PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ตั้ง“พวงรัตน์”รักษาการ ผอ.ไทยพีบีเอส-มติเอกฉันท์ปลด“สมชัย”พ้นเก้าอี้


ตั้ง“พวงรัตน์”รักษาการ ผอ.ไทยพีบีเอส-มติเอกฉันท์ปลด“สมชัย”พ้นเก้าอี้

เขียนวันที่
วันศุกร์ ที่ 09 ตุลาคม 2558 เวลา 18:06 น.
เขียนโดย
isranews
ตั้ง “พวงรัตน์ สองเมือง” นั่งเก้าอี้รักษาการ ผอ.ไทยพีบีเอส หลังคณะกรรมการนโยบายฯมีมติเอกฉันท์ปลด “สมชัย สุวรรณบรรณ” เหตุไม่สามารถดูแลฝ่ายบริหารให้บรรลุเป้าหมาย-ทำผิดสัญญาจ้าง
PIC thaipbbsss 9 10 58 1
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2558 คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกประกาศเรื่องการเลิกสัญญาจ้างนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. 
ประกาศดังกล่าว ระบุว่า คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกสัญญาจ้างนายสมชัย เนื่องจากกระทำผิดสัญญาจ้างเรื่องการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับความเห็นชอบให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด และการจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯทุกสามเดือน
นอกจากนี้ยังไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ส.ท. และมติของคณะกรรมการนโยบายฯ ทั้งยังไม่สามารถกำกับ ดูแล และติดตามให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีสัมฤทธิผล เพื่อพร้อมรับการแข่งขันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้การเลิกจ้างผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ครั้งนี้ มีผลให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. พ้นจากตำแหน่งตามวาระของผู้อำนวยการด้วย ส่วนคณะกรรมการบริหารทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งทันที ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการนโยบายได้แต่งตั้ง นางพวงรัตน์ สองเมือง ผู้อำนวยการสำนักรายการ ให้รักษาการ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. จนกว่าการดำเนินการสรรหา ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. คนใหม่จะแล้วเสร็จ (ดูเอกสารประกอบ)
ผู้สื่อข่าวรายงาน รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ที่พ้นตำแหน่งมี 3 ราย ได้แก่ นายมงคล ลีลาธรรม นายสุพจน์ จริงจิตร และนายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ 
PIC ไทยพบเอส 1

อดีต ผอ.ไทยพีบีเอสตั้งข้อสงสัยที่ถูกเลิกจ้าง เตรียมเรียกร้องขอความเป็นธรรม

อดีต ผอ.ไทยพีบีเอสตั้งข้อสงสัยที่ถูกเลิกจ้าง เตรียมเรียกร้องขอความเป็นธรรม ระบุทำงานสื่อมาเกือบ 50 ปี ไม่เคยเจอกรณีเช่นนี้
เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. นายสมชัย สุวรรณบรรณ อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ได้ให้สัมภาษณ์สดผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส กรณีคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีมติให้เขาและคณะกรรมการบริหารทั้งคณะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่แล้ว โดยมีผลในวันนี้ นายสมชัย ชี้เหตุผลที่คณะกรรมการนโยบายฯ ใช้ปลดตนเองเพราะทำผิดสัญญาจ้างกรณีอนุมัติโครงการเกิน 50 ล้านบาทว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะคณะกรรมการนโยบายฯ เอง รู้เรื่องโดยตลอด ระบุมีกำหนดจะให้ปากคำเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการสอบสวน ในสัปดาห์หน้า แต่กลับถูกปลดเสียก่อน
นายสมชัย กล่าวถึงเหตุผลของคณะกรรมการนโยบายฯ ที่ว่าเขากระทำผิดสัญญาจ้างกรณีอนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท โดยไม่ได้รับอนุมัติจากกรรมการนโยบายฯ ถึง 4 ครั้ง ว่า เป็นเรื่องที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โครงการดังกล่าวคือการดำเนินการขออนุมัติเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประมูลทีวีดิจิตัล ซึ่งดำเนินการไปตามกำหนดการของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งทำได้ครบถ้วน และผลการประมูลได้ราคาต่ำสุดได้ประโยชน์สูงสุด
นายสมชัย กล่าวว่า การขออนุมัติได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยได้เสนอเป็นแผนใหญ่และนำเสนอรายงานให้กรรมการนโยบายฯ รับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ประสบความสำเร็จ และเป็นการดำเนินงานที่มีการรายงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2556 แต่เรื่องที่เป็นประเด็นนำมาเป็นเหตุผลในการการเลิกจ้างตนเองนั้น เป็นสิ่งที่มีข้อน่าสงสัย
“ทั้งที่ กนย. เองได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายภายนอกเข้ามาตรวจสอบและยังไม่เสร็จสิ้น ผมเองได้รับจดหมายให้ไปให้ปากคำในสัปดาห์หน้า ทำให้สงสัยว่าทำไมมีการเลิกจ้าง โดยที่กระบวนการตรวจสอบยังไม่เสร็จสิ้น” นายสมชัยกล่าวด้วยว่า โครงการประมูลทีวีดิจิตัลนี้ดำเนินการมาปีกว่าเกือบสองปี และกระบวนการตรวจสอบบัญชีของไทยพีบีเอสได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาโดยตลอด จึงน่าจะไม่ได้ทำอะไรผิด
ส่วนเรื่องการไม่สนองนโยบายนั้น นายสมชัยกล่าวว่า เขาตอบสนอง แต่เรื่องการมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ในฐานะคนทำสื่อก็ต้องใช้วิจารณญาณในการนำไปปฏิบัติ ในส่วนของไทย พีบีเอสนั้น กฎหมายระบุว่าคณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องปกป้องความเป็นอิสระของทีมงาน และขั้นต่อไปเขาจะขอความเป็นธรรม
“ยังไม่รู้ว่ามีกระบวนการยุติรรมในลักษณะใด เพราะนี่เป็นเคสแรกในชีวิตผม ทำงานสื่อมาเกือบห้าสิบปีก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้” นายสมชัย กล่าว
ภาพ บรรยากาศที่ไทยพีบีเอส ซึ่งนายสมชัยตอบข้อสงสัยของผู้สื่อข่าวในห้องข่าวต่อกรณีที่เกิดขึ้น และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทั่วไป

อดีต ผอ.ไทยพีบีเอสตั้งข้อสงสัยที่ถูกเลิกจ้าง เตรียมเรียกร้องขอความเป็นธรรม ระบุทำงานสื่อมาเกือบ 50 ปี ไม่เคยเจอกรณีเช่นนี้

