PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดร.เสรีให้รบ.ลาออกก่อนเพื่อใช้ม.7ได้

พวกรัฐบาลหยุดพูดเป็นนกแก้วนกขุนทองว่าสภาประชาชนตั้งไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ต้องแสดงความจริงใจในการจะแก้ปัญหาของประเทศด้วยการกระทำเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้

1. คุณยุบสภาก่อนซิ
2. จากนั้นคุณลาออกจากการรักษาการซิ

แค่นี้มันก็เกิดสุญญากาศทางการเมือง องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่คือวุฒิสภา ถึงเวลานั้น วุฒิสมาชิกก็ต้องหาทางออกให้ประเทศ

เมื่ออ่านรัฐธรรมนูญจนจบทุกมาตราก็จะพบว่าสุญญากาศที่เกิดขึ้นนั่น ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะรัฐธรรมนูญมีแค่ 309 มาตรา คงเขียนคริบคลุมทุกเรื่องไม่ได้

แต่ก็มีเขียนเผื่อกรณีที่มีปัญหาเอาไว้ในมาตรา 7 ว่าถ้าหากปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไม่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ปฏิบัติตามประเพณีนิยมของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

คุณยุบสภา แล้วลาออกจากรักษาการ แล้วทิ้งแนวทางในการแก้ปัญหาสุญญากาศในการบริหารประเทศไว้ในอำนาจตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาซิ รับรองว่าจะไม่มีใครพูดว่ามาตรา 7 ใช้ไม่ได้

ถ้าคุณไม่ยุบสภา ไม่ลาออก คุณก็เหมือนไอ้เข้ขวางคลอง ยืนขวางทางออกเพราะตราบใดที่คุณไม่ยุบสภา ไม่ลาออกจากรักษาการให้เกิดสุญญกาส นักวิชาการและนักการเมือง นักกฎหมายข้างคุณก็พูดได้เรื่อยๆว่าใช้มาตรา 7 ไม่ได้ ซึ่งถ้าไม่มีสุญญากาศมันก็ใช้ไม่ได้จริงๆ ไม่เถียง แต่ถ้าหากเกิดสุญญากาศ ถ้าไม่ใช้มาตรา 7 จะแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร

กรุณาอย่าขวางทางออกของประเทศเลย อย่าทำไร้เดียงสา

คุณไม่ยุบสภา ไม่ชาออกจากรักษาการมาตรา7 ใช้ไม่ได้

แต่ถ้าคุณยุบสภา ลาออกจากรักษาการ เกิดสุญญากาศ ถ้าวุฒิสภาที่เหลือไม่ใช้มาตรา 7 แก้ไขประเทศจะเดินอย่างไร

กรุณาอย่าขวางทางออกเลยค่ะ

ยิ่งลักษณ์ แถลงเสนอทำประชามติสภาประชาชน พร้อมยุบสภาลาออก

ยิ่งลักษณ์ แถลง เสนอทำประชามติ เรื่องตั้ง "สภาประชาชน" ยันพร้อมยุบสภา ลาออก แต่ขอยึดกติการธน. มีนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา7 ไม่เป็นไปตามรธน. วอนยึดระบอบ ปชต. ยันไม่มีใครแพ้ แต่จะชนะด้วยกัน หากร่วมกันหาทางออก

"พี่น้องประชาชนที่เคารพรักคะ นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วมเดือนเศษแล้ว ที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น จนทำให้ประเทศตกอยู่ในขั้นวิกฤต รัฐบาลต้องขอแสดงความเสียใจ และขอโทษต่อเหตุการณ์ที่ทำให้พี่น้องประชาชน ต้องเดือดร้อนกังวลใจ และไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะป้องกันเหตุรุนแรงต่างๆ รวมทั้งพร้อมที่จะเปิดเวทีรับฟังข้อเสนอของผู้ชุมนุมอยู่ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสภาประชาชน หรือ การขอนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 นั้น ไม่มีบทบัญญัติใดภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันรองรับ และยังไม่มีความชัดเจน ในทางปฏิบัติว่าจะดำเนินการอย่างไร อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายใดรองรับในการกระทำ และยังมีการถกเถียงกันทางวิชาการ จนถึงปัจจุบันก็ ยังไม่ได้ได้ข้อสรุป อันเป็นที่ยอมรับของทุกๆฝ่าย ดิฉันขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลพร้อมที่จะยุบสภา หากเป็นความต้องการของ พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อยุบสภาแล้วก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายในไม่เกิน 60 วัน ตามที่กฏหมายกำหนด และในกติกาที่เป็นธรรม แต่หากผู้ชุมนุมและพรรคการเมืองใหญ่ไม่ตอบรับ หรือไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้ง ก็จะเป็นเพียงการยืดเวลาของความขัดแย้งออกไป เช่นเดียวกับเหตุการณ์ความวุ่นวาย ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งมีพรรคการเมืองบอยคอตไม่ลงรับสมัครในการเลือกตั้ง ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศทางการเมือง อันนำไปสู่การรัฐประหารในที่สุด ดังนั้นรัฐบาลจึงเสนอให้ตั้งเวที หารือกันในข้อเสนอของผู้ชุมนุม หากยังขัดแย้งกัน จนหาข้อยุติที่ตรงกันไม่ได้ ก็ขอเสนอให้ทำประชามติ เพื่อให้เสียงส่วนใหญ่ของพี่น้องประชาชน เป็นผู้ตัดสินใจ พร้อมทั้งสรุปแนวทางการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และเกิดฉันทามติของทุกพรรคการเมือง ผู้ชุมนุม และทุกภาคส่วน ให้ยอมรับผลการตัดสินใจของประชาชนตามกติกา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปอย่างแท้จริง พี่น้องประชาชนที่เคารพคะ ดิฉันขอยืนยันอีกครั้งว่า ดิฉันไม่ติดยึดกับตำแหน่ง ยินดีที่จะยุบสภาฯ หรือลาออก เพียงแต่ขอให้มั่นใจว่าเป็นทางออกที่แท้จริง และสามารถทำให้ข้อขัดแย้งยุติ ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ โดยต้องมั่นใจว่า ข้อเสนอนั้นเป็นข้อเสนอของเสียง ส่วนใหญ่ ของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ข้อเสนอของคุณสุเทพฯ ที่ยืนยันมาโดยตลอดว่า ยุบสภาก็ไม่เอา นายกฯลาออกก็ไม่เอา แต่ต้องการให้คืนอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีข้อยุติว่า เป็นไปตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ โดยที่ไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตยถือเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศชาติอย่างมาก หากจะเสนอให้ดำเนินการ น่าที่จะต้องถามความเห็นพี่น้องประชาชนว่า เป็นความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจริงหรือไม่ ซึ่งการทำประชามติ ถือเป็นวิธีที่มี การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สุดท้ายนี้ ดิฉันเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เราทุกคนมีความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรักประเทศชาติไม่แพ้กัน ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติ ไม่ต้องบอบช้ำไปมากกว่านี้ ดิฉันอยากเห็นเราทุกคนหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา สำหรับในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ รัฐบาลยินดีจะรับฟังข้อเสนอของผู้ชุมนุม มาพิจารณาและหาทางออกร่วมกัน ไม่มีใครแพ้ แต่เราทุกคนรวมถึงประเทศชาติเป็นผู้ชนะด้วยกันทั้งหมด ขอบคุณค่ะ"