PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สนช.แจงกม.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง

โปรดอ่านและช่วยแชร์ข้อความแถลงข่าวด้วยครับ
เพื่อป้องกันคนบางคนที่พยายามทำให้กฎหมายและประชาชนไขว้เขว ครับ
คำแถลงที่รัฐสภา เมื่อ 17 กรกฎาคม 2560
นายสมชาย แสวงการ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... แถลงว่า
​พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ปรากฏในอารัมภบท ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ต้องการให้มีกลไกป้องกันตรวจสอบและขจัดการทุจริต
และประพฤติมิชอบที่เข้มงวดเด็ดขาดและยังเป็นบทบัญญัติที่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ
ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดที่ว่าต้องให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและและรับผิดชอบต่อประชาชน ​
​โดยตัวอย่างของจุดเด่นหรือข้อดีของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เช่น
​๑. กำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้เป็นการเฉพาะให้มีความเหมาะสมตามลักษณะและประเภทของคดี
​๒. มีการใช้ระบบไต่สวน เพื่อให้ศาลทำหน้าที่ค้นหาความจริงของคดี อันจะเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย (รวมถึงจำเลย) ค้นหาและพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏต่อสังคมและประชาชน
​๓. กำหนดกระบวนการขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ในกรณีที่มีการพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่มีตัวจำเลย
​๔. กำหนดกระบวนการอุทธรณ์ เพื่อเป็นการประกันสิทธิให้แก่จำเลยในคดี ให้สามารถ
ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่ให้ความเป็นธรรมกับจำเลยมากกว่ากฎหมายเดิม เพราะไม่ได้ยึดโยงกับหลักที่ว่าต้องมีพยานหลักฐานใหม่ แต่ให้เป็นสิทธิของคู่ความที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาขององค์คณะในชั้นต้นได้ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดองค์คณะที่ทำหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ให้กระทำโดยผู้พิพากษาที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน ทำให้คู่ความมีหลักประกันว่าองค์คณะที่พิจารณาอุทธรณ์เป็น
คนละองค์คณะที่พิจารณาคดีในชั้นต้น เพียงแต่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์เท่านั้น
​ในชั้นนี้ขอให้ความเห็นเกี่ยวกับผลทางกฎหมายและประเด็นที่มีการให้ความสนใจ ดังนี้
​๑. การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่มีตัวจำเลยหรือที่เรียกกันว่าพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ไม่สอดคล้องกับความเป็นสากล เห็นว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แม้จะกำหนดว่า “ในคดีอาญา บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีต่อหน้าตน” แต่หลักดังกล่าวก็มีข้อยกเว้น คือ ในกรณีที่จำเลยหลบหนี กล่าวคือ
ถ้ากฎหมายให้สิทธิแก่จำเลยที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเป็นผู้เลือก
แต่จำเลยปฏิเสธที่จะใช้สิทธิดังกล่าวเอง เช่น ไม่ยอมมาศาล หรือหลบหนีคดีไปเอง การพิจารณาลับหลังจำเลยก็สามารถกระทำได้ ถ้าหากได้มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและความผิดที่ถูกกล่าวหา
และกระบวนพิจารณาให้จำเลยทราบอย่างชัดเจนแล้ว มีการเปิดโอกาสให้จำเลยมีทนายความมาต่อสู้
คดีแทน รวมถึงเปิดโอกาสให้จำเลยได้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ หากจำเลยมีความประสงค์
ซึ่งหลักการดังกล่าวก็ได้มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าประเทศอื่น ๆ ก็มีการนำหลักการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยมาใช้ด้วย เช่น ประเทศฝรั่งเศส
​๒. สำหรับมาตรา ๒๔/๑ โดยผลทางกฎหมายแล้ว เมื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หากผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยที่หลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดี กฎหมายกำหนด
มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีหรือจำเลยหลบหนีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ส่วนกรณี
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ กฎหมายมิให้นำเรื่องอายุความลงโทษตามมาตรา ๙๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ดังนั้น หากผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลยแล้วแต่กรณี หลบหนีไประหว่างถูกดำเนินคดี หรือหลบหนีไปหลังศาล
มีคำพิพากษา ไม่ว่าจะหลบหนีไปนานเท่าใด ก็ไม่เป็นเหตุให้ยกเว้นโทษจำคุกนั้นในอนาคต
​๓. ผลทางกฎหมายของมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ สามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
​​- มาตรา ๒๕ เป็นการวางหลักว่าการฟ้องคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยหลักต้องมีตัวผู้ถูกกล่าวหามาศาล ดังนั้น โดยหลักแล้วโจทก์ต้องนำตัวจำเลยมาฟ้องต่อศาล
​- มาตรา ๒๖ เป็นข้อยกเว้นของมาตรา ๒๕ ในการฟ้องคดีโดยไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา
มาศาล เพื่อไม่ให้คดีเกิดปัญหาติดขัด แต่อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการตามมาตรา ๒๖ ได้ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การที่ได้เคยมีการออกหมายจับไว้แล้ว มีพฤติการณ์ที่ว่าจำเลยประวิงคดี หรือไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันควร
​- ถ้าศาลรับฟ้องไว้โดยไม่มีตัวจำเลยแล้ว หากจะพิจารณาคดีลับหลังจำเลยยังต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ กล่าวคือ ศาลจะต้องออกหมายเรียก ออกหมายจับ และเมื่อออกหมายจับแล้วไม่ได้
ตัวจำเลยมาภายใน ๓ เดือน ศาลจึงจะพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ได้ตัดสิทธิที่จำเลยจะมาศาลเพื่อต่อสู้คดีก่อนมีคำพิพากษา หรือจะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตน
​๔. สำหรับประเด็นเรื่องบทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ มีผลทางกฎหมายว่า คดีใดที่ยื่นฟ้องไว้ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ หากคดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล กระบวนการที่จะดำเนินการต่อไปก็ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ส่วนการดำเนินการใดที่ได้ทำไปก่อนแล้วย่อมไม่เสียไป ดังนั้น บรรดาคดีที่ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วย่อมจะไม่ได้รับผลจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ส่วนคดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมนำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ไปใช้บังคับ
​ในท้ายนี้ขอยืนยันว่า เป้าหมาย คือ การให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ทุกฝ่าย เพราะกฎหมายนี้บังคับใช้กับนักการเมืองทุกคน และเพื่อให้ข่าวตรงกัน ป้องกันการบิดเบือน