บีบีซีไทย - BBC Thai ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 4 ภาพ
1 ชม.
อดีต ผอ.ไทยพีบีเอสตั้งข้อสงสัยที่ถูกเลิกจ้าง เตรียมเรียกร้องขอความเป็นธรรม ระบุทำงานสื่อมาเกือบ 50 ปี ไม่เคยเจอกรณีเช่นนี้
เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. นายสมชัย สุวรรณบรรณ อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ได้ให้สัมภาษณ์สดผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส กรณีคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีมติให้เขาและคณะกรรมการบริหารทั้งคณะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่แล้ว โดยมีผลในวันนี้ นายสมชัย ชี้เหตุผลที่คณะกรรมการนโยบายฯ ใช้ปลดตนเองเพราะทำผิดสัญญาจ้างกรณีอนุมัติโครงการเกิน 50 ล้านบาทว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะคณะกรรมการนโยบายฯ เอง รู้เรื่องโดยตลอด ระบุมีกำหนดจะให้ปากคำเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการสอบสวน ในสัปดาห์หน้า แต่กลับถูกปลดเสียก่อน
นายสมชัย กล่าวถึงเหตุผลของคณะกรรมการนโยบายฯ ที่ว่าเขากระทำผิดสัญญาจ้างกรณีอนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท โดยไม่ได้รับอนุมัติจากกรรมการนโยบายฯ ถึง 4 ครั้ง ว่า เป็นเรื่องที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โครงการดังกล่าวคือการดำเนินการขออนุมัติเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประมูลทีวีดิจิตัล ซึ่งดำเนินการไปตามกำหนดการของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งทำได้ครบถ้วน และผลการประมูลได้ราคาต่ำสุดได้ประโยชน์สูงสุด
นายสมชัย กล่าวว่า การขออนุมัติได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยได้เสนอเป็นแผนใหญ่และนำเสนอรายงานให้กรรมการนโยบายฯ รับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ประสบความสำเร็จ และเป็นการดำเนินงานที่มีการรายงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2556 แต่เรื่องที่เป็นประเด็นนำมาเป็นเหตุผลในการการเลิกจ้างตนเองนั้น เป็นสิ่งที่มีข้อน่าสงสัย
“ทั้งที่ กนย. เองได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายภายนอกเข้ามาตรวจสอบและยังไม่เสร็จสิ้น ผมเองได้รับจดหมายให้ไปให้ปากคำในสัปดาห์หน้า ทำให้สงสัยว่าทำไมมีการเลิกจ้าง โดยที่กระบวนการตรวจสอบยังไม่เสร็จสิ้น” นายสมชัยกล่าวด้วยว่า โครงการประมูลทีวีดิจิตัลนี้ดำเนินการมาปีกว่าเกือบสองปี และกระบวนการตรวจสอบบัญชีของไทยพีบีเอสได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาโดยตลอด จึงน่าจะไม่ได้ทำอะไรผิด
ส่วนเรื่องการไม่สนองนโยบายนั้น นายสมชัยกล่าวว่า เขาตอบสนอง แต่เรื่องการมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ในฐานะคนทำสื่อก็ต้องใช้วิจารณญาณในการนำไปปฏิบัติ ในส่วนของไทย พีบีเอสนั้น กฎหมายระบุว่าคณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องปกป้องความเป็นอิสระของทีมงาน และขั้นต่อไปเขาจะขอความเป็นธรรม
“ยังไม่รู้ว่ามีกระบวนการยุติรรมในลักษณะใด เพราะนี่เป็นเคสแรกในชีวิตผม ทำงานสื่อมาเกือบห้าสิบปีก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้” นายสมชัย กล่าว
ภาพ บรรยากาศที่ไทยพีบีเอส ซึ่งนายสมชัยตอบข้อสงสัยของผู้สื่อข่าวในห้องข่าวต่อกรณีที่เกิดขึ้น และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทั่วไป
  • เรื่องนี้มีรายละเอียดและเบื้องหลัง
    น่าสงสัยคาใจกันจริงๆ ว่าทำไมต้องเล่นปุบปับกันแบบนี้
    มิตรสหายในแวดวงคนหนึ่งวิเคราะห์ได้น่าสนใจว่าน่าจะเพราะคุณสมชัยและคณะ อาทิ คุณวันชัย ตันฯ เป็นคนแบบเดียวกัน นั่นคือต่อให้มีทัศนคติทางการเมืองค่อนไปทางกรรมการนโยบายฝ่ายเป่านกหวีด ก็มักยืนยันความเป็นสื่ออาชีพ ไม่ยอมให้กรรมการนโยบายหรือคุณสมชายใช้อำนาจผ่านกรรมการนโยบายแทรกแซงง่ายๆ มีข่าวและสกู๊ปข่าวหลายข่าวที่คุณสมชัยอนุมัติให้นำเสนอได้ แต่กรรมการนโยบายและคุณสมชายไม่ปลื้ม จึงเป็นที่มาของความหมั่นไส้มานานแล้ว
    เมื่อซิงเกิ้ลเกตเวย์เกิดไม่ได้ แต่คุณสมชายต้องการให้มั่นใจว่าสื่อดียืนเข้าแถวเป็นระเบียบดี จึงย่อมต้องถึงเวลา โดยคนรอเสียบตำแหน่งนั้นมีอยูู่ เป้นคนที่คุณสมชายพอใจว่าจะไม่หัวแข็งกับคุณสมชายแน่นอน
    จากสเตตัสสาธารณะล่าสุดของคุณ ปกรณ์ อารีกุล เขียนไว้อย่างนี้
    "ข่าววงในจากไทยพีบีเอส
    "ที่อ้างว่า ปลดผอ.ไทยพีบีเอส เพราะไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรรมการนโยบาย
    "ที่ผอ.ไม่ปฏิบัติตามก็ว่าเพราะคำแนะนำนั้น ไม่สอดคล้องกับจริยธรรมสื่อ และกระทบกับความเป็นอิสระของสื่อ
    "สรุปก็คือว่า กรรมการนโยบายมีคำแนะนำ(คำสั่ง) ที่ผอ.ไทยพีบีเอส ไม่ทำตามเพราะคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับจริยธรรมสื่อ และกระทบกับความเป็นอิสระของสื่อ
    "ส่วนกรณีเงิน 50 ล้านเป็นเรื่องอนุมัติเกี่ยวกับโครงข่ายทีวีดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่การไม่ทำเรื่องผ่าน กนย. แต่ทำเรื่องขึ้นไปแล้ว แต่กนย. ไม่ส่งหนังสือกลับลงมา แล้วเรื่องพวกนี้มันมีเงื่อนไขของเวลา ฝ่ายบริหารก็ต้องดำเนินการ"

รบพิเศษ เข้ากรุงฯ....

