PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว7ม.ค.58

ถอดถอน

"พีระศักดิ์" มั่นใจกระบวนการถอดถอนจบเดือนนี้ มีสมาชิกส่งคำถามซัก "นิคม-สมศักดิ์" แล้ว 2 ประเด็น ขณะ "ยิ่งลักษณ์" ยังไม่มี

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในการแถลงเปิดคดีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ในวันพรุ่งนี้ รวมถึงการแถลงเปิดคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น เบื้องต้น มีการยืนยันว่า จะเดินทางมาแถลงด้วยตนเอง ซึ่งในขั้นตอนนั้น ก็จะเป็นการแถลงเปิดคดีของฝ่ายผู้ร้อง คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ถูกร้องเท่านั้น โดยจะไม่มีการซักถามแต่อย่างใด

หลังจากนั้น ที่ประชุม สนช. จะมีการขอมติ เพื่อตั้งคณะกรรมการซักถาม สำหรับทำหน้าที่ในการซักถามประเด็นที่สมาชิกสงสัยต่อไป

นายพีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า เบื้องต้น ที่ประชุมวิป สนช. เห็นว่า จะเสนอตั้ง กมธ. ซักถาม เพียงชุดละ 9 คน เนื่องจาก มีประเด็นข้อสงสัยของสมาชิกที่ส่งมาแล้วค่อนข้างน้อย ในคดีของ นายนิคม นายสมศักดิ์ เพียง 2 ประเด็น และในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ยังไม่มี และคาดว่า ในสัปดาห์หน้าก็จะสามารถนัดประชุมเพื่อซักถามได้ทันที จากนั้นในสัปดาห์ถัดไปก็จะแถลงปิดคดี และนัดลงมติในอีก 3 วันถัดไป มั่นใจจะพิจารณาจบภายในเดือนนี้ โดยจะยึดกรอบตามคำร้องของ ป.ป.ช. ที่ยื่นมาเป็นสำคัญ
------------------
"สุรชัย" คาดหลังแถลงเปิดคดี กระบวนการเดินหน้าตามปกติ นัดลงมติถอดถอน "ยิ่งลักษณ์-นิคม-สมศักดิ์" ไม่เกิน 27 ม.ค. นี้ 

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยขั้นตอนภายหลังจากแถลงเปิดคดีของทั้ง 2 สำนวน ในวันที่ 8 และ 9 ม.ค. นี้แล้ว สนช. จะมีมติตั้งคณะกรรมาธิการซักถามผู้ถูกชี้มูลขึ้นมา 2 คณะ คณะละ 9 คน  คือ คณะที่จะซักถาม กรณีของนายนิคม ไวยรัชพานิช และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รวมถึงคณะที่จะซักถามกรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อให้ สมาชิก สนช. ได้ร่วมรับฟังการชี้แจง โดยมีการกำหนดนัดวันซักถามคู่กรณีในช่วงสัปดาห์ถัดไป ประมาณ วันที่ 14 และ 15 มกราคม จากนั้น อีก 1 สัปดาห์ จะนัดคู่กรณีทั้ง 2 สำนวน

เพื่อแถลงปิดคดี ก่อนจะกำหนดวันที่ สนช. จะพิจารณาลงมติถอดถอนอีกครั้ง นับจากวันแถลงปิดคดี 3 วัน คาดว่า จะสามาถลงมติได้ในช่วงไม่เกินวันที่ 27 มกราคม
------------------------
"สุรพงษ์" ขู่ยื่นฟ้องศาล หาก สนช. พิจารณาคดีถอดถอน ชี้เป็นเรื่องมิชอบ อ้าง ป.ป.ช. คุณสมบัติไม่ถูกต้อง 

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบ
ว่า มติของ ป.ป.ช. มีความผิดพลาด เนื่องจากองค์คณะบางราย มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง ดังนั้น มติดังกล่าวจึงเป็นมติที่มิชอบ และเมื่อส่งเรื่องมาถึง สนช. ให้พิจารณาถอดถอน จึงเท่ากับว่า สนช. หยิบ
ยกเรื่องที่มิชอบขึ้นมาพิจารณา ซึ่งหากสมาชิก สนช. ลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้ง นายนิคม ไวยรัชพานิช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงปลายเดือนนี้ ตนเองก็จะยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมและศาลอาญา เพื่อดำเนินการเอาผิดกับ สนช. ที่ลงมติถอดถอนทั้งหมด ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 123/1 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพราะการลงมติของ สนช. ถือเป็นความผิดสำเร็จ และเข้าข่ายที่สามารถดำเนินคดีได้
------------------------
พล.อ.อนุพงษ์ เผย ยังไม่มีใครรายงานตัวกรณีถอดถอน มั่นใจไม่เป็นชนวนความรุนเเรง เชื่อประชาชนรู้ดีสาเหตุอยู่ที่ใคร

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของมวลชนในวันที่ 8-9 มกราคมนี้ ในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณาถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ยังคงไม่มีการรายงานเข้ามาแต่อย่างใด

ขณะเดียวกันมองว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดชนวนความรุนแรง เพราะคนไทยส่วนใหญ่รู้ดีว่าความขัดแย้งที่มีอยู่ไม่เกิดประโยชน์กับใคร

พล.อ.อนุพงษ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่จะให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดการเลือกตั้งว่า หากมีการกำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ หน่วยงานนั้นก็ต้องทำให้เรียบร้อย ส่วนกรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านการจัดการเลือกตั้ง ออกมาแถลงข่าวว่า การให้กระให้มหาดไทยจัดการเลือกตั้งเท่ากับเป็นการยื่นดาบให้โจร พร้อมระบุว่าข้าราชการไว้ใจไม่ได้นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าข้าราชการไทยมีส่วนที่ดี และหากมอบงานมาให้ก็สามารถทำได้เช่นกัน
--------------------------
ประธาน สนช. ยัน เปิดคดีถอดถอนวันที่ 8 และ 9 ไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดผ่าน NBT - ถ่ายทอดทีวีและวิทยุสภาอยู่แล้ว

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการแถลงเปิดคดีของ นายนิคม ไวยรัชพานิช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อ สนช. ในวันที่ 8 และ 9 ม.ค.นี้ว่า ตนจะเสนอให้ที่ประชุม สนช. ละเว้นข้อบังคับการประชุมที่ระบุให้ตั้งข้อซักถามให้แล้วเสร็จก่อนวันแถลงเปิดคดี เนื่องจากสมาชิกบางรายไม่สามารถตั้งคำถามได้ โดยจะอนุญาตให้สามารถตั้งข้อซักถามได้จนถึงวันจันทร์ที่ 12 ม.ค. เวลา 12.00 น. โดยในวันแถลงเปิดคดีจะไม่มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) เนื่องจากตนเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะการประชุมของ สนช. เป็นไปอย่างเปิดเผยอยู่แล้วจากการถ่ายทอดสดทางทีวีและวิทยุของรัฐสภา
-----------------------------
พล.ต.สรรเสริญแจงเสื้อแดงมาให้กำลังใจยิ่งลักษณ์ได้ เเต่ต้องไม่ขัดกฏหมาย-เจ้าหน้าที่มีมาตราการดูแลอยู่แล้ว

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่กลุ่มคนเสื้อแดง จะเดินทางไปที่อาคารรัฐสภาเพื่อให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงเปิดคดีโครงการรับจำนำข้าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนช.วันที่9ม.ค.นี้ว่า การให้กำลังใจเป็นเรื่องส่วนบุคคลซึ่งสามารถทำได้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ใช้กฏอัยยการศึกในทุกกรณี  แต่ทั้งนี้คงทำอะไรที่ขัดต่อกฏหมายไม่ได้ ซึ่งเชื่อว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจสถาการณ์ดี ส่วนมาตราการดูแลพื้นที่รัฐสภาในวันดังกล่าวนั้น มองว่าทางเจ้าหน้าที่คงสามารถสิเคราะห์สถานการณ์ได้และคงมีมาตราการต่างๆดูแลอยู่แล้ว
-----------------
ประธานสนช.เเจง ยิ่งลักษณ์มีผู้ติดตามเข้าร่วมเปิดคดีได้ เเต่ชี้เเจงไม่ได้ หากไม่เกี่ยวข้อง

นายพรเพร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวถึงกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีผู้ติดตามมาในวันแถลงเปิดคดีต่อสนช. จำนวน 8 คนว่า หากบุคคลเหล่านั้นมาเพื่อติดตามการแถลงเปิดคดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากจะร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมด้วยนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของประธานที่จะพิจารณาอนุญาตได้หรือไม่ ซึ่งผู้ที่จะชี้แจงในวันแถลงเปิดคดีต้องเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับคดีและต้องชี้แจงภายในขอบเขตสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ตนยังไม่ได้ตรวจสอบรายชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร

อย่างไรก็ตาม ผู้ติดตามน.ส.ยิ่งลักษณ์ในวันแถลงเปิดคดีประกอบด้วย อดีตรัมนตรี จำนวน 4 คน และทีมทนายความที่รับมอบหมาย
//////////////
สปช./กมธ.ยกร่าง

"อลงกรณ์" เผย วิป สปช. เตรียมประชุมกำหนดวาระประชุมของวันที่ 12-13 ม.ค. ขณะ กมธ.ยกร่าง รธน. ไม่มีการประชุม รอฝ่ายเลขาฯ ยกร่างเบื้องต้น

บรรยากาศที่รัฐสภาล่าสุด ค่อนข้างเงียบเหงาซึ่งไม่มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหญ่ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น ซึ่งมี นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ดูแลเรื่องดังกล่าวโดยตรง ทั้งนี้ คาดว่า ในวันที่ 12 มกราคมนี้ จะได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น เพื่อนำเข้าที่ประชุมชุดใหญ่ พิจารณาเป็นรายมาตรา

ขณะที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร เปิดเผยว่า ในช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เพื่อพิจารณาวาระการประชุม สปช. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12-13 มกราคม ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งสำคัญ เพราะจะเป็นพิจารณาแผนการปฏิรูปเร็วที่เพิ่งผ่านการลงมติไปแล้ว
------------------------
"ประชา" แจงแต่ละจังหวัด ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ย้ำเวทีการรับฟังความคิดเห็นต้องตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น

ความเคลื่อนไหวที่กระทรวงมหาดไทย นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ครั้งที่ 5 เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับคณะที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด และอนุกรรมาธิการฯ แต่ละจังหวัด โดย นายประชา ระบุว่า การจัดตั้งเวทีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่จะต้องตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น แก้ไขปัญหาซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งยังกำชับสำหรับผู้ที่แสดงความคิดเห็นว่า ต้องห้ามชี้นำประชาชน

ขณะที่ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิรูป และการปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง ประชาชน และวัฒนธรรม พร้อมย้ำว่าการปฏิรูปไม่สามารถทำสำเร็จภายในระยะเวลา 1-2 ปี และขณะนี้ประเทศกำลังเข้าสู่จุดเริ่มต้นของการปฏิรูป ดังนั้นการปฏิรูปไปยังประชาชนต้องดำเนินการในทิศทางเดียวกันเพื่อความถูกต้อง
-------------------
ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภาช่วงสัปดาห์นี้ ต้องติดตามประเด็นการถอดถอนโดยในวันที่ 8 มกราคม นัดแถลงเปิดคดีของนายนิคม ไวรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส่วนในวันที่9 มกราคม เป็นนัดแถลงเปิดคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขณะเดียวกัน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นฟ้อง สนช. หากถอดถอนโดยมิชอบ หลังจากที่ สนช. ลงมติถอดถอนแล้ว

โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งนัดสมาชิกมาประชุมในวันที่ 8 และ 9 มกราคม 2558 โดยวันที่ 8 พิจารณาวาระเร่งด่วน 9 เรื่อง โดยเฉพาะการดำเนินกระบวนการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ออกจากตำแหน่ง และนัดแถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่นเดียวกับวันที่ 9 มกราคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมพิจารณากระบวนการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง พร้อมนัดแถลงเปิดสำนวนคดี และการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวน

 ขณะที่วันนี้ นายสุรพงศ์ โตวิจักษ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เตรียมมายื่นหนังสือโต้แย้ง เกี่ยวกับประเด็นการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่รัฐสภา แต่เนื่องจากติดภารกิจ จึงยกเลิกการเดินทางดังกล่าว แต่ได้เปิดเผยทางโทรศัพท์ว่า จากการตรวจสอบมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ  ปปช. ที่เสนอเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พบว่า มติของ ปปช.มีความผิดพลาด เนื่องจากองค์คณะบางรายมีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง ดังนั้น มติดังกล่าวจึงเป็นมติที่มิชอบ และเมื่อส่งเรื่องมาถึง สนช. เพื่อให้พิจารณาถอดถอน จึงเท่ากับว่า สนช. หยิบยกเรื่องที่มิชอบขึ้นมาพิจารณา ซึ่งหากสมาชิก สนช. ลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุมิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงปลายเดือนนี้
-------------------------
"วิษณุ" เตรียมคุยประธาน กมธ.สภาปฏิรูปทุกคณะ ติดตามความคืบหน้าแนวทางปฏิรูป หลังพบมีปัญหา ตามคำสั่งนายกฯ ยันไม่แทรกแซงเนื้อหา

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ตนและ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามงานด้านการปฏิรูป ของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ว่า ที่ผ่านมาทาง สปช. ได้ส่งรายงานมายังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง แต่เป็นเพียงรายงานสาเหตุที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็คาดหวังว่าการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ของ สปช.ใน 3 เดือนข้างหน้าจะเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกับประธานคณะกรรมาธิการทุกคณะเพื่อติดตามความคืบหน้าถึงแนวทางการปฏิรูป รวมถึงข้อเสนอต่อรัฐบาล ขณะเดียวกัน ยืนยันว่าการหารือเป็นเพียงการติดตามงาน ไม่มีการแทรกแซงเนื้อหาในการปฏิรูป
----------------------
"วิษณุ" ปัดแสดงความเห็นเรื่องถอดถอน โยน สนช.ดำเนินการตามขั้นตอน เชื่อ ไม่ขัดแย้งรุนแรง หลัง เม.ย. ให้แม่น้ำ 5 สายดู รายละเอียด รธน.ไร้ธง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงการพิจารณารัฐธรรมนูญรายมาตราของรัฐบาลว่า ภายหลังจากเดือนเมษายน 2558 ที่รัฐธรรมนูญร่างเสร็จสิ้น จะส่งให้แม่น้ำทั้ง 5 สาย รวมถึงประชาชนได้เสนอความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไข ซึ่งกรรมาธิการจะต้องเลือกแนวทางที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ นายวิษณุ ปฏิเสธแสดงความเห็นกรณีข้อเสนอการยกร่างรัฐธรรมนูญถอยหลัง พร้อมระบุว่าให้รอความชัดเจนก่อน และรัฐบาลไม่มีธงในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนส่วนการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นอยู่กับ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจะต้องดูกฎหมายควบคู่กันไป โดยปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอน และเชื่อว่าจะไม่มีความขัดแย้งหรือเหตุรุนแรงเกิดขึ้น
-----------------------
"เจิมศักดิ์" เผย สปช. เตรียมเปิดเวทีรับฟังความเห็น ปชช. 13 จังหวัด ขณะกรมประชาสัมพันธ์ ปรับผังช่อง 11 นำมาออกอากาศ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระบุว่า ได้เตรียมเปิดเวทีประชาเสวนารับฟังความความคิดเห็นประชาชน โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ซึ่งในขณะนี้ได้กำหนดพื้นที่เบื้องต้น 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ระยอง ขอนแก่น สกลนคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สตูล และกรุงเทพมหานคร

ขณะที่ นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า กรมประชาสัมพันธ์ได้มีการปรับผังการออกอากาศโดยวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.30-21.30 น. จะมีรายการเวทีปฏิรูปประเทศ โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าแสดงความคิดเห็นถึงข้องมูลการปฏิรูปประเทศ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดการรับรู้

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นได้เตรียมออกอากาศรายการ สปช.เสียงประชาชน ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.30-22.00 น. ซึ่งจะเริ่มอากาศในวันที่ 11 มกราคานี้ เป็นสัปดาห์แรก
-------------------
"สรรเสริญ" เผย ตรวจสอบจัดซื้อไมโครโฟนทำเนียบแพงเสร็จแล้ว เตรียมสรุป ชง คกก. มีมูลไต่สวนได้หรือไม่ 

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อไมโครโฟนประจำทำเนียบรัฐบาลว่า ขณะนี้เจ้าหน้าได้รวบรวมข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นหมดแล้ว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. สั่งให้รีบสรุปผลเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาว่ามีมูลพอจะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนได้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอต่อที่ประชุมเร็ว ๆ นี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ผู้ทางคุณวุฒิกองทัพบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ แถลงผ่านสื่อว่า ได้มีการสรุปผลการตรวจสอบในเรื่องนี้แล้ว พบว่าไม่ถึงขั้นทุจริต เพราะยอดวงเงินไม่สูงมากนัก แต่มีส่วนต่างเยอะมาก ทำให้มองดูไม่ดี และให้ผู้รับผิดชอบเร่งดำเนินการจัดซื้อใหม่อีกครั้ง
------------------
วิป สปช. เริ่มประชุม วาระสำคัญพิจารณา จัดสรรงบประมาณของคณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

บรรยากาศที่รัฐสภาล่าสุด เริ่มประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. แล้ว ที่มี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระเพื่อพิจารณารายงานความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 7 การจัดสรรงบประมาณของคณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป (NRC. Press Center) การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เป็นข้าราชการฯ ไม่ถือเป็นวันลาตามระเบียบของทางราชการ และการจัดสัมมนาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 19-20 มกราคม 2558 ที่โรงแรมเอเชียกรุงเทพ ถนนพญาไท

อย่างไรก็ตาม คาดว่า ทางโฆษกวิป สปช. จะแถลงภายหลังจบการประชุม
-------------------
"ประชา" ระบุ เบื้องต้นร้อยละ 80 มีแนวโน้มคืนอำนาจจัดเลือกตั้งให้มหาดไทย แต่ต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจน 

นายประชา เตรัตน์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวการคืนบทบาทหน้าที่ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานจัดการเลือกตั้งว่า จากการหารือกันนั้น 80% มีแนวโน้มว่าจะให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามต้องรอข้อสรุปสุดท้ายอีกครั้ง

ขณะ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะผู้ร่วมประชุมในการประชุมคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงแนวทางต่าง ๆ ของแต่ละจังหวัด

ซึ่งในส่วนของสำนักงาน กกต. ได้มีการซักซ้อมในเรื่องของการปฏิบัติงาน กับ กกต.จังหวัด ในฐานะเลขานุการอนุกรรมาธิการจังหวัด โดยจะดูรายละเอียดในเรื่องของงานธุรการ การบันทึกข้อมูล การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

ขณะเดียวกันในวันพฤหัสบดีที่ 15 ม.ค. นี้ สำนักงาน กกต. จะเชิญ กกต.จังหวัด โดยมี สมาชิก สปช. เป็นผู้สังเกตการณ์และรับฟังความเห็น รวมทั้งชี้แจงแนวทางปฏิบัติในการจัดเวที นอกจากนี้ กกต. ได้เชิญทูตของประเทศเยอรมันมาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งของเยอรมันอีกด้วย
----------------
เลขานุการ  วิป สนช. ยืนยันว่า การพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่มีใบสั่ง เชื่อสมาชิกทุกคนมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจถอดถอน

 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมพิจารณาวาระกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเป็นนัดแรกของวันแถลงเปิดคดี คือ วันที่ 8 มค. เป็นคดีของนายนิคม ไวรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส่วนวันที่9มค. เป็นคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งนี้ ถือเป็นภารกิจแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ดำเนินการกระบวนการถอดถอน และเป็นที่จับตามองของกระแสสังคม

โดยทางด้าน นายสมชาย แสวงการ เลขานุการ วิป สนช. ซึ่งมีชื่อเป็นกรรมาธิการซักถาม เปิดเผยว่า ยังลังเลว่า จะรับเป็นกรรมาธิการซักถามหรือไม่ เนื่องจากได้ติดตามคดีถอดถอนของอดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานวุฒิสภา และอดีตนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอด ยืนยันว่า หากที่ประชุมเห็นชอบให้ทำหน้าที่ก็จะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีอคติและในการตั้งคำถามก็ต้องถามเฉพาะเรื่องในสำนวนอยู่แล้ว พร้อมยืนยันด้วยว่า ไม่มีใบสั่งในการลงมติถอดถอนบุคคลทั้ง 3 คน โดยทุกคนมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจและไม่ว่าผลโหวตจะออกมาอย่างไร มีโทษแค่ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ไม่ได้มีผลกับคดีอาญา

ส่วนกรณีที่ทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 วันแถลงเปิดคดีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์จะมาชี้แจงด้วยตัวเองนั้น นายสมชาย กล่าวว่า ต้องแล้วแต่ที่ประชุม สนช. แต่โดยปกติก็มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และสถานีวิทยุรัฐสภาอยู่แล้ว

(ขณะเดียวกัน ในช่วงบ่าย มีการประชุมคณะกรรมธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. แล้ว ที่มีนายเทียนฉาย กีระนันท์ เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระเพื่อพิจารณารายงาน

ความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 7 //การจัดสรรงบประมาณของคณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
///////////////
นายกฯ

นายกฯ ให้โอวาท เด็ก-ยช.ดีเด่น ถือว่าเป็นอนาคตของชาติ ขอปฏิบัติตามค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ช่วยพัฒนาประเทศ ย้ำ ทำทุกอย่างไม่ให้ขัดแย้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ให้โอวาทแก่เด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจำปี 2557 ที่เข้าเยี่ยมคาราวะ
นายกรัฐมนตรีเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2558 ที่ตึกสันติไมตรี

โดยกล่าวว่า เยาวชนถือว่าเป็นอนาคตของชาติ และขอให้เยาวชนใส่ใจอนาคตด้วย ซึ่งการนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศถือเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจของครอบครัว ทั้งนี้ เยาวชนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรวด
เร็วโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการที่จะนำเด็กไปสู่อนาคตได้อย่างมีคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม ขอให้เยาวชนปฏิบัติตามค่านิยมของคนไทย 12 ประการทุกข้อ และขอให้ช่วยกันรักษาและช่วยกันพัฒนาประเทศ และฝากในเรื่องการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะโซเชี่ยลมีเดียไม่ให้มา
ชี้นำ

ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรียังระบุว่า รัฐบาลจะทำทุกอย่างเพื่อขับเคลื่อนประเทศและไม่ให้เกิดความขัดแย้งในอนาคต และอย่าให้ใครทำให้เกิดความแตกแยก เนื่องจากมีเวลาปฏิรูปประเทศแค่ใน
ช่วงนี้เท่านั้น
------------------------
พล.อ.อุดมเดช ย้ำกองทัพตั้งใจเต็มที่ช่วยดูแลสังคมตามนโยบายนายกฯ ของดพูดเรื่อง การเมือง

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก กล่าวภายหลังเป็นประธานวันสถาปนากรมแพทย์ทหารบก ครบรอบ 115 ปี ว่า กรมแพทย์ทหารบกเป็นหน่วยที่มีความสำคัญของกองทัพ โดยล่าสุดได้พัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านการทหารและประชาชนด้วย หากเกิดภัยพิบัติด้านต่าง ๆ สิ่งที่กรมแพทย์ทหารบกได้ปรับปรุงเอาไว้จะได้ไปใช้ประโยชน์ต่อ

ทั้งนี้ ไม่ขอตอบเรื่องการเมือง ขอเน้นไปที่ภารกิจทหาร โดยกองทัพบกมีความตั้งใจเต็มที่ในการช่วยดูแลสังคมตามนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่ามีการเอารถทหารมาปรับเป็นที่ลำเลียงประชาชนมารักษาพยาบาลบนรถยนต์พยาบาลขนาดใหญ่ที่ปรับให้เป็นห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องเอ็กซเรย์เคลื่อนที่แบบครบถ้วน ส่วนกรณีสถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรงก็มีจัดทีมพิเศษขึ้นมาเข้าไปคลี่คลายในพื้นที่ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข อย่างกรณีการป้องกันโรคอีโบลาก็ได้รับวิทยาการจากประเทศที่สัมผัสกับโรคนี้โดยตรง มีการพูดคุย ประชุม อบรม แล้วก็มาขยายผล ดังนั้น ถ้าเกิดโรคติดต่อร้ายแรงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง กรมแพทย์ทหารบกสามารถเข้าไปคลี่คลายสถานการณ์ เก็บตัวอย่างมาวิจัย พร้อมจัดรถและทีมเพื่อเข้าไปพิสูจน์ทราบโรคร้ายแรงได้
-------------------
"ยงยุทธ" ยันงบจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ "ค่านิยม 12 ประการ" ดำเนินการถูกต้อง ไม่ฟุ่มเฟือย เผยปัจจุบันมียอดโหลดกว่า 6 ล้านครั้ง เชื่อ สังคมได้ประโยชน์

