PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

อาลัยแด่อยาตุลลอฮ์ ฮัจญ์ อาลีอักบัร ฮาเชมี รัฟซันญานี



อาลัยแด่อยาตุลลอฮ์ ฮัจญ์ อาลีอักบัร ฮาเชมี รัฟซันญานี ตำนานแห่งนักต่อสู้ของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน
"อยาตุลลอฮ์อาลี อักบัร ฮาเชมี รัฟซันญานี บุคคลที่ทรงอิทธิพลคนสำคัญในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน"
อิมาม โคมัยนี (รฮ.) ได้เริ่มขบวนการต่อสู้กับทรราชชาฮ์ปาเลวี อยาตุลลอฮ์รัฟซันญานี ได้เริ่มเข้าสู่ขบวนการปฏิวัติ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ1960 ร่วมกับท่านอยาตุลลอฮ์ ซัยยิดอาลี เคเมเนอี(ผู้นำสูงสุด) เป็นต้นมา ท่านได้เป็นแกนนำคนสำคัญในขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) และเป็นผู้จุดประกายการปฏิวัติที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านได้เริ่มชีวิตการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากทรราชชาฮ์ปาเลวี สู่สาธารณรัฐอิสลาม เสียสละร่างกาย ทรัพย์สิน และครอบครัวของท่านเพื่อหนทางแห่งการปฏิวัติ จนถูกจับกุมและถูกทรมานหลายต่อหลายครั้ง แต่ท่านยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์การต่อสู้ และยืนเคียงข้างอิมาม (รฮ.) เสมอมา

หลังจากชัยชนะการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ท่านได้รับความไว้วางใจจากท่านอิมามผู้ล่วงลับ ครั้นเมื่ออิหร่านได้เข้าสู่สงคราม8 ปี อิมามโคมัยนีได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้แทนผู้นำสูุงสุด กำกับดูแลกองทัพ ในสงคราม อิรัค-อิหร่าน และได้รับความไว้วางใจจากท่านอิมามโคมัยนีและบรรดานักปฏิวัติในยุคต้นแห่งการปฏิวัติตลอดมา และเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน มีคำกล่าวจากท่านอิมามโคมัย ซึ่งถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กัยฮานว่า “ตราบใดที่ ออกอ ฮาเชมี กับ ออกอ คาเมเนอี จับมือร่วมกันทำงานเพื่อรัฐ จะไม่มีผู้ใดสามารถทำอะไรต่อการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้”
หลังจากที่ท่านอยาตุลลอฮ์ซัยยิดอาลี คาเมเนอี ขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุด อยาตุลลอฮ์ รัฟซันญานี ยังคงร่วมงานและเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของท่านผู้นำ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เหล่าศัตรูพยายามที่จะทำลายอิหร่านลง แม้ในวัยชราภาพท่านยังคงทำงานเพื่อรับใช้การปฏิวัติตามอุดมการณ์แห่งนักต่อสู้ ท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ประธานรัฐสภาคนแรกของอิหร่านถึง 9 ปี ซึ่งเป็นช่วงหลังจากชัยชนะการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเพียงแค่ไม่กี่ปี และตำแหน่งที่สำคัญที่สุด จนสามารถนำพาอิหร่านผ่านช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ที่เกิดขึ้นจากผลกระทบสงคราม 8 ปี อิรัก-อิหร่าน คือการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สี่ของอิหร่านในช่วงปี ค.ศ.1989-1997 และยังเป็นสมาชิกสภาผู้ชำนาญการสูงสุด​(สภาคัดเลือกผู้นำ) ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1983 จนถึงปัจจุบัน และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานสภาดังกล่าวคนที่สองเมื่อปี 2007-2011 และท่านยังดำรงตำแหน่งประธานสภาวิจัยผลประโยชน์แห่งชาติเมื่อปี ค.ศ.1989-ถึงปัจจุบัน
ท่ามกลางกระแสสร้างความขัดแย้งในอิหร่านเพื่อหวังทำลายรัฐอิสลาม โดยการสนับสนุนจากสหรัฐ อิสราเอล กลุ่มมุนาฟิก MKO และกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติอิสลามที่อยู่ในต่างประเทศ กลุ่มเหล่านั้นพยายามแอบอ้างท่านเพื่อให้กลุ่มผู้สนับสนุนท่านในอิหร่านทำการเคลื่อนไหว และกลุ่มต่อต้านจะเข้ามาฉวยโอกาสจากสถานการณ์ดังกล่าว ทว่าท่านได้อ่านเกมส์การเมืองที่สกปรกด้วยประสบการณ์และความฉลาดหลากแหลม ท่านได้จับมือกับท่านผู้นำและทำการกำจัดกลุ่มต่อต้านจนสิ้นซากลงไปในที่สุด สื่อตะวันตกยังคงพยายามเสนอข่าวเชิงลบว่า ท่านคือคนที่อยู่ตรงกันข้ามกับท่านผู้นำบ้าง มีแผนการโค้นล้มรัฐบ้าง จะยึดอำนาจบ้าง และมีปัญหาที่ไม่ลงลอยกันบ้าง โดยยึดคำพูดบางคำ หรือบางทัศนะที่ท่านอาจจะมีความคิดไม่ตรงกับท่านผู้นำบ้างในบางเรื่องมาเป็นประเด็นในการสร้างกระแสดังกล่าว แต่ด้วยกับความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า แผนการร้ายของเหล่าศัตรูได้รับแต่ความปราชัยเสมอมา
ด้วยกับความสูญเสียบุรุษที่ยิ่งใหญ่ รัฐบาลจึงประกาศไว้อาลัย 3วันทั่วประเทศ ถือเป็นความโศกเศร้าของประชาชาติอิหร่าน ท่านผู้นำสูงสุดได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อการจากไปของวีรบุรุษแห่งการปฏิวัติบางตอนว่า
“ข้าพเจ้าได้สูญเสียเพื่อนนักรบ เพื่อนร่วมงานและสหายแห่งรัก ถือเป็นความเจ็บปวดที่ไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้ ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เราทั้งสองได้ร่วมใจกันเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาของชาติ มาตรว่าเราอาจมีทัศนะที่ไม่ตรงกันในบางเรื่อง แต่สิ่งนี้ ไม่สามารถทำลายมิตรภาพแห่งความเป็นเพื่อนตลอดระยะเวลา59ปีลงได้ ท่านคือนักต่อสู้ที่เสียสละทุกสิ่งในแนวทางการปฏิวัติ ขอพระองค์ทรงเมตตาท่านด้วยเถิด”
ดังนั้นขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียนักต่อสู้ และวีรบุรุษแห่งการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน สหายแห่งท่านผู้นำสูงสุดและท่านอิมามโคมัยนี ขอพระองค์ทรงตอบแทนความดีงามในสิ่งที่ท่านได้สร้างให้แก่การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านด้วยเถิด
ด้วยสลามและดุอา
ดร.ซัยยิด มุบาร็อก ฮูซัยนี
นายกสมาคมนักเรียนเก่าไทย-อิหร่าน
9 มกราคม 2560

ว่าด้วยพรป.เลือกตั้งกับโรดแมป

พรป.เลือกตั้ง

กรธ.เตรียมพิจารณร่าง พรป.ว่าด้วย กสม. ยืนยันทำกฏหมายลูกเสร็จตามกรอบแน่นอน วางแผนฟังความเห็น 4 ภาคก่อนสรุป พรป.ว่าด้วย ส.ส. และ ส.ว.