10+15จากบิ๊กตู่ถึงเวทีสัญญาประชาคม

10+15 ของฝาก จาก "บิ๊กตู่"

"บิ๊กตู่" สั่งทำ"ภาคผนวก"ร่างสัญญาประชาคม"15 ข้อ อธิบายเพิ่มเติม 10ประเด็นความเห็นร่วม/แนะ ตรวจสอบนโยบายพรรคการเมือง เลือกนักการเมืองรับผิดชอบประชาชน  เลือกตั้ง ที่ชอบธรรม- จี้บริหารจัดการภาครัฐด้วยระบบคุณธรรม โยกย้ายข้าราชการ ขจัดระบบซื้อ-ขายตำแหน่ง  

นอกจาก ความเห็นร่วม 10 ประเด็น ในร่างสัญญาประชาคม คนไทยทุกคนพึงตระหนักในบทบาท และหน้าที่พลเมือง-ควรร่วมสร้างความสามัคคีปรองดอง-น้อมนำศาสตร์พระราชา ประยุกต์ใช้ในชีวิต-ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ส่งเสริม การดูแลคุณภาพชีวิต และสาธาณะสุข-เคารพ เชื่อมั่น และปฏิบัติตามกฏหมาย-ใช้ความรอบคอบในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่บิดเบือน-ตระหนักถึงกติการะหว่างประเทศ-ส่งเสริมการปฏิรูปประเทศทุกด้านตามยุทธศาสตร์ชาติแล้ว 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. ได้ เสนอให้มี  "ภาคผนวก" ที่เป็นความเห็นของนายกรัฐมนตรี อีก  15 ข้อ  เพื่ออธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ใน 10ประเด็น นั้น ให้มากขึ้น 

โดย พลเอกประยุทธ์ เขียน ช้อทโน้ต มาให้ หลายข้อ เพิ่อให้คณะกรรมการอธิบายต่อ นี่จึงทำให้. นายกฯอนุมัติเมื่อ7 กค. จากเดิมที่กำหนดจะเปิดเวทีสาธารณะให้เสร็จใน 7 กรกฎาคม แต่ต้องเลื่อนเป็น 17 - 20 กรกฎาคม

