PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลายประเทศแห่เทขายทิ้งพันธบัตรสหรัฐ

ตระหนก!! CNN แฉ “จีน-ญี่ปุ่น” แห่ขายทิ้ง “พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ” หลายพันล้านดอลลาร์ในธันวาฯที่ผ่านมา

เอเจนซีส์ – ท่ามกลางการแข่งขันผู้สมัครปธน.สหรัฐฯออกมาเสนอนโยบายการใช้เงินภาษีชาวอเมริกัน แต่ทว่า CNN Money รายงานล่าสุดว่า พันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯมูลค่า 18 พันล้านดอลลาร์ถูกเทขายทิ้งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาโดยปักกิ่ง ในขณะที่โตเกียวได้ทุ่มขายในตัวเลขที่สูงกว่าร่วม 22 พันล้านดอลลาร์ และพบว่ายอดรวมที่พันธบัตรสหรัฐฯถูกชาติต่างๆทั่วโลกเทขายออกไปตลอดปี 2015 มีสูงถึง 225 พันล้านดอลลาร์
CNN Money รายงานเมื่อวานนี้(17 ก.พ)ว่า มีรายงานเปิดเผยถึงตัวเลขหนี้สหรัฐฯในรูปพันธบัตรถูกขายเป็นจำนวนสูงประวัติการในเดือนธันวาคม 2015 เมื่อพบว่าญี่ปุ่นได้นำพันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯขายทิ้งจำนวนถึง 22 พันล้านดอลลาร์ 

และนอกจากญี่ปุ่นแล้ว ในเดือนเดียวกันปักกิ่งยังได้นำพันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯที่ถืออยู่ในมือมูลค่า18 พันล้านดอลลาร์ออกขายด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้สื่อสหรัฐฯยังรายงานเพิ่มเติมว่า และยังพบว่าในตลอดทั้งปี 2015 มีรายงานว่า ตุรกี เม็กซิโก เบลเยียม ต่างลดจำนวนพันธบัตรสหรัฐฯที่ถืออยู่ในมือ และส่งผลทำให้มีการเทขายพันธบัตรสหรัฐฯจากธนาคารกลางต่างๆสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ยังพบว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นและของสวีเดนได้ใช้รูปแบบอัตราดอกเบี้ยติดลบเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารต่างๆให้การกู้ยืมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางของยุโรป หันไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชาติสมาชิกมาถือในมือเพิ่มมากขึ้น ส่วนธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเม็ดเงินสดเข้าสู่ระบบการเงินของตัวเอง CNN Money ชี้

โดยสื่อสหรัฐฯรายงานว่า เหตุที่ธนาคารชาติๆออกมาเทขายพันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯเพื่อหาเงินกลับเข้าไปพยุงค่าเงินของประเทศเหล่านั้นที่กำลังลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง
เช่น ในปีที่ผ่านมา CNN Money ระบุว่า ปักกิ่งต้องใช้เม็ดเงินถึง 500 พันล้านดอลลาร์ถูกใช้ในการพยุงค่าสุกลเงินหยวนของตัวเอง 

โดย วิน ธิน (Win Thin) หัวหน้าแผนกด้านยุทธศาสตร์สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ (emerging market currency strategy)ประจำมหาวิทยาลัย บราวน์ ให้ความเห็นว่า “การแทรกแซงเหล่านี้ดูคล้ายกับความพยายามในการอัดอากาศเข้าไปในบอลลูน"

และในตัวเลขจำนวนขายสุทธิที่ธนาคารกลางชาติต่างๆทั่วโลกได้ขายพันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯออกไปตลอดทั้งปี 2015 มีจำนวนสูงถึง 225 พันล้านดอลลาร์

ซึ่ง CNN Money ชี้ว่าเป็นตัวเลขสูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1978 

และในปี 2014 มียอดตัวเลขเพิ่มขึ้น (net increase) จำนวน 45 พันล้านดอลลาร์ อ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขที่เปิดเผยจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่ถูกเปิดเผยในวันอังคาร(16 ก.พ)ของ CNN Money

นอกจากนี้ สื่อสหรัฐฯชี้ว่า โดยอ้างจากข้อมูลของกระทรวงการคลังสหรัฐฯพบว่า รัฐบาลต่างชาติขายพันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐฯมากกว่าซื้อเข้าไปเก็บในปีที่ผ่านมา




