PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

“มหาเธร์” ย้ำ! ไทย-มาเลย์ ไม่มีปัญหาระหว่างกัน ลั่นยินดีช่วยดับไฟใต้

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 24 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา ให้การต้อนรับ นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และภริยา ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยผู้นำทั้ง 2 ได้ร่วมตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ลงนามสมุดเยี่ยม ก่อนหารือข้อราชการกลุ่มเล็ก ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล และหารือข้อราชการเต็มคณะ ณ ตึกภักดีบดินทร์
มหาเธร์
นายกฯ มาเลเซีย /AFP
สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถือเป็นการเยือนครั้งแรก นับตั้งแต่ มหาเธร์ โมฮัมหมัด เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อแนะนำตัวตามธรรมเนียมปฏิบัติของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน
จากนั้นเวลา 18.30 น.ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมนายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แถลงข่าวร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในนามรัฐบาลไทยยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ให้การต้อนรับนายมหาเธร์ และภริยาในการเดินทางมาเยี่ยมอย่างเป็นทางการ นายมหาเธร์ถือเป็นผู้นำอาวุโสของภูมิภาคและของโลก ตลอด 22 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตนและนายกฯ มาเลเซีย ได้หารือข้อราชการร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางและประเด็นในการสร้างทศวรรษใหม่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าท่ามกลางสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศมีความท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะจากการแข่งขันของชาติมหาอำนาจประเทศในภูมิภาคจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ไทยและมาเลเซียจะต้องร่วมมือกันเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและร่วมมือกันผลักดันความร่วมมือในกรอบอาเซียน

มหาเธร์ บิ๊กตู่ ไฟใต้
นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวร่วม /AFP
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนและนายกฯมาเลเซียได้หารือร่วมกันในสามประเด็นสำคัญประกอบด้วย 1.การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และความร่วมมือด้านความมั่นคง ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งไทยและมาเลเซียและภูมิภาค ที่ปัญหาจังหวัดใช้แดนภาคใต้จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งตนได้เล่าให้นายกฯมาเลเซียฟังถึงแนวทางและนโยบายของรัฐบาลไทยรวมถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาทั้งนี้ฝ่ายไทยถือว่าจังหวัดใช้แดนภาคใต้เป็นปัญหาภายใน แต่ขณะเดียวกันความร่วมมือจากต่างประเทศก็จะทำให้การแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ตนได้พูดคุยกับนายกฯมาเลเซียเกี่ยวกับกระบวนการการพูดคุยที่มีฝ่ายมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกซึ่งเป็นการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ และได้ทำให้เกิดความเข้าใจในข้อห่วงกังวลและข้อจำกัดของกันและกันเป็นอย่างดี ทั้งนี้ การพูดคุยจะดำเนินการต่อไปโดยมีมาเลเซียเป็นผู้ประสานงานอยู่บนพื้นฐานและกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขณะเดียวกันจะขยายความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงชายแดนการพัฒนาเศรษฐกิจและประเด็นความมั่นคงในภาพใหญ่โดยเฉพาะการต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่ง การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติดและการค้ามนุษย์
2.การพัฒนาเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงกับแนวชายแดนซึ่งในการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ตนได้เสนอให้สองประเทศยกระดับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจขึ้น เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่เข้มข้นเพื่อร่วมมือกันสร้างความมั่นคงมั่งคั่ง และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของสองประเทศ ทั้งนี้ทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันผลักดันโครงการความร่วมมือที่คั่งค้างมา ซึ่งมีหลายโครงการ แล้วจะเข้มข้นเป็นพิเศษในเรื่องของความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันและการส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างกัน ทั้งนี้จะมอบให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีภายในต้นปีหน้าเพื่อดูงานที่คั่งค้างและผลักดันเรื่องต่างๆ ที่คืบหน้า
มหาเธร์
นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด /AFP
และ 3.ความร่วมมือในกรอบอาเซียนซึ่งทั้งตนและนายมหาเธร์ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในปีหน้าที่ไทยจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนโดยมีเป้าหมายคือการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนที่มีความเข้มแข็งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางประเทศสมาชิกอาเซียนจะก้าวไปพร้อมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยมุ่งสร้างความเชื่อมโยงและความยั่งยืนในทุกมิติเป็นกลุ่มพลังที่สามารถร่วมมือกับความท้าทายต่างๆ ในโลกได้อย่างแท้จริง ซึ่งนายมหาเธร์เห็นพ้องกันว่าประเทศสมาชิกอาเซียนในวันนี้จะต้องร่วมมือกันบริหารจัดการความท้าทายต่างๆด้วยความสุขุมรอบคอบ และเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการขับเคลื่อนความร่วมมือกับนานาประเทศให้มีสันติภาพเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง
“ผมขอย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่จะทำงานร่วมกับนายมหาเธร์และรัฐบาลมาเลเซียอย่างใกล้ชิดในทุกระดับเพื่อให้สองประเทศและประชาชนมีความสงบสุขมีความเป็นอยู่ที่ดีมีฐานะที่มั่นคงและยั่งยืนมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการมีเสถียรภาพความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของไทยและมาเลเซียรวมทั้งในภูมิภาคร่วมกัน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ด้านนายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า มาเยือนไทย เพราะอยากสร้างความคุ้นเคยกับอาเซียน หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องขอขอบคุณนายกฯ และรัฐบาลไทยสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น และการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา เราไม่มีปัญหาระหว่างกัน และเรามีประวัติศาสตร์ความร่วมมือในอดีต ซึ่งมาเลเซียเคยมีปัญหาและไทยได้ให้การสนับสนุนเพื่อยุติปัญหาดังกล่าว ก็ขอขอบคุณไทยในด้านนี้ ทั้งนี้ปัจจุบันไทยมีปัญหาชายแดนใต้ เราก็ยินดีที่จะช่วยไทยในทุกด้านเพื่อแก้ไขความรุนแรง และตนก็มั่นใจว่า ด้วยว่าความร่วมมือของสองประเทศจะทำให้สามารถแก้ไขและลดปัญหานี้ได้ และเห็นว่าการแสดงมิตรภาพไม่ใช่แค่การพูดคุย แต่ต้องเป็นการปฏิบัติอย่างแท้จริงในฐานะมิตรที่ใกล้ชิด นอกจากนี้ในส่วนของการค้าระหว่างไทย-มาเลเซียใน ปี 2018 มีมูลค่าสูงขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์ มูลการค้า 14,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเราสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าได้ เมื่อแก้ด่านศุลกากร ที่ปัจจุบัน มีจุดผ่านแดน 4 ด่าน ที่รัฐกลันตัน 2 ด่าน และรัฐเคดาห์ และรัฐเปอร์ลิส
นายกฯมาเลเซีย กล่าวว่า นอกจากนี้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างลังกาวีและสตูล มีการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยว ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างความเจริญรุ่งเรืองของสองประเทศ เราควรพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกการไปมาหาสู่ของประชาชนทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะบรรลุตามเป้าหมายนี้ โดยเราจะเปิดด่านศุลกากร 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า และเราจะมีการสร้างสะพาน 2 สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่เชื่อมกับรัฐกลันตัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีปัญหาเส้นทางถนน เชื่อว่าแก้ไขปัญหานี้ได้ และเราพร้อมที่จะสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีอุปสรรค ในทุกทางที่เป็นไปได้ อย่างกรณีประชาชนถือสองสัญชาติ ต้องมีความพยายามแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดการค้ามนุษย์และการขนส่งสินค้าที่ผิดกฎหมาย
ทั้งนี้เราเห็นว่าประชาคมอาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีประชากรกว่า 600 ล้านคน ด้วยความต้องการทางทรัพยากรต่างๆ อาเซียนควรเป็นตลาดภายในของทุกประเทศ โดยเราจะหารือประเด็นดังกล่าวในการพูดคุยอาเซียนครั้งต่อไป เชื่อว่าในความพยายามจะบรรลุเป้าหมาย ด้วยการที่ผู้นำควรร่วมกันหารือบ่อยครั้ง และในระดับผู้แทนควรจะหารือเพื่อแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างกัน เชื่อว่าเราจะสามารถยกระดับกระบวนการต่างๆในการข้ามพรมแดน ทั้งนี้ตนยินดีอย่างยิ่งที่จะสร้างมิตรภาพกับพล.อ.ประยุทธ์ เชื่อว่าผู้นำที่มีความใกล้ชิดระหว่างกันจะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสำเร็จ



ที่มา ข่าวสดออนไลน์

ด่วน! บิ๊กตู่มีคำสั่ง เด้ง “ไก่อู” พ้นจาก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ด่วน! บิ๊กตู่มีคำสั่ง เด้ง “ไก่อู” พ้นจาก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

