PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

เรือดำน้ำไทย รบกับใคร


เรือดำน้ำเป็นอาวุธที่ “แพง” และเป็นเงื่อนไขผูกพันด้านการเงินระยะยาวอย่างน้อยหกปี ควรแล้วหรือที่ “รัฐบาลทหาร” ซึ่งทำงาน “เฉพาะกิจ” จะตัดสินใจซื้ออาวุธชิ้นนี้?
เป็นความฝันของกองทัพไทยมานานเพราะครั้งสุดท้ายที่เรามีเรือดำน้ำประจำการคือ 64 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมากองทัพเรือเสนองบจัดซื้อเรือดำน้ำมาตลอด แต่ไม่ผ่าน “The Diplomat” ฟันธงเลยว่า แผนการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นจริงขึ้นมาได้เพราะการยึดอำนาจเมื่อปีที่แล้ว หลังรัฐประหาร เริ่มมีการรื้อฟื้นมีกองเรือดำน้ำขึ้นมาใหม่ และใช้เงินหลายล้านสร้างศูนย์ฝึกอบรม
แต่ประเด็นคือเราจะใช้เงิน 36,000 ล้านสำหรับเรือดำน้ำสองลำที่คาดว่าจะมาจากจีน ไปสู้รบหรือป้องกันอะไร? สิงคโปร์ (มีเรือดำน้ำจากสวีเดน) มาเลเซีย (มีเรือดำน้ำจากฝรั่งเศส) และอินโดนีเซีย (มีเรือดำน้ำจากเยอรมนีและอยู่ระหว่างสั่งต่อเรือดำน้ำจากเกาหลีใต้) สามประเทศพัฒนาอาวุธด้านนี้เพราะมีพื้นยุทธศาสตร์ร่วมกันในช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ 40% ของโลก ฟิลิปปินส์และเวียดนามต้องการพัฒนาเรือดำน้ำ เพราะความตึงเครียดในทะเลจีนใต้กับจีน
ส่วนไทยมีแค่อ่าวไทยและอันดามัน ในอ่าวไทยเรามีแค่กัมพูชาที่อาจะเป็น “ปรปักษ์” ในอันดามันมีพม่า เราจะเอาเรือดำน้ำไปรบกับใคร? จำเป็นต่อชาติหรือกระเป๋าใคร? “คนดี” ช่วยกันตรวจสอบหน่อยสิครับ


คำสะ่งหน.คสช.8 ให้ กก.กสทช.คงเดิม

คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘/๒๕๕๘
เรื่อง การเลือกกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติไม่รับบัญชีรายชื่อผู้สมควรเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านกฎหมาย ตามที่มีการสรรหาและคัดเลือกมา ๔ คน เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเลือกให้เหลือจํานวน ๑ คน จึงขอให้นายกรัฐมนตรีนําบัญชีรายชื่อดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและดําเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายใน๓๐ วันนั้น คณะรัฐมนตรีได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นในข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้เสนอความเห็นว่า โดยที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เคยพิจารณา บัญชีรายชื่อดังกล่าวแล้วและมีมติไม่รับรายชื่อทั้งหมดตามบัญชีนั้น การที่คณะรัฐมนตรีจะเลือกบุคคลใด ตามบัญชีรายชื่อนั้นต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยเหตุผล ทั้งคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาบุคคลอื่นใด นอกเหนือไปจากบุคคลตามบัญชีรายชื่อนั้นมิได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเม่ือวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ว่าไม่สมควรที่จะดําเนินการตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแจ้ง
กรณีนี้จึงเป็นความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปราชการแผ่นดินและแก้ไขข้อขัดข้องทางกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งให้ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ต้องดําเนินการสรรหาและคัดเลือกบุคคลใดแทนตําแหน่งที่ว่างตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และเมื่อมีเหตุที่จะต้องมีการเลือกกรรมการใน กสทช. แทนตําแหน่งที่ว่างลงในอนาคต ในกรณีเช่นว่านั้น ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามกฎหมายโดยอนุโลมต่อไป
คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