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ยืนยันการจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการ ด้วยงบประมาณ 7.1 ล้านบาท ไม่ได้เป็นการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย พร้อมได้สอบถามกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้วว่ามีการตกลงราคากันอย่างเหมาะสมและเป็นไปอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งมียอดดาวน์โหลดอยู่ที่ 6 ล้านครั้ง ถือว่าเป็นการตอบรับที่ดีและสังคมได้รับประโยชน์

ทั้งนี้ นายยงยุทธ ยังกล่าวถึงการหารือกับ นายมุน ซง โม เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีประจำประเทศไทย (เกาหลีเหนือ) ว่า เป็นการหารือและกระชับความสัมพันธ์ที่มีกว่า
40 ปี และเพิ่มความร่วมมือด้านการค้าขึ้นมาอีกระดับ โดยไทยยินดีที่จะช่วยประสานเรื่องการรวมชาติระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ภายหลังที่ นายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ได้พูดกับประชาชนเกาหลีเหนือถึงเรื่องนี้ พร้อมฝากความปราถนาดีไปยังผู้นำเกาหลี และหวังว่าเกาหลีเหนือจะมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศอื่น ๆ มากขึ้น
-------------------------
พล.อ.ประยุทธ์ ถ่ายรูป แจกลายเซ็นแก่เด็ก ๆ อย่างเป็นกันอเอง ก่อนเป็น ปธ.ประชุมแก้ปัญหาค้ามนุษย์ 

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่ายนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายด้านการค้ามนุษย์และการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีกำลังเดินเท้าจากตึกสันติไมตรี ขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ครั้งที่ 1/2558 เด็กและเยาวชนที่เดินทางมารับมอบรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่นที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้าได้ขอร่วมถ่ายภาพกับนายกรัฐมนตรีและขอลายเซ็นด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้เยาวชนถ่ายรูปด้วยความเป็นกันเอง
-----------------------
เด็ก-ประชาชนทั่วประเทศร่อนจดหมายและ ส.ค.ส. ให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีกว่า 1,000 ฉบับ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ สำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำ ส.ค.ส.บางส่วนจากเด็ก เยาวชน และบุคคลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่มีกว่า 1,000 ฉบับ มาคัดเลือกและจัดแสดงบริเวณ

หน้าสำนักโฆษกฯ ตามธรรมเนียมที่มีขึ้นในทุก ๆ ปี

ทั้งนี้ ได้นำ ส.ค.ส.ของเยาวชนมาจัดแสดงเพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลวันเด็กที่จะถึงในวันเสาร์นี้ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการให้กำลังใจในการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รวมถึงให้คำสัญญาว่าจะ

ตั้งใจเรียนและจะปฏิบัติตัวเป็นคนดีตามหลักค่านิยม 12 ประการ รวมถึงการแต่งกลอน วาดรูประบายสีเป็นรูปนายกรัฐมนตรี อาทิ เด็กชายภควัต สุนทรสุจริต จากโรงเรียนวัดลาดกระบังได้เขียนข้อ

ความถึงนายกรัฐมนตรีว่า "ผมยังเป็นเด็กก็จริงอยู่แต่ผมชอบดูรายการคืนความสุขให้ประชาชนในเย็นวันศุกร์และให้กำลังใจลุงประยุทธ์"

อย่างไรก็ตาม ทีมงานสำนักโฆษกฯ กล่าวว่า ทางสำนักนายกรัฐมนตรีจะทยอยส่งจดหมายตอบกลับไปยังผู้ที่ส่ง ส.ค.ส. มาให้ครบทุกคน
------------------------
//////////////////
ตำรวจ

ผบช.น. ชี้ การโยกย้ายนายตำรวจทั้งหมดตรวจสอบได้ ด้านส่วน บช.ก. ที่ถูกย้ายกว่า 100 นาย กรณีเอี่ยวพงศ์พัฒน์ - ไม่พบการร้องเรียน 

พลตำรวจโทศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยภายหลังการชี้เเจงคณะกรรมการ ก.ตร. ว่า ในครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ทั้งหมด 73 ตำเเหน่ง เเบ่ง
เป็น รอง ผบก. 14 นาย ผกก. 59 นาย โดยยืนยันว่าดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย ของ พ.ร.บ.ตำรวจที่สามารถชี้เเจงได้

ขณะในที่ประชุม ก.ตร. ได้มีการให้ชี้เเจงรายชื่อที่เสนอโยกย้ายจำนวนหลายคน ซึ่งตนได้ชี้เเจงไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยาน โดยยืนยันว่าไม่ได้มีการกลั่นเเกล้งใคร ซึ่งที่ผ่านมามีการยื่นบัตรสนเท่ห์ 1 ราย เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนป้อมจราจร เท่านั้น แต่ไม่ได้มีการลงชื่อผู้ร้องเรียนเรื่องการโยกย้ายไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด

ด้าน พลตำรวจโทประวุฒิ ถาวรศิริ รักษาราชการแทน ผบช.ก. เปิดเผยว่า ในส่วนของ บช.ก. มีข้าราชการที่ถูกโยกย้ายออกนอกหน่วย เกือบ 100 นาย โดยเป็นในส่วนเครือข่ายของ พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบช.ก. ซึ่งพัวพันกับเรื่องน้ำมันเถื่อน บ่อนการพนัน คดีพนันฟุตบอลออนไลน์ และความผิดแต่งตั้งโดยมิชอบ ซึ่งสมัครใจขอย้ายเพราะสำนึกได้ว่ากระทำผิด ส่วนการฟ้องร้องเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรมยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนแต่อย่างใด
---------------------
โฆษก ตร. แถลงจับกุม ผู้ต้องหาตามหมายจับหมิ่นเบื้องสูง ด้านการตามจับ ตั้ง อาชีวะ ชี้ ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุยืนยันที่อยู่ได้  

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงผลจับกุม นายพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง ชาวจังหวัดจันทบุรี เจ้าของเฟซบุ๊กชื่อ Sam parr ผู้ต้องหาตามหมายจับของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 112 หลังถูกตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จับกุม เนื่องจากผู้ต้องหาใช้สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่รูปภาพและข้อความที่มีลักษณะหมิ่นเบื้องสูง เพื่อยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายและมีความเกลียดชังขึ้นในสังคม

โดย นายพงษ์ศักดิ์ ผู้ต้องหารับสารภาพว่า เป็นคนโพสต์และแชร์ข้อความดังกล่าวจริง รู้เท่าไม่ถึงการ เนื่องจากมีคนส่งภาพตัดต่อหรือข้อความ มาให้โพสต์ พร้อมกันนี้ที่ผ่านมา ยอมรับว่าได้มีการเข้า
ร่วมการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง จึงได้รับข้อมูลที่ผิดมา

ทั้งนี้ จากการสืบสวนเชิงลึกพบว่าการกระทำดังกล่าวมีลักษณะเป็นขบวนการ ทั้งในส่วนผู้สนับสนุนข้อมูล/ กลุ่มให้ที่พักพิง/ กลุ่มผู้สนับสนุนทางการเงิน และผู้ให้ความช่วยเหลือในการหลบหนี

นอกจากนี้ พล.ต.ท.ประวุฒิ เปิดเผยว่าการกด like ภาพต่างๆ หรือข้อความ มีโทษเช่นเดียวกับการเผยแพร่

ส่วนการติดตามจับกุมตัว นายเอกภพ เหลือรา หรือ ตั้ง อาชีวะ ผู้ต้องหาหมิ่นสถาบันขณะนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งหมายแดงไปยังสถานทูตประเทศต่างๆ ซึ่งจากภาพที่ผู้ต้องหานำมาเผยแพร่ ว่าพำนักอยู่ในประเทศต่างๆ อาจเป็นภาพที่ถูกทำขึ้น จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันที่อยู่ได้
------------------------
โฆษกอัยการฯ รับ สำนวนคดีอดีต ผบช.ก. กับพวก ปฏิบัติหน้าที่มิชอบแล้ว 3 สำนวน หากคดีมีซับซ้อนต้องรอตั้งคณะทำงาน

นายวันชัย รุจนวงศ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนได้นำสำนวนที่กล่าวหา พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับพวก กระทำผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ฟอกเงิน ส่งให้อัยการสำนักงานคดีอาญาเพื่อพิจารณาสั่งคดี โดยขณะนี้ทางอัยการสำนักงานคดีอาญาได้รับพิจารณาไว้ทั้งหมด 3 สำนวน ส่วนสำนวนอื่นที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกันและอยู่ในเขตอำนาจอาญาอื่น เช่น อัยการกรุงเทพใต้นั้นยังไม่ได้รับการส่งสำนวนมาแต่อย่างใด

โดยในตอนนี้ ทางสำนักงานคดีอาญาก็กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ หากคดีไม่ซับซ้อนมากก็อาจจะไม่ถึงขนาดที่จะต้องตั้งคณะทำงาน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอัยการแต่ละกองที่รับสำนวนไว้พิจารณา ส่วนกรณีที่ผู้ต้องหาจะร้องขอความเป็นธรรมหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มี

อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาได้รับมอบสำนวนแล้วเบื้องต้นก็ได้ส่งสำนวนให้กับสำนักงานคดีอาญา 3, 4 และ 9 เป็นผู้รับผิดชอบสำนวน โดยมีจะมีอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการประจำกองร่วมกันตรวจดูสำนวน
--------------------
โฆษก ตร. เสนอบัญชีปรับเปลี่ยนตำแหน่งตำรวจของ บช.ก. 130 ตำแหน่ง ชี้ ปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม ไม่เกี่ยวกรณีป้ายโฆษณา 

พลตำรวจโทประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือ บช.ก. เปิดเผยภายหลังใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในการเข้าชี้แจงการเสนอปรับโยกย้ายตำรวจระดับรองผู้บังคับการ ถึงผู้กำกับการของ บช.ก. ในที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ซึ่งมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ได้เสนอ
บัญชีปรับเปลี่ยนตำแหน่งตำรวจของ บช.ก. ประมาณ 130 ตำแหน่ง ในจำนวนนี้เป็นการย้ายออกนอกหน่วย บช.ก. 56 ตำแหน่ง และส่วนใหญ่เป็นการสมัครใจ พร้อมชี้แจงเหตุผลการปรับเปลี่ยนตำแหน่งก็เพื่อความเหมาะสม ต้องการบุคคลที่มีความประพฤติดีและวางใจได้เข้ามาทำงาน

ส่วนผู้ที่อยู่ในตำแหน่งและมีการกระทำผิดมายาวนานก็ยากที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกย้ายออกนอกหน่วยเพราะเกี่ยวข้องกับกระทำผิด 4 เรื่องหลัก คือ รับผลประโยชน์จากน้ำมันเถื่อน การทุจริตซื้อขายตำแหน่ง บ่อนการพนัน และการพนันบอล

ทั้งนี้ ตนได้ชี้แจงในที่ประชุมทั้งหมด และในที่ประชุมก็ยังไม่มีข้อทักท้วงในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของ บช.ก. แต่อย่างใด

พลตำรวจโทประวุฒิ กล่าวด้วยว่า การปรับโยกย้ายของ บช.ก. ยังไม่เกี่ยวข้องกับกรณีป้ายโฆษณาบนป้อมตำรวจ ทั้งตำรวจท่องเที่ยวและทางหลวง เป็นการติดตั้งป้ายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโฆษณาหรือได้ผลประโยชน์ แต่เป็นการติดตั้งเพื่อการประชาสัมพันธ์รณรงค์โครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชน
---------------------
ผบช.น. ชี้ มีการโยกย้าย ตร. ทั้งหมด 73 ตำแหน่ง ยัน ดำเนินการตามระเบียบ พ.ร.บ. - ไม่มีการกลั่นแกล้งแน่นอน

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยภายหลังการชี้เเจงคณะกรรมการ ก.ตร. ว่า ในครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ทั้งหมด 73 ตำเเหน่ง เเบ่งเป็น รอง ผบก.14 นาย ผกก. 59 นาย โดยยืนยันว่า ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายของ พ.ร.บ.ตำรวจ ที่สามารถชี้เเจงได้

ขณะใน ที่ประชุม ก.ตร. ได้มีการให้ชี้เเจงรายชื่อที่เสนอโยกย้ายจำนวนหลายคน ซึ่งตนได้ชี้เเจงไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยาน โดยยืนยันว่า ไม่ได้มีการกลั่นเเกล้งใคร ซึ่งที่ผ่านมา มีการยื่นบัตรสนเทศ 1 ราย เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนป้อมจราจรเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการลงชื่อผู้ร้องเรียนเรื่องการโยกย้ายไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
--------------------

พงส.สน.พหลโยธิน คุมตัว 2 ผู้ต้องหาคดีอาบูบาก้า ขออำนาจศาลฝากขังผลัดแรก วันนี้ - ค้านประกัน ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน คุมตัว พ.ต.อ.วรพจน์ พืชผล อดีต ผกก.1 บก.ปอศ. และ พ.ต.ท.พิพัฒน์ เฉวงราษฏร์ สว.บก.ปอท. ผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนระหว่างปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามการพนันฟุตบอลออนไลน์ หรือ อาบูบาก้า มาขออำนาจศาลอาญารัชดา เพื่อทำการฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน นับจากวันนี้ ถึงวันที่ 19 ม.ค.2558

สืบเนื่องจากศาลอาญาได้อนุมัติออกหมายจับนายตำรวจ 13 นาย ตามที่พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ร้องขอในข้อหาร่วมกันเรียกรับส่วยพนันออนไลน์เครือข่าย "อาบูบาก้า" นักธุรกิจชาว
มาเลเซีย โดยทั้ง 2 คนได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน เมื่อวานที่ผ่านมา เบื้องต้น พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งกับพยานหลักฐาน

ขณะที่นายตำรวจทั้งสองยังคงให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์ แต่อยู่ในชุดทำงานจริง พร้อมทั้งเตรียมยื่นขอประกันตัวในชั้นศาลต่อไป
----------------------
พงส.สน.พหลโยธิน คุมตัว 2 ผู้ต้องหาคดีอาบูบาก้า ขออำนาจศาลฝากขังผลัดแรก วันนี้ - ค้านประกัน ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน คุมตัว พ.ต.อ.วรพจน์ พืชผล อดีต ผกก.1 บก.ปอศ. และ พ.ต.ท.พิพัฒน์ เฉวงราษฏร์ สว.บก.ปอท. ผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนระหว่างปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามการพนันฟุตบอลออนไลน์ หรือ อาบูบาก้า มาขออำนาจศาลอาญารัชดา เพื่อทำการฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน นับจากวันนี้ ถึงวันที่ 19 ม.ค.2558

สืบเนื่องจากศาลอาญาได้อนุมัติออกหมายจับนายตำรวจ 13 นาย ตามที่พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ร้องขอในข้อหาร่วมกันเรียกรับส่วยพนันออนไลน์เครือข่าย "อาบูบาก้า" นักธุรกิจชาว

มาเลเซีย โดยทั้ง 2 คนได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน เมื่อวานที่ผ่านมา เบื้องต้น พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งกับพยานหลักฐาน

ขณะที่นายตำรวจทั้งสองยังคงให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์ แต่อยู่ในชุดทำงานจริง พร้อมทั้งเตรียมยื่นขอประกันตัวในชั้นศาลต่อไป
----------------------
พิ้งกี้ สาวิกา ดาราดัง พบ พงส.กองปราบ คดียักยอกเงิน สจล.แล้ว สอบเข้มก่อนแถลงข่าวอีกครั้ง 

นางสาวสาวิกา ไชยเดช หรือ พิ้งกี้ ดารานักแสดงชื่อดัง พร้อมด้วย นายอิทธิ ชวลิตธำรง หรือ เพชร สามี เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ข้อมูลกรณีมี

รายชื่อเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด ซึ่งเป็นของ นายกิตติศักดิ์ มัดธุจัด ผู้ต้องหาสำคัญในคดี ร่วมกันยักยอกเงิน 1,600 ล้านบาท ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า

คุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล.

โดย ดาราสาวพิ้งกี้ ได้หลบสื่อมวลชนขึ้นไปพบพนักงานสอบสวน ด้านข้างอาคารของกองปราบปราม โดย พล.ต.ท.ประวุฒิ ได้จัดห้องประชุมไว้ใช้ในการสอบสวน พิ้งกี้ และอนุญาตให้สื่อมวลชน

เข้าบันทึกภาพ ได้ประมาณ 10 นาที ก่อนจะเชิญสื่อไปรอนอกห้อง เพื่อให้พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำก่อนจะแถลงรายละเอียดต่อไป
---------------------
ตร.สอบพิงกี้ คดีดกง สจล แล้ว พบไม่เกี่ยวข้อง และไม่รู้เรื่อง ระบุมีคนกลางชวนร่วมหุ้น ไม่ต้องเรียกมาอีกแล้ว

นางสาวสาวิกา ไชยเดช หรือ พิ้งกี้ ดารานักแสดงชื่อดัง กล่าวภายหลัง เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ข้อมูล กรณี มีรายชื่อเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นอยู่

ในบริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด ซึ่งเป็นของนายกิตติศักดิ์ มัดธุจัด ผู้ต้องหาสำคัญในคดี ร่วมกันยักยอกเงิน 1,600 ล้านบาท ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล.

โดย พิ้งกี้ ยืนยันว่า ไม่รู้จักกับนายกิตติศักดิ์ มัดธุจัด เป็นการส่วนตัว ส่วนรายละเอียดได้ให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ไว้หมดแล้ว ก่อนจะเดินทางกลับไปทันที

ทางด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า หลังจากพนักงานสอบสวน ทำการสอบปากคำในเบื้องต้น พิ้งกี้ แล้ว ก็ได้ข้อมูลว่า ถูกชักชวนให้ไปร่วมทุนในบริษัททำหนังผ่านคนกลาง แต่ไม่ได้ร่วมลงเงินด้วย

เบื้องต้นจากการสอบสวน ไม่พบพิรุธและหมดข้อสงสัย พิ้งกี้ ไม่มีส่วนรู้เห็นในการทำความผิดในครั้งนี้ และจากนี้ ไม่จำเป็นต้อง เชิญมาให้ข้อมูลอีก
---------------------
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัดให้ข้อมูลกรณีจับชาวปากีสถาน ก่อเหตุระเบิดดที่อินเดีย สั่งตำรวจทุกคนงดให้ข่าวด้วย

พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงการจับกุม นายเกอร์มีท ซิงห์ ( Gurmeet Singh) อายุ 47 ปี ชาวปากีสถาน ผู้ต้องหาก่อเหตุระเบิดที่ประเทศอินเดียและหลบหนีการคุมขังมาในประเทศไทย โดยระบุว่า เป็นเรื่องเปราะบาง ที่อาจส่งผลกระทบทางลบกับประเทศไทยได้ พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยไม่ใช่คู่กรณี หรือคู่ขัดแย้งทางการเมืองของประเทศใด กลุ่มใด จึงสั่งการตำรวจทุกคนห้ามให้สัมภาษณ์กรณีการจับกุมลักษณะนี้ เพราะมีแต่จะส่งผลกระทบทางลบมากกว่า หากใครฝ่าฝืน ให้ถือว่ามีความผิด เนื่องจากที่ผ่านมา ตำรวจไทยทำงานในทางลับ หากบุคคลต้องสงสัยรายใดเดินทางเข้าประเทศผิดกฎหมาย หรือมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะผลักดันส่งกลับทันที โดยไม่จำเป็นต้องให้ข่าว เพราะเป็นเรื่องความมั่นคง ซึ่งในช่วงที่ตนเองดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีการจับกุมได้กว่า 10 คนแล้ว และเป็นคนสำคัญระดับโลก แต่ไม่ขอเปิดเผย

รายละเอียด
/////////////////////
เศรษฐกิจ

ผอ.สศค. เล็งปรับเป้า GDP ปี 57 ใหม่อีกครั้ง ในเดือน ม.ค. หลังการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนปี 58 ยังคงประมาณการไว้ที่ร้อยละ 4

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. จะปรับประมาณการ GDP ปี 57 ใหม่อีกครั้งในเดือน ม.ค.นี้ เพราะเมื่อพิจารณาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 4/57 ที่คาดว่าจะโตได้เพียงร้อยละ 3 จากภาคส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมาตรการของรัฐที่ออกมาจากการเบิกจ่ายงบประมาณ ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ทั้งปีคาดว่า GDP จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 1 เท่านั้น หรือใกล้เคียงกับที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ไว้ที่ ร้อยละ 0.8

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 58 ยังคงประมาณการไว้ที่ร้อยละ 4 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 3-5 โดยปัจจัยที่ต้องจับตา
----------------------
ที่ประชุม กบง. ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน 60 สต. E20 ลง 40 สต. ขณะ E85 ดีเซลคงเดิม มีผลพรุ่งนี้

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลงต่อเนื่อง

ที่ประชุม กบง. จึงมีมติขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้ปรับลดราคาขายปลีกของกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดลง 60 สตางค์ต่อลิตร E20 ปรับลด 40 สตางค์ต่อลิตร ส่วน E85 และน้ำมันดีเซลคงเดิม มีผลพรุ่งนี้ 8 มกราคม 2558 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของน้ำมันดีเซลเพิ่ม 60 สตางค์ต่อลิตร จากเดิม 2.45 บาทต่อลิตร เป็น 3.05 บาทต่อลิตร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการชดเชยเป็นเงินภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่เรียกเก็บอยู่ที่ 3.25 บาทต่อลิตร เพื่อให้ใกล้เคียงกับกลุ่มเบนซิน ซึ่งผลจากการเรียกเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันดีเซลจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องกองทุนน้ำมันประมาณ 948 ล้านบาทต่อเดือน จากเดิมมีรายรับประมาณเดือนละ 6,567 ล้านบาท เป็นเดือนละ 7,516 ล้านบาท ขณะที่ฐานะสุทธิของ

เงินกองทุนน้ำมัน สิ้นสุดวันที่ 4 มกราคม 2558 มีสถานะเป็นบวกอยู่ที่ประมาณ 17,622 ล้านบาท
-------------------
ปตท. บางจาก ปรับลดราคาขายปลีก เบนซิน โซฮอล์ 60 สต. E20 ลง 40 สต. E85 อีก 20 สต. คงดีเซลมีผลพรุ่งนี้

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ลง 60 สตางค์ต่อลิตร เว้น E20 ปรับลด 40 สตางค์ต่อลิตร E85 ปรับลดลง 20 สตางค์ต่อลิตร ส่วนดีเซลคงเดิม มีผลพรุ่งนี้ 8 มกราคม ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ทั้งนี้ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันในสถานีบริการของ ปตท. และบางจาก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 35.96 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 28.90 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 27.18 บาท E20 อยู่ที่ลิตรละ 25.78 บาท E85 อยู่ที่ลิตรละ 22.08 บาท และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ลิตรละ 26.39 บาท
-----------------------
เจ๊เกียว ลดค่าโดยสาร 2 สต./กม. เริ่ม 16 ม.ค. โอด ปีใหม่ผู้โดยสารลดลงกว่าร้อยละ 50 เหตุน้ำมันลด ประชาชนหันใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น

นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารขนส่ง เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบกระเช้าของขวัญปีใหม่ โดยระบุว่า ในวันที่ 16 มกราคม นี้ ทางสมาคมยินดีที่จะปรับราคาค่าโดยสารลงในอัตรา 2 สตางค์ต่อกิโลเมตร ตามที่ทางกระทรวงคมนาคม จะประกาศบังคับใช้อัตราค่าโดยสารราคาใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าโดยสารรถทัวร์แต่ละเส้นทาง มีราคาลดลงประมาณ 20-45 บาท