เมื่อเวลา 14.40 น.วันที่ 24 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี และ หัวหน้าคสช. แถลงภายหลัง การประชุมครม.ว่า สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป จะมอบหมายให้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ทำหน้าที่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของครม.อะไรต่างๆเหล่านี้ เพราะหลายคนอยากเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง
“ผมก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศของตนเองบ้างเหมือนกันแต่มันเปลี่ยนไม่ได้ จะให้ใครไปชี้แจงแทนนายกฯโดยตรงก็ไม่ได้ ผมก็คือตัวผม จะเห็นได้ว่าระยะที่ผ่านมาอารมณ์เย็นเป็นที่สุด ที่ผ่านมาเปิดดูในโซเชียลจะโมโห แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่โมโห เพราะไอ้คนว่าก็คนเดิมนั่นแหละ ผมก็ให้สัมภาษณ์แบบเดิมเพียงแต่ทำหน้าที่ชี้แจงแทน
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ไปทำหน้าที่รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็แบ่งงานกันไปยังช่วยกันไปเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าทำงานด้วยกันรัฐบาลเดียวกันใครอยู่ตรงไหนก็เหมือนกัน เพียงแต่วิธีการนำเสนออาจจะได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ลุคใหม่หน่อย ไม่เบื่อหน้านายกฯ เบื่อหรือยัง จะได้หาคนมาชี้แจงแทนนายกฯ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ท.สรรเสริญ จะรั้งตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อยู่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็จะแยกหน้าที่กันไปเลย แบ่งหน้าที่กันใหม่ เป็นการภายในได้อยู่แล้ว ไม่ต้องไปออกคำสั่งอะไรใหม่หรอก คุยกันแล้วไม่มีปัญหาอะไร ทางพล.ท.สรรเสริญ ก็สามารถจะชี้แจงได้เหมือนกัน ถ้าสงสัยตรงนี้ไปถามตรงโน้นก็ได้ พูดแบบนี้เดี๋ยวนักข่าวก็ไปบอกว่าถูกขึ้นหิ้ง”
เมื่อถามว่า เป็นการกลยุทธ์การให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า นายพุทธิพงษ์ พูดภาษาง่ายๆ บางทีทหารพูดเป็นทางการ ทั้งนี้ พล.ท.สรรเสริญ ไม่ได้บกพร่องอะไรเพียงแต่เปลี่ยนบรรยากาศเท่านั้นเอง เมื่อถามว่า เป็นเพราะใกล้เลือกตั้งหรือไม่ ถึงได้ให้คนที่เชี่ยวชาญ การเมือง อย่างนายพุทธิพงษ์ เข้ามาทำหน้าที่โฆษกรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า “ไม่เกี่ยวๆการเมืองก็คือการเมือง”
///

ไก่อูพูดแล้ว! หลังบิ๊กตู่สั่งหยุดเป็นโฆษกรัฐบาล เผยเหลือแค่ตำแหน่งเดียว

ไก่อูพูดแล้ว! – จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคสช. แถลงภายหลัง การประชุมครม.ว่า สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป จะมอบหมายให้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ทำหน้าที่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของครม.อะไรต่างๆเหล่านี้ เพราะหลายคนอยากเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เพียงตำแหน่งเดียวและให้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองมาดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแทน ว่า
ไก่อูพูดแล้ว!
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งดังกล่าว ตนจะทำหน้าที่ เพียงตำแหน่งเดียว คืออธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ต้องรอระเบียบขั้นตอนของการโอนย้ายจากข้าราชการทหารมาเป็นข้าราชการพลเรือนให้เรียบร้อยเสียก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตน ซึ่งหมายถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ตกลงใจเลือกสิ่งใดให้แล้วย่อมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจ
ตนก็จะปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง อยู่ตรงไหนก็ยังทำงานได้ ทั้งนี้เมื่อเป็นข้าราชการอยู่ในตำแหน่งเดียวแล้วจะมาเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ได้เพราะตำแหน่งดังกล่าวเป็นของข้าราชการการเมือง

เลือกตั้ง 2562: เพื่อไทย-ประชาชาติ แยกกันเดิน ร่วมกันตี ในชายแดนใต้

เลือกตั้ง 2562: เพื่อไทย-ประชาชาติ แยกกันเดิน ร่วมกันตี ในชายแดนใต้

เลือกตั้ง 2562: เพื่อไทย-ประชาชาติ แยกกันเดิน ร่วมกันตี ในชายแดนใต้
ผลประชามติ "คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ" ใน 3 จชต. เมื่อปี 2559 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยมองเห็นโอกาส พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติเตรียมเข้าสู่สนามเลือกตั้งด้วย "มาเลเซียโมเดล" กำหนดให้เผด็จการเป็น "ศัตรูร่วม"
โรดแมปเลือกตั้งของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก้าวเข้าสู่บันไดขั้นท้าย ๆ ด้วยความคาดหวังจากฝ่ายการเมืองให้วันที่ 24 ก.พ. 2562 เป็นจุดสิ้นสุดอำนาจของ คสช.