รบพิเศษ เข้ากรุงฯ....
บิ๊กเจี๊ยบ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ยังไม่ชิน แต่งเครื่องแบบปกติแบบนี้ เพราะใส่ยัดท็อป แต่งรบพิเศษมาทั้งชีวิต ....ก็ตอนนี้ จาก ผบ.หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ผบ.นสศ.) ขึ้นห้าเสือ ทบ.เป็นผช.ผบทบ. แล้วนี่นา... แถมมาอยู่เมืองกรุงฯ จากที่อยู่ ลพบุรี มาหลายสิบปี พอตกเย็น ก็พยายามหาเวลาออกกำลังกาย ตามประสา นักฟุตบอล ทบ. เพราะอยู่ลพบุรี มีเวลาได้วิ่ง ได้ออกกำลัง เสริมความฟิต ตามประสา ทหารรบพิเศษ นั่นเอง ....จับตา แคนดิเดท ผบทบ. ในโยกย้าย กย.2559 ไว้ให้ดีๆ แม้ยาก ฝ่าดงบูรพาพยัคฆ์ ก็คามที แต่คราวนี้ ขึ้นมา ด้วยความชอบธรรม ตามไลน์ เป๊ะๆ.... ทบ.เว้นว่าง ผบทบ.จาก รบพิเศษ มานานปี จาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มา บิ๊กบัง พลเอก สนธิ บุญยะรัตกลิน ก็เกือบสิบปัแล้ว

บิ๊กหมู พลเอกธีรชัย ผบ.ทบ. สวมชุดฝึกลายพราง แบบเดิม ลงชายแดนใต้ ครั้งแรก

บิ๊กหมู พลเอกธีรชัย ผบ.ทบ. สวมชุดฝึกลายพราง แบบเดิม ลงชายแดนใต้ ครั้งแรก หลังมีข่าวสะพัด ผบทบ.คนใหม่ ไม่ชอบชุดพรางแบบใหม่ ที่ออกแบบยุค บิ๊กโด่ง พลเอก อุดมเดช จนมีการ สั่งทบทวนการใช้ เพราะเห็นว่า การใช้ป้ายชื่อ-หน่วย แบบถอดออกได้ เพราะติดตีนตุ๊กแก ที่อก และแขนนั่น ไม่เหมาะสม และไม่สวยงาม
โดยบิ๊กหมู ใช้ชุดฝึกพรางแลบเดิม ที่ใช้กระเป๋าอก แบบฝาตรง แทนฝาเฉียง ที่ กรมยุทธการทบ. ในยุค พลเอกอุดมเดช ออกแบบ ให้เหมาะกับทหารชายแดน ที่สวมเสื้อเกราะ ที่แค่รูดซิบ ก็เก็บ หรือใช้กระเป๋าอก ได้
พอวันนี้ พลเอกธีรชัยสมมชุดพราง แบบเดิม ลงใต้ กำลังพล เลยรู้ว่า ใช่เลย ชุดเลย การทบทวนคำสั่ง การใส่ชุดฝึกพราง

ปิดตำนาน ผู้การโจ้.....อำลา ปืน 1

ปิดตำนาน ผู้การโจ้.....อำลา ปืน 1
"พันเอกคชาชาต"ส่งมอบตำแหน่ง ผบ.ป.1รอ.ให้ "พันเอก นิมิตต์"กลางสายฝน ยันไม่มีขัดแย้ง ไม่เกาเหลา อำลาผน่วย ขอบคุณ กำลังพลทุกคน กลับถิ่นเก่า
ที่ กรมทหารปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ 09.00น. ผู้การโจ้ พ.อ.คชาชาต บุญดี ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่1รักษาพระองค์(ผบ.ป.1รอ.) คนที่33 ได้ทำพิธีส่งมอบหน้าที่ ให้ ผู้การมิตต์ พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ รองผบ.ป.1รอ. และ ฝ่ายเสธ.นายกฯ โดยการสักการะ ศาลเจ้าพ่อปืนใหญ่ และศาลเจ้าแม่อินทรีแดง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน่วย ท่ามกลางสายฝน
พันเอกคชาชาต ถูกย้ายไปเป็น นายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ กองทัพภาค3 ซึ่งถือว่า เป็นกรุ และ กลับถิ่นเก่า เพราะปีที่แล้ว เมื่อ พลเอกอุดมเดช สีตบุตร ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. ก็ดึง พันเอกคชาชาต จาก แม่ฮ่องสอน ผบ.กรมทหารพราน ที่36 เจ้าของฉายา นักรบสาละวิน มาเป็น ผบ .ป.1รอ.หน่วยคุมกำลังสำคัญของ พล.1รอ.และกองทัพภาค1 ดูแลพื้นที่สำคัญ ในกรุงเทพฯ ที่มีความเคลื่อนไหว ต้าน คสช.

พันเอกคชาชาต ยืนยัน ไม่มีเกาเหลา ไม่มีความขัดแย้งใดๆ ในทบ. เป็นการโยกย้ายตามกติ ตนเองก็ไปทำหน้าที่ ที่ จ.พิษณุโลก และภาคเหนือ ซึ่งตนเองเคยรับราชการมาก่อน
ส่วนตนเองกับ พันเอกนิมิตต์ ก็เป็นพี่น้อง ที่สนิทสนมคุยกันตลอด เรื่องตำแหน่งเป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชา ส่วนเราก็พี่น้องเหล่าทหารปืนใหญ่ตท.27-ตท.30 และมั่นใจว่า พันเอกนิมิตต์จะดูแลหน่วยต่อไปได้เป็นอย่างดี

พันเอกคชาชาต ได้เดินทักทาย อำลา กำลังพล โดย พันเอกคชาชาต กล่าวขอบคุณ ทุกคนที่ร่วมแฏิบัติภารกิจ ของ ป.1รอ. ให้สำเร็จ นำมาซึ่งชื่อเสียง และคำชื่นชมของผู้บังคับบัญชา

ทั้งนี้ กำลังพลและครอบครัว ที่นำต้นไม้มามอบให้ และขอบคุณ ที่ พันเอกคชาชาต ได้ทำให้ กรมทหารปืนใหญ่ ที่1 รักษาาพระองค์ มาตลอด1 ปี ก่อนร่วมยืนส่ง พันเอกคชาชาต ขึ้นรถ ออกไปจากหน่วย ท่ามกลางสายฝนพรำ

ด้าน พันเอกนิมิตต์ ผบ.1รอ.คนใหม่ ก็จะกลับมาทำหน้าที่ ผบ.ป.1รอ.เต็มตัว แต่จะช่วยงานนายกฯ บ้าง เพราะต้องให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ ผบ.ป.1รอ. ดูแลกำลังพล ครอบครัว ดูแลหน่วย เพราะนายกฯมีคนช่วยเยอะแล้ว

สำหรับ พันเอกนิมิตต์ เป็น รอง ผบ.ป.1รอ.มานาน 3 ปี และเป็นที่รู้กันว่า จ่อคิวและ ถูกวางตัวให้ต้องขึ้นตำแหน่งนี้ ตามวงรอบปกติอยู่แล้ว

"บิ๊กหมู" ลงใต้ ครั้งแรก ประชุม ผบ.หน่วย สั่งรุกทางการเมืองและการต่อสู้ทางความคิด

