PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกจิ้งจกสังหาร


(เกร็ดข่าว-การเมือง)


บุคคลซึ่งเคยเป็น"นักปฎิวัติ"สองครั้งสองครา และดำรงตำแหน่งชั้นหัวหน้าคนแรกในเมืองไทย เป็นหนึ่งในบรรดา"นักการเมืองต้นแบบ"คนซื่อ คนตรง ไม่มักใหญ่ใฝ่สูงในอำนาจ และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่จนที่สุด..ที่แม้แต่เมื่อถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แทบไม่มีเงินจัดงานศพให้สมยศสมเกียรติที่ตัวเองเคยมีมา..ในขณะที่เป็นบุคคลที่เหล่าบรรดานักการเมืองน้อยใหญ่เกรงใจให้ความเคารพ
บุคคลผู้นี้คือ"พล.อ.พระยาพหล พลหยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) อดีตายกรัฐมนตรี

พระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติครั้งแรกของเมืองไทยและประสบความสำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเป็นหนึ่งใน"สามทหารเสือ"ที่ต่อมา"เสือ"คือสัญลักษณ์ประจำตัว และมีความหมายตามสุภาษิตว่า"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ"

เมื่อปฎิวัติสำเร็จ ความไม่มักใหญ่ใฝ่สูง พระยาพหลไม่ยอมเป็นอะไรทั้งสิ้น และถูกลวงให้ลาออกจากตำแหน่งราชการทหาร แต่ต่อมาภายหลังต้องกลับมายอมรับเป็น"หัวหน้าทำการปฎิวัติ"รอบสอง หลังการทำครั้งแรกผ่านไปเพียงปีเศษ ครั้งหลังถูกคะยั้นคะยอให้รับตำแหน่ง"นายกรัฐมนตรี"เองเพื่อคุมสถานการณ์

เป็นนายกฯไม่กี่เดือน เกิดกบฎนองเลือด หรือ กบฎบวรเดช ชาติเสือต้องไว้ลาย พระยาพหล สั่งสู้ตาย จนได้รับชัยชนะ

ไม่นานก็เกิดเบื่อหน่ายการเมือง จึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าต้องการพักผ่อน พล.ต.หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา โดยพระยาพหล
ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ เพราะต้องการวางมืองทางการเมืองจริงๆ

กระทั่ง จอมพล ป. ลาออกจากนายกฯ หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกฯคนต่อไป

เมื่อมีข่าว จอมพล ป.จะยกทัพจาก ลพบุรี มายึดอำนาจรัฐบาล"ควง" เจ้าคุณพหลฯ จึงถูกเชิญไปเข้าร่วมคณะรัฐบาลกับ"นายควง"อีกครั้ง โดยเป็น"รัฐมนตรีลอย"เพราะทนอ้อนวอนไม่ได้ และเพื่อ

เห็นแก่ความสงบของบ้านเมือง แม้ขณะนั้น พระยาพหลฯ เริ่มป่วยเป็น"อัมพาต" แต่ด้วยความมีชื่อเสียงเป็นที่ยำเกรงต่อ"จอมพลป." นายควง จึงนำชื่อ พระยาพหลฯมาปลั๊ฟ "จอมพล ป."

อย่างไรก็ตาม ชีวิตบั้นปลายของ พระยาพหลฯคือนอนป่วยในบ้านพักราชการ เพราะไม่มีบ้านของตนเอง โดยอาศัยวังปารุสกวัน มาตลอดชีวิต และอาศัยเงินบำนาญเลี้ยงชีพ ไม่ยอมเกี่ยวข้องกับการค้า 
หรือไม่รายได้ทางอื่นๆ

เป็นที่น่าแปลกที่นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ กลัวจิ้งจก เป็นที่สุด และในบั้นปลายชีวิต จิ้งจก นี่เองที่ทำให้ท่านถึงแก่กรรมเร็วกว่าที่คาดหมายกัน..เล่ากันว่า ปกติเจ้าคุณพหลฯต้องแช่น้ำร้อนในอ่าง เพื่อรักษาโรคอัมพาตให้บรรเทา วันหนึ่งขณะกำลังนอนแช่ในอ่างน้ำส่วนตัวที่พักวังปารุสกวัน บังเอิญ"จิ้งจก"ตัวหนึ่งได้หล่นมาจาเพดาน ตรงตัว เจ้าคุณพหลฯพอดี ด้วยความตกใจ ทำให้โรค
อัมพาตกำเริมหนัก จนในที่สุดไม่กี่วันต่อมาได้ถึงแก่กรรม

ไม่มีใครคิดว่า"จิ้งจก" ตัวเล็กๆตัวเดียวจะทำให้ชาย"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ"ถึงแก่กรรม ซึ่งนี่คือ บทอวสาน ของนักการเมืองที่ถูกระบุว่า ใจซื่อมือสะอาดคนหนึ่งของเมืองไทย.

ก.ล.ต.ส่งดีเอสไอฟ้อง "ฉาย บุนนาค"ปั่นหุ้น "ไมด้าลิสซิ่ง-แมกซ์ เมทัลฯ


ก.ล.ต.ส่งดีเอสไอฟ้อง "ฉาย บุนนาค"กับพวกรวม 13 ราย โทษฐานปั่นหุ้น "ไมด้าลิสซิ่ง-แมกซ์ เมทัลฯ"

ก.ล.ต. กล่าวโทษนายฉาย บุนนาค กับพวกรวม 13 ราย ได้แก่ นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล นางมะลิวัลย์ วงศ์ชินศรี นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี นายสุพิชยะ ฉายเหมือนวงศ์ นายปัณณทัต กล่อมสมร นายพาวิตต์ นาถะพินธุ นายศรัณย์ ส่งโชติกุลพันธ์ นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ นางสาวดวงกมล เกียรติสุขเกษม นายมีศักดิ์ มากบำรุง นางสาวสุรัสวดี เกตุทัต และนายไท บุญปราศภัย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 กรณีเป็นผู้รู้เห็นและผู้สนับสนุนในการสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัทไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (ML) ในปี 2551 และ 2553 และบริษัทแมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (MAX) ในปี 2553

ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าพบ สภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติในหุ้น ML ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551 และช่วงเดือนสิงหาคม 2553 และหุ้น MAX ในช่วงเดือนกันยายน 2553 และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า นายฉายกับพวก ได้สั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลต่าง ๆ จำนวนมาก

โดยมีพฤติกรรมอำพรางในลักษณะการเข้าไปส่งคำสั่งซื้อขายในปริมาณมากหลายระดับราคา มีการครอง bid และ offer ผลักดันราคา จับคู่ซื้อขายกันเองภายในกลุ่ม กระตุ้นการซื้อขายด้วยการทยอยส่งคำสั่งซื้อหรือเคาะซื้อด้วยจำนวนย่อย ๆ ที่ระดับราคาเดียวกัน หลายรายการ ตลอดจนพยุงราคาหลักทรัพย์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหลักทรัพย์นั้นมีการซื้อขายกันมากหรือราคาเปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง ส่งผลให้การซื้อ หรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ก.ล.ต. เห็นว่าการกระทำของนายฉายกับพวกมีหลักฐานน่าเชื่อว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) (2)

และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีของบุคคลต่าง ๆ น่าเชื่อว่าเป็นการซื้อขายเพื่อประโยชน์ของนายฉาย แต่ไม่พบว่านายฉาย ได้เคยรายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแต่อย่างใด เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วย จึงกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดังนี้

(1) หุ้น ML ในช่วงปี 2551 กล่าวโทษนายฉาย บุนนาค นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล และนางมะลิวัลย์ วงศ์ชินศรี ในฐานะมีส่วนรู้เห็นหรือตกลงร่วมกันในการสร้างราคาหลักทรัพย์ และนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการส่งคำสั่งซื้อขายที่เป็นการสร้างราคาหลักทรัพย์