“วิษณุ” ติดใจ เนื้อหารัฐธรรมนูญแน่นเกินไป เล็งเอาออก 20 – 30 มาตรา

“วิษณุ” ติดใจ เนื้อหารัฐธรรมนูญแน่นเกินไป เล็งเอาออก 20 – 30 มาตรา รูดซิปปากหลังสองพรรคใหญ่ยอมให้เลื่อนเลือกตั้งได้...
เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 24 เม.ย. 58 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่ออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระหว่างวันที่ 20 - 26 เม.ย. ว่า การอภิปรายครั้งนี้เป็นเพียงการพูด หากอภิปรายอย่างเดียว แต่ไม่ไปยื่นขอแปรญัตติจะไม่มีความหมายอะไร โดยจะมีการเปิดให้ยื่นขอแปรญัตติตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.เป็นต้นไป ซึ่งการยื่นขอแปรญัตติ ให้บอกเพียงว่าไม่เห็นด้วยกับมาตราใด ทาง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะกลับไปพิจารณาว่าจะแก้ให้หรือไม่ ส่วนวิธีแก้เผ็ดของสมาชิก สปช. หาก กมธ.ยกร่างฯ ไม่ยอมแก้ให้ จะไปแก้แค้นกันตอนลงมติว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เห็น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่าหากไม่รับจะเหมือนตายตกไปตามกัน
ทั้งนี้ สำหรับการขอแปรญัตติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีการมอบให้กระทรวงต่างๆ ไปศึกษาร่างรัฐธรรมนูญและส่งข้อเสนอแนะมา ขณะนี้มีทยอยมาบ้างแล้ว
ส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หากมีจุดที่ร่วมกับ ครม.ได้จะมาผนึกกำลังกันในขอยื่นแปรญัตติ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนัก นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับข้อสังเกตว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายมาตราเกินไปนั้น บางประเทศมีวิธีเขียน ยกตัวอย่างประเทศอินเดียรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาเยอะ แต่จำนวนมาตราไม่มาก เพียงแต่ 1 มาตรามีจำนวน 5 หน้า ดังนั้น จะเอาจำนวนตัวเลขมาตรามาชี้วัดไม่ได้ สำหรับ 315 มาตราเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 50 ถือว่ามาก แต่ตนไม่ติดใจตัวเลข จะติดใจตรงเนื้อหามันแน่นมากเกินไป ดูแล้วน่าจะเอาออกสัก 20 – 30 มาตรา ส่วนที่สองพรรคการเมืองใหญ่ยอมให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ เพื่อขอให้มีการประชามติ เพราะรอได้นั้น ตนไม่มีความเห็น เอาเป็นว่าในชั้นนี้รับทราบก่อนแล้วกัน จะไปขานรับอย่างอื่นเดี๋ยวจะหาว่าพร้อมใจจะเลื่อน เพราะพอเลื่อนเข้าจริงเขาก็ด่าอีก
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. คณะทำงานดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูป ได้มีการประชุมกัน ขณะนี้ได้รายชื่อผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่จะเชิญมาแล้วจำนวน 3 – 4 คน มาจากฝรั่งเศสและเยอรมัน โดยจะให้มาประมาณเดือน พ.ค. 58 ใช้วิธีทยอยกันมา ไม่ได้มาพร้อมกันทีเดียว ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานเรื่องรายละเอียดอยู่
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ก่อนหน้านี้ตนได้ให้สเปกในการหาไปว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นนักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย นักประวัติศาสตร์ เพราะเราต้องการให้พูดเรื่องเขา ไม่ต้องการให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญไทยหรือการเมืองไทย จะให้มาเล่าประสบการณ์ของประเทศเขาที่มีอะไรคล้ายกับเรา ยืนยันว่าไม่ได้เอามาเพื่อสร้างความชอบธรรม แต่เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้รายงานเรื่องนี้ให้นายกฯ ทราบแล้ว ซึ่งนายกฯ เองต้องการเร่งให้ผู้เชี่ยวชาญมาเร็วๆ แต่ได้บอกไปว่า ต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของเขาด้วย.