คำแนะนำของ พลเอกประยุทธ์ เช่น ประเด็น การไม่ใช้อำนาจบริหารเพียงหวังคะแนนเสียงทางการเมือง ในระบบประชาธิปไตย

ทั้งนี้ต้องมีกลไกควบคุมให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบต่อการประกาศ โฆษณานโยบายที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า และความเสี่ยงอย่างรอบด้าน

รวมทั้งกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชน

"การทุจริตระดับนโยบายจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างจริงจัง เช่นการตรวจสอบนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองและประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบทรัพย์สินภาครัฐ นักการเมืองทุกคนต้องยึดถือจริยธรรมและจรรยาบรรณในอาชีพ 

ภาคการเมืองต้องปรับปรุงกระบวนการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบการเมืองที่เหมาะสม 

พร้อมกันนั้นคนไทยต้องมีส่วนร่วมกับการเมืองภาคประชาชนและยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นนอกจากนี้จะต้องส่งเสริมสถาบันการเมืองให้มีความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใสบริสุทธิ์และยุติธรรม

รวมถึงการยอมรับผลการเลือกตั้ง ที่เป็นไปด้วยความชอบธรรม และมีธรรมาภิบาล" เนื้อหาส่วนหนึ่งของภาคผนวกระบุ

นอกจากนั้น เนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงเน้นในเรื่อง การนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิต โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเสรี ส่งเสริมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ  การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร ทั้งนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับรายได้ของประชาชนโดยรวม

การให้ความร่วมมือในการจัดการการทุจริตฉ้อฉลและอำนาจนอกระบบอย่างเด็ดขาด โดยการนำหลักธรรมาภิบาลหรือระบบบริหารจัดการที่ดีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้ 

การปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐ เพื่อจูงใจให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในภาครัฐและสามารถเจริญก้าวหน้าตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ของงาน ทั้งนี้การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใช้อำนาจกระทำการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฎิบัติหน้าที่หรือกระบวนการแต่งตั้ง พิจารณาความดีความชอบและต้องขจัดการซื้อขายตำแหน่งเรียกรับผลประโยชน์ในทุกโครงการ

นอกจากนี้แล้วยังให้มีการกระจายอำนาจให้องค์การการปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการบริหารงานให้ภาครัฐและให้ประชาชนมีบทบาทในการบริหารงานแบบรวมศูนย์ โดยที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และเสรีภาพของประชาชน ซึ่งให้มีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของตนเอง รวมทั้งให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่ม จึงจะเป็นการบริหารชุมชนให้เป็นประชาธิปไตยทั้งนี้ ทั้งนี้ประชาชน ชุมชน. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ช่วยกันอนุรักษ์ บำรุงรักษาฟื้นฟูและบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของชุมชนและศาสนา 

ประชาชนมีคุณภาพของชีวิตที่ดี  เท่าเทียมและเป็นธรรม ทั้งในด้านการศึกษา และการส่ธารณะสุข  โดยด้านการศึกษาเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาและมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และได้มาตรฐานสากล ส่วนในด้าน สาธารณสุข ประชาชนจะได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รวมถึงการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการที่ดีของประชาชน

ไม่อารมณ์เสีย!!!



ไม่อารมณ์เสีย!!!
บิ๊กป้อม ไม่ปริ๊ดด!!! เช่นที่เคย เมื่อมีข่าว ถูกปรับครม. บอกยังไม่รู้เลย จะถูกโยกไปเป็น"มท.1"รับเลือกตั้ง...บอก ถ้าถามใจ "ผมก็อยาก ดูแลกลาโหมต่อ"
พลเอกประวิตร. รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม บอกไม่รู้เรื่องปรับครม. ที่มีกระแสข่าวว่า อาจถูกโยกเป็น มท.1 รับมือการเลือกตั้ง
"แต่ถ้าถามใจ"ผมก็อยาก ดูแลกลาโหมต่อ" เพราะทำงานกับ รมว.กลาโหม อาเซี่ยน ก็รู้จักกันหมด"... เชื่อเวลานี้ ไม่ใช่เวลาสำหรับ ปรับครม. เพราะเรากำลังจะมีพระราชพิธีสำคัญ ....แต่ยังไม่เคยคุยกับ นายกฯ เรื่องปรับครม.มีแต่ข่าวจากนักข่าว นี่ล่ะ
ปกติ ก่อนไปผ่าตัดหัวใจ พลเอกประวิตร จะปรี๊ดด ทุกครั้ง ที่ถูกถาม เรื่องปรับครม. แต่วันนี้ บอก ยังไม่รู้ และตอบนิ่มๆ

"บิ๊กตู่เล็ก" เปิดเวทีสาธารณะ แจง" ร่างสัญญาประชาคม" .