พร้อมกันนี้ ขอยืนยันถึงข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อ ที่ได้มีการยื่นเสนอ อาทิ การลดเที่ยวรถขั้นต่ำลง การหารือกับบริษัทประกันภัย เพื่อขอลดค่าเบี้ยประกันในการทำประกันภัยชั้น 3 โดยทั้งหมดทางกระทรวง จะต้องดำเนินการให้กับทางสมาคม

อย่างไรก็ตาม นางสุจินดา ยอมรับว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 50 เนื่องจาก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางมากขึ้น
-----------------
กระทรวงการคลังคงเป้ารายได้ปี 58 ไว้ที่ 2.325 ล้านล้านบาท รับเก็บภาษีน้ำมันลด หลังราคาลงตามตลาดโลก

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทางกระทรวงการคลังยังคงเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2558 ไว้ที่ 2.325 ล้านล้านบาท แม้ว่ารายได้ของทางกรมสรรพากรที่มาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าน้ำมันจะลดลงตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีรายได้ของกรมสรรพสามิตที่มาจากการปรับขึ้นจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลสูงขึ้นมาชดเชย ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาในการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาน้ำมันมีความผันผวน แม้ว่าขณะนี้ราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้น จึงเห็นว่าเร็วเกินไปที่จะปรับเป้าหมายรายได้แม้รัฐบาลจะต้องใช้ฐานรายได้ปี 2558 ในการจัดทำงบประมาณปี 2559 ก็ตาม
---------------------
หอการค้าเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ธ.ค. 57 แตะ 81.1 สูงสุดในรอบ 18 เดือน จากราคาน้ำมันลด มาตรการกระตุ้น ศก. 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนธันวาคม 2557 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับ 81.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ในระดับ 79.4 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 18 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ ในดัชนีความเชื่อมันของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการนั้นเนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งมาตรการลดราคาสินค้า 20-70% ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในช่วงเทศกาลปีใหม่

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวและยางพาราที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจนการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้กำลังซื้อ
โดยรวมทั่วประเทศยังปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

‘รองสมุหราชองครักษ์’ แจ้ง ม.112 ‘สมุหราชองครักษ์’

‘รองสมุหราชองครักษ์’ แจ้ง ม.112 ‘สมุหราชองครักษ์’ หลังสั่งพ้นราชการ ระบุเป็นพระราชอำนาจเท่านั้น

‘รองสมุหราชองครักษ์’ แจ้งกองปราบเอาผิด ‘สมุหราชองครักษ์’ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  หลังออกคำสั่งให้ตนเองพ้นราชการ ชี้ไม่มีอำนาจ ระบุการจะให้พ้นจากหน้าที่เป็นพระราชอำนาจเท่านั้น
7 ม.ค. 2558 มติชนออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.อ.ชาญศักดิ์ นิวาศะบุตร รองสมุหราชองครักษ์ พร้อมที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ดำเนินคดีกับ พล.อ.สายัณห์ คัมภีร์พันธ์ สมุหราชองครักษ์ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
โดย พล.อ.อ. ชาญศักดิ์ ระบุว่า พล.อ. สายัณห์ ได้ออกคำสั่งให้ตนเองพ้นราชการ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2557  ทั้งที่ ไม่มีอำนาจจึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจกระทำได้  เพราะการจะให้พ้นจากหน้าที่ราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ สมุหราชองครักษ์ และรองสมุหราชองครักษ์ เป็นพระราชอำนาจเท่านั้น

สุริยะใส:ฟังไม่ขึ้นหากไม่ถอดถอนยิ่งลักษณ์

เหตุผลที่จะไม่ถอดถอนยิ่งลักษณ์ ยังฟังไม่ขึ้น!
เหตุผลและข้อโต้แย้งในประเด็นถอดถอนหรือไม่ถอดถอน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในคดีปล่อยให้มีการทุจริตรับจำนำข้าวนั้น มีเหตุผล 2 ชุด ทั้งเหตุผลที่เป็นข้อกฎหมายและเหตุผลทางการเมือง
เหตุผลที่เป็นข้อกฎหมายได้ข้อยุติไปพอสมควร และไม่น่าจะเป็นปัจจัยกำหนดการตัดสินใจลงมติของ สนช.เท่าไรนัก เหตุผลสำคัญที่จะเป็นตัวแปรและโน้มนำการตัดสินใจของ สนช.ในขณะนี้น่าจะเป็นเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก
มีชุดเหตุผลทางการเมืองที่พยายามอธิบาย และสร้างความชอบธรรมเพื่อจะไม่ให้ นส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอนนั้น มีอย่างน้อย 5 เหตุผลดังนี้
1. เพื่อความปรองดอง สมานฉันท์ให้เลิกลากันไป ฟังไม่ขึ้นเพราะการปรองดองสมานฉันท์ไม่ใช่ทำให้เป็นสีเทา ลืมๆกันไป แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำความจริงให้ปรากฎ แยกแยะผิดถูกให้ปสังคมประจักษ์ชัด
2. เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่หาเสียงกับประชาชนและแถลงต่อสภาต้องรับผิดชอบต่อสภา ฟังไม่ขึ้นเพราะทุกนโยบายที่แถลงต่อสภาไม่ได้หมายความว่าฝ่ายบริหารจะไปแปรนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างไรก็ได้ และในสภาก็ไม่ได้หมายความว่ามีเสียงเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์ และไม่ได้หมายความว่าอะไรที่ทำในนามเสียงข้างมาก กฎหมายจะเอาผิดไม่ได้
3. ปปช.จะดำเนินคดีอาญาอยู่แล้ว คดีถอดถอนเป็นคดีการเมืองจึงไม่จำเป็นต้องถอดถอน ฟังไม่ขึ้นเป็นคนละส่วนกันและกรอบของรัฐธรรมนูญไม่ได้มีข้อยกเว้นให้ทดแทนหรือเอาคดีหนึ่งมาชดเชยความผิดในอีกคดีหนึ่งได้
4. ขั้นตอนการทุจริตเป็นเรื่องของระดับปฏิบัติไม่เกี่ยวระดับนโยบาย ฟังไม่ขึ้น เพราะทั้ง ปปช.และ สตง.ทำหนังสือทักท้วงไปตั้งแต่แรกๆ ว่านโยบายนี้เปิดช่องให้มีการทุจริตแต่รัฐบาลไม่ทบทวน ซำ้ยังจับชาวนามาเป็นตัวประกัน โดยอ้างว่าเป็นนโยบายช่วยชาวนา แต่ละเลยผลกระทบทางวินัยการเงิน การคลังและภาระหนี้สินมโหฬารตามมา
5. เป็นการกลั่นแกล้งเลือกปฏิบัติ ซ้ำเติมความแตกแยก ฟังไม่ขึ้นเพราะการเลือกปฏิบัติที่ร้ายแรงที่สุดคืดการที่ปล่อยคนผิดหรือคนโกงลอยนวลต่างหาก เรื่องจำนำข้าวไม่ใช่ปัญหาหลักของความแตกแยก แต่เป็นปัญหานโยบายที่มีเจตนาทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้คนใกล้ชิดรัฐบาล
ช่วยหาเหตุผลที่ฟังขึ้นกว่านี้ ถ้าจะไม่ถอดถอนครับ.


ก.ต.ไล่-ให้ออกรวด 4 คน อดีตรอง ปธ.ฎีกา-อดีต ปธ.อุทธรณ์-2 หน.พ ฎีกา

ก.ต.ไล่-ให้ออกรวด 4 คน อดีตรอง ปธ.ฎีกา-อดีต ปธ.อุทธรณ์-2 หน.พ ฎีกา

เขียนวันที่
วันศุกร์ ที่ 08 สิงหาคม 2557 เวลา 06:43 น.
เขียนโดย
isranews
ก.ต.เข้ม ลงมติไล่ออก-ให้ออก อดีตรองประธานศาลสูง หน.คณะในศาลฎีกา อดีตประธานอุทธรณ์ รวม4 นาย งดขึ้นเงินเดือน-ภาคทัณฑ์ 3 ผู้พิพากษาศาลฎีกา-อุทธรณ์ให้กระกันจำเลยคดีข่มขืน-ยาเสพติดไม่ชอบ
coreee8-8-14
แหล่งข่าวจากศาลยุติธรรมเปิดเผย สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ในการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.)เมื่อเร็วๆนี้ ได้พิจารณาลงโทษทางวินัยผู้พิพากษาชั้นใหญ 7 นาย ที่ถูกกล่าวหาว่าให้ประกันตัวจำเลยในคดีข่มขืนกระทำชำเรา และคดียาเสพติดผิดระเบียบและกฎหมาย ซึ่งก.ต.มีมติให้ลงโทษผู้พิพากษาแต่ละรายดังนี้
1.ให้ นายองอาจ โรจนสุพจน์ ผู้พิพากษาอาวุโส อดีตรองประธานศาลฎีกา,นายสิงห์พล ละอองมณี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พ้นจากตำแหน่ง(ไล่ออก)ตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 32(7)
2.ให้ นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ผู้พิพากษาอาวุโส อดีตประธานศาลอุทธรณ์ ,นายสิทธิชัย พรหมศร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พ้นจากตำแหน่ง(ให้ออก)ตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 32 (7)
3.ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือน ผู้พิพากษาศาลฎีกา 2 นาย ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 76 (4)
4.ให้ภาคทัณฑ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1(อดีตรองอธฺบดีศาลอาญา)ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 76 (5)
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้พิพากษากลุ่มนี้ ประธานศาลฎีกาได้สั่งให้พักราชการนายองอาจ โรจนสุพจน์ อดีตรองประธานศาลฎีกา,นายสิงห์พล ละอองมณี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นอำนาจของปรธานศาลฎีกา ตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมมาตรา74 ที่ระบุว่า เมื่อข้าราชการตุลาการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้า ก.ต. เห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้พักราชการก็ได้
แหล่งข่าวกล่าวว่า การให้ไล่ออก-ให้ออกผู้พิพากษาจากการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ถือเป็นการลงโทษทางวินัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งและเป็นผู้พิพากษาที่มีตำแหน่งสูงซึ่งศาลยุติธรรมมีนโยบายชัดเจนในเรื่องนี้ซึ่งจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าทีของศาลยุติธรรมมากขึ้นว่า เป็นไปอย่างซื่อสัตย์สุจริต เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและรอบคอบ
"หลังจกที่ ก.ต.มีมติให้ไล่ออกนายสมศักดิ์ จันทกุล ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ซึ่งถูกกล่าวหาในทำนองเดียวกัน ในเรื่องการให้ประกันตัวจำเลย ก็เริ่มมีการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องเรื่อยมา"แหล่งข่าวกล่าว
อนึ่ง สำหรับการลงโทษให้ผู้พิพากษาพ้นจากตำแหน่งมีรายละเอียดดังนี้
มาตรา 77 การไล่ออกนั้น ประธานศาลฎีกาจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการตุลาการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
(2) กระทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย
ประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) ไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการและจริยธรรมของข้าราชการ
ตุลาการ และการไม่ถือและปฏิบัตินั้นเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(4) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือ
(5) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

มาตรา 78 การปลดออกนั้น ประธานศาลฎีกาจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการตุลาการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขั้นที่จะต้องไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน หรือต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
มาตรา 79 การให้ออกนั้น ประธานศาลฎีกาจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการตุลาการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขั้นที่จะต้องปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อนข้าราชการตุลาการผู้ใดถูกสั่งให้ออกตามมาตรานี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
///////////////////
มื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ต้องสันนิษฐานว่าจำเลยคือผู้บริสุทธิ์ การให้ประกันตัวเป็น "หลักทั่วไป" ที่ต้องทำ ส่วน "การไม่ให้ประกันตัว" คือข้อยกเว้น (ต้องปรากฏ "เหตุ/พฤติการณ์" ว่าจะหลบหนี) ถ้าไม่ปรากฏ "เหตุ" แม้ภายหลังจำเลยจะหลบหนี ก็จะไปโทษผู้พิพากษาไม่ได้
การที่ ก.ต.ลงโทษโดยอาศัยเหตุการใช้ดุลพินิจปล่อยจำเลยเช่นนี้ (ตามข้อเท็จจริงในข่าว - ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในข่าวว่า มีการทุจริตหรือประพฤติชั่วอย่างอื่นหรือไม่) ยิ่งจะทำให้ผู้พิพากษา "ไม่กล้าให้ประกันตัวจำเลย" (โดยดูจากความร้ายแรงแห่งคดี มิได้ดู "เหตุ/พฤติการณ์หลบหนี หรือยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน" ตามตัวบทกฎหมาย) ซึ่งเป็นทัศนคติเชิงลบอย่างยิ่งต่อสิทธิมนุษยชน กลายเป็นว่า นำเอา "ข้อยกเว้น" มาบังคับใช้แทน "หลักทั่วไป"

กลายเป็นว่า คดีร้ายแรง ห้ามปล่อยทุกกรณีอย่างนั้นหรือ? (ดูแล้วสะท้อนใจเรื่องประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒)

คสช.ล้างผิด ถอดถอน?