ทว่าการณ์อาจไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อกลไกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เปิดช่องให้มี "นายกฯ คนนอก" เมื่อพรรคการเมืองเกิดใหม่อาสา "ขยายอำนาจ" ให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
"มาเลเซียโมเดล" หรือชัยชนะในศึกเลือกตั้งของพรรคแนวร่วมฝ่ายค้านภายใต้การนำของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด และ อันวาร์ อิบราฮิม ชนิด "พลิกแผ่นดิน" เมื่อ พ.ค. 2561 จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในหมู่นักการเมืองไทยที่ประกาศตัวยืนฝ่ายประชาธิปไตย หวังใช้ยุทธศาสตร์ "แยกกันเดิน ร่วมกันตี" และยุทธวิธี"สร้างพันธมิตรนอกพรรค" ทวงคืนอำนาจที่ถูกหักโค่นลงด้วยรัฐประหารปี 2557 พร้อมกำหนดให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสนามต่อสู้-ทดสอบโมเดล
บีบีซีไทยสนทนากับคนการเมืองจากพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาชาติ (ปช.) หาสมมุติฐานทางการเมือง-โอกาส-อุปสรรคในการช่วงชิงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) รวม 11 เสียงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เชื่อเลือกตั้ง 62 "โนโหวต" มาแน่เพื่อปฏิเสธเผด็จการ
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาชาติ วัย 74 ปี มองเห็นพลังโหวตเพื่อ "ล้างประเทศให้บริสุทธิ์" ของชาวมาเลเซีย ทำให้เขาจินตนาการต่อถึงความเปลี่ยนแปลงในการเมืองไทย
วันมูหะมัดนอร์ มะทาImage copyrightTOSSAPOL CHAISAMRITPOL/BBC THAI
คำบรรยายภาพวันมูหะมัดนอร์ มะทา ชี้ "มาเลเซียโมเดล" มีโอกาสเกิดขึ้นในสภาล่างโดยพรรคขั้วอำนาจเก่าพลิกชนะพรรคที่สนับสนุนทหารอย่างถล่มทลาย แต่การจัดตั้งรัฐบาลไม่ง่ายเพราะรัฐธรรมนูญปี 2560 เปิดช่องให้มี "พรรค ส.ว."
"นี่น่าจะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่การเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้คล้าย ๆ กับมาเลเซียที่ประชาชนปฏิเสธอำนาจรัฐที่ฉ้อฉลคอร์รัปชัน" และ "พรรคการเมืองใดที่สนับสนุนอำนาจเผด็จการ น่าจะได้รับการปฏิเสธจากประชาชนอย่างเงียบ ๆ ด้วยการไม่ไปกาบัตร (โนโหวต) วันเลือกตั้ง ผมเดาเอานะ"
วันนอร์เริ่มงานการเมืองในฐานะ ส.ส. ยะลา เมื่อ 39 ปีก่อน กับพรรคกิจสังคม เขาเป็นชาวมุสลิมชายแดนใต้เพียงหนึ่งเดียวที่มีโอกาสสัมผัสเก้าอี้ "ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ" เป็นประธานรัฐสภา ระหว่างปี 2539-2543 ภายใต้สังกัดพรรคความหวังใหม่ที่เขามีส่วนร่วมก่อตั้ง และยังเป็นนักการเมืองน้อยคนที่มีสถานะ "หัวหน้ากลุ่มการเมือง" ที่เรียกตัวเองว่า "วาดะห์" (แปลว่าเอกภาพ)
กลุ่มวาดะห์เป็นนักการเมืองกลุ่มแรก ๆ ที่แยกตัวออกจากพรรคเพื่อไทย ทว่าไม่ใช่การแยกเพราะแตกหัก แต่เป็นการแยกในเชิงยุทธศาสตร์ หลังพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ปิดทางชนะแบบถล่มทลายของ "ขั้วอำนาจเก่า" วางระบบป้องกันไม่ให้พรรคหนึ่งพรรคใดครองเสียงในสภาเกินกึ่งหนึ่ง หรือมี ส.ส. มากกว่า 250 เสียง จากทั้งหมด 500 เสียง
ชี้ "โหวตโน" ร่าง รธน. ในชายแดนใต้สะท้อนศรัทธาประชาธิปไตย
การขับเคลื่อนทางการเมืองของ "พรรคขั้วอำนาจเก่า" วางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวคิดทางการเมืองตรงข้ามกับรัฐบาล คสช. สะท้อนผ่านปรากฏการณ์ "โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ" ในการออกเสียงประชามติเมื่อ ส.ค. 2559 ทำให้พวกเขามองเห็นโอกาสทางการเมือง เพราะเมื่อทดลองแปรคะแนนเสียง "โหวตโน" ใน จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ราว 4.83 แสนคะแนนเข้าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ปรากฏเป็นยอด ส.ส. ถึง 7 คน (สูตร 70,000 คะแนนเสียง/ 1 ส.ส.)