บุญทรง ยืนยันขายข้าวจีทูจีจริงทำปย.ประเทศ

บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยืนยันมั่นใจเกินร้อยว่า การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ไทยกับจีน เป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริง และทำให้ไทยได้ประโยชน์มหาศาล แล้วตอบแบบนักการเมืองว่า นี่เป็นคดีการเมือง ป.ป.ช.พูดชี้นำเรื่องนี้ ทั้งยกข้ออ้างเดิมๆ ว่า ทำไมป.ป.ช.จงใจทำคดีนี้รวดเร็วผิดปกติ ทำไมไม่เร่งทำคดีรัฐบาลประชาธิปัตย์ทุจริตข้าวบ้าง ตั้ง 5 ปีแล้ว คดียังไม่ไปถึงไหน...
โอ้ อนิจจา! นี่แหละนักการเมืองไทยที่อุตส่าห์ได้เป็นถึงรัฐมนตรี แต่คำตอบช่างไร้ตรรกะ ทำไมไม่ตอบในสิ่งที่ต้องตอบให้ชัด ได้แต่ตอบนอกเรื่อง เข้าตำรา หมาหางด้วน แล้วต้องชวนให้หมาตัวอื่นหางด้วนตามใช่ไหม...
บุญทรงอ้างอีกว่า ชีวิตตนเหมือนแขวนบนเส้นด้าย เพราะโทษที่ถูกกล่าวหาร้ายแรงถึงขั้นจองจำตลอดชีวิต เมื่ออ้างเช่นนี้ ทำให้วิญญูชนที่ไม่คิดโกงประเทศถามกลับว่า แล้วก่อนทำอะไรลงไป เคยคิดสักนิดไหมว่า ที่ทำให้ประเทศเสียหายมหาศาล จะต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง หรือคิดแค่ว่า ผิดแล้วก็แล้วกันไป เพราะคนผิดคือประชาชน ดันเลือกพวกตนมาทำหน้าที่บริหารประเทศ...
ลองฟังคำชี้แจงป.ป.ช.วิชา มหาคุณ บ้าง บอกชัดเจน โครงการจำนำข้าวเป็นวงจรทุจริต เพราะผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องต่างได้รับผลประโยชน์โดยมิชอบทุกขั้นตอน และไม่มีการขายข้าวแบบจีทูจีตามที่อ้าง ที่สำคัญคือไม่มีการส่งออกข้าวแท้จริง...
ขอถามบุญทรงว่า คิดอย่างไร ก่อนเข้าไปรับตำแหน่งรมว.พาณิชย์ คิดดีแล้วหรือไม่ หรือต้องยอมจำนนเพราะถูกสั่งจากใครคนหนึ่งให้เข้าไปรับเคราะห์แทน แล้วไม่คิดบ้างหรือว่า มีที่ไหนเขาทำกันบ้างกับการรับจำนำข้าวราคาสูงกว่าราคาตลาด ขอถามอีกครั้ง หากต้องใช้เงินครอบครัวตัวเอง บุญทรงจะยังทำอยู่ใช่หรือไม่ หรือนี่เพราะเป็นเงินของประเทศ จึงไม่จำเป็นต้องคิดมาก คิดเพียง ได้อำนาจ ได้ประโยชน์ก็พอ ส่วนประเทศจะบรรลัยก็ช่างมัน...


The Economist ให้ฉายาว่าที่รธน.ฉบับที่ 20 ของไทยว่า “รัฐธรรมนูญพี่เลี้ยงเด็ก” (baby-sitters’ charter)