พระกับการเมือง

การเปลี่ยน “ลาวอีสาน” ให้เป็นไทยผ่านพระสงฆ์อีสานสาย “ธรรมยุต”

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ลัทธิอาณานิคมได้รุกคืบมายังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทำให้ภาคอีสานซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกลายเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่ออำนาจ ซึ่งอาจถูกมหาอำนาจผนวกเอาดินแดนส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของลาว เนื่องด้วยชาวอีสานล้วนมีประเพณีและวิถีชีวิตแบบชาวลาว 

รัชกาลที่ 4 จึงต้องการปฏิรูปหัวเมืองลาวให้กลายเป็นไทยอย่างสมบูรณ์ ผ่านการชำระประวัติศาสตร์ การสำรวจสำมะโนครัวที่ห้ามการระบุว่าเป็นชาติลาว เขมร ส่วย ผู้ไท ฯลฯ แต่ให้ใช้สัญชาติไทยเหมือนกันหมด รวมถึงการส่งคณะสงฆ์ธรรมยุตไปประกาศศาสนาภายใต้อุดมการณ์ของรัฐชาติ

พระสงฆ์ธรรมยุตซึ่งได้รับการกล่อมเกลาด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหารจะถูกส่งทำหน้าที่เป็นครูสอนอุดมการณ์ของรัฐชาติผ่านภาษาบาลีและภาษาไทย (ซึ่งแสดงความเป็นไทยกลาง) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐ 

รัฐยังเข้าไปควบคุมความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมของชาวอีสานอย่างเข้มข้นทั้งการออกระเบียบว่าด้วยการบรรพชาและอุปสมบท รวมถึงการห้ามพิธีกรรมแบบลาว เช่นพิธีฮดสรงซึ่งเป็นพิธียกย่องตำแหน่งพระสงฆ์แบบโบราณล้านช้างของชาวบ้าน โดยให้เหตุผลว่าการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

พระสงฆ์รุ่นใหม่ที่ทำงานภายใต้อุดมการณ์ของรัฐที่รู้จักดีในอีสานคือพระสายวัดป่าที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการปฏิวัติความเชื่อเป็นหลัก แต่ก็ทำงานภายใต้บริบทอุดมการณ์ของรัฐไทย โดยทำหน้าที่เทศน์สั่งสอนให้ชาวอีสานไม่เป็นปฏิปักษ์กับการปกครองของประเทศ หลังชาวอีสานเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อทวงความยุติธรรมโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจที่อีสานถูกรัฐละเลยมานาน เช่น กรณีกบฏผู้มีบุญ 

รัฐบาลจึงเปลี่ยนกลยุทธ์ของคณะสงฆ์ธรรมยุตให้หันมาเน้นการปฏิวัติความเชื่อเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องผีสางเทวดา ผู้มีบุญ และโลกพระศรีอาริย์ ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านอำนาจรัฐจนนำไปสู่การลุกฮือของชาวอีสานมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งพระวัดป่าสายธรรมยุตก็ยังปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กลไกของรัฐได้เป็นอย่างดี

คัดย่อจากบทความ พระสงฆ์กับอำนาจรัฐไทย: บทเรียนจากอดีต-พระธรรมยุตสายอีสาน โดย ธีระพงษ์ มีไธสง ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กุมภาพันธ์ 2557 

ภาพประกอบ: “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุบำรุงศาสนา” จิตรกรรมบนยอดโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพมหานคร (จากบทความข้างต้น)