"บิ๊กหมู" ลงใต้ ครั้งแรก ประชุม ผบ.หน่วย สั่งรุกทางการเมืองและการต่อสู้ทางความคิด ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติกลุ่มผู้เห็นต่างให้ยุติการใช้ความรุนแรง เน้นต่อสู้ทางความคิด ปรับทัศนคติให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุย เน้นใช้กำลังประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม เร่งรัดคดีความ บริหารจัดการกำลัง 3 ฝ่าย ให้มีเอกภาพ ไม่สร้างเงื่อนไขใหม่
พล.ต.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยผลการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยในพื้นที่ จชต.ของ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.รมน. เป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ ถือ เป็นครั้งแรก ที่พลเอกธีรชัย ได้ลงพื้นที่ภาคใต้หลังรับตำแหน่ง ผบทบ. โดยเป็นประธานการประชุม ผบ.หน่วย ถึงระดับ ผบ.ฉก.หมายเลข และส่วนราชการในพื้นที่ จชต. ที่ห้องประชุมยะลารวมใจ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.)
ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการบรรยายสรุปแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2559 ของ กอ.รมน.ภาค 4 สน., กกล.เทพสตรี., กกล.ตร.จชต. และ ศอ.บต.
ภายหลังจากรับฟังการบรรยายสรุปแล้ว พลเอกธีรชัย ผบ.ทบ./รอง ผอ.รมน. ได้กล่าวขอบคุณและให้กำลังใจข้าราชการทุกคนที่ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา จชต.มาอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าด้วยดีมาตามลำดับ
พร้อมกันนี้ได้มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน ในการแก้ไขปัญหา จชต. ว่า ให้ยึดถือตามกรอบทิศทางและนโยบายของรัฐบาล มุ่งเน้นการรุกทางการเมืองและการต่อสู้ทางความคิด ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติกลุ่มผู้เห็นต่างให้ยุติการใช้ความรุนแรง
ด้านแผนการปฏิบัติและการบริหารจัดการกำลังต้องให้มีความพร้อมควบคุมพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.
การป้องกันพื้นที่และชุมชนของตนเอง ใช้วิธีการหลักคือ การส่งเสริม/สนับสนุนกำลังประจำถิ่น และกำลังประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จชต. นั้นให้ถือเป็นภารกิจทางด้านยุทธการ จึงต้องมีมาตรการป้องกันตนเองและพร้อมตอบโต้ตามหลักการยุทธวิธีทุกครั้ง การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ ให้ กกล.ตร.จชต. เร่งรัดการดำเนินคดีให้มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น
ในส่วนของหน่วยที่ได้รับการสนับสนุนยุทโธปกรณ์พิเศษจะต้องนำมาใช้งานให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด มีการควบคุมดูแลรักษาและซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้ตลอดเวลา
สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนในระบบและนอกระบบ โดยให้มีการรายงานผลให้ทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อเน้นย้ำสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในปี 2559 ได้แก่ กำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร ต้องมีความเข้มแข็ง ร่วมมือร่วมใจ ก้าวไปพร้อมกัน เสริมการปฏิบัติซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด
ในส่วนแผนการปฏิบัติต้องสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและมีเอกภาพ รวมทั้งควบคุมไม่ให้เกิดเงื่อนไขใหม่ซึ่งอาจมีผู้ไม่หวังดีนำไปบิดเบือนและขยายผล จนส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหา จชต.

บิ๊กตู่ กำลังสร้างบ้านแปงเมืองให้ยั่งยืน แล้วพร้อมเดินจากไป โดยมอบทุกอย่างไว้ในมือนักการเมือง

บิ๊กตู่ กำลังสร้างบ้านแปงเมืองให้ยั่งยืน แล้วพร้อมเดินจากไป โดยมอบทุกอย่างไว้ในมือนักการเมือง
เสธ.ไก่อู จี้ หยุดกดดัน กรธ. แนะใช้ช่องทางปกติแสดงความเห็นดีกว่าพูดผ่านสื่อ ย้ำรอบที่ 100 ให้คิดถึงบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง อย่าห่วงแค่เรื่องอำนาจ ชี้นายกฯ และคสช. กำลังสร้างบ้านแปงเมืองให้ยั่งยืนและพร้อมเดินจากไปโดยมอบทุกอย่างไว้ในมือนักการเมือง ขอให้คิดถึงประชาชนเหมือนหรือมากกว่าคิดถึงผลประโยชน์ บิ๊กตู่ ฝากปชช.อย่าปล่อยให้ใครแสวงประโยชน์จากสิทธิ์เสียงของท่าน

พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรู้สึกอึดอัดกับการแสดงออกของนักการเมือง นักวิชาการ และสื่อเลือกข้าง บางกลุ่มที่ตั้งแง่และพยายามจับผิดการทำงานของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 

ทั้งนี้อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดความเห็นผ่านช่องทางที่ กรธ. จัดไว้ดีกว่าการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อมวลชน เพราะอาจทำให้สังคมสับสนว่าเรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง เรื่องใดเป็นเพียงการตีความไปเอง หรือเรื่องใดเป็นความคิดเห็นเฉพาะตัว ไม่ได้มาจากข้อมูลรายละเอียดของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

"ท่านนายกฯ มองว่าพฤติกรรม รวมทั้ง วาทกรรมเหล่านั้นไม่เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมืองเลย และหากพิจารณาข้อสังเกตที่นักการเมือง นักวิชาการ และสื่อเลือกข้าง ดังกล่าวข้างต้น พูดถึง ก็จะเห็นว่าวนเวียนอยู่เพียงแค่เรื่อง อำนาจ ใครจะได้อำนาจ ใครจะสืบทอดอำนาจ ไม่ค่อยจะมีข้อความใดที่พูดถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสักเท่าไรเลย ขอเรียนย้ำว่า ท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ตลอดจนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีเจตนาร่วมกันเพียงประการเดียวคือ การทำให้ประเทศชาติปลอดภัย เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยในภายภาคหน้า โปรดอย่านำทัศนคติแบบนักการเมืองมาตัดสินหรือเหมารวมผู้อื่น
ทุกท่านใน คสช. ล้วนผ่านตำแหน่งระดับสูง ผ่านการมีอำนาจและใช้อำนาจมาทุกท่าน ไม่มีความจำเป็นต้องมาแสวงหาอำนาจใดๆอีกทั้งสิ้น"
พลตรีสรรเสริญ กล่าวต่อว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี มีเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาของชาติที่ถูกหมักหมมมาเป็นเวลานาน บ้างก็ถูกละเลยไม่สนใจ บ้างก็ถูกอ้างว่าทำไม่ได้แก้ไม่ได้ และเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย บ้านเมืองตั้งตัวได้ มีความสงบเรียบร้อย มีการเลือกตั้ง ท่านนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีก็พร้อมอย่างยิ่งที่จะเดินออกจากทำเนียบ มอบภาระของชาติให้นักการเมืองต่อไป
"ท่านนายกฯ ฝากเพียงว่า “เมื่อถึงเวลาการเลือกตั้ง ขอให้พี่น้องประชาชน คิดคำนึงเลือกผู้แทนของท่านอย่าง รอบคอบ มีเหตุมีผล อย่าปล่อยให้ใครแสวงประโยชน์จากสิทธิ์เสียงของท่าน ขอให้มองประโยชน์ระยะยาวของชาติเป็นที่ตั้ง อย่าพึงพอใจแค่ผลประโยชน์ระยะสั้น เพราะไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศชาติได้ พี่น้องประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างมีสติ”

บทบาทประชาสังคมกับการปลดล็อกคอร์รัปชัน (3): จุดสกัด CSOs ไทย อุปสรรคด้านเงินทุน รัฐสนับสนุนไม่เต็มที่