The Economist บอกว่าคณะร่างรธน.ซึ่งอ้างว่าจะทำให้เกิดกฎหมายป้องกัน “เผด็จการรัฐสภา” นั้น กำลังส่งเสริมให้เกิด “ทรราช” อีกรูปแบบหนึ่งขึ้นมา และนอกจากจะไม่ช่วยสมานแผลทางการเมือง ยังจะทำให้แผลเน่าเฟะมากขึ้น พร้อมกับให้ฉายาว่าที่รธน.ฉบับที่ 20 ของไทยว่า “รัฐธรรมนูญพี่เลี้ยงเด็ก” (baby-sitters’ charter) คือไม่ไว้ใจนักการเมือง นอกจากปรับระบบเลือกตั้งเพื่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอแล้ว ยังตัดสิทธิการเลือกตั้งสว.โดยตรง เหลือให้เลือกได้แค่หนึ่งในสาม แถมยังต้องเลือกจากคนที่ถูกเลือกมาแล้วอีก แต่กลับเพิ่มอำนาจสว. และยังกำหนดให้มีองค์กรตามรธน.ขึ้นมาสิบคณะเพื่อเป็น “พี่เลี้ยงเด็ก” ให้กับนักการเมืองอีก อย่างสมัชชาคุณธรรม ซึ่งมีที่มาจากการแต่งตั้ง
สื่ออังกฤษบอกต่อว่า รธน.ฉบับนี้ถือว่าเป็นการ “ก้าวถอยหลังเข้าคลอง” เมื่อเทียบกับรธน.ปี 40 และไม่มีเป้าหมายอะไรมากไปกว่าต้องการ “ทำหมัน” พรรคเพื่อไทยไม่ให้แพร่พันธุ์ต่อไป เพราะเป็นพรรคที่ฝ่ายอำมาตย์ชิงชังรังเกียจ แต่ชนะเลือกตั้งทุกครั้ง พร้อมกับมีเป้าหมายสืบทอดอำนาจทหารระหว่างการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเท่านั้นเองhttp://econ.st/1OKHbaJ


ยัน'สี จิ้นผิง'หนุนไทยแก้ปัญหาประเทศยั่งยืน

"พล.ต.คงชีพ"เผย"สี จิ้นผิง"ส่งรองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ เยือนไทย สานต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน ยันจีนหนุนไทยแก้ปัญหาประเทศยั่งยืน

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม กล่าวถึงผลการเข้าเยี่ยมคำนับและหารือแลกเปลี่ยนมุมมองความมั่นคง ของ พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.)กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ ศาลาว่าการกลาโหม ว่า การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง และคณะ อย่างเป็นทางการระหว่าง 23-27 เม.ย.2558 ครั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของกระทรวงกลาโหม โดยเป็นการพบและหารือความมั่นคงร่วมกันอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 หลังจากการเยือนกระทรวงกลาโหม สปจ.ของคณะพล.อ.ประวิตร ที่ผ่านมา

ทั้งนี้พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง กล่าวว่า การมาครั้งนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ให้มาเสริมสร้างความไว้วางใจ และความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำว่าความผูกพันที่ลึกซึ้งของราชวงศ์ไทยและความสัมพันธ์ทางทหารที่แนบแน่นของทั้งสองประเทศตั้งแต่อดีต มีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาผลักดันความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จีนยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาภายในประเทศของไทย ให้เกิดความสงบสุขอย่างยั่งยืน และหวังว่าประชาชนไทยทุกภาคส่วนจะร่วมมือกันแก้ปัญหาด้วยการเจรจา เพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ได้หารือและเสนอความร่วมมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ใน 4 ประการคือ
1. เสนอให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทหารให้สูงขึ้น และให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับให้มากขึ้น
2. เสนอให้จัดตั้งกลไกความร่วมมือทางทหารในการฝึก ศึกษาของกระทรวงกลาโหม ทั้ง 2 ประเทศ โดยขยายความร่วมมือไปสู่การฝึกร่วมผสมทั้ง 3 เหล่าทัพระหว่างกัน
3. สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาจุดอ่อน จุดแข็งร่วมกัน เพื่อประโยชน์ทางทหารของทั้งสองประเทศ และ
4.จีนพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทางทหารอาเซียน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ทหารของภูมิภาค นอกจากนั้น จีนได้แสดงถึงความกังวลต่อปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เป็นคู่ขัดแย้ง พร้อมทั้งชื่นชมบทบาทของประเทศไทย ที่ได้แสดงออกต่อปัญหาดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์ และกล่าวเชื่อมั่นถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรของทั้งสองประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นและรอบด้านระหว่างกัน

