข้อสังเกต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดว่านางสาวยิ่งลักษณ์ฯ กระทำผิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อันเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270
แต่จากการให้เหตุผลในการส่งเรื่องคดีถอดถอนให้แก่ สนช. มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันนี้กลับไม่กล่าวถึงมูลเหตุให้ถูกถอดถอนว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ฯ กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อีก กลับอ้างกฎหมายลูกคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
มีคำถามว่าทำไมต้องใช้เทคนิคทางกฎหมาย โดยไปอ้างกฎหมายลูกที่มีลำดับรองจากรัฐธรรมนูญในการส่งเรื่องให้สภา สนช. เพราะเหตุใด ป.ป.ช. จึงสละประเด็นที่มีการชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ทิ้งเสีย โดยไม่ยืนยันมติการชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่ากระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 178
ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า ป.ป.ช. มุ่งใช้เทคนิคทางกฎหมายที่สละประเด็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทิ้งมาอ้างกฎหมายลูกคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญแทนนั้น น่าจะเป็นเพราะมีข้อโต้แย้งในหลักการทางกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ถูกยกเลิกและสิ้นสุดลงแล้ว
ดังนั้น คำตอบเรื่องนี้น่าจะตัดสิ้นได้ว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. มีมติว่าอย่างไร ซึ่งคำตอบคือ ป.ป.ช. มีมติว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงโดยเฉพาะ มาตรา 270 เรื่องการถอดถอนจึง ไม่อาจดำเนินการใดๆ ต่อไปได้อีก
วันนี้แม้จะหลีกเลี่ยงและทิ้งประเด็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา178ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะมติชี้มูลครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 57 ระบุไว้ชัดแจ้งแล้ว

ตนจึงเรียกร้องต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แม้ว่าเรื่องนี้ ป.ป.ช. จะอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 6 ที่ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา รวมทั้งข้อบังคับการประชุมของสภา สนช. ว่ามีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ก็ตาม
แต่เพื่อการอำนวยความยุติธรรมและดำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมซึ่งคสช.ผู้แต่งตั้งสภาสนช. ก็มีเจตนารมณ์ตามคำสั่งที่ 63/2557 อยู่ด้วยจึงขอเรียกร้องให้ สภา สนช. ตรวจสอบมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 57 ว่ามูลเหตุแห่งการดำเนินคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ ป.ป.ช. กล่าวหาและมีมติคือ เรื่องกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 ใช่หรือไม่หากใช่ก็ต้องพิจารณาว่าเมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้วสภา สนช. จะดำเนินคดีถอดถอนได้หรือไม่ เพราะหากเหตุไม่สมบูรณ์ผลก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย เรื่องนี้ไม่ใช่หลีกเลี่ยงการดำเนินคดีแต่การดำเนินคดีก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายด้วย