PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว3มิ.ย.58

โรฮีนจาจับนายพลมนัส

"ประวิตร" ยันคดี "มนัส" ยึดกฎหมาย คาดพบระเบิดหลายจุดใน กทม. ไม่โยงป่วน ขณะการเลือกตั้งตามโรดแมป

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ศาลจังหวัดนาทวีออกหมายจับ พล.ท.มนัส คงแป้น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพ
บก ในคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาว่า เป็นเรื่องของส่วนบุคคลไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกองทัพ ซึ่งการดำเนินคดีเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะดำเนินการสอบสวน ส่วนการตั้งคณะกรรมการ

ของกองทัพเป็นการสอบสวนทางวินัย ทั้งนี้ เท่าที่ทราบ พล.ท.มนัส เป็นบุคคลที่ตั้งใจทำงานเพื่อกองทัพมาโดยตลอด ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร
ภาค 4

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณีการพบระเบิดในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว แต่ไม่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มสร้างสถานการณ์แต่อย่างใด ส่วนเรื่องของการเลือกตั้งนั้น ไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2559 หรือ 2560 เนื่องจากต้องเป็นไปตามขั้นของโรดแมป
------------------
"วิเชียร" แจงทริปรีพอร์ตส่งสหรัฐฯ ประเมินผลปลายเดือน มิ.ย. - "ประวิตร" ย้ำ รบ.ไทย ดูแลผู้หลบหนีเข้าเมืองตามหลักมนุษยธรรม

นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กล่าวถึงการจัดทำรายงานสถานการณ์การค้า

มนุษย์ หรือ ทริปรีพอร์ต ที่ได้ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาว่า จะมีการประเมินผลในปลายเดือนมิถุนายน นี้ ซึ่งไทยได้รายงานความคืบหน้า การดำเนินการ พร้อมตัวอย่าง

การจับกุมการดำเนินคดี ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้เน้นย้ำว่า รัฐบาลไทยได้ดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ และดูแลผู้หลบหนีเข้าเมืองตามหลัก

มนุษยธรรม
//////////////
รัฐธรรมนูญ

"สุรชัย" กล่าวในการสัมมนา "วิเคราะห์ร่าง รธน." เชื่อทุกคนอยากเห็น รธน.ใหม่ ฉบับถาวรและดีที่สุด 

บรรยากาศการสัมมนาหัวข้อ "วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ในมุมมองด้านวิชาการและการเมือง" ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการการเมืองสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณา

ศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1
กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงสุดท้ายของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเชื่อมั่นว่า ทุกคนมีเป้าเหมือนกัน ที่ต้องการเห็นรัฐธรรมนูญใหม่นี้เป็นฉบับถาวร และที่ดีที่สุด ตามที่ประชาชนต้องการ นำมาใช้ในการ

ปกครองประเทศ

ทั้งนี้ ความแตกต่างในห้องนี้จะเป็นความคิดเห็นที่สร้างสรรค์นำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นฉบับที่ 20 ของประเทศไทย ที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยกฎหมายใด

จะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ รวมถึงบัญญัติองค์กรต่าง ๆ ของอำนาจรัฐขึ้นมา ประชาชนจึงให้ความสนใจอย่างมาก
-----------------
"มนูญ" ชี้แจงคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ให้กำหนดชัดผู้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รับฟังคำชี้แจงประกอบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันนี้ เป็นคำขอที่ 3 ซึ่ง นายมนูญ ศิริวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการ

ปฏิรูปด้านพลังงาน เป็นผู้เสนอ โดยต้องเขียนให้ชัดเจนว่า ใครควรเป็นผู้ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงอยากให้กำหนดขอบเขตสิทธิชุมชนในการเข้าไปบริหารจัดการพลังงานร่วม
กับภาครัฐว่า มีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน เพราะเกรงว่าจะเป็นอุปสรรคต่อโครงการใหญ่ ๆ ที่ต้องการความรวดเร็ว

นอกจากนี้ ขอแก้ไข ลดจำนวน ส.ว. จาก 200 คน เหลือ 150 คน, ให้ ส.ว. เลือกตั้งแต่ละจังหวัด “ไม่ต้องผ่านการกลั่นกรอง” โดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้ง ส.ว. จังหวัดไม่จำเป็นต้องมีคนมากลั่น

กรอง ควรมอบให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นผู้ตัดสินใจโดยตรง
-----------------------
"โภคิน" ชี้ รธน.ควรดำรงไว้ในสิ่งที่สังคมมีการตกผลึกแล้ว ย้ำต้องตอบโจทย์เกิดการปรองดอง

นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 และ 50 นี้ ได้ให้ความสำคัญกับถ้อยคำที่นำเสนอมากกว่าเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเห็นว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความ

ยุติธรรมและต้องไม่เป็นอคติจากตัวเอง ทั้งนี้ ในสังคมไทย มีการตกผลึกเรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. และ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองมานานแล้ว พร้อมยังเห็นว่าสิ่งที่ได้ตกผลึก
แล้วควรที่จะดำรงเอาไว้ เพราะการเปลี่ยนจะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก และการที่รัฐธรรมนูญไม่สามารถอยู่ยาวได้นั้น อาจไม่ได้เกิดมาจากรัฐประหารเท่านั้น แต่อาจเกิดมาจากเนื้อหาสาระในรัฐ

ธรรมนูญด้วยก็ได้

นอกจากนี้ นายโภคิน ยังกล่าวว่า การหาเสียงแบบประชานิยมที่ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดนั้น เป็นเหตุทำให้ประชาชนหันมาสนใจเรื่องการเมืองมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องปากท้องของ

ประชาชน จึงย้ำว่ารัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ต้องตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ให้ได้ นั่นคือการทำให้เกิดการปรองดอง ต้องสานต่อสิ่งที่ได้ตกผลึกไปแล้ว ต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ
----------------------------
"จุรินทร์" ชี้ รัฐธรรมนูญ ที่กำลังยกร่างยังไม่ตอบโจทย์ ต้องรื้อใหม่ 4 เรื่อง เพื่อป้องกันประเทศกลับไปสู่วิกฤติอีก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการสัมมนา "วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ในมุมมองด้านวิชาการและการเมือง" ว่า สิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ รัฐธรรมนูญ เป็น

กฎหมายสูงสุดที่จะนำมาใช้ปกครองประเทศ และยังเป็นตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยด้วย ซึ่งปัญหาจริงๆ นั้น อยู่ที่คนนำไปใช้ และเมื่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น พยายามให้มีนิรโทษกรรม จนส่ง

ผลเสียและผลกระทบ จนต้องดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะต้องทำอย่างไรให้การเมืองโปร่งใส และปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้

นอกจากนี้ นายจุรินทร์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ยังไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร และมองว่าต้องมีการรื้อใหม่ในเรื่อง 4 เรื่องด้วยกัน คือ การตัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ในเรื่องระบบโอ

เพ่นลิสต์ ที่เป็นการจำกัดอำนาจประชาชนอย่างมาก มีการแต่งตั้งองค์กรขึ้นมากมาย /ต้องรื้อประเด็นที่ในอดีตเกิดปัญหามาแล้ว และต้องรื้อเรื่องที่อาจเป็นชนวนที่จะนำประเทศไปสู่วิกฤติอีก
----------------------------
วิษณุ เผย ประชามติ หากผ่าน สปช. ทำได้เลย 6 มิ.ย. เตรียมชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ เพียงคนเดียว คาดใช้เวลา 3 ช.ม.