(2) หุ้น ML ในเดือนสิงหาคม 2553 กล่าวโทษนายฉาย บุนนาค นายสุพิชยะ ฉายเหมือนวงศ์ ในฐานะมีส่วนรู้เห็นหรือตกลงร่วมกันในการสร้างราคาหลักทรัพย์ และนายปัณณทัต กล่อมสมร นายพาวิตต์ นาถะพินธุ นายศรัณย์ ส่งโชติกุลพันธ์ นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ และนางสาวดวงกมล เกียรติสุขเกษม ในฐานะเจ้าของบัญชีที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ และนายไท บุญปราศภัย ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์

(3) หุ้น MAX ในเดือนกันยายน 2553 กล่าวโทษนายฉาย บุนนาค ในฐานะมีส่วนรู้เห็นหรือตกลงร่วมกันในการสร้างราคาหลักทรัพย์ ตลอดจนนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด(มหาชน) นายปัณณทัต กล่อมสมร นายพาวิตต์ นาถะพินธุ นายศรัณย์ ส่งโชติกุลพันธ์ นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ นางสาวดวงกมล เกียรติสุขเกษม นายมีศักดิ์ มากบำรุง และนางสาวสุรัสวดี เกตุทัต ในฐานะเจ้าของบัญชีที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉาย ในการสร้างราคาหลักทรัพย์ และนายไท บุญปราศภัย ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉาย ในการสร้างราคาหลักทรัพย์

การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลยุติธรร

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

แผนที่พลังแห่งชีวิต


บางที เราต่างก็มีความหวาดกลัว กับสรรพสิ่ง ที่สัมผัส

หวาดกลัวในชีวิต กังวลกับ ย่างก้าว ในหนทางข้างหน้า

หวาดกลัว กับ สิ่งที่ไม่รู้จัก

หวาดกลัว กับ ความเป็นไปของตนที่ไม่รู้ ซึ่งสาเหตุ

เป็นความหวาดกลัว จาก "ความไม่รู้"

ทว่า ในความไม่รู้ แม้บางครั้งขณะ สามารถแก้ด้วย ความรู้ ที่มาเติมเต็มใน ความมั่นใจ เชื่อมั่น แต่บางครั้ง มันอาจเป็นชั่วขณะ หรือจากประสบการณ์ ในการแก้โจทย์ ณ ช่วงเวลา

แต่บางที่เราลืมไปว่า ในขั่วขณะเหล่านั้นหากจะทำเป็นนิรันดร์ หรือตลอดไป สามารถแก้ได้จาก"ความพร้อม"

การเตรียมการไว้ล่วงหน้า หรือ การมี"แผนที่ชีวิต" มีไทม์มิ่ง อันชัดเจนในการลำดับชีวิต

จากวัยเด็กสู่การเติบโต เรียน ทำงาน ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ผู้มีพระคุณ มีชีวิตครอบครัวเมื่อพร้อมที่จะมีคู่ชีวิต

สิ่งเหล่านี้ จะชะล้างละลาย ความหวาดกลัว ในการก้าวเดินของขีวิต ของเหล่าบรรดานักล่าฝันทั้งหลาย

บางคนอาจยังไม่บรรลุถึง ความฝัน บางคนอาจไต่เลยความฝันไปแล้ว และทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่เคยมีเวบา ใข้สติ หยุดพินิจ นั่งสังเคราะห์ตัวตน และ ร่างแผนที่ชีวิต ให้ต่อยอด ไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่

บางที นะ บางที ความฝันในความฝันอันยิ่งใหญ่ อาจอยู่ใกล้แค่เอื้อมสือไปสัมผัส ก็เป็นไปได้

เมื่อถึงเวลานั้น ความกลัว อาจจะไม่อยู่ในนิยาม ในในการก้าวย่าง ตราบที่ ความฝัน ยังคงทำหน้าที่ผลิต พลังงานแห่งชีวิต__

1/4/56
กรุงเทพ