"บิ๊กตู่เล็ก" เปิดเวทีสาธารณะ แจง" ร่างสัญญาประชาคม" ..."ตู่ จตุพร" นปช.-ปชป.-เพื่อไทย ร่วม...ขอ สร้างสรรค์ ไม่ขัดแย้ง สู่ปรองดอง
บิ๊กตู่ พลโท กู้เกียรติ ศรีนาคา แม่ทัพน้อยที่1 กล่าวขอบคุณผู้แทนทุกกลุ่มและประชาขนที่เข้าร่วมการพิจารณาร่างสัญญาประชาคมเพื่อสร้่างความสามัคคีปรองดอง
ทั้งนี้ ทราบดีว่าทุกคนตั้งใจและคาดหวังให้สังคมไทยมีความสามัคคีปรองดอง สงบสันติ จึงเชื่อว่าการจัดเวทีสาธารณะชี้แจงในวันนี้ จะเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ ราบรื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นโดยปราศจากการโต้แย้งหรือขัดแย้งใดๆ
พร้อมเน้นย้ำเป้าหมายการดำเนินการสร้างความสามัคคีปรองดองว่า คณะกรรมการเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน เพื่ิอนำไปสู่ความสามัคคีปรองดองที่ยั่งนืน โดยรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนของสังคม ได้ข้อมูลที่หลากหลาย สามารถสะท้อนความเห็นประชาชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้สัญญามีความสมบูรณ์ เป็นฉันทามติ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต
ทั้งนี้ ร่าง สัญญาประชาคม นั้น ได้ระบุถึงความเห็นร่วม"พึง"ใน 10 ประเด็น คือ คนไทยทุกคนพึงตระหนักในบทบาท และหน้าที่พลเมือง-ควรร่มวสร้างความสามัคคีปรองดอง-น้อมนำศาสตร์พระราชา ประยุกต์ใช้ในชีวิต-ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ส่งเสริม การดูแลคุณภาพชีวิต และสาธาณะสุข-เคารพ เชื่อมั่น และปฏิบัติตามกฏหมาย-ใช้ความรอบคอบในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่บิดเบือน-ตระหนักถึงกติการะหว่างประเทศ-ส่งเสริมการปฏิรูปประเทศทุกด้านตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

"ร่างสัญญาประชาคม" ฉบับ "บัญชาบิ๊กตู่"

."ร่างสัญญาประชาคม" ฉบับ "บัญชาบิ๊กตู่"....10ข้อ และภาคผนวก จากนายกฯอีก15 ข้อ
อ่านดู...ไม่เป็นไปตาม ที่ คาดหวัง เปิดครั้งแรก ในเวที ที่กองทัพภาค1
บทนำ และ ความเห็นร่วม 10ประเด็น และบทสรุป.
โดยข้อแรก ที่ดูจะ มีเรื่อง การยอมรับผลการเลือกตั้ง คือ
"คนไทยทุกคนพึงร่วมมือสร้างบรรยากาศของความสามัคคีปรองดอง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตลอดจนเพิ่งมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมในกรอบของกฎหมายมีส่วนร่วมกับการเมืองภาค ประชาชน
ยอมรับความแตกต่างทางความคิดและส่งเสริมสถาบันการเมืองให้มีความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใสบริสุทธิ์ยุติธรรมและยอมรับผลการเลือกตั้งซึ่งถือว่าเป็นฉันทามติของคนไทยทั้งประเทศรวมทั้งร่วมกันตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐและการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกในระบบรัฐสภา"
ความเห็นร่วม 10ประเด็น ที่คนไทย "พึง"ปฏิบัติ คือ คนไทยทุกคนพึงตระหนักในบทบาท และหน้าที่พลเมือง-ควรร่มวสร้างความสามัคคีปรองดอง-น้อมนำศาสตร์พระราชา ประยุกต์ใช้ในชีวิต-ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ส่งเสริม การดูแลคุณภาพชีวิต และสาธาณะสุข-เคารพ เชื่อมั่น และปฏิบัติตามกฏหมาย-ใช้ความรอบคอบในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่บิดเบือน-ตระหนักถึงกติการะหว่างประเทศ-ส่งเสริมการปฏิรูปประเทศทุกด้านตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

