PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประยุทธ์ ยังมีกำลังใจทำงาน

บิ๊กตู่ ยัน มีกำลังใจ ทำงานต่อ วอนอย่าใช้ Socal media โจมตี

พลเอก ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี กล่ามว่า ผมก็ยังมีกำลังใจที่จะทำอยู่ จากพ่อแม่พี่น้องที่ให้ผมมา ก็ทำเต็มที่ เพราะว่าเป็นอนาคตของประเทศชาติ ก็ให้กำลังใจกับ รัฐบาล รัฐมนตรีทุกรัฐมนตรีด้วย การว่ากล่าวให้ร้ายกันทาง โซเชียลมีเดีย นี่ผมเห็นหมด ผมก็มีการตรวจสอบผมอยู่แล้ว อย่ากังวล ก็แจ้งมาซิ ใครผิดใครถูก แจ้งมาอย่าเขียนให้คนเสียหายอย่างนี้ไม่ได้ เขาไม่มีโอกาสแก้ตัว บอกผมมา ส่งรายละเอียดมาให้ชัดเจน ผมจะได้สอบสวน ดำเนินคดี แค่นั้นเอง ยากตรงไหนเขียนโซเชียล มีเดีย แบบนี้ไม่ได้ ต้องให้เกียรติซึ่งกัน และกัน ทุกคนก็อาสาสมัครกันเข้ามาทั้งนั้น แต่อยู่ที่ขั้นตอน กระบวนการ คนหลายๆ คนที่ต้องทำนี่ เขาซื่อสัตย์ไหม เราต้องสร้างให้เขาเข้มแข็งวันนี้เราต้องสร้างข้าราชการให้เข้มแข็ง คนไม่ดีจะได้อยู่ไม่ได้ ผมจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครดีไม่ดี ข้าราชการมีกี่ล้านคน ก็ต้องใช้ระบบในการคัดกรอง ไปว่ากันมาให้ได้ คนดีก็ต้องอย่าให้คนไม่ดีเข้ามา แต่อย่าไปทะเลาะเบาะแว้ง

บิ๊กตู่ยกคำโทนี่แบร์ อธิบายปรองดอง

นายกฯ ยกคำ Tony Blair แจง ปรองดอง-ประชาธิปไตย ที่ควรเป็น ขอร้องพวกทำบ้านเมืองไม่สงบ บ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ มีพวกออกมาเคลื่อนไหว ไม่ได้ ไม่เข่นนั้นจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมอีก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ/หัวหน้า คสช. กล่าวว่า เรื่องการปรองดองสมานฉันท์นั้น ก็มีปัญหาอยู่หลายประการด้วยกันนะ หลายคนก็เป็นห่วงว่าจะทำได้ไม่ได้เรียนว่ามีคำกล่าวของ ท่านผู้รู้ชาวต่างประเทศ ท่านหนึ่ง ผมเรียนท่านก็ได้ ท่าน Tony Blair ว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก ข้อสองสังคมจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่พูดถึงการปรองดอง ยอมรับความแตกต่างและความไม่พอใจ 
เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ การปรองดองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุยลึกลงไปในประเด็นความยุติธรรมและความสมดุล

ข้อสี่ การปรองดองจะต้องมาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับความเท่าเทียมไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง 
ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรมเพื่อให้คนในสังคมยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้น การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาซึ่งนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใส และธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความปรองดองได้ง่ายขึ้น

การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใสตรวจสอบได้ ทำให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น ให้เค้ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็ขอให้ทุกท่านได้นำไปพิจารณา ไตร่ตรอง

พูดมาทั้งหมดนี่ เราจะทำยังไง ที่เป็นชาวต่างประเทศพูดแล้วเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับทั้งโลก เขาพูดมาแบบนี้ ผมคิดว่าน่าคิด น่าเอามาเป็นวิธีการส่วนหนึ่งในการทำงานของเรา แต่ก็ต้องปรับให้ตรงกับบ้านเมืองของเราด้วย แต่ผมคิดว่าถูกต้องทั้งหมดนะ ทำให้ได้ก็แล้วกัน