หญิงชาวนราธิวาสอุ้มลูกไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 7 ส.ค. 2559Image copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพหญิงชาวนราธิวาสอุ้มลูกไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 7 ส.ค. 2559
"รัฐธรรมนูญฉบับนี้สร้างขึ้นมาไม่ใช่โดยประชาชน แต่มาจากคนข้างบนกำหนด ฉะนั้นกติกาหลายประการจึงขัดแย้งกับวัฒนธรรม ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ เขาก็เลยไม่รับร่างฯ" วันนอร์กล่าว
สอดคล้องกับความเห็นของ พล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแบบหมาด ๆ ที่บอกกับบีบีซีไทยว่า ปรากฏการณ์ "โหวตโน" ในจังหวัดชายแดนภาคใต้สะท้อนว่าประชาชนพึงประสงค์การปกครองระบอบประชาธิปไตย
"จิตสำนึกลึก ๆ ของเขาไปถึงศรัทธาของอุดมการณ์ประชาธิปไตยแล้ว เขาถึงบอกว่ารัฐธรรมนูญอันนี้มันไม่ใช่ มันไม่ได้มาตามครรลอง เขาก็ไม่รับ มันก็เป็นคำตอบในตัวว่าเขาตระหนักสิทธิเสรีภาพ เขาจึงมั่นใจว่าถ้าจะเลือกรัฐบาล ต้องเลือกรัฐบาลที่มั่นใจว่าต้องให้สิทธิเสรีภาพแก่เขา
กล่าวสำหรับ พล.ท. ภราดร กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น "เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก" เนื่องจากเป็นชาวเชียงใหม่เหมือนกัน อีกทั้งพ่อของทั้งคู่คือ พล.ท. กอบกุล พัฒนถาบุตร กับ เลิศ ชินวัตร ยังเป็นเพื่อนกัน และทักษิณยังยกให้ ปรีดา พัฒนถาบุตร อาของ พล.ท. ภราดร เป็น "ครูการเมือง"
พล.ท. ภราดรImage copyrightTOSSAPOL CHAISAMRITPOL/BBC THAI
คำบรรยายภาพพล.ท. ภราดรได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษานโยบายด้านความมั่นคงของพรรคเพื่อไทย หลังสมัครเป็นสมาชิกพรรคนี้
เพื่อไทย-ประชาชาติกำหนดให้เผด็จการเป็น "ศัตรูร่วม"
พล.ท. ภราดรชี้ว่า การต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง 2562 ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน มีเพียงปีกประชาธิปไตยกับปีกเผด็จการ
นี่ทำให้พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ "กำหนดมิตร-แยกศัตรู" ได้ชัดเจน
วันนอร์บอกว่า "พรรคไหนที่เชียร์เผด็จการ ใช้อิทธิพลมืดไปบังคับข่มขู่ประชาชน สิ่งเหล่านี้คือศัตรูของเราที่ไม่สามารถยอมรับได้" ส่วน พล.ท. ภราดรก็ยืนยันว่าพรรคต้นสังกัดของเขา "ไม่มีการประนีประนอม" กับขั้วอำนาจปัจจุบันทุกรูปแบบ แม้ก่อนหน้านี้บทบาทในทางลับของแกนนำบางคนที่พยายามไปแอบแนบชิดกับกลุ่มผู้นำ คสช. จะสร้างความสับสนในทิศทางพรรคก็ตาม
พล.ท. ภราดร กับ พ.ต.อ. ทวี (ซ้ายมือ)Image copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพพล.ท. ภราดร กับ พ.ต.อ. ทวี (ซ้ายมือ) คือสองคีย์แมนสำคัญในทีมพูดคุยสันติสุขฯ ยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปพบฝ่ายผู้เห็นต่างที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 13 มิ.ย. 2556
สายสัมพันธ์ในอดีตข้าราชการฝ่ายความมั่นคงยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กระจายตัวอยู่ตามพรรคปีกประชาธิปไตย อาทิ
  • พรรคเพื่อไทย มี พล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการ สมช. เป็นที่ปรึกษาพรรค
  • พรรคประชาชาติ มี พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเลขาธิการพรรค
  • พรรคอนาคตใหม่ มี พล.ท. พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการ สมช. เป็นรองหัวหน้าพรรค
จะทำให้การจัดวางบทบาทของการเป็น"พันธมิตรการเมือง" พัฒนาไปไกลถึงขั้น "มาเลเซียโมเดล" ที่มีแนวร่วมแห่งความหวัง "ปากาตัน ฮาราปัน" (Pakatan Harapan - PH) หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่หลายคนเคยคิด แต่โอกาสเกิดขึ้นไม่ง่ายด้วยข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญไทย ทว่า พล.ท. ภราดรยังเชื่อว่าการมีพื้นฐานคิดแบบเดียวกัน น่าจะทำให้เกิดความร่วมมือในเชิงนโยบายและไปในทางเกื้อกูลกันหากพวกเขามีโอกาสเป็นรัฐบาล
"ซีกประชาธิปไตยก็ต้องเดินไป แล้วไปแสวงหาจุดร่วมกันข้างหน้า ไม่ว่ากฎกติกาจะเป็นอย่างไรก็ตาม หากซีกประชาธิปไตยบวกกันแล้วเกิน 250 เสียงมันก็ไปได้" พล.ท. ภราดรระบุ
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ผู้นำที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดของมาเลเซีย หวนกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งในวัย 93 ปีหลังชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย
"พรรคแบงก์ร้อย" เอาคืนสุเทพตระบัดสัตย์เพราะกลัวถูกรื้อคดี
อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ "แยกกันเดิน ร่วมกันตี" ที่ถูกมองว่าคิดค้นโดยแกนนำพรรคเพื่อไทย ถูกเสียดเย้ยจาก สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ว่าเป็นเพียงยุทธศาสตร์ "แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย" ของ ทักษิณ ชินวัตร
ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาชาติหัวเราะรับฉายา "พรรคแบงก์ร้อย" ก่อนสวนกลับอย่างรุนแรงว่า "สุเทพเขาตระบัดสัตย์ เขาเปลี่ยนคำพูดเหมือนสุจินดา (พล.อ. สุจินดา คราประยูร อดีตแกนนำ รสช. ผู้ก่อรัฐประหารปี 2534) ที่บอก 'เสียสัตย์เพื่อชาติ' คนไทยไม่ลืมนะ เป้าหมายสุเทพทำเพื่อคดีความทั้งหลาย เพราะเมื่อรัฐบาลที่ไม่ใช่ คสช. ขึ้นมา คดีเขาถูกรื้อฟื้นนะ ทั้งปิดถนน ปิดทำเนียบ ปิดกระทรวง คนเราถ้าไม่เคยขึ้นศาลไม่รู้หรอกว่าเป็นอย่างไร มันเป็นทุกข์นะ แม้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในใจนอนไม่ค่อยหลับ คนไม่เคยเข้าคุกตะราง.. แม้แต่นาทีเดียวก็ไม่อยากเข้าไป ต้องดิ้นสุดหนทาง ความจริงอยู่พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ นี่มาลำบากลำบนเพื่อต่อขั้วให้ฝ่ายมีอำนาจได้มีอำนาจต่อไป จะได้ป้องกันตนเองได้"
กระบวนการสันติสุขจะเกิดได้ในบรรยากาศประชาธิปไตย
นอกจากแผนขอเสียงโหวตนี้เพื่อ "แก้ไขรัฐธรรมนูญที่พิกลพิการ" ของสองพรรค พวกเขายังเตรียมชูนโยบาย"ดับไฟใต้ด้วยแนวทางสันติวิธี" เป็นวาระของหลัก ด้วยเพราะในขณะที่โรดแมปเลือกตั้งเข้าสู่ช่วงปลาย แต่โรดแมปดับไฟใต้ของรัฐบาล คสช. ยังก้าวไม่พ้น "ขั้นแรก-การสร้างความไว้วางใจ" ระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับฝ่ายผู้เห็นต่างที่เรียกตัวเองว่า มารา ปาตานี หลังเปิดเจรจาครั้งแรกเมื่อ ส.ค. 2558
พล.ท. ภราดร กับ ฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนบีอาร์เอ็น ลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติสุข เมื่อ 28 ก.พ. 2556Image copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพพล.ท. ภราดร กับ ฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนบีอาร์เอ็น ลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติสุข เมื่อ 28 ก.พ. 2556