มุ่งมั่นเต็มร้อย ปฏิบัติป้อแป้

มุ่งมั่นเต็มร้อย ปฏิบัติป้อแป้

จับอาการผู้นำอำนาจ “ปีที่ 4” ไม่มีอะไรง่าย

ฝนตกชุกมาตั้งแต่ต้นฤดู กรมอุตุนิยมวิทยาคาดฝนตกหนักทั่วทุกภูมิภาคช่วงวันที่ 14-18 กรกฎาคม

เช่นเดียวกับฤดูแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่มาเร็วกว่าทุกปี

ตามรูปการณ์ที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.สั่งการให้ทุกหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐ เร่งทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม

โดยมีการมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย รวบรวมรายชื่อข้าราชการระดับสูง ผู้บริหารหน่วยงานรัฐทั้ง 14 หน่วยงาน ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์

นั่นหมายถึงไม่เกินสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ทุกอย่างต้องเรียบร้อย

ทั้งในหมวดของข้าราชการพลเรือน กระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปีในส่วนของกองทัพ

ตามเงื่อนสถานการณ์ที่ประเมินได้ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเร่งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เพราะมันโยงกับเงื่อนเวลาการบริหารราชการแผ่นดินที่กำลังเข้าสู่ห้วงปีที่ 4 เทอมสุดท้ายของ คสช.

รัฐบาลทหารต้องเร่งเครื่องปั่นเนื้องานให้เห็นเนื้อเห็นหนัง

แต่นั่นไม่เท่ากับการเน้นความเรียบร้อยก่อนพระราชพิธีสำคัญในเดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม ถ้าจับอารมณ์ พล.อ.ประยุทธ์ที่ออกอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวกรณีที่สื่อมวลชนเสนอข่าวโผการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ

โดยเฉพาะในส่วนของกองทัพที่มีการเปิดชื่อขุนทหารในตำแหน่งต่างๆ

พูดกันแรงๆแบบว่า สื่ออยู่ในคณะกรรมการแต่งตั้งหรือไม่ ถ้าไม่อยู่ก็ไม่ต้องมายุ่ง

เขียนกันทุกวัน ถ้าไม่ได้ขึ้นมาก็ให้ไปฟ้องสื่อเลยแล้วกัน

มันก็เป็นอะไรที่สะท้อนปมคุกรุ่นในจิตใจ ล้อไปสถานการณ์ปัญหายากๆตรงหน้า

ในมุมของข้าราชการพลเรือน โฟกัสไปที่กระทรวงมหาดไทยที่มีกระแสการวางตัวปลัดกระทรวงคนใหม่ไว้ค่อนข้างชัวร์ แต่ก็ยังมีแคนดิเดตอีก 2–3 คนที่อาวุโสและระดับเทียบเท่ากันไม่มีตำแหน่งลง

ทำให้มีข่าวหลุดออกมาในทำนองโยกย้าย
“ข้ามห้วย” คนของมหาดไทยจะกระโดดไปนั่งกิน ตำแหน่งปลัดกระทรวงที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

แต่ก็ถูกขวางลำจากเจ้าถิ่นเต็มที่ ไม่ลงล็อกลงตัวง่ายๆ

นั่นก็ทำให้อาการหงุดหงิดลามไปถึง “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ที่เสียงแข็งใส่นักข่าวเมื่อโดนจี้ถามปัญหาการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงในกระทรวง

โยงถึงยุทธการ “ล้วงลูก” ข้ามห้วย

ขณะที่ในส่วนของกองทัพที่ดูจะสงบเงียบกว่า
ทุกปี ว่ากันตามโพยที่รั่วออกมา

ตามเงื่อนไขที่ลงล็อกในส่วนของกองทัพบก “บิ๊ก เจี๊ยบ” พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. นิ่งอยู่ต่อในตำแหน่งอีก 1 ปี เพราะเกษียณปีหน้า ขณะที่แม่ทัพภาค
ที่ 1 อย่าง พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ กับ พล.ท.วิชัย แชจอหอ แม่ทัพภาคที่ 2 ขยับขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ทบ.
เลื่อนตำแหน่งเข้าไลน์ “5 เสือ ทบ.” จ่อเก้าอี้จ่าฝูงกองทัพบก