9 ตุลาคม 2015
ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ประสบผลสำเร็จในการต่อต้านการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คือ (1) ปัจจัยด้านรูปแบบการรวมกลุ่มของ CSOs (2) ปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบ (3) ปัจจัยเชิงสถาบัน และ (4) ปัจจัยด้านการจัดหาเงินทุนของภาคประชาสังคม
นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรภาคประชาสังคมประสบความสำเร็จในการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านองค์กรประชาสังคมในต่างประเทศแล้ว ครั้งนี้เป็นการหยิบยกส่วนที่งานวิจัย “การพัฒนาบทบาทภาคประชาสังคมเพื่อต่อต้านการทุจริต ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” ทำการวิเคราะห์องค์กรภาคประชาสังคมไทย ผ่านปัจจัยทั้ง 4
โดยเลือกองค์กรบทบาทเด่นชันในด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน 2 องค์กร คือ องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand: TT) และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (Anti-corruption Thailand: ACT)

องค์กรภาคประชาสังคมไทย กับบทบาทการต่อต้านการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

เริ่มต้นที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand: TT) องค์กรนี้เปรียบเสมือนเป็น “แฟรนไชส์” ทางธุรกิจของ Transparency International (TI) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับสากลที่มีเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตและเผยแพร่แนวความคิดเรื่องความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคม
อย่างไรก็ดี กิจกรรมต่อต้านการทุจริตของ Transparency International มีความหลากหลายและครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งต่อต้านการทุจริตอย่างแท้จริง ทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกต่อต้านการทุจริต พัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัย สร้างเครื่องมือติดตามตรวจสอบโครงการต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงพยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิง “โครงสร้าง”
แต่กิจกรรมของ TT มีบทบาทเพียงการจัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกและให้ความรู้ด้านต่อต้านการทุจริตเป็นสำคัญ เช่น โครงการค่ายอบรมผู้นำเยาวชน ก่อตั้งชมรมเยาวชนเพื่อความโปร่งใส รวมถึงผลักดันหลักสูตร “โตไปไม่โกง” เข้าเป็นเนื้อหาหลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษา งานวิจัยจึงสรุปว่า TT มีลักษณะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ประเภท “ชุมชนนิยม”
ด้าน ACT เกิดขึ้นจากการริเริ่มของภาคเอกชนที่ต้องการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน โดยในอดีตใช้ชื่อว่า “ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และจดทะเบียนในรูปมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
“ปลูกฝัง-เปิดโปง–ป้องกัน-ปราบปราม” คือกลยุทธ์ที่ทำให้ ACT สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานต่อต้านการทุจริตได้อย่างกว้างขวาง มุ่งไปที่การกระตุ้นให้สังคมไทยตื่นตัวกับปัญหาทุจริต อีกทั้ง ACT ทำกิจกรรมโดยใช้แนวร่วมจากภาควิชาการ สื่อมวลชน และหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของรัฐ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อต้านการทุจริตในหลายระดับ
งานศึกษาระบุว่าระดับกิจกรรมต่อต้านการทุจริตของ ACT มีหลากหลายกว่ากิจกรรมของ TT มีความครอบคลุม เป็นองค์กรภาคประชาสังคมแบบเคลื่อนไหวทางสังคม โดยกิจกรรมมีตั้งแต่ การสร้างจิตสำนึกต่อต้านการทุจริต ผ่านกระบวนการให้ความรู้ ใช้สื่อออนไลน์เพื่อทำให้เกิดการสื่อสารสาธารณะในวงกว้าง
การติดตามตรวจสอบโครงการสำคัญของรัฐ โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการ “หมาเฝ้าบ้าน” สร้างเครือข่ายและเผยแพร่ข้อเท็จจริงในการติดตามโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัยผ่านสำนักข่าวอิศรา รวมทั้งพยายามเสนอให้รัฐใช้ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เป็นเครื่องมือติดตามตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่ง ACT พยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างในประเด็นการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะ “บุคคลที่สาม” ร่วมสังเกตการณ์กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐหรือหากรัฐดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และ ACT ยังเสนอให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดคอร์รัปชัน พร้อมเสนอแนวทางป้องกันโดยให้บุคคลที่สามเป็นผู้ทำการศึกษา