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยถึงการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อนำไปสู่การทำประชามติ ว่า ได้มีการพูดคุยกันได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังมีบางอย่างติดอยู่ต้องถามคณะ

รักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ว่าคิดอย่างไร เพราะเดิมที คสช.ไม่ได้คิดอะไรให้ไปดำเนินการกันมา ซึ่งหลัก ๆ แล้วคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ เพื่อนำไปสู่การทำประชามติ และบัดนี้ดูจะยุติ

แล้วว่าจะทำประชามติแบบต้องทำ ไม่ใช่เลือก เนื่องจากก่อนหน้านี้ จะมีการตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ แต่วันนี้คณะรัฐมนตรีให้สัญญาณชัดเจนแล้ว ซึ่งถ้าผ่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.

ก็ให้ไปสู่การทำประชามติได้เลย

ทั้งนี้ นายวิษณุ ยังระบุว่า ส่วนข้อเสนอของรัฐบาลที่เสนอไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเชื่อว่าคณะกรรมาธิการฯ จะดำเนินการแก้ไข แต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ ตนจะไปชี้

แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ อย่างละเอียดเพียงคนเดียว โดยเชื่อว่าระยะเวลา 3 ช.ม.เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ภาระหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ จะหมดเมื่อไหร่นั้น หากประชามติผ่านยังต้องอยู่เพื่อทำ

กฎหมายลูก ซึ่งมีการเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลว่าคณะกรรมาธิการฯ จะต้องอยู่จนถึงวันเลือกตั้งและเปิดสภาวันแรก แต่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช. ก็จะต้องหมดหน้าที่ในวันนั้นเลย
---------------------------------
สุริยะใส หวัง รธน.นี้จะแก้ปัญหาที่สั่งสมมานานได้ ชมมุ่งเน้นพลเมืองเป็นใหญ่

นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตรกรรมสังคมและผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิตกล่าวในการสัมมนา "วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ในมุมมองด้านวิชาการและการ

เมือง" ว่าการเอาปัญหาที่เกิดขึ้นไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญจำนวนมาก คาดหวังว่ารัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ จะเป็นยาวิเศษ มาแก้ปัญหาที่สั่งสมมานาน หากดูให้ดีจะเห็นว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐ

ธรรมนูญ

ทั้งนี้ นายสุริยะใส ยังกล่าวว่า ระบบคิดของราชการมีปัญหา จึงทำให้ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ ไม่ควรนำ

ทุกเรื่องไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังเห็นว่า รัฐธรรมนูญนี้ได้มุ่งเน้นให้พลเมืองเป็นใหญ่นั้น เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ต้องดูให้ดีว่าจะเกิด

ปัญหาอะไรขึ้นมาบ้าง
------------------------
นายกฯ พร้อมแก้รัฐธรรมนูญ ทำประชามติ ยึดตามขั้นตอน ยันคนผิดต้องเข้ากระบวนการ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ว่า เมื่อ

วานนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่ได้มีมติให้ดำเนินการทำประชามติ ซึ่งเรื่องการทำประชามติ หากเป็นความต้องการของประชาชน ก็จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว อย่างไรก็ตาม

ต้องดำเนินการตามขั้นตอนโดยต้องดูว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. จะผ่านร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนการประชุมแม่น้ำ 3 สาย ในวันพรุ่งนี้ ทางคณะรัฐมนตรี จะชี้แจงในงาน 5 กลุ่มหลักที่

กำลังดำเนินการ

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเรื่องการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ได้เริ่มทำในสมัยนี้ ซึ่งการปฏิรูปตำรวจให้สามารถทำงานได้ก่อน ให้ดำเนินคดีและนำบุคคลเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้ โดย

ไม่ได้รังแกใครและเป็นไปตามหลักฐาน และให้โอกาสสู้คดี ซึ่งยังมีวันพ้นความผิด ไม่ใช่ไม่สู้คดีแล้วบอกว่าตนเองถูกต้อง
-------------------------
"ประสาร" แจงหารือในกลุ่มเห็นตรงกันเพิ่มมาตราใหม่ใน รธน. เชื่อ กมธ.ยกร่างฯ แก้ตามเหมาะสม หนุนเจตนารมณ์ 4 ประการ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะผู้เสนอคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่ 4 พร้อมคณะกล่าวก่อนเข้าชี้แจงเพิ่มเติมคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ว่า จากการหารือ

ในกลุ่มเห็นตรงกัน ที่จะเสนอเพิ่มมาตราใหม่ในรัฐธรรมนูญในประเด็นหลัก อาทิ ให้บัญญัติปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรของปวงชนชาวไทย และให้บริษัทพลังงานแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารจัดการ
พลเมืองสามารถใช้สิทธิ์ทางศาล ฟ้องร้อง เพื่อติดตามสมบัติของชาติคืนได้ ให้จัดตั้งศาลคดีทุจริต เป็นศาลชำนัญพิเศษ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นองค์อิสระ

ตามรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ยังเสนอให้เพิ่มเติมประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ อาทิ ให้พลเมืองไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน เข้าชื่อเสนอวุฒิสภาให้รัฐบาลทำประชามติในเรื่องประโยชน์สาธารณะ ให้

ประชาชนเลือกตั้ง ส.ว. ได้โดยตรง พร้อมกันนี้ ให้พลเมืองมีสิทธิชุมนุนโดยสงบและปราศจากอาวุธ

อย่างไรตาม เชื่อว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการปรับแก้ไขตามความเหมาะสม พร้อมสนับสนุนเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญ 4 ประการ คือ พลเมืองเป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาด

และสมดุล หนุนสังคมที่เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข
----------------
บวรศักดิ์ บอกอาจทบทวนตัดกลุ่มการเมืองออก ยืนยันยังไม่ปรับแก้ ขอฟังทุกกลุ่ม ขณะอาจเลื่อนเก็บตัวหัวหิน

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การรับฟังคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญต้องรอให้ครบทุกคำขอ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการปรับแก้ไขและพิจารณาปรับลด

จำนวนมาตราลงตามที่หลายฝ่ายเสนอแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีคำขอใดกระทบกับโครงสร้างรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อเสนอที่ให้ตัดกลุ่มการเมืองออกนั้น อาจมีการทบทวนกันอีกครั้ง แต่หากตัดออกก็ต้อง

แลกกับการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น ขณะการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกัน มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

นอกจากนี้ นายบวรศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า อาจเลื่อนการประชุมนอกสถานที่ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากวันที่ 22 มิถุนายน ถึง วันที่ 3 กรกฎาคม เป็นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมแทน เนื่องจากต้อง

รอคณะรัฐมนตรีว่าจะขยายเวลาไปอีก 30 วันหรือไม่
--------------
ผู้ขอแก้ไขชี้แจงกลุ่ม 3 เสนอให้ตัดกลุ่มการเมืองออกเห็นชอบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ออกเสียงประชามติเขียนให้ชัดเจนใน รธน.