ขณะที่ทีมขุนศึกบูรพาพยัคฆ์ อย่าง “บิ๊กเข้” พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ผู้ช่วย ผบ.ทบ.น้องรักของ พล.อ.ประยุทธ์ โยกข้ามห้วยไปนั่งตำแหน่งปลัดกลาโหม

เช่นเดียวกับบรรดาน้องรักของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ก็ต้องเปลี่ยนไลน์ออกนอกหน่วยกองทัพบก

ตามเส้นทางอำนาจที่ขาดตอนไปตั้งแต่ “นักรบหมวกแดง” มายึดจ่าฝูง

แต่ภายใต้ยุทธศาสตร์ความชัวร์ของการคุมเกมอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร ทีมงาน คสช.ก็ต้องหวังจัดกำลัง
คุ้มกันหลังที่ไว้วางใจให้ได้มากสุด

ปัญหาอยู่ที่ตัวแปรอีกหลายชั้น พล.อ.ประยุทธ์และ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้าย
โอกาสที่จะวางคนตามยุทธศาสตร์ จึงทำไม่ได้ง่ายๆ

เจอโจทย์ยากอยู่แล้ว ยังมาเจอคิวโผรั่วออกมาตัดหน้า เท่ากับยิ่งกดดัน

นั่นก็เลยเป็นที่มาของอาการนอตหลุดเป็นธรรมดา

โดยปรากฏการณ์ที่เห็นได้เลยว่า แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การวางอำนาจในกองทัพ การจัดวางยุทธศาสตร์ในการรองรับอำนาจช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ได้ทำกันง่ายๆ

แต่ที่ยากกว่าสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ ก็คือการบริหารท่ามกลางปัญหารุมเร้ารายวัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพืชผลเกษตรราคาตกต่ำ ตามรูปการณ์แบบที่ชาวสวนยางพาราในพื้นที่ภาคใต้
ส่งเสียงคำรามฮึ่มๆจะไม่ทนกับรัฐบาล คสช.อีกต่อไป ส่งเสียงโห่ ตะโกนไล่ให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลาออกจากตำแหน่ง เพราะไม่มีฝีมือ แก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรไม่ได้
ฉุดเครดิตฟอร์มบริหาร กดทับซ้ำสภาวะเศรษฐกิจ

โดยสถานการณ์ย้อนแย้งกับการเดินหน้าจัดซื้ออาวุธของกองทัพที่ผ่านมติ ครม.แทบจะรายสัปดาห์ ล่าสุดเป็นคิวของการจัดซื้อเครื่องบินฝึกขับไล่ T–50 TH จากประเทศเกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 8,800 ล้านบาท

เกษตรกรเดือดร้อน แต่รัฐบาลมือเติบ ช็อปอาวุธมันมือ

นี่คือปมอันตรายที่ “บิ๊กตู่” ต้องออกแรงเคลียร์กระแส

ตามรูปการณ์ ไม่เว้นแม้แต่คดีฆาตกรรม 8 ศพที่อ่าวลึกจังหวัดกระบี่ ที่มีประเด็นของ “คนมีสี” เข้าไปเกี่ยวข้องก็มีการตั้งคำถามกับผู้นำรัฐบาลทหาร คสช.

ทุกอย่างล้วนพุ่งตรงมาถึงตัวของ พล.อ.ประยุทธ์

โดยสถานะของจุด “ศูนย์รวมอำนาจ” ที่หนีไม่ออก

เรื่องของเรื่อง โดยห้วงสถานการณ์ผ่านปี 3 ของคสช. เข้าสู่ปี 4 ท้ายเทอมรัฐบาล ตามเงื่อนเวลาโดยธรรมชาติทางการเมืองทั่วไป ที่สังคมอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง

ไม่อินกับ “มุกเก่า” คืนความสุข ที่เฝือมา 3 ปีแล้ว

ขณะที่ผลงานรัฐบาล คสช.ก็ยังไม่เห็นเนื้อเห็นหนังอย่างที่ประชาชนคาดหวังไว้

อีกทั้งตามรูปการณ์ที่ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่

ก็รู้คำตอบสุดท้ายกันแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์มีโอกาสสูงที่จะคัมแบ็กเป็นนายกรัฐมนตรีอีกรอบหลังเลือกตั้ง