ขณะที่พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย – จีน ครบรอบ 40 ปี เป็นการยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ต่อเนื่องยาวนานของทั้งสองประเทศ ไทยยินดีและเห็นชอบต่อข้อเสนอของจีน โดยกระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งคณะทำงานและพิจารณาร่วมกันแล้ว ถึงข้อเสนอต่าง ๆ ตามที่ได้เคยหารือร่วมกันไว้ สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนั้น ไทยประสงค์ที่จะรับการสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น ประเทศไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนในการยึดมั่นความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อแสวงหาหนทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี มุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการเจรจาเพื่อนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน    

สำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนตามวิสัยทัศน์ Chines Dream นั้น มีความสอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยตั้งอยู่บนหลักการของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ การเคารพซึ่งกันและกันและเสริมสร้างความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย ขอขอบคุณจีนที่เข้าใจสถานการณ์ภายในประเทศไทย รวมทั้งให้กำลังใจและสนับสนุนการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในทุกด้านกับไทยมาโดยตลอด เรากำลังมุ่งสู่การปฏิรูปประเทศโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน

สำหรับความร่วมมือในกรอบอาเซียน ไทยยินดีสนับสนุนการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นและรอบด้านระหว่างอาเซียนกับจีนในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป ต่อกรณีปัญหาสถานการณ์ทะเลจีนใต้นั้น ไทยยินดีที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องต่างยึดมั่นในการร่วมมือกันเพื่อแสวงหาหนทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี และมั่นใจว่าประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน พล.อ.ประวิตรฯ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ประเทศไทย พร้อมให้การสนับสนุน สปจ.ในทุกเรื่องภายใต้ความสงบสุขและสันติภาพอย่างถาวรในการอยู่ร่วมกันของประชาชนในภูมิภาค

หลังจากนั้น พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติสปจ.และคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/644346#sthash.CJY1qeyK.oEizXEOu.dpuf

กลาโหม ไทย-จีน บรรลุ4 ข้อตกลงร่วม ฝึกร่วม3เหล่าทัพ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หนุน China's Dream

กลาโหม ไทย-จีน บรรลุ4 ข้อตกลงร่วม ฝึกร่วม3เหล่าทัพ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หนุน China's Dream ระบุ ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ไฟเขียวให้มา จีน เผย ยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาภายในประเทศของไทย แนะ แก้ปัญหา ทะเลจีนใต้ แบบสันตื ร่วมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค

พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม เปิดเผยผลการหารือแลกเปลี่ยนมุมมองความมั่นคง ของ พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.) กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กลาโหม อละคณะ ที่ ศาลาว่าการกลาโหม ว่า การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง และคณะ อย่างเป็นทางการระหว่าง 23-27 เม.ย.2558 ครั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของ กลาโหม
โดยเป็นการพบและหารือความมั่นคงร่วมกันอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 หลังจาก พลเอก ประวิตร นำคณะ ผบ.เหล่าทัพ ไปเยือนกลาโหม จีน เมิ้อ 8-10 เมย. ที่ผ่านมา
พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง กล่าวว่า การมาครั้งนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ให้มาเสริมสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
โดยเน้นย้ำว่าความผูกพันที่ลึกซึ้งของราชวงศ์ไทยและความสัมพันธ์ทางทหารที่แนบแน่นของทั้งสองประเทศตั้งแต่อดีต มีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาผลักดันความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
จีนยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาภายในประเทศของไทย ให้เกิดความสงบสุขอย่างยั่งยืน และหวังว่าประชาชนไทยทุกภาคส่วนจะร่วมมือกันแก้ปัญหาด้วยการเจรจา เพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน
พร้อมกันนี้ได้หารือและเสนอความร่วมมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ของ กลาโหม สองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ใน 4 ประการคือ
1.เสนอให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทหารให้สูงขึ้น และให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับให้มากขึ้น
2.เสนอให้จัดตั้งกลไกความร่วมมือทางทหารในการฝึก ศึกษาของ กลาโหม ทั้ง 2 ประเทศ โดยขยายความร่วมมือไปสู่การฝึกร่วมผสมทั้ง 3 เหล่าทัพระหว่างกัน
3.สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาจุดอ่อน จุดแข็งร่วมกัน เพื่อประโยชน์ทางทหารของทั้งสองประเทศ
4.จีนพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทางทหารอาเซียน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ทหารของภูมิภาค
นอกจากนั้น จีนได้แสดงถึงความกังวลต่อปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เป็นคู่ขัดแย้ง พร้อมทั้งชื่นชมบทบาทของประเทศไทย ที่ได้แสดงออกต่อปัญหาดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์
และกล่าวเชื่อมั่นถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรของทั้งสองประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นและรอบด้านระหว่างกัน
พล.อ.ประวิตร รอง นายกฯและ รมว.กห. กล่าวว่า ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย – จีน ครบรอบ 40 ปี เป็นการยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ต่อเนื่องยาวนานของทั้งสองประเทศ ไทยยินดีและเห็นชอบต่อข้อเสนอของจีน โดยกห.ได้จัดตั้งคณะทำงานและพิจารณาร่วมกันแล้ว ถึงข้อเสนอต่างๆตามที่ได้เคยหารือร่วมกันไว้
สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนั้น ไทยประสงค์ที่จะรับการสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น ประเทศไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนในการยึดมั่นความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อแสวงหาหนทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี มุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการเจรจาเพื่อนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน
สำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนตามวิสัยทัศน์ China's Dream นั้น มีความสอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยตั้งอยู่บนหลักการของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ การเคารพซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย ขอขอบคุณจีนที่เข้าใจสถานการณ์ภายในประเทศไทย รวมทั้งให้กำลังใจและสนับสนุนการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในทุกด้านกับไทยมาโดยตลอด เรากำลังมุ่งสู่การปฏิรูปประเทศ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน
สำหรับความร่วมมือในกรอบอาเซียน ไทยยินดีสนับสนุนการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นและรอบด้านระหว่างอาเซียนกับจีนในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
ต่อกรณีปัญหาสถานการณ์ทะเลจีนใต้นั้น ะลเอก ประวิตร กล่าวว่า ไทยยินดีที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องต่างยึดมั่นในการร่วมมือกันเพื่อแสวงหาหนทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี และมั่นใจว่าประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน
พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ประเทศไทย พร้อมให้การสนับสนุน สปจ.ในทุกเรื่องภายใต้ความสงบสุขและสันติภาพอย่างถาวรในการอยู่ร่วมกันของประชาชนในภูมิภาค
หลังจากนั้น พล.อ.อ.สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ สปจ. และคณะ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นรม. ณ ทำเนียบรัฐบาล


ทัวร์ช็อก!! พิษICAO ทุบอินบาวนด์1.4 ล้านล้านสะเทือน

23/4/58 ประชาชาติธุรกิจ 


ภาคท่องเที่ยวฟันธงกฎเหล็ก ICAO ทุบตลาดทัวร์อินบาวนด์ 1.4 ล้านล้านสะเทือน "ศุภฤกษ์ ศูรางกูร"นายก ส.ไทยบริการท่องเที่ยวเผยบริษัททัวร์เริ่มหันไปใช้สายการบินต่างชาติ วอนรัฐเร่งสื่อสารให้ทุกภาคส่วนเกิดความเชื่อมั่น ขณะที่ "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร" รมว.ท่องเที่ยวฯ แนะเอกชนเร่งทำแผนสำรองกันเสี่ยง ฟากสายการบินดิ้นช่วยเหลือตัวเอง

จากแถลงการณ์ถึงแผนปลดล็อก SSC องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมานั้นค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กระบวนการการดำเนินงานแผนของไทยลากยาวไปถึงเดือนกรกฎาคม ขณะที่กรอบเวลาที่ทางไอซีเอโอขีดเส้นตาย ถึงแค่ต้นเดือนมิถุนายนนี้เท่านั้น 

ประเด็นดังกล่าวนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยอมรับว่าอาจส่งผลกระทบลามจากสายการบินรูปแบบเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์ไปถึงสายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินประจำ

นายศุภฤกษ์ ศูรางกูร กรรมการผู้จัดการบริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด และนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้ทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งทำแผนปลดล็อกการบินให้เสร็จทันเดือนมิถุนายนนี้ แต่ส่วนตัวมองว่าโอกาสที่จะทำเสร็จทันนั้นไม่ง่าย เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาพอสมควร

อินบาวนด์ 1.4 ล้านล้านสะเทือน

ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตานับจากนี้คือ ตลาดทัวร์อินบาวนด์ (ต่างชาติเที่ยวไทย)ซึ่งมีขนาดใหญ่ โดยตั้งเป้าต่างชาติมาเที่ยวไทยปีนี้ไว้ที่ 28-29 ล้านคน สร้างรายได้ 1.4 ล้านล้านบาท หากเที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทยได้รับผลกระทบเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเอฟเฟ็กต์แรงกว่าตลาดคนไทยเที่ยวนอก ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงคมนาคมของไทยต้องเร่งดำเนินคือ สื่อสารให้องค์การการบินพลเรือนของประเทศอื่น ๆ เกิดความเชื่อมั่นให้ได้ เพื่อให้สายการบินสัญชาติไทยยังให้บริการเที่ยวบินประจำและเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟลต์) ต่อไปได้

สอดคล้องกับแหล่งข่าวระดับสูงในภาคธุรกิจสายการบินรายหนึ่งที่กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือทุกฝ่ายประเมินว่าถ้าเลยเดือนมิถุนายนนี้ไปแล้ว ทางกระทรวงยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะส่งผลกระทบต่อการจองแพ็กเกจทัวร์ที่ใช้เที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทยแน่นอน 

"สิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาคธุรกิจไม่เชื่อมั่นในตอนนี้คือ รัฐบาลโดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่ได้สื่อสารเลยว่าหากไทยไม่สามารถปลดล็อกปัญหานี้ได้ ทางรัฐบาลมีแผนรองรับอย่างไร เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยที่ตั้งเป้าทำรายได้จากตลาดอินบาวนด์ปีนี้ไว้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทได้รับผลกระทบ"

เช่นเดียวกับนายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร ที่ปรึกษานายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) ที่ยอมรับว่า ประเด็นปัญหาดังกล่าวไม่ได้กระทบแค่ตลาดเอาต์บาวนด์ แต่ยังกระทบถึงตลาดอินบาวนด์ ตอนนี้สายการบินสัญชาติไทยก็กำลังร่วมมือกับทางกรมการบินพลเรือน (บพ.) เร่งแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์การการบินพลเรือนของแต่ละประเทศและบริษัททัวร์

ด้านนายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากไทยปลดล็อกไม่ทันกำหนด สทท.คาดว่าจะส่งผลกระทบลามถึงเที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทย 3 สายการบินหลัก ๆ ได้แก่ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์สและไทย แอร์เอเชีย ที่ทำการตลาดขายตั๋วบินตลาดต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงแน่นอน 

"คาดว่า 3-4 สายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบ 10-20% เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกังวลใจ ไม่กล้าจอง ส่งผลต่อเป้าหมายรายได้ท่องเที่ยวในส่วนของตลาดต่างชาติซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าไว้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทปีนี้"

บ.ทัวร์เล็งใช้แอร์ไลน์สัญชาติอื่น

นายศุภฤกษ์กล่าวด้วยว่า สำหรับบริษัททัวร์ไม่ค่อยมั่นใจว่ากระทรวงคมนาคมและ บพ.จะปลดล็อกปัญหานี้ได้ทัน และหากเลยไปถึงเดือนกรกฎาคมมองว่าปัญหามีโอกาสลามไปถึงเที่ยวบินประจำได้ จึงได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้สายการบินสัญชาติไทยมากขึ้น พร้อมทั้งหันไปใช้บริการสายการบินสัญชาติอื่นด้วย โดยเฉพาะกรุ๊ปทัวร์ที่เซนซิทีฟ ไม่อยากให้มีการยกเลิกเที่ยวบิน 

"ตอนนี้บริษัททัวร์ในไทยบางส่วนที่จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้านาน ได้ติดต่อขอซื้อที่นั่งกับสายการบินต่างชาติแล้ว เพื่อกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ด้านบริษัททัวร์ในต่างประเทศ แทนที่เขาจะเลือกใช้บริการเที่ยวบินประจำของสายการบินในไทย ก็เลือกใช้ของสายการบินต่างชาติแทน ทำให้เสียโอกาสมาก ๆ" นายศุภฤกษ์กล่าว และว่าภาพลักษณ์ของธุรกิจการบินในไทยตอนนี้ได้รับผลกระทบหนักมาก โอเปอเรเตอร์ทัวร์ในต่างประเทศก็ไม่มั่นใจคุณภาพ ทำให้เปลี่ยนไปใช้สายการบินสัญชาติอื่นแทนสายการบินของไทยแล้ว

ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าทีมงานที่เกี่ยวข้องได้ทำงานกันอย่างเต็มที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง ทางกระทรวงก็ได้คุยกับภาคเอกชนให้มองหาทางเลือกใหม่ ๆ ไว้ด้วย เพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในภาพรวมไม่มีปัญหา 

สายการบินดิ้นช่วยเหลือตัวเอง

นายชัยรัตน์ แสงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ สายการบินเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ผู้ให้บริการสายการบินต่าง ๆ ได้ให้ความร่วมมือกับ บพ.ในทุกรูปแบบ เพื่อช่วยกันดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จและผ่านเกณฑ์ของไอซีเอโอ อย่างไรก็ตาม สายการบินต่าง ๆ ก็ไม่ได้รอความหวังจากฝ่ายรัฐบาลอย่างเดียว ขณะนี้สายการบินทุกแห่งได้กลับมาดูเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยของตัวเองควบคู่ไปด้วย เพราะเชื่อว่าหากสายการบินมีมาตรฐานก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ 

"เรายังมีความหวังเพราะมาตรฐานของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมากรมการบินพลเรือนของญี่ปุ่นก็ยังอะลุ่มอล่วย ขณะที่กรมการบินพลเรือนของจีนก็ไม่ค่อยกังวลกับเกณฑ์ของไอซีเอโอมากนัก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้คือทุกสายการบินต้องทำให้ตัวเองมีมาตรฐาน" นายชัยรัตน์กล่าว 

แหล่งข่าวจากธุรกิจสายการบินรายหนึ่งกล่าวเสริมว่า ถ้าทางรัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาไม่ทันกรอบเวลาของไอซีเอโอ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมหาศาล ดังนั้นในฟากกลุ่มผู้ประกอบการสายการบินด้วยกันเองนอกจากจะกลับไปทบทวนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของตัวเองแล้ว ยังต้องเตรียมประสานงานกับคู่ค้าในแต่ละประเทศ เพื่อให้คู่ค้าเกิดความมั่นใจและยังเชื่อมั่นในมาตรฐานการบินของประเทศไทยและยังใช้บริการต่อไป

"ในกรณีที่ไอซีเอโอประเมินผลแล้ว เขาจะอัพข้อมูลขึ้นบนเว็บ ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ กรมการบินพลเรือนแต่ละประเทศก็จะเห็นว่าเกณฑ์ของประเทศไทยอยู่ในระดับไหนและอยู่ที่การพิจารณาของกรมการบินในแต่ละประเทศว่าจะมีมาตรการกับสายการบินของไทยอย่างไรต่อไป" แหล่งข่าวกล่าว