PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เราต้องรับรู้อะไรบ้าง ถ้าจะทำประชามติ?

15062558 เราต้องรับรู้อะไรบ้าง ถ้าจะทำประชามติ?
โดย : กาแฟดำ

ใคร ๆ ก็สนใจ Roadmap เพราะท่านนายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่า ไม่ต้องถามรายละเอียดอะไรอีก

เพราะทุกอย่างจะเป็นไปตามนั้น ส่วนโรดแมปจะปรับเปลี่ยนอะไรอย่างไร เป็นเรื่องที่ชาวบ้านอย่างเราต้องติดตามและวิเคราะห์เอง

คำถามที่ว่าจะเลือกตั้งเมื่อไหร่ยังไม่มีใครมีคำตอบ เพราะอยู่ที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือ สปช. หรือไม่ ถ้าผ่านตารางเวลาเป็นอย่างหนึ่ง, ถ้าไม่ผ่านก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

อีกปัจจัยหนึ่งคือร่างรัฐธรรมนูญนี้แม้จะผ่านความเห็นชอบของ สปช. แต่หากไม่ผ่านประชามติ, ก็จะทำให้โรดแมปเป็นไปอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน

ผมสงสัยว่าที่นายกฯหงุดหงิดกับคำถามเรื่องโรดแมพ ก็คงจะเป็นเพราะปัจจัยของความไม่แน่นอนต่างๆ เหล่านี้นี่เอง

แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคนไทยทั่วไปจะไม่สนใจเรื่องของตารางเวลา ของแต่ละกรณีหรือที่ฝรั่งเรียกว่า scenario

วันนี้ เอากรณีที่ทำประชามติหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของ สปช. อีกวันหนึ่งค่อยมาประเมินว่าหากไม่ผ่าน สปช. ตารางเวลาจะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร

เป็นอันว่าจะมีการทำ “ประชามติ” แล้วแน่นอน และคณะกรรมการเลือกตั้งหรือ กกต. จะเป็นผู้รับผิดชอบไปทำประชามติ

ข่าวล่าสุดบอกว่า สปช. จะลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 4 กันยายนนี้

เมื่อมีมติแล้ว สปช. ก็จะแจ้งต่อคณะรัฐมนตรี “โดยเร็ว” หากเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญก็จะให้มีการทำประชามติ

กกต. ก็จะทำรายละเอียดกฏเกณฑ์เกี่ยวกับการทำประชามติ เสนอไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะกำหนดวันออกเสียงประชามติด้วย

หาก สนช. เห็นชอบ กกต. ก็จะประกาศกติกานั้นในราชกิจจานุเบกษา

ก่อนจะทำประชามติ จะต้องหาโรงพิมพ์พิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งหมด 19 ล้านฉบับภายในเวลา 45 วัน ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างเร่งด่วนพอสมควร

ทำไมจึงเป็น 19 ล้านฉบับทั้งๆ ที่ผู้มีสิทธิออกเสียง 49 ล้านคน? คำตอบจาก กกต. คือจะแจกครัวเรือนละหนึ่งเล่ม ซึ่งก็อาจจะเกิดคำถามว่าสมาชิกในแต่ละครัวเรือนจะแย่งกันอ่าน หรือจะให้หัวหน้าครัวเรือนเป็นคนอ่าน แล้วอธิบายรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ ให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านหรืออย่างไร

เหตุผลหนึ่งที่นำมาอ้างว่าควรจะทำประชามติ ก็เพราะจะได้ให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ได้มีโอกาสสังเคราะห์, วิเคราะห์และถกแถลงถึงประเด็นสำคัญๆ ในร่างรัฐธรรมนูญนี้

แต่การแจกหนังสืออย่างเดียว คงไม่อาจจะกระตุ้นความสนใจของคนไทยทั่วไปได้ เพราะคนไทยไม่นิยมอ่านหนังสือ และหากแต่ละบ้านมีเพียงเล่มเดียวก็อาจจะมีปัญหาในการกระจายการอ่านออกไปให้ครบถ้วน