พล.ท. ภราดร ในฐานะอดีตหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ วิจารณ์ว่ารัฐบาล คสช. ทำให้ "พื้นที่ทรงสภาพได้" แต่ยังไปไม่ถึงจุดที่ทำให้สถานการณ์คลี่คลายลง โดยอุปสรรคประการหนึ่งเกิดจากสถานะ "รัฐบาลทหาร" ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับระดับปฏิบัติการในพื้นที่และประชาชนไม่ไว้วางใจนัก
"รัฐบาลประชาธิปไตยเดินมาสะดุดหยุดลง พอมาเป็นรัฐบาลทหาร มันคล้าย ๆ ก้าวหน้าเหมือนจะเดินไป แต่จริง ๆ แล้วมันเหมือนเป็นการซอยเท้า" อดีตเลขาธิการ สมช. ระบุ
นี่อาจเป็นความเห็นเพียงของคนที่ยืนขั้วตรงข้าม คสช. เพราะในระหว่างที่กระบวนการพูดคุยสันติสุขฯ ดำเนินไป บางเสียงจากฝ่ายขบวนการผู้เห็นต่างระบุว่า "ทหารคือตัวจริงเสียงจริงของรัฐไทย" ซึ่ง พล.ท. ภราดรยอมรับบางส่วนและปฏิเสธบางส่วน "ทหารจะเป็นผู้ดูแล เป็นผู้กำกับ แก้ไขปัญหาอะไรก็จริง แต่สุดท้ายเขาเชื่อตรงกันหมดว่าถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยมันจะมีส่วนร่วม ทำให้เขาการแก้ปัญหาได้มากกว่าทหารแม้ดูเหมือนเป็นตัวจริงเสียงจริง"
ท้าใช้ผลเลือกตั้งพิสูจน์ผลงานดับไฟใต้ของ คสช.
ในวันที่ 24-25 ต.ค. นี้ มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มีกำหนดเข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการคาดการณ์กันว่าการพูดคุยสันติสุขฯ ที่มาเลเซียอยู่เล่นบท "ผู้อำนวยความสะดวก" จะเป็นหนึ่งในหัวข้อสนทนาหลักของ 2 ผู้นำ
อาหามัด ชูโว, สุกรี ฮารี, อาบูฮาฟิส อันฮากิม (จากซ้ายไปขวา)Image copyrightJIRAPORN KUHAKAN/BBC THAI
คำบรรยายภาพอาหามัด ชูโว, สุกรี ฮารี, อาบูฮาฟิส อันฮากิม (จากซ้ายไปขวา) แกนนำกลุ่มมารา ปาตานี ออกแถลงการณ์ถึงรัฐไทย ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมื่อ มี.ค. 2561
พล.อ. ประยุทธ์ยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยสันติสุขฯ ก้าวหน้าหลายประการ และความรุนแรงในหลายพื้นที่ลดลง แต่ในสายตาของนักการเมืองผู้กินอยู่หลับนอนกับประชาชนในพื้นที่ ตัวชี้วัดความสำเร็จในงานความมั่นคงของรัฐบาลอยู่ที่การแสดงออกในวันเลือกตั้งของประชาชน
"ถ้าประชาชนเขาพึงพอใจพรรคที่เชียร์หรือสนับสนุน คสช. เขาก็ได้รับการเลือกตั้งเสียงข้างมากไป แสดงว่าผลงานของ คสช. ดี การใช้ความมั่นคงแบบนี้ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าผลการเลือกตั้งออกมา พรรคที่ไม่เอาด้วยกับ คสช. ชนะเลือกตั้ง ก็จะได้เห็นว่านโยบายการดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ถูกต้องโดยสมบูรณ์" วันนอร์กล่าวและว่า "คุณจะทำให้สงบสุข เอากองกำลังลงพื้นที่มันก็สงบ เหตุการณ์ลดลง แต่ประชาชนอาจไม่มีความสุขเพราะทหารอยู่เต็มพื้นที่ไปหมด"
ภราดร : "กำปั้นเหล็ก" จบแล้วตั้งแต่ยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์
ในขณะที่ฝ่ายการเมืองพาดพิงฝ่ายกองทัพว่า"เข้าใจปัญหาเพียงกระพี้เท่านั้น" พล.ท. นักรบ บุญบัวทอง อดีตเลขานุการคณะพูดคุยสันติสุขฯ ยุค คสช. ก็เคยวิพากษ์ว่า "แก่นของปัญหา" อยู่ที่เรื่องการเมืองและนักการเมือง พร้อมระบุว่า "หัวคะแนนเป็นกลุ่มผู้เห็นต่าง"
เด็กละหมาดImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
หัวหน้ากลุ่มวาดะห์ปฏิเสธทันควัน โดยอธิบายว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 5-10 และฝ่ายผู้เห็นต่างไม่สนับสนุนการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่มีกลไกรัฐสภา เพราะต้องการรูปแบบของเขาเอง จะเป็นเอกราชหรืออะไรก็แล้วแต่ จึงไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกัน แต่ในฐานะต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ก็จำเป็นต้องระมัดระวังตัว "การจะไปประณามเขา เราก็ไม่มีกองกำลังติดตามป้องกันตัวเองได้"