"บิ๊กหมู" ไม่แจง ทหารเรียก"จตุพร"เข้า ค่าย มทบ.11


โตๆ กันแล้ว นะ....
"บิ๊กหมู" ไม่แจง ทหารเรียก"จตุพร"เข้า ค่าย มทบ.11 เปรย คนไม่เข้าใจ ทำไงก็ไม่ยอมเข้าใจ ก็ให้ไม่เข้าใจต่อไป โตๆกันแล้ว ต้องพูดกันรู้เรื่อง
จากการที่ คสช.ต้องปรับทัศนคติ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.อีกครั้งนั้น พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบทบ/ผบ.กกล.รส. ไม่ตอบ แต่กล่าวว่า บางคนก็ทำเป็นไม่เข้าใจ ก็ต้องไม่เข้าใจต่อไป
" โตๆกันแล้ว ต้องพูดกันรู้เรื่อง " ผบทบ. กล่าวถึง มาตรการที่ คสช.เรียกปรับทัศนคติหลายหน แล้ว แต่ก็ยังคงไม่เข้าใจ จะทำอย่างไร
พลเอกธีรชัย กล่าวว่า นศ.รด.ถิอว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาประเทศ เป็นเสมือนครอบครัวเดียวกับทหาร ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข
พลเอกธีรชัย กล่าวว่า การที่ นักศึกษาวิชาทหาร หรือนศ.รด. ผ่านการฝึกภาคสนามที่เขาชนไก่ ที่นี่ เป็นเหมือนตำนาน เป็นที่ๆเปลี่ยนเด็กเป็นผู้ใหญ่ และสามารถอยู่ในสังคมได้ เพราะชาติบ้านเมืองในปัจจุบันต้อง อาศัยคนทุกหมู่เหล่า ซึ่งเชื่อว่า ทุกคนทราบดีว่า ประเทศชาติเรามีปัญหาอะไรมา จนต้องมีการปฏิรูป
"การให้ทหาร และ นศ.รด.ไปรณรงค์ให้ประชาชน ออกมาใช้สิทธื ลงประชามติ ร่างรธน. ถือเป็น ก้าวแรก ของประชาธิปไตย ขอให้ออกมามากๆ ไม่ว่าจะโหวตผ่านหรือไม่ผาน ก็เป็นสิทธิของประชาชน" ผบทบ. กล้าว
พลเอกธีรชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ทาง กกต.และกรธ. ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปคามหน่วยทหาร เพื่อชี้แจง เรื่องร่างรธน. อันเป็นการให้ความรู้กำลังพลและครอบครัว

นายกฯ พร้อมปรับกฎสัมภาษณ์ให้ถามมากว่า4 คำถาม ถ้าคุยกันรู้เรื่อง



นายกฯ พร้อมปรับกฎสัมภาษณ์ให้ถามมากว่า4 คำถาม ถ้าคุยกันรู้เรื่อง อาจเป็น 4-5-6 คำถาม "เลข4มันดีมั้ง เจ๊ก หนอ ซา สี่ เลข4ดี ถ้าโหงวไม่ค่อยดี หรอกเพราะมันเกิน วันนี้ สตาร์ท4 ก่อน
ที่ห้องรับรองพิเศษ สนามบินสุวรรณภูมิ พลเอกประยุทธ์ นายกฯ เดินทางกลับจากประชุม US-Asean leaders Summit และให้สัมภาษณ์ครั้งแรก ภายหลังจากมีการจัดระเบียบสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลใหม่ให้สามารถตั้งคำถามต่อนายกฯได้เพียง 4 คำถามเท่านั้น
โดยสำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดพื้นที่สำหรับสื่อมวลชนโดยนำสายพานมากั้นพื้นที่ระหว่างโพเดียมนายกฯ และผู้สื่อข่าว โดยมีการจัดเก้าอี้ และไมโครโฟนเพื่อให้ผู้สื่อข่าวได้แนะนำตัวก่อนตั้งคำถามนายกฯ ตามมาตรการจัดระเบียบ
พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกฯ ได้มาทำความเข้าใจและสอบถามประเด็นคำถามกับผู้สื่อข่าวก่อนสัมภาษณ์นายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงมาตรการใหม่ที่ให้สื่อมวลชนตั้งคำถามได้เพียง 4 คำถามในแต่ละครั้งของการให้สัมภาษณ์ว่า “เลข 4 มันดีมั้ง เจ๊ก หนอ ซา สี่ เลขสี่ดี ถ้าโหงวไม่ค่อยดีหรอกเพราะมันเกิน
ถ้าวันหน้ามันคุยกันรู้เรื่อง แล้วมันดีขึ้นช่วยชี้แจงทำความเข้าใจมันก็อาจจะเป็น4-4-6 ก็ได้ วันนี้สตาร์ท 4ก่อน เลขดี โอเคนะ ขอบคุณสวัสดี”
ทั้งนี้ หลังให้สัมภาษณ์จบ นายกฯได้เดินจากโพเดียมเพื่อขึ้นรถเดินทางกลับทันที ขณะที่มีกลุ่มให้สนับสนุนประมาณ 10 คนที่มารอให้กำลังใจบริเวณด้านหน้าห้องรับรองพร้อมได้ส่งเสียง “นายกฯสู้”
โดยนายกฯก็ได้โบกมือทักทายพร้อมกล่าวขอบคุณ ก่อนที่จะขึ้นรถเดินทางกลับออกไปทันที โดยนายกฯได้เดินทางเข้าทำเนียบฯ
ก่อนที่เวลา 15.00 น. พล.อ.ประยุทธ์จะนำคสช.ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช

นายกฯ ลั่น แต่งตั้งสังฆราช ไม่ได้ หากยังมีปัญหา


นายกฯ ลั่น แต่งตั้งสังฆราช ไม่ได้ หากยังมีปัญหา เผยทั่ง2 ฝ่ายอ้างกม. จะเอาแพ้ชนะกัน สั่ง " วิษณุ-สุวพันธุ์" หาทางออก วอนทุกฝ่ายปฏิรูปใจตัวเองก่อนและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงความชัดเจนในการแก้ไขความขัดแย้งของพระสงฆ์ในเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ใหม่
“ผมเดาไม่ผิด เห็นไหม ที่คิดไว้ว่าคำถามแรกจะต้องเป็นเช่นนี้ "
นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไป เพราะปัญหาไม่ได้เกิดตอนนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
"ถึงวันนี้จึงต้องมาตัดสินเอาแพ้เอาชนะ เอากฎหมายมาว่ากัน"
ผมได้มอบหมายให้นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯไปหาทางออกอยู่เพราะฉะนั้นผมยังไม่ขอตอบในตอนนี้ ทั้งนี้ก็ต้องการทางออกกันจนได้
ประเด็นสำคัญคือหากอีกฝ่ายอ้างกฎหมายแล้วอีกฝ่ายก็อ้างกฎหมาย รัฐบาลจะทำอย่างไรในเมื่อมีกฎหมายทั้งสองทาง
เพราะฉะนั้นจึงอยากให้คนไทยทบทวนว่าการใช้กฎหมายมาต่อสู้กันนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งมันไม่ผิดหรอกเพราะกฎหมายมีคนละฉบับ คนละเรื่องแต่ถ้านำมาปนกันก็จะตีกันทั้งหมดทุกเรื่อง
ส่วนเรื่องแนวคิดการดีเบตของพระสงฆ์นั้นผมก็พูดไปว่าให้มาพูดคุยกัน แต่ผมเห็นแล้วว่าเขาทำกันมาโดยตลอดอยู่แล้ว ความจริงรมต.สุวพันธุ์ก็ทำอยู่ในประเด็นที่ยังมีความขัดแย้ง”
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะถือโอกาสในขณะนี้ปฏิรูปพระสงฆ์ด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอถามกลับหน่อยว่าจะให้ปฏิรูปอะไรจะปฏิรูปแบบไหน วันนี้ขอให้ปฏิรูปใจของตัวเองก่อนดีกว่า
"วันนี้ขอให้ปฏิรูปใจของตัวเองก่อนดีกว่า วันนี้เรามีทั้งไทยพุทธ ไทยอิสลาม แต่ทั้งหมดก็ต้องปฏิรูปใจตัวเองก่อน ไม่ว่าจะใครก็แล้วแต่
“ผมเป็นรัฐบาล แล้วผมก็เป็นไทยพุทธ แต่ผมก็ต้องดูแลศาสนาอื่นด้วย แล้วทำไมเราไม่มาร่วมมือกันทำเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
เพราะฉะนั้นถ้ายังมีปัญหาอยู่ก็แต่งตั้งไม่ได้อยู่ดีเพราะว่าผมคงไม่เอาความขัดแย้งขึ้นมาให้มันเป็นเรื่องเป็นราว นี่คือกฎหมาย ถ้าผมจะทำอะไรผมรู้ดี มันมีกฎหมายแล้วหน้าที่ของมันอยู่ แต่อยากถามว่าคนอื่นรู้จักหน้าที่ของตัวเองบ้างไหมเล่าว่าทำอย่างไรจะลดความขัดแย้ง อีกฝ่ายก็อ้างแต่การกระทำความผิดเยอะแยะไปหมด อยากถามว่าจบหรือยัง แล้วมันจะจบได้อย่างไร”
เมื่อถามย้ำว่าจะถือโอกาสแก้กฎหมายเพื่อให้พระสงฆ์ถือครองทรัพย์สินที่มีค่าด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า สื่อเคยพูดให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ตนจะทำบ้างหรือไม่ ขนาดตนบอกสื่อให้ไปช่วยชี้แจง อธิบายว่าควรจะต้องแก้ไขจุดนั้นจุดนี้ สื่อยังไม่ช่วยเลย แล้วจะให้ออกกฎหมายอย่างเดียวจะฟังกันหรือไม่ ให้ย้อนกลับไปฟังสิ่งที่ตนได้ตอบข้อแรกก่อนแล้วกัน”