ดังนั้น การจะกระตุ้นให้เกิดความสนใจเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ จึงจะต้องทำกันในทุกระดับทุกสื่อและทุกชุมชน อีกทั้งไม่ควรจะเน้นแต่เพียงการแจกหนังสือเท่านั้น ควรจะต้องสร้างกิจกรรมเผยแพร่และส่งเสริมการวิพากษ์วิจารณ์ ผ่านสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางอีกด้วย

คำถามก็คือ 45 วันจะพอสำหรับการสร้างความเข้าใจ และการถกแถลงกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย ที่ต้องการเห็นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจังได้มากน้อยเพียงใด

กกต. บอกว่าจะทะยอยส่งหนังสือร่างรัฐธรรมนูญทันทีที่พิมพ์เสร็จ ไม่รอให้เสร็จหมดก่อนจึงจะแจกจ่าย ซึ่งก็แปลว่าคนไทยที่จะได้รับหนังสือนี้จะไม่ได้รับหนังสือในวันเดียวกัน บางคนได้เร็วบางคนได้ช้า คนที่ได้เร็วที่สุดมีเวลาอ่าน 45 วัน ส่วนคนได้ช้าสุดอาจจะมีเวลาอ่านเพียง 30 วัน ขึ้นอยู่กับการบริหารของ กกต. ในการจัดหาโรงพิมพ์ได้กี่แห่งเพื่อเร่งการพิมพ์ให้เสร็จทันกำหนดเวลา

เส้นตายของ กกต. คือจะต้องส่งหนังสือนี้ถึงเจ้าบ้านคนสุดท้ายภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
เพราะ กกต. กำหนดไว้แล้วว่าวันออกเสียงประชามติคือ 10 มกราคม 2559

เหตุที่กำหนดวันนั้น คุณศุภชัย สมเจริญบอกว่าเพราะรองนายกฯวิษณุ เครืองามได้ประกาศว่าวันทำประชามติควรจะอยู่ระหว่าง 30-45 วันหลังจากหนังสือร่างรัฐธรรมนูญส่งถึงเจ้าบ้านคนสุดท้าย

ประธาน กกต. บอกว่าจะต้องประสานกับไปรษณีย์ไทย เพื่อจัดการส่งหนังสือถึงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้หมดภายในเส้นตาย “หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งให้ได้ 80%”

ซึ่งก็แปลว่าไม่ทุกคนจะได้หนังสือร่างรัฐธรรมนูญ แต่การไม่ได้หนังสือไม่ใช่ข้ออ้างว่าไม่รู้ว่าเขากำลังจะทำอะไรกัน เพียงแต่ “ความเป็นประชาธิปไตย” จะขาด ๆ วิ่น ๆ ตามประสาประเทศไทย

อีกทั้งยังไม่แน่ว่าการไปใช้สิทธิแสดงประชามติครั้งนี้จะถือว่าเป็น “หน้าที่” ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนหรือเป็นเรื่องของความสมัครใจ

งบประมาณที่ใช้อยู่ที่ใกล้ๆ 3,000 ล้านบาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับจัดการเลือกตั้งประมาณ 400 ล้านเพราะจะไม่มีการลงคะแนนเสียงของคนไทยในต่างประเทศ

ที่ไล่เรียงมาให้ทราบก็เพื่อจะได้เริ่มทำความเข้าใจกับบางส่วนของ Roadmap ทางการเมืองสำหรับคนไทยทั่วไป

เฉพาะกรณีที่ สปช. ลงมติวันที่ 4 กันยายนให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ
แต่หาก สปช. มีมติ “คว่ำ” ร่างรัฐธรรมนูญ, ก็ต้องเป็นตารางเวลาอีกอย่างหนึ่ง เพราะจะต้องมีการร่างใหม่ นับหนึ่งใหม่ และวันเลือกตั้งครั้งใหม่ก็จะต้องเลื่อนออกไปอีกนะครับ

กรณีนั้นก็ต้องมาไล่เรียงกันอีกทีในคอลัมน์นี้ครับ

คำเตือนจากคนกันเองถึง สปช.

15062558 สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน และ อาจารย์เจิมศักดิ์ ให้ความเห็นต่อสปช.อย่างตรงไปตรงมา

@ ผมเคยให้ความเห็นตั้งแต่แรก แต่ไม่มีใครฟัง
1.ประเทศ ที่มีการปฏิรูปสำเร็จ ก้าวไปสู่ประชาธิปไตยได้จริง ประชาชนมีความเข้มแข็ง มีสุขในการปฏิรูป เขาจะเอาคนไม่มาก เน้นประเด็นหลักๆที่เป็นปัญหาของการเมืองสังคมแล้วมุ่งหน้าไปตรงนั้น
2.สปช.แต่ละคน ต้องจับประเด็นหลักที่ตนสันทัดมีประสบการณ์ จริงแล้วทำให้ได้ผลดีที่สุด นำเอามาปฏิบัติได้จริงมิใช่ไปเป็นคณะกรรมการคนละ 7-10 คณะประชุมไม่ทันจบ ก็ต้องย้ายไปประชุมคระอื่นๆ
แล้วจะได้ข้อสรุปที่ดีได้อย่างไรแล้วบางคน ก็ออกมาสัมภาษณ์เป็นรายวัน
3. การให้ข่าว ต้องมีคณะผู้รับผิดชอบ นำเสนอประเด็นที่ชัดเจน ในนามของสปช. มิใช่บุคคล เป็นปัจเจก
ทำให้ตกเป็นเครื่องมือของสื่อ นักการเมืองและกลุ่มทุนฯ

4.ต้องมีการสื่อสารไปยังประชาชนให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องมีแผนมีกลไกที่ต้องทำต้องลงุทุนที่ผ่านมา ยังทำได้น้อย เพราะไม่เห็นความสำคัญและไม่ลงทุน
5. ต้องมีการสื่อสารระหว่างแม่น้ำ 5 สาย เป็นประจำต่อเนื่องให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และเรื่องที่แต่ละส่วนทำจึงจะก้าวและเดินไปด้วยกันพร้อมกับประชาชนได้ให้ภารกิจบรรลุประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์

6. ด้วยความจำกัดของแม่น้ำ 5 สาย ในหลายเหตุหลายประการ ที่เคยเสนอไปแล้วจะทำให้ผลที่ได้ออกมา จะไม่สมูรณ์ จะได้ครึ่งกลางๆแล้วก็เป็นหน้าที่ของมวลมหาประชาชน ที่จะต้องสานต่อ

@ แต่ก็ยังมีโอกาส มีเวลาอีก 3 เดือนของสปช.
เอาสติปัญญา ความเป็นจริงเป็นหลัก อย่าใช้อามรณ์ วาทะคมคายของแต่ละตนเอาผลประโยชน์ของส่วนรวมประเทศมาก่อน ส่วนตัว
1. สรุปทบทวนและประเมินตนเอง คณะ และ สปช. ดูจุดแข็งจุดอ่อนของตน รวมทั้งของแม่น้ำอีก 4 สาย
2.นำข้อสรุปมาปรับปรุง และนำเสนอแบบมีตัวแทนทุกฝ่ายในแม่น้ำ 5 สาย
3.ในส่วนของการรับไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณา สิ่งที่ผ่านมา สิ่งที่ทำไป สิ่งที่ได้จากประชาชน
โดยต้องเข้าในหลักของการปฏิรูป และขั้นตอนของการเปลี่ยนผ่าน
3.1 ด้วยความปรารถนาดี มีใจของสปช. ที่ให้กับประชาชน
3.2 เข้าใจภารกิจและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประวัติศาสตร์
หนึ่ง ปฏิเสธไม่เอาการเมืองเก่า จนกว่าจะมีการปฏิรูปได้จริง
สอง สร้างเสริมกลไก และบทบาทของประชาชนให้เข้มแข็งเป็นจริง
สาม ปฏิรุปก่อนเลือกตั้ง
3.3 โดยหลักและสิ่งที่สปช.หลายท่านพูดมา ให้การยอมรับร่างรัฐธรรมนูญนี้70% บ้าง 80-90 % เห็นด้วย
ข้อไม่เห็นด้วยมีไม่มากนัก