พยายามทำทุกอัน เพราะงั้นเราต้องให้เกิดความสมานฉันท์อย่างยั่งยืนไม่ใช่เฉพาะตอนนี้ หรือเอาเรื่องปรองดองเรื่องผิดกฎหมายเรื่องคดีความเอามาปนกันไปหมด มันก็แกะอะไรไม่ออกเลยสักอัน กฎหมายก็ให้กฎหมายเขาทำงานไป ปรองดองก็ต้องเดินหน้าสร้างสังคมปรองดองกันให้ได้ รัฐบาลก็ขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา แล้วก็เตรียมการเลือกตั้งให้ได้

ตอนนี้เอาเรื่อง กฎหมาย ความผิดความถูก ตีกันอยู่ในการบริหาราชการแผ่นดิน ประเทศชาติสำคัญกว่าสำคัญที่สุด คนผิดก็ไปสู้คดีกันมา ก็ตัดสินกันออกมาแล้วกัน ตามกฎหมายเขาว่ายังไง ก็ฟังเหตุฟังผลกัน แต่ถ้าทะเลาะกันเรื่องความผิดตรงนี้ แล้วบอกว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนี้ แล้วรัฐบาลก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แล้วก็ทำเพื่อช่วย สองกลุ่ม สามกลุ่มนี้หรือเปล่า ขับเคลื่อนอะไรก็ไม่ต้องขับเคลื่อน เศรษฐกิจก็ปล่อยเป็นอย่างนี้ คนไม่มีอะไรกินก็ช่างเขาหรือไง ผมไม่เข้าใจผมถามท่านก็แล้วกัน

เพราะงั้นสิ่งทีเราทำมาหลายเรื่อง เรื่องที่ดำเนินงานไปแล้วเป็นรูปธรรม ท่านไปดูซิครับว่าทำอะไร ช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาภาระเบื้องต้น ข้าว ยางพารา อ้อย ลดต้นทุนการผลิต ก็เริ่มต้นทำให้ บริหารจัดการเรื่องราคา หาตลาด นี่พบปะทุกประเทศ พูดหมดน่ะในประชาคมโลก

— กับ Waswas Journalist
นายกฯ ยกคำ Tony Blair แจง ปรองดอง-ประชาธิปไตย ที่ควรเป็น ขอร้องพวกทำบ้านเมืองไม่สงบ บ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ มีพวกออกมาเคลื่อนไหว ไม่ได้ ไม่เข่นนั้นจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมอีก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ/หัวหน้า คสช. กล่าวว่า เรื่องการปรองดองสมานฉันท์นั้น ก็มีปัญหาอยู่หลายประการด้วยกันนะ หลายคนก็เป็นห่วงว่าจะทำได้ไม่ได้เรียนว่ามีคำกล่าวของ ท่านผู้รู้ชาวต่างประเทศ ท่านหนึ่ง ผมเรียนท่านก็ได้ ท่าน Tony Blair ว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก  ข้อสองสังคมจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่พูดถึงการปรองดอง ยอมรับความแตกต่างและความไม่พอใจ    
เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้  การปรองดองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุยลึกลงไปในประเด็นความยุติธรรมและความสมดุล  

ข้อสี่ การปรองดองจะต้องมาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับความเท่าเทียมไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา  ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง 
ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรมเพื่อให้คนในสังคมยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้น  การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาซึ่งนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใส และธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความปรองดองได้ง่ายขึ้น  

การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใสตรวจสอบได้ ทำให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น ให้เค้ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น  ก็ขอให้ทุกท่านได้นำไปพิจารณา ไตร่ตรอง