นายกฯ ยัน สหรัฐ มีมารยาทพอ ไม่กดดันคืนประชาธิปไตย เผย


Obama จับมือผมแน่นเลย...
นายกฯ ยัน สหรัฐ มีมารยาทพอ ไม่กดดันคืนประชาธิปไตย เผย “โอบามา” ให้กำลังใจเดินหน้า ยัน ไทยเดินเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง อย่างอิสระ ผมก็ไม่เห็นเขารังเกียจรังงอนอะไรผม แต่อาจจะมีบางคนต้องเสียใจ เพราะคิดว่าอาจจะไม่ได้จับมือ เขาก็จับผมแน่น เขามีมารยาท เข้าใจหรือเปล่า/ ด้าน รมว.กต. เผย สหรัฐฯ เตรียมตั้งศูนย์อาเซียน-ยูเอส คอนเนค เลือกไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ยืนยันไม่ได้กดดันประชาธิปไตยไทย
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ กรณีสหรัฐ กดดันไทยในเรื่อง ประชาธิปไตย ว่า
"ใครกดดัน เขากดดันผม หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นผมไม่กล้ากลับมา แล้วก็ไม่กล้าไปด้วย คนเขามีมารยาทเพียงพอ และอีกอย่างเขาเห็นว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่สำคัญในโลกใบนี้ เราเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนฉะนั้นเขาแยกแยะกันออก”
นายกฯ กล่าวว่า หลายเรื่องมีลำดับความก้าวหน้าด้วยซ้ำไม่ว่าจะเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ตนเห็นเขาก็คุยดีด้วยทั้งนั้น
โดยนายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็ให้กำลังใจเมื่อทราบว่าบ้านเรากำลังเดินหน้าเรื่องประชาธิปไตย ก็ขอให้มีความสำเร็จ
" เขาไม่ได้มากดดันว่าต้องทำให้เร็ว ทำเดี๋ยวนี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ เรื่องแบบนี้ไม่มี มีแต่คนไทยที่พยายามให้เป็นแบบนั้น ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าทำไม ในเมื่อเราต้องการปฏิรูปประเทศ เราก็ต้องเคารพกติกาสากล
“การเป็นประชาธิปไตย เราก็ต้องมีขั้นตอนของเรา แล้วทำไมเราต้องกดดันกันเอง ผมก็ไม่เห็นเขารังเกียจรังงอนอะไรผม แต่อาจจะมีบางคนต้องเสียใจ เพราะคิดว่าอาจจะไม่ได้จับมือ เขาก็จับผมแน่น เขามีมารยาท เข้าใจหรือเปล่า” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญคือกลุ่มอาเซียนได้แสดงความเข้มแข็ง รวมกลุ่มกันมีมติชัดเจนในแต่ละเรื่องที่เห็นพ้องต้องกัน คือทั้งหมดจะต้องมีการพูดคุยเจรจาหาทางออกโดยสันติวิธี เป็นต้น ตนคิดว่าอย่าไปตั้งประเด็นว่าคนโน้น คนนี้ ชอบหรือไม่ชอบเรา เพราะเป็นธรรมดาประเทศประชาธิปไตยมาชมเชยตนไม่ได้อยู่แล้ว แต่เขาดูว่าทำอะไรอยู่ แต่มีพวกเราบางคนพยายามพูดสิ่งที่ไม่ดีให้เขาได้ยิน นั่นเป็นสิ่งที่ทำลายตัวเอง และทำลายชาติ ตรงนี้ตนไม่อยากจะว่า ส่วนเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การประชุมครั้งนี้เราไปเข้าข้างคนอื่นเรื่อยเปื่อย วันนี้รัฐบาลต้องเดินทุกด้าน ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง อย่างเป็นอิสระในโลกนี้ โดยต่อไปจะต้องมีการประชุมอาเซียน-อินเดีย อาเซียน-รัสเซีย แล้วเราจะไปอยู่ข้างไหน เอาแต่มองว่าแบ่งข้างจนไม่ลืมหูลืมตา ขนาดต่างประเทศก็ยังไปแบ่งให้เขาอีก แล้วโลกใบนี้จะอยู่ได้ไหม
ด้านนายดอน ปรมัติวินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า การเดินหน้าไปประชุมที่สหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ผู้นำไทยได้รับการต้อนรับจากนายบารัค โอบามา ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างดี เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และวันนี้ถือว่าประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯให้ความสำคัญกับประเทศในกลุ่มอาเซียนไม่น้อย โดยนายบารัค โอบามามีแนวคิดเตรียมจัดตั้งอาเซียน ยูเอส คอนเนค (ASEAN-US CONNECT) ใน 3 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย
ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าสหรัฐฯ กดดันไทยเรื่องประชาธิปไตยในไทยนั้น ยืนยันว่า ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนประธานาธิบดีสหรัฐฯ อยากให้ประชาธิปไตยของไทยกลับมา พูดเพียงสั้นเท่านั้น เช่นเดียวกับเมียนร์มา ทางสหรัฐฯ ยังสนับสนุนความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