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น กรธ. เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น ว่า การประชุมวันนี้ กร
ธ.จะพิจารณาเนื้อหาของ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด หลังจากได้มีการศึกษาเบื้องต้นมาแล้ว โดยมี 2 ส่วน

สำคัญที่จะต้องพิจารณา คือหลักการแนวคิด และบทบาทของ กสม. ที่ฝ่ายกฏหมายอยากเห็น กสม.ผลักดันนโยบาย และโครงสร้างการทำงานเพื่อช่วยลดปัญหาอุปสรรคในการละเมิดสิทธิ์ และอีกส่วนคือเรื่องการประสานงาน เชื่อมโยงกันกับองค์กรอิสระด้วยกัน  และจะมีการเปิดรับฟังความเห็นอีกครั้ง ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ที่อาคารรัฐสภา หลังจากนั้นก็จะพิจารณษในส่วนของ พรบ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ต่อไป

ทั้งนี้ นายชาติชายยังกล่าวด้วยว่า พรป. ว่าด้วย ส.ส. และ พรป.ว่าด้วย ส.ว. นั้น ได้ ได้มีการศึกษาและเตรียมยกร่างไว้แล้ว แต่ยังไม่สรุปทั้งหมด เพราะยังต้องมีการรับฟังความเห็นจากประชาชน ใน
แต่ละภูมิภาคก่อน ซึ่งได้วางแผนไว้แล้ว คือ วันที่ 4-5 ก.พ. ที่ จ.เชียงใหม่, 18-19 ก.พ.อุดรธานี,25-26 ก.พ.กาญจนบุรี และ 4-5 มี.ค. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รวมถึง จะมีการจัดที่รัฐสภาด้วยเช่นกัน  

พร้อมยืนยันจะพิจารณากฏหมายลูกทั้ง 10 ฉบับได้ตามกรอบอย่างแน่นอน และจะส่ง 2 ฉบับแรกให้ สภานิติบัญยัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาได้ทันที เมื่อ รธน.ใหม่มีผลบังคับใช้ แต่ข้อกังวลเรื่องวัน

เลือกตั้งนั้น กรธ.ไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะมีปัจจัยอื่นๆ ด้วย
----------
"ประวิตร" ปัดตอบผลโพล ปชช. ยังไม่พร้อมเลือกตั้ง ปี 60 ยืนยัน รบ. เดินหน้าทำตามโรดแมป เร่งปฏิรูปในทุกด้าน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ระบุว่า ยังไม่พร้อมจะเลือกตั้งในปี 2560 ว่า รัฐบาลไม่ได้คิดว่า ผลสำรวจจะออกมาในรูปแบบใด แต่รัฐบาลต้องเดินตามโรดแมปที่ได้สัญญากับประชาชนไว้ในภาพรวม ส่วนเรื่องอื่นยังไม่ได้คิดว่าจะอยู่ต่อหรือไม่อยู่ต่อ และอยู่อีกกี่ปี แต่จะต้องทำตามโรดแมปให้ได้

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ไม่ขอตอบว่า มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีถึงปัจจัยที่ไม่สามาารถดำเนินการตามโรดแมปได้หรือไม่ เนื่องจากโรดแมปขั้นที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จ จนไปสู่การเลือกตั้งและจัดตั้ง

รัฐบาล ซึ่งทุกอย่างต้องดำเนินการตามขั้นตอน ส่วนการปฏิรูปที่หลายฝ่ายมองว่าจะปฏิรูปไม่เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น ยืนยันว่าขณะนี้มีการปฏิรูปไปแล้วหลายเรื่องและขณะนี้ก็ยังดำเนินการปฏิรูปต่อไป
--------------

นายกฯ นำประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สั่งเร่งทำงานใน 3 เดือน ขอทุกฝ่ายร่วมมือ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ นางอรรชกา ศรีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวในช่วงต้นของการประชุม ว่า การประชุมทุกคณะให้เวลาเพียง 3 เดือน หากไม่ได้ข้อยุติ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็จำเป็นต้องดูแลงานโครงสร้างทั้งหมด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด เพราะที่ผ่านมาได้ตรวจสอบแล้วยังพบมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง และยังติดปัญหาหลายอย่าง จึงต้องมีคณะทำงานปฏิรูปขึ้นมา เช่นเดียวกับเรื่องนี้ คือการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจทั้งหมด เรื่องนี้อยู่ที่ความร่วมมือ หรือที่ทุกคนมีจิตใจอยากจะทำ ก็อยากจะให้มันเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นผลดีกับประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี ก็จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ครั้งที่ 1/2560 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล
-----------------
รองเลขาฯ คสช. ย้ำยึดตามโรดแมป เดินหน้างานสร้างความปรองดอง - ปรับลดจุดบริการประชาชนกราบพระบรมศพ เหลือ 6 จุด

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า วันนี้ ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเลขาธิการ คสช. กำชับให้ทุกส่วนได้ปฏิบัติตาม
ข้อห่วงใยของหัวหน้า คสช. ในการชี้แจงต่อสาธารณะ ยืนยันถึงการเดินหน้าประเทศยังเป็นไปตามโรดแมปของ คสช. และการเดินหน้างานสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ จึงควรที่จะได้ร่วม
มือกันปฏิบัติหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้ดีที่สุด

ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลประชาชนในพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย (กอร.รส.) รับผิดชอบอยู่นั้น ขณะนี้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการในเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยมีการปรับลดจุดบริการประชาชนเหลือ 6 จุด สนับสนุนเจ้าหน้าที่จิตอาสาเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในห้วงเวลากลางคืนและนอกเวลาราชการ การเตรียมมอบหมายให้ กอร.รส. เป็นหน่วยบริหารจัดการและจ่ายอาหารและเครื่องดื่มในภาพรวมและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถนำอาหารติดตัวมาในระหว่างเดินทางเข้าถวายสักการะได้
---------------
กห. จัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวตั้งแต่ปี 2560-2579 - เร่งปฏิรูปตำรวจ เน้นการทำงานระดับพื้นที่

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ภายหลังการประชุมคณะกรรมการการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ถึงความคืบหน้าของการปฏิรูปงานด้านความมั่นคง ว่า ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์กระทรวงกลาโหมในระยะยาวตั้งแต่ปี 2560-2579 เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เรียบร้อยแล้ว รวมถึงแผนแม่บทการปฏิรูปการจัดการการปรับปรุง

โครงสร้างของกองทัพปี 2560-2569 ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าว จะทำให้กองทัพมีขีดความสามารถ ทันสมัย และ เหมาะสมกับสถานการณ์

ส่วนความคืบหน้าการปฏิรูปตำรวจ ได้เน้นไปที่สถานีตำรวจ โดยเน้นการทำงานของสถานีตำรวจระดับพื้นที่ ที่จะต้องตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของ

การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งต่อจากนี้ตำรวจในพื้นที่จะต้องเป็นผู้ให้บริการประชาชน ไม่ใช่เข้าไปข่มขู่ประชาชนหรือเป็นเจ้านายประชาชน และต่อจากนี้
ตำรวจจะต้องลงพื้นที่พบปะประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้มากขึ้น
--------------
"มีชัย" โยนถามนายกฯ เลื่อนเลือกตั้ง คาดเร็วสุดปลายปี 60 ยัน ดำเนินการตามเวลาที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกระแสข่าวการเลื่อนโรดแมปการเลือกในปี 2560 ว่า เรื่องดังกล่าวต้องไปถามนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำหนดโรดแมป แต่ขณะนี้ กรธ. ยังคงดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะจัดทำกฎหมายลูกให้เสร็จภายใน 240 วัน หลังร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ แต่หาก สนช. มีมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.ป. ภายใน 240 วัน ก็คาดว่าจะยังคงเป็นหน้าที่ของ กรธ. ที่จะร่างต่อ โดยไม่มีการกำหนดกรอบเวลาการจัดทำให้แล้วเสร็จ แต่จะพยายามทำให้เสร็จภายใน 10 - 15 วัน จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ระบุว่า หากมองตามโรดแมปที่จะให้เกิดการเลือกตั้งในปี 2560 อย่างเร็วที่สุด คงสามารถจัดการเลือกตั้งได้คงอยู่ในช่วงปลายปี แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะยืดไปถึงกลางปี 
2561 หรือไม่
-------------
"มีชัย" เชื่อ สนช. ผ่านกฎหมายลูก ยันยกร่างอย่างดีที่สุด - พร้อมยอมรับในการทำหน้าที่และความเห็น

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับแรก ว่า ขณะนี้ได้ยกร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง เสร็จสิ้นแล้ว และจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นั้น จะต้องรอดูการพิจารณา พ.ร.ป. 2 ฉบับแรก ของ สนช. รวมถึงช่วงเวลาที่ กกต. และพรรคการเมือง จะสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกตั้ง แต่หาก กกต. และพรรคการเมืองมีความพร้อมการยกร่างรัฐธรรมนูญก็จะแล้วเสร็จก่อน 240 วัน

ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นว่ามีความเสี่ยงที่ สนช. จะไม่ผ่านร่างกฎหมายลูก เพราะ กรธ. ยกร่างอย่างดีที่สุด แต่ก็พร้อมยอมรับในการทำหน้าที่และความเห็นของ สนช. ส่วนความเหมาะสมที่จะจัดการเลือกตั้ง ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนได้ เพราะยังไม่มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองออกระบุว่า กรธ. ไม่แจ้งเกี่ยวกับการปรับแก้ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ให้พรรคทราบ