นายปกรณ์ ปรียากร พร้อมด้วย พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการรับฟังการเข้าชี้แจงเพิ่มเติมในคำขอแก้เพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มที่ 3 และ

กลุ่มที่ 4 โดยวันนี้ เป็นวันที่ 2 ของการรับฟังคำชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มของ นายมนูญ ศิริวรรณ ที่เสนอให้ตัดคำว่ากลุ่มการเมืองออกไป เห็นด้วยกับระบบเลือกตั้งแบบสัด

ส่วนผสม แต่ไม่เห็นด้วยกับระบบโอเพ่นลิสต์ ส่วนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ลงรับสมัครเลือกตั้ง ต้องเปิดเผยการเสียภาษีย้อนหลัง 3  ปี ขอเพิ่มให้เป็น 5 ปี และขอแก้ไขจำนวนสมาชิกวุฒิสภา จาก 200

คน เหลือ 150 คน โดยให้มาจากการเลือกตั้ง 77 คน และมาจากการสรรหา 73 คน ให้การลงมติแบบไม่ไว้วางใจเป็นการกระทำแบบลับ นอกจากนี้ ยังขอให้ตัดข้อความ ว่า พลเมืองมีส่วนร่วมใน

กระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ตัดสภาตรวจสอบพลเมืองออกไป

ทั้งนี้ เห็นด้วยกับควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน และขอตัดข้อความในมาตรา 308 (1), (2) ออก โดยให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง 2 ปี และให้มีการออก

เสียงประชามติโดยการเขียนให้ชัดเจนลงไปในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรแก้ไขในหมวดการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง
----------------------
ผู้ชี้แจงคำขอแก้ไขกลุ่ม 4 เสนอเพิ่มเติมสิทธิพลเมือง หนุน ปชช.มีส่วนร่วมทางการเมือง ส.ว. ต้องมาจากกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย

นายปกรณ์ ปรียากร พร้อมด้วย พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการรับฟังการเข้าชี้แจงเพิ่มเติมในคำขอแก้เพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มที่ 4 โดยมี

นายประสาร มฤคพิทักษ์ พร้อมคณะ เข้าชี้แจง ได้มีการขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของสิทธิพลเมือง สิทธิชุมนุน สิทธิสตรี สิทธิผู้บริโภค และสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน รวมถึงการตั้งกอง

ทุนหนุนชาวบ้านปลอดคอร์รัปชั่น สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง และเน้นการปฏิรูปประเทศ ตลอดจนขอแก้ไขในมาตรา 121 ให้ประชาชนเลือก ส.ว. ได้โดยตรง และ ส.ว.ต้องมา

จากกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีเขตเลือกตั้งตามโซนจังหวัดต่างๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถเลือกจากผู้สมัครทุกสายอาชีพ สายอาชีพละหนึ่งคน

อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะรวบรวมทุกประเด็น เพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
///////////////
นัดถกแม่น้ำสามสาย

"สุรชัย" เผย สัมมนาร่วม ครม. - สปช. - สนช. วันพรุ่งนี้ ให้สื่อเข้าร่วมฟัง ยันไม่มีเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ระบุว่า การสัมมนาร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี  สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สนช. ในวันพรุ่งนี้ โดย นายกรัฐมนตรี

พร้อมคณะรัฐมนตรี จะเดินทางมาแถลงผลงานรอบ 1 ปี ของรัฐบาลด้วยตัวเอง และในช่วงต่อไปจะทำอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันทำเพื่อประเทศ

ทั้งนี้ อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง พร้อมจะมีการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันด้วย ส่วนเรื่องการกำหนดกรอบเวลาในการซักถาม จะใช้วิธีการคำนวณจากจำนวนสมาชิกทั้งหมด และนายก

รัฐมนตรี จะใช้เวลาแถลง 30 นาที เป็นรูปแบบการสัมมนาไม่ใช่อภิปราย พร้อมยืนยันว่า จะไม่มีการหารือเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเปิดโอกาสให้กรรมาธิการยกร่าง ได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ

นอกจากนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวถึงเรื่องที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีท่าทีจะไม่แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในบางประเด็นนั้น กล่าวว่า จะต้องดูเหตุผลของผู้ขอแก้ไข และผู้ร่าง ทั้งนี้ เชื่อว่า

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะปรับปรุงเพื่อให้ทุกคนยอมรับ

อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย ระบุว่า ทางคณะรัฐมนตรี ยังไม่ได้ส่งเรื่องการแก้ไขรัฐธรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อทำประชามติและยืดเวลาการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ จาก 60 วัน เป็น 90 วัน มา

ยัง สนช. หากส่งมาถึงจะสามารถพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 15 วัน
----------------------------
"อลงกรณ์" แจงประชุมแม่น้ำ 3 สาย พรุ่งนี้ เปิดโอกาสให้ทราบนโยบายของทั้ง 3 ฝ่าย - "สุวพันธุ์" บอกจัดประชุมแม่น้ำ 5 สาย 17 มิ.ย. รอยืนยันจากนายกฯ

นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. กล่าวถึงผลการประชุมของ วิป สปช. ว่า ในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมร่วมกันของแม่น้ำ 3 สาย

ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สนช. เพื่อรับฟังการดำเนินงานตลอดเวลาที่ผ่านมาของรัฐบาล ซึ่งการจัดประชุมร่วมกันนี้ ถือเป็นการจัดครั้งแรก เพื่อให้ สนช. และ

สปช. ได้รับทราบผลการทำงานของรัฐบาล รวมถึงจะเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นของทั้ง 3 ฝ่าย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการร่วมกัน และยังจะเป็นการเปิดโอกาสให้ได้รับทราบ

แนวทางนโยบายการทำงานของทั้ง 3 ฝ่ายด้วย

ขณะที่ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะมีการจัดการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ในวันที่ 17 มิถุนายน ที่สโมสรทหารบกวิภาวดี ทั้งนี้ ต้องรอการยืน

ยันจากนายกรัฐมนตรี
//////////////
ถกปรองดอง

การหารือแนวทางสำหรับเดินหน้าปฏิรูปประเทศยังอยู่ระหว่างการประชุม คาดทำความเข้าใจกรณีถอดพาสปอร์ต "ทักษิณ"

บรรยากาศการประชุมแนวทางสำหรับเดินหน้าปฏิรูปประเทศระหว่างศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) และตัวแทนประชาชน ครั้งที่ 2 ล่าสุดยังคงอยู่ในระหว่างการประชุมที่จัดขึ้น

เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของปัญหา และข้อเสนอแนะจากทุกกลุ่ม พร้อมทั้งร่วมพิจารณาหาทางออกในการลดความขัดแย้ง และขจัดเงื่อนไขที่จะสร้างความแตกแยกในสังคมไทย

ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การหารือครั้งนี้ คาดว่าจะมีการทำความเข้าใจถึงการยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการเชิญทั้ง นายนพดล ปัทมะ และ นายสุรพงษ์

โตวิจักษณ์ชัยกุล มาพูดคุย ซึ่งทั้ง 2 คนเคยอนุมัติหนังสือเดินทางให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนหน้านี้
----------------------
นพดล แจงหารือร่วม ศปป. เป็นเรื่องอนาคต ยันไม่พูดถึงทักษิณและความเคลื่อนไหว

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเข้าหารือร่วมกับศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปประเทศ หรือ ศปป. ว่า ที่ประชุมมี

การหารือหลายเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องอนาคตของประเทศ อาทิ การปฏิรูปการศึกษา สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักการทั่วไปในการหาทางออกของประเทศ ซึ่งตนเห็นถึง

เจตนาที่ดีของ ศปป. ซึ่งผู้เข้าร่วมการหารือแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน เชื่อว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทย

ทั้งนี้ นายนพดล ยืนยันว่า การพูดคุยไม่มีการพูดถึงความขัดแย้งและการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือกรณีส่วนบุคคล รวมถึงกรณีการถอนหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และไม่มีการส่ง

จดหมายน้อยให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่อย่างใด
-------------------------
จตุพร บอก หากไม่แก้ปัญหาแต่ละประเด็นจะนำประเทศไปสู่ความเสียหาย อยากให้ประเทศสงบ ต้องเขียน รธน. ให้เป็นประชาธิปไตย

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวภายหลังเข้าหารือกับ ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปประเทศ หรือ ศปป. ว่า ตนได้

เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่หากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่แก้ไขปัญหาในแต่ละประเด็น จะทำให้ประเทศกลับสู่ปัญหาเดิม แต่ความเสียหายมากขึ้นและการทำ

ประชามติจะเป็นเพียงการชะลอความหายนะที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ หากต้องการให้ประเทศสงบให้เขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่หากต้องการอยู่ในอำนาจ ให้บอกมาตรง ๆ ตนไม่ได้

