PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ประยุทธ์ กับสถานการณ์

กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากใน Social Media ถึงคำพูดตอนหนึ่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่เชิญข้าราชการระดับสูงทั่วประเทศมารับฟังนโยบายรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงกรณีที่นักท่องเที่ยวหญิงชายชาวอังกฤษถูกสังหารโหดริมชายหาดเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ว่า...

“เรื่องนักท่องเที่ยวนี่ มีปัญหามาตลอด ต้องเห็นใจเขาว่า เขาเข้าใจว่าบ้านเมืองเราเนี่ยสวยงาม ปลอดภัย ทำอย่างไรก็ได้ ผมถาม แต่งบิกินีประเทศไทย จะรอดไหม เว้นแต่ไม่สวยละนะ สวยทุกคนในนี้
สวยทุกคน แต่งได้หมด อันตราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบอกเขา ต้องทำทั้งสองอย่าง คือกฎหมายเฝ้าระวังและให้นักท่องเที่ยวเขาระวัง”

เมื่อสำนักข่าวเอพี ซึ่งเป็นสำนักข่าวระหว่างประเทศชื่อดังได้เผยแพร่ข่าวนี้ออกไป และมีสื่อในต่างประเทศนำไปขยายความต่อ โดยนำข้อความบางส่วนไปเผยแพร่ จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า
นายกรัฐมนตรีของไทยบอกว่า “ถ้านักท่องเที่ยวมาประเทศไทยแล้วใส่บิกินี จะไม่ปลอดภัย เว้นแต่จะเป็นคนไม่สวย” และทำให้เกิดการตีความว่า นายกฯ ไปตำหนิเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย จนในที่สุด

พล.อ.ประยุทธ์ต้องออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษกันไปแล้ว

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันอังคารที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้มีคำสั่งให้รื้อระบบไมโครโฟนห้องประชุมคณะรัฐมนตรีที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ติดต่อขอให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายมาติดตั้ง

โดยที่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องราคา จนกระทั่งมีการท้วงติงว่ามีการจัดซื้อจัดจ้างระบบไมโครโฟนชุดนี้ด้วยราคาที่สูงเกินปกติ แม้ต่อมาได้มีการต่อรองราคาลงได้ถึง 35% แต่ก็ไม่ได้ทำให้ข้อสงสัยและ

วิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่โปร่งใสที่มีการนำอุปกรณ์ราคาแพงหลายล้านบาทมาติดตั้ง ทั้งที่ยังไม่ได้มีการทำสัญญาอย่างเป็นทางการ

การสั่งรื้อระบบไมโครโฟน และสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ทั้งหมดของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้ว่าจะช้าไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่เด็ดขาด แต่ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไปว่า

ผลการสอบสวนในเรื่องนี้ จะออกมาช้าหรือเร็วอย่างไร และจะต้องมีผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินการที่ส่อให้เกิดความสงสัยว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชัน อันเนื่องมาจากโครงการนี้หรือไม่
จะว่าไปแล้ว ในห้วงเวลาเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ คสช.เข้ายึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งพบว่า

หลายเรื่องที่เป็นอำนาจของรัฐบาลตรงๆ โดยไม่ไปกระทบกับกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ ก็สามารถทำได้โดยรวดเร็ว เช่น เรื่องการจ่ายเงินคงค้างแก่ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดก่อน

หรือการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการปรับลดภาษีน้ำมันที่มีผลให้น้ำมันมีราคาลดลงอย่างฮวบฮาบมากกว่าในเวลาปกติ

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ คสช.ที่จะผลักดันนโยบายบางอย่างที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนหน้าที่ คสช. จะเข้ามาควบคุมอำนาจ

เช่น การควบคุมไม่ให้มีการขายปลีกสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา หรือการจัดระเบียบรถตู้โดยสารและวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน หรือแก้ได้

เฉพาะในช่วงแรกๆ ที่มีการเข้มงวด พอเจ้าหน้าที่ถอนกำลังออกไป ทุกอย่างก็กลับมาอยู่ในสภาพเดิม

จึงน่าเป็นห่วงว่า ในระยะเวลาอีกประมาณ 1 ปีที่รัฐบาลภายใต้ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ จะสามารถแก้ไขปัญหามากมายมหาศาลที่หมักหมมอยู่ในสังคมไทยได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งบรรดาข้า

ราชการไทยทั้งหลาย จะรู้ดีว่า รัฐบาล คสช. จะเข้ามาอยู่ในระยะเวลาสั้นๆ การตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลก็อาจจะทำให้ระยะสั้นๆ หรือบางคนที่มีความใกล้ชิดกับนักการเมืองก็อาจจะใส่เกียร์ว่าง