นฤตย์ เสกธีระ : คสช.ล้างพิษ?
วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2558
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
วันที่ 8 มกราคม และวันที่ 9 มกราคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีวาระพิจารณาคดีถอดถอน
วันที่ 8 มกราคม เริ่มกระบวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ในข้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
วันที่ 9 มกราคม เริ่มกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในข้อหาไม่หยุดยั้งนโยบายจำนำข้าว จนทำให้เกิดความเสียหาย
ผมไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจนำเรื่องถอดถอนเข้าสู่การพิจารณาดังกล่าวจะมีผลออกมาเช่นไร
ประการแรก ไม่แน่ใจว่าเมื่อ สนช.พิจารณาแล้วผลการโหวตจะออกมาเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหา
ทั้งนี้ ผลการลงมติถอดถอนจะต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของ สนช. ซึ่งถ้าดูเสียงโหวตในวันที่รับเรื่องถอดถอนแล้วเห็นว่า ยากที่จะถอดถอนใครได้
แต่ถ้าดูเสียงโหวตวันเลือก พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ออกมาเอกฉันท์ ก็มีทางเป็นไปได้ที่ สนช.จะโหวตได้ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด
ประการสอง ไม่แน่ใจว่าเมื่อ สนช.โหวตออกมาแล้ว จะส่งผลต่อ "พิษร้าย" ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยอย่างไร
"พิษร้าย" ที่ว่านี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะให้คำนิยาม
ฝ่ายที่เชียร์ให้ถอดถอน มองว่า "พิษร้าย" คือระบอบทักษิณที่ต้องถูกล้าง
แต่อีกฝ่ายมองว่า "พิษร้าย" คือ "ความไม่ยุติธรรม"
การล้างพิษคือการทำให้ทุกอย่างยุติลงด้วยความเป็นธรรม
แต่เมื่อมองดูกระบวนการถอดถอนที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว รู้สึกหนักใจแทน สนช. เพราะงานนี้มีแต่ "เจ๊า" กับ "เจ๊ง"
ทั้งนี้ ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา คือ นายสมศักดิ์และนายนิคมยืนยันว่า ทุกอย่างทำไปตามหน้าที่ เช่นเดียวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ยืนยันว่า ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้
ความจริงการต่อสู้ระหว่างนายสมศักดิ์ นายนิคม รวมไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับอีกฝ่ายหนึ่ง หากอยู่ในกระบวนการปกติตามรัฐธรรมนูญปี?50 ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ปกติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แม้การต่อสู้ระหว่างอำนาจสภาล่าง กับอำนาจสภาบนจะดุเดือด แม้ความขัดแย้งระหว่างคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร กับสภาบนหรือวุฒิสภาจะเข้มข้น
แต่ถือว่าเป็นการต่อสู้ทางการเมืองตามกติการัฐธรรมนูญในวิถีประชาธิปไตย
แต่หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีแล้ว
ทั้งนายสมศักดิ์ นายนิคม และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คืออดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี?50 ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสิน คือ สนช. ซึ่งมาจากการสรรหาของหัวหน้า คสช.
กฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรื่อยไปจนถึงพระราชบัญญัตินั้น คสช.ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้อง
เพราะ คสช.มีอำนาจเบ็ดเสร็จ จะใช้หรือจะเลิกกฎหมายฉบับใดก็ได้ จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้
สถานการณ์เช่นนี้ทำให้มองเห็นว่า การถอดถอนครั้งนี้ ฝ่ายยึดอำนาจเป็นผู้ตัดสิน ส่วนฝ่ายถูกยึดอำนาจเป็นผู้ถูกตัดสิน
ดังนั้น การถอดถอนในสถานการณ์เช่นนี้ จึงล่อแหลมต่อข้อกล่าวหาว่า "ไม่ยุติธรรม" เป็นอย่างยิ่ง
งานนี้ไม่รู้ สนช.คิดอย่างไร และไม่ทราบว่า คสช.คิดอะไร
แต่ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไรก็ "เจ๊า" กับ "เจ๊ง"
เจตนาของ คสช.ที่ต้องการ "ล้างพิษ" ให้กับประเทศ พอมาเจอเรื่องนี้เข้า คงต้องลุ้นว่าผลถอดถอนที่ออกมาแล้วจะช่วยล้างพิษ หรือช่วยแพร่พิษกันแน่


"ทักษิณ"เลิกจ้าง"โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม"

ลอนดอน-นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จากสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พาร์ทเนอร์ส ประกาศจัดตั้งกลุ่มรณรงค์อิสระกลุ่มใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำตัวเจ้าหน้ารัฐไทยมารับผิดในเขตอำนาจศาลต่างประเทศ
http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14206059421420605960l.jpg

วัตถุประสงค์หนึ่งของการเคลื่อนไหวใหม่นี้คือการดำเนินคดีอาญาต่อคณะผู้นำรัฐประหารและกลุ่มบุคคลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯปี 2553 รวมถึงการหาแนวทางลงโทษในรูปแบบอื่น เพื่อนำความรับผิดชอบและความยุติธรรมมาให้เหยื่อ การรณรงค์นี้จะดำเนินโดยปราศจากค่าตอบแทน มีความเป็นอิสระอย่างสิ้นเชิงและไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลทางการเมืองหรือพรรคการเมืองใดในประเทศไทย

“เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการกวาดล้างอันน่าสะพรึงกลัวภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารในปัจจุบันเราจะต้องไม่ละทิ้งความพยายามที่จะนำกลุ่มคนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและคณะบุคคลที่ฉีกทำลายประชาธิปไตยอันเปราะบางของไทยมาลงโทษ”นายอัมสเตอร์ดัมกล่าว“เรามองว่าเรื่องนี้คือเรื่องที่สำคัญทางประวัติศาสตร์-ความหวังในการฟื้นฟูหลักนิติธรรมและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเราได้เห็นกลุ่มอำมาตย์ถูกดำเนินคดีและลงโทษจากอาชญากรรมที่พวกเขากระทำเท่านั้น”

ก่อนหน้านี้ สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พาร์ทเนอร์สได้รับการว่าจ้างจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตรเพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเสื้อแดง รวมถึงยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่าประเทศ (ICC) หลังจากการสังหารหมู่อันโหดเหี้ยมในกรุงเทพฯ ซึ่งการส่งผลให้พลเรือนกว่า 90 รายเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กองทัพก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนได้ถดถอยลงอย่างรุนแรงสายสัมพันธ์การทำงานระหว่างนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตรได้สิ้นสุดลง
“เรารู้สึกขอบคุณคุณทักษิณสำหรับโอกาสในการทำงานนี้ และหวังว่าคุณทักษิณจะประสบความสำเร็จ ตอนนี้เราให้ความสนใจกับการติดตามสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มภาคประชาชน เอ็นจีโอ และกลุ่มอิสระทางการเมืองกลุ่มอื่นเพื่อส่งเสริมสิทธิพลเรือนผ่านทางทุกช่องทาง พันธสัญญาของเราไม่เคยเปลี่ยนแปลง” นายอัมสเตอร์ดัมกล่าว