คุมเกมอำนาจช่วงเปลี่ยนผ่านไปอีกอย่างน้อย 4–5 ปี

นี่ก็เป็นจุดล่อเป้าให้นักการเมืองส่วนใหญ่ดาหน้าถล่มดิสเครดิต

เตะตัดขาผู้นำท็อปบูตกันทุกวิถีทาง

เรื่องของเรื่อง ลำพังแรงเสียดทานจากภายนอก ตามเหลี่ยมเกมอำนาจที่ พล.อ.ประยุทธ์หนีไม่พ้นโดนจองกฐินถล่มทั้งจากนักการเมืองและฝ่าย

ต้านอำนาจพิเศษ นั่นก็เหนื่อยพอดูแล้ว

แต่การทำตัวเองให้เข้าใกล้ “จุดเสื่อม” ก็ยิ่งเหนื่อยเข้าไปใหญ่

กับภาพของผู้นำอำนาจพิเศษ “หลักลอย” สะท้อนจากมาตรา 44 ที่ชักเข้าชักออก

ไม่ว่าจะเรื่องของ พ.ร.ก.ต่างด้าวสดๆร้อนๆ หรือย้อนกลับไปประเด็นการห้ามนั่งกระบะท้าย ที่ประกาศแล้วต้องชะลอการบังคับใช้

เสียฟอร์มรัฐบาลอำนาจพิเศษ

หรือกรณีของโครงการรถไฟความเร็วสูง

ที่ทอดเวลาในการตัดสินใจ ไม่ยอมเคาะโต๊ะจะเอาหรือไม่เอา ยื้อมาจนทางรัฐบาลจีนอึดอัด เริ่มไม่พอใจ กระตุกด้วยมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจ

ถึงจะตาลีตาเหลือกตัดสินใจใช้ ม.44 เปิดหวูดเดินหน้า

ไหนจะเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่ยื้อมานาน ไม่มีการฟันธง ตามอาการงงๆให้นโยบายกับฝ่ายปฏิบัติอย่างหนึ่ง แต่พอถึงจังหวะที่เอ็นจีโอกลุ่มต้านออกมาขวางลำ ก็ชะลอเกียร์ว่าง ไร้ทิศทาง ขาดความชัดเจนจะไปทางไหน

ทั้งๆที่ความมั่นคงทางพลังงานเป็นปมสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน

นี่ยังไม่นับข้อจำกัดเรื่องของการใช้คนไม่ถูกกับสถานการณ์ติดล็อกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ลูกเกรงใจไม่กล้าขยับปรับเปลี่ยนจุดที่เป็นปัญหาในเชิงบริหาร

อีกด้านหนึ่งก็เจอกับอิทธิฤทธิ์ของทีมงาน “แม่น้ำ 5 สาย” สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีแต่พวกร้อนวิชา เล่นบทหนุมานเหาะเกินกรุงลงกา ในอารมณ์ของพวก “ลากตั้ง” ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน

จุดชนวน สร้างปมยากๆให้เคลียร์กันไม่หยุดหย่อน

ว่ากันตามปรากฏการณ์ ถึงแม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะได้คะแนนความมุ่งมั่นเต็มร้อย

แต่ปัญหาในภาคปฏิบัติที่ป้อแป้ ก็ทำแต้มหายไปเยอะ

ที่แน่ๆสถานการณ์ผ่านปี 3 เข้าปี 4 การบริหารประเทศไทย ไม่ใช่คุมค่ายทหาร

รู้แล้วสินะว่า มันไม่ง่าย.

“ทีมการเมือง”

ตกที่นั่งลำบากไม่แพ้กัน

ตกที่นั่งลำบากไม่แพ้กัน

เป็นไปตามความคาดหมาย ไม่มีพลิกโผ

ผลโหวต ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ประชุม สนช.ลงมติท่วมท้นด้วยคะแนน 194 ต่อ 0 เห็นชอบให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย

ตีตกข้อโต้แย้ง 6 ประเด็นของ กกต.ว่า ไม่ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี 2560 โดยเฉพาะประเด็นเซ็ตซีโร่ 5 เสือ กกต.ชุดปัจจุบันต้องกระเด็นตกเก้าอี้ทันทีที่ร่างกฎหมายลูกฉบับนี้มีผลบังคับใช้

รอเวลาเก็บของกลับบ้านไปเลี้ยงหลาน

ตามอาการโยนผ้ายอมแพ้ของ นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ที่เอ่ยปากยอมรับตรงๆ รู้ตัวล่วงหน้าว่าผลโหวตจะออกมาเป็นอย่างไร

