PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 — ) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[1] อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1

ศ.(กิตติคุณ) ดร.บวรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายวิภัทร และนางอารีย์ อุวรรณโณ เป็นญาติกับ ศ.(กิตติคุณ) ดร.วิษณุ

เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมรสกับ ดร. ปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา (สุขสงเคราะห์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันหย่ากันแล้ว

การศึกษา[แก้]
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้สำเร็จ

การศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519 สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3

ของรุ่นที่ 29) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี พ.ศ. 2522 ได้ปริญญาชั้นสูงทางกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จปริญญาเอก กฎหมายมหาชน

มหาวิทยาลัยปารีส และพ.ศ. 2541 จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4111

การทำงาน[แก้]
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 เป็นคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการ

นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้กลับเข้ารับราชการ ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และปี พ.ศ. 2542 - 2546 เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2546 - 2549 เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

นอกจากนั้น ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราภิชานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

รางวัลและเกียรติคุณดีเด่น[แก้]
พ.ศ. 2542 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานกิตติบัตรแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2545 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2545 - 2548 ได้รับคัดเลือกจากองค์การสหประชาชาติ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกรรมาธิการบริหารภาครัฐของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Committee of Experts on

Public Administration of the United Nations Economic and Social Council) ประจำปี 2545-2548
ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนิสิตเก่านิติศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมนิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย