PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

ฑูตสหรัฐคนใหม่"กลิน เดวีส์ "

สำหรัฐส่ง จนท.ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือมาเป็นทูตประจำประเทศไทย

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือมาเป็นทูตประจำประเทศไทย ต่อจากทูตคนที่แล้วซึ่งหมดวาระลงในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
วันอังคาร 14 เมษายน 2558 เวลา 10:33 น.

 สำนักข่าวเอพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัญอเมริกา เมื่อวันที่ 14 เม.ย.ว่า ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ แต่งตั้งนายกลิน เดวีส์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยว

ชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐมาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย หลังจากที่สมาชิกวุฒิสภาลงนามรับรองการเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว

    นายเดวีส์จะเข้ามาแทนที่ “คริสตี เคนนีย์”เอกอัครราชทูตคนก่อน โดยเขาจะมาทำหน้าที่เอกอัครราชทูตขณะที่ความสัมพันธ์ไทยและสหรัฐกำลังตึงเครียด หลังสหรัฐแสดงท่าทีไม่พอใจตั้งแต่

รัฐบาลทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อช่วงเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว นอกจากนี้ วอชิงตันยังได้ระงับความช่วยเหลือทางทหารบางส่วนกับไทยอีกด้วย

    นายเดวีส์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบความสัมพันธ์สหรัฐ-เกาหลีเหนือในช่วงปี 2555-2557 โดยเฉพาะการจับตาโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง ก่อนหน้านี้ เขาเคยดำรงตำแหน่ง

ตัวแทนสหรัฐในทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

(นายกลิน เดวีส์ )
-/

ผู้นำสหรัฐเสนอชื่อทูตประจำประเทศไทยคนใหม่

ทำเนียบขาวของสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้เสนอชื่อนายกลิน เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เพื่อนโยบายเกาหลีเหนือ มาดำรงตำแหน่ง

เอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย แต่การแต่งตั้งจะต้องผ่านการรับรองของวุฒิสภา ซึ่งการเสนอชื่อครั้งนี้ มีขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ที่เขม็งเกลียวระหว่างสหรัฐกับพันธมิตรอย่างไทย

สหรัฐได้ระงับความช่วยเหลือทางทหารต่อไทย เพื่อตอบโต้ที่มีการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว และยังไม่แน่ชัดว่า การปกครองโดยพลเรือนจะกลับคืนมา

เมื่อใด

นายเดวีส์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในฐานะทูตที่รับผิดชอบด้านโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในช่วงระหว่างปี 2555-2557 ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาทำหน้าที่เป็นผู้แทนสหรัฐประจำสำนัก

งานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย

นับจากปี 2546 เป็นต้นมา เขาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาแล้ว 3 ประเทศ โดยประจำอยู่ที่นครเมลเบิร์น ของออสเตรเลีย,กรุงคินชาช่า ของซาอีร์ หรือ คองโกในปัจจุบัน และกรุงปารีส ของ

ฝรั่งเศส

สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่ว่างลง เป็นผลมาจากทูตคนก่อนคือนางคริสตี้ เคนนีย์ เดินทางกลับสหรัฐไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน

นายเดวีส์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จ ทาวน์ เมื่อปี 2522 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ ที่เนชั่นแนล วอร์ คอลเลจ ในวอชิงตัน ดีซี ภรรยาของเขาคือ

นางแจ็คเกอลีน เอ็ม เดวีส์ มีอาชีพทนาย และลูกสาวด้วยกัน 2 คน และหลานสาว 2 คน

วันที่โพสข่าว : 14 เมษา. 2558 เวลา 15:02 น.
-------------------
เอพีเปิดบันทึก ทูตลับUS พบ ยิ่งลักษณ์ นพดล
16 มิ.ย. 54 13.30 น.
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

เอพี เปิดบันทึกทูตสหรัฐประจำไทย เอริก จี. จอห์น ขณะมีโอกาสพูดคุยกับ ยิ่งลักษณ์-นพดล เมื่อ 2 ปีที่แล้ว บอกคุณกำลังจับมือกับนายกฯไทย คนต่อไป

นายแกรนท์ เพ็ก ผู้สื่อข่าวเอพี รายงานข่าวเรื่อง (US envoy in 2009 forecast rise of Thaksin's sister) ทูตสหรัฐฯ คาดการณ์ถึงความรุ่งโรจน์ของน้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีเนื้อหาอ้างถึงบันทึกลับที่

นายเอริก จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกรุงเทพฯ ส่งไปถึงกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน เมื่อปี 2552 และเว็บไซต์ วิกิ ลีกส์ นำมาเผยแพร่

เอพี รายงานว่า เอริก จี.จอห์น เขียนลงในบันทึก หรือ เคเบิ้ล ลงวันที่ 25พฤศจิกายน 2552 ว่า ได้มีโอกาสพบและพูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 โดยการนัดพบกันครั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้พูดอย่างมั่นใจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ รวมถึงเป้าหมายต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทย เห็นได้ชัดว่า การเมืองไม่ได้เป็น

เรื่องธรรมชาติสำหรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เหมือนพี่ชาย มีบางคนคาดการณ์เอาไว้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจจะมีอนาคตที่สดใสในพรรคเพื่อไทย แม้ในขณะนั้นจะยังเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว

โดย ยิ่งลักษณ์ อ้างว่า ทักษิณ ไม่ใช่คนรั้น เป็นแค่นักธุรกิจที่อยากจะพูดคุยทำข้อตกลงกับรัฐบาล โดย ทูตจอห์น ระบุในบันทึกต่อไปว่า ระหว่างการพูดคุย นายนพดล กล่าวถึงการที่ ทางการไทยสั่ง

อายัดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังเกิดการรัฐประหาร ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกกับตนว่าใครบางคนอาจเข้ามาในช่วงท้ายเกมเพื่อควบคุมดูแลพรรคและทำหน้าที่นายก

รัฐมนตรีคนต่อไป

นอกจากนั้น ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังจะกลับ นายนพดล ยังพูดติดตลกกับทูตจอห์นด้วยว่า คุณเพิ่งจะจับมือกับนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของไทย

ผู้สื่อข่าวเอพี ตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน ก่อนหน้าที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้าพบ ทูตจอห์น ในวันดังกล่าว แม้แต่คนในฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เองยังไม่เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้ามา

มีบทบาทในพรรคเพื่อไทย โดยบันทึกลับของทูตจอห์น ลงวันที่ 9 กันยายน 2552

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกฯ ในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน บอกกับคนของสถานทูตสหรัฐ ในกรุงเทพฯ ว่า ตนยังมองไม่เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในพรรค

เพื่อไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยากเพิ่มบทบาทของน้องสาวในพรรค เพราะต้องการหาหนทางเล่นการเมืองด้วยมือตัวเองมากกว่า

ทั้งนี้ เอพี ยังระบุว่า บันทึกลับของ ทูตจอห์น เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกลับ เอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย กว่า 2,000 ชิ้น ที่หลุดรอดไปถึง เว็บไซต์วิกิลีกส์และสำนักข่าวเอพี ได้บันทึกลับ

เหล่านี้มาเป็นที่เรียบร้อย

(ข่าวที่ผ่านมา)

สื่อนอกกังวล มะกันยังไม่ตั้งคนแทน"ทูตคริสตี้" สะท้อนปัญหาการทูตสหรัฐ

11 ต.ค. 2557 เวลา 10:54:39 น.

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 นายลินด์เซย์ เมอร์ด็อค ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักข่าวแฟร์แฟ็กซ์ ของออสเตรเลีย รายงานข่าวว่า หลังจากที่นางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูต

สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อำลาตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ไทยซึ่งเป็นพันธมิตรยาวนานของสหรัฐจะกลายเป็นอีก 1 ในอีกหลายสิบประเทศที่ปราศจากเอกอัครราชทูตสหรัฐ

ในช่วงเวลาสำคัญ

เมอร์ด็อคระบุว่า ชาติตะวันตกหลายชาติ เช่น สหรัฐและออสเตรเลีย มีปัญหาทางการทูตที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกในการรักษาความสัมพันธ์กับกองทัพไทยที่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยรัฐบาลทหารจำกัดสิทธิพลเมืองหลายอย่าง และปกครองประเทศโดยไม่มีกรอบเวลาชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อไร ซึ่งสหรัฐเองก็เป็น 1 ในหลายๆ ประเทศที่กดดัน

กองทัพไทยอย่างเปิดเผย ให้กลับสู่การประชาธิปไตยโดยเร็ว

ภาวะตีบตันทางการเมืองในวอชิงตัน เป็นอุปสรรคที่ทำให้การเสนอชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศต่างๆ ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ไม่ได้รับการรับรอง ทำให้สหรัฐ

ไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับเอกอัครราชทูตในเกือบ 50ประเทศ ในช่วงที่สหรัฐต้องรับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธนักรบญิฮาด รัฐอิสลาม(ไอเอส) ในอิรักและซีเรีย สงครามกลางเมืองในยูเครน การ

แพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก และการผงาดขึ้นมาของจีนในภูมิภาคแปซิฟิก

ทั้งนี้ นางเคนนีย์ อยู่ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยเกินกว่าวาระตามปกติ 3 ปี มาเกือบ 1 ปีแล้ว จากสาเหตุการติดขัดทางการเมืองภายในของสหรัฐเอง หลังจากนี้นางเคนนีย์จะ

กลับไปร่วมงานกับนายวิลเลียม บราวน์ฟิลด์ สามีของเธอ ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ในคลิปวิดีโอที่โพสต์ลงในเว็บไซต์ยูทูบ นางเคนนีย์กล่าวว่า คาดว่านายโอบามาจะเป็นคนเลือกเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยคนใหม่ และหวังว่าผู้ดำรงตำแหน่ง จะมาถึงเมืองไทยในต้น

ปีหน้า

เมอร์ด็อคระบุว่า สถานทูตสหรัฐในกรุงฮานอยของเวียดนามเองก็ไม่มีเอกอัครราชทูตสหรัฐมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่สหรัฐพยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนามโดยยอมผ่อนคลาย

การคว่ำบาตรด้านอาวุธที่มีมานาน โดยสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาได้เหนี่ยวรั้งการรับรองนายเท็ด โอซิอัส ที่ได้รับการเสนอชื่อตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ให้มาเป็นเอกอัครราชทูตเวียดนาม

นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า ปัจจุบันนี้สหรัฐยังไม่มีเอกอัครราชทูตในตุรกี เซียร์ราลีโอน และอีก 9 ประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งพรรครีพับลิกันให้เหตุผลที่เตะถ่วงการแต่งตั้งทูต ทั้งที่รายชื่อส่วน

ใหญ่ผ่านการรับรองของกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภาแล้ว โดยอ้างว่า โอบามามักจะแต่งตั้งผู้สนับสนุนทางการเมืองของตนเป็นส่วนใหญ่ แทนที่จะเป็นนักการทูตมืออาชีพ

นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ?น่าเสียดายที่เราจะไม่มีตัวแทนที่เป็นเสียงที่แข็งแกร่งที่สุดของเราในพื้นที่มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก"
----------------------
วันเสาร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557
หมดเวลาระบอบทักษิณ คริสตี้ เคนนี่ย์ ทูตสหรัฐ พ้นประเทศไทยฃ

'นางคริสตี้ เอ เคนนีย์' เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นับได้ว่าเป็นทูตของประเทศสหรัฐที่ดำรงตำแหน่งประจำประเทศไทยมายาวนานคนหนึ่ง (คริสตี้ เคนนี่ย์ เข้ารับตำแหน่งเอก

อัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554)

ตลอดเวลาที่นางคริสตี้ เคนนีย์ทำหน้าที่ในประเทศไทย บทบาทของนางเคนนีย์ดูเหมือนจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายระบอบทักษิณ จนเกิดข้อสงสัยและคำถามกับประชาชนคนไทยถึง

สายสัมพันธ์ของทูตสหรัฐฯ ผู้นี้กับ 'ทักษิณ ชินวัตร' นักโทษหนีคดีคอร์รัปชั่นที่ถูกศาลพิพากษายึดทรัพย์และให้จำคุก 2 ปีคนนั้น ทั้งการออกวีซ่าให้แก่ทักษิณเข้าออกสหรัฐได้ตามอำเภอใจ ทั้งที่

ระเบียบการขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ มีข้อกำหนดประการหนึ่งที่ระบุชัดว่า "ผู้ยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐฯ ต้องไม่มีประวัติอาชญากรรม" เป็นความจริงที่แน่นอนว่าทักษิณมีฐานะเป็น 'นักโทษหนีคดี'

รวมทั้งเขามีพฤติกรรมให้ร้ายใส่ความประเทศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งกรณีนี้นางคริสตี้ได้แถไถว่าเป็นการดำเนินการตามกรอบกฎหมายของสหรัฐ ทั้งที่ประเทศไทยกับสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาส่ง

ผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน (แต่นั่นล่ะรัฐบาลไทยไม่เคยร้องขอ) โดยส่วนใหญ่การเดินทางเข้าสหรัฐฯ ของทักษิณ ชินวัตรก็เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองพบปะกับคนเสื้อแดง และเหล่าล็อบบี้ยีสท์

ที่ตัวเองว่าจ้างไว้ ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งยังกล่าวโจมตีให้ร้ายกระบวนการยุติธรรมของไทย และกระทบกระเทียบเสียดสีสถาบันอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เหยียบย่ำ

'หัวใจ' คนไทยทั้งชาติ

เรามาดูเหตุผลในการยกเลิกวีซ่าของสหรัฐฯ กันบ้าง สหรัฐฯจะยกเลิกวีซ่าด้วยเหตุดังนี้ 1. เพื่อความมั่นคงของสหรัฐฯ 2. ทางการสหรัฐฯไม่ต้องการให้บุคคลใดๆ มาดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