นายมีชัย ยืนยันว่า แม้จะไม่มีการส่งหนังสือไปถึงพรรคการเมือง แต่ได้มีการประกาศแจ้งผ่านเว็บไซต์ทุกครั้ง
-----------
กมธ.การเมือง ถกพิจารณาการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ - เสนอปรับอัตราลงโทษผู้ที่กระทำความผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชั่น

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เรื่อง การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งได้เสนอไว้ 4 คือ การปฏิรูปควบคุมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านระบบรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม หรือการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจของ ส.ส. การควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านองค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ และกระบวนการยุติธรรม ด้วยการปรับกระบวนการสรรหาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกำหนดบุคคลไว้ล่วงหน้า

ส่วนการควบคุมตรวจสอบข้าราชการภาครัฐและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจรัฐ เสนอให้ใช้แนวทางเดียวกับการตรวจสอบฝ่ายการเมือง พร้อมกับเสนอให้ปรับอัตราการลงโทษผู้ที่กระทำความผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชั่น เช่น คดีที่สร้างความเสียหายมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีความเสียหายมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท - 1,000 ล้านบาท ให้จำคุกตลอดชีวิต และคดีที่สร้างความเสียหายมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ให้ลงโทษด้วยการประหารชีวิต
-------------------//
นายกฯ นำถก นบข. นัดแรกเร่งปฏิรูปประเทศ ขอทุกฝ่ายร่วมมือให้เกิดเป็นรูปธรรม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ครั้งที่ 1/2560 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการข้าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนต้นของการประชุมว่า ปี 2560 นี้ เป็นปีของการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะเรื่องข้าวและการเกษตร ที่จะต้องช่วยกันและร่วมมือทำให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมทั้งการส่งออกข้าวไทยด้วย เพราะหากปฏิรูปไม่สำเร็จในปีนี้ ก็จะส่งผลกระทบไปปีต่อไป จึงขออย่าฝากความหวังไว้กับผู้อื่น เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่ที่เราที่จะต้องช่วยกันหาทางออก

สับขาหลอกเลื่อนเลือกตั้ง

สับขาลต.

ผ่ากระบวนท่าสับขาหลอกเลื่อนเลือกตั้ง

เทศกาลแห่งความสุขปีใหม่ผ่านพ้นไป กลับคืนสู่ภาวะปกติ

ทิ้งไว้แค่ควันหลง ตัวเลขสถิติความสูญเสียที่กรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่

29 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2560 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,919 ครั้ง

ผู้เสียชีวิตรวม 478 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 4,128 คน

มากเป็นประวัติการณ์ แถมแนวโน้มมีแต่จะสูงขึ้นทุกปี ทั้งๆที่ภาครัฐและเอกชนช่วยกันรณรงค์สุดกำลัง ทั้งการขอร้องให้ช่วยกันให้ความร่วมมือ หรือถึงขั้นบังคับใช้กฎหมายขั้นรุนแรง

ยกเป็นวาระแห่งชาติแบบที่บิ๊กตู่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศเลยว่า รัฐบาลถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุและการดื่มแอลกอฮอล์ มีเป้าหมาย

ลดจำนวนอุบัติเหตุจำนวนยานพาหนะที่ถูกดำเนินคดีในเทศกาลปีใหม่

แต่ก็เหมือนไม่มีความหมาย สรุปคนเจ็บคนตายยังพุ่งไม่หยุด

จุดเดียวเลยที่ยังแก้ไม่ตก นั่นคือจิตสำนึกของคน

ดีที่สุดก็คงทำได้แค่สวดมนต์ภาวนาให้แคล้วคลาด เพราะยังไงประเทศไทยก็ยากจะหลุดพ้นวังวนความสูญเสียบนท้องถนนในช่วงเทศกาล

อยู่ที่ว่าใครจะเป็นเหยื่อรายต่อไป

ส่วนที่แทบจะไม่ได้ฉลองเทศกาลปีใหม่กันเลย พี่น้องประชาชนในจังหวัดภาคใต้ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ปัตตานี นราธิวาส

ต้องเผชิญกับอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในรอบหลายปี

สถานการณ์หนักถึงขั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องนำทีม ครม.และข้าราชการที่เกี่ยวข้องคณะใหญ่ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสตรวจสถานการณ์ เยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบอุทกภัย

ช่วยผ่อนคลายทุกข์จากเหตุฉุกเฉินเฉพาะหน้า

ผลจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปของโลกคาดการณ์ไม่ได้อีกต่อไป

ตัดฉากกลับมาที่สถานการณ์ทางการเมืองที่เข้าสู่ปีใหม่ ซึ่งแน่นอนก็ต้องตามมาด้วยเงื่อนไขใหม่ และการคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงใหม่

ภายใต้ขุมข่ายอำนาจพิเศษเก่า ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์และทีมงาน คสช.

นับตั้งแต่การรัฐประหารเงียบ ยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากรัฐบาลนักการเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ผ่านมาจนปีใหม่ 2560 ก็ขึ้นปีที่ 3

ผ่านมา 4 พ.ศ. กินเวลาเกือบ 3 ปีเข้าไปแล้ว

แนวโน้มการทำตามสัญญาคืนความสุขให้คนไทยยังจับต้องได้ไม่เต็มไม้เต็มมือ

พูดกันตรงๆก็คือ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

ซึ่งนั่นก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ นายกฯลุงตู่ต้องใช้เวลาช่วงวันหยุดพักเทศกาลปีใหม่ลงมือร่าง “โมเดล” ในการเดินหน้ายุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดอง

ตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศในระยะที่ 2

ต่อเนื่องถึงการสั่งการในที่ประชุม ครม.นัดแรกประเดิมปีใหม่ ให้มีการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องเร่งด่วนเพื่อทำให้สังคมได้รับรู้ถึงความคืบหน้าการทำงานของรัฐบาล คสช.

ถึงจังหวะต้องส่งการบ้านให้ประชาชนสัมผัสได้ถึงเนื้องาน

บนพื้นฐานที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557ปฏิรูปปรองดองคือสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมแลกกับฉันทามติของประชาชนคนไทย

มอบอำนาจพิเศษให้นำประเทศก้าวข้ามวิกฤติ ติดหล่ม

ในอารมณ์ที่สังคมไทยยังไม่ได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ในมุมของการปฏิรูปที่ยังลอยๆเป็นนามธรรม แถมยังไม่ทันได้นำไปปฏิบัติก็ถูกตั้งแง่ต่อต้านแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20 ปี เป็นการครอบงำรัฐบาลในอนาคตให้ต้องเดินตามเกมอำนาจของทหาร

นักการเมืองแท็กทีมต้านแบบสุดกำลัง

ขณะที่เงื่อนไขปรองดองยังไม่เห็นหนทางปฏิบัติ นอกจากการปรองดองที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยรอบ 70 ปี น้ำตาเจือจางสีขั้วขัดแย้งให้จาง

ลงไป

แต่ลึกๆก็ยังแฝงไปด้วยปมแตกแยก พร้อมปะทุได้ทุกเมื่อ

สรุปตามสถานการณ์ประเทศไทยยังไม่หลุดจากวังวนเก่าๆ แม้จะเข้าสู่ปีใหม่ 2560 แล้ว

เทียบกับเทอมรัฐบาลทั่วไปคือ 4 ปี ตามเงื่อนเวลาที่เข้าสู่ห้วงปลายโรดแม็ปของ คสช.

โดยเฉพาะจุดสำคัญคือรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งตามปฏิทินจะมีการประกาศบังคับใช้ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และตามโปรแกรมต่อเนื่องจะเป็นจุดเริ่มนับหนึ่งของกระบวนการร่างกฎหมายลูก

ประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง ฯลฯ

ต้องเสร็จภายใน 8 เดือน หรือ 240 วัน

ซึ่งก็จะทันกำหนดเลือกตั้งปลายปี 2560 ตามสัญญาประชาคมที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำรัฐบาลทหารของไทย ได้ประกาศต่อนานาชาติ

เป็นโอกาสที่จะกู้สถานการณ์ แซงก์ชั่นโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ

ขณะที่การเมืองก็จะคืนกลับสู่ธรรมชาติ ตามกระแส ความเคลื่อนไหวของป้อมค่ายต่างๆขยับเตรียมแต่งตัวกลับมาลงสนามเลือกตั้ง รวมถึงการตั้งพรรคการเมือง นอมินี ทหารขึ้นมารองรับเกมอำนาจ

พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะเต็งหามนายกฯคนนอก

ทุกฝ่ายยึดตามโรดแม็ปเป็นที่ตั้ง

นักธุรกิจ นักลงทุน นักเลือกตั้ง รวมถึงประชาชนคนไทยก็ลุ้นให้เป็นไปตามคิวนี้

เพราะมันคือโอกาสที่จะทำให้สถานการณ์เมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติ ได้ทำมาหากิน แก้ปัญหาวิกฤติปากท้องที่เข้าขั้นสาหัสมาหลายปี

แต่ก็อีกนั่นแหละ สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลก็ส่อเค้าตั้งแต่ต้นปีเลย

ตามสัญญาณที่คนระดับนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาโยนทุ่นนำร่องเป็นนัย การเลือกตั้งตามโรดแม็ปอาจยืดเยื้อออกไป

โดยอ้างถึงเงื่อนเวลาที่ต้องใช้ในการพิจารณากฎหมายลูกอย่างละเอียดถี่ถ้วน

ส่อดึงจังหวะ ลากกันแบบเต็มเหยียด

และนั่นก็หมายถึงการเลือกตั้งจะไปเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายน พ.ศ.2561

ในวงเล็บต้องไม่มีเหตุติดขัด รัฐธรรมนูญต้องบังคับใช้ตามกำหนดด้วย

ทุกอย่างต้องว่ากันหลังวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้

แต่เรื่องของเรื่องตามสัญญาณแปร่งๆ พวกที่จมูกไว ได้กลิ่นก่อนก็คือนักการเมือง

จับอาการทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยประสานเสียงโทนเดียวกัน อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พากันออกมาดักทาง คสช.

มัดคอ พล.อ.ประยุทธ์อย่าผิดสัญญาประชาคม

เพราะมันจะกระเทือนเครดิตความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ

ทำให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกฯ ทีมงานรัฐบาล คสช.ออกมายืนยัน

รัฐบาลยังยึดตามโรดแม็ปเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รีบสยบแรงกระเพื่อมไว้ก่อน

อย่างไรก็ตาม เมื่อจับทางจาก พล.อ.ประยุทธ์ที่ออกตัวเป็นเชิงว่า ต้องเข้าใจขั้นตอนโรดแม็ปคืออะไร 1.ต้องมีรัฐธรรมนูญ 2.ต้องทำกฎหมายลูก จะกี่ฉบับไม่รู้แต่มีกรอบเวลาอยู่ ถ้าทำเกินเวลาก็

แสดงว่าไม่ทัน ถ้าทำเร็วกว่านั้นก็ทัน

จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับขั้นตอน โรดแม็ปก็คือโรดแม็ป ไม่ต้องไปฟังใคร

แปลไทยเป็นไทยก็ยังกั๊ก ไม่ฟันธงชัดเจน

ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็เป็นอะไรที่เข้าใจได้ ตามขั้นตอนจัดทำกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการในส่วนของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่จะส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช.

รัฐบาล คสช.ไม่ได้เข้าไปมีส่วนด้วย

จะเร่งให้เร็วหรือดึงให้ช้าก็ขึ้นอยู่กับ สนช.

แต่นั่นก็ว่ากันในมุมของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 กำหนดไว้ ไม่ได้ว่ากันในมุมของ พล.อ.ประยุทธ์ ผู้มีสถานะเป็น รัฏฐาธิปัตย์มีดาบอาญาสิทธิ์มาตรา 44 อยู่ในมือ

ผ่าทางตัน เดินทางลัด อัตโนมัติยังไงก็ได้

เว้นแต่เป็นจังหวะสับขาหลอก โยนให้เป็นเกมของ สนช.ในการลากโรดแม็ปออกไป

แต่ทั้งหมดทั้งปวงเลย ปรากฏการณ์ปรับโรดแม็ป เลื่อนเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการของ สนช. หรืออำนาจในมือรัฏฐาธิปัตย์

ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับปัจจัยคะแนนนิยม ต้นทุนหน้าตักของ นายกฯลุงตู่เป็นสำคัญ

เมื่อสถานการณ์มาถึงวันนี้ สังคมได้รับรู้ถึงความเป็นไปอะไรหลายๆอย่างในช่วงเปลี่ยนผ่าน

กฎหมายหรืออำนาจ ล้วนไม่มีความหมาย

หากขาดซึ่งศรัทธาประชาชน.


ทีมการเมือง ////////////////

คิกออฟเมกะโปรเจกต์จุดเปลี่ยนประเทศ : การเมืองนิ่ง-เศรษฐกิจฟู

รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินมา 2 ปี 4 เดือน พยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะและวางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองปรามาสในทางลบมาตลอด

วันนี้ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล นำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยังถูกจับตาว่าจะเป็นกลไกสำคัญทางการเมืองช่วงเปลี่ยนถ่ายอำนาจพิเศษ เพื่อเป็นฐานสำหรับเดินหน้า

ปฏิรูปประเทศ หลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ

จังหวะก้าวเดินนับจากต้นปีระกาเป็นต้นไป จะเป็นด่านทดสอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า ไก่ขัน หรือหงอยคอตก ผลทดสอบออกมาหน้าไหนย่อมมีผลต่อโรดแม็ปและกลไกสำคัญ

ทางการเมืองช่วงเปลี่ยนถ่ายอำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)โดย นายสมคิด ให้สัมภาษณ์ ทีมข่าวการเมือง เริ่มจากฉายภาพดูย้อนไปถึง 10 ปีที่ผ่านมาว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมใน

ประเทศ (จีดีพี) โตจาก 6-7 เปอร์เซ็นต์ หล่นไปเรื่อยเหลือ 5-4-3 จนเหลือ 0.8 เปอร์เซ็นต์ เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขในปี 60

ถามว่าพอใจไหม ถือว่าพอใจ เพราะไต่ขึ้นมาจาก 0.8 เปอร์เซ็นต์ 2.8 เปอร์เซ็นต์และล่าสุด 3 เปอร์เซ็นต์กว่าในปี 59 ไม่มีที่ไหนทำได้แล้ว เมื่อเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน จีดีพีเติบโต 6-7

เปอร์เซ็นต์ แต่ขนาดเศรษฐกิจของไทยโตกว่าเวียดนาม 12 เท่า โตกว่าเมียนมา 7-8 เท่า โตกว่ากัมพูชา 20 เท่า โตกว่า สปป.ลาว 30 เท่า

ประเทศเหล่านี้ เศรษฐกิจขยายตัวนิดหนึ่งก็ขยับขึ้นทันที

อุตสาหกรรมที่ทำให้ประเทศเหล่านี้แข็งแรง ทั้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์ แต่อุตสาหกรรมพวกนี้ผ่านเราไปแล้ว ล่าสุดอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมดของจีนที่ค่าแรงสูงกว่าเวียดนาม 2

เท่า ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่เวียดนาม มาไทยไม่ได้ เพราะค่าแรงของไทยสูงกว่า

ฉะนั้นในช่วงนี้เราต้องปฏิรูปโครงสร้างการผลิต ทั้งพยายามหาตัวเก่าที่ไม่มีนวัตกรรมอัพขึ้นมาให้มีมูลค่า หรือหาตัวใหม่ที่เป็นอนาคตของประเทศให้เราอยู่ได้ หากไม่ทำเราไม่มีทางยืนอยู่ได้

เรื่องนี้รอไม่ได้ ประเทศไทยอยู่ในฐานะแบบนี้ไม่ได้ ครั้งหนึ่ง ฮ่องกง สิงคโปร์ จีนเคยตกอยู่ในสภาวะแบบนี้ คือ เริ่มลง แต่สามารถกระโดดไปอีกขั้นหนึ่งได้ โดยมีอุตสาหกรรมที่มีจุดขายของตัวเอง

เพิ่มจุดขายขึ้นมาแข่งขันได้ ไม่ต้องอาศัยค่าแรงราคาถูก มันก็ขยับเคิร์ฟขึ้นมาได้ และเคิร์ฟเหล่านี้กำลังไปจากไทย