พูดมาทั้งหมดนี่ เราจะทำยังไง ที่เป็นชาวต่างประเทศพูดแล้วเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับทั้งโลก เขาพูดมาแบบนี้ ผมคิดว่าน่าคิด น่าเอามาเป็นวิธีการส่วนหนึ่งในการทำงานของเรา แต่ก็ต้องปรับให้ตรงกับบ้านเมืองของเราด้วย แต่ผมคิดว่าถูกต้องทั้งหมดนะ ทำให้ได้ก็แล้วกัน

พยายามทำทุกอัน เพราะงั้นเราต้องให้เกิดความสมานฉันท์อย่างยั่งยืนไม่ใช่เฉพาะตอนนี้ หรือเอาเรื่องปรองดองเรื่องผิดกฎหมายเรื่องคดีความเอามาปนกันไปหมด มันก็แกะอะไรไม่ออกเลยสักอัน กฎหมายก็ให้กฎหมายเขาทำงานไป ปรองดองก็ต้องเดินหน้าสร้างสังคมปรองดองกันให้ได้ รัฐบาลก็ขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา แล้วก็เตรียมการเลือกตั้งให้ได้

ตอนนี้เอาเรื่อง กฎหมาย ความผิดความถูก ตีกันอยู่ในการบริหาราชการแผ่นดิน ประเทศชาติสำคัญกว่าสำคัญที่สุด คนผิดก็ไปสู้คดีกันมา ก็ตัดสินกันออกมาแล้วกัน ตามกฎหมายเขาว่ายังไง ก็ฟังเหตุฟังผลกัน แต่ถ้าทะเลาะกันเรื่องความผิดตรงนี้ แล้วบอกว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนี้ แล้วรัฐบาลก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แล้วก็ทำเพื่อช่วย สองกลุ่ม สามกลุ่มนี้หรือเปล่า ขับเคลื่อนอะไรก็ไม่ต้องขับเคลื่อน เศรษฐกิจก็ปล่อยเป็นอย่างนี้ คนไม่มีอะไรกินก็ช่างเขาหรือไง ผมไม่เข้าใจผมถามท่านก็แล้วกัน

เพราะงั้นสิ่งทีเราทำมาหลายเรื่อง เรื่องที่ดำเนินงานไปแล้วเป็นรูปธรรม ท่านไปดูซิครับว่าทำอะไร ช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาภาระเบื้องต้น ข้าว ยางพารา อ้อย ลดต้นทุนการผลิต ก็เริ่มต้นทำให้ บริหารจัดการเรื่องราคา หาตลาด นี่พบปะทุกประเทศ พูดหมดน่ะในประชาคมโลก