บางประเภทในสหรัฐฯ และ 3. เป็นบุคคลต้องห้ามที่ต้องโทษจากการต้องคำพิพากษาของศาล

แน่นอนว่าหนึ่งในเหตผลที่เรารู้ ครั้งหนึ่ง Culture Map Houston หนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯ ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเดินทางเข้าสหรัฐฯของทักษิณ โดยระบุว่าเป็นการเดินทางมาเพื่อ "เจรจาเรื่อง

ธุรกิจพลังงาน" พร้อมทั้งบอกว่าทักษิณได้พบปะพูดคุยกับประธานกรรมการของ ยูไนเต็ด แอลเอ็นจี ที่ชื่อนาย Stephen Payne เขาเป็นนักล็อบบี้ยิสต์ชาวอเมริกันที่มีเครือข่ายกว้างขวางและมีสาย

สัมพันธ์กับรัฐบาลและกลุ่มทุนในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์และมีประสบการณ์ด้านพลังงาน ปัจจุบันได้เป็นตัวแทนเกี่ยวกับกิจการพลังงานให้กับหลายประเทศ เช่น

รัฐเซียปากีสถาน อาเซอร์ไบจัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเติร์กเมนิสถาน รวมถึงทำงานร่วมกับอีกหลายบริษัทที่เป็นลูกค้าของเขา เช่น บริษัทวาณิชธนกิจอย่าง เจพี มอร์แกน, บริษัทผลิต

ซอฟต์แวร์ยี่ห้อ SAP, สายการบิน คอนติเนนตัล, เครื่องบินโบอิ้ง, บริษัทผลิตอาวุธและเครื่องบินสงคราม ร็อคฮีท มาร์ติน

และทักษิณก็กำลังมุ่งมั่นลงทุนในธุรกิจพลังงาน และต่อมาอยู่ๆ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศเลื่อนการเปิดสัมปทานสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 จากเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นปี

พ.ศ. 2556 โดยไม่มีใครรู้ว่าเพราะเหตุใด

ช่วงระยะเวลวที่นางคริสตี้อยู่ในประเทศไทยสร้างวีรกรรมไว้ จนชาวไทยต้องลุกขึ้นมาต่อต้านหลายครั้ง เช่น

เพจเฟซบุ๊กของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ถูกถล่มโดยผู้ใช้ชาวไทยจำนวนนับหมื่นเข้าไปแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่สหรัฐ อเมริกาแสดงความวิตกกังวลต่อการบังคับใช้

กฎหมายอาญามาตรา 112 และกระบวนการยุติธรรมของไทย นางคริสตี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นี่เองที่ได้แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ต่อกรณีการตัดสินคดีหมิ่นเบื้องสูง

ของนายโจ กอร์ดอน ว่าตนมีความกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ

กลุ่มสยามสามัคคีได้ยื่นหนังสือถึงสหประชาชาติและสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องให้พวกเขาหลีกเลี่ยงแสดงความคิดเห็นต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ขณะที่สำนักข่าวแห่งนี้รายงานต่อว่าสมาชิก

ของผู้ประท้วงราว 200 คน พากันโบกธงสัญลักษณ์และชูพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมตะโกนว่า "คริสตี ออกไป" อยู่ด้านหน้าสถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพฯ

นิติธร ล้ำเหลือ นำผู้ชุมนุม คปท. ไปชุมนุมหน้าสถานทูตสหรัฐ ปราศรัยขับไล่ทูตคริสตี้ เคนนีย์ เพราะไม่เป็นกลาง จากนั้นได้ร้องเพลงชาติ ชักธงชาติไทยขึ้นเสาธงที่เตรียมมาเอง และระบุว่าถ้ายัง

หนุน รบ.ยิ่งลักษณ์จะกลับมาใหม่และจะเผาธงสหรัฐ

นายอิสสระ สมชัย กล่าวถึงกรณีที่เป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. ที่ตกเป็นข่าวว่าถูกประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นแบล็คลิสต์ ว่ากรณีนี้เป็นเรื่องของการเมืองในประเทศไม่ได้เกี่ยวกับสหรัฐฯ แต่อย่างใด

เพราะการต่อสู้ความขัดแย้งในประเทศไทยก็เป็นเรื่องประเทศไทย การที่สหรัฐฯขึ้นบัญชีดำแบบนี้ ถือว่าไม่ยุติธรรม ตนไม่ใช่เป็นกลุ่มก่อการร้าย มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะเสนอเรื่องไปสถานทูต

สหรัฐ นางคริสตี้ เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐมีความสนิทสนมกับรัฐบาลไทย เป็นการนำประเทศอื่นเข้ามาแทรกแซงการเมืองในประเทศ และเป็นการร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อกลั่นแกล้ง

พฤติกรรมในอดีตของนางคริสตี้ ระหว่างที่เป็นทูตสหรัฐประจำฟิลิปปินส์เธอก็เคยถูกชาวฟิลิปปินส์ประท้วงและ รวมหัวขับไล่มาแล้ว สื่อบางสื่อก็เคยเตือนเธอเป็นนัยๆ ว่ามีพฤติกรรมเป็นนกสองหัว

หรือหน้าไหว้หลังหลอก เบื้องหน้าทำตัวเป็นคนสนุกสนานและคบคนง่าย แต่เบื้องหลังนั้นทำให้ชาวฟิลิปปินส์หลายคนแทบจะเส้นเลือดในสมองแตกมาแล้ว ในเวบไซต์จอมแฉวิกิลีกส์ก็เคยแฉว่า

ยังอ่านเกมการเมืองในฟิลิปปินส์ไม่แตก เพราะอคติและการเลือกปฏิบัติ ทำให้ภาพลักษณ์ของสหรัฐยิ่งมีแต่ตกต่ำลงจนท้ายที่สุดเธอก็ถูกเรียกตัวกลับ ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นทูตประจำประเทศไทย

ตอนนี้มีข่าวปูดออกมา (พี่โสภณ องค์การณ์ News Hours ASTV) ว่าช่วงภายในปีนี้แหล่ะครับ ทูตคริสตี้ เคนนีย์ ก็จะออกจากประเทศไทยแล้ว ซึ่งแหล่งข่าวไม่ชัดเจนว่าหมดวาระหรือสหรัฐเอาไปเก็บ

ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เราก็ชอบ บอกเลย 555

ทีนี้ ใครจะมาแทนล่ะ James P. Zumwalt นี่คือชื่อทูตสหรัฐประจำประเทศไทยคนใหม่ เอาหน้าตามาดูกันก่อน นิสัยใจคอว่ากันทีหลังครับ
----------------------------
เหลืออด! ส่งคำร้องถึงทำเนียบขาว ล่าชื่อปลด "คริสตี" ทูตมะกันพ้นไทย


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2557 20:15 น.  