ผมคุยกับญี่ปุ่นว่า เราเป็นมิตรเก่า เขาอยู่กับเราแน่นอน เพราะเป็นไปไม่ได้ที่มีคนญี่ปุ่นอยู่ 6-7 หมื่นคน เปรียบเหมือนมีบ้านอยู่ที่เมืองไทย มีโรงงานเต็มไปหมด ยกเว้นไม่มีอะไร ไม่มีความแน่นอน มี

ความเสี่ยงสูง

แต่ขณะนี้ทุกอย่างกำลังดีขึ้น เราอยู่ในจุดเปลี่ยนผ่าน

ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ญี่ปุ่นก็สบายใจ ผมกำลังอธิบายให้เห็นว่าไทยอยู่ในเส้นเคิร์ฟพวกนี้มาก่อน ถ้าไม่ทรุดลงก็ต้องขยับขึ้นไป พวกนี้ก็จะขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ จีนตอนนี้ไปอยู่อันดับสูงขึ้น เราต้องไปแทน

ในสิ่งที่เขาไม่มี ขยับขึ้นเรื่อยๆ ไทยมีเวลาแค่ 2-3 ปี ไม่เช่นนั้นเวียดนามกินเราแน่

เมื่อเราเข้ามาสิ่งแรกที่ทำไม่ให้เศรษฐกิจทรุด คือ อัดฉีดเงินเข้ากองทุนหมู่บ้าน ตำบลละ 5 ล้านบาท หากไม่เติมเงินลงไปชาวนาตายแน่ เพราะรัฐบาลไม่เอาจำนำข้าวและประกันรายได้ ที่เคยก่อให้

เกิดปัญหาตามมา

โชคดีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ยอม ลองนึกภาพดูว่า รัฐบาลทหารยอมใช้กองทุนหมู่บ้าน บวกกับปี 59 ประสบปัญหาภัยแล้ง สินค้าเกษตรราคาตก น้ำมันราคา

ถูก ทำให้พยุงเศรษฐกิจได้ ทุกอย่างเบาบางลง ไม่ทรุดมากเกินไป

เศรษฐกิจปี 60 เชื่อว่าจะดีขึ้น เพราะตลาดใหญ่ที่สำคัญ 2 ประเทศ ทั้งจีนเริ่มดีขึ้น ญี่ปุ่นสัญญาณดีขึ้น และนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในระยะสั้นจะเป็นประโยชน์

กับไทย เพราะมีการทุ่มงบการลงทุนอย่างไม่เคยมีมาก่อน การขยายการลงทุนในสหรัฐอเมริกามีมากขึ้น

ขณะที่ในไทยมีโครงการเมกะโปรเจกต์มูลค่าเป็นล้านล้านบาท จะเริ่มคิกออฟโครงการปี 60 ถึงอย่างไรปีนี้จะต้องหล่อลื่นให้โครงการออกเร็ว ภาคเอกชนก็จะตาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

(เอฟดีไอ) จะมาแน่นอน ถ้าทุกอย่างเดินตามโรดแม็ป

ยิ่งขณะนี้โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดี การบริโภคเริ่มฟื้นแล้ว

แต่เศรษฐกิจปากท้องยังเป็นปัญหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ายังแก้ไม่ได้ นายสมคิด บอกว่า แนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ดีแน่นอน ที่สำคัญเมื่อถึงจังหวะที่เศรษฐกิจโต จะทำอย่างไรให้สามารถ

กระจายความมั่งคั่งไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นได้

เป็นภารกิจที่สองจะต้องปฏิรูปให้มีความสมดุลระหว่างการส่งออก การลงทุนระหว่างประเทศ กับการสร้างเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้แข็งแรง ทั้งด้านการเกษตรและท่องเที่ยว

นอกจากนี้ การปฏิรูปงบประมาณ กระจายงบประมาณไปสู่กลุ่มจังหวัดมาเชื่อมเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีความต่อเนื่องเชิงยุทธศาสตร์ เครื่องยนต์ที่พัฒนาประเทศจริงๆอยู่ที่กลุ่มจังหวัด เคยผลักดันเรื่องนี้

แต่ไม่ผ่าน เพราะนักการเมืองไม่ปล่อย เลยทำไม่ได้ แต่ พล.อ.ประยุทธ์เอาเป็นครั้งแรก

จึงกำหนดเดดไลน์ก่อน 15 ม.ค.60 ให้รวบรวมตัวเลขมาทั้งหมด เพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองก่อนอนุมัติงบประมาณลงไปให้

นโยบายการขับเคลื่อนพื้นที่กลุ่มจังหวัด เมื่อบวกกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมถึงกันได้หมด อนาคตการกระจายความเจริญจะไปอยู่ส่วนภูมิภาค

โครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านในปีนี้ต้องจบ ถือเป็นหัวใจนำไปสู่การปฏิรูปภาคการเกษตรและคอมมูนิตี้อย่างแท้จริง ยิ่งได้ให้โจทย์ไปแล้วในการทำดิจิทัลบิ๊กแบนด์ให้กระหึ่มทั้งอาเซียน

และยังมีนโยบายวันเบลท์ วันโรดเชื่อมเอเชียทั้งหมด ที่ไทยเป็นแกนกลางของอาเซียน ถ้าเราก่อสร้างได้ก่อนเขาต้องมาพึ่งเรา ทั้งหมดเป็นการรีฟอร์ม ถ้าทำได้จีดีพีจะมีโอกาสขยับถึง 4-5 เปอร์เซ็นต์

มาถึงวันนี้ขออย่างเดียวไม่ต้องให้มาเชียร์รัฐบาล แต่อยากให้รู้ว่ารัฐบาลทำอะไรอยู่

ไม่เช่นนั้นจะไม่เข้าใจและช่วยดูแลงานเหล่านี้ให้สามารถผ่านไปได้ ไม่เห็นผลหรอกในยุคเรา และในยุคนี้การผลักดันโครงการอะไร เช่น ซิงเกิลเกตเวย์จะถูกนำไปเป็นประเด็นทางการเมืองง่ายมาก

การปฏิรูปเศรษฐกิจจะพลิกประเทศไปทิศทางที่ดีขึ้นในระยะยาว แต่กลับถูกฝ่ายการเมืองมองว่ารัฐบาลหมดมุกถึงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ นายสมคิด บอกว่า มาตรการที่ออกไปต้องขยายให้

ประชาชนรู้ว่า มุกคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้คนที่มีรายได้น้อยอยู่รอดได้

ปี 59 ถ้าไม่มีมาตรการเหล่านี้คนมีรายได้น้อยจะลำบากมาก ถ้าเศรษฐกิจทรุดถึงจุดหนึ่งแล้วมันดึงไม่ขึ้น ถ้าเมืองไทยโชคดี 3-4 ปีจะพลิกได้ แต่ถ้ามาบอกว่าหมดมุก จะเอามุกอะไร มุกกระจอกๆผม

ไม่มีแน่ ไม่อยากต่อล้อต่อเถียงด้วย

ขอเดินหน้าทำงานต่อและภาวนาให้มีการเลือกตั้งเร็วแล้วจะไป และทิ้งคนรุ่นใหม่เอาไว้ ทั้งนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถ้าเขาอยากจะเล่นต่อ

คนรุ่นใหม่ที่จะอยู่ต่อในรูปแบบไหน นายสมคิด บอกว่า ถึงเวลานั้นเขาคงร่วมกับพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่หรือพรรคประชาธิปัตย์สนใจก็ร่วมกันได้

ทีมข่าวการเมืองถาม ว่า หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลมีชื่อเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ และมีชื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนด้วย นายสมคิด บอกว่า ชีวิตของผมแปลก มาตอน

ที่ย่ำแย่

ต้มยำกุ้งก็ทีหนึ่งแล้ว ตลอดเวลาที่อยู่ 6 ปี มาอยู่การเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นเบอร์สองยิ่งหนัก เดี๋ยวก็โดนอันโน้นอันนี้

ผมมาคราวนี้เพราะรู้ว่าถ้าไม่ทำตรงนี้คนไทยจะลำบาก

รับประกันเลยว่าไม่ตั้งพรรค ถ้าตั้งๆไปนานแล้ว

ไม่มีชื่อผมแน่ เพราะไม่คิดจะเล่นการเมืองต่อ อายุ 64 แล้ว

แต่อนาคตข้างหน้าขอวิเคราะห์ว่า จำเป็นต้องมีพรรคใหม่

เพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพ///////////////////
“แนวโน้ม” การเลื่อน “โรดแมป” พัฒนาเข้าสู่กรอบของ “ความเชื่อ”
มติชน 9มกราคม2560