กลัว เพียงเห็นว่า อำนาจเป็นของร้อน การอยู่ในอำนาจนาน ๆ จึงไม่เป็นผลดีต่อคนที่อยู่ในอำนาจ
-----------------------
จตุพร ขอ นายกฯ อย่าเห็นผู้มีความเห็นต่างเป็นศัตรู , ทบทวนปิด พีซ ทีวี  ไม่พูดถึงถอดยศทักษิณ

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวว่า ในที่ประชุมแนวทางสำหรับการปฏิรูปประเทศ ตนได้ฝากไปถึงนายกรัฐมนตรี อย่าเห็นผู้มี

ความเห็นต่างเป็นศัตรู เพราะการแก้ไขปัญหาของประเทศ ไม่ได้อยู่ที่สีใด หรือพวกใด แต่เป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องช่วยกัน  รวมไปถึง การปิดสถานีโทรทัศน์ พีซ ทีวี ที่อยากให้ทบทวนอีกครั้ง

เนื่องจากความแตกต่าง แต่ไม่ใช่การทำลายล้าง ไม่ใช่การเผชิญหน้า แต่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศโดยรวม ถ้ามองตรงกันอย่างเข้าใจ จึงอยากให้ นายกรัฐมนตรี พิจารณา

อย่างไรก็ตาม นายจตุพร ยังเปิดเผยว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดคุยถึงการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการขอความร่วมมืองดความเคลื่อนไหว เนื่องจากเป็นไปตามแนวทาง

ของ คสช. อยู่แล้ว

/////////////
ถอดถอน

รองประธาน สนช. เผย นัดประชุมนัดแรก เพื่อถอดถอนอดีต 248 ส.ส. 26 มิ.ย. นี้

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ขณะนี้ สนช. ได้นัดประชุมครั้งแรกเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดีการถอดถอนอดีต 248 ส.ส.

นัดแรก 26 มิถุนายน นี้ โดยเบื้องต้นได้แบ่งฐานความผิดไว้ 4 กลุ่ม แต่ยังไม่มีการลงรายละเอียด และจะแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบภายใน 15 วัน

ขณะเดียวกัน ในวันที่ 4 มิถุนายน นี้ จะมีการสัมมนาร่วม ระหว่าง สนช. สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. และคณะรัฐมนตรี เพื่อแถลงผลการดำเนินงานตลอดปีที่ผ่านมา โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย

ประธาน สนช. และ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. จะสลับกันทำหน้าที่เป็นประธานการสัมมนา เบื้องต้นกำหนดให้คณะรัฐมนตรี แถลงตั้งแต่ 13.00 - 16.00 น. โดย นายกรัฐมนตรี เป็นผู้

แถลงคนแรก ใช้เวลา 30 นาที และรองนายกรัฐมนตรี อีกคนละ 30 นาที จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ สนช. และ สปช. สอบถามข้อสงสัยแก่คณะรัฐมนตรีได้ และคาดว่าจะปิดการประชุมในเวลา 19.00

น. จะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐสภา
---------------------
ป.ป.ช. เร่งสรุป คดีถอดถอน "ยิ่งลักษณ์-สุรพงษ์" ปมพาสปอร์ตทักษิณ "ปานเทพ" ระบุ เบื้องต้น ยิ่งลักษณ์ ไม่เกี่ยวข้อง

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีขอถอดถอน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัย

กุล อดีต รมว.ต่างประเทศ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีออกหนังสือเดินทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมิชอบว่า กรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่กำลังเตรียม

ที่จะสรุป และรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาว่าจะแจ้งข้อกล่าวหรือไม่ ภายในเดือนมิ.ย.นี้

ทั้งนี้ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่รายงานว่า ในระดับเจ้าหน้าที่ ที่ไต่สวนได้สรุปว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่จะเป็นตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ส่วนปลัดกระทรวงที่ถูกกล่าวถึงจะเกี่ยว

ข้องอย่างไรหรือไม่ต้อง พิจารณาข้อมูลหลักฐานอย่างละเอียดอีกครั้งว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมหรือไม่
-------------------------
ป.ป.ช. เผยยิ่งลักษณ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีเยียวยาม็อบปี 48-53 9 มิ.ย.นี้ มอบวิชัยแจงสนช.ถอดถอนอดีต 248 ส.ส.

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะ

รัฐมนตรี รวม 34 คน จ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. 2548-2553 โดยมิชอบ ว่า กรณีดังกล่าวมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน เป็นองค์คณะไต่สวน และมี
นายวิชา มหาคุณ เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวน ล่าสุด ได้มีการส่งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาไปยังผู้ถูกกล่าวหาทุกคนแล้ว โดยให้มารับทราบข้อกล่าวหาและอาจให้ถ้อยคำเบื้องต้นได้ระหว่างวันที่

9-30 มิ.ย. ซึ่งเจ้าตัวอาจมาเองหรือส่งทนายความมารับทราบข้อกล่าวหาก็ได้ โดยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ประสานมาแล้วว่า จะเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 9 มิ.ย.นี้

นอกจากนี้ ประธาน ป.ป.ช. ยังกล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กำหนดวันแถลงเปิดสำนวนถอดถอนอดีต ส.ส.จำนวน 248 คน กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. มิชอบ ในวันที่ 26 มิ.ย.

ว่า รายชื่อที่ ป.ป.ช.ส่งไปยัง สนช. นั้นเป็นรายชื่อของ ส.ส. ที่ถูกชี้มูลทั้งหมด รวมถึง ส.ส.ที่เสียบบัตรแทนกัน เพื่อให้ สนช. พิจารณาถอดถอน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและเป็นเหมือนกับกรณีถอดถอน
อื่น ๆ โดยในการแถลงเปิดสำนวนต่อ สนช. นั้น ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้ทำหน้าที่
//////////////
ทักษิณ

"วีรชน"เผย ขั้นตอนชี้แจงต่างประเทศปมถอดพาสปอร์ต "ทักษิณ" เป็นไปตามขั้นตอน กต.ที่ดำเนินการเหมือนกันกับทุกคน

พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ เปิดเผยกับ INN ถึงขั้นตอนในการดำเนินการชี้แจงต่อต่างประเทศถึงการยกเลิกพาสปอร์ตของ พ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการที่กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการกับทุกคนเหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะกรณีของอดีตนายกรัฐมนตรีคนเดียว เพราะทุกคนที่มี

ลักษณะเช่นนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศ จะมีการแจ้งไปยังกงสุลและสถานทูตต่างๆ ของไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ให้มีการให้ข้อมูลไปกับประเทศที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมินสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยนั้น พล.ต.วีรชน กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องของกฎหมาย ซึ่งหากใครไม่เห็นด้วยหรือโต้แย้ง ก็จะถือว่า

เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และหากใครออกมาเคลื่อนไหวในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ทางรัฐบาลก็จะมีการดำเนินการ นอกจากนี้ พล.ต.วีรชน ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีนายทหารระดับชั้นนายพลมีความ

เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ว่า เรื่องนี้ทาง ผู้บัญชาการทหารบก ได้ให้ข่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า จะไม่มีการปกป้องผู้ที่มีความผิดโดยให้มีการสอบสวนดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรม หากพบว่ามี

ความผิดก็ว่าไปตามความผิด
-------------------
"พล.อ.ประวิตร" ย้ำถอดยศ "ทักษิณ" ยึดกฎหมาย ไม่คิดล้างแค้นใคร ไม่กังวลอดีตนายกฯ เคลื่อนไหวในต่างประเทศ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ

ตน ซึ่งเป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมปฏิเสธว่าไม่มีการเฝ้าดูว่าความเคลื่อนไหวกระบวนการใต้ดินในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ยืนยันว่าดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและพยายามจะ

สร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากที่สุด และไม่ได้คิดล้างแค้นใคร หรือกล่าวโทษใคร

อย่างไรก็ตาม ไม่กังวลกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาเคลื่อนไหวในต่างประเทศ โดยเฉพาะต่อการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นไปตามหลักการและโรดแมป ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำ ส่วนกรณีที่

หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ยอมปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด
////////////////////
ผบ.ทบ.คนใหม่

"พล.อ.ประวิตร" เผยตั้ง ผบ.ทบ.คนใหม่ตามขั้นตอน ยึดหลักอาวุโส ขณะบ่ายประชุมกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการตั้งผู้บัญชาทหารบกคนใหม่ว่า ไม่ใช่เรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ เพราะมีคณะ

กรรมการแต่งตั้ง ที่ยึดหลักอาวุโส ความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสม และไม่จำเป็นที่จะต้องมอบนโยบาย เพราะผู้บัญชาการทหารบกดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว ส่วนจะมาจากสายบูรพาพยัคฆ์หรือ

ไม่นั้นเป็นไปตามขั้นตอน

พล.อ.ประวิตร ยังเปิดเผยอีกว่า ในช่วงบ่ายจะเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะรายงานความ

คืบหน้าการดำเนินงาน โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ ส่วนการปลดล็อกการจัดอันดับเทียร์ 3 จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ และเห็นว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้

ขณะที่สหรัฐอเมริกามีท่าทีที่พอใจในการแก้ไขปัญหาของไทย
////////////////////
นายกฯ สั่งเลื่อนถ่ายทอดคืนความสุขฯ 5 มิ.ย. เป็น 17.00 น. ให้คนไทยร่วมชมถ่ายทอดสดพิธีเปิดมหกรรมกีฬาซีเกมส์ แนะนักกีฬาทำเต็มที่และรักษาน้ำใจนักกีฬา

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีคำสั่งให้เลื่อนช่วง

เวลาการออกอากาศรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ประจำวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน เป็นเวลา 17.00 น. แทนช่วงเวลาเดิมคือ 20.30 น. เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมชมการถ่ายทอดสด พิธีเปิดมหกรรมการ

แข่งขันกีฬาซีเกมส์ จากประเทศสิงคโปร์ ในช่วงเวลา 18.30-22.00 น. และร่วมกันส่งใจไปเชียร์กองทัพนักกีฬาไทยในการแข่งขันครั้งนี้

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ฝากถึงกองทัพนักกีฬาไทยว่า ทุกคนถือเป็นตัวแทนประเทศไทยในการไปร่วมมหกรรมกีฬาในระดับภูมิภาค ขอให้แสดงศักยภาพ ความสามารถอย่างเต็มที่ตามที่ได้มุ่งมั่นฝึก

ซ้อมมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการแสดงออกซึ่งความมีน้ำใจนักกีฬา ความยึดมั่นเคารพในระเบียบกติกา และวินัยของนักกีฬาไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาชาติ โดยนายก

รัฐมนตรี ขอให้นักกีฬาและทีมงานทุกคน ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ และนำความภาคภูมิใจกลับมาสู่คนไทยและประเทศไทย

ายชื่อ 29 ผู้ต้องหา ‘คดี 112’ ในต่างแดน ‘แบล็คลิสต์’รัฐบาล-คสช

รายชื่อ 29 ผู้ต้องหา ‘คดี 112’ ในต่างแดน ‘แบล็คลิสต์’รัฐบาล-คสช.

เขียนวันที่
วันพุธ ที่ 03 มิถุนายน 2558 เวลา 15:43 น.
เขียนโดย
ทีมข่าวการเมืองพิเศษ
เปิดรายชื่อ 29 “ผู้ต้องหา” คดี 112 ในต่างแดน ถูกขึ้นบัญชีดำล่าตัวของรัฐบาล-คสช. ครบ “ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เอนก ซานฟราน ปวิณ จรัล ตั้ง อาซีวะ สุดา โกตี๋ ” สเปนยังมี - ประเทศเพื่อนบ้านอื้อ 17 คน
PIC mdfdf 3 6 58 1
เริ่มมีความเคลื่อนไหวการดำเนินคดีกับ “ผู้ต้องหา” คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งในประเทศ-นอกประเทศ โดย “พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นั่งหัวโต๊ะประชุมสั่งเร่งให้ “หน่วยงานความมั่นคง” เดินหน้านำตัว “ผู้ต้องหา” มาดำเนินคดีให้ได้
เบื้องต้น “สุวณา สุวรรณจูฑะ” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รายงานว่าได้จัดทำรายชื่อบุคคลเฝ้าระวังในคดีมาตรา 112 ไว้ 3 กลุ่ม 
1.คนอยู่ต่างประเทศที่ถูกออกหมายจับ 
2.คนที่อยู่ในประเทศซึ่งเป็นกลุ่มเฝ้าระวัง 
3.บุคคลที่กำลังติดตามพฤติกรรม 
ทว่า “บิ๊กต๊อก” ให้ความสำคัญกับการตามตัว “ผู้ต้องหา” ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศมากที่สุด เพราะถือเป็นภัยความมั่นคงที่รัฐบาลต้องจับตา จึงสั่งการให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวรวบรวมข้อมูลส่งต่อให้ “กระทรวงการต่างประเทศ” ดำเนินการประสานงานทางการทูตกับประเทศที่ “ผู้ต้องหา” ใช้เป็นพื้นที่หลบหนี โดยกำชับให้รวบรวมข้อมูลให้เน้นที่สุด เพื่อไม่ให้เสียเวลา
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำข้อมูล “ผู้ต้องหา” คดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 พร้อมประเทศที่ใช้หลบหนีจาก “หน่วยงานความมั่นคง” ที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวของ “ผู้ต้องหา” คดีดังกล่าวมาเปิดเผย โดยมีรายชื่อชงเข้าสู่ที่ประชุมว่า ขณะนี้มีผู้กระทำผิดตามคดีความมั่นคง มาตรา 112 ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศ จำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในการกล่าวพาดพิงสถาบันฯ และวิจารณ์สถาบันฯผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีรายชื่อดังนี้
สหรัฐอเมริกา : 5 ราย ประกอบด้วย 
1.นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน 2.นายเสน่ห์ ถิ่นแสน หรือเพียงดิน 3.นายมนูญ ชัยชนะ หรือเอนก ซานฟราน 4.นายริชาร์ด สายสมร 5.นายจุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์ หรือโจ กอร์ดอน 
ออสเตรเลีย : 1 ราย คือนายองอาจ ธนกมลนันท์
ญี่ปุ่น : 1 ราย คือนายปวิณ ชัชวาลพงศ์พันธ์
ฝรั่งเศส : 1 ราย คือนายจรัล ดิษฐาภิชัย
นิวซีแลนด์ : 1 ราย คือนายเอกภาพ เหลือรา หรือตั้ง อาซีวะ 
สเปน : 1 ราย คือนายอิมิลิเอ เอสเทแบบ
ฟินแลนด์ : 1 ราย คือนางจรรยา ยิ้มประเสริฐ 
แคนาดา : 1 ราย คือพ.ต.อ.หญิง ณหทัย ตัญญะ 
กัมพูชา : 3 ราย ประกอบด้วย 1.นายพิษณุ พรหมศร 2.นายจักรภพ เพ็ญแข 3.นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 
สปป. ลาว : 14 ราย ประกอบด้วย 
1.นายศรัญ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ (พยายามขอลี้ภัยไปยังประเทศฝรั่งเศส) 2.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสร หรือสุรชัย แซ่ด่าน 3.นายอิทธิพล สุขแป้น หรือดีเจเบียร์ 4.นายวัฒน์ วรรลยางกูร 5.พุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ 6.นายชูชีพ ชีวสุทธิ์ หรือชีพ ชูชัย 7.นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล 8.นายพิพัฒน์ พรรณสุวรรณ 9.นายนิธิวัต วรรณศิริ 10นายธกฤ โยนกนาคพันธุ์ 11นายชัยอนันต์ ไผ่สีทอง 12.นายไตรรงค์ สินสืบวงศ์ 13.นางสุดา รังกุพันธ์ หรืออาจารย์หวาน 14.นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ 
ทั้งหมดเป็น“ผู้ต้องหา” ถึงที่สุดก็ต้องสู้ข้อเท็จจริงกันต่อไป