บ้าง ในคราวที่รัฐบาล คสช.เผลอ เพื่อรอจังหวะให้รัฐบาลนี้พ้นวาระไป และรัฐบาลจากพรรคการเมืองกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง

จุดนี้เองที่ทำให้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งกับนายกรัฐมนตรีที่มาจากสถานการณ์พิเศษ เช่น พล.อ.ประยุทธ์ มีความแตกต่างกัน และแน่นอนว่า พล.อ.ประยุทธ์ กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายกรัฐมนตรีจากสถานการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 ก็มีความแตกต่างกันเช่นกัน เพราะครั้งนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารเอง

เราจะเห็นได้ชัดว่า ในสมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีอดีตข้าราชการประจำหลายคนเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญๆ หลายกระทรวง การผลักดันงานต่างๆ เป็นไปในลักษณะของ

การประคองให้ผ่านๆ ไป การผลักดันร่างกฎหมายต่างๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีความหลากหลายและมีกลุ่มผลประโยชน์พยายามเข้าไปแทรกแซง

การพิจารณากฎหมายสำคัญๆ เช่น กฎหมายควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นต้น การบริหารราชการของรัฐมนตรีต่างๆ ก็เป็นไปด้วยความระมัดระวังด้วยความเกรงว่าจะถูก “เช็กบิล” เมื่อพ้น

ตำแหน่งไปแล้ว ทุกอย่างจึงล่าช้าไปหมด

เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศ ก็กลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ ที่นักการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำแบบน่าเกลียด คือใครไม่ยอมเป็นพวกก็จะถูกจับย้าย

ไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถบริหารงานได้ เช่น เป็นผู้ตรวจราชการ หรือการโยกย้ายโดยไม่คำนึงถึงระบบอาวุโส ความรู้ความสามารถและคุณธรรม จริยธรรม ใครที่ยอมรับใช้นักการเมืองก็จะได้

ดิบได้ดีในยุคที่นักการเมืองเรืองอำนาจ

แน่นอนว่า นายกรัฐมนตรีที่มาจากนักการเมืองย่อมต้องใส่ใจกับภาพลักษณ์และมักจะมีทีมงานคอยจัดฉากให้ดูดีอยู่เสมอ ขณะที่เวลาส่วนใหญ่ก็จะหมดไปกับการไปเป็นประธานเปิดงานให้กับกลุ่ม

ผลประโยชน์ที่จะมีส่วนสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองและพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด รวมทั้งคอยติดตามการดำเนินการตามนโยบายประชานิยมที่พรรคตนได้ริเริ่มไว้ โดยไม่สนใจงานด้าน

นิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎร

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองอีกบางพรรค อาจไม่มีปัญหากับข้าราชการมากนัก แต่ก็มักที่จะไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ ทำให้การผลักดันนโยบายต่างๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่ทัน

การณ์ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่กล้าตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ จนทำให้หลายครั้งประเทศไทยต้องเสียโอกาสไป

ส่วนนายกรัฐมนตรีที่มาจากสถานการณ์ไม่ปกติ โดยเฉพาะแบบพล.อ.ประยุทธ์ ที่คุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ คือ เป็นทั้งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง สนช. และสมาชิก

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นั้น น่าจะมีความแตกต่างจากนายกฯ คนอื่นๆ คือ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การผลักดันกฎหมายต่างๆ ทำได้ไม่ยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ การ

ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อาจไม่รอบคอบ และเกิดผลกระทบทางลบในระยะยาวได้

ยิ่งหากการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นไปในแนวเดียวกับการแก้ปัญหาราคาสลากฯ และวินรถตู้โดยสาร ฯลฯ หรือการแก้ปัญหาที่แม้จะเด็ดขาดเช่น เรื่องการสั่งรื้อระบบไมโครโฟนฯ แต่หากผลการสอบ

สวนออกมาล่าช้าหรือจับมือใครดมไม่ได้ ปัญหาต่างๆ ก็คงจะหมักหมมต่อไป และเมื่อรัฐบาลนี้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ปัญหาทุกอย่างก็จะกลับสู่สภาพเดิม
หากสภาพการณ์เป็นดังว่านี้ การเข้ามายึดอำนาจของคณะ คสช.ก็คงจะไม่พ้นการ “เสียของ” ซ้ำรอยการรัฐประหารที่ผ่านๆ มา ส่วนจะใช้เป็นข้ออ้างเพื่ออยู่ในอำนาจต่อไป ก็คงจะเป็นเรื่องยาก เพราะ

ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ให้เห็นผลได้จริง หรือแก้ได้อย่างยั่งยืน ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายคงไม่ยอม

โดยเฉพาะหากเกิดข้อสงสัยกรณีคล้ายๆ กับการติดตั้งระบบไมโครโฟนที่ทำเนียบรัฐบาลบ่อยๆ และการสอบสวนถึงความไม่ชอบมาพากลเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถเอาคนผิดมาลงโทษได้

อย่างจริงๆ ด้วยแล้ว โอกาสที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ยาวๆ คงเป็นไปได้ยาก หรืออาจจะต้องคืนอำนาจเร็วกว่าที่วางโรดแม็ปไว้ก็เป็นได้ เพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นและขาดความไว้ใจไป

เสียแล้ว
ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า การได้มาซึ่งอำนาจอาจจะไม่ยาก แต่การใช้อำนาจให้เป็นธรรมและการครองตนไม่ให้หลงระเริงไปกับอำนาจอาจเป็นเรื่องยากก็เป็นได้...
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
Twitter: @chavarong
///////////////////

ปี๊บ กำลังฮิต"วิโรจน์"รัฐศาสตร์ มธ."ปี๊บคลุมหัว"ขอเสรีภาพทางวิชาการ-จี้สามัญสำนึก"สมคิด"
การเมือง

วันที่ 22 กันยายน นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการนำ "ปี๊บ" คลุมหัว เพื่อแสดงออกถึงเสรีภาพทางวิชาการที่ถูกคุกคาม

และ เรียกร้องถึงความรับผิดชอบของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรศาสตร์ ที่ควรจะแสดงจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับ กรณีที่เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาควบคุมตัวอาจารย์ และ นักศึกษาใน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ในงานเสวนาห้องเรียนประชาธิไปตย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ปี๊บดังกล่าวนักศึกษา ทำมาให้ผม ซึ่งเมื่อเด็กทำมาให้ผมก็กล้าใส่ เมื่อมีจดหมายเปิดผนึกของนักวิชาการ 60 คนออกมา เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการขอคืนเสรีภาพทางวิชาการ ผมก็

รู้สึกว่านี่คือเรื่องสำคัญ ในมหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่ที่ให้ทุกคนสามารถแสดงออกด้วยเหตุและผลของตนเอง ผมจึงได้ "นำปี๊บ" มาคลุมหัว เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ อย่างที่ปรากฏ

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นายวิโรจน์เห็นว่าเป็นปัญหาด้วย คือ กรณีที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมธ. ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่อาจารย์และนักศึกษา ถูกจับในมหาวิทยาลัย ว่า โดนตำหนิทั้ง2ด้าน

คือ ในตำแหน่งอธิการบดีก็มีคนตำหนิ และ สนช.ด้วยกันก็ตำหนินั้น นายวิโรจน์กล่าวว่า อธิการบดีควรจะมีความชัดเจนในหน้าที่ของตนเอง ต้องเลือกให้ชัดว่าจะทำหน้าที่ไหนยังไง ควรจะทำ

หน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงจุดยืนของตนเองออกมา ซึ่งตอนนี้มันขัดแย้งกันอย่างมาก ควรจะต้องเลือกเอาว่าจะเป็นอะไรกันแน่ และอธิการบดีต้องไม่ลืมว่า ประชาคมได้เลือกอธิการมาด้วย
นายวิโรจน์ กล่าวว่า เสรีภาพทางวิชาการจะทำให้ทุกคนได้ใช้เหตุใช้ผล สังคมจะมีความเป็นอารยะมากขึ้น และ "มหาวิทยาลัย" ก็เป็นสถาบันการศึกษาที่สังคมไทยกำหนดบทบาทให้ทำหน้าที่นั้น

และเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรจะต้องส่งเสริมอีกด้วย เพราะเราไม่ได้สอนให้ต้องเชื่อตาม แต่นักศึกษาจะต้องคิดตัดสินใจที่จะเลือกเอง เมื่อก้าวออกไปสู่สังคมที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของพลเมือง ไม่อยากให้ถึง

ขั้นลามเข้ามาในห้องเรียน เพราะตอนนี้ก็ไม่รู้แล้วว่าจะสอนหนังสืออย่างไร

"ผมก็จะ เอา"ปี๊บ" คลุมหัวเรื่อยๆ หากมีโอกาสที่จะสามารถแสดงออกเชิงสัญลักษณ์นี้ได้ ที่สำคัญคือ เรื่อง เสรีภาพทางวิชาการ และ ผู้บริหารที่ควรจะมีสามัญสำนึกในเรื่องนี้" นายวิโรจน์กล่าว

