PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

ภรรยาอับดุลเลาะ บุกร้องขอเป็นธรรมยื่น‘อนค.’จี้สอบการเสียชีวิต

“ภรรยาอับดุลเลาะ” บุกยื่นหนังสือให้ “อนค.” จี้ตรวจสอบการเสียชีวิต “ช่อ” เผย ตั้งแต่ปี 47 มีเคสแเบบนี้แล้ว 54 ราย 100% เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูทั้งหมด “เสธโหน่ง”  ชี้ ต้องปรามเจ้าหน้าที่ไม่ให้ลุแก่อำนาจ 
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 ที่รัฐสภา นางสาวซูไมย๊ะห์ มิงกะ ภรรยาของนายอัดุลเลา อีซอมูซอ พร้อมญาติของนายอับดุลเลาะ เดินทางมายื่นหนังสือถึงพรรคอนาคตใหม่กรณี ขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิต ของนายอับดุลเลาะ หลังถูกคุมตัวที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยมีนางสาวพรรณิการ์ วาณิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่เป็นผู้รับหนังสือ 

น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ทางพรรคอนาคตใหม่ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ว่าทำไมนายอับดุลเลาะ ถึงออกมาจากค่ายอิงคยุทธบริหารในสภาเจ้าชายนิทราก่อนจะเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบรูปถ่ายของนายอับดุลเลาะ ที่โรงพยาบาลปัตตานี เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ร่างกายของนายอับดุลเลาะมีบาดแผลหลายแห่ง ทั้งรอยถลอกที่ข้อเท้า ที่หูมีหนองไหลออกมา พบรอยแดงที่ข้อมือที่คาดว่าอาจเกิดจากการมัด และรอยจี้ที่นิ้ว ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากการช็อตไฟฟ้า ทั้งนี้เราขอให้ นายกรัฐมนตรี กองทัพ และกระทรวงกลาโหม ออกมาอธิบายเรื่องดังกล่าวอย่างมีน้ำหนัก ว่าทำไม นายอับดุลเลาะ ถึงออกมาจากค่ายอิงคยุทธบริหาร ด้วยสภาพสมองขาดออกซิเจน 
เช่นเดียวกับโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง ที่เกี่ยวข้องทั้งโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถทำให้กรณีดังกล่าวเกิดความชัดเจน 
“นายอับดุลเลาะไม่ใช่คนแรกที่ออกมาจากค่ายทหาร และมีสภาพ บาดเจ็บสาหัส พิการ หรือเสียชีวิตมีข้อมูลที่ทำการวิจัย โดยกลุ่มวิจัยสิทธิมนุษยชน จ.ปัตตานี และกลุ่มประสานวัฒนธรรมในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2547 พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีผู้ถูกกระทำลักษณะนี้ 54 ราย ทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู 51% มีอายุระหว่าง 29-38 ปี โดย 57% เป็นชาวปัตตานี หมายความว่า ประชาชนที่มีลักษณะเดี่ยวกับนายอับดุลเลาะ เป็นแบบฉบับผู้ต้องสงสัยที่รัฐตั้งข้อสังเกต”น.ส.พรรณิการ์ ระบุ 
น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ขอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีผู้เชี่ยวชาญทั้งจากในและต่างประเทศ ร่วมอยู่ในกรรมการด้วย เพื่อตรวจสอบการซ้อมทรมานที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง เนื่องจากพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษ ทั้ง 3 แบบ มานานกว่า 1 ทศวรรษ  ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการทวงคืนความเป็นธรรมแก่ครอบครัวของนายอับดุลเลาะเท่านั้น แต่เป็นการทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่อีกด้วย 
ด้าน พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภายใต้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ เช่นเดียวกับการลุแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาเอง ต้องอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยว่า ประชาชนนั้น ไม่ใช่ผู้ต้องสงสัย รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบกระบวนการต่างๆได้อย่างโปร่งใส หากยังมีการปฏิบัติลักษณะนี้ ย่อมไม่สามารถแก่ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้  และรังแต่จะเพิ่มจำนวนแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบให้มากขึ้น
ที่มา : แนวหน้า

พลิกแฟ้ม5ปี...เหตุการณ์อุ้ม-ฆ่า-เผา'บิลลี่ พอละจี'

1. วันที่ 17 เมษายน 2557 นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จับกุมที่ด่านมะเรวในระหว่างนำน้ำผึ้งออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. วันที่ 18 เมษายน 2557 ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านช่วยกันออกค้นหาบิลลี่ หลังหายตัวไปไม่ได้กลับบ้านตลอดทั้งคืน พร้อมเข้าแจ้งความคนหายที่ สภ.แก่งกระจาน แต่เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่แล้ว

3. วันที่ 21 เมษายน 2557 น.ส.พิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยานายบิลลี่ ยื่นหนังสือร้องเรียนกับผู้ว่าราชการจังหวัด
4. วันที่ 24 เมษายน 2557 น.ส.พิณนภา พร้อมทนายยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน ตาม ป.วิอาญามาตรา 90 โดยถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
5. วันที่ 2 กันยายน 2557 ศาลฏีกายกคำร้องในคดีอดีตหัวหน้าหน้าอุทยานแก่งกระจานที่ถูกกล่าวหา ตาม ป.วิอาญามาตรา 90 ควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย  
6. วันที่ 16 มกราคม 2560 ดีเอสไอ แจ้งต่อภรรยาของบิลลี่ว่า คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ
7. วันที่ 28 มิถุนายน 2561 ดีเอสไอได้รับคดีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษและเริ่มสอบสวน
8. วันที่ 26 เมษายน 2562 และวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2562 พบหลักฐานที่พื้นที่ใต้น้ำบริเวณสะพานแขวน เขื่อนแก่งกระจาน ชิ้นส่วนกระดูก จำนวน 2 ชิ้น ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ถัง เหล็กเส้น จำนวน 2 เส้น ถ่านไม้ จำนวน 4 ชิ้น และเศษฝาถังน้ำมัน
9. วันที่ 28–30 สิงหาคม 2562 ตรวจหาหลักฐานที่พื้นที่ใต้น้ำบริเวณสะพานแขวน เขื่อนแก่งกระจานอีกครั้ง พบชิ้นส่วนกระดูกเพิ่มเติมอีกจำนวน 20 ชิ้น
10. วันที่ 3 กันยายน 2562  ดีเอสไอ แถลงพบหลักฐานสำคัญและผลตรวจสอบทางดีเอ็นเอของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยืนยันตรงกับมารดาของบิลลี่

CR: แนวหน้า