อีกปัญหาที่ฝ่ายการเมืองมีส่วนก่อ-สร้างบาดแผลใหญ่ในพื้นที่ หนีไม่พ้น การดับไฟใต้ด้วยแนวทางที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนที่ 23 เรียกว่า "กำปั้นเหล็ก" รวมถึงการทิ้งวาทะว่าผู้ก่อเหตุไม่สงบเป็นเพียง "โจรกระจอก" ซึ่งทำให้พรรคพวกทักษิณไม่ประสบความสำเร็จในการทำการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่วันนอร์ไม่ขอพูดถึง โดยให้เหตุผลว่า "เราพยายามลืมเรื่องในอดีตเพื่อเดินไปข้างหน้าด้วยความรักสามัคคี"
ขณะที่ พล.ท. ภราดรประกาศผ่านบีบีซีไทยว่า "กำปั้นเหล็กจบไปแล้ว" ตั้งแต่ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
"สิ่งที่นายกฯ ทักษิณเคยพูด มันคลายตัวไปแล้วพอมีรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพราะรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์เป็นจุดเริ่มต้นการของพูดคุยสันติสุขฯ เท่ากับว่าพรรคเพื่อไทยยอมรับว่าแนวหนึ่งที่เราเคยเข้าใจว่าจะไปอย่างนั้น เอ๊ะ! มันไปไม่ได้ พอลึกลงมาในสถานการณ์ที่เรารับรู้เข้าใจ เราก็พร้อมเปลี่ยนกลับ สุดท้ายเราก็กลับสู่แนวสันติวิธี แล้วก็เป็นครั้งแรกที่จัดคณะพูดคุยสันติสุขฯ จากที่เดินมาตรงนั้นถึงปัจจุบัน พี่น้องสามจังหวัดย่อมเข้าใจแล้วว่าเรายึดแนวสันติ" อดีตเลขาธิการ สมช. ระบุ
เตือนประยุทธ์อยู่นานเกินไป เป็นความผิดได้
นายกฯ พบชาวปัตตานีImage copyrightทำเนียบรัฐบาล
จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นพื้นที่พิเศษที่รัฐบาลทุกชุดไม่ว่าฝ่ายประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยมต้อง "ต่อสู้ทางความคิด" ในอย่างน้อย 2 ระดับ กล่าวคือ ทำความเข้าใจความขัดแย้งที่เกิดจากรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และการมีอัตลักษณ์พิเศษของประชาชน และทำความเข้าใจแนวคิดทางการปกครองในท้องที่ฟุ้งกระจายอยู่อย่างหลากหลายทฤษฎี โดยความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่
ในนามของ "ผู้รักษาความมั่นคงแห่งรัฐ" ที่ประกาศ "คืนความสุขให้คนไทย" และ "คืนความสงบให้จังหวัดชายแดนภาคใต้" อาจจัดวางให้พื้นที่ปลายด้ามขวานเป็น "จุดยุทธศาสตร์" ที่รัฐบาล คสช. จะ "แพ้ไม่ได้" ทว่าการมุ่งสู่ชัยชนะมิใช่เรื่องง่าย พอ ๆ กับความพยายามไปต่อในทางการเมืองของหัวหน้า คสช. แม้กติการัฐธรรมนูญจะเปิดช่องก็ตาม
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบปะประชาชนระว่างลงพื้นที่ จ. ปัตตานี เมื่อ 4 เม.ย. 2561Image copyrightทำเนียบรัฐบาล
คำบรรยายภาพพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบปะประชาชนระว่างลงพื้นที่ จ. ปัตตานี เมื่อ 4 เม.ย. 2561
"เขาจะได้เป็นวีรบุรุษนะ ความจริงเสียดาย นักปฏิวัติในหลายประเทศเมื่อปฏิวัติแล้วก็ยอมคืนอำนาจให้ประชาชนท่ามกลางความแซ่ซ้องประชาชน เป็นวีรบุรุษเลย แต่ถ้ากลัวว่าตัวเองจะเสียอำนาจ กลัวว่าตัวเองจะถูกรื้อฟื้น ก็พยายามยื้ออำนาจต่อไป ในที่สุดก็จะจบด้วยความสูญเสียของเผด็จการ"
"บางทีไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ถูกด่าเพราะประชาชนเบื่อไง บางทีความรู้สึกของประชาชน นานเกินไปกลายเป็นความผิดได้เหมือนกัน" นักการเมืองกลุ่มวาดะห์กล่าวทิ้งท้าย