ทำไม สตีฟ จอบส์จำกัดการใช้iphone ipad กับลูกๆ

why-steve-jobs-do-not-allow-their-children-to-use-iphone-ipad

หลายคนเข้าใจว่าที่บ้านของ “สตีฟ จ็อบส์” เจ้าของบริษัทไอทีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกอย่างแอปเปิล จะต้องเป็นสวรรค์ของเด็กเนิร์ด ที่มีอุปกรณ์ไอทีเต็มไปหมด ทีวีจอใหญ่สุดยอดติดฝาผนัง พร้อม iPhone, iPad ให้เล่นได้ทั้งวันทั้งคืน

แต่นั่นเป็นเรื่องผิดถนัด เมื่อทางนักข่าวของ New York Times ที่ได้มีโอกาสสัมภาษณ์จ็อบส์ในช่วงงานเปิดตัว iPad รุ่นแรกเมื่อปี 2010

“ลูกๆ คุณคงต้องชอบ iPad เป็นแน่จริงไหม ?”

“พวกเขาไม่ได้ใช้มันหรอก” จ็อบส์บอกกับนักข่าว “เราจำกัดเทคโนโลยีที่เด็กควรจะใช้ที่บ้าน”

ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่สตีฟ จ็อบส์คนเดียวที่จำกัดการใช้อุปกรณ์ไอทีในบ้านของลูกๆ แม้แต่ Chris Anderson อดีตบรรณาธิการ Wired นิตยสารสุดกี๊ก ก็ยังควบคุมการใช้ Gadget ของลูกๆ อย่างเข้มงวดเช่นกัน

“ลูกๆ ของผมบ่นออกมาบ่อยครั้ง ว่าเด็กในบ้านอื่นไม่เห็นมีกฏแบบนี้เลย” เขาพูดถึงลูกๆ ทั้ง 5 คนที่อายุแค่ 6 ขวบถึง 17 ปี “นั่นเป็นเพราะเราเป็นกลุ่มผู้ที่ได้สัมผัส และรู้ถึงอันตรายของเทคโนโลยีกลุ่มแรก ผมไม่อยากให้มันเกิดกับลูกๆ ของผม”

baby-and-ipad

อันตรายจากเทคโนโลยีในวัยเด็ก

แน่นอนว่าอุปกรณ์ไอทีก็มาพร้อมประโยชน์และโทษ ทั้งเนื้อหาที่รุนแรงและควบคุมยากกว่าสื่ออื่น, การถูกคุกคามจาก Social Network, รวมถึงมีงานวิจัยมากมายที่ไม่ควรให้เด็กได้ใช้ Gadget เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการเสพติดอุปกรณ์ไอที

Evan Williams ผู้ก่อตั้ง Blogger และ Twitter เผยข้อแนะนำสำหรับการให้เด็กใช้อุปกรณ์อย่าง iPhone, iPad หรือ Gadget อื่นๆ ดังนี้

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปีมีแนวโน้มที่จะเสพติดอุปกรณ์ไอทีมาก
  • ผู้ปกครองควรขีดเส้น และตั้งกฏจำกัดการใช้งาน
  • ไม่ควรให้เด็กใช้อุปกรณ์ Gadget ในช่วงวันปกติหลังเลิกเรียน
  • ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ควรให้เด็กใช้ iPhone, iPad ได้ไม่เกิน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 10 – 14 ปีให้ใช้คอมพิวเตอร์หรือ Gadget ได้ในวันปกติ แต่เฉพาะทำการบ้านเท่านั้น

แต่ก็มีพ่อแม่อีกหลายคนที่ใช้กฏที่ยืดหยุ่นกว่า เช่นห้ามเปิดจออุปกรณ์ทุกชนิดในห้องนอน แต่ใช้ได้ไม่จำกัดในห้องนั่งเล่น ที่พ่อแม่เห็นลูกอยู่ตลอด หรือจำกัดแค่บางแอพและห้ามใช้ Social Network เท่านั้น

เมื่อกลับไปที่สตีฟ จ็อบส์ นอกจากที่เขาห้ามไม่ให้ลูกๆ ใช้ iPhone, iPad ทั้งที่เขาเป็นผู้คิดค้นขึ้นแล้ว เมื่อกลับถึงบ้าน ทุกเย็นจ็อบส์จะทานข้าวกับลูกๆ บนโต๊ะยาวที่ห้องครัว พูดคุยถึงเรื่องหนังสือ, ประวัติศาสตร์ และหัวข้อน่าสนใจมากมาย

ไม่มีใครที่ยก iPad หรืออุปกรณ์ไอทีขึ้นมา เด็กๆ ก็ดูจะไม่เสพติดอุปกรณ์พวกนี้แต่อย่างใด

ที่มา – The New York Times

อ่านเพิ่ม : วิธีจำกัดการซื้อของบน iPhone, iPad สำหรับเด็ก

macthai-how-to-protect-children-in-app-store-restriction-iphone-ipad.05 PM