นายก แจง การร่างรัฐธรรมนูญ

แจง ร่างรธน....
บิ๊กตู่ แจง ร่างรธน. อย่าโต้แย้ง อย่าคาดการณ์ ยังไม่เห็นสักบรรทัด แนะใช้ศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชนดีกว่า ผมคิดแบบนี้ ใครว่า ไม่ใช่ก็บอกมา ขอร้อง พวกทำบ้านเมืองไม่สงบ บ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ มีพวกออกมาเคลื่อนไหว ไม่ได้ ไม่เข่นนั้นจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมอีก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. กล่าวในรายการ คืนความสุขฯ ในเรื้องการร่างรัฐธรรมนูญ ว่าในข้อสังเกตของผมเอง ผมได้พูดกับรัฐบาลว่า ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา มักจะร่างขึ้นเนื่องมาจาก เหตุผลหลักก็คือเพื่อจะควบคุม กำกับดูแล หรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สาระใจความบางครั้งก็ทำให้เหมือนกับ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป หรือมองไม่ออกว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากตรงไหน
ผมได้พูดใน ครม. ว่า ให้ช่วยกันดูซิว่าจะทำยังไง เพราะเรามีการตั้งคณะกรรมการ ติดตามอยู่แล้วในเรื่องนี้นะครับ ว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหนแล้วก็ผลประโยชน์มากหรือน้อย ทุกอย่างถ้าเรามีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน ทุกงานทุกกระทรวง ประชาชนคือศูนย์กลางก็จะคิดออกหมด ไม่ใช่เอาเรื่องความขัดแย้ง ไม่ใช่เอามาเพื่อมีการต่อสู้กันอีกในวันหน้า ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย มาจากรัฐธรรมนูญ วันนี้ก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นกติกา แล้วเดินต่อไป
ผมไม่อยากให้เกิดการโต้แย้งกันอีกในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ วันนี้ยังไม่เห็นสักบรรทัดเลย วันนี้ก็มาคาดการณ์อย่างโน้นอย่างนี้ ผมก็ตอบท่านไม่ได้เหมือนกันว่าจะออกมาอย่างไร เพราะงั้น อย่าเอามาต่อสู้ผิดถูกกันเลย ตอนนี้ เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางดีกว่า ต่อไปก็ดูว่าเราจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างไร โปร่งใสอย่างไร มีประสิทธิภาพ ย้อนกลับไปที่กระบวนการบริหาร ถ้าปลายทางของรัฐธรรมนูญ ปลายทางของกฎหมาย ดูว่าประชาชน ย้อนกลับไปที่กระบวนการจะมาอย่างไร คนใช้สู่อำนาจจะเป็นยังไงผมว่าอย่างนั้นจะดีกว่า อันนี้คือหลักการ จะผิดหรือถูกผมไม่รู้ แต่ผมคิดแบบนี้
แล้วผมไม่ได้ให้ใครคิดตามผมด้วยถ้าใครคิดว่าไม่ใช่ก็บอกมา ฉะนั้นจะต้องไม่ใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง ทั้ง 2 ฝ่าย หรือ 3 ฝ่ายที่ผ่านมา จะด้วยเหตุผลที่ดีหรือไม่ดี ก็กฎหมายว่ามา จะมีการนำประชาชนบางส่วนที่เกิดความบาดเจ็บสูญเสีย เหล่านี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง

ปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้ว รัฐบาลและ คสช. ก็ได้เร่งผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่มีอยู่ ได้มีการอนุมัติรายชื่อกรรมาธิการฯ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี และ คสช. ไปแล้ว ในการประชุมร่วม ครม.-คสช. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อวันอังคาร ครั้งที่ 2 ได้พูดคุยกันหลายเรื่องหลายประเด็นในเรื่องของ งาน 3 งาน การบริหารราชการแผ่นดิน งานปฏิรูป งานรักษาความสงบเรียบร้อย ก็มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุย ระหว่าง คสช. และ ครม. ก็ไม่ได้ทับซ้อนอำนาจกันอะไรที่ คสช. ช่วยได้ คสช. ก็จะช่วยเต็มที่ภายในกรอบของกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ ถูกต้อง และชอบธรรม
ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นของ สปช. นั้น ก็คือตามกรอบที่ กำหนดไว้แล้วเดิม ก็มีการตั้งมา รับฟังความคิดเห็นอีกครับ แล้วจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญนี่ต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ในระหว่างนี้ มีการรับฟังมาตลอดทุกช่องทาง แต่ไปทำที่อื่นมาก็ค่อนข้างจะลำบากนะ เพราะช่องทางมันไม่ใช่ ก็พยายามเข้าหาช่องทางแล้วกัน
ผมทราบทุกคนมีความคิดเห็นแล้วทุกคนก็มีส่วนเข้าไปเป็น สปช. ก็มี เพราะงั้นเข้าไปทั้งหมดไม่ได้ เมื่อไม่ได้ก็ต้องหาช่องทางให้ ถ้าพูดข้างนอก กับข้างในไม่ตรงกันเลย แล้วจะฟังอันไหน พอข้างในตัดสินมาอย่างนี้ ข้างนอกก็ไม่รับ ผมว่าท่านต้องไปคุยกันมาให้ได้นะ ต้องรวมกันให้ได้
ผมเข้าใจว่าทุกท่านตั้งใจ มีแนวคิดที่ดี เสนอแนะที่ดี แต่อย่าลืมว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี่ จะบอกว่าทำไมไม่ได้เข้ามาก็มีกฎหมายอยู่ข้อเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูยนี้ เข้าเล่นการเมืองไม่ได้ 2 ปี นี่ไง เขาถึงไม่เข้ามากันไง คราวนี้ก็ไปพูดกันอยู่ข้างนอกพอสมควร ก็ไปดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอะไร เป็นเพราะอะไรนะ ผมไม่ได้ไปปิดกั้นใครทั้งสิ้นอยากให้เข้ามาทุกพวกทุกฝ่าย แต่เป็นประเด็นของการเมืองต่อไปในอนาคตอีก 2 ปี

ผมเข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะหาทางให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ต่อไปในเรื่องของการให้ สปช. ที่เรียนไปแล้วว่าเราตั้ง มีทั้งที่ปรึกษา มีทั้ง 2-3 อันนะ ตามของ กอรมน. บ้าง ตามของท่านปลัดกลาโหมก็ทำไปตามนั้น ชี้แจง กกต. ก็ชี้แจงไป มีข้อเสนออะไรก็เสนอมา

แจง ร่างรธน....
บิ๊กตู่ แจง ร่างรธน. อย่าโต้แย้ง อย่าคาดการณ์ ยังไม่เห็นสักบรรทัด แนะใช้ศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชนดีกว่า ผมคิดแบบนี้ ใครว่า ไม่ใช่ก็บอกมา ขอร้อง พวกทำบ้านเมืองไม่สงบ บ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ มีพวกออกมาเคลื่อนไหว ไม่ได้ ไม่เข่นนั้นจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมอีก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. กล่าวในรายการ คืนความสุขฯ ในเรื้องการร่างรัฐธรรมนูญ ว่าในข้อสังเกตของผมเอง ผมได้พูดกับรัฐบาลว่า ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา มักจะร่างขึ้นเนื่องมาจาก เหตุผลหลักก็คือเพื่อจะควบคุม กำกับดูแล หรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สาระใจความบางครั้งก็ทำให้เหมือนกับ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป หรือมองไม่ออกว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากตรงไหน
ผมได้พูดใน ครม. ว่า ให้ช่วยกันดูซิว่าจะทำยังไง เพราะเรามีการตั้งคณะกรรมการ ติดตามอยู่แล้วในเรื่องนี้นะครับ ว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหนแล้วก็ผลประโยชน์มากหรือน้อย ทุกอย่างถ้าเรามีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน ทุกงานทุกกระทรวง ประชาชนคือศูนย์กลางก็จะคิดออกหมด ไม่ใช่เอาเรื่องความขัดแย้ง ไม่ใช่เอามาเพื่อมีการต่อสู้กันอีกในวันหน้า ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย มาจากรัฐธรรมนูญ วันนี้ก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นกติกา แล้วเดินต่อไป
ผมไม่อยากให้เกิดการโต้แย้งกันอีกในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ วันนี้ยังไม่เห็นสักบรรทัดเลย วันนี้ก็มาคาดการณ์อย่างโน้นอย่างนี้ ผมก็ตอบท่านไม่ได้เหมือนกันว่าจะออกมาอย่างไร เพราะงั้น อย่าเอามาต่อสู้ผิดถูกกันเลย ตอนนี้ เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางดีกว่า ต่อไปก็ดูว่าเราจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างไร โปร่งใสอย่างไร มีประสิทธิภาพ ย้อนกลับไปที่กระบวนการบริหาร ถ้าปลายทางของรัฐธรรมนูญ ปลายทางของกฎหมาย ดูว่าประชาชน ย้อนกลับไปที่กระบวนการจะมาอย่างไร คนใช้สู่อำนาจจะเป็นยังไงผมว่าอย่างนั้นจะดีกว่า อันนี้คือหลักการ จะผิดหรือถูกผมไม่รู้ แต่ผมคิดแบบนี้
แล้วผมไม่ได้ให้ใครคิดตามผมด้วยถ้าใครคิดว่าไม่ใช่ก็บอกมา ฉะนั้นจะต้องไม่ใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง ทั้ง 2 ฝ่าย หรือ 3 ฝ่ายที่ผ่านมา จะด้วยเหตุผลที่ดีหรือไม่ดี ก็กฎหมายว่ามา จะมีการนำประชาชนบางส่วนที่เกิดความบาดเจ็บสูญเสีย เหล่านี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง

ปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้ว รัฐบาลและ คสช. ก็ได้เร่งผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่มีอยู่ ได้มีการอนุมัติรายชื่อกรรมาธิการฯ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี และ คสช. ไปแล้ว ในการประชุมร่วม ครม.-คสช. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อวันอังคาร ครั้งที่ 2 ได้พูดคุยกันหลายเรื่องหลายประเด็นในเรื่องของ งาน 3 งาน การบริหารราชการแผ่นดิน งานปฏิรูป งานรักษาความสงบเรียบร้อย ก็มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุย ระหว่าง คสช. และ ครม. ก็ไม่ได้ทับซ้อนอำนาจกันอะไรที่ คสช. ช่วยได้ คสช. ก็จะช่วยเต็มที่ภายในกรอบของกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ ถูกต้อง และชอบธรรม
ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นของ สปช. นั้น ก็คือตามกรอบที่ กำหนดไว้แล้วเดิม ก็มีการตั้งมา รับฟังความคิดเห็นอีกครับ แล้วจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญนี่ต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ในระหว่างนี้ มีการรับฟังมาตลอดทุกช่องทาง แต่ไปทำที่อื่นมาก็ค่อนข้างจะลำบากนะ เพราะช่องทางมันไม่ใช่ ก็พยายามเข้าหาช่องทางแล้วกัน
ผมทราบทุกคนมีความคิดเห็นแล้วทุกคนก็มีส่วนเข้าไปเป็น สปช. ก็มี เพราะงั้นเข้าไปทั้งหมดไม่ได้ เมื่อไม่ได้ก็ต้องหาช่องทางให้ ถ้าพูดข้างนอก กับข้างในไม่ตรงกันเลย แล้วจะฟังอันไหน พอข้างในตัดสินมาอย่างนี้ ข้างนอกก็ไม่รับ ผมว่าท่านต้องไปคุยกันมาให้ได้นะ ต้องรวมกันให้ได้
ผมเข้าใจว่าทุกท่านตั้งใจ มีแนวคิดที่ดี เสนอแนะที่ดี แต่อย่าลืมว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี่ จะบอกว่าทำไมไม่ได้เข้ามาก็มีกฎหมายอยู่ข้อเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูยนี้ เข้าเล่นการเมืองไม่ได้ 2 ปี นี่ไง เขาถึงไม่เข้ามากันไง คราวนี้ก็ไปพูดกันอยู่ข้างนอกพอสมควร ก็ไปดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอะไร เป็นเพราะอะไรนะ ผมไม่ได้ไปปิดกั้นใครทั้งสิ้นอยากให้เข้ามาทุกพวกทุกฝ่าย แต่เป็นประเด็นของการเมืองต่อไปในอนาคตอีก 2 ปี

ผมเข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะหาทางให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ต่อไปในเรื่องของการให้ สปช. ที่เรียนไปแล้วว่าเราตั้ง มีทั้งที่ปรึกษา มีทั้ง 2-3 อันนะ ตามของ กอรมน. บ้าง ตามของท่านปลัดกลาโหมก็ทำไปตามนั้น ชี้แจง กกต. ก็ชี้แจงไป มีข้อเสนออะไรก็เสนอมา