ไม่ว่า “คสช.”จะต้องการ ไม่ว่า “คสช.”จะไม่ต้องการ แต่แนวโน้มที่เริ่มชัดเป็นลำดับ

คือ แนวโน้มที่จะ “เลื่อน” โรดแมป

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่จะเป็น “การเลื่อน” ทั้งๆที่ “คสช.” ออกมายืนยันอย่างหนักแน่น จริงจัง

ว่าจะ “ไม่เลื่อน”

ที่ใช้คำว่า “แนวโน้ม” เท่ากับเป็น “เงาสะท้อน” ในทาง “ความคิด”

เสมอเป็นเพียง “ความคิด” แต่ยังไม่ได้ “เป็นจริง”

กระนั้น หาก “ความคิด” นี้พัฒนากลายเป็น “ความเชื่อ” และพัฒนาเป็น “ความมั่นใจ”

“นามธรรม” ก็จะถูกแปรเป็น “รูปธรรม”

ฉะนั้น อย่าประมาทการออกมา “ทำนาย” ของโหรจากสำนักสุขิโต อย่าประมาทการออกมา “โยนหินถามทาง” ของบุคคลระดับ “รองประธาน” สนช.

เพราะนี่คือบท “สมิงพระราม”

หากติดตามท่าทีของ “นักการเมือง” ไม่ว่าจะจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์

ก็มองออก แทงทะลุ

แทงทะลุว่า หากมีการลงแรงกันอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวน การถึงเพียงนี้

โอกาสที่จะ “เลื่อน” โรดแมปออกไป มีความเป็นไปได้

ท่าทีของพวกเขาจึงมากด้วยความสุขุม เปี่ยมคัมภีรภาพ สำแดงออกอย่างรู้เท่าทัน

เชื่อได้เลยว่า ตระเตรียมไว้ “ยาว”

หากศึกษา “กระบวนท่า” ที่ออกมาก็จะเข้าใจ ไม่ว่าการนำเสนอคำว่า “ตัวแปร”

ไม่ว่าการใช้กระบวนการ “โหร”

และที่สุดก็ผลักบรรดา “สมิงพระราม” ออกมาจาก “สนช.”

ตามมาสำทับด้วย “สปท.” ซึ่งเป็นลูกแหล่งตีนมือ

ถือว่ามี”การทุ่มทุน”อย่างเต็มที่

มาถึงตอนนี้ “ความคิด” เริ่มแปรเป็น “ความเชื่อ” ว่า โรดแมปต้อง “เลื่อน”อย่างแน่นอน

รู้สึกหรือไม่ในความสงบของ 2 คนสำคัญ

1 คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. 1 คือ นายพรเพชร วิชิต ชลชัย ประธาน สนช.

สงบนิ่งอยู่ใน “ที่ตั้ง”

มาถึงขั้นนี้แล้วหลายฝ่ายจึงเริ่มตระเตรียมความคิดว่าจะ “เลื่อน” ไปมากน้อยเพียงใด

มิใช่ “เลือกตั้ง” ต้นปี 2561 อย่างแน่นอน

เพราะว่าเสียงจากทาง “สนช.” ฟันธงลงไปเลยว่าน่าจะเป็น “กลางปี 2561”

ความจัดเจนระบุว่า น่าจะเป็น “ปลายปี 2561”
//////////////////
โพลหนุนเลื่อน'โรดแมป'ไปปี2561

ผลโพลระบุ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าประเทศยังไม่พร้อมเลือกตั้งปี 60 เพราะยังมีความขัดแย้ง-จะมีพระราชพิธีสำคัญ อยู่ในช่วงไว้ทุกข์ หนุนคสช.ขยับโรดแมปออกไปเป็นปี 61 จ่อคลอดบอร์ดใหญ่ กรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูป-ปรองดองสัปดาห์นี้ "ประยุทธ์" นั่งประธานคุมหางเสือเอง

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยผลสำรวจ "ประชาชนคิดอย่างไร ต่อการปฏิรูปประเทศและการเลือกตั้ง"

ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ ยังไม่พร้อมจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง และส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งเป็นปี 61 

โดยยังเห็นว่าควรมีการปฏิรูปประเทศก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง ขณะที่การปฏิรูปประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ค่อนข้างมีความก้าวหน้า

โดยผลสำรวจดังกล่าว ทางสวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,192 คน ระหว่างวันที่ 2-7 มกราคม 2560 เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ต่อการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ตั้งแต่รัฐบาลเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ โดยดำเนินการมาเป็นลำดับตามโรดแมปที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาในทางที่ดีขึ้น พร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ผลสำรวจได้ถามว่า ประชาชนคิดว่าการปฏิรูปประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ณ วันนี้ มีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด พบว่า ค่อนข้างก้าวหน้า 35.63%, ยังไม่ค่อยก้าวหน้า 29.81%, ก้าว
หน้า 17.70%, ไม่ก้าวหน้า 16.86%

ส่วนระหว่างการเลือกตั้งกับการปฏิรูปประเทศ ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรนั้น เห็นว่าปฏิรูปประเทศก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง 41.19%, เลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปฏิรูปประเทศ 38.06%

และเลือกตั้งและปฏิรูปประเทศไปพร้อมกัน 20.75%

สำหรับกรณีประชาชนคิดว่าสถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ พร้อมจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่มองว่ายังไม่พร้อม 51.23% เพราะยังมีความขัดแย้ง กังวลว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ 
อาจเกิดการชุมนุมเคลื่อนไหว ปัญหาการเมืองไทยแก้ไขได้ยาก สถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ยังไม่พร้อม จะมีพระราชพิธีสำคัญ ขณะที่ 48.77% มองว่าพร้อมแล้ว เพราะเป็นไปตามโรดแมปที่
กำหนดไว้ อยากให้บ้านเมืองเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งที่มาจากความต้องการของประชาชน ประชาชนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง

ผลสำรวจได้ถามประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ถ้าการเลือกตั้งจะเลื่อนออกไปเป็นปี 2561 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย 36.99% เพราะปี 2560 จะมีพระราชพิธีสำคัญ ยังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์

นักการเมือง พรรคการเมือง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีเวลาเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น ขณะที่ไม่เห็นด้วย 32.21% เพราะอยากให้เป็นไปตามโรดแมปที่กำหนดไว้ หากเลื่อนออก

ไปอาจมีปัญหาต่างๆ ตามมา อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ จะได้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนอีก 30.80% ไม่แน่ใจ

สำหรับความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง ที่ประกอบด้วยกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ 1.คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2.คณะกรรมการเตรียม

การปฏิรูปประเทศ 3.คณะกรรมการปรองดอง และ 4.คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.บอกไว้เมื่อปลาย

สัปดาห์ที่ผ่านมา

ล่าสุด นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำหรับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง จะมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ทำหน้าที่บัญชาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญๆ มีรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 คนกำกับดูแล และระดับหน่วยงานมีรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงทำหน้าที่ขับเคลื่อน ผ่านคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์

นายสุวิทย์กล่าวว่า สำหรับ 3 คณะกรรมการที่เหลือ มี 2 คณะที่จะขับเคลื่อนสอดรับรัฐธรรมนูญใหม่ คือ 1.คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน และ 2.
คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปมา 2 ปี ควบคู่การปฏิรูปของรัฐบาล นายกฯ จึงเห็นว่า ที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปกฎหมายและแนวทางบริหารจัดการ นายกฯ จึงต้องการให้นำทั้งหมดมากลั่นกรอง เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และเพื่อจัดลำดับความสำคัญ

"ปี 60 นายกฯ จะชู 3 เรื่องหลักเป็นสำคัญคือ เรื่องการปฏิรูป ยุทธศาสตร์และปรองดอง จึงมี 3.คณะกรรมการปรองดองขึ้นมา เพื่อสร้างทุกคนมีส่วนรวมร่วมกันไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติ และทั้งหมดนำ
ไปสู่การตั้งสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดองขึ้น ทำหน้าที่ประสานบูรณาการทำงานทั้ง 4 คณะนี้ เพื่อติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าและปัญหาข้อติดขัดและรายงานตรง
นายกฯ"