       ถูกมองเป็นทูตเลือกข้าง (ระบอบทักษิณ) มาโดยตลอด สำหรับ คริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ล่าสุดมีผู้มาตั้งกระทู้ล่ารายชื่อในเพจรับร้องเรียนของทำเนียบขาว

www.petitions.whitehouse.gov ขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ ปลด 'คริสตี เคนนีย์' ออกจากการเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยโดยด่วน เพราะเหลืออดเต็มทีกับพฤติกรรมของทูตสาวคนนี้
     
        ดูเหมือนว่าชาวไทย หรือแม้แต่เพื่อนร่วมชาติชักจะทนไม่ไหวกับพฤติกรรมของทูตมะกันประจำประเทศไทยคนนี้มากขึ้นทุกที ล่าสุดมีการยื่นคำร้องต่อทำเนียบขาวให้เรียกเอกอัครราชทูต "คริ

สตี" กลับคืนไปจากประเทศไทยด้วยการชวนกันลงชื่อให้ครบแสน ผ่านการตั้งคำร้องบนเว็บไซต์ WhiteHouse.gov ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่

เหมาะสมในหลายๆ เรื่อง
     
     


     
       นี่คือคำร้องบนเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งถูกเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2557 โดยทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live ขออนุญาตแปลมาให้อ่านเป็นภาษาไทยในบรรทัดด้านล่างนี้
     
       *************************************
     
        ถอดถอน 'คริสตี เคนนีย์' เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
     
        ขณะนี้มีเรื่องที่สำคัญกว่าการที่สหรัฐอเมริกาจะได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย นั่นก็คือ คริสตี เคนนีย์ ควรถูกปลดออกจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำ

ประเทศไทยโดยด่วน เนื่องจากการกระทำทางการเมืองที่แสดงให้เห็นถึงการเลือกข้างอย่างชัดเจน รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนความจริง และการกระทำอื่นๆ อีกมากมายที่แสดงให้เห็น

ถึงความไม่มีจรรยาบรรณทางอาชีพ จากข้อความในทวิตเตอร์ของเธอ สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติในแง่ลบซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับตำแหน่งของเธอที่เป็นตัวแทนของคนอเมริกันทั้งประเทศ สหรัฐ

อเมริกาควรคัดเลือกตัวแทนที่เป็นมืออาชีพ และมีความเป็นกลางขึ้นมาเป็นตัวแทนคนใหม่ เพื่อเรียกคืนความน่าเชื่อถือให้กลับคืนมา พร้อมกับสามารถประเมินสถานการณ์ที่ถูกต้องก่อนที่จะเผย

แพร่ออกไป
     
       *************************************
 เหลืออด! ส่งคำร้องถึงทำเนียบขาว ล่าชื่อปลด "คริสตี" ทูตมะกันพ้นไทย
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
26 พฤษภาคม 2557 20:15 น    

        หลังจากมีคำร้องในเพจรับร้องเรียนดังกล่าว ล่าสุด (26 พ.ค.2557) มีผู้มาร่วมลงทะเบียนแล้วกว่า 150 ชื่อ ถ้ามีผู้มาร่วมลงทะเบียนครบ 100,000 ชื่อ หวังว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะรับพิจารณาคำร้อง

ดังกล่าวเช่นเดียวกับกรณีนักร้องหนุ่มฉาวจากแคนาดา จัสติน บีเบอร์ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ รับพิจารณาคำร้องขอให้มีการเนรเทศ "จัสติน บีเบอร์" พร้อมกับยึดกรีนการ์ดคืน หลังจากที่ชาวอเมริกัน

สามารถล่ารายชื่อได้เกิน 100,000 ชื่อ (145,000 ชื่อ)
     
       ต่อกรณี จัสติน บีเบอร์ นั้น แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะรับพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ถึงตอนนี้ยังไม่เห็นทีท่าว่าจะเนรเทศนักร้องหนุ่มสุดฉาวกลับแคนาดาบ้านเกิดได้จริง ดังนั้นในกรณีของทูตมะกันคนนี้

หลายคนได้แต่หวังว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรจะออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้บ้าง อย่างน้อยๆ ก็ตักเตือนให้เจ้าตัวได้รู้ว่า สังคมไทย รวมไปถึงชาวมะกันด้วยกันเอง เอือมระอากับพฤติกรรมของเธอจนทน

ไม่ไหวกันแล้ว
     
        เห็นได้จากเพื่อนร่วมชาติอย่าง ไมเคิล ยอน นักเขียน และช่างภาพชาวอเมริกัน ที่ก่อนหน้านี้เคยออกมาแสดงความรู้สึกผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจของเขาโดยโพสต์รูปภาพของคริสตี และระบุข้อ

ความว่า "Go Home กลับบ้านไป" และ "Please send a real Ambassador to Thailand. This is important. กรุณาส่งเอกอัครราชทูตจริงมาประเทศไทย นี่เป็นเรื่องสำคัญ" ทั้งนี้ ไมเคิล ยอนได้เคยเปิดใจ

สัมภาษณ์และกล่าวถึงคริสตี เคนนีย์ ว่า การพูดเข้าข้างรัฐบาลของท่านทูตอาจไม่เป็นผลดีต่ออเมริกันชนที่อยู่ในประเทศไทยสักเท่าไหร่นัก
     
        "ตอนนี้มีสองเรื่องที่ผมกังวล คือ เมืองไทยกำลังแตกเป็นสองส่วน และห่วงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากท่านทูตของอเมริกาประจำประเทศไทย คือ "คริสตี

เคนนีย์" เห็นชัดเจนว่าเวลาที่เธอออกมาพูด มักจะดูเข้าข้างคุณทักษิณ ผมคิดว่าท่านไม่ควรออกมาพูดอะไรในฐานะทูต คนอเมริกันไม่รู้จริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่ ดังนั้นเวลาที่ท่านทูตพูดอะไรเกี่ยวกับ

เมืองไทย ซึ่งดูไม่เป็นมิตรกับผู้ชุมนุม และเข้าข้างรัฐบาล อาจจะทำให้ชาวอเมริกันเชื่อได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมพอจะทำได้คือ ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย คือ ระหว่างคนไทยและ

ชาวอเมริกัน"
     
        ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2557 ไมเคิล ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีที่ สหรัฐฯขู่ว่าจะตัดงบประมาณความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศไทย 10 ล้านเหรียญ โดยบอกว่า เป็นการแสดงออกอย่างโง่

เขลาของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ทำการขู่ประเทศไทย ก่อนจะโยงไปถึง คริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ที่เขาบอกว่า น่าจะไร้สติปัญญามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกใบนี้
     
        "...เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คริสตี เคนนีย์ ได้เป็นฝ่ายที่ทำให้เกิดความห่างเหินของคนไทยที่ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นมิตรด้วยจำนวนหลายล้านคน เธอทำให้พวกเรา (ชาวอเมริกัน) กลายเป็นตัวตลก