นายกรัฐมนตรียืดหยุ่นกฎจำกัดคำถามนักข่าว

นายกรัฐมนตรียืดหยุ่นกฎจำกัดคำถามนักข่าว
จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ปรับปรุงรูปแบบการที่ผู้สื่อข่าวถามคำถามนายกรัฐมนตรี โดยให้ถามเพียง 4 คำถาม พร้อมกับแจ้งชื่อ-นามสกุล และต้นสังกัดทุกครั้งนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวในทำเนียบรัฐบาลระบุว่า นายกฯ อาจจะยอมยืดหยุ่นให้ได้มากกว่านั้นตามแต่สถานการณ์ ขณะที่แสดงความเห็นว่า การจำกัดคำถามเพียง 4 คำถามคงทำไม่ได้ในความเป็นจริง
น.ส. วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารของสำนักข่าวบางกอกโพสต์ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เห็นด้วยกับการจัดระเบียบนักข่าวกรณีที่ให้นักข่าวแนะนำตัวและสังกัดก่อนถามคำถาม เพราะเป็นหลักปฏิบัติสากล แต่ไม่เห็นด้วยกับการจำกัดเพียงแค่ 4 คำถามในเวลาที่นายกรัฐมนตรี แถลงข่าว โดยระบุว่าไม่ควรจำกัดสิทธิของสื่อในการตั้งคำถาม และนายกรัฐมนตรีเองก็สามารถจะเลือกตอบหรือไม่ตอบก็ได้
ทั้งนี้ สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ว่านักข่าวมักมีคำถามที่ทำให้นายกรัฐมนตรีอารมณ์เสียนั้น วาสนาระบุว่า ไม่มีนักข่าวคนไหนมีเป้าหมายหรือมีความภูมิใจที่ทำให้นายกรัฐมนตรีอารมณ์เสีย ในทางตรงกันข้าม กลับรู้สึกไม่ดีที่ทำให้นายกรัฐมนตรีอารมณ์เสียและไม่ตอบคำถาม แต่อาจจะเป็นเพราะนายกรัฐมนตรีมีโจทก์และต้นทุนทางอารมณ์มาก เนื่องจากเป็นคนที่เสพข่าวสารมาก ซึ่งข่าวสารส่วนใหญ่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าคำชม
สำหรับการถามคำถามนั้น วาสนาบอกว่า บางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องถาม แต่นายกรัฐมนตรีไม่ชอบ เช่น การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม การถามเพื่อให้เกิดการโต้กันไปมาระหว่างแหล่งข่าวก็เป็นสิ่งที่เธอไม่เห็นด้วย เธอเห็นว่าควรจะถามคำถามที่ต้องการความกระจ่างของประเด็นข่าวนั้นๆ มากกว่า
ด้านนางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาลที่ทำหน้าที่มากว่า 40 ปี กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ทำข่าวมาหลายรัฐบาล แต่ละรัฐบาลล้วนมีแนวทางในการจัดระเบียบคำถามสื่อออกมา แต่ส่วนมากก็ทำได้พักเดียว เพราะเวลาพูดคุยกับนักข่าว แหล่งข่าวเองมักมีรายละเอียดและทำให้นักข่าวมีคำถามต่อเนื่อง ดังนั้นการจำกัดให้ถามเพียงสี่คำถามก็คงเป็นไปไม่ได้
“เรื่องแสดงตัวก่อนถามก็เหมือนทำเนียบขาว เราเห็นด้วยว่าจะสะดวกกันทุกฝ่าย แต่จะทำได้เนิ่นนานมากน้อยแค่ไหน ข่าวแถลงคงทำได้โดยปกติ แต่ข่าวดักสัมภาษณ์คงยากหน่อย แต่เรื่องนายกอารมณ์ไม่ดี นักข่าวไม่อยากไปทำให้อารมณ์ไม่ดีหรอก หรือบางทีนักข่าวถามแบบไม่เตรียมตัว หรือถามแบบชงคำถามให้โต้ก็ทำให้อารมณ์ไม่ดีได้ สิ่งสำคัญคือสำนักเราต้องการประเด็นไหนอย่างไร” ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาลกล่าว
สำหรับท่าทีจากองค์กรสื่อนั้น วานนี้ นายมานพ ทิพย์โอสถ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ในฐานะโฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยระบุว่า กรณีที่นายกรัฐมนตรีให้สื่อแสดงตัวก่อนตั้งคำถามนั้น ทางคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ไม่ติดใจ แต่การกำหนดให้มีคำถามเพียง 4 คำถามนั้น สมาคมฯเห็นว่าน้อยเกินไปและอาจถูกมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในการตั้งคำถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของผู้บริหารประเทศ
ทั้งนี้นายมานพเชื่อเช่นกันว่าปรากฏการณ์จำกัดคำถามจะเกิดแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะการออกคำสั่งหรือสั่งให้มีแนวปฏิบัติเช่นนี้เป็นการฝืนธรรมชาติของผู้นำประเทศและสื่อมวลชนโดยทั่วไป

ศาลไม่รับฟ้องคดีประยุทธ์ทำรัฐประหาร

ศาลอุทธรณ์ยืนไม่รับฟ้องคดี ‘ประยุทธ์’ ทำรัฐประหาร 

เช้านี้ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องคดีที่กลุ่มพลเมืองโต้กลับ 15 คน ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ว่ามีความผิดฐานกบฏ เนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ยืนตามศาลชั้นต้นว่า คดีไม่มีมูล เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ลงวันที่ 22 ก.ค.57 บัญญัติยกเว้นความผิดและความรับผิดการกระทำทั้งหลายในการยึดอำนาจและการควบคุมอำนาจปกครองแผ่นดิน ของหัวหน้าคณะและ คสช.ไว้ จึงพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง 

คดีดังกล่าว โจทก์จำนวน 15 คน ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับพวกซึ่งเป็นคณะ คสช. รวม 5 คน เป็นจำเลยที่ 1 - 5 ในความผิดฐานเป็นกบฏ ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรโดยใช้กำลังประทุษร้าย และกระทำการสะสมกำลังพล หรืออาวุธ หรือสบคบกันเพื่อเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 จากกรณีเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 คสช.เข้ายึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ 

สำหรับบรรยากาศที่ศาลอาญาวันนี้ มีโจทก์เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาของศาลจำนวน 8 คน โดยนายบารมี ชัยรัตน์ หนึ่งในโจทก์ที่ร่วมฟ้อง ได้แสดงความเห็นเขาต้องการให้ศาลพิจารณาว่าการรัฐประหารดังกล่าวนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไทยหรือไม่ และรู้สึกเสียดายที่ศาลไม่รับคดีไว้พิจารณา