เตรียมเอาเวลาไปเตรียมตัวหาช่องทางยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ. กกต.เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญจะเกิดประโยชน์มากกว่า

ดิ้นเฮือกสุดท้ายไม่ให้แปรสภาพไปเตะฝุ่นในอนาคต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าวัดตามสภาพความจริง ถือว่าใกล้จนกระดานเต็มที ไม่ว่าพลิกตำราสู้แค่ไหน

อย่างที่เห็นๆตามกติการัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ระบุเงื่อนไขการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีแค่ 2 ช่องทางเท่านั้น

ทางแรกให้ สนช.เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 ของจำนวน สนช.ที่มีอยู่เป็นผู้ยื่น อีกทางให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งเรื่องเคลียร์ข้อสงสัย

ประเมินความเป็นไปได้ โอกาสแทบเป็นศูนย์ที่ สนช.จะไปเสี่ยงตกม้าตาย เข้าชื่อ 1 ใน 10 ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายที่ตัวเองเพิ่งให้ความเห็นชอบไปหมาดๆ

หรือถ้าจะให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ยื่นให้ก็เป็นไปได้ยาก เพราะเสี่ยงเปลืองตัวเปล่าๆ

ช่องทางยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญปิดประตูตาย 5 เสือ กกต.รอเวลาลุกจากเก้าอี้

ท็อปบูตปฏิบัติภารกิจลุล่วงไปอีกด่าน เข็นกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับแรกสำเร็จไปด้วยดี
เคลียร์ทางให้ 7 อรหันต์ กกต.ป้ายแดงเข้ามารับช่วงต่อ

และก็เป็นอะไรที่โชว์ช็อตต่อเนื่องกันทันที ในประเด็นที่ประชุม สนช.โหวตผ่าน
ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ออกกฎใหม่ให้เลิกนับอายุความคดีทุจริต ในกรณีจำเลยหลบหนีคดีไปต่างประเทศ ดัดหลังนักการเมืองที่กระทำผิดแล้วใช้วิชาล่องหน ไม่มาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม

เขย่าขวัญคนโกงที่คิดหนีคดีไปต่างแดน หากคิดจะหนีต้องหนีไปตลอดชีวิต หมดสิทธิเตะถ่วง รอคดีหมดอายุความแล้วเดินทางกลับประเทศมาใหม่

ระทึกโดยตรงไปถึง “อดีตนายกฯปู” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กำลังต่อสู้คดีจำนำข้าวในช่วงโค้งสุดท้ายอยู่ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตามโปรแกรมลุ้นฟังคำพิพากษาในช่วงปลายปีที่งวดเข้ามาเรื่อยๆ มีโอกาสได้ลองของกติกาฉบับใหม่พอดิบพอดี

ในสถานการณ์ที่ “อดีตนายกฯหญิง” ต้องชั่งใจคิดให้ถี่ถ้วน จะหนีหรือปักหลักสู้ต่อ ถ้าสู้ก็เสี่ยงอาจติดคุก แต่หากหนีก็ต้องหนีไปตลอดชีวิต ทางใดจะคุ้มค่ากว่ากัน

อาการน่าเป็นห่วงไม่ต่างจากพี่ชาย “ทักษิณ ชินวัตร” ที่ถูกกลไกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เล่นงานเช่นกัน

ส่อแนวโน้มถูกศาลสั่งไต่สวนคดีลับหลังได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อหน้าศาล

“นายใหญ่” มีโอกาสสูงถูกศาลตัดสินลงโทษในคดีที่ติดตัวอยู่เพิ่มขึ้นอีกหลายกระทง มีแววผูกขาดการอยู่ต่างแดนยาวๆ

นั่นก็หมายถึง “ปิดประตู” การได้เดินทางกลับประเทศไทยอย่างเท่ๆ

ขั้วอำนาจพิเศษรุกหนัก กดดันทุกวิถีทาง วางกับดักสารพัดด่านทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก

เจาะยางทีมงานนายใหญ่ให้กลับมาครองอำนาจลำบาก

ควบคู่การใช้ช่องทางกฎหมายบีบนายใหญ่-นางสิงห์ หลังพิงฝา ใกล้จนกระดานขึ้นไปทุกขณะ

พี่ชาย-น้องสาวตกที่นั่งลำบาก เจอชะตากรรมหนักหน่วงไม่แพ้กัน.

ทีมข่าวการเมือง