จาก ทวิตเตอร์ประจำวันของเธอ วิดีโอหน่อมแน้ม เซลฟี่ และใช้คำหรูหราฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะอธิบายว่าเธอตื่นสายอย่างไร
     
        เพื่อนฝูงที่ได้ติดตามการทำงานของผมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว รู้ว่าการกล่าวอ้างจากต่างแดนของผมในวันนี้ สุดท้ายความจริงอีกไม่กี่ปีที่ข้างหน้า กรุณาอย่าให้ความว่าหมายว่านี่เป็นการขี้แนะ

แต่ นี่คือคำเตือน : กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา -- การใช้เอกอัครราชทูตเคนนีย์ ซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงาน -- สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อความสัมพันธ์กับประเทศ

ไทย คุณอาจจะยังมองไม่เห็น แต่ผมเห็น ผมติดต่อทำงานร่วมกันกับบุคคลสำคัญในประเทศนี้ และใช้เวลาทุกวันกับผู้คนธรรมดาทั่วไป พวกเขาโกรธ และพวกเขาก็มีสิทธิที่จะโกรธ...
     
        มาถึงตอนนี้ จำไว้ด้วยว่าเมื่อเพียงแค่ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ว่า มันไม่ใช่การปฏิวัติรัฐประหาร ในเวลาไม่ถึง 48 ชม. รัฐประหารก็เกิดขึ้น เมื่อวานนี้
     
        CIA ของเราไม่รู้เรื่อง กระทรวงการต่างประเทศของเราไม่รู้เรื่องเอกอัครราชทูตของเราอยู่ข้างเดียวกับระบอบของอาชญากร และทำตัวน่ารักเหมือนช้างหรรษาที่ได้การทาบทามจากฮอลลีวู้ด
     
        อย่าเพิ่งเชื่อในคำพูดของผม เข้าไปเสริชหาทวิตเตอร์ของ "Kristie Kenny" อินสตาแกรมของ Kristie Kenny แล้วไปที่ youtube และ เว็ป ค้นหา US Embassy Thailand video คุณจะตกใจว่าเธอทำ

ให้ภาพพจน์ของเรา (อเมริกัน) เป็นอย่างไร และการวางตัวของรัฐบาลสหรัฐฯเป็นเช่นไร
     
        ใช่ 10 ล้านเหรียญ นี่มันแค่ขนข้างหลังช้างร่วงหนึ่งเส้น แต่มันทำให้ช้างโกรธเวลาที่เราตี"
     
        นอกจากนี้ บรรณาธิการโต๊ะข่าวต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ก็ยังได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กถึงพฤติกรรม และวีรกรรมของทูตมะกันนางนี้ไว้ด้วย
     
        "นับวันแกนนำการประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งที่ราชดำเนินก็เริ่มเหลืออดกับพฤติกรรมของนางคริสตี เคนนีย์ ทูตสหรัฐฯ ประจำไทยมากขึ้นทุกที ถึงขนาดแกนนำ คปท. เตือน

ว่าถ้าสหรัฐฯ ยังเลือกปฏิบัติวิจารณ์การชุมนุมในไทยอย่างผิดๆ ก็อาจจะยกขบวนไปประท้วงที่หน้าสถานทูตสหรัฐฯ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่นางคริสตีถูกประท้วงว่าชอบยื่นจมูกไปจุ้นเรื่องคนอื่น

ระหว่างที่เป็นทูตสหรัฐประจำฟิลิปปินส์เธอก็เคยถูกชาวฟิลิปปินส์ประท้วงและรวมหัวขับไล่มาแล้ว สื่อบางสื่อก็เคยเตือนเธอเป็นนัยๆว่ามีพฤติกรรมเป็นนกสองหัว หรือหน้าไหว้หลังหลอก
     
        เบื้องหน้าทำตัวเป็นคนสนุกสนานและคบคนง่าย แต่เบื้องหลังนั้นทำให้ชาวฟิลิปปินส์หลายคนแทบจะเส้นเลือดในสมองแตกมาแล้ว ในเว็บไซต์จอมแฉวิกิลีกส์ก็เคยแฉว่าเธอเคยวิจารณ์อดีต

ประธานาธิบดีคอรี อาคีโน ที่ชาวฟิลิปปินส์ยกย่องว่าเป็นต้นแบบในเรื่องประชาธิปไตยว่าเป็นแค่ต้นแบบเรื่องจริยธรรมบางส่วนเท่านั้น หนำซ้ำ ยังอ่านเกมการเมืองในฟิลิปปินส์ไม่แตกเพราะอคติ

และการเลือกปฏิบัติ ทำให้ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ยิ่งมีแต่ตกต่ำลงจนท้ายที่สุดเธอก็ถูกเรียกตัวกลับก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นทูตประจำประเทศไทย"
     
        สำหรับทูตท่านนี้ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ในความไม่เป็นกลาง หลังเมื่อปี 2554 คริสตี เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้กล่าวผ่านทวิตเตอร์ว่า สหรัฐฯ กังวลใจต่อการตัดสินคดีของ

นายโจ กอร์ดอน ชายไทย-อเมริกันที่ถูกตัดสินจำคุกในคดีหมิ่นฯ ซึ่งทางการสหรัฐฯ ยืนยันว่า ให้ความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ของไทยอย่างสูงสุด แต่รู้สึกเป็นกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับ

มาตรฐานสากล
     
        หลังจากนั้น คนไทยหลายคนจึงมองว่าเธอเป็นทูตเลือกข้างระบอบทักษิณ และเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศของไทย ทั้งนี้ รอยบาดหมางในวันนั้นยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน อย่าง

เหตุการณ์เมื่อปลายปีที่แล้ว ผู้ชุมนุมกลุ่ม คปท. ได้ไปชุมนุมและปักธงชาติหน้าสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย พร้อมกับบอกให้สหรัฐฯ เปลี่ยนตัวเอกอัครราชทูต เนื่องจากเห็นว่า เอกอัคร

ราชทูตคนปัจจุบันไม่เป็นกลาง รวมถึงกรณีที่รัฐบาลไทยได้แอบไปทำข้อตกลงตั้งฐานทัพเรือกับสหรัฐฯ นั้น คปท.ยืนยันจะคัดค้านจนถึงที่สุดและหากยังเดินหน้าต่อจะรณรงค์ให้คนไทยขับไล่ออก

นอกประเทศ
     
        อย่างไรก็ตาม เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวยืนยันครั้งชุมนุมเมื่อตอนต้นปีว่า สหรัฐฯ ไม่แทรกแซงการเมืองไทย แค่เพียงเตือนพลเมืองของอเมริกันให้อยู่ห่างจากพื้นที่

การชุมนุมตามจุดต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย พร้อมระบุด้วยว่า ประเทศไทยจะต้องแก้ปัญหาด้วยคนไทย และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
     
       กระทั่งล่าสุดมีการยื่นคำร้องต่อทำเนียบขาวให้เรียกเอกอัครราชทูต "คริสตี" กลับคืนไปจากประเทศไทยด้วยการชวนกันลงชื่อให้ครบแสน เพราะเหลืออดเต็มที่กับพฤติกรรมของเธอ ส่วน

รัฐบาลสหรัฐฯ จะมีท่าทีอย่างไรต่อการล่าชื่อเพื่อปลดทูตมะกันให้พ้นไทย น่าติดตาม..
     
       ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
--------------------------

ปาฐกถาของนายแดเนียล รัสเซล

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร

สวัสดีครับ

ขณะนี้ ผมกำลังอยู่ในระหว่างเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงฟิลิปปินส์ มาเลเซียและกัมพูชา

ผมเดินทางมาภูมิภาคนี้ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่ท่านประธานาธิบดีโอบามาเดินทางมาเอเชียสองครั้งในปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลเดียวกับที่นักเรียนและนักธุรกิจชาวอเมริกันต่างพากันมาภูมิภาคนี้ และ

ด้วยเหตุผลเดียวกับที่เรือพานิชย์และกองทัพเรือของเรามาแวะตามเมืองท่าในภูมิภาคนี้  นั่นคือ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของอเมริกามีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมากกับความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของเอเชีย  ชุมชนของเราเชื่อมโยงกันด้วยการเดินทาง การค้าและความสัมพันธ์

ในครอบครัว  และชะตากรรมของเราก็เชื่อมสัมพันธ์กันด้วยปัญหาความท้าทายระดับโลกร่วมกัน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงโรคระบาดและลัทธิคตินิยมสุดโต่งที่นิยมใช้ความ

รุนแรง

ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ตามลำพัง ฉะนั้น ผมขอพูดถึงโครงสร้างของภูมิภาคนี้ที่สหรัฐฯ และพันธมิตรและประเทศคู่ความร่วมมือได้สร้างขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว

เป็นประการแรก  จากนั้น ผมจะ เน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย และเส้นทางมิตรภาพของเราในอนาคต

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่สหรัฐฯ ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และหลังสงครามเย็นยุติลง  ความร่วมมือนี้ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นกับประเทศคู่ความร่วมมือ เช่น ประเทศสมาชิก

กลุ่มอาเซียน เพื่อพัฒนาความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นประชาธิปไตยทั่วทั้งภูมิภาค

ประเทศของเราได้ร่วมกันสร้างโครงสร้างและสถาบันระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมให้แข็งแกร่ง  โครงสร้างนี้ได้ช่วยรักษาสันติภาพในภูมิภาคนี้  และหลายประเทศได้ใช้ประโยชน์จาก

โอกาสอันเป็นผลมาจากความสงบสุขนี้ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

เราเห็นสิ่งนี้ในระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งซึ่งกำเนิดขึ้นในสถานที่ที่มีความแตกต่างหลากหลาย อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น  ในขณะที่พม่ายังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่

เราก็ได้เห็นการเปิดประเทศของพม่าครั้งประวัติศาสตร์หลังจากแยกตัวโดดเดี่ยวมาหลายทศวรรษ  และในกัมพูชา ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเมื่อปีที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสสำหรับการปฏิรูป

และการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งขึ้น

ในทุกประเทศข้างต้น ความก้าวหน้าในระบอบประชาธิปไตยและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจะดำเนินคู่ขนานกันไป และเรามักจะพบว่า ความสำเร็จของประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นแรง

บันดาลใจให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

ประธานาธิบดีโอบามาได้ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าของภูมิภาคนี้ในหลายๆ ด้าน เช่น การเพิ่มการมีส่วนร่วม ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของโครงสร้างของภูมิภาคนี้

ประธานาธิบดีโอบามาได้ตัดสินใจเข้าร่วม ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนแรกประจำอาเซียน ซึ่งปัจจุบันเป็นวาระของเอกอัครราชทูตคนที่ 2 แล้ว  

นอกจากนี้  ประธานาธิบดีโอบามายังร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้วยตนเองอีกด้วย

สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการเสริมสร้างให้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นเวทีหลักในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาค เช่น ข้อพิพาทในทะเล

จีนใต้  อีกทั้ง สหรัฐฯ ยังสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีกำหนดจะเปิดตัวในปีนี้

สหรัฐฯ สนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในเอเปคซึ่งเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจในโครงสร้างของภูมิภาคนี้  เอเปคได้ช่วยเร่งการฟื้นตัวจากวิกฤติการเงินโลก ส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจให้

สตรี และประกันว่า การเติบโตจะครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้และเสริมสร้างการเติบโตของชนชั้นกลางตลอดทั่วภูมิภาค

และในการประชุมเอเปคปีนี้ สหรัฐฯ ตั้งใจที่จะสำรวจแนวทางที่สหรัฐฯ จะสามารถช่วยขยายการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง

ครอบคลุมยิ่งขึ้น

เสาหลักที่เก่าแก่ที่สุดของความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคนี้คือ พันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและ สาธารณรัฐเกาหลี  ระบบความสัมพันธ์แบบพันธมิตรและความร่วม

มือด้านความมั่นคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในหลายด้าน

ระบบดังกล่าวเป็นแกนหลักของความร่วมมือในภูมิภาคและทั่วโลก  และเป็นสิ่งที่จะยืนหยัดเพื่อหลักนิติธรรมระหว่างประเทศเมื่อมีการท้าทายหลักนิติธรรม เช่น การกระทำอันก่อปัญหาที่จะ

ดำเนินการฝ่ายเดียวเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในทะเลจีนใต้

เราทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่า กองทัพของเราจะสามารถพร้อมทำงานร่วมกันได้ในทันทีที่มีสถานการณ์จำเป็น  ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน 182 ปีระหว่างสหรัฐฯ กับไทยก็เช่น

เดียวกัน ประเทศเราทั้งสองได้ร่วมมือกันแก้ไขวิกฤติการณ์ด้านมนุษยธรรม ปฏิบัติการตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต่อต้านสลัดทะเล ส่งเสริมสาธารณสุข คุ้มครองผู้ลี้ภัย และร่วมมือในการ

ต่อต้านการก่อการร้ายและความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ

แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยมีขอบเขตกว้างไกลกว่าจำนวนปีที่เราทั้งสองเป็นพันธมิตรกันมา หรือ แม้กระทั่งผลประโยชน์และเจตจำนงที่เรามีร่วมกัน  มิตรภาพของเราซึ่งมีจุดเริ่มต้น

นานมาแล้วได้รับการกระชับไมตรีอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ด้วยการที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงพำนักในสหรัฐอเมริกาเพื่อ ศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด การที่พระบาทสมเด็จพระ

เจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชสมภพในรัฐแมสซาชูเซตส์ และด้วยการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนในการเกื้อหนุนวัฒนธรรมอเมริกัน