เจาะลึก 4 ปัจจัยความสำเร็จภาคประชาสังคมไทยต้านคอร์รัปชัน

ปัจจัยด้านรูปแบบการรวมกลุ่มของภาคประชาสังคม กับการต่อต้านการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างนั้น มีบริบทแวดล้อม 3 ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
  • การมีบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อรองรับการทำงานของ CSOs ปัจจุบันการจัดตั้ง CSOs ในไทยจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนที่ 3 มูลนิธิ (มาตรา 110-132) โดย “มูลนิธิ” ตามนิยามของประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ในกรณีของ TT และ ACT ต่างก็จดทะเบียนในรูปของมูลนิธิด้วยเช่นกัน นั่นคือ การรวมกลุ่มขององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่างก็มีบทบัญญัติทางกฎหมายรับรองชัดเจนภายใต้การทำงานในรูปแบบของมูลนิธิซึ่งดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  • รัฐสนับสนุนและไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงาน นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา องค์กรภาคประชาสังคมไทยเริ่มแสดงบทบาทต่อต้านการทุจริตมากขึ้น เช่น กรณีชมรมแพทย์ชนบทเพื่อต่อต้านการทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งนำไปสู่การลงโทษอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่ภาคประชาสังคมเองก็มีการจับมือกับสื่อมวลชนกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องแสดงความโปร่งใสในประเด็นที่สังคมเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน อาทิ กรณี GT 200 ที่ภาคประชาชนกดดันจนเข้าไปมีส่วนร่วมสังเกตการณ์การทดสอบเครื่องดังกล่าวด้วย
จากกรณีข้างต้น จะเห็นได้ว่ารัฐไม่ได้ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคแก่ภาคประชาชนไทย ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็น “ผู้สังเกตการณ์” รวมถึงในกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ป.ป.ช. ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดยเพิ่มหมวดที่ 9/1 มาตรา 103/2-103/9 ซึ่งให้ความสำคัญกับการที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต
ขณะเดียวกัน ในส่วนของนโยบายรัฐบาลเรื่องการต่อต้านการทุจริตตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา งานวิจัยชี้ว่าทุกรัฐบาลกำหนดนโยบายสนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตได้ แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีรายละเอียดและข้อจำกัด ซึ่งภาคประชาชนอาจไม่สามารถมีส่วนร่วมได้เท่าที่ควร (คลิกภาพเพื่อขยาย)
งานวิจัย ป.ป.ช.
  • บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเชิงรุก (Proactive Approach)กรณีองค์กรภาคประชาสังคมไทยที่แสดงบทบาทเชิงรุกอย่างชัดเจน คือ ACT ซึ่งกิจกรรมต่อต้านการทุจริตเชิงรุกที่ ACT แสดงออกมาส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เรื่องการปฏิรูปและปรับปรุงวิธีการต่อต้านการทุจริตโดยใช้ภาคประชาสังคมเป็น“แกนกลาง” มากกว่าที่จะยึดโยงกับหน่วยงานต่อต้านการทุจริตภาครัฐ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ การจัดทำข้อเสนอมาตรการกำจัดคอร์รัปชันก่อนการเลือกตั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคประชาชน
ทั้งนี้ ACT เตรียมข้อเสนอไว้ 5 แนวทาง เพื่อเสนอมาตรการที่เป็นรูปธรรมก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยแนวทางทั้ง 5 ได้แก่ (1) การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (2) การสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันภาครัฐ (3) การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (4) การผลักดันมาตรการเรื่อง “ความโปร่งใส” ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ Global Anti-corruption Program ของ UNODC และ (5) การรณรงค์คุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านคอร์รัปชันครั้งใหญ่
ในปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบ มีกฎหมายและระเบียบที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาคประชาสังคมในการต่อต้านการทุจริต 4 ประเภท ได้แก่
  • กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Freedom of Information Act) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ภาคประชาสังคมสามารถใช้สิทธิเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยเฉพาะข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
กฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร ได้แก่ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี สัญญาสัมปทานหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในปัจจุบันหรือย้อนหลัง เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางราชกิจจานุเบกษาและทางเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ โดยต้องเปิดเผยไว้ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูหรือร้องขอได้
  • กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต กรณีที่ภาคประชาสังคมทำหน้าที่แจ้งเบาะแสการทุจริตหรือเป็น “ผู้เป่านกหวีด” (Whistle Blower) นั้น กลไกสำคัญที่จะช่วยคุ้มครองภาคประชาสังคมเหล่านี้ได้ คือ กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต เนื่องจากคดีทุจริตจัดเป็นคดีอาญา พยานต้องได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติตามมาตรา 103/2 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติอีกทางหนึ่ง
เช่นเดียวกัน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ออกระเบียบว่าด้วยมาตรการคุ้มครองเบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2554 ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้อธิบายถึงวิธีการคุ้มครองตามมาตรการคุ้มครองเบื้องต้น อาทิ การจัดเจ้าพนักงานเป็นชุดคุ้มครองความปลอดภัยให้กับพยานหรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน
  • กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐดำเนินการภายใต้ระเบียบพัสดุ ซึ่งระเบียบดังกล่าวประกอบด้วย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 แต่ระเบียบทั้งสองยังไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของภาคประชาสังคมแต่อย่างใด
แม้ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างจะไม่กล่าวถึงช่องทางหรือกลไกที่ภาคประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามตรวจสอบโครงการรัฐ แต่หน่วยงานต่อต้านการทุจริตภาครัฐ เช่น ป.ป.ช. ได้สร้างช่องทางการมีส่วนร่วมดังกล่าวไว้ผ่านพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 103/7 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลาง ไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอกนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
คอร์รัปชัน
สำหรับปัจจัยเชิงสถาบัน ซึ่งหมายถึงหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ต่อต้านการทุจริตโดยตรง (Anti-corruption Agencies: ACAs) และองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำหน้าที่ต่อต้านการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งปัจจัยความสำเร็จที่จะทำให้ภาคประชาสังคมต่อต้านการทุจริตได้ คือ การสร้างความร่วมมืออันดีกับหน่วยงานรัฐ (คลิกภาพเพื่อขยาย)
งานศึกษาพบว่า ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่อต้านการทุจริตภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมไทยทั้ง 2 องค์กรนั้น หน่วยงานต่อต้านการทุจริตของรัฐเปิดช่องทางความร่วมมือไว้เพียง 2 ระดับแรก คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร เปิดรับเรื่องร้องเรียน และการเชิญภาคประชาชนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น ส่วนระดับความร่วมมือสูงสุด คือ ให้เข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจนั้น หน่วยงานต่อต้านการทุจริตภาครัฐเพียงเปิดให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริต แต่ไม่เปิดโอกาสอย่างชัดเจนในกระบวนการติดตามตรวจสอบ หรือนำเครื่องมือติดตามตรวจสอบ เช่น ข้อตกลงคุณธรรม มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับปัจจัยด้านการจัดหาเงินทุน ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรภาคประชาสังคมขับเคลื่อนกิจกรรมต่อต้านการทุจริตได้หลากหลายครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กร โดยเฉพาะกิจกรรมติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการของรัฐ
งานวิจัยหยิบยกคำบอกเล่าของมานะ นิมิตรมงคล ถึงการใช้เงินทุนจำนวนมากในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อต้านการทุจริตให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์องค์กร อาทิ ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของผู้สังเกตการณ์ความโปร่งใสในการดำเนินโครงการต่างๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ค่าเวลา ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยจำเป็น เช่น งานธุรการ หรือกรณีต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มาทำการศึกษา ร่วมติดตาม
มีการประมาณการว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตามตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่นั้น (โครงการระดับหมื่นล้านบาท) นั้นจะมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 5 ล้านบาท หากโครงการนั้นดำเนินการต่อเนื่อง 3 ปี ต้นทุนในการเป็นผู้สังเกตการณ์จะสูงถึง 15 ล้านบาท โดยคิดเทียบกับอัตราที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องจ่ายให้กับผู้ตรวจสอบ
ซึ่งแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ลงทุนในกิจกรรมการต่อต้านการทุจริตนั้น ได้แก่ เงินบริจาคจากประชาชนทั่วไป หรือภาคธุรกิจเอกชนที่เห็นความสำคัญในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลการจัดหาเงินทุนทั้งของ TT และ ACT พบว่า กรณี TT ไม่ปรากฏรายละเอียดรายงานงบการเงินของ TT ในเว็บไซต์ www.transparency-thailand.org ขณะที่ ACT รายงานข้อมูลดังกล่าวผ่านทาง http://www.anticorruption.in.th/about/budget-report/
นอกจากการระดมทุนขององค์กรภาคประชาสังคมเองแล้ว ขณะนี้ คณะทำงานศึกษาการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันการทุจริตและกองทุนป้องกันการทุจริตยังได้พยายามเสนอร่างกฎหมายกองทุนสนับสนุนการป้องกันการทุจริต เพื่อให้การระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆ มาช่วยเหลือองค์กรภาคประชาสังคมเป็นไปอย่างกว้างขวางและง่ายขึ้น
โดยรวมแล้วงานวิจัยชี้ชัดว่า บทบาทภาคประชาสังคมไทยในการต่อต้านการทุจริตยังคงก้าวไปไม่ถึงกิจกรรม “ติดตามตรวจสอบ” ซึ่งอาจติดขัดจากปัจจัยด้านเงินทุน และข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ในระบบจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต้องอาศัยการทำความเข้าใจระบบจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดเป้าหมาย และเครื่องมือสำหรับตรวจสอบเข้ามาช่วย
ติดตามตอนต่อไป