ประยุทธ์แย้ม สปช.- กมธ.ยกร่างฯ ไม่ต้องกลัว ตกงานหากร่าง รธน.ไม่ผ่านปัดสั่ง ล็อกหวยเลข 1881


เวลา 13.10 น. วันที่ 3 มิ.ย. ที่กระทรวงการคลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 เพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติว่า ไม่ใช่ว่าตนมีมติให้ทำประชามติ แต่เป็นเรื่องที่ตนบอกถ้าเขาจะต้องทำประชามติก็ให้เขาทำได้ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ตนไม่ได้มีมติอะไรให้เขา ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนที่ต้องการทำประชามติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมก็ทำไปสิ หน้าที่ตนคือ ครม.เห็นชอบไหมเล่าถ้าเขาจะทำประชามติ โดยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องไปผ่านเส้นทางขึ้นมา ไปสู่คสช.เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าใจระบบการทำงานแบบนี้นะ ไม่ใช่มีมติให้เขาทำหรือไม่ให้ทำ ไม่ใช่ อยากทำก็ทำ ตนก็แก้รัฐธรรมนูญให้ ท่านอยากจะทำก็ทำมา ตนก็แก้รัฐธรรมนูญ จะทำอะไรก็ต้องรัฐธรรมนูญทั้งนั้น วันนี้ตนอยู่ได้เพราะรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ด้วยอำนาจ

เมื่อถามว่า ต้องให้สปช.พิจารณารับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขั้นตอนต้องเป็นอย่างนั้น 1.สปช.รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าไม่รับร่างก็ต้องแก้ไข เดิมให้เขาร่างใหม่ได้อยู่แล้ว เดิมต้องตั้งสปช.และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ต้องมาดูว่า ถ้าจะให้สปช.อยู่ต่อต้องแก้รัฐธรรมนูญไหม และใครจะมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องแก้รัฐธรรมนูญไหม ถ้าไม่แก้ใช้กฎหมายเดิมได้ไหม นั้นแหละต้องไปคิดมา ตนก็มีหน้าที่แก้รัฐธรรมนูญให้เขา ฉะนั้นทั้งสปช.สนช.และกมธ.ยกร่างฯก็ไม่ต้องกังวลว่า ถ้าไม่ผ่านแล้วจะไม่มีงานทำ เดี๋ยวมันหาทำกันจนได้แหละ ทุกคนก็มีความหวังดี แต่ข้างหนึ่งก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น อีกข้างอยากกลับไปที่เดิม จะได้มีอำนาจมากมายที่จะทำอะไร ทั้งดีและไม่ดีได้ มันก็เป็นสองข้างอยู่แบบนี้ตลอด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.เปลี่ยนจาการใชรถเบนซ์ส่วนตัว ทะเบียน ญค 1881 กรุงเทพมหานคร มาใช้รถตู้โฟล์คสีดำกันกระสุน ทะเบียน ฮภ2924 กรุงเทพ ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(สลน.)เนื่องจากรถเบนซ์ส่งซ่อม และสร้างความฮือฮาเมื่อผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 2 มิ.ย.58 รางวัลที่ 1 ออกหมายเลข 388881 ซึ่งปรากฎว่าเลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 ไปตรงกับเลขทะเบียนรถเบนซ์ 1881 นั้น โดยเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่กระทรวงการคลัง ผู้สื่อข่าวสอบถามนายกฯถึงกรณีที่เลขท้าย 3 ตัวรางวัลที่ 1 ไปตรงกับทะเบียนรถเบนซ์นายกฯที่ส่งซ่อม โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆว่า ผมสั่งไม่ได้ และไม่ได้สั่ง พวกคุณไปซื้อกันเอง

ชัด ๆ ความเห็น ครม.ปมที่มา ส.ส.-ส.ว.-รมต. ไม่แตะ"นายกฯคนนอก"

ชัด ๆ ความเห็น ครม.ปมที่มา ส.ส.-ส.ว.-รมต. ไม่แตะ"นายกฯคนนอก"