มิตรภาพที่กว้างไกลและยั่งยืนของเราได้รับการกระชับสัมพันธ์ด้วยนักเรียนไทยหลายพันคนที่เดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ ทุกปีและชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาและท่องเที่ยวในไทย  เป็นเวลากว่า

สองศตวรรษที่ชาวอเมริกันได้ อาศัยอยู่ในไทยและมีส่วนเกื้อหนุนสังคมไทยในด้านต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับที่ชาวไทยได้มีส่วนในสังคมอเมริกัน

ประเทศเราทั้งสองได้ยืนหยัดเคียงคู่กันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  เราเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตยในช่วงความขัดแย้งในคาบสมุทรอินโดจีน  เราได้ต่อสู้กับการแพร่ขยาย

ของการก่อการร้ายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเราเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่นำเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คนไทยและ ภูมิภาคนี้

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่หน่วยอาสาสันติภาพและบุคลากรสหรัฐฯ ได้มีส่วนช่วยด้านการสอนภาษาอังกฤษและการพัฒนาชนบท  บุคลากรด้านสาธารณสุขและนักวิทยาศาสตร์จากประเทศเราทั้ง

สองได้ร่วมมือในงานวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคมาลาเรีย และเชื้อเอชไอวี/เอดส์  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของเราก็ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติดและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

ทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าที่ดำเนินมายาวนานและเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย  สหรัฐฯ เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่สามของไทย  บริษัทอเมริกันหลายบริษัท

เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทย ส่งเสริมอาชีพหลายแสนตำแหน่ง รวมทั้งนำเทคโนโลยีชั้นนำและมาตรฐานระดับสูงเข้ามาในไทย

บริษัทเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เพียงปริมาณการค้าการลงทุนเท่านั้นที่สำคัญ  คุณภาพก็สำคัญเช่นกัน  การดำเนินธุรกิจกับอเมริกาได้เพิ่มโอกาสด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะสำหรับ

แรงงานไทย ตลอดจนมาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโต ช่วยให้ประเทศก้าวข้าม “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” และพัฒนาชีวิตของประชาชนทั่วไปให้ดีขึ้น

ผมขอกล่าวถึงแนวทางที่เรากำลังเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตสำหรับความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับไทยผ่านโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative หรือ YSEALI ของประธานาธิบดี

โอบามา  ผมเข้าใจว่ามีสมาชิกโครงการมาร่วมฟังในวันนี้ด้วย  เชิญแสดงตัวกันหน่อยครับ...

ขอบคุณครับ และผมหวังว่าใครที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกจะมาร่วมเป็นสมาชิกโครงการกับเราด้วยนะครับ

YSEALI เป็นโครงการโดดเด่นสำหรับประธานาธิบดีโอบามา  ในฐานะที่ท่านเองก็เคยเป็นเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ช่วงหนึ่ง ท่านจึงรู้สึกผูกพันกับภูมิภาคนี้  ประธานาธิบดีโอ

บามาเคยจัดกิจกรรมพบปะอย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกโครงการในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีชาวไทยเข้าร่วมด้วย  อีกทั้งสหรัฐฯ ยังได้พาสมาชิกโครงการ YSEALI ไปเยือนสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน

นี่คืออีกแนวทางหนึ่งที่สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้นำรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนให้เยาวชนได้มาพบปะกันเพื่อร่วมกันสร้างอัตลักษณ์อาเซียน  ด้วยการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้นำของทุก

ท่าน โครงการ YSEALI กำลังสร้างกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันและร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อจัดการปัญหาที่เยาวชนของเราระบุว่าเป็นความท้าทายใหญ่ที่

สุดแห่งยุคสมัยของพวกเขา อันได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม  สมาชิกโครงการ YSEALI ทำให้ทั้งประธานาธิบดีโอบามา ผม

และทุกคนที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาประทับใจมาก

ในเวลานี้  ผมทราบดีว่าทุกท่านในที่นี้เป็นผู้ที่มีความคิดลึกซึ้ง  ดังนั้น หลังจากที่ผมได้พูดถึงสิ่งที่กำหนดภาพความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยไปแล้ว ทั้งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและใน

อนาคต  ผมก็ควรต้องกล่าวสักเล็กน้อยเกี่ยวกับสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ตลอดจนผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในช่วงปีที่ผ่านมา

น่าเสียดายว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคและยังได้รับผลกระทบจากรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อแปดเดือนก่อน ซึ่งได้ปลดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบ

ประชาธิปไตย

เมื่อเช้านี้ ผมได้พูดคุยกับอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศธนะศักดิ์  ผมหารือกับทั้งสามท่านเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง

ของไทยในปัจจุบัน  ทุกฝ่ายกล่าวถึงความสำคัญของการปรองดองและการดำเนินการสู่อนาคตที่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย

ผมเข้าใจดีว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง จึงขอยกประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยความนอบน้อมและความเคารพต่อประชาชนชาวไทย  สหรัฐฯ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเมืองไทย  เราเชื่อว่า

ประชาชนชาวไทยคือผู้กำหนดความชอบธรรมของกระบวนการทางการเมืองและกระบวนการทางทางกฎหมายของตน  ทว่า สหรัฐฯ ยังคงกังวลเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่

รัฐประหาร อันรวมถึงข้อจำกัดด้านการพูดและการชุมนุม

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีความกังวลเป็นพิเศษในประเด็นที่ว่า กระบวนการทางการเมืองนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนทุกภาคส่วนของสังคมไทย  ผมขอย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯ ไม่ได้กำลังบงการเส้นทางการ

เมืองที่ไทยควรดำเนินตามเพื่อกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยหรือกำลังเลือกข้างในการเมืองไทย แต่กระบวนการที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนนั้นจะส่งเสริมการปรองดองทางการเมือง ซึ่งสำคัญต่อความ

มั่นคงในระยะยาว  กระบวนการในวงแคบที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนั้นเสี่ยงต่อการปล่อยให้คนไทยจำนวนมากรู้สึกถูกกีดกันจากระบบการเมือง

นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ ยังคงมุ่งสนับสนุนกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมในวงกว้างกว่า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้รู้สึกว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นตัวแทนของตนด้วย

นอกจากนี้ มุมมองความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ  ผมขอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร

และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาอาญาในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง  ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการ

เมือง

นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ หวังว่าจะได้เห็นกระบวนการที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนไทยต่อรัฐบาลและสถาบันตุลาการของตน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาประเทศว่า ประเทศไทยกำลัง

เดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย

การยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศและยกเลิกข้อจำกัดเสรีภาพในการพูดและการชุมนุมคือก้าวสำคัญอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงซึ่งจะสะท้อน

ความหลากหลายของความคิดเห็นภายในประเทศ  สหรัฐฯ หวังว่า ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะนำมาซึ่งสถาบันที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตยที่สะท้อนและตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของ

ประชาชนชาวไทย

สารที่ผมได้สื่อถึงบุคคลที่ผมเข้าพบในวันนี้ ถึงทุกท่าน และถึงประชาชนชาวไทยทุกคนนั้นเป็นสารเดียวกัน นั่นคือ