กรุงเตหะรานออกมาปฏิเสธข่าวขีปนาวุธของรัสเซียยิงจากทะเลแคสเปี้ยนไปตกในอิหร่าน

สื่อฯสหรัฐฯยังน้ำเน่าไม่เลิก... กรุงเตหะรานออกมาปฏิเสธข่าวขีปนาวุธของรัสเซียยิงจากทะเลแคสเปี้ยนไปตกในอิหร่าน
-------------
หลังจากที่สื่อฯรัสเซียรายงานข่าวและเผยแพร่คลิปที่กองทัพเรือรัสเซียยิงขีปนาวุธนำวิถีจากเรือรบในทะเลแคสเปี้ยนโจมตีฐานที่มั่นจุดต่างๆของขบวนการก่อการร้ายไอซิสในซีเรีย สหรัฐฯเป็นเดือดเป็นร้อนแทนลูกน้องของตัวเองเป็นอย่างมาก จึงให้สื่อฯกระบอกเสียงของตัวเอง CNN ออกมาชิงข้อได้เปรียบรีบเต้าข่าวสาดโคลนใส่รัสเซียทันทีเลยว่า มีขีปนาวุธของรัสเซียไปตกในดินแดนของอิหร่านประมาณ 4 ลูก โดยอ้างแหล่งข่าวนิรนาม (สำนักข่าวผีบอก/มันเต้าข่าวขึ้นมาเอง) และก็ไม่ได้ให้ข้อมูลหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพื่อพิสูจน์หรือยืนยันข้อกล่าวหานั้นได้ มีแต่บอกว่า "It's unclear where in Iran the missiles landed…." (มันไม่ชัดเจนว่าขีปนาวุธไปตกที่ไหนในอิหร่าน)
ทางกลาโหมของรัสเซียออกมาตบปากสั่นสอนสื่อฯอเมริกาโดยกล่าวว่า "ไม่เหมือน CNN เราไม่รายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวนิรนาม (anonymous sources หาคนรับผิดชอบไม่ได้ว่าอย่างนั้นเถอะ) แต่เราได้แสดงการยิงขีปนาวุธของเราและเป้าหมายที่ขีปนาวุธเหล่านั้นโจมตีตามเวลาจริง (real-time เวลาปัจจุบัน/เวลาช่วงนั้นๆที่เกิดเหตุการณ์จริง) โดรนของรัสเซียที่ปฏิบัติการอยู่ในซีเรียทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ในการจับตาดูปฏิบัติการต่างๆ" (สหรัฐฯและพันธมิตรมีแบบนี้ให้ดูหรือเปล่า? Never!)
แถลงการณ์กลาโหมของรัสเซียกล่าวต่ออีกว่า "ไม่ว่ามันจะสร้างความไม่พึงพอใจหรือน่าผิดหวังให้กับเพื่อนของเราในเพนตากอนและในแลงเลย์ยังไง การโจมตีของเราด้วยอาวุธนำวิถีที่มีความแม่นยำใส่สิ่งปลูกสร้างของพวกไอซิสได้พุ่งเข้าสู่เป้าหมาย (ทุกนัด)" (นั่นแหละลูกเล่นของสหรัฐฯ คลิปที่เอามาประกอบข่าวก็เป็นคลิปของรัสเซีย ที่ถ่ายจากโดรนของกองทัพรัสเซียซึ่งจับตาดูเป้าหมาย ณ จุดที่ถูกขีปนาวุธของรัสเซียโจมตีไอซิส แต่ tricky CNN ก็รายงานข่าวที่อ้างแหล่งข่าวผีบอก แล้วใช้คลิปของรัสเซียประกอบข่าวซะงั้น โดยปากก็บอกว่าขีปนาวุธของรัสเซียไปตกในอิหร่าน มีแต่คนโง่เท่านั้นที่จะเชื่อคำพูดและการเสนอข่าวแบบนั้นได้)
คราวนี้ทางอิหร่านออกมายืนยันเองเลยว่า โดย Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "กรุงเตหะรานไม่มีข้อมูลเกี่ยวกบขีปนาวุธนำนำวิถีตามที่มีการกล่าวหาว่าตกในอิหร่าน" (Tehran Has No Info on Cruise Missiles Which Allegedly Landed in Iran)
กระทรวงกลาโหมของอิหร่านรายงานว่า "ขีปนาวุธแบบ cruise missiles ของรัสเซียที่ตกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโฆษนาชวนเชื่อทางการเมือง (propaganda) ของพวกตะวันตก"
รายงานข่าวบอกว่า กรุงเตหะรานได้ปฏิเสธรายงานข่าวของสหรัฐฯที่ว่ามี cruise missiles ของรัสเซียจำนวนสี่ลูกซึ่งมีเป้าหมายโจมตีไอซิสไปตในดินแดนของอิหร่าน ทางกระทรวงกลาโหมของอิหร่านกล่าวว่า มันเป็น "สงครามทางจิตวิทยา" (psychological war)
จะเชื่อใคร ระหว่างข่าวของ CNN สื่อฯกระบอกเสียงของสหรัฐฯที่อ้างจากแหล่งข่าวผีบอก และไม่มีหลักฐานยืนยันใดๆ เล่นออกมากล่าวโจมตีและกล่าวหารัสเซีย แถมเสี้ยมให้อิหร่านกับรัสเซียแตกคอกัน กับแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากกลาโหมของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำและจากฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ถูกกระทำ? นี่แหละสาเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยอ้างข่าวแบบ propaganda จากสื่อฯของสหรัฐฯและตะวันตก น้ำเน่าเยอะมาก
ตอนนี้สหัฐฯและพันธมิตรกำลังตั้งข้อสงสัยว่า รัสเซียเอาข่าวเกี่ยวกับตำแหน่งของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสมาจากไหน ถึงได้ยิงเข้าเป้าตลอด ขนาดสหรัฐฯและพันธมิตรเล่าทิ้งระเบิดแบบปูพรมเป็นเวลาปีกว่า ถล่มเมืองทิ้งตั้งหลายเมืองก็ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งแหล่งกบดานของไอซิสให้โลกรู้ได้เลย แต่งานนี้รัสเซียกลับสามารถถ่ายคลิปการโจมตีของรัสเซียไปยังเป้าหมายได้ตลอด รัสเซียก็บอกแล้วไงว่าเขามีโดรนจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายเหล่านั้นทั้งวันทั้งคืน ไม่ยอมให้พลาดสายตาเด็ดขาด สะกดรอยตามตลอด จนรู้ว่าพวกไอซิสและกลุ่มกบฏไปนัดพบกันและกลบดานอยู่ที่ไหนบ้าง และรัสเซียก็มีศูนย์ข่าวกรองระหว่าง 4 ประเทศที่ทำงานร่วมกันด้วย แล้วไหนจะข้อมูลที่ได้จากพวกที่วางอาวุธเข้ามามอบตัวให้กับทางการของซีเรียอีกหละ เพียบครับท่าน เพียงแต่ซีเรียและรัสเซียยังไม่เปิดเผยข้อมูลออกมาเท่านั้นเอง นี่แหละที่ทำให้สหรัฐฯเป็นเดือดเป็นร้อนยิ่งนัก คงเกรงว่าพวกที่ไปมอบตัวยอมจำนวนจะปล่อยความลับออกไปหมดหละสิ