เขียนวันที่
วันพุธ ที่ 03 มิถุนายน 2558 เวลา 11:36 น.
เขียนโดย
isranews
หมวดหมู่
เปิดความเห็นคณะรัฐมนตรี ปมทบทวนที่ ส.ส. แบบโอเพ่นลิสต์ ตัดทิ้ง กก.กลั่นกรอง ส.ว.เลือกตั้ง ไม่เอา รมต. แสดงภาษีย้อนหลังต่อ ปธ.วุฒิสภา ตัดทิ้ง ม.181-182 ไม่แตะที่มา “นายกฯคนนอก”
PIC difdieeii 3 6 58 1
ในห้วงสัปดาห์นี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเชิญสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรัฐมนตรี เข้ามาชี้แจง และอธิบายถึงเหตุผลในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “เรือแป๊ะ” 
และอย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต่างถูก สปช. และคณะรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและแก้ไขในหลายมาตรา 
โดยเฉพาะประเด็นที่มาของ ส.ส.-ส.ว.-กลุ่มการเมือง ที่ไม่ใช่แค่ สปช. และคณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่บรรดาพรรคการเมือง ต่างเรียกร้องให้แก้ไข-ทบทวนกันล้นหลาม !
ขณะเดียวกัน สปช. บางส่วนได้ยื่นญัตติขอให้แก้ที่มานายกรัฐมนตรี ยืนยัน “ไม่เอานายกฯคนนอก” อีกด้วย
ซึ่งต่างกันกับความเห็นของคณะรัฐมนตรี ที่ไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้เลย ?
แต่กลับมีความเห็นในประเด็นการ “ตรวจสอบ” รัฐมนตรีแทน 
เพื่อขยายความให้ชัดขึ้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำความเห็นคณะรัฐมนตรีในประเด็น ส.ส.-ส.ว. และนายกฯ มานำเสนอ ดังนี้
ประเด็นที่มา ส.ส. 
กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้เลือกตั้ง ส.ส. แบบ “โอเพ่นลิสต์” 
คณะรัฐมนตรี เห็นว่า การกำหนดให้มี ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (250 คน) และแบบบัญชีรายชื่อ (200-220 คน) ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน และให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบภาค (6 ภาค) ทำให้ ส.ส. สองประเภทนี้ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะใช้พื้นที่เป็นหลักเหมือนกันทำให้กลายเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตจังหวัดและแบบแบ่งภาค 
ยิ่งการที่มาตรา 112 กำหนดให้การส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อในภาคใดต้องส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในภาคนั้นไม่น้อยกว่าผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อด้วย และมาตรา 105 เปิดโอกาสให้ระบุว่าต้องการให้ผู้ใดที่มีชื่อในบัญชีนั้นหนึ่งคนได้รับเลือกเป็น ส.ส. ก็เท่ากับว่าผู้สมัครแบบัญชีรายชื่อต้องหาเสียงในจังหวัดและในภาคเหมือนผู้สมัครแบบแบ่งเขตนั่นเอง 
ระบบบัญชีรายชื่อได้ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2540 แล้ว ประชาชนมีความคุ้นเคยกับระบบนี้และมีความเข้าใจว่าการที่กำหนดให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนน้อยกว่าแบบแบ่งเขต และใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยมีบัชีเดียวก็เพื่อให้พรรคการเมืองสามารถเลือกสรรบุคคลจากบัญชีรายชื่อไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเมื่อต้องพ้นจากความเป็น ส.ส. ก็ยังสามารถเลื่อนผู้อยู่ในลำดับถัดมาขึ้นไปเป็น ส.ส. แทนได้โดยไม่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประชาชนเข้าใจว่า ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อจะไปทำหน้าที่รัฐบาล ส่วน ส.ส. แบบแบ่งเขตจะไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ 
คณะกรรมาธิการฯ จึงควรทบทวนหลักคิดในเรื่องนี้ว่า เจตนารมณ์ของการมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อตามร่างรัฐธรรมนูญนี้ประสงค์อย่างไร และควรใช้ระบบเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเหมาะสมกว่าหรือไม่ ส่วนวิธีคิดคะแนนจะใช้วิธีคำนวณแบบใดเป็นอีกรณีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่แล้ว
ประเด็น กลุ่มการเมือง
กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้กลุ่มการเมืองสมัครรับเลือกตั้งได้
คณะรัฐมนตรี เห็นว่า การให้มีกลุ่มการเมืองและให้มีฐานะอย่างเดียวกับพรรคการเมืองน่าจะได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสีย ในทางตรงกันข้าม การเมืองอาจสับสนอลหม่านมากขึ้น พรรคการเมืองอาจตั้งกลุ่มการเมืองเป็นตัวแทน (Nominee) เหมือนมุ้งเล็กที่แยกออกมาจากมุ้งใหญ่
ถ้าจะกำหนดให้ผู้สมัครไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง (สมัครอิสระ) ก็ยังพอจะสะท้อนหลักการความเป็นอิสระและพอเข้าใจได้ แต่เมื่อไม่ให้สมัครอิสระเสียแล้ว กลุ่มการเมืองก็ไม่ต่างจากพรรคการเมืองนั่นเอง 
ประเด็นที่มา ส.ว.
กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้ในส่วนของ ส.ว. เลือกตั้งแต่ละจังหวัด มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครที่เกิน 10 คน ให้เหลือไม่เกิน 10 คน หลังจากนั้นจึงค่อยเลือกตั้ง
คณะรัฐมนตรี เห็นว่า การให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครเป็น ส.ว. ในจังหวัดจำนวน 10 คน เพื่อคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ให้เหลือจังหวัดละไม่เกิน 10 8น ในทางปฏิบัติจังหวัดที่มีผู้สมัครเกิน 10 คน มีไม่มากนัก กระบวนการอาจยืดยาวโดยไมจำเป็น เมื่อจะให้มีการเลือกตั้งอยู่แล้วควรให้ผู้สมัครทุกคนไปสู่การเลือกตั้งโดยตรง จึงควรแก้ไขในส่วนนี้
ประเด็น รัฐมนตรี
กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้ก่อนนายกรัฐมนตรีจะนำชื่อรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องส่งให้ประธานวุฒิสภาแต่งตั้ง กมธ. ขึ้นมาตรวจสอบความประพฤติก่อน
คณะรัฐมนตรี ได้ตัดมาตราดังกล่าวทิ้ง โดยให้เหตุผลว่า การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องส่งรายชื่อรัฐมนตรีให้วุฒิสภาตรวจสอบตามมาตรา 130 วรรคสอง โดยไม่ให้มีมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เรื่องนี้จะทำให้กระบวนการแต่งตั้งรัฐมนตรีหรือปรับคณะรัฐมนตรีล่าช้า และไม่เป็นความลับ ซึ่งจะเป็นปัญหาทางการเมืองในสังคมไทยได้ ยิ่งถ้าอยู่ระหว่างนอกสมัยประชุม แม้จะดำเนินการได้แต่ก็จะล่าช้าออกไป
และถ้าวุฒิสภาตรวจสอบพบว่า รัฐมนตรีคนใดมีความไม่เหมาะสม แต่นายกรัฐมนตรียังคงยืนยันจะแต่งตั้งต่อไป ก็เท่ากับเป็นการผลักภาระให้พระมหากษัตริย์ไม่ว่าจะทรงแต่งตั้งตามที่เสนอหรือไม่ก็ตาม
กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้แสดงสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ย้อนหลัง 3 ปี ต่อประธานวุฒิสภา 
คณะรัฐมนตรี ได้ตัดทิ้งข้อความนี้ โดยให้เหตุผลว่า การกำหนดให้รัฐมนตรีต้องแสดงสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ย้อนหลัง 3 ปีต่อประธานวุฒิสภา มีปัญหาว่าแสดงเพื่ออะไร ประธานวุฒิสภาจะทำอย่างไรต่อไป เปิดเผยได้หรือไม่ และเมื่อเสนอให้ตัดบทบัญญัติว่าด้วยการตรวจสอบของวุฒิสภาในมาตรา 174 ออกแล้ว ข้อความนี้จึงไม่จำเป็น เว้นแต่จะกำหนดให้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อวัตถุประสงค์อื่น
ขณะที่ประเด็นในส่วนของ “นายกรัฐมนตรี” นั้น
คณะรัฐมนตรี มีความเห็นให้ตัด มาตรา 181-182 ที่ว่า เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเปิดอภิปรายนายกฯ หรือนายกฯสามารถไม่มาตอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
ส่วนเรื่อง “ที่มานายกฯคนนอก” คณะรัฐมนตรีไม่ได้หยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างแต่อย่างใด ?
ทั้งหมดคือความเห็นแบบ “ชัด ๆ” ในส่วนมาตราสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “เรือแป๊ะ”
ส่วน “36 อรหันต์” จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด! 

ปตท. เตรียมร่วมมือกับกองสลากฯ ให้ผู้ค้ารายย่อยเข้ามาขายล็อตเตอรี่ในปั๊ม

ปตท. เตรียมร่วมมือกับกองสลากฯ ให้ผู้ค้ารายย่อยเข้ามาขายล็อตเตอรี่ในปั๊ม แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขห้ามเกิน 80 บาท
วันนี้ (2 มิ.ย. 58) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุ ปตท. จะลงนามข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเร็ว ๆ นี้ เพื่อเปิดให้ผู้ค้าสลากฯ รายย่อย เข้ามาขายสลากฯ ในปั๊มน้ำมัน ของ ปตท. ที่มีกว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ

ปตท.

ภายใต้เงื่อนไข ห้ามจำหน่ายสลากเกินราคาฉบับละ 80 บาท เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน และช่วยแก้ปัญหาสลากแพงได้ ขณะที่ ผู้ค้าสลากฯ จะได้ประโยชน์เพราะไม่ต้องจ่ายค่าเช่าที่ ลดความเสี่ยงจากการขโมยล็อตเตอรี่
ทั้งนี้ ปตท. ได้รับการติดต่อจากชมรมผู้ค้าสลากกลุ่มคนพิการ เพื่อขอใช้พื้นที่จำหน่ายสลากแล้ว โดยเบื้องต้นจะจัดพื้นที่ให้ในสถานีบริการหลัก ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ให้ผู้ค้ามีช่องทางจำหน่ายสลากได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การลงนามช่วยเหลือครั้งนี้ของปตท. นั้น ทางปตท. ไม่ได้รับผลตอบแทนด้านรายได้ แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสลากราคาแพง

กองสลากฯ ลั่นหวยงวด 16 มิ.ย. ต้อง 80 บาท ขายเกินปรับ 1 หมื่น

กองสลากฯ ลั่นหวยงวด 16 มิ.ย. ต้อง 80 บาท ขายเกินปรับ 1 หมื่น

กองสลากฯ ลั่นหวยงวด 16 มิ.ย. ต้อง 80 บาท ขายเกินปรับ 1 หมื่น




กองสลากฯ ลั่นหวยงวด 16 มิ.ย. ต้อง 80 บาท ขายเกินปรับ 1 หมื่น


            หวยงวด 16 มิ.ย. เป็นต้นไป ขายใบละ 80 บาท ผอ.กองสลากฯ ย้ำใครขายเกินราคา เจอโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่น พร้อมยกเลิกสัญญาคืนทันที 
            เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 พล.ต. ฉลองรัฐ นาคอาทิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ กล่าวว่า ตั้งแต่งวดวันที่ 16 มิถุนายน ที่จะเปิดจำหน่ายสลากฯ ในวันที่ 3 มิถุนายนเป็นต้นไปนั้น ราคาสลากฯ จะต้องขายราคาใบละ 80 บาทเท่านั้น โดยสำนักงานสลากฯ จะตั้งทีมเจ้าหน้าที่เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบตามแผงค้าต่าง ๆ หากพบว่าผู้ค้าสลากฯ ขายเกินราคาที่กำหนดไว้ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้ทันที โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากตรวจสอบว่าเป็นผู้แทนจำหน่ายของสำนักงานสลากฯ ก็จะถูกยกเลิกสัญญาทันที เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย 

            ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักงานสลากฯ ได้เรียกตัวแทนรายย่อย คนพิการ มูลนิธิ องค์กร นิติบุคคล เข้ามาทำสัญญา 48 ล้านฉบับ ตามมติคณะกรรมการที่ต่อสัญญาให้กับผู้ค้าสลากฯ เดิม ออกไปอีก 6 เดือน โดยจำนวนที่จะเข้ามาทำสัญญาอยู่ที่ 11,000 ราย อีกทั้งยังเชื่อว่าเมื่อถึงวันที่ 5 มิถุนายนนี้ ที่เป็นวันสุดท้ายในการรับสลากฯ ไปจำหน่าย จะเหลือจำนวนสลากฯ อยู่ไม่มาก ซึ่งจะสรุปตัวเลขก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

             ในส่วนการดูแลของต่างจังหวัด ได้ขอความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกพื้นที่ให้ดูแลและควบคุมราคาสลากฯ โดยเชื่อว่ามาตรการที่ประกาศใช้ไปนั้น ทั้งการปรับเพิ่มรายได้ให้ผู้ค้า จากเดิมที่ได้ส่วนลด 7% เป็น 12% และการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ผู้ค้าสามารถรับสลากฯ ตามภูมิลำเนาได้ จะช่วยให้ผู้ค้าขายสลากฯ ได้ตามที่ราคากำหนดไว้ พร้อมย้ำถึงผู้ค้าสลากฯ ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ต้องขายสลากฯ ด้วยตนเองเท่านั้น ห้ามขายต่อเป็นทอด ๆ เหมือนที่ผ่านมาเด็ดขาด 

            นอกจากนี้ ทางสำนักงานสลากฯ ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา กรณีงวดวันที่ 16 มิถุนายน ที่ผู้ค้ารายย่อยไม่มาทำสัญญารับไปจำหน่ายว่า เบื้องต้นทางสำนักงานสลากฯ จะนำส่วนที่เหลือมาขายเองหน้าสำนักงานสลากหรือจุดตรึงราคา รวมทั้งสลากฯ บางส่วนจะนำไปขายในโครงการธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ในราคา 80 บาทเช่นกัน

            อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมติของคณะกรรมการสลากฯ ที่ต้องการยกเลิกรางวัลแจคพอตที่จะเริ่มงวดวันที่ 1 สิงหาคมนี้ คาดว่าจะช่วยลดความร้อนแรงจากการรวมชุดสลากฯ ลง เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การรวมชุดสลากฯ จะทำให้ราคาสลากฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงานสลากฯ ได้ดำเนินการไปครบทุกด้านแล้ว รวมถึงทุกภาคส่วนต้องช่วยกันส่งเสริม แต่หากยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็จะมีมาตรการออกมาเพิ่มเติมต่อไป

“บวรศักดิ์” สั่งงด “นักข่าว” เกาะติดงานยกร่างรธน. อ้าง 4 เดือนที่ผ่านมาให้สิทธิเต็มที่แล้ว

ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีวาระมีรับฟังคำชี้แจงประกอบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ จากผู้เสนอและผู้รับรองคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่สอง ในลำดับของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ช่วงเช้าเป็นลำดับของกลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำโดย นายมนูญ ศิริวรรณ สปช. และช่วงบ่ายเป็นลำดับชี้แจงของกลุ่มสื่อมวลชนและการคุ้มครองผู้บริโภค ที่นำโดย นายประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. 

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่วาระการพิจารณา นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อที่ประชุมว่า เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการพิจารณา และการสอบถามของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงมีมติขอร้องผู้สื่อข่าวด้วย ที่ผ่านการได้มีการเปิดโอกาสเข้ามาในห้องประชุมเป็นเวลา 4 เดือนเศษก่อนหน้านี้ โดยหลังจากนี้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญอยากจะพูดเต็มที่ ขอให้ในห้องประชุมมีเฉพาะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญและเจ้าหน้าที่เท่านั้น จากนั้นได้กล่าวเชิญผู้สื่อข่าว และช่างภาพออกจากห้องประชุม 
รายงานข่าวจาก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งก่อนเข้าวาระรับฟังคำชี้แจง หารือในกรอบการทำงานและได้หารือถึงกติกาที่จะให้ผู้สื่อข่าวยกเว้นช่างภาพนิ่งและช่างภาพสถานีโทรทัศน์เข้าติดตามการพิจารณาการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของสปช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนายบวรศักดิ์ เป็นผู้ยกประเด็นให้ที่ประชุมหารือ และ มีกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้หารือและพิจารณาถึงผลดีและผลเสียต่อกรณีที่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าติดตามการประชุมในห้องประชุม โดยเสียงของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เห็นไปทางที่ไม่ควรให้ผู้สื่อข่าวเข้าติดตามการพิจารณาในห้องประชุมเหมือนช่วงที่ผ่านมา พร้อมยกเหตุผลประกอบ คือ 1.เพื่อความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญและลดความกดดัน , 2.บางประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปหรือตกผลึกร่วมกันอาจทำให้เกิดการพาดพิงถึงบุคคลภายนอกได้ และ 3.การประชุมที่ได้ข้อสรุปแล้วจะให้สิทธิโฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ทำให้นายบวรศักดิ์ กล่าวสรุปว่าจะงดให้ผู้สื่อข่าวเข้าติดตามการประชุมหลังจากนี้

พลิกปูม"บิ๊กกองทัพ"ลงจากหลังเสือ

พลิกปูม"บิ๊กกองทัพ"ลงจากหลังเสือ

วันที่ 03 มิถุนายน พ.ศ. 2558 


พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ขึ้นหลังเสื่อ: พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เมื่อวันที่ 20 ต.ค. พ.ศ.2520 โดยได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ลงหลังเสือ: พล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภาฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก


พล.อ.สุจินดา คราประยูร

ขึ้นหลังเสื่อ: พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี

ลงหลังเสือ: เกิดเหตุการณ์"พฤษภาทมิฬ" ขึ้นระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม-20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พล.อ.สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 



พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

ขึ้นหลังเสื่อ: พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งเดือนหน้า และอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 

ลงหลังเสือ: หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พล.อ.สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และพ้นจากตำแหน่งหลังประกาศใช้ รธน.ปี 2550


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 
ขึ้นหลังเสื่อ: พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในขณะนั้น และเป็นผู้นำประกาศกฎอัยการศึก จากนั้นทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ต่อมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงมติเห็นชอบเลือก พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย

ลงหลังเสือ: ?