ประเทศไทยเป็นเพื่อนและพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ  เรามีประวัติศาสตร์ความร่วมมือกันมายาวนานในหลากหลายประเด็น ที่ไม่เพียงสำคัญกับทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อภูมิภาคนี้

ตลอดจนอีกฟากหนึ่งของโลก  สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสายสัมพันธ์นี้ รวมทั้งต่อมิตรภาพระหว่างเรากับประชาชนทุกคนของประเทศอันแสนวิเศษนี้

สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งเกี่ยวกับโอกาสที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของประเทศไทย  ขอให้ทุกท่านประสบแต่สิ่งดีงามครับ
----------------------------------
การแสดงออกของ แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแฟซิฟิคของสหรัฐ

ในกรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ทำให้เกิดคำถามจากหลายฝ่ายที่แตกต่างกันไป

แต่ใครตั้งคำถามอย่างไรก็หนีไม่พ้นข้อสรุปว่า เป็นเรื่องไม่ปกติแน่ที่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของกระทรวงต่างประเทศของประเทศหนึ่งมาขอพบอดีตนายกฯรัฐมนตรี, หัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน,

และรองนายกฯและรัฐมนตรีต่างประเทศในวันเดียวกันอย่างโจ๋งครึ่ม

เสร็จแล้วก็ยังไปปราศรัย ณ มหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศบอกว่ารัฐบาลไทยควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อให้ “ประชาคมโลก” ยอมรับ

คนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. และรัฐบาลของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คงจะเห็นว่า คุณรัสเซล ทำถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการย้ำว่ากติกาประชาธิปไตย เขาต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของ

เวทีสากล

คนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าทีสหรัฐก็จะต้องบอกว่า คุณรัสเซล แกมาจุ้นจ้านอะไรในบ้านเรา จะมีผู้นำต่างประเทศคนไหนบ้างที่ไปขอพบคนสำคัญของการเมืองไทย แล้วเล็คเช่อร์ผู้นำประเทศว่าจะต้อง

ทำนั่นทำนี่

คนไทยบางคนบอกว่าต้องอาศัยแรงกดดันจากสหรัฐนี่แหละจึงจะได้ผล

คนไทยอีกบางคนบอกว่าสหรัฐแทรกแซงกิจการภายในของไทย

คุณรัสเซล บอกว่าสหรัฐไม่ได้ถือหางหรือเข้าข้างฝ่ายใด และไม่ได้มาสั่งการว่า ประเทศไทยจะต้องเดินตามเส้นทางไหนเพื่อกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และไม่ได้เข้าข้างกลุ่มการเมืองฝ่ายใด

แต่การยกเลิกกฎอัยการศึกและการจำกัดเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น เป็นก้าวสำคัญของกระบวนการปฏิรูปที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ประเด็นอย่างนี้คนไทยไม่น้อยก็ได้แสดงความเห็นอย่างเปิดเผยไปแล้ว การที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศมาพูดจะทำให้รัฐบาลรู้สึกกดดันมากกว่าคนไทยพูดหรือไม่ ข้อนี้พิสูจน์ไม่ได้ชัดเจน

แต่คุณรัสเซลแกพูดถึงเรื่องการถอดถอน คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อโดยตรง) ด้วย ทำนองว่านายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งแต่ถูกองค์กรที่มาจากการปฏิวัติถอดถอน และตั้งข้อหาอาญา

นั้นจะทำให้ “ประชาคมนานาชาติมีความรู้สึกว่า นี่เป็นเรื่องที่มีเป้าหมายทางการเมือง”

นายกฯไทยบอกว่ารัฐมนตรีต่างประเทศไทยได้ชี้แจงถึงเหตุผล และความจำเป็นที่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะไม่มีกฎหมายใดมาควบคุมสถานการณ์ได้

รัฐมนตรีต่างประเทศไทยถามคุณรัสเซล ว่า ถ้าสหรัฐหรือประเทศอื่นประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทย จะให้กฎหมายใดมาควบคุม คุณรัสเซลไม่ตอบ ขอกลับไปคิดก่อน

นายกฯบอกว่าไม่มีการกดดันใด ๆ จากประเทศมหาอำนาจ ขอร้องคนไทยและสื่ออย่าให้ความสำคัญ เพราะปัญหาภายในประเทศต้องแก้กันในประเทศ

ปัญหาเรื่องกฎอัยการศึก, เสรีภาพการแสดงออก, การเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ล้วนเป็นประเด็นที่คนไทยกำลังถกแถลงกันเพื่อหาทางออกที่ถูกต้องเหมาะสม

มะกัน, แขก, จีน, จะแสดงความเห็นย่อมเป็นสิทธิของเขา และเราจะแสดงความคิดเห็นต่อระบบการเมืองของเขาก็เป็นสิทธิของเรา แต่ในการคบหาระหว่างประเทศนั้น ความสำคัญอยู่ที่ “ระดับความ

เหมาะสม” และการเคารพในสิทธิของกันและกัน เพราะท้ายที่สุดคนของประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของตนเอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงตัวเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงที่

เป็นประโยชน์ต่อกันเท่านั้น

การแสดงออกของสหรัฐผ่าน คุณแดเนียล รัสเซล ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดสำหรับคนไทยที่ติดตามข่าวสาร แต่ลีลาท่าทีและน้ำเสียงต่างหากที่ทำให้การมาเยือนครั้งนี้เป็นประเด็น

น่าวิเคราะห์

เพราะสหรัฐบอกว่าเรื่องการค้าการลงทุนก็ยังเดินหน้าต่อไป อีกทั้งการซ้อมรบ Cobra Gold ก็ยังจะดำเนินต่อไป เพียงแต่ปีนี้ดูเหมือนจะไม่ออกข่าวให้เกรียวกราวเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา
สะท้อนว่าสหรัฐกับรัฐบาลไทยของนายกฯประยุทธ์ ก็พยายามประคองความสัมพันธ์ไม่ให้หลุดออกไปไกลจนกู่ไม่กลับ แต่ขณะเดียวกันต่างคนต่างก็มีคำอธิบายแนวทางของตนเองให้กับประชาคม

โลก อีกทั้งอเมริกาก็รู้ดีว่าจีนกำลังสร้างสมอิทธิพลทางการเมืองในภูมิภาคนี้อย่างคึกคักด้วยวิเทโศบายที่ไปคนละทิศ

ท้ายสุด นโยบายของใครก็สนองประโยชน์ของตนเท่านั้น

เพียงแต่ครั้งนี้เกิดสิ่งที่ผมเรียกว่า “เดอะแดเนียล รัสเซลโชว์” ในกรุงเทพฯ เป็นดราม่าเล็ก ๆ ของแวดวงนโยบายต่างประเทศเท่านั้น
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/631603#sthash.lDOoAOrW.dpuf