ฉนั้น " การรับร่างรัฐธรรมนูญ " จะมีผลดีต่อสปช.และประชาชนเพราะส่วนใหญ๋ มีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติแม้ยังไปไม่ถึง การปฏิรูปประชาธิปไตยได้สมบูรณ์
นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนการเมืองและคุณภาพคน
15 มิถุนายน 2558
.................................
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิก สปช. กล่าวว่า
สปช.มีสมาชิก 250 คน มีกระบวนการทำงานเทอะทะ ล่าช้า เนื่องจากมีการแบ่งกรรมมาธิการเป็นด้านๆ คล้ายกับกระทรวงอันเป็นรูปแบบของสภาการเมือง เช่น เกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม เหมือนกับว่าเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งที่เป็นสภาวิชาการ ซึ่งการปฏิรูปควรแยกกันทำประเด็นใหญ่ๆ เพราะทาง สปช.ไม่มีอำนาจใดๆ นอกจากให้คำแนะนำในการปฏิรูปว่าควรจะเป็นอย่างไรซึ่งปัจจุบันเป็นรูปแบบที่ผิดพลาด
เมื่อยุบ สปช.ไปแล้วก็น่าจะทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากมีการแก้ รธน.แล้วว่าอย่างไรสมาชิก สปช.ยังคงดำรงตำแหน่งในสภาขับเคลื่อนฯ ได้ 

ไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ก็ตาม ทำให้มีอิสระในการตัดสินใจมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าอาจมีจำนวนผู้ไม่เห็นชอบมากขึ้น เนื่องจากหากโหวตไม่เห็นชอบก็ไม่เป็นไร

นายเจิมศักดิ์กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าสมาชิก สปช.บางคนทำงานไม่เต็มที่ว่า เป็นที่ระบบการทำงานมีปัญหา เนื่องจากเวลาประชุม ใครอยากพูดอะไรก็พูดแทนที่จะหยิบประเด็นขึ้นมาหารือกัน กลายเป็นว่าใครพูดก่อนหลัง พูดก่อนก็แล้วก็ไม่ฟังคนอื่น ซ้ำซาก

ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการทำงาน ควรต้องมีประเด็นชัดเจน มีการออกเสียง มีข้อสรุป
เพื่อกดดันผู้มีอำนาจ

สปช.ท่านอื่นๆ ไปให้สัมภาษณ์บนโพเดียม ทำตัวเป็น ส.ส. ส.ว. ให้สัมภาษณ์กันโครมๆ ตนได้แต่ยืนหัวเราะ 

สปช.ต้องรู้จักพิจารณาตัวเอง เราไม่ใช่ผู้แทนหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เราไม่จำเป็นต้องเป็นข่าว เพราะเรามาทำการศึกษาทางวิชาการ 

ต้องรวบรวมพละกำลังทำเรื่องใหญ่ๆ อย่างเต็มที่ ไม่สะเปะสะปะ เรื่องเล็กๆ ก็หยุดก่อน เอาเรื่องใหญ่ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน

จี้250สปช. สร้างจุดเปลี่ยนปฏิรูปก่อนหมดวาระ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"สุริยะใส" จี้ 250 สปช. สร้างจุดเปลี่ยนปฏิรูปก่อนหมดวาระ แนะเลิกเล่นเกมสาวไส้กันเอง หวั่นเสียของประชาชนสิ้นศรัทธา

นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ได้ส่งเมล์มายังสื่อ มีใจความว่า"ตนเห็นว่าในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ประเด็นที่กำหนดชัดเจนว่าภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. สิ้นสุดแค่วันที่ 4 กันยายน ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะถูกคว่ำหรือไม่ก็ตามนั้น ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ สปช.ทั้ง 250 คน และ. กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คนต้องหารือกันให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การปฏิรูป แม้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายแต่ควรเลือกเอาประเด็นหลักๆ สำคัญไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ช่วงเวลากว่า 9 เดือนที่ผ่านมาของ สปช.เสียของและถูกตำหนิจากสังคมว่าเปลืองงบประมาณ เปลืองเวลาเปล่าๆ 

ที่สำคัญถ้าสุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำโดย มติ ของ สปช.ก็ถึอเป็นความล้มเหลวที่ สปช.ทั้ง 250 คนจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้"ที่น่าห่วงในขณะนี้ สปช.หลายคนพอรู้ว่าจะอยู่ถึงแค่วันที่ 4 กันยายน 
ก็เริ่มเล่นเกมตีรวนเอาเรื่องการปฏิรูปการเมืองไปเป็นเกม ออกมาสาวไส้กันเองก็มีนั้น ยิ่งสะท้อนวุฒิภาวะของ สปช. ว่าฝากความหวังเรื่องปฏิรูปได้ยากขึ้น

ในขณะนี้ผมยอมรับว่าความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ยากยิ่งขึ้นและดูเหมือนห่างไกลจากเป้าหมายมากทุกขณะ แม้มีกระแสให้รัฐบาลอยู่ต่อเพื่อปฏิรูปก็ยังไม่เห็นหลักประกันใดๆ ว่าเราจะปฏิรูปอะไรบ้างเรื่องไหนก่อนหลัง จนวันนี้กระแสปฏิรูปเริ่มเลอะเทอะออกทะเล จนจะกลายเป็นปฏิเลอะไปแล้วฟางเส้นสุดท้ายจึงอยู่แค่ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ กว่า 3 เดือนของ สปช.ว่าจะเอาเกมการเมืองและเกมอำนาจออกจากกระบวนการปฏิรูปได้หรือไม่ หวังว่า 3 เดือน สปช.จะร่วมกันสร้างจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของกระบวนการปฏิรูป ซึ่งสังคมต้องจับตาการทำหน้าที่ของ สปช.อย่างใกล้ชิด 
14 มิถุนายน 2558

"พล.ต.อ.สมยศ" เผย "อดีตผบ.ตร." หลายคนโทรหา กรณีถอดยศทักษิณ



"พล.ต.อ.สมยศ" เผย "อดีตผบ.ตร." หลายคนโทรหา กรณีถอดยศทักษิณ ชี้ต้องรอบคอบ แม้จะไม่เสร็จทันยุคของตนก็ตาม


ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 15 มิถุนายน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีหลายฝ่ายจับตา ซึ่งแบ่งเป็น2พวก คือ กลุ่มที่อยากให้เร่งรัดถอดยศ กับกลุ่มที่มองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและมีการเสนอข้อท้วงติงมา จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

"ที่ผ่านมา ต้องขอบคุณผู้ใหญ่หลายท่าน อาทิ นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล อดีต สส.ปชป. ที่เขียนถึงกรณีนี้ รวมทั้งอดีตนายตำรวจที่ทำบันทึกเปิดผนึกมาถึงผม ตลอดจนอดีต ผบ.ตร. หลายๆท่านที่โทรศัพท์มาให้คำแนะนำในกรณีนี้ เลยยิ่งต้องใช้ความรอบคอบมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนรายงานของคณะกรรมการชุดที่มีพล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ที่ปรึกษา สบ10 เป็นประธาน ได้ส่งรายงานมาแล้ว ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เป็นชุดพิเศษที่ทำหน้าที่กลั่นกรอง และอยู่ระหว่างพิจารณาให้ฝ่ายกฏหมายตั้งเรื่องก่อนสั่งการให้สำนักกำลังพล (สกพ.) ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนต่อไป" ผบ.ตร.กล่าว