ประมวลสถานการณ์สื่อปี57

สื่อ 57 ‘เห-ดแหม่


สื่อกระแสหลักเปิดปี 57 มายืนเป่าปี๊ดๆ อยู่ในม็อบกำนัน ร่วมปิดเมืองไล่ “อีปู” อย่างฮึกห้าวเหิมหาญ
ตวัดลิ้น “เลียสด” สรรหาเหตุไม่เอาเลือกตั้ง เชียร์ กกต.หอเอน เชียร์ศาลรัฐธรรมนูญ เชียร์วุฒิสภา ให้ล้มเลือกตั้งล้มรัฐบาล แต่ปิดปีด้วยการถูก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กั้นคอกแล้วโยนเปลือกกล้วยให้
ผู้นำรัฐประหารทำอะไรน่ารักไปหมด
ส่งท้ายปี สื่อทำเนียบ-รัฐสภา ไม่ตั้งฉายา ใช่ครับ ปี 49 ปี 51 ปี 56 สื่อไม่ตั้งฉายา แต่ทุกปีจะชี้แจงตั้งแต่วันที่ 29-30 ธันวาคม ไหงปีนี้เงียบฉี่จนผู้คนทวงถาม วันที่ 1 มกรา จึงค่อยบอกว่าเราไม่ตั้งเพราะสถานการณ์ไม่ปกติ รัฐบาลมาด้วย “วิธีพิเศษ” งั้นปี 58 รัฐบาลวิธีพิเศษอยู่ครบก็จะไม่ตั้งฉายาใช่ไหม
สื่อใช้เวลา 5 เดือนแรกของปี อุทิศกายถวายชีวีล้มประชาธิปไตย แล้วก็ใช้เวลาอีก 7 เดือนยอมอยู่ใต้การจำกัดสิทธิเสรีภาพ ขนาด ณาตยา แวววีรคุปต์ หวานใจคนชายขอบถูกห้ามจัดรายการ ชาว Thai PBS
โพสต์ภาพปิดหูปิดตาปิดปาก องค์กรวิชาชีพสื่อก็ยังหลับหูหลับตาเข้าร่วม “ปฏิรูปสื่อ” เพื่อให้มี “เสรีภาพ” จากนายทุน
โดยระหว่างกฎอัยการศึก สื่อทั้งหลายก็หันไปสร้างสรรค์ข่าวดารา ข่าวดราม่า ล่าแม่มด ตามกระแส
“ชาวเน็ต”
จาก “ไอ้เกม” ข่มขืนต้องประหาร ถึงคนขับรถปาดหน้า ถูกศาลลงโทษจำคุก 1 เดือนโดยไม่รอลงอาญา จาก “อีปู” มารุมกระทืบ “อีก้อย” ฐานเนรคุณชาติเรียกร้องสิทธิมนุษยชนจากโค้ชเช จาก “เจนี-เอ๋” ก็เฮมาตัดสินการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ รุมด่ากรรมการ ไม่เอา “อีฝ้าย” นางงามขาหมู ไม่เอา “อีน้ำเพชร” คลิปหลุด ฯลฯ ทั้งหมดนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยมีศีลธรรมนักหนา สื่อก็เป็นคนดีมีศีลธรรมกับเขาด้วย
เมื่อสื่อไม่ทำหน้าที่ หันมาขายข่าวฉาบฉวย หยิบข่าวจากเฟซบุ๊ก คลิปจากเน็ตไปละเลงต่อ จึงไม่แปลกอะไรที่ข่าวดังสุดในรอบปีกลายเป็น “คลิปเหนียวไก่” ที่เอามาสร้างกระแสกันได้ร่วม 2 สัปดาห์
ตำแหน่งสื่อแห่งปีจึงต้องยกให้เด็กหญิงวัย 15 และวาทะแห่งปีของวงการสื่อ จึงได้แก่ “เห-ดแหม่”
ปรากฏการณ์แห่งปี: เดลินิวส์เงิบ
เดลินิวส์หน้าแหกไม่รับเย็บ เมื่อไปหยิบเพจอำ “....รับจัดน้องสุนัขสำหรับเซ็กซ์ทางเลือก” มาเป็นข่าวออนไลน์พาดหัวใหญ่โต “ช็อกเพจวิปริตขายบริการอึ๊บน้องหมา” ซึ่งอันที่จริงก็เป็นเพจล่าแม่มด ทำขึ้นเพื่อให้ร้ายทนายความคนหนึ่งที่ชาวเน็ตเกลียดชัง เดลินิวส์อัพข่าวเมื่อเวลา 00.00 น.ของวันที่ 18 พ.ย. มารู้ตัวเมื่อเวลา 00.34 น. เมื่อแฟนเพจนั้นชี้แจง จึงรีบลบข่าวออก แต่หนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 19 พิมพ์ไปแล้ว พาดหัวหรา “ผงะเฟซบุ๊ก ค้าเอ๋งเซ่นกาม สุดวิตถารอัพรูปโชว์นับพันตัว” ทำให้รายการเล่าข่าวทางสำนักข่าวไทยเงิบไปด้วยเพราะเอาข่าวไปอ่าน
นี่คือผลจากการแข่งกันขายข่าวดรามา หาข่าวผิดศีลธรรมจากเฟซบุ๊กไปเล่นงานในช่วงงดวิจารณ์การเมือง ซึ่งก็ทำแทบทุกฉบับนั่นละ เพียงแต่หวยไปออกที่เดลินิวส์ ที่จริงยังสะท้อนปัญหาสื่อทุกค่ายที่ช่วงชิงพื้นที่บนเว็บไซต์ ตีข่าวแบบเอาเร็วเข้าว่า ไม่ตรวจสอบ ไม่ดับเบิ้ลเช็ค
ไทยรัฐก็พลาดมาแล้วเมื่อปลายปี 56 ลงภาพมือปืนม็อบพันธมิตรปี 51 ในเหตุการณ์ม็อบ คปท.บุกสถานที่สมัครรับเลือกตั้ง สนามไทยญี่ปุ่นดินแดง โดยไปคว้าภาพมาจากเฟซบุ๊กแล้วบรรยายว่า "มีภาพชายลึกลับไม่ทราบฝ่ายถืออาวุธปืนในท่าพร้อมยิงแพร่ว่อนเน็ต" แต่ไทยรัฐยังขออภัยผู้อ่านวันรุ่งขึ้น
อีกรายที่ผิดอย่างสุดโต่งด้วยเจตนคติคือแนวหน้า ลงภาพนักศึกษาหน้า 1 ที่นักศึกษาโปรยใบปลิวคิดถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่า "นายสมศักดิ์ เจียมธีระประเสริฐ นักวิชาการเสื้อแดง จ้างลูกศิษย์ นำใบปลิวโจมตีคสช.มาโปรยภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
นอกจากเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่ให้ร้ายโดยไม่มีมูลว่า สศจ.จ้างลูกศิษย์ ยังสุกเอาเผากินจนนามสกุลผิดอีกต่างหาก
ดาวเด่นแห่งปี: มันแกว
อันที่จริง “เจ๊ยุ” ยุวดี ธัญญสิริ ควรจะเป็นดาวเด่นแห่งปี จากการทำหน้าที่สื่อซักถาม พล.อ.ประยุทธ์
ถึงอกถึงใจ อย่างที่ไม่มีใครกล้าถาม
แต่น่าเสียดายที่เกิดความผิดพลาด ไทยวอยซ์มีเดียแพร่คำสัมภาษณ์ “เจ๊ยุ” ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่าตกลงกันยังไง แต่ผลที่ออกมาทำให้ “เจ๊ยุ” ซักถามประยุทธ์ได้ลำบาก เจ๊เลยต้องสงบปากไป แม้กล่าวได้ว่าในบรรดานักข่าวภาคสนาม ไม่มีใครเป็นขวัญใจชาวบ้านเท่าเจ๊ยุ
“มันแกว” ก็เป็นสื่อนะครับ ใครว่าเน็ตไอดอลไม่ใช่สื่อ คนกดไลค์มันแกวมากกว่าคอลัมนิสต์ทุกรายในประเทศนี้ ฮิฮิ ในยุคที่สังคมถูกปิดหูปิดตาปิดปาก ถึงใครวิพากษ์อย่างไร “นมคุณธรรม” ก็กลายเป็นหัวขบวนเสรีนิยม มีบทบาทโดดเด่นกว่าองค์กรวิชาชีพสื่อ เป็นตัวแทนค่านิยมคนรุ่นใหม่ ปะทะค่านิยมอนุรักษ์ โดยไม่ต้องเอ่ยคำว่า “เกลียดรัฐประหาร” ด้วยซ้ำ
นักข่าวที่ต้องจารึกไว้อีกคนคือ พรทิพย์ โม่งใหญ่ แห่งโมโนทีวี ผู้ใช้เทปกาวปิดปากตัวเอง แล้วก็ลงเอยถูกโมโนทีวีปลดออกทันใด โดยมีหนังสือชี้แจงไปยังสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แปลกดี (แทนที่จะชี้แจง คสช.)
หอกข้างแคร่แห่งปี: ผู้จัดการ ไทยโพสต์
หลังรัฐประหารสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์มีเพียงค่ายมติชน-ข่าวสด ผู้จัดการ ไทยโพสต์ และสำนักข่าวอิศรา ขณะที่ค่ายบางนา ค่ายคลองเตย และทีวีดิจิตอลบางสถานี อุ้มกันเห็นๆ
3 รายหลังถือเป็นเซอร์ไพรส์ โดยเฉพาะผู้จัดการ ไทยโพสต์ เป่านกหวีดไล่ “อีปู” มากับมือ กระนั้นถ้าดูจุดยืนของ 2 ฉบับก็ชัดเจนว่าเป็นปากเสียงของพันธมิตร “ภาคประชาชน” และคนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ซึ่งไม่ได้ดังใจกับ คสช. ยิ่งกว่านั้นผู้จัดการยังเป็นไม้เบื่อไม้เมา พล.อ.ประยุทธ์มาก่อน ส่วนสำนักข่าวอิศราก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเหมือน “หอกระจายข่าว” ของ ปปช.
ความจริง สนธิ ลิ้มทองกุล นี่ต้องยกให้เป็นหอกข้างแคร่แห่งทศวรรษ เพราะซี้ปึ้กกับทักกี้มาก่อน
เชียร์รัฐประหารแล้วก็เล่นงานบิ๊กบัง รัฐบาล ปชป.ก็ยังโดนถล่ม ไม่เคยมีใครได้ดังใจเลย
คนหายแห่งปี: นักวิชาการสื่อ
ไม่น้อยหน้าป้าอมรา พงศาพิชญ์ นักวิชาการสื่อที่เคยโจมตีรัฐบาลทุนสามานย์แทรกแซงสื่อ เคยด่าทอดาราว่าสร้างข่าวคลิปหลุดกลบกระแสม็อบนกหวีด ไม่หือไม่อือกับกฎอัยการศึก ประกาศ คสช.ฉบับที่ 97 และ 103 ทำตัวเป็นบุคคลสาบสูญกันไปหมด
ขนาดตอนที่ณาตยา แวววีรคุปต์ ถูกถอดจากรายการ ผู้จัดการไปสัมภาษณ์นักวิชาการสื่อ “สื่อยุค คสช. ต้องปิดตา ปิดหู ปิดปาก! แนะทางรอดต้องปั้นดาวดวงเดียวกัน” อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีชื่อนักวิชาการสื่อซักราย ให้ความเห็นได้แต่ไม่กล้าให้ชื่อ โถๆๆ ทีโผล่ไปร่วมปฏิรูปละก็ เสนอหน้าดีเหลือเกิน
ผู้ร้ายของวงการ: สรยุทธ์ ช่อง 3 มติชน
"กลาโหมชงปฏิรูปสื่อ ทำงานใต้อำนาจทุน ผู้ประกาศเป็นดาราหรู-นักข่าวไส้แห้ง” สำนักข่าวอิศราพาดหัววันที่ 13 ตุลาคม เสนอผลการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ภายใต้การดำเนินงาน
ของคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ ด้านการปฏิรูปสื่อ ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า
“สื่อสารมวลชนทำตัวเป็นดาราค่าตัวแพง ผู้ประกาศข่าวกลายเป็นดาราที่แสดงเพียงบทอ่านข่าว
ส่วนผู้สื่อข่าวที่ทำงานหนักจริงจังมีรายได้น้อยแทบเลี้ยงครอบครัวไม่รอด ผู้สื่อข่าวสงครามบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย ส่วนดาราอ่านข่าวหน้ากล้องเข้าสังคมหรูหรา”
แหม ฟังแล้วน้ำตาจะไหล กลาโหมเข้าใจหัวอกสื่อที่ตาร้อนผ่าว เอ๊ะ หรือว่าสื่อนั่นแหละเอาข้อความนี้ไปให้สำนักปลัดกลาโหม แล้วสำนักข่าวอิศราก็เอามาเสนอ ทั้งพาดหัว ทั้งโปรย ตอกย้ำอยู่ 3 ครั้ง
ดาราอ่านข่าวที่เป็นเป้าริษยารวมหมู่ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (ไม่ใช่ ชลรัศมี งามทวีสุข แหงๆ) ผู้ถูกสมาคมนักข่าว ภาคีต่อต้านคอรัปชั่น ปปช.และอัยการสูงสุด สามัคคีเล่นงานคดีไร่ส้ม
เรื่องคดีก็เรื่องคดี ว่ากันไปเถอะครับ อย่าให้เกิดข้อครหาก็แล้วกันว่า สมาคมนักข่าว สถาบันอิศรา ภาคีต่อต้านคอรัปชั่น และ ปปช.มีสถานะ “พันธมิตร” กันแทบจะทุกเรื่อง เรื่องคดีสรยุทธ์เถียงไม่ออกอยู่แล้ว ต่อให้บอกว่าคืนเงิน อสมท.ไปแล้วก็เหมือนสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก 20 ปีโดยไม่รอลงอาญา ทั้งที่สนธิยืนกรานว่าไม่มีใครเสียหาย ฮิฮิ
คำถามมีอยู่ว่าทำไมความรวยของสรยุทธ์ต้องเป็นที่ริษยาของบรรดานักข่าว เขารวยจากการทำข่าวบนหลังคุณหรือ มันเกี่ยวกันไหม คุณทำข่าว ช่อง 3 ก็ทำข่าว สรยุทธ์ก็ส่งนักข่าวไป อยู่ที่ใครรู้จักจับประเด็นนำเสนอให้ประชาชนสนใจ ส่วนที่เอาหนังสือพิมพ์เช้าไปอ่าน ก็ทำไมไม่ด่าสมหญิง ยิ่งยศ หรือหญิงไทยขายข่าวตั้งแต่หลายสิบปีที่แล้ว
สรยุทธ์ไปเกี่ยวอะไรกับ “ผู้สื่อข่าวที่ทำงานหนักจริงจังมีรายได้น้อยแทบเลี้ยงครอบครัวไม่รอด ผู้สื่อข่าวสงครามบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย” ก็ต้นสังกัดคุณไม่จ่ายค่าตอบแทนให้พอ (แล้วผู้สื่อข่าวสงครามก็ไม่เห็นมีที่ไหน)