วันที่ 8 ต.ค.58 Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "Iraqis Look to 'Hajji Putin' to Save Them From ISIL" โอ้!… งานนี้เล่นเอาทำเนียบข่าวหยิกเล็บตัวเองอีกแล้วครับท่าน แปลว่า "อิรัคมองไปที่นักบุญปูติน (/ผู้แสวงบุญ) เพื่อให้คุ้มครองพวกเขาจากผู้ก่อการร้ายไอซิส" ภาพพจน์ของปูตินในสายตาของสื่อฯและชาวอเมริกันและตะวันตกที่เผยแพร่ออกไปนั้น ปูตินเป็นผู้ร้าย แต่งานนี้ถ้าปูตินเป็นอย่างสื่อฯอเมริกาและตะวันตกพยายามนำเสนอจริง แล้วอิรัคจะขอความช่วยเหลือจากปูตินทำไม? ทำไมถึงไม่ไปขอความช่วยเหลือจากเหล่านักบุญ (ปลอม) ในทำเนียบขาวและตะวันตกหละ?
รายงานข่าวบอกว่าหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการโจมตีทางอากาศของรัสเซียในซีเรีย และความล้มเหลวของกรุงวอชิงตันที่ได้กระทำเช่นนั้นมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ทางอิรัคก็กำลังแสวงหาหนทางใหม่ๆเพื่อกำจัดกลุ่มก่อการร้ายที่เรียกตัวเองว่า "ไอซิส" ออกไป มีหลายคนกำลังพากันเรียกการให้การสนับสนุนช่วยเหลือนี้ว่า "Hajji Putin" (ว้าววว! ก็เป็นพระเอกตัวจริง ในโลกของความเป็นจริงนะสิครับ อ้าว… ออกมาดิ้นได้แล้วครับโปรอเมริกา คริๆ)
Karim Nihaya นักวาดภาพที่อาศัยอยู่ในกรุงแบกแดดได้กล่าวกับสำนักข่าว Agence France-Presse ว่า "ผมกำลังรอคอยให้รัสเซียมามีส่วนร่วมในการต่อสู้กับพวก Daesh (ไอซิส) พวกเขา (รัสเซีย) ทำงานได้ผล สหรัฐฯและพันธมิตรของสหรัฐฯได้พากันทิ้งระเบิดมาเป็นแรมปี และไม่บรรลุผลอะไรเลย" (They get results. The United States and its allies on the other hand have been bombing for a year and achieved nothing.) (ชัดมะ?)
ตรงนี้โปรอเมริกาตั้งใจอ่านให้ดีนะครับ... ขอแนะนำให้เตรียมยาหม่อง ยาลมเอาไว้ด้วยนะ เพราะถ้าอ่านแล้วอาจจะเกิดอาการช็อคกระทันหันก็ได้ คริๆ... Nihaya กล่าวในขณะที่กำลังวาดภาพเหมือนของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียว่า ไม่ได้มีเพียงแค่เขาคนเดียวเท่านั้น (ตอนนี้) พวกปูตินมาเนีย (Putinmania / พวกคลั่งไคล้ลุ่มหลงปูติน) ได้แผ่ไปทั่วประชากรชาวอิรัคหมดแล้ว (อัยย๊ะ!)
พวกเราควรจะมอบความเป็นพลเมือง (citizenship) ชาวอิรัคและซีเรียให้ปูตินด้วย (ว้วววว… เป็นไงเล่าโรคคลั่งปูตินในอิรัค) เพราะว่าท่านรักพวกเรามากกว่าพวกนักการเมืองของพวกเราเอง Mohammed al-Bahadli นักศึกษาในเมือง Najaf กล่าวกับสำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศส (ข่าวนี้รัสเซียไม่ได้เต้าข่าวโดยอ้างดื้อว่าเป็นแหล่งข่าวนิรนามอย่าง CNN ของสหรัฐฯ และ BBC ของอังกฤษนะครับ สื่อฯรัสเซียเอาข่าวมาจากสื่อฯตะวันตกด้วย คริๆ)
อ้อ… แถมให้อีกข่าวหนึ่งเกี่ยวกับปฏิบัติการภาคพื้นดิน วันที่ 8 ต.ค.58 Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "ซีเรียได้ขอความช่่วยเหลือจากพันธมิตรในปฏิบัติการภาคพื้นดินหากเกิดความจำเป็น - รัฐมนตรีกล่าว" (Syria to Ask Allies for Help in Ground Operations if Need Arises - Minister)
ตามรายงานข่าวบอกว่า Omran Zoubi รมว.ข้อมูลข่าวสารของซีเรีย (Syrian Information Minister) ได้กล่าวว่า "ซีเรียอาจจะหันไปขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรในปฏิบัติการภาคพื้นดินต่อสู้กับกลุ่มก่อการ้ายไอซิส หากมีความจำเป็น"
Zoubi กล่าวว่า "แน่นอน ชัยชนะเหนือพวกไอซิสย่อมเป็นไปไม่ได้เพียงเพราะการโจมตีทางอากาศเท่านั้น ปฏิบัติการทางกองทัพบนภาคพื้นมีความจำเป็นต่อปฏิบัติการทางอากาศด้วย กองทัพซีเรียมีประสบการในสนามรบนี้ เมื่อผู้นำของซีเรียพบว่ามีความจำเป็น แน่นอนว่าซีเรียก็จะออกคำร้องขอ [เพื่อขอความช่วยเหลือกในปฏิบัติการภาคพื้น ground operations] แต่ ณ เวลานี้ กองทัพซีเรียยังสามารถปฏิบัติการในสนามรบภาคพื้นได้ด้วยตัวเอง เมื่อซีเรียต้องการบางอย่างในด้านกองทัพ ซีเรียก็จะขอจากเพื่อนๆ พี่น้องและบรรดาพันธมิตรของซีเรีย" (ก็หมายความว่า ซีเรียไม่ได้ปิดกั้นให้ทหารต่างชาติเข้าร่วมปฏิบัติการภาคพื้นร่วมกับกองทัพซีเรียในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส และกลุ่มต่อต้านรัฐบาล นั่นแหละที่สหรัฐฯและตะวันตกกลัว เพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้นซีเรียและรัสเซียก็จะประกาศปิดน่านฟ้าในเขตเหล่านั้นด้วย ยากที่เครื่องบินรบหรือโดรนของสหรัฐฯและพันธมิตรจะเข้าไปได้โดยอ้างว่าไปโจมตีไอซิสเหมือนที่เคยอ้างมาตลอด แต่ดันไปช่วยฝ่ายกบฏให้ถล่มกองทัพซีเรียซะงั้น)
ป.ล. ตอนนี้รัสเซียกำลังหาทางเข้าไปช่วยรัฐบาลอัฟกานิสถานจัดการกับพวกไอซิสและตาลีบันในอัฟกานิสถานด้วย ดูซิว่ารัฐบาลอัฟกานิสถานจะทำอย่างไรกับกองทัพของสหรัฐฯจำนวน 10,000 ในอัฟกานิสถาน ถ้าอัฟกานิสถานร่วมมือกับรัสเซียอย่างซีเรียและอิรัคด้วย งานนี้สหรัฐฯจะเสียหน้ามาก และอาจจะป่วนโลกยิ่งกว่านี้อีกก็ได้