การรัฐประหารที่ประเทศตุรกี ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายรัฐบาลประชาธิปไตยของตุรกีเป็นฝ่ายกุมชัยชนะเหนือฝ่ายทหารผู้ก่อการ ซึ่งประเด็นการรัฐประหารล้มเหลวของตุรกีครั้งนี้ก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบกับการรัฐประหารในประเทศไทยจากหลายฝ่าย
thumbnail_01
พรรคเพื่อไทยในฐานะอดีตพรรครัฐบาล ที่เคยถูกกองทัพรัฐประหารยึดอำนาจก็มีการออกแถลงการณ์ยกย่องประชาชนตุรกีที่ได้ออกมาต่อต้านการรัฐประหาร คัดค้านการกระทำที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย อันแสดงถึงความกล้าหาญ ความสามัคคี และกำลังใจที่เข้มแข็งในการต่อต้านความพยายามทำรัฐประหาร โดยไม่ยอมให้ประเทศตกอยู่ใต้อำนาจของกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้มาจากประชาชน
ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลคสช. ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของไทย ก็มีการแสดงท่าทีโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้แสดงความเสียใจกับการสูญเสียจากเหตุพยายามก่อรัฐประหารในตุรกี มองเป็นปัญหาภายใน พร้อมมีการสั่งการให้ดูแลคนไทยในตุรกี และหากมีความต้องการกลับประเทศ ได้สั่งการให้เอกอัครราชทูตไทยประจำตุรกี ดำเนินช่วยเหลือโดยด่วน ซึ่งขณะนี้คนไทยทั้งหมดปลอดภัย พร้อมกันนี้ ขออย่าเปรียบเทียบกับไทย เพราะบริบทต่างกัน
thumbnail_02
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการออกมายกย่องการต่อต้านรัฐประหารที่ตุรกีของพรรคเพื่อไทย ว่าพรรคเพื่อไทยอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และอ้างประชาธิปไตย โยนบาปให้ทหาร พร้อมระบุว่าการที่ทหารไทยต้องออกมารัฐประหารนั้น เป็นเพราะมีประชาชนออกมาเรียกร้อง มีการออกมาขับไล่นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง โดยยืนยันว่าการควบคุมอำนาจของรัฐบาลคสช. ทำเพื่อเรียกคืนความปกติสุข ยุติความรุนแรง และวางรากฐานไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
thumbnail_03
เหตุการณ์รัฐประหารที่ตุรกี วันแรกของการรัฐประหาร ฝ่ายผู้ก่อการรัฐประหาร ได้ก่อตั้ง “Peace at Home Council” หรือ อาจเรียกง่ายๆแบบไทยๆ ว่า “สภารักษาความสงบแห่งชาติ” มีผู้นำคือ พล.อ.อ.Akın Öztürk อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศตุรกี และ พ.อ.Muharrem Köse แห่งกองทัพบกตุรกี
thumbnail_04
โดยอ้างเหตุผลในการยึดอำนาจว่า เพื่อรักษาประชาธิปไตย สิทธิตามกฎหมายของประชาชนตุรกี และมีการอ้างถึงการคอรัปชั่น ใช้อำนาจโดยมิชอบของนักการเมืองตุรกีเช่นกัน เรียกได้ว่าโมเดลเดียวกับการรัฐประหารทั่วโลกและประเทศไทย
หลังจากมีการต่อต้านการก่อรัฐประหารจากฝ่ายรัฐบาล และประชาชนของตุรกี ฝ่ายรัฐบาลของนายRecep Tayyip Erdoğan ประธานาธิบดีตุรกีก็เป็นฝ่ายกุมชัยชนะได้ เนื่องจากรัฐบาลมีกำลังทหาร ตำรวจ และประชาชนหนุน รวมถึงมีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ทำให้การรัฐประหารไม่สามารถกระทำการสำเร็จได้โดยง่าย
thumbnail_05
หลังจากฝ่ายรัฐบาลมีชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว ก็นำไปสู่การจับกุมทหารผู้ร่วมก่อการถึง 6,038 นาย ผู้พิพากษา อัยการอีก 755 คน และประชาชนอีก 650 คน
06
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจตามมาอีกอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสภาการศึกษาสูงสุดของตุรกีได้มีการขอให้อธิการบดี และคณะบดีของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศลาออกถึง 1,577 คน รวมไปถึงมีการยกเลิกใบอนุญาตครูถึง 21,000 คน จนเริ่มมีการตั้งคำถามว่าฝ่ายรัฐบาลตุรกีใช้โอกาสที่สามารถป้องกันการรัฐประหารได้ เพื่อกวาดล้างศัตรูทางการเมือง และครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ
thumbnail_07
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเกมการชิงอำนาจ ผู้ชนะย่อมเป็นผู้กำหนดกติกาทุกอย่าง เช่นเดียวกับการรัฐประหารในประเทศไทย ที่ฝ่ายรัฐบาลคสช. คือผู้เขียนกฎหมาย และดำเนินคดีกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน
สถานการณ์ของไทยกับตุรกีจึงไม่ได้มีความแตกต่างกันในเชิงสาเหตุของการรัฐประหาร แต่เป็น “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” ใน 2 ประเทศนี้สลับกันเท่านั้น
thumbnail_08
อย่าลืมว่าเกมแห่งการชิงอำนาจทางการเมืองมีเพียง “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” ไม่มีคำว่า “ประชาธิปไตย” “เผด็จการทหาร” ไม่มีแม้แต่คำว่า “ถูก” หรือ “ผิด”
thumbnail_09
thumbnail_10
ความแตกต่างของบริบทการรัฐประหารในไทย และตุรกีที่ต่างกันอย่างชัดเจน คือ ประชาชนตุรกีไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่
พวกเขาไม่ยอมรับการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจประชาชน ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ที่มีนักการเมือง และประชาชนกลุ่มหนึ่งออกมาสนับสนุนให้กองทัพยึดอำนาจ โดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น!!!
Reference