นายสุวิทย์กล่าวว่า สำหรับการจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่กับ 4 กรรมการย่อยทั้งหมด นายกฯกำชับให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยในสัปดาห์นี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง จะต้องทำให้เกิดการประชุมครั้งแรกให้ได้ อย่างเร็วสุดวันที่ 11 ม.ค. และช้าสุดวันที่ 12 ม.ค.นี้ เพราะนายกฯ ต้องการให้สอดคล้องตามโรดแมปที่ได้วางไว้

ด้านนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา ’35 และอดีตคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ที่ พล.อ.ประยุทธ์จะตั้งกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดองขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องการสร้างความปรองดองและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ความจริงแล้วนับจากเดือน มิ.ย.59 กลุ่มการเมืองทุกสีเสื้อได้ยุติข้อขัดแย้งและเปิดโอกาสให้นายกฯ และผู้นำ คสช.ได้บริหารบ้านเมืองและสร้างความปรองดองได้อย่างไม่มีอะไรติดขัด แต่กลับไม่มีการสร้างความปรองดองที่เป็นรูปธรรม การตั้งคณะกรรมการปรองดองขึ้นมาในเวลานี้ ซึ่งใกล้ช่วงการเลือกตั้ง คงสายเกินไปแล้ว ดังนั้นนายกฯ และผู้นำ คสช.ต้องมีความชัดเจนกับตัวเองก่อน ว่าต้องการปรองดองจริงจังหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าเป็นเพียงต้องการสร้างสถานการณ์ปรองดองเพื่อยื้อเวลาไปเรื่อยๆ เท่านั้น

นายอดุลย์กล่าวว่า หากมีตั้งใจจริง ก็ควรนำข้อเสนอ วิธีการ และแนวทางของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองของ สปช. ที่มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานมาใช้ ซึ่ง
สามารถปฏิบัติได้ทันที ส่วนคณะกรรมการที่ตั้งใหม่ ก็ทำการปฏิรูปประเทศ และสร้างการปรองดองในระยะยาว ที่สำคัญนายกฯ และผู้นำ คสช.พยายามไม่เข้าใจหลักการปรองดองทั้งแบบสากลทั่ว
โลกและการปรองดองแบบไทยๆ ซึ่งนายกฯ ผู้นำ คสช.นำไปปฏิบัติแล้วด้วยการนิรโทษกรรมทันทีที่ทำการยึดอำนาจรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญให้แก่ตนเอง ในขณะที่ภาคประชาชนทุกเสื้อสี ที่ต่อสู้
เรียกร้องความถูกต้องชอบธรรมเพื่อประชาสังคม ต้องโดนคดีทั้งอาญาและแพ่ง จำคุก โดยถ้วนหน้า และยังทุกข์ทรมานจำนวนมาก ดังนั้นอย่าสร้างความสบสนวุ่นวายอีกเลย การตั้งกรรมการปรองดองขึ้นมาอีก จะพิสูจน์ว่ามีเจตนาซื้อเวลาซ้ำซาก

"ขอเตือนว่า ผู้นำ คสช.อย่าผิดคำสัญญา หากเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งจะซ้ำรอยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬอีก ส่วน ”สะพาน” ที่ท่านนายกฯ จะสร้างขึ้น ต้องให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันสร้าง ถึงจะเป็นสะพานที่แข็งแกร่งถาวร แต่หากท่านสร้างคนเดียว ใครจะข้ามสะพานไปกับท่าน เพราะกลัวไปไม่ถึงฝั่งจะพังลงมาก่อน" นายอดุลย์กล่าวย้ำ

นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) บอกว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลเตรียมตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปและการปรองดองขึ้น เพราะทั้ง 2 เรื่องต้องทำไปพร้อมๆ กัน ที่ผ่านมาเราเน้นกันเฉพาะการปฏิรูปในความหมายแคบๆ โดยเน้นเฉพาะการเขียนรัฐธรรมนูญกับการเขียนกฎหมาย แต่ลืมเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง ต้องไม่ลืมว่าเขียนกฎหมายดีแค่ไหน แต่ถ้าสังคมยังแตกแยกกันอยู่ หลังเลือกตั้งก็กลับไปสู่วังวนปัญหาเดิมๆ

ต้องยอมรับความจริงว่าหลังรัฐประหารความขัดแย้งในภาพรวมอาจจะดูคลี่คลายลงไป แต่ก็เป็นเพียงเปลือกนอก แต่เงื่อนไขสำคัญของความขัดแย้งยังมีอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้หายไปไหน ถ้าการ

ปรองดองไม่ไปจัดการกับเงื่อนไขหลักๆ ก็เหมือนกับเชื้อไฟยังคงมีอยู่และมีโอกาสคุโชนได้ตลอดเวลา ปี พ.ศ.2560 ถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของ คสช. การผลักดันทั้งเรื่องปฏิรูปและปรองดองจึงเป็นสิ่งสำคัญ" นายสุริยะใสกล่าว.
////////////
"มีชัย"โยนถามนายกฯ กรณีการเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งไปปี 61
โดย MGR Online    
9 มกราคม 2560 15:28 น.

        นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมรูญ (กรธ.) กล่าวว่า การเลื่อนโรดแมปการเลือกตั้งไปในปี 2561 เรื่องดังกล่าวต้องไปถามนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำหนดโรดแมป แต่ขณะนี้ กรธ.ยังคงดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยการจัดทำกฎหมายลูกให้เสร็จภายใน 240 วันหลังร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ได้ยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.)ว่าด้วยพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว และจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทันทีที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้
        ส่วน พรป.ว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภานั้นจะต้องรอดูการพิจารณา พรป. 2 ฉบับแรกของสนช. รวมถึงช่วงเวลาที่ กกต.และพรรคการเมืองจะสามารถเตรียมความ
พร้อมก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งในระหว่างนี้ กรธ.จะดำเนินการร่างกฎหมายลูกฉบับอื่นควบคู่กันไปด้วย โดยหาก กกต. และพรรคการเมืองมีความพร้อมการยกร่างรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จก่อน 240 วัน 

หาก สนช.มีมติไม่เห็นชอบร่าง พรป.พรรคการเมือง หรือ กกต. ภายใน 240 วัน คาดว่าจะยังคงเป็นหน้าที่ของ กรธ.ที่จะยกร่างต่อจนกว่าร่างจะผ่าน โดยไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ แต่ กรธ.จะพยายามทำให้เสร็จภายใน 10-15 วัน จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อยืดระยะเวลาออกไป

        นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่เห็นว่ามีความเสี่ยงที่ สนช.จะไม่ผ่านร่างกฎหมายลูก เพราะ กรธ.ยกร่างอย่างดีที่สุด แต่พร้อมยอมรับในการทำหน้าที่และความเห็นของ สนช. ส่วนความ
เหมาะสมที่จะจัดการเลือกตั้ง ขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนได้ เพราะยังไม่มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากจะเกิดการเลือกตั้งภายในปีนี้ตามโรดแมป คาดว่าอย่างเร็วที่สุดคงสามารถเกิดการเลือกตั้งได้ในช่วงปลายปีนี้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะยืดไปถึงกลางปี 2561 หรือไม่ เพราะหากมีการเลื่อนถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย โดยในร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หนดกรอบเวลาจัดการเลือกตั้งที่ชัดเจน เพียงแต่กำหนดให้จัดเลือกตั้งภายใน 120 วัน ภายหลังจากกฎหมายลูก 4 ฉบับแรกแล้วเสร็จ ดังนั้นตอนนี้จึงยังไม่เริ่มต้นโรดแมปวันเลือกตั้ง เพราะร่างรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้ ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองออกระบุว่า กรธ.ไม่แจ้งเกี่ยวกับการปรับแก้ร่าง พรป.พรรคการเมืองให้พรรคทราบ นายมีชัย ยืนยันว่า แม้จะไม่มีการส่งหนังสือไปถึงพรรคการเมือง แต่ได้มีการประกาศแจ้งผ่านเว็บไซต์ทุกครั้ง
/////////////
“นิคม” จี้ รบ.ไร้ข้ออ้างเลื่อนโรดแมปยึดสัญญาประชาคม กม.ที่ค้างปล่อยสภาชุดใหม่
โดย MGR Online    
9 มกราคม 2560 14:14 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มกราคม 2560 14:40 น.)

