PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แถลงการณ์ ชาวไทย ...ถึงพี่น้องชาวมุสลิม

มีความเคลื่อนไหวอีกชุดหนึ่งที่มองว่าประเด็นการส่ง"ชาวอุยกูร์"ให้กับจีน เป็นเกมการเมืองผลประโยชน์ของฝ่ายอำนาจในประเทศไทย คือ คสช.และ"พล.อ.ประยุทธ์"นายกฯเวลานี้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์มากมายจากจีน

ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะชี้แจงชาวมุสลิมทั่วโลกว่าอย่าเข้าใจคนไทยผิด โดยสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือของรัฐบาลที่ไม่ได้มากจากการเลือกตั้ง..
////////

แถลงการณ์ ชาวไทย ...
เรียนพี่น้องชาวมุสลิมที่รัก

เนื่องด้วยกรณีที่รัฐบาลไทย ได้จับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ ส่งให้กับทางการจีนนั้น ประชาชนชาวไทย ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วยเลย. สืบเนื่องจากรัฐบาลนี้ มิได้มาจากการเลือกตั้ง เพราะได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ รัฐบาลจากประชาชน ตั้งแต่ 22. พ.ค. 57

ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลเผด็จการทหารได้ทำการร่วมมือทางการค้าหลายอย่างกับรัฐบาลจีน. เช่นการค้าอาวุธ โดยประชาชนไม่ยินยอมและกำลังต่อต้านอย่างหนัก

และในขณะส่งตัว พี่น้องชาวมุสลิมอุยกูร์ไปให้ทางการจีนนั้นเป็นไปในทางลับ ประชาชนไทยมิได้มีโอกาสรับรู้เลย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์. บุกสถานกงสุลไทยที่ตุรกี
เมื่อชาวไทยได้รับรู้ความจริงรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก ที่รัฐบาลนี้ ได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำผิดต่อกฎหมายสากล
ขอพี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลกได้โปรดอย่าโกรธเคืองชาวไทยที่บริสุทธิ์ ด้วยเลย
ซึ่งเราจะร่วมกันประณามรัฐบาลเผด็จการทหารร่วมกับพวกท่าน
และพวกเราจะขอสวดวิงวอนต่อ องค์อัลเลาะห์(ซ.บ.) ได้โปรดคุ้มครองพี่น้องมุสลิมอุยกูร์ ทั้ง107 คน ให้ได้รับความปลอดภัย
อัสลามมุอะลัยกุม ขอสันติสุขจงมีแด่ท่าน.
////
Dear, Muslim brothers and sisters
Due to the Thailand government Have arrested a fugitive Uighurs. Submitted to the Chinese authorities The people of Thailand No part with me. According to government Nor elected It was a coup to seize power of the government from the public since 22 May 2014.
Now, the regime has made several trade cooperation with the Chinese government. Such as the arms trade, the public did not agree and are very hard against.
And while extradition Muslim Uighurs to China was made in secret. Thailand does not have any public recognition. Until this happens. Thailand Turkish consulate attack
When the people of Thailand have been sad the truth is that this government has committed human rights abuses. And crimes against international law
Asked Muslims around the world, please do not be offended by the guiltless person of Thailand yet.
We will share with you condemn the military junta.
And we are asked to pray earnestly. Lord Allah Please protect Muslim Uighurs and 107 people to get to safety.
Assalmmalaikum



สัญญานบวกของ"กรีซ"

น่าจะเป็นส่ิงบอกเหตุที่ดี หลังตลาดหลักทรัพย์ในยุโรป รวมถึงในเยอรมันตอบรับแผนขอกู้เงินอียูของกรีซจำนวนสองล้านล้านบาทหรือ 53000 ล้านยูโร หลังผู้นำกรีซยอมรับเงื่อนไขกู้เงินตามที่อียูกำหนดไว้ เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ23 เพิ่มภาษีการค้าและท่องเที่ยว ตัดรายจ่ายกลาโหมกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทภายในปี 2559 ลดเงินสวัสดิการ ยกเลิกบำนาญในปี2562 เพิ่มอายุเกษียณเป็น67ปี ภายในปี 2565 และยอมใช้มาตราการรัดเข็มขัดลดรายจ่าย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่คล้ายกับข้อเสนอของอียู ซึ่งประชาชนกรีกลงมติไมเห็นด้วยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 
เป็นหนังคนละม้วนกับที่ผู้นำกรีซประกาศหลังการลงประชามติว่าจะไม่ยอมรับเงื่อนไขใดๆที่จะบังคับให้กรีซต้องใช้มาตราการรัดเข็มขัดอีก...
ใช้เงินไปกว่า 900 ล้านบาทจัดลงประชามติ เงินหายไปเฉยๆสนองความอยากของนักการเมืองฝ่ายซ้าย คงจำไม่ได้แล้วว่าพูดอะไรไปก่อนหน้านี้
วันอาทิตย์นี้ผู้นำอียูจาก28 ชาติจะหารือร่วมกันตัดสินอนาคตกรีซในอียู จะรับแผนกุ้เงินกรีซหรือไม่
ในภาพสีป๊าดประชุมพรรคซีริซ่าชี้แจงแผนกุ้เงิน คาดวันนี้รัฐสภากรีซจะลงมติรับแผนดังกล่าว ก่อนรมต.คลังยูโรโซนหารือในวันพรุ่งนี้

ตุรกี-จีน-ไทย กับประเด็นปัญหาอุยกูร์เติร์ก

BY MUNANIE, ON 7 ชั่วโมง AGO , UNDER ข่าวเด่น, สลามทูเดย์

(10 ก.ค.58) ในช่วงนี้ อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ทำให้หลายฝ่ายให้ความสนใจกับประเด็นอุยกูร์เติร์กในไทยหลังจากที่เงียบหายไปนับตั้งแต่หนึ่งปีที่ผ่านมา เมื่อได้พบกลุ่มชาวอุยกูร์เติร์กจำนวนหนึ่งอยู่ในป่า และกลุ่มเหล่านี้ก็ได้ถูกกักกันตัว เพื่อพิสูจน์สัญชาติ ที่พวกเขาต่างอ้างว่าเป็นชาวตุรกี

หากตั้งคำถามเบื้องต้นที่หลายคนสงสัย ก็คงจะเป็นอุยกูร์เติร์กนี่คือใครกัน?

ชาวอุยกูร์เติร์ก เป็นมุสลิมเชื้อสายเติร์ก ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับชาวตุรกีในปัจจุบัน หากแต่ว่าชาวอุยกูร์เติร์กนี้ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ซินเจียงของจีน ที่ซึ่งพวกเขาเองเรียก
ว่าเป็น เตอร์กิสถานตะวันออก ด้วยความต่างที่มี แต่ถูกผนวกรวมเข้ากับจีน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์เติร์กกับจีนจึงเกิดขึ้นเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้ามาปกครองประเทศ และใช้
นโยบายผสมกลมกลืน รวมถึงกดทับ อัตลักษณ์เดิมที่มีความต่างจากจีนโดยทั่วไปเป็นทุนเดิมของชาวอุยกูร์เติร์ก โดยพยายามที่จะยัดเหยียดความเป็นจีนให้กับคนเหล่านี้ และปิดกั้นเสรีภาพในเรื่อง
การประกอบศาสนกิจ ภายใต้แรงกดเช่นนี้ จึงทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวที่ต้องการปลดแอกพื้นที่นี้ให้เป็นอิสระเริ่มมีจำนวนที่มากขึ้นและเห็นชัด จนเกิดการปะทะกันเป็นความรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง ครั้ง

หนึ่งที่เป็นความรุนแรงเด่นชัด คือ ในปี 2009 ก็เกิดการปะทะครั้งใหญ่ขึ้นที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และถือเป็นจุดเริ่มต้นความรุนแรงระลอกใหม่ที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะเดียวกันนับตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ 9-11 ขึ้นก็ทำให้มีการอ้างว่ากลุ่มเคลื่อนไหวชาวอุยกูร์เติร์กในจีนนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะหฺ จนทำให้เกิดกระแสความหวาดกลัวเพิ่มขึ้นแก่สังคมจีน
ด้วยภาวะเช่นนี้ โดยเฉพาะการถูกห้ามจากการประกอบศาสนกิจ ทำให้ชาวอุยกูร์เติร์กหลายคนเริ่มแสวงหาที่พักพิงแห่งใหม่ให้กับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นปากีสถานที่เป็นประเทศใกล้เคียง รวมไปถึง
ประเทศในแทบเอเชียกลาง หรือ ตะวันออกกลาง

แน่นอนว่าประเทศหนึ่งที่เป็นเป้าหมายก็คือ ตุรกี ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่ชาวอุยกูร์เติร์กได้ย้ายถิ่นไปนับตั้งแต่ปี 1965 ซึ่งตุรกีได้ส่งเครื่องบินไปรับชาวอุยกูร์เติร์กมาจากอัฟกานิสถานที่พวกเขาเดินเท้าอพยพออกมา จำนวนกว่า 200 คน แม้ว่าก่อนหน้านี้ในช่วงปี 1933-34 ตุรกีจะรับ Isa Yusuf Alptekin หัวหน้าของเตอร์กิสถานที่อพยพเข้ามาก่อนแล้ว นับแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการอพยพของชาวอุยกูร์เติร์กมาสู่ตุรกีตลอดมา สิ่งหนึ่งที่มีร่วมกันที่ทำให้ตุรกียอมรับก็เนื่องจากความเป็นเชื้อสายเติร์กที่มีอยู่เหมือนกัน และยิ่งชัดเจนขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจลปี 2009 ที่จำนวนผู้อพยพเริ่มสูงขึ้น และเป็นช่วงเวลาที่พรรครัฐบาลสายอิสลามได้บริหารประเทศ ซึ่งได้ประกาศจุดยืนชัดเจนในการประณามจีนในเวลานั้น ประกอบกับรัฐบาลพรรคอัคมีนโยบายในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศมุสลิมและประเทศยากไร้เป็นทุนหนุนเสริมที่ทำให้ตุรกีกลายเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นของชาวอุยกูร์เติร์กที่ต้องการอพยพ และด้วยประเด็นนี้ทำให้ตุรกีกับจีนเองแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ด้วยดี แต่ก็ยังคงเรียกร้องพร้อมประณามรัฐบาลจีนทุกครั้งหากมีการกดขี่ต่อชาวอุยกูร์เติร์กเกิดขึ้น

แล้วเหตุใดไทยจึงมาเกี่ยวข้อง?

สืบเนื่องจากเมื่อปีที่แล้วที่มีข่าวว่าพบกลุ่มคนไม่ทราบสัญชาติเดินทางเข้าเมืองไทยมาในขณะที่กำลังค้นหากลุ่มอพยพชาวโรฮิงญา เมื่อได้มีการกักกันตัวไว้ แล้วสอบสวน กลุ่มคนเหล่านี้ก็ได้อ้างตัว
ว่าเป็นชาวตุรกี ที่ต้องการเดินทางไปยังตุรกี และหลังจากนั้นจึงเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นชาวอุยกูร์เติร์ก ภายหลังจากนั้น ไทยก็กักตัวกลุ่มเหล่านี้ไว้ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป โดยตุรกีได้ออกรับว่าตุรกีเองพร้อมที่จะรับกลุ่มนี้เข้าสู่ตุรกี แต่ทางการจีนก็ได้ยื่นข้อเสนอว่าขอให้ไทยส่งตัวกลับ กระบวนการเจรจาต่อรองเป็นไปด้วยระยะเวลาหนึ่ง กระทั่งเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 58 ไทยได้ส่งชาวอุยกูร์เติร์กจำนวน 173 คนไปยังตุรกี โดยที่ส่วนมากเป็นเด็กและผู้หญิง ซึ่งได้สร้างความประทับใจและความสบายใจมากขึ้น ที่เหตุการณ์กำลังดำเนินไปด้วยดี ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ผู้อพยพมีสิทธิร้องขอไปยังประเทศที่สามได้ หากมองว่าการกลับคืนสู่ประเทศเดิมนั้นจะเกิดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 แต่เมื่อกลางดึกของวันที่ 8 กรกฎาคม 58 ก็มีข่าวการประท้วงของชาวอุยกูร์เติร์กในตุรกีหน้าสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ในอิสตันบูล เนื่องจากความไม่พอใจที่รัฐบาลไทยได้ส่งคนจำนวนกว่า 109 คน ซึ่งมีผู้หญิงและเด็กรวมอยู่ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ชาย กลับไปจีนอย่างลับๆ ด้วยเครื่องบินของกองทัพ ในวันต่อมา ก็ได้เกิดเป็นประเด็นขึ้นจนรัฐบาลไทยออกมาระบุว่าได้ส่งกลับประเทศจีน เนื่องจากผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วว่ากลุ่มนี้เป็นชาวจีน ในขณะที่กลุ่มก่อนหน้านี้นั้นเป็นกลุ่มที่ไม่มีความผิดใดๆ ตามกฎหมายและประสงค์เดินทางไปตุรกี ซึ่งการประท้วงจึงขยายไปสู่สถานทูตไทยในตุรกี แม้ว่าจะไม่ได้มีความรุนแรงเฉกเช่นที่เกิดขึ้นที่สถานกงสุลก็ตาม

ผลจากการส่งกลับครั้งนี้เป็นอย่างไร?

แน่นอนว่าตัวละครต่างๆ ต่างก็มีผลสะท้อนที่ต่างกันไป เริ่มจากไทยเองที่ยืนยันว่าการส่งตัวผู้อพยพกลับจีนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะกระบวนการพิสูจน์สัญชาติออกมาเป็นเช่นนี้ และระบุว่าจีนจะรับรองความปลอดภัย ซึ่งส่วนนี้ก็เป็นที่วิพากษ์ว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลไทยเองต้องการที่จะเอาใจจีนมากขึ้น เพราะต้องการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้น ซึ่งหากส่งตัวทั้งหมดไปยังตุรกีก็อาจทำให้จีนเองไม่พอใจ

ท่าทีของฝ่ายจีน แม้จะเรียกร้องว่ากลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่ทางจีนต้องการตัว แต่หลังจากการส่งตัวกลับก็ยังไม่มีปฏิกิริยาใดจากจีน นอกจากการรับรองความปลอดภัยกับผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิดและยินดีที่จะให้มีผู้แทนในการติดตามผล

ส่วนท่าทีของตุรกี กระทรวงต่างประเทศของตุรกีได้ออกประณามการกระทำของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ โดยมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่แม้ทราบว่าการส่งคนกลับไปจะเป็นอันตรายต่อชีวิต

แม้ตุรกีจะยินดีรับไว้แล้วก็ตามและจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด แต่ขณะเดียวกันประธานาธิบดีแอร์โดอานเองก็ออกมาระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการบุกรุกสถานกงสุลของไทยและทุกคนคือแขกของประเทศ เอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทยก็ยืนยันที่จะรักษาความปลอดภัยให้กับชาวไทยในตุรกี อย่างไรดี ท่าทีของตุรกีในครั้งนี้ก็อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองที่กำลังเป็นไปในประเทศไม่น้อย เมื่อกลุ่มขบวนการชาตินิยมตุรกีเองก็มีการเข้าร่วมสนับสนุนประท้วงจีนที่เกิดขึ้นก่อนหน้าไม่นานมานี้ และการช่วยเหลือชาวอุยกูร์เติร์กในก่อนหน้านี้ก็ทำให้กลุ่มชาตินิยมที่เป็นอีกกลุ่มซึ่งพรรคอัคเล็งว่าจะดึงเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสมพอใจไม่น้อย แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของตุรกีเองก็ตาม อย่างไรก็ตามในแง่ความสัมพันธ์

ไทยตุรกีในประเด็นอื่นนั้นยังไม่ได้รับผลกระทบอันใด

นอกจากนี้แล้วยังมีท่าทีที่ออกมาจากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UNHCR, Human Rights Watch และสภาอุยกูร์เติร์กโลก ที่ออกมาแสดงความกังวลและมองว่าไทยกำลังทำสิ่งที่ขัดกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล รวมไปถึงสหรัฐอเมริกาเองที่ออกมาแสดงความกังวลนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่เนรเทศเชิงบังคับผลักไสชาวอุยกูร์เติร์กเหล่านั้นออกนอกประเทศอีก ท่าทีของสหรัฐฯในครั้งนี้ออกมาเพื่อที่จะแสดงจุดยืนที่ค้านต่อจีนด้วยเช่นกัน แม้ว่าสหรัฐเองก็ไม่ได้มีท่าทีที่เป็นมิตรนักต่อตุรกีก็ตาม

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ถือว่าทำให้ภาพลักษณ์ของไทยนั้นเสียหายไม่ใช่น้อย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สิ่งที่ไทยต้องพิสูจน์หากจะเรียกความเชื่อมั่นกลับมา นั่นคือ กระบวนการติดตามผลที่จีนได้เสนอไปนั้นไทยจะต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการต่อส่วนที่เหลือในประเทศให้เป็นไปตามกรอบสิทธิมนุษยชนสากล

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ของคนไทยในตุรกีนั้นก็อาจไม่น่าเป็นห่วงมากนักแม้ว่าจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดก็ตาม แต่เมื่อมีกระบวนการตกลงตลอดจนการแถลงจุดยืนในการต้อนรับแขกอย่างให้เกียรติของประธานาธิบดีแล้วก็เป็นเสมือนการแสดงท่าทีของตุรกีในเรื่องของความปลอดภัยในตุรกีเช่นกัน ขณะเดียวกันนอกจากการประณามแล้ว ก็ยังไม่มีสถานการณ์ที่ชัดเจนของตุรกีนักต่อไทย เพราะไทยเองในสถานการณ์นี้ก็เปรียบเสมือนกับคนกลาง แต่หากไทยยังคงดำเนินการที่ซ้ำรอยในอนาคตก็อาจสร้างความไม่พอใจได้มากขึ้น

ที่มา : ยาสมิน ซัตตาร์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสตันบูล


กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ออกแถลงประณามไทย

กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ออกแถลงประณามไทย ต่อกรณีเนรเทศชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอุยกูร์กว่า 109 คนไปยังจีน เรียกร้องไทย เคารพพันธสัญญาระหว่างประเทศด้วยการไม่ขับไล่ผู้ลี้ภัย
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จอห์น เคอร์บี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ออกแถลงการณ์ประณามทางการไทย โดยระบุว่า สหรัฐฯรู้สึกผิดหวังไทยอย่างยิ่ง"เราขอประณามไทยที่บังคับเนรเทศชนกลุ่มน้อยอุยกูร์กว่า 100 คนไปจีนในวันที่ 9 กรกฎาคมพวกเขาเสี่ยงถูกปฏิบัติอย่างรุนแรงโดยไม่ชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมายจากทางการจีน
ทั้งนี้ทางการไทยเปิดเผยเมื่อวันที่ 9ก.ค.ได้ส่งตัวสตรีและเด็กชาวอุยกูร์ราว 170 คนไปยังอิสตันบูลเมื่อปลายเดือน มิ.ย.หลังถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้นานกว่า 1 ปี ส่วนอีกประมาณ 100 คน ส่งไปยังจีน ในวันที่ 8ก.ค. ที่ผ่านมา 

ยัน คสช.ไม่ได้กดดัน "ยิ่งลักษณ์" ต้องมาออกรายการทีวี.คสช.

"พลเอกฉัตรเฉลืม" ยัน คสช.ไม่ได้กดดัน "ยิ่งลักษณ์" ต้องมาออกรายการทีวี.คสช. ยึดความสมัครใจ เผย"อภิสิทธิ์"ตอบรับแล้ว จันทร์หน้า ออกรายการ"เดินหน้าปฎิรูป"
บิ๊กเบี้ยว พลเอกฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก ในฐานะรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงกรณีที่ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูป(ศปป.) เตรียมเชิญแกนนำนักการเมือง เช่น นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาออกรายการ"เดินหน้าปฎิรูป" ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และ ช่อง 11 ว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะทางศูนย์ปรองดองฯ มีตั้งใจเชิญอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล นส.ยิ่งลักษณ์ และ นายอภิสิทธิ์ มาร่วมแสดงความคิดเห็นและระดมความคิดเพื่อสร้างความปรองดองสู่การปฎิรูปประเทศ
แต่เมื่อได้รับการตอบรับที่ดี จากหัวหน้าพรรคการเมือง ที่จะมาให้ความร่วมมือสร้างความปรองดองเป็นเรื่องที่น่ายินดี
โดยนายอภิสิทธ์ ได้ตอบรับ และจะมาร่วมออกรายการเพื่อหาทางทางแก้ไขปัญหาประเทศ
เพราะก่อนหน้านี้ได้เชิญ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ และ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ มาร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เสธ.ทบ. ยืนยันว่า ศูนย์ปรองดองไม่ได้สร้างความกดดันให้กับ นส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะต้องมาร่วมออกรายการเดินหน้าปฎิรูป แต่หาก นยิ่งลักษณ์ ความต้องการที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ทางศูนย์ปรองดองพร้อมต้อนรับ
"เราไม่ได้ไปบีบให้คุณยิ่งลักษณ์ ต้องมา มันไม่ใช่นะ เพราะเรามีความตั้งใจที่จะเชิญรัฐมนตรีใน 2 รัฐบาล ทั้งคุณยิ่งลักษณ์และคุณอภิสิทธิ์ เพราะความรู้ความเข้าใจในเรื่องของงานที่ทำ
แต่ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ในแต่รัฐบาลก็จะมองในภาพรวม แบบกว้างๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ คุณอภิสิทธ์ ตอบรับที่จะมาออกรายการให้ในวันจันทร์ เพราะเมื่อจันทร์ที่ผ่านมา คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ก็ตอบรับมาร่วมออกรายการแล้ว ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะเดินหน้าปฎิรูปประเทศ”


เสียงด่านมากกว่าชมกรณีส่งกลับอุยกูร์ไปให้จีน

การคำนวนค่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างง่าย
หลังจากรัฐบาลไทยส่งชาวอุยกูร์ (Uighur) จำนวน 109 คนไปจีนแล้วประเทศไทยได้รับปฏิกิริยาจากนานาชาติดังนี้
UNHCR คือสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ "ตกใจ" ถึงขั้น ซ๊อคที่ได้รู้ข่าวนี้
รัฐบาลตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาอยากจะไปอยู่เสียใจที่ได้รับข่าว
สหรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรด้วยเท่าไหร่ ถึงกับประนามเลยทีเดียว
Human Rights Watch องค์กรแรกๆที่เตือนให้นักข่าวตามข่าวการส่งกลับ ก็อยู่ในอาการซ๊อคเช่นกัน
รัฐบาลจีน ซึ่งน่าจะแสดงการขอบคุณและออกมาปกป้องไทยอย่างทันท่วงที เมื่อวานโฆษกหญิงกระทรวงการต่างประเทศจีนพูดแค่ว่า ผู้ย้ายถิ่นผิดกฏหมายรบกวนระเบียบระหว่างประเทศในการเดินทางเข้าออกประเทศต่างๆ รัฐบาลจีนมีนโยบายชัดเจนว่าผู้ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวเป็นอาชญากรต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
สรุปได้ไม่คุ้มเสีย เพราะโดนด่ามากกว่าชม
แต่พูดแค่นี้ก็ไม่เป็นธรรม เพราะตั้งแต่ตามข่าวประเภทนี้มายังไม่เจอกรณีใดเลยไม่ถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด่า แต่ข้อสังเกตุคือ ถ้าให้ทหารจัดการเรื่องนี้เมื่อไหร่โดนด่าเยอะสุด เพราะว่า ทำแบบไม่แคร์สายตาชาวโลกเลย (ไม่แคร์สื่ออยู่แล้วไม่ว่ากัน)
ความจริงมีวิธีมากมายที่จะทำเรื่องนี้ได้ง่ายๆแบบไม่โดนด่ามาก วิธีที่นิยมกันมากคือ มอบให้ยูเอ็นและเอ็นจีโอระหว่างประเทศจัดการหรือสื่อสารผ่านพวกเขา อาจารย์ใหญ่ของผมท่านบอกว่า ยูเอ็นมันเป็นองค์กรที่น่ารำคาญที่มาช่วยเฉลี่ยกระจายบาปเรื่องนี้ได้ดีที่สุด
อีกที่วิธีหนึ่งที่รัฐบาลจะโดนด่าน้อยลงคือ เอาเข้ากระบวนการยุติธรรม ตัวอย่างเรื่องนี้คือ จับกุมเขาในฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย ฟ้องศาลเพื่อส่งกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม ศาลจะไต่สวน ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเขามาจากไหนก็ส่งกลับไปทางนั้น ผลอาจจะออกมาเหมือนกันแหละพวกเขาอาจจะต้องกลับไปจีน แต่กระบวนการในพิจารณาในศาลนั้นเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปฟังได้ (สมัยก่อนผมหาข่าวนี้แถวตีนโรงตีนศาลนั่นแหละ) ยูเอ็น เอ็นจีโอ รับรู้หมด
แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม หลักสากลที่สุดที่ต้องคำนึงถึงคือ หลักกฎหมายระหว่างประเทศ non-refoulement คือการทีว่าจะไม่มีการผลักดันให้ผู้อพยพหรือลี้ภัยต้องกลับเข้าไปสู่การลงโทษในประเทศที่เขาหนีออกมา ผู้ที่จะได้รับการคุ้มครองจากหลักการนี้คือ ผู้ที่มีสิทธิได้สถานะผู้อพยพหรือลี้ภัย (ส่วนใหญ่เป็นภัยการเมือง)
ทุกแถลงการณ์ที่ตำหนิการกระทำของรัฐบาลไทยนั้นอ้างหลักการนี้เหมือนกันหมด ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์ว่ารัฐบาลไทยดำเนินการตามหลักกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศกลับไม่สามารถอ้างหลักการใดในกฎหมายและพันธกรณีเช่นว่านั้นเลย
ถ้าจะว่าไปเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นอะไรที่น่าสงสารมากในเวลานี้ คือ ไม่ได้ตัดสินใจทำอะไรกะเขาเลยสักอย่าง แต่ต้องอธิบายการกระทำของทหารที่ตัวเองก็ไม่เห็นด้วย (มันน่าช้ำใจจริงๆกับมาดแมนๆของทหารไทยที่ชอบปล่อยอาจมให้เพื่อนร่วมชาติเช็ด)

บิ๊กตู่ คุย ฮอร์นัมฮง ยกเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ทั้งไทยและกัมพูชา

บิ๊กตู่ คุย ฮอร์นัมฮง ยกเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ทั้งไทยและกัมพูชา ไว้เนื้อเชื่อใจกันและลดความหวาดระแวง ชายแดนสงบ ช่วยดูแลแรงงานเขทมร ไทยเตรียม ส่งคืนวัตถุโบราณเขมร อีก

ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการหารือรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ (Foreign Minister Retreat)

พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ และคณะ ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ จะมีพิธีส่งมอบโบราณวัตถุคืนให้กับกัมพูชา ที่ กระทรวงการต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความจริงใจและไมตรีจิตที่ไทยมีต่อกัมพูชา ตลอดจนสะท้อนถึงความร่วมมืออันดีด้านวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศ ในปีนี้ ไทยและกัมพูชาครบรอบ 65 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน 
"นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ทั้งไทยและกัมพูชาจะร่วมกันพัฒนาความสัมพันธ์ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันและลดความหวาดระแวง เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ"

รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและแจ้งให้ทราบว่า รัฐบาลกัมพูชาได้เตรียมพร้อมในการเสด็จฯ กัมพูชาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในช่วงต้นปีหน้า
โดย นาย ฮอร์นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ กล่าวเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า ทรงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของแรงงานกัมพูชา ยืนยันได้ว่าความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามีทุกระดับ ทั้งระดับราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชน
นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ ยังชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาที่แน่นแฟ้น สถานการณ์ตามแนวชายแดนก็มีความสงบเรียบร้อย

ทั้งผู้นำทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและหารือระหว่างกันในโอกาสต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม 2557 และการพบหารือกับสมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุม ACMECS ครั้งที่ 6 ณ กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และการประชุม Mekong – Japan Summit ครั้งที่ 7 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีหวังว่าจะได้ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้นี้
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ ยังได้หารือเรื่องความร่วมมือทางด้านแรงงาน
โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงต่อแรงงานที่เข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้นายจ้างนำแรงงานผิดกฎหมายมาจดทะเบียน จากนี้ไป จะมีการสุ่มตรวจและดำเนินคดีกับนายจ้างหรือนายหน้าที่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้ฝ่ายกัมพูชาเร่งรัดการตรวจสัญชาติและการออกหนังสือเดินทางให้แก่แรงงานชาวกัมพูชา และหากกัมพูชาต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานในด้านใด ไทยก็พร้อมสนับสนุนเพิ่มเติม ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานกัมพูชาตามแนวชายแดนอยู่แล้ว เนื่องจากมีชาวกัมพูชาที่มีถิ่นพำนักบริเวณชายแดนเข้ามาทำงานแบบไป-กลับ และแบบตามฤดูกาลด้วย

รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯ ก็ได้แสดงความขอบคุณที่รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือแรงงานกัมพูชา พร้อมชื่นชมการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชายังเห็นสอดคล้องกันว่า ทั้งสองประเทศต้องเร่งผลิตผู้จบการศึกษาสายวิชาชีพ เพราะการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งชาวไทยและกัมพูชา จะช่วยทำให้ทั้งสองประเทศเกิดผลประโยชน์เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สำหรับการขยายมูลค้าการค้าและการลงทุน นายกรัฐมนตรีกล่าว ไทยและกัมพูชาควรส่งเสริมความ
เชื่อมโยงระหว่างกันทั้งทางบกและทางทะเล โดยนายกรัฐมนตรียินดีร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชาเปิดจุดผ่านแดนสตึงบทให้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อบรรเทาปัญหาความแออัดของจุดผ่านแดนอรัญประเทศ-ปอยเปต ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฯกล่าวสนับสนุนโดยมองจุดผ่านแดนสตึงบทเหมาะเป็นจุดในการขนถ่ายสินค้า ขณะที่อรัญประเทศเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ไทยและกัมพูชาควรมีการการเชื่อมโยงในเรื่องการท่องเที่ยวและเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งทางบก อากาศ และทะเล นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีฯเห็นตรงกันว่าควรพัฒนาพื้นที่หนองเอี่ยน-สตึงบทในระยะแรก ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะมอบหมายให้ส่วนที่เกี่ยวข้องหารือในรายละเอียดต่อไป


สภาอุยกูร์โลก เป็นห่วงชะตากรรม ไทยส่งมุสลิม-อุยกูร์กว่า 90 คนกลับจีน !

สภาอุยกูร์โลกออกแถลงการณ์เป็นห่วงชะตากรรมชาวมุสลิมชนเผ่าอุยกูร์ อ้างแหล่งข่าว ชาวมุสลิมอุยกูร์กว่า 90 คน ถูกทางการไทยเนรเทศ ส่งตัวกลับจีน ขณะที่ นสพ.ท้องถิ่นในตุรกี รายงานความเคลื่อนไหวดังกล่าวของไทยด้วย

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 58 เว็บไซต์ ของ วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รายงาน สภาอุยกูร์โลกออกแถลงการณ์อ้างแหล่งข่าวว่า ชาวมุสลิมชนเผ่าอุยกูร์กว่า 90 คน ประกอบด้วยผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ถูกทางการไทยเนรเทศส่งตัวกลับประเทศจีน หลังจากถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 1 ปี
แหล่งข่าวของสภาอุยกูร์โลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ได้รายงานว่า ชาวมุสลิมชนเผ่าอุยกูร์เหล่านี้ได้ถูกนำตัวออกจากสถานกักกัน 5 แห่ง ทั่วประเทศไทย มายังสนามบินใกล้กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 8 ก.ค. 58 ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวของทางการไทยในการเนรเทศชาวมุสลิมอุยกูร์ที่ถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทยกลับไปจีนนั้น ยังได้รับการรายงานในหน้า นสพ.Yenisafak ของตุรกี ด้วย

ขณะเดียวกัน สภาอุยกูร์โลกได้แสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่ง ต่อชะตากรรมของชาวมุสลิมชนเผ่าอุยกูร์เหล่านี้ เนื่องจากเกรงว่า พวกเขาจะเผชิญหน้ากับการลงโทษหากเดินทางถึงจีน

ทั้งนี้ เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 8 ก.ค. 58 เกิดเหตุกลุ่มผู้ประท้วงชาวตุรกีบุกก่อเหตุรุนแรง ทำลายทรัพย์สินที่สถานกงสุลไทย ณ นครอิสตันบูล แต่ไม่มีรายงานเจ้าหน้าที่ไทยได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทำให้สถานเอกอัครราชทูตไทยในตุรกีได้ออกคำเตือนให้ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในตุรกีระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น และติดตามข่าวสารจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอังการา อย่างใกล้ชิด

ขณะที่กระแสต่อต้านจีนในประเทศตุรกีได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ถึงขั้นผู้ประท้วงจุดไฟเผาธงชาติจีน และบุกทำลายสร้างความเสียหายให้แก่ร้านอาหารของชาวจีนหลายแห่งในนครอิสตันบูล หลังจากทราบข่าวทางการจีนสั่งห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมชนเผ่าอุยกูร์ ที่เขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ ถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน เป็นเหตุให้ สถานเอกอัครราชทุตจีน ณ กรุงอังการา ได้ประกาศเตือนชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในตุรกีอาจเผชิญกับการถูกโจมตีและทำร้ายร่างกาย หลังเพิ่งเกิดเหตุชาวมุสลิมในตุรกีสายเคร่งได้รุมทุบตีนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ใกล้เขตพระราชวังในนครอิสตันบูล เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นชาวจีน


ทูตไทยประจำอเมริกา มั่นใจ สหรัฐอเมริกา จะยกระดับไทยTIP report ค้ามนุษย์ ดีขึ้น เร็วๆนี้

โพสต์ทูเดย์---ทูต"พิศาล" ทูตไทยประจำอเมริกา มั่นใจ สหรัฐอเมริกา จะยกระดับไทยTIP report ค้ามนุษย์ ดีขึ้น เร็วๆนี้/บิ๊กเจี้ยบ นำโขนไทย ไปแสดงที่UN New York พอใจสหรัฐฯเข้าใจไทย ให้เกียรติ
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เปิดเผยถึงการนำโขนรามเกียรติ์มาแสดงที่องค์การสหประชาชาติ และโรงละครคาร์เนกี ฮอลล์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากสมาชิกสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาที่เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทย และต้อนรับให้เกียรติเหมือนรัฐมนตรีประเทศอื่นๆ ซึ่งวันนี้ ทุกประเทศมองไปข้างหน้าถึงความร่วมมือที่จะมีขึ้นในอนาคตมากกว่า
นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ที่ไทยถูกจัดลำดับTier 3 ที่สหรัฐกำลังจะมีการประกาศผลการพิจารณาจัดลำดับTIP Report ใหม่ในเร็วๆนี้ว่า ส่วนตัวมีความมั่นใจว่าไทยได้พยายามแก้ปัญหาอย่างจริงจังมาตลอด ไม่ได้ทำเพราะตอบโจทย์การบ้านของหน่วยงานใด แต่ทำเพื่อความถูกต้องและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ไทยควรมั่นใจที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป ไม่ว่าใครจะจัดลำดับอย่างไรถือเป็นวิธีการของประเทศนั้นๆ
หากพิจารณาจากหลังเดือนมี.ค. พบว่าไทยได้ดำเนินการจับกุมและแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งตรงกันข้ามกับในช่วงก่อนเดือนมี.ค.ที่อาจถูกมองว่าไม่มีความคืบหน้าเพียงพอในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องถูกจัดลำดับใน Tier 3---Post Today


ผลกระทบไทยส่งอุยกูร์ให้จีนอาจแรงกว่าที่คาด?


นักวิชาการด้านอิสลามและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนววิพากษ์จำนวนหนึ่งพูดมานานแล้วว่าอิสลามเป็นศาสนาที่มีความเชื่อมโยงกันระดับโลกสูงมาก ศาสนาอื่นไม่ค่อยมีความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องระหว่างคนศาสนาเดียวกันแบบนี้ แต่อิสลามมี ต่อให้อาจมาจากคนละชาติ คนละสีผิว และคนละเผ่าพันธ์ุกันก็ตาม
การส่งตัวคนอุยกูร์เกือบร้อยกลับจีนโดยที่เขาไม่เต็มใจนั้นเสี่ยงมากที่จะทำให้ประเทศไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชนอิสลามในโลก ในแง่ภาพรวมนั้น อุยกูร์เป็นเผ่าพันธุ์ที่มีวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี ฯลฯ เหมือนยุโรปกลางมากกว่าจีนจนพูดได้ว่าไม่มีอะไรคล้ายจีนเลย อุยกูร์ถูกจีนใช้กำลังบังคับให้เป็นจีนเพราะอยู่ในดินแดนซึ่งจีนยึดเป็นของจีน ความเหินห่างและไม่พอใจจีนจึงมีมาก และจีนก็ทำกับอุยกูร์แบบทำกับคนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ชนชาติฮั่นไว้เลวร้ายจริง

อุยกูร์เป็นพลเมืองจีนแบบที่รัฐบาลนี้พูดไว้ แต่พวกเขาเป็นพลเมืองจีนกลุ่มที่ไม่ลงตัวกับอำนาจในจีนสองแบบ แบบแรกคือเผด็จการทหารของคอมมูนิสม์จีนที่มองอุยกูร์เป็นพวกก่อความไม่สงบ แบบที่สองคือชาตินิยมของชนชาติฮั่นในจีนที่มองอุยกูร์เป็นชนชาติที่ต่ำกว่า พวกเขาเป็นพลเมืองจีนเพราะถูกบังคับให้เป็น การต่อต้านจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ และเผด็จการทหารของคอมมูนิสม์ชาตินิยมฮั่นก็จัดการอุยกูร์หนักขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหมือนกัน

การส่งอุยกูร์ให้จีนน่ารังเกียจเหมือนตอนส่งโรฮิงญาให้พม่า เพราะเป็นการส่งแบบที่เจ้าตัวเขาไม่อยากไป เขาหนีมาเพราะอยู่ไม่ได้ และการจับส่งกลับไปก็คือส่งเขาไปให้จีนหรือพม่าลงโทษเท่านั้น แต่อุยกูร์ต่างจากโรฮิงญาเพราะมีคนอุยกูร์ในซินเจียงเกินกว่าสิบล้าน มีความเชื่อมโยงกับอิสลามในยุโรป มีความมั่งคั่ง มีอารยธรรมเก่าแก่ มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี และมีประเทศที่พร้อมรับเขาอย่างตุรกี

ความเขลาของบุคคลและนโยบายที่ส่งอุยกูร์ไปจีนเสี่ยงต่อการเอาไทยไปเผชิญหน้ากับชุมชนมุสลิมในโลกแน่ๆ ถัดจากนั้นคือเอาไทยไปเผชิญหน้ากับชุมชนสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีก ไม่ต้องพูดถึงการพาไทยไปเป็นคู่ขัดแย้งกับมุสลิมที่ปกป้องอุยกูร์ในตุรกี แค่สามเรื่องนี้ก็พูดได้แล้วว่านี่เป็นนโยบายที่ไม่ควรทำและผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
ประเทศไทยและคนไทยดีเกินกว่าจะต้องเจออะไรแบบนี้อีกต่อไป
ภาพจาก www.cbsnews.com


นักเคลื่อนไหวสิทธิในไทยชี้กระบวนการส่งอุยกูร์ให้จีนไม่โปร่งใส

ชี้กระบวนการส่งอุยกูร์ให้จีนไม่โปร่งใส กลุ่มนักสิทธิและภาคประชาสังคมมุสลิมเรียกร้องรัฐบาลเปิดข้อมูลให้หมด แถมระบุการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน ย้ำห่วงผลกระทบต่อสถานะไทยในเวทีโลกของไทยรวมทั้งความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม
นักรณรงค์เรื่องสิทธิและภาคประชาสังคมหลายคนได้แถลงเรื่องนี้ที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยวันนี้ ทุกคนเรียกร้องไทยให้ละเว้นจากการส่งตัวอุยกูร์ที่เหลือให้จีนอีก
นายสุนัย ผาสุก แห่งกลุ่มฮิวแมนไรซ์วอช กล่าวถึงการส่งตัวอุยกูร์ของไทยว่านอกจากละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว หากยึดถือตามข้ออ้างของไทยที่ว่าทำไปเพราะจีนส่งหลักฐานยืนยันว่าพวกเขาพัวพันการกระทำผิดในจีนนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนส่งการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ไม่สามารถตัดสินใจและส่งตัวได้ทันที ขณะที่นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ มูลนิธิศักยภาพชุมชนกล่าวว่า จะต้องพิจารณาด้วยว่า หลักฐานที่จีนนำเสนอนั้นเป็นมาตรฐานของใคร เพราะแม้แต่คำว่าก่อการร้ายในทัศนะของจีนก็เป็นเพียงผู้ที่จีนถือว่าต่อต้านรัฐบาล เป็นคำจำกัดความในเรื่องของการก่อการร้ายที่ต่างจากขององค์กรที่ทำงานในภาคประชาสังคม
นายสุนัย กล่าวด้วยว่า ในกระบวนการส่งตัวกลับพบว่ากระทำอย่างลับๆและรีบร้อน ในยามวิกาลและไม่มีการแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ตนเองถูกปลุกในตอนกลางคืนด้วยโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากนักกิจกรรมอุยกูร์ในไทย แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ ขณะที่นางชลิดาระบุว่า จากการที่พยายามขอเข้าพบเพื่อหาคำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ที่ควรมีส่วนเกี่ยวข้องก็พบว่า การตัดสินใจส่งตัวอุยกูร์ให้จีนหนนี้เป็นการตัดสินใจของคนกลุ่มน้อยในรัฐบาลเพียงไม่กี่คนโดยที่เจ้าหน้าที่แม้แต่ของกระทรวงการต่างประเทศก็ยังไม่รู้
นอกจากนั้นนายสุนัยกล่าวด้วยว่า การจะบังคับส่งตัวโดยใช้หลักพิสูจน์สัญชาติ ก็จะต้องมีองค์กรอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพิสูจน์สัญชาติโดยเฉพาะ UNHCR หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ซึ่งในเรื่องนี้ไทยก็ไม่ได้ทำเนื่องจากยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุชัดในแถลงการณ์ว่าไม่รู้ข่าวมาก่อน นอกจากกระบวนการที่ไม่โปร่งใส ไทยยังละเมิดหลักการเรื่องไม่ให้ส่งตัวกลับหากเห็นว่าจะเป็นอันตรายอันเป็นข้อที่ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันการซ้อมทรมานที่ไทยรับรองไปแล้ว ถือว่าทำผิดพันธกรณีระหว่างประเทศชัดเจน แม้ไม่มีบทลงโทษแต่เรื่องนี้จะมีผลต่อสถานะของไทยในเวทีระหว่างประเทศ กระทบความพยายามที่อยากจะเข้าไปมีที่นั่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และที่สำคัญคือกระทบความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศมุสลิม
นายอาลี อารีฟ แห่งเครือข่ายภาคประชาสังคมมุสลิมเผยว่า ขณะนี้กลุ่มพยายามขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อหารือหนทางแก้ปัญหาเพราะเจ้าหน้าที่คนอื่นไม่มีความรู้และไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อันที่จริงกลุ่มชื่นชมรัฐบาลไทยที่ส่งตัวอุยกูร์จำนวนหนึ่งให้กับตุรกีซึ่งทั้งผู้ที่จะไปและผู้รับต่างเต็มใจ ขณะที่เสียใจกับการที่อุยกูร์เข้าก่อเหตุในสถานกุงศุลไทยในตุรกี แต่ในเรื่องของการส่งตัวไปจีนนั้นถือว่ากระบวนการนี้ผิดพลาด กลุ่มเรียกร้องให้ไทยและจีนรับผิดชอบในเรื่องการดูแลคนที่ส่งไปแล้ว ในขณะที่สำหรับอุยกูร์ที่ยังเหลืออยู่ขอให้ทางการไทยไม่ส่งตัวให้จีน และขอให้กลุ่มองค์กรต่างๆที่ทำงานด้านมนุษยธรรมได้เข้าให้การช่วยเหลือได้
นางชลิดากล่าวด้วยว่า การส่งตัวอุยกูร์ให้กับจีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสิบวันสุดท้ายของการถือศีลอดซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำบาปอย่างยิ่งและไม่เหมาะสมอย่างมากที่สุด ถือว่าผู้ที่ตัดสินใจไม่เข้าใจความละเอียดอ่อนทางศาสนา นางชลิดาเรียกร้องรัฐบาลให้ยืนยันจะดูแลอุยกูร์อีก 60 คนที่มีข่าวว่าเหลืออยู่พร้อมกับขอให้รัฐบาลจีนเคารพในความเป็นมนุษย์ของคนที่รับตัวไป ด้านนายอาลีระบุว่า ตอนนี้ตนต้องตั้งความหวังว่ารัฐบาลจีนจะไม่ทำอะไรเกินเลยแม้จะอ้างว่าคนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำผิดก็ตามโดยต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของคนเหล่านั้นด้วย
ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยืนยันว่ารัฐบาลกระทำตามกฎหมายในการส่งตัวอุยกูร์ให้กับจีน โดยพล.อ.ประยุทธ์ยืนยันตามคำชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศว่า ไทยยึดหลักการพิสูจน์สัญชาติและการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ในภาพ นายอาลี อารีฟร่วมแถลงข่าวช่วงบ่ายวันนี้

คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง

(ข่าวย้อนหลัง มี.ค.2557)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์14 มีนาคม 2557 17:43 น
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง
กลุ่มคนต่างด้าวซึ่งสงสัยว่าจะเป็นชาวอุยกูร์จากเขตซินเจียงของจีน ขณะถูกกักตัวอยู่ที่บริเวณลานจอดรถของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 6 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันศุกร์ (14 มี.ค.)
       รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – คนต่างด้าวราว 200 คน ที่ตำรวจไทยช่วยเหลือนำตัวออกมาจากค่ายพักของแก๊งค้ามนุษย์ในสวนยางพารากลางป่าบริเวณภูเขาของจังหวัดสงขลา ทางภาคใต้ของไทย เมื่อสองสามวันก่อน น่าจะเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ จากเขตซินเจียง (ซินเกียง) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน แหล่งข่าวที่เป็นตำรวจไทยหลายรายเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ในวันนี้ (14 มี.ค.) 
      
       การพบตัวคนต่างด้าวเหล่านี้ เป็นหลักฐานยืนยันแน่นหนายิ่งขึ้นอีกว่า พวกแก๊งค้ามนุษย์ที่ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย ซึ่งขึ้นชื่อเลื่องลือในฐานะเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่ง ในเส้นทางการลักลอบนำชาวโรฮิงญาจากพม่า ลงเรือไปหาที่อพยพลี้ภัยในต่างแดนอยู่แล้ว กำลังใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของพวกเขา เพื่อการลับลอบลำเลียงขนคนต่างด้าวสัญชาติอื่นๆ เป็นจำนวนมากๆ อีกด้วย ถึงแม้ถูกตำรวจไทยติดตามปราบปรามเรื่อยมา
      
       “พวกแก๊งค้ามนุษย์กำลังขยายผลิตภัณฑ์ของพวกเขาให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม” พล.ต.ต.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้บังคับการของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งดูแลพื้นที่แถบนี้กล่าว พล.ต.ต.ธัชชัย ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสหรัฐฯ ได้ดำเนินการกวาดล้างค่ายของพวกแก๊งค้ามนุษย์ในภาคใต้มาหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งครั้งที่นำตัวคนต่างด้าวซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็นชาวอุยกูร์จำนวนราว 200 คนออกมาได้เมื่อคืนวันพุธ (12 มี.ค.) ที่ผ่านมาด้วย
      
       ในการกวาดล้างจับกุม 2 ครั้งก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือนำตัวคนต่างด้าวออกไปได้ทั้งสิ้น 636 คน โดยที่มีอย่างน้อยที่สุด 200 คนเป็นชาวบังกาเทศ ซึ่ง พล.ต.ต.ธัชชัย ชี้ว่า เป็นจำนวนสูงอย่างที่ “ไม่เคยปรากฏมาก่อน”
      
       สำหรับคนต่างด้าวอื่นๆ นั้นเป็นชาวโรฮิงญา ชาวมุสลิมที่เกือบทั้งหมดอยู่ในฐานะคนไร้รัฐจากภาคตะวันตกของพม่า ซึ่งได้เกิดเหตุปะทะถึงชีวิตหลายระลอกกับชาวพุทธเชื้อชาติยะไข่ในปี 2012 จนมีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 192 คน และมีผู้ที่หลบหนีกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อีกราวๆ 140,000 คน ตั้งแต่นั้นมา ก็มีชาวโรฮิงญาจำนวนหมื่นๆ คนหลบหนีออกจากพม่าทางเรือ โดยที่จำนวนมากเดินทางมาขึ้นบกบริเวณชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้ของไทย ด้วยความหวังที่จะหาวิธีเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์
      
       เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ได้เสนอรายงานว่า มีชาวโรฮิงญาถูกจับกุมเรียกค่าไถ่ โดยพวกเขาถูกจองจำอยู่ในค่ายพักผิดกฎหมายที่ตั้งซุกซ่อนอยู่ใกล้ๆ บริเวณชายแดนติดต่อกับมาเลเซีย จนกว่าญาติๆ จะจ่ายเงินตามที่คนร้ายเรียกร้องจึงจะได้เป็นอิสระ ทั้งนี้มีบางคนถูกทุบตีและบางคนก็ถูกฆ่า ในการสืบสวนติดตามของรอยเตอร์ยังพบด้วยว่า พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทยได้ดำเนินนโยบายลับๆ ซึ่งมุ่งผลักดันพวกผู้ต้องขังชาวโรฮิงญาให้ออกเดินทางต่อไปทางทะเล และกลับคืนสู่อุ้งมือของพวกแก๊งค้ามนุษย์ สืบเนื่องจากสถานที่กักขังของตำรวจตรวจค้นเข้าเมืองเต็มล้นแล้ว ขณะที่ยังมีคนต่างด้าวหน้าใหม่ๆ ทยอยเข้ามาอีกไม่ขาดสาย
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง
       สำหรับผู้ต้องสงสัยเป็นชาวอุยกูร์ราว 200 คนล่าสุดนี้ ตำรวจพบเมื่อคืนวันพุธในสวนยางพารากลางป่าเขา บริเวณเดียวกับที่สำนักข่าวรอยเตอร์เคยเสนอรายงานข่าวเมื่อปีที่แล้วระบุว่ามีค่ายพักอยู่อย่างน้อย 3 แห่งซึ่งพวกแก๊งค้ามนุษย์ที่ลักลอบขนชาวโรฮิงญา ได้อาศัยใช้สอยอยู่ ขณะที่ พล.ต.ต.ธัชชัย แถลงว่า ตอนที่ตำรวจบุกเข้าไปนั้น พวกยามเฝ้าค่ายได้หลบหนีไปแล้ว
      
       สำหรับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากค่ายแห่งนี้ มีอย่างน้อย 100 คนเป็นเด็ก แทบทั้งหมดอยู่ในวัยทารกหรือกระทั่งอยู่ในวัยที่ยังต้องดูดนมมารดา รวมทั้งยังมีผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่คนหนึ่งด้วย พวกเขาเหล่านี้เวลานี้อาศัยนั่งบนเสื่อพลาสติกในบริเวณที่จอดรถของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื่องจากศูนย์กักขังผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายของตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้นเต็มไปด้วยชาวโรฮิงญาและชาวบังกลาเทศ จนไม่สามารถให้ผู้ที่ถูกนำตัวออกมาใหม่เหล่านี้พักอาศัยได้แล้ว ตำรวจบอกว่าคนกลุ่มนี้อ้างว่าพวกเขาเป็นชาวตุรกี ถึงแม้ไม่มีหลักฐานใดๆ มาใช้พิสูจน์ยืนยัน
      
       แหล่งข่าวตำรวจหลายรายบอกว่า กลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ที่หาดใหญ่นี้ มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับชาวอุยกูร์พูดภาษาเตอร์กิก ซึ่งเป็นพวกที่ร้องขอฐานะเป็นผู้ลี้ภัย และเวลานี้ถูกกักขังอยู่ในศูนย์ที่กรุงเทพฯ
      
       ทางด้านหนังสือพิมพ์นิวสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ได้รายงานข่าวชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นไปได้สูงว่ามีความเกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวเหล่านี้ กล่าวคือ ตำรวจมาเลเซียได้จับกุมบุคคล 62 คนที่แอบข้ามชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายเมื่อวันพฤหัสบดี (13 มี.ค.) ที่ผ่านมา พวกที่ถูกจับเหล่านี้ก็อ้างตัวว่าเป็นชาวตุรกี ถึงแม้เป็นเรื่องผิดปกติมากที่จะมีชาวตุรกีหาทางลี้ภัยโดยใช้วิธีการเช่นนี้
      
       สำหรับซินเจียง ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองฐานะเทียบเท่ามณฑลของจีนนั้น ได้เกิดความไม่สงบทางชาติพันธุ์ซึ่งมีผู้ถูกฆ่าตายไปมากกว่า 100 คนในรอบปีที่ผ่านมา และทางการจีนก็เร่งรัดปราบปราม ชาวอุยกูร์จำนวนมากในซินเจียง แสดงความโกรธแค้นที่ถูกจำกัดสิทธิในเรื่องวัฒนธรรมและศาสนาของพวกเขา อีกทั้งร้องเรียนว่าพวกเขาถูกปฏิเสธโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่มีชาวจีนฮั่น ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของแดนมังกร อพยพหลั่งไหลเข้าไปตั้งถิ่นฐานในซินเจียง ทั้งนี้ชาวอุยกูร์จำนวนมากเรียกซินเจียงว่าเป็น เตอร์กิสถานตะวันออก และในยุคทศวรรษ 1930 และ 1940 ก็มีความพยายามที่จะจัดตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกขึ้นมารวม 2 ครั้ง ทว่าต่างก็อยู่ได้ไม่นาน
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง
      
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง
       ยังคงปิดปากเงียบ
      
       ตำรวจไทยเวลานี้ยังคงประสบความลำบากในการระบุให้ชัดเจนเป็นทางการว่า กลุ่มซึ่งถูกนำตัวมากักกันที่หาดใหญ่นี้เป็นพวกไหนกันแน่ จวบจนถึงเวลานี้ คนเหล่านี้ยังไม่มีใครพูดอะไรมากไปกว่าภาษาอาหรับไม่กี่คำ แม้กระทั่งในเวลาพูดจากับชาวไทยมุสลิมท้องถิ่นซึ่งเดินทางมาอาสาให้ความช่วยเหลือ
      
       ความนิ่งเงียบของพวกเขามีอันขาดผึงลงไปบ้างก็เพียงจากเสียงร้องไห้สะอึกสะอื้นของเด็กๆ พวกเขาเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะหน้าตาแบบคนคอเคเชียนอยู่มาก ขณะที่พวกผู้หญิงจำนวนมากต่างสวมผ้าคลุมศีรษะและใบหน้า มองเห็นเพียงลูกตาเท่านั้น
      
       “คนเหล่านี้จะปฏิเสธไม่ยอมรับว่าพวกตนเป็นพลเมืองจีน เพื่อไม่ให้ถูกบังคับนำตัวกลับไป” คายุม มาซิมอฟ นายกสมาคมชาวแคนาดาอุยกูร์ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองมอนทรีออล บอก “พวกเขาจะไม่ยอมพูดอะไรทั้งนั้น เพราะพวกเขาหวาดกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย”
      
       มาซิมอฟ ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับชายผู้หนึ่งซึ่งถูกตำรวจระบุตัวว่าเป็นหัวหน้าของคนกลุ่มนี้ และมาชินอฟกล่าวว่า ชายผู้นี้เข้าใจภาษาอุยกูร์ ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลเตอร์กิก เมื่อผู้สื่อข่าวรอยเตอร์พยายามเข้าไปติดต่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ หัวหน้าผู้นี้ก็แสดงอากัปกิริยาบอกให้คนของเขาอย่าพูดจาอะไรด้วย
      
       “หัวหน้าคนนี้เป็นคนตัดสินว่าใครที่ควรพูดด้วยและใครที่ไม่ควรพูดด้วย” พล.ต.ต.ชัชชัย บอก
      
       มาซิมอฟบอกว่า พวกที่อยู่ในไทย 200 คนนี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชาวอุยกูร์จากภาคตะวันตกของจีน ที่กำลังอพยพทิ้งถิ่นที่อยู่เดิมอย่างชนิด “ไม่เคยปรากฏมาก่อน” ในระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ “เราไม่เคยมีผู้คนมากมายขนาดนี้ทอดทิ้งบ้านเกิดของพวกเราไป” เขากล่าว
      
       ตำรวจไทยกล่าวด้วยว่า มีนักการทูตจีนผู้หนึ่งเดินทางมาถึงแล้วเพื่อประเมินสถานการณ์ ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ตุรกีหลายคนกำลังเดินทางมาจากกรุงเทพฯเช่นกัน
      
       พล.ต.ต.ชัชชัย เปิดเผยว่า มีแผนการที่จะย้ายเอาผู้หญิงและเด็กๆ จากลานจอดรถ ไปอยู่ที่ห้องประชุมภายในกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดยที่ผู้ต้องสงสัยเป็นชาวอุยกูร์เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวกำลังแสดงอาการหมดความอดทนมากขึ้นเรื่อยๆ “พวกเขากำลังตกอยู่ใต้แรงกดดันบีบคั้น” นายตำรวจไทยผู้นี้บอก “พวกเขาต้องการเดินทางไปที่ไหนสักแห่งหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็ไม่ต้องการกลับไปจีน”
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง
       ทั้งนี้เมื่อปี 2009 มีชาวอุยกูร์ 20 คนถูกเนรเทศจากกัมพูชากลับไปจีน ถึงแม้มีเสียงคัดค้านจากหน่วยงานสหประชาชาติและกลุ่มสิทธิมนุษยชน ซึ่งบอกว่าพวกเขามีหวังถูกขังคุกยาวถ้าหากกลับไป
      
       ช่วงใกล้ๆ เข้ามา องค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก ก็วิพากษ์วิจารณ์มาเลเซียที่เนรเทศชาวอุยกูร์ 6 คนกลับไปจีนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
      
       สำหรับในไทยนั้น เวลานี้มีชาวอุยกูร์ทั้งชาย, หญิง และเด็ก อย่างน้อยที่สุด 100 คน ถูกกักขังอยู่ที่ศูนย์กักขังคนเข้าเมืองผิดกฎหมายแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ คนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของผู้หลบหนีเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายซึ่งยังมีจำนวนไม่มากและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ที่สุดน่าจะเดินทางเข้าสู่ไทยโดยทางบกจากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผ่านดินแดนลาว
      
       ทางด้านหน่วยงานในไทยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) บอกว่าไม่ขอยืนยันว่าพวกที่ถูกกักตัวอยู่ที่หาดใหญ่นั้นเป็นพวกไหนแน่ๆ
      
       “เราเข้าใจว่ามีคนกลุ่มใหญ่ได้รับการช่วยเหลือออกมาหลังจากการกวาดล้างค่ายพักของพวกแก๊งค้ามนุษย์ (ในประเทศไทย)” บาบาร์ บาโลจ โฆษกของยูเอ็นเอชซีอาร์ในไทย แถลง “เรามีคณะทำงานอยู่ที่นั่นเพื่อประเมินความต้องการเร่งด่วนทางด้านมนุษยธรรมของพวกเขา และความจำเป็นต่างๆ ในการปกป้องคุ้มครองพวกเขาแล้ว”
      
       ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันว่า มาเลเซีย ซึ่งเป็นชาติมุสลิมที่ขาดแคลนแรงงานอย่างเรื้อรัง มักถูกเลือกเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของผู้อพยพและผู้ต้องการหาที่ลี้ภัยชาวเอเชียมากขึ้นเรื่อยๆ ทว่าคนเหล่านี้เองก็กำลังตกเป็นเหยื่อของพวกแก๊งค้ามนุษย์
      
       กลุ่มคนต่างด้าวซึ่งสงสัยว่าจะเป็นชาวอุยกูร์จากเขตซินเจียงของจีน ขณะถูกกักตัวอยู่ที่บริเวณลานจอดรถของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 6 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันศุกร์ (14 มี.ค.)
คาด “ต่างด้าว 200 คน” ที่ตำรวจนำออกจากค่ายแก๊งค้ามนุษย์ใน “สวนยางสงขลา” เป็น “ชาวอุยกูร์” จากซินเจียง



“ประยุทธ์” ฉุนฝรั่งหัวทองโจมตีไทยผลักดันอุยกูร์ไปจีน แจงรับภาระออกลูกไม่ไหว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
10 กรกฎาคม 2558 15:05 น.

นายกรัฐมนตรีแสดงความไม่พอใจกรณีนานาชาติ-องค์กรสิทธิมนุษยชนตำหนิกรณีไทยส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ยันคำนึงกฎหมายระหว่างประเทศแต่ต้องดูกฎหมายไทยด้วย ชี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แจงรัฐบาลรับภาระไม่ไหว ดูแลมากี่ปีจนออกลูกออกหลาน ย้ำจีนบอกจะดูแลความปลอดภัยให้ ไปดูว่าลงโทษจริงไหม เตือนอย่าไปทำลายสถานทูตตอบโต้ บอกไทยกับตุรกีไม่ใช่คู่ขัดแย้ง
     
       วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 11.10 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีหลายประเทศและองค์กรต่างๆ ออกมาตำหนิทางการไทยที่ส่งชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งกลับไปประเทศจีนว่า ใครประท้วงแล้วเวลามีปัญหากับที่อื่น ไทยเคยประท้วงคนอื่นบ้างหรือไม่ ไทยเคยประท้วงเขาบ้างไหม เวลาที่มีการทำอะไรให้ประเทศเสียโอกาส เขาเคยชี้แจงแทนรัฐบาลบ้างไหม สื่อเองก็ไม่เคยชี้แจงแทนประเทศ
     
       อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวได้พูดไปแล้วว่าอะไรถูกหรือผิด โดยเราต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในฐานะที่เรามีพันธะสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งประเทศตุรกีและจีน ถามว่าถ้าเราทำอะไรไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ ซึ่งวันนี้เหตุประท้วงที่ประเทศตุรกี ที่มีการทำลายสถานกงสุลไทย แล้วประเทศอื่นโดนด้วยหรือไม่ รู้หรือไม่ว่าเขาทำลายสถานทูตจีนไปแล้ว
     
       “เรื่องนี้ต้องดูว่าอะไรคือผลประโยชน์ของชาติ กฎหมายระหว่างประเทศเราทำทุกอย่าง แต่ก็ต้องดูกฎหมายของไทยด้วย ต้องดูว่าที่เข้ามาในประเทศไทยนั้น เข้ามาอย่างไร เป็นการอพยพมาหรือไม่ เมื่อหนีมาแล้วเข้าประเทศได้อย่างไร การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือไม่ และกฎหมายที่กระทำต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองจะต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ ก็ต้องจับตัวไว้ก่อน ส่วนกรณีดังกล่าวซึ่งมีความละเอียดอ่อนอยู่แล้ว เมื่อมีความละเอียดอ่อนและอ่อนไหว ดังนั้น สื่อต้องระมัดระวังในการนำเสนอ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้พยายามชี้แจงทำความเข้าใจ รัฐบาลเองก็พยายามขอร้องและพยายามพูด แต่พูดมากนักก็ไม่ได้ เพราะมีผลกระทบต่อทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกันประเทศไทยก็จะเสียผลประโยชน์ด้วย” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
     
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งที่ต้องดู คือ 1. คนเหล่านี้ทำผิดกฎหมายหรือไม่ 2. คนเหล่านี้มีชาติกำเนิดอย่างไร เพราะแม้ว่าจะเป็นประเทศใดที่หลบหนีเข้าเมืองก็ถือว่าผิดกฎหมาย ขั้นตอนต่อไปของกฎหมายทุกประเทศคือการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อพิสูจน์แล้วว่าใครอยู่ที่ไหนก็ส่งกลับไป หากมีกรณีความผิดต้องส่งกลับประเทศหรือไม่ หรือจะให้ไปไหนก็ได้หรืออย่างไร ก็ต้องไปหาทางคุยกันให้ได้ ทั้งอุยกูร์ จีน ตุรกี โดยต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะรัฐบาลไทยไม่สามารถรับภาระเหล่านี้ได้อีกต่อไป แต่โดยขั้นต้นเราสามารถดูแลได้ เพราะเรารับดูแลมากี่ปีแล้ว จนมีลูกมีหลานเยอะแยะไปหมด
     
       ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายประเทศไม่มั่นใจในความปลอดภัยเมื่อส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ประเทศจีนบอกจะดูแลความปลอดภัยให้ ผมก็พูด ทำไมต้องถามซ้ำ ถ้าอยากรู้ก็ไปถามจีนเขาสิ เพราะจีนรับรองมากับฝ่ายความมั่นคงแล้ว ว่าจะดูแลความปลอดภัยให้ดีที่สุด โดยคนที่เราส่งตัวกลับไปเขาจะพิสูจน์เพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง ว่าเกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ หรือไม่ ถ้าไม่เกี่ยวข้องเขาก็จะปล่อยหมด โดยจีนพร้อมที่จะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ของไทย และองค์กรระหว่างประเทศเข้าไปดูแล ว่าปฏิบัติต่อคนเหล่านี้อย่างไร ในเมื่อแถลงไปแล้วจะเอาอะไรกันอีก ก็ต้องไปดูว่าเขาลงโทษจริงหรือเปล่า ลงโทษถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และเขายืนยันว่าต้องทำตามกระบวนการยุติธรรม เขาไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน”
     
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อยากจะฝากว่าการที่ไปทำลายสถานทูต และสถานกงสุล มันคงไม่ใช่ เพราะเรายังคงปกป้องทุกคนที่อยู่ในประเทศ และเมื่อวานนี้ก็ได้ส่งคนไปดูแลสถานทูตตุรกีในไทยแล้ว นี่คือบทบาทที่ไทยจะต้องยืนยันในหลักการของเรา ไทยกับตุรกีไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกันเลย ทูตของตุรกีก็บอกว่าพร้อมจะลงทุนกับรัฐบาล แล้วมีเหตุผลใดที่ตนจะต้องไปทำลายการลงทุนระหว่างไทยกับตุรกี หรืออยากให้ตนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนด้วย จะให้ตนเลือกทางใด จะเอาอย่างไร คนทั้งประเทศตอบมา
     
       เมื่อถามว่า คิดว่าทำไมท่าทีของต่างประเทศถึงให้ความสำคัญกับการส่งผู้อพยพกลับจีน มากกว่าการทำลายสถานกงสุลของไทย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มาตรฐานของต่างประเทศเขาดูด้วยโลกปัจจุบัน หลักสิทธิมนุษยชน ต้องถามว่าเขาได้มาดูคนอพยพทั้งหมดแสนสี่ หรือสี่แสนเมื่อ 30 ปีก่อนเหมือนเราหรือไม่
     
       “ใครประท้วงเรา ใครที่ยื่นว่าเราทำอย่างโน้นอย่างนี้ ว่าไม่ถูกต้อง ใคร ก็ยูเอ็นเอชซีอาร์ (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) นั่นหละ ดูให้มันครบสิ ผมไม่ได้ไปทะเลาะกับใคร จะให้ผมไปทะเลาะกับนี่กับโน่นบ้าง ทะเลาะแล้วถามว่าประเทศได้อะไร ก็ไม่เห็นได้อะไรสักอย่าง สื่อต้องช่วยผม คลายปัญหาเหล่านี้ ด้วยหลักการของกฎหมายไทย กฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชน ดูทุกอัน บวกกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสองถึงสามประเทศนี้ เป็นมิตรที่ดีต่อกันหมด แล้วจะให้รบกันหรืออย่างไร หรือจะพ่วงเรื่องศาสนาเข้าไปอีก ของเก่ายังแกะกันไม่ออก ปัญหาเยอะแยะไปหมด ทำไมต้องสร้างปัญหา รัฐบาลต้องทำงาน พอบอกว่าดูแลไม่ดี คนแออัด แล้วถามว่าได้ส่งคนเหล่านี้ไปตุรกีด้วยหรือไม่ ก็ส่งไปก่อนอีก แล้วจะเอาอะไรอีก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
     
       เมื่อถามว่า ปวดหัวกับปัญหานี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยบอกว่า “อย่ามาถามผม” ก่อนยุติการสัมภาษณ์ด้วยอารมณ์โมโห
 ///////////
เครื่องเคียงเพิ่มเติม ลำดับการเข้ามาของอุยกูร์ในไทย


ความเป็นมา “จีน-ตุรกี” ตึงเครียด ปมชาวอุยกูร์

10/7/58 สปริงนิวส์

ดูเหมือนว่าไทยจะถูกลูกหลง กรณีความตึงเครียดระหว่างจีนกับตุรกี  ซึ่งมีต้นเหตุมาจากชนเผ่าอุยกูร์ โดยกลุ่มผู้ประท้วงประมาณ 100 คน  ส่วนใหญ่เป็นชาวเติร์กเชื้อสายอุยกูร์  ตรงเข้าปล้นสะดม และทำลายทรัพย์สินในอาคารสถานกงสุลไทย ประจำกรุงอิสตันบูลของตุรกี หลังมีรายงานว่า ไทยจะส่งตัวชาวอุยกูร์ 200 คน กลับคืนไปให้จีน

หากไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็แทบจะไม่มีใครให้ความสนใจสถานการณ์ในตุรกีขณะนี้   ซึ่งเกิดกระแสต่อต้านคนจีนอย่างรุนแรง  คนมุสลิมในตุรกี สืบเชื้อสายและมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและศาสนาใกล้ชิดกับชาวอุยกูร์ทางตะวันตกของจีน ดังนั้น พอมีข่าวว่า ชาวอุยกูร์ในจีนถูกห้าม ไม่ให้ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน จึงทำให้เกิดการประท้วงในตุรกี  ขณะที่จีนก็ออกมาตอบโต้ข่าวนี้ว่า  เป็นข่าวที่ถูกสื่อตะวันตกโหมกระพือให้ดูเกินจริง  ทั้งที่จีนเคารพในเสรีภาพในความเชื่อของชาวมุสลิมมาโดยตลอด

แต่ดูเหมือนว่าถ้อยแถลงของจีน จะไม่ช่วยให้กระแสต้านจีนในตุรกีบรรเทาลง   ตรงกันข้าม การประท้วงยังลามมาถึงการบุกโจมตีร้านอาหารจีนในกรุงอิสตันบูลอีกด้วย  ทั้งยังเกิดการทำร้ายนักท่องเที่ยวชาวจีนอีกด้วย  สื่อในตุรกีรายงานว่า  แม้กระทั่งนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ที่มีหน้าตาคล้ายคนจีน ก็พลอยถูกลูกหลงไปด้วย เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศแนะนำประชาชนที่จะไปเที่ยวตุรกี และเตือนพวกเขาอย่าไปเข้าใกล้จุดที่มีการประท้วง

เมื่อถามว่า ชาวอุยกูร์คือใคร “อุยกูร์” คือชนเผ่ามุสลิมเติร์ก  ในเขตปกครองตนเองซินเจียงของจีน  มีชาวอุยกูร์ถึง 45%  ส่วนชาวจีนฮั่นมีอยู่ 40%  ซึ่งพื้นที่ตรงส่วนนี้ เคยเป็นส่วนหนึ่งของเติร์กเมนิสถานตะวันออกมาก่อน  ก่อนจะถูกจีนเข้าครอบครองเมื่อปี 1949  ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่จึงเป็นชาวเติร์ก ก็คือชาวอุยกูร์นั่นเอง หลังจากนั้น จีนพยายามกลืนชนชาติอุยกูร์  ด้วยการส่งชาวจีนฮั่น ไปตั้งรกรากในพื้นที่นั้นให้มากๆ   ส่งผลให้ชาวอุยกูร์เกรงว่า วัฒนธรรมของตนจะถูกทำลาย และปัจจุบันนี้  พื้นที่ตรงส่วนนั้นก็ถูกยกให้เป็นเขตปกครองพิเศษในจีน สถานภาพคล้ายทิเบตที่อยู่ทางใต้

แม้ชาวอุยกูร์จะอยู่ในเขตปกครองพิเศษที่จีนจัดตั้งขึ้น  แต่ก็ยังมีบางส่วน คิดหลบหนีออกจากจีน  และส่วนใหญ่ก็มักจะหนีเข้าไปในตุรกี เมื่อปี 2009  มีชาวอุยกูร์กว่า 300,000 คน อยู่ในตุรกี  และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะมีชาวอุยกูร์ หนีออกจากจีน เข้าไปในตุรกีมากขึ้น  เพราะทนไม่ได้ที่ถูกทางการจีนออกกฎบังคับกิจกรรมทางศาสนาอย่างเข้มงวด  ตำรวจจีนมักเรียกตัวชาวอุยกูร์ไปไต่สวน ว่าทำไมต้องไว้เครา  ทำไมต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน  ทำไมผู้หญิงต้องเอาผ้าปิดบังใบหน้า  ทั้งยังเกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคมระหว่างชาวอุยกูร์ กับชาวจีนฮั่น

คนที่อยู่ในซินเจียงบอกว่า จีนออกกฎให้ผู้หญิงในซินเจียงห้ามใส่ผ้าคลุมปิดบังใบหน้าหรือศีรษะ ชาวอุยกูร์ไม่อนุญาตให้ซื้อมีดในบางพื้นที่ ชาวอุยกูร์ถูกคุมเข้มเรื่องการสวด  ถ้าอายุยังไม่ถึง 18 ปี ห้ามไปสุเหร่า ชาวอุยกูร์ที่จะแต่งงานกันต้องไปจดทะเบียนกับรัฐบาลจีน ห้ามไปแต่งงานกันอย่างลับๆ โดยมีอิหม่ามเป็นผู้จัดการให้ และให้ชาวอุยกูร์สูงวัยเท่านั้น ที่ไว้เคราได้

ชาวอุยกูร์บางส่วนที่หนีจากจีนมาอยู่ในตุรกี จึงรู้สึกเหมือนเกิดใหม่  เพราะที่นี่มีเสรีภาพในเรื่องศาสนาและการแต่งกาย  ดังนั้น พอมีข่าวว่าไทยจะส่งชาวอุยกูร์ 200 คนกลับคืนไปให้จีน  จึงทำให้ชาวอุยกูร์ในตุรกีไม่พอใจ  และโจมตีสถานกงสุลไทยขึ้น

เพราะตุรกีถือว่าอุยกูร์เป็นพี่น้องเลือดเดียวกัน

เพราะตุรกีถือว่าอุยกูร์เป็นพี่น้องเลือดเดียวกัน

โดย บัณรส บัวคลี่
9 กรกฎาคม 2558 17:33 น.
เพราะตุรกีถือว่าอุยกูร์เป็นพี่น้องเลือดเดียวกัน
ภาพเอพี
        เหตุการณ์ที่ชาวตุรกีบุกเข้าไปทุบทำลายก่อจลาจลที่สถานกงสุลไทย ประจำกรุงอิสตันบูลเมื่อกลางดึกคืนวาน (พุธ 8 ก.ค.) ตรงกับเวลาประมาณ 3.00 น.ของวันที่ 9 ก.ค.ตามเวลาประเทศไทยดูค่อนข้างรุนแรง จากภาพข่าวมีการขว้างปาทุบทำลายมีภาพกระจกหน้าต่างแตกแสดงถึงความไม่พอใจเป็นอย่างมากของชาวตุรกีกลุ่มดังกล่าวที่ทราบข่าวว่าทางการไทยได้ส่งตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์กลับไปยังประเทศจีน
      
        หลายท่านคงแปลกใจว่า เหตุใดชาวตุรกีซึ่งเป็นชาวเติร์กที่อยู่ห่างไกลประเทศจีนและไทยถึงสุดขอบทวีปเอเชียจึงเกิดมีอารมณ์รุนแรงกับกรณีชาวมุสลิมอุยกูร์จากแคว้นซินเกียงมากถึงขนาดนี้
      
        คำตอบก็คือ ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่เมื่อราวพันปีก่อน ชาวเติร์กตุรกีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาอพยพมาจากดินแดนที่เป็นแคว้นซินเกียงของจีนในปัจจุบัน ซึ่งในยุคนั้นตรงกับสมัยราชวงศ์ถังเรียกดินแดนละแวกนั้นว่าแดนซีอวี้ (แดนตะวันตก)
      
        ชาวเติร์กตุรกีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาคือชนเผ่าเติร์กกลุ่มหนึ่งซึ่งชาวจีนเรียกว่า “ชาวถูเจี๋ย” ดินแดนของถูเจี๋ยในยุคราชวงศ์ถังเลยขึ้นไปจากมณฑลซินเกียงขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย ถ้ามองจากแผนที่จะอยู่บริเวณด้านเหนือของทะเลทรายทากลามากันค่อนไปทางตะวันตก บทบาทและอิทธิพลของชาวเผ่าถูเจี๋ยมีสูงมากในสมัยราชวงศ์สุยต่อมาเมื่อเปลี่ยนมาเป็นราชวงศ์ถัง ชาวถูเจี๋ยเป็นภัยคุกคามทางตอนเหนืออย่างยิ่ง ถังไท่จงฮ่องเต้ (หลี่ซื่อหมิน) ใช้วิเทโศบายผูกมิตรไว้ก่อนในช่วงแรกจนเมื่อรัฐบาลถังแข็งแรงพร้อมจึงก่อสงครามกับชาวถูเจี๋ยจนได้รับชัยชนะ ขับไล่ชาวถูกเจี๋ยออกไปจากแดนซีอวี้ได้สำเร็จ
      
        ชาวถูเจี๋ยที่พ่ายศึกถังเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ผ่านยูเรเซียไปถึงที่ราบสูงอนาโตเลีย แล้วก็เป็นบรรพบุรุษของชาวเติร์กที่เป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน
      
        โลกมุสลิมรับรู้ถึงสายสัมพันธ์ของชาวตุรกีกับชาวอุยกูร์มานานแล้ว และที่ผ่านมาคงมีชาวอุยกูร์จากประเทศจีนหลบหนีออกไปตั้งถิ่นฐานที่ตุรกีมาแล้วจำนวนไม่น้อย หากจำกรณีที่ทางการไทยจับกุมผู้อพยพชาวอุยกูร์ที่จังหวัดสงขลา173 คนเมื่อปีที่แล้ว (2557) ได้ จู่ๆ พวกเขาก็หายไปจากที่ควบคุมตัวอย่างไร้ร่องรอย วงการข่าวเชื่อว่านี่เป็นการไกล่เกลี่ยส่งมอบผู้คนกลับคืนต้นทางอย่างเงียบๆ โดยไม่ต้องมีการดำเนินคดี
      
        ที่จริงแล้วชาวโลกก็รู้ว่าตุรกีเป็นปลายทางของชาวอุยกูร์ ไม่ได้เป็นเรื่องลึกลับอะไรการอพยพหลบหนีก่อนๆ หน้าเมื่อถูกจับกุมได้บางคนยังอ้างว่าเป็นชาวเติร์ก ไม่ใช่อุยกูร์ สำนักข่าว wsj-วอลล์สตรีทเจอร์นัล เคยตีพิมพ์สกู๊ปชื่อ As Muslim Uighurs Flee, China Sees Jihad Risk As Homeland Grows Violent, Some Uighurs Seek Haven in Turkey ตีแผ่ว่าชาวอุยกูร์ใช้เส้นทางหลบหนีผ่านทางสายไหมตอนใต้เข้าอัฟกานิสถาน ผ่านพม่า มายังประเทศไทยไปยังมาเลเซียเพื่อพักเท้าก่อนจะเดินทางไปยังปลายทางสุดท้ายที่ประเทศตุรกี
      
       

      
        คนตุรกีมองว่ารัฐบาลจีนใจร้ายข่มเหงและกดดันพี่น้องมุสลิมเชื้อสายเดียวกับพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะเกิดอารมณ์โกรธแค้นกับข่าวรัฐบาลไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ที่หลบหนีออกมากลับยังประเทศจีน
      
        เรื่องสายสัมพันธ์และความโกรธแค้นน่ะ ผมไม่แปลกใจ...ส่วนที่แปลกใจก็คือ อยากรู้ว่าที่ชาวตุรกีโกรธแค้นน่ะ คือการส่งชาวอุยกูร์ 173 คนกลับประเทศเมื่อมีนาคมปีที่แล้ว (2557) หรือชุดไหนกลุ่มไหนกันแน่...ถ้าเป็นกลุ่ม 173 คนที่สงขลาเมื่อปีที่แล้ว ทำไมจึงเพิ่งมารู้เอาตอนนี้ ?