ไร่ส้มก็เรื่องหนึ่ง ความสำเร็จจากการเสนอข่าวให้ประชาชนสนใจก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ได้เกี่ยวกัน แต่สรยุทธ์ยังซวยซ้ำจากช่วงม็อบนกหวีด ที่ดันสวนกระแสสื่อ เอานักวิชาการนกหวีดมาปี๊ดๆ กับนักวิชาการประชาธิปไตย แล้วหงายเงิบไปไม่ว่ามีปริญญากี่ใบ
ช่อง 3 ก็ตกที่นั่งเดียวกับสรยุทธ์ นอกจากมีความผิดฐานไม่ถอดรายการสรยุทธ์ ยังผิดฐานงดออกอากาศละคร “เหนือเมฆ” ซึ่งบรรดาคนดีมีศีลธรรมเชื่อว่าถ้าประชาชนไทย 70 ล้านได้ดูละครบ้องตื้นเรื่องนี้จบจบแล้วจะ “ตาสว่าง" ลุกฮือไล่นักการเมืองโกง
ความผิดมหันต์กว่านั้นคือช่อง 3 ดันเป็นเจ้าของเค้กโฆษณาก้อนโต ซึ่งทีวีดิจิตอลพากันตาร้อน
เมื่อช่อง 3 เล่นเล่ห์ยื้ออนาล็อกฆ่าดิจิตอล สื่อก็พากันเชียร์ กสทช.ใช้กฎ must not carry อุดปากอุดจมูกช่อง 3 ทั้งที่เป็นการก้าวล่วงตลาดเสรี ละเมิดเสรีภาพ แทนที่จะเอาชนะกันด้วยการแข่งขัน
มติชนก็อีกราย ที่ไม่เพียงถูกองค์กรวิชาชีพและสื่อด้วยกันรุมโจมตีว่าเพราะรับโฆษณารัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงไม่เป่านกหวีดเหมือนสื่อกระแสหลักทั้งหลาย งานวิจัยของทีดีอาร์ไอ โดยเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ กับธิปไตร แสละวงศ์ ยังพุ่งเป้ามาเล่นงานด้วย
"หนังสือพิมพ์ ที่เน้นข่าววิเคราะห์ และมีคนอ่านไม่มากเท่า 2 ฉบับแรก เขามีโฆษณาของรัฐมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ คือ ถ้าเขามีตัวเลือก เขาก็คงไม่พึ่งพางบจากรัฐ ที่น่าสังเกตคือหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ก่อนหน้านี้เขามีเนื้อหา ดี เน้นข่าววิเคราะห์ แต่ก็อยู่ไม่ได้ เพราะข่าวที่เขาทำไม่มีคนอ่าน นี่ถือเป็นอันตราย เมื่อสื่อที่เน้นการวิเคราะห์เชิงลึก เน้นข่าวสืบสวนสอบสวน กลับอยู่ไม่ได้ อย่างกรณีหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เป็นตัวอย่างที่ชัด ช่วง  10 ปี ให้หลัง เขาก็สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง..."
ธิปไตร แสละวงศ์ http://www.isranews.org/isranews-article/item/32330-tdri_32330.html
สื่อล้มเลือกตั้งคือผู้บริสุทธิ์ สื่อเห็นต่างคือถูกซื้อ แล้วตอนนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ล้มไปแล้ว อยู่ใต้รัฐประหารกฎอัยการศึก มติชนยังเป็นตัวของตัวเองไหมครับ ท่านนักวิชาการ
อัปยศปฏิรวบสื่อ
“สื่อมวลชนก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าไม่สามารถทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารตรงไปตรงมา อย่างรอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมของวิชาชีพ ตรงกันข้ามสื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง เป็นผู้ที่เติมเชื้อไฟลงไปในสถานการณ์ที่มีความเปราะบาง
“นอกจากนี้ ยังเกิดความโกลาหลในแวดวงสื่อ เนื่องจากมีคนและกลุ่มคนเข้ามาใช้สื่อเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองและเพื่อประโยชน์อื่นมีอยู่จำนวนมากอยู่เช่นเดิม และไม่ได้ทำหน้าที่ตามหลักการวิชาชีพสื่อมวลชนตามที่ควรจะเป็น รวมทั้งมีการใช้สื่อผลิตซ้ำวาทกรรมที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังต่อกันของคนที่มีความเห็นต่างในสังคมและใช้สื่อไปละเมิดสิทธิความเป็นส่วนบุคคล ในแง่มุมต่างๆ ทั้งการรายงานข่าวและแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ กสทช. มีอำนาจและหน้าที่โดยตรงก็ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งองค์กรวิชาชีพสื่อไม่สามารถกำกับดูแลด้านจริยธรรมได้”
สมาคมนักข่าวสรุปสถานการณ์สื่อปี 57 ในช่วงม็อบนกหวีดอย่างดูเหมือนจะ “เป็นกลาง” แต่อ่านดีๆ เป็นการโทษ “สื่อเทียม” ว่าเข้ามาใช้สื่อปลุกความเกลียดชัง ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ไม่มีจรรยาบรรณ ขณะที่ “สื่อแท้” เพียงแต่ “ถูกวิพากษ์วิจารณ์”
ถามหน่อยว่า กนก รัตน์วงศ์สกุล ที่ร่ายบทกวีสดุดีมือปืนป๊อปคอร์น อยู่ประเภทแรกหรือประเภทหลัง
ความเสื่อมของวงการสื่อ ไม่ได้เกิดจากทีวีดาวเทียมอย่างบลูสกาย เอเชียอัพเดท แต่เกิดจากสื่อกระแสหลักเอง ที่ทำตัวล้ำเส้นสุดขั้วสุดโต่ง สนับสนุนรัฐประหาร ไม่เอาหลักการประชาธิปไตย หลักสิทธิเสรีภาพอันเป็นหัวใจของสื่อ มาตลอด 10 ปีในวิกฤตการเมืองไทย แต่องค์กรวิชาชีพสื่อกลับไปโทษคนอื่น สถาปนาตัวเป็นผู้มีจริยธรรมจะปฏิรูปคนอื่น โดยเข้าไปร่วมปฏิรูปกับ คสช.ทั้งๆ ที่ถูกปิดกั้นเสรีภาพอยู่เห็นๆ
องค์กรวิชาชีพสื่อต้องการปฏิรูปอะไร ก็แบไต๋กันออกมาแล้วว่าต้องการมีอำนาจควบคุมสื่อ โดยอ้างหลักการ “ควบคุมกันเอง” ทั้งที่ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นหลักประกันของเสียงข้างน้อยในระบอบประชาธิปไตย วงการสื่อกลับคิดจะเอาเสียงข้างมากมาปิดปากเสียงข้างน้อย ด้วยการออกใบประกอบวิชาชีพ หรืออ้างว่าตรวจสอบจริยธรรม
องค์กรสื่อต้องการอำนาจจัดการใคร ถ้าไม่ใช่มติชนที่ลาออกจากสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สรยุทธ์ที่ลาออกจากสมาคมนักข่าว
เรื่องน่าสังเวชยังได้แก่การที่นายกสมาคมนักข่าวเข้าไปเป็น สปช.โดยไม่มีใครคัดค้าน ต่างจากตอนผู้นำ 3 องค์กรเข้าไปเป็น สนช.เมื่อปี 49 ซึ่งนักข่าวภาคสนามเข้าชื่อกดดันจนต้องลาออก นี่แสดงว่าวงการสื่อเลิกเหนียมการเอาองค์กรเข้าไปพัวพันรัฐประหาร เป็นไปได้ขนาดนั้น ตะแบงกันว่าต้องการปฏิรูป สปช.ไม่เหมือน สนช.ไม่ได้ใช้อำนาจ ฯลฯ
งานนี้ได้ข่าววงในว่าบิ๊กแถวบางนาหนุนประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สุดตัว ให้เข้าไปเป็น สปช.โดยไม่ต้องลาออก
ธุรกิจสื่อไม่ละเว้นใคร
ดรามาส่งท้ายปีวงการสื่อได้แก่ เดลินิวส์ลงประกาศให้ 16 พนักงานพ้นสภาพ และ SLC เข้าซื้อหุ้นเนชั่น
กรณีเดลินิวส์มีฐานความขัดแย้งใน “เหตระกูล” ที่ยาวนาน ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด เข้ามาเป็นบรรณาธิการแทนประชา เหตระกูล เมื่อปี 2550 แต่ถูกปลดเมื่อเดือน ก.ค.2557 ชนวนสำคัญคือการทำ new tv และหนังสือพิมพ์ new 108
ตอนแรกที่ทำทีวีดาวเทียม ประภาชนะมติในบอร์ดแบบเฉียดฉิว (ลงมติ 2 รอบ รอบแรก ประชางดออกเสียง มติ 6-6 รอบสองล็อบบี้กันใหม่ชนะ 7-5) แต่พอทำไปแล้วกินทุน หนังสือพิมพ์แม่ต้องอุ้มทั้งพนักงาน ทั้งขายโฆษณาพ่วง พอจะประมูลทีวีดิจิตอล เสียงข้างมากก็ตีกลับ ให้ประภากับพี่น้องที่สมัครใจไปลงทุนกันเอง แยกกิจการจาก “กงสี”
เมื่อแยกกิจการก็เกิดแรงบีบให้แยกพนักงานและผู้บริหารขาดจากกัน ไม่ให้ทำงานแบบบริษัทพี่บริษัทน้อง ที่กอง บก.ข้ามไปข้ามมา หรือฝ่ายโฆษณาก็ขายหนังควบ เพราะฝั่ง “กงสี” ถือว่าอยู่ตัว มีกำไร ฝั่งทีวีสิเพิ่งลงทุนใหม่หน้ามืด ยิ่งมาออก new 108 ถือว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์คู่แข่งโดยตรง ประภาจึงถูกปลดพ้นบรรณาธิการ ลูกชายก็พ้นจากผู้จัดการฝ่ายโฆษณา
นับแต่นั้น เดลินิวส์ก็ไม่ลงข่าวกรรมการสิทธิ วันชัย ศรีนวลนัด new tv แยกไปตั้งที่รามาการ์เดน
ตึกเดลินิวส์แทบจะติดป้ายห้ามเข้า 16 พนักงานทั้งกอง บก.และฝ่ายโฆษณา ถูกลงประกาศ “พ้นสภาพ” ซึ่งเท่ากับแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า ฝ่ายโฆษณา new 108 ไม่เกี่ยวกับเดลินิวส์
ศึกครั้งนี้ไม่มีสี ถึงแม้ประภาเป็น สปช. ถึงแม้ new tv มีขุนพลเอกอย่างปอง อัญชลี, เป๊ปซี่ (est) แต่อีกฝ่ายก็ไม่ใช่แดง เป็นเหตุผลทางธุรกิจ ประกอบความขัดแย้งที่มีมายาวนาน กระทั่งติดป้ายโจมตีกันหน้าลิฟท์ “ใครไล่ยิงนายห้างแสงเมื่อ 40 ปีก่อน”
ธุรกิจสื่อปี 57 อ่วมกันทั้งนั้น ยิ่งหนังสือพิมพ์มาทำทีวี มันคนละ field กันไม่ใช่ของง่าย ขนาดยักษ์ใหญ่ไทยรัฐยังกลืนเลือดไม่อยากบอกใคร ทีวีดิจิตอลนะครับ ไม่ใช่ทีวีดาวเทียมขายน้ำมันมะพร้าว
เห็นมีแต่ค่ายเนชั่นที่ผลประกอบการยังกำไร ฮิฮิ เลยทำให้กลุ่ม SLC เข้าไปกว้านซื้อหุ้นถึง 12.27%
อ้าว ก็เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คนเขาเข้ามาซื้อหุ้นมันผิดตรงไหน ทำไมต้องร้องโวยวายไปถึงขั้น “คุกคามสื่อ” ไม่อยากให้ใครซื้อหุ้นก็ออกจากตลาดไปสิครับ หาว่าถือหุ้นข้ามสื่อ ถือหุ้นสปริงนิวส์ด้วย แล้วเขาเข้าไปมีอำนาจเหนือบริษัท เหนือสุทธิชัย หยุ่น หรือ ก็เปล่า SLC บอกด้วยซ้ำว่าจะไม่ส่งคนเข้าไปเป็นกรรมการ แล้วจะร้อนท้องอะไรกันไม่ทราบ
นี่ไม่เกี่ยวกับการเมืองอีกเหมือนกัน แต่พยายามทำให้เป็นการเมือง บางคนโยงไปได้ถึงทักษิณ ทักษิณอยู่เบื้องหลังความชั่วทุกอย่างในประเทศนี้ ทั้งที่กรรมการ SLC ก็ประกาศชื่อมีชัย ฤชุพันธ์ อยู่โต้งๆ
คือถ้า SLC มันปั่นหุ้น มันทำผิดกฎตลาดหลักทรัพย์ ก็ว่ากันไป แต่ไม่ใช่มาโวยวายว่า “คุกคามสื่อ” เนชั่นเป็นบริษัทในตลาด จะอ้างความเป็นสื่อมีสิทธิพิเศษกว่าบริษัทอื่นไม่ได้ แต่ตอนนี้เนชั่นใช้อภิสิทธิ์อยู่นะครับ ทั้งใช้หนังสือพิมพ์ทีวีของตัวเองโจมตี SLC หรือไปไล่สัมภาษณ์ สปช.สายสื่อให้ช่วยปกป้อง
ถามจริง กลัวไรนักหนา ไม่มีใครบ้าซื้อเนชั่นแล้วสั่งปลดสุทธิชัยหรอก เพราะถ้าไม่มีศาสดา “คนพันธุ์ N” แล้วจะเหลือใครอ่านใครดู SLC คงเข้ามาถือหุ้นแล้วขอตรวจงบดุลบ้างเท่านั้นเอง

                                                                                                ใบตองแห้ง
                                                                                                6 ม.ค.58
- See more at: http://www.mediainsideout.net/local/2015/01/221#sthash.hpc5BPVP.dpuf