        อดีตประธานวุฒิสภา กร้าวรัฐบาลไม่มีข้ออ้างเลื่อนโรดแมป ต้องทำตามสัญญาประชาคมเลือกตั้งปลายปี กฎหมายที่ค้างปล่อยเป็นหน้าที่สภาชุดใหม่  

       วันนี้ (9 ม.ค.) นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การถกเถียงเรื่องเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งหรือไม่นั้น นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และองค์กร

อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้จัดทำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช.บอกไว้ว่าจะเดินตามโรดแมปคือจะเลือกตั้งปลายปี 2560 จึงไม่มีข้ออ้างอื่นมา

อ้าง เรื่องกฎหมายมีมากค้างในสภานั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่สภาชุดต่อไปก็ได้ ต้องจัดลำดับความสำคัญแล้วเดินหน้าตามธงที่หัวหน้า คสช.เคยบอกไว้ ทุกองค์กรรู้ดีเป้าหมายอยู่ที่ไหน จะขยับธงชัก

เข้าชักออกไปเรื่อยมันไม่ใช่ นักบริหารที่ดีควรทำตามภารกิจสำคัญที่ให้สัญญาประชาคมแก่คนไทยและต่างชาติเอาไว้ให้ได้ นายกฯ ต้องกดปุ่มส่งสัญญาณให้ทุกส่วนทำตามคำพูด เว้นแต่จะมีปัจจัย

นอกเหนือการควบคุมที่ไม่สามารถคาดเดาได้

สปท.ปรุงยาแรง นักการเมืองโกงเกินพันล้าน ประหารลูกเดียว “กษิต” รับไม่ได้เพราะนับถือพุทธ

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมีร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสปท. ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณารายงานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เรื่อง การควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกมธ.ด้านการเมือง นำเสนอรายงานว่า มาตรการควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องที่จะบังคับใช้กับข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจรัฐ ควรลดการผูกขาดการใช้อำนาจรัฐ โดยการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งการโยกย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นทุกระดับ เพื่อป้องกันการผูกขาดไปสร้างอิทธิพล
สำหรับการตรวจสอบภายในหน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจราชการของรัฐ และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง จะต้องทำหน้าที่อย่างจริงจัง เพื่อไม่ละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือแสวงหาผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีโทษตามกฎหมายในอัตราสูงสุด
“ควรเสนอให้แก้ไขกฎหมายและอัตราโทษในความผิดทุจริตคอร์รัปชั่น โดยผู้ใดกระทำผิดทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลงโทษตามเกณฑ์ตัวอย่าง ดังนี้ 1.มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจำนวนเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี 2.มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น จำนวนเงินเกินกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ต้องระวางโทษจำคุก 10 ปี 3.มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น จำนวนเงินเกินกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ต้องระวางโทษจำคุก 20 ปี 4.มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น จำนวนเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1 พันล้านบาท ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และ 5.มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น จำนวนเงินเกินกว่า 1 พันล้านบาทขึ้นไปต้องระวางโทษประหารชีวิต” นายเสรีกล่าว
นายเสรี กล่าวอีกว่า ในรายงานที่เสนอเพื่อให้เกิดความชัดเจน และป้องกันให้คนที่ปฏิบัติหน้าที่ ที่คิดจะทุจริตให้ระวังว่ามีโทษอย่างไร จึงกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง ในหลายๆประเทศก็กำหนดบทลงโทษไว้รุนแรงเช่นกัน เราได้ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เป็นส่วนการแก้ปัญหาคอรัปชั่น เพื่อจะแก้ไขปัญหาได้สัมฤทธิ์ผล กมธ.จึงได้เสนอแนะ การควบคุมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐควบคู่ไปด้วย อาทิ การแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ควรให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนับแต่วันเริ่มบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการโดยให้จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ที่หน่วยงานต้นสังกัดที่บุคคลนั้นบรรจุและแต่งตั้ง เข้ารับราชการ ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจสอบกรณีที่มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อหน้าที่หรือไม่
ขณะที่นายกษิต ภิรมย์ สปท. กล่าวแย้งว่า รับไม่ได้กับข้อเสนอแนะที่ให้ประหารชีวิต เนื่องด้วยนับถือพุทธศาสนา จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการลงโทษเพื่อนมนุษย์อย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
นายเสรี กล่าวชี้แจงว่า การเสนออัตราโทษเป็นการเสนอตามประมวลกฎหมายอาญา ในมาตรา 18 เราไม่ได้คิดเอง ส่วนอนาคตจะยกเลิกหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ถ้าจะแก้ไขตรงนี้อาจต้องไปแก้ไขกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับ รวมทั้งกฎหมายอาญาด้วย เพราะเรื่องทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาร้ายแรง กัดกร่อนประเทศมานาน ที่เสนอ ไม่ได้หมายความว่าจะไปลงโทษใคร เพียงแต่เสนอให้โทษแรง ให้คนเกรงกลัว ไม่กระทำความผิด เกิดความยับยั้งชั่งใจ ไม่ได้มีเจตนาร้ายไปฆ่าหรือให้ใครต้องเสียชีวิต แต่เป็นการป้องกันปัญหาใหญ่คอรัปชั่น ซึ่งคนที่จะเกินพันล้าน หมื่นล้าน แสนล้าน ก็มีอยู่ไม่กี่คน
ด้านนายวันชัย สอนศิริ สปท. ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการการควบคุมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ นำเสนอรายงานว่า เพื่อให้การควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร การตั้งกระทู้ถาม มีประสิทธิภาพและเห็นผลในทางปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือที่จะนำมาทำลายชื่อเสียงหรือทำลายทางการเมือง จึงต้องมีการปฏิรูปการตั้งกระทู้ถาม โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา มีการกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจนให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี มาตอบตามกรอบระยะเวลา หากไม่มาให้มีมาตรการลงโทษ นอกจากนี้ควรมีการตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการของรัฐบาลตามกระทู้ถามว่ามีการดำเนินการ คืบหน้ามากน้อยเพียงใดเช่นเดียวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ข้อมูลหลักฐานที่นำมาอภิปรายต้องเป็นข้อมูลผูกมัดนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และเมื่อข้อมูลที่ส่งต่อไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้นายกฯ รัฐมนตรี ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ มากกว่าเน้นโจมตี ทำลายกันทางการเมือง
จากนั้น สมาชิกสปท.ได้ลงมติเห็นชอบรายงานดังกล่าวด้วยคะแนน 155 ต่อ 0 และงดออกเสียง 7 โดยกมธ.ด้านการเมืองจะมีการนำความคิดเห็นของสมาชิกไปปรับปรุงแก้ไขก่อนส่งไปยัง คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ต่อไป

ศาลอุทธรณ์คุก"วีระกานต์-ณัฐวุฒิ-เหวง-วิภูแถลง" 2 ปี 8 ด.บุกบ้าน"ป๋า"

ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษจำคุก"วีระกานต์-ณัฐวุฒิ-เหวง-วิภูแถลง" เหลือคนละ 2 ปี 8 เดือน คดีนำมวลชนบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์
9 ม.ค.60 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดา ภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์นัดพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.3531/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ฟ้อง 1.นายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล 2.นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน 3.นายวันชัย นาพุทธา 4.นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. 5.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อายุ 35 ปี 6.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 7.และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปดังกล่าว มีมีดดาบ มีดดายหญ้า มีดปลายแหลม มีดพก หลายเล่มเป็นอาวุธ ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ในเหตุการณ์บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์เมื่อปี 2550
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 โดยพิพากษาว่า นายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ฯ ให้จำคุก 4 ปี ส่วนนายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ, นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ โดยกระทำความผิดเป็นหัวหน้า โดยให้จำคุกอีกคนละ 2 ปี ฐานเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิก แต่ไม่เลิก และจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานด้วย รวมจำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 6 ปี 6 เดือน
ขณะที่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้คนละ 1 ใน 3 คงจำคุกนายนพรุจ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน ส่วนนายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ , นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 เหลือจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน โดยให้ยกฟ้องนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 และให้ริบของกลางทั้งหมด
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศาลนัดอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจาก นายวีระกานต์ ร้องต่อศาลว่ามีอาการป่วยบ้านหมุน ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตเลื่อนนัดอ่านคำพิพากษา มาเป็นวันนี้( 9 ม.ค. 60)
วันนี้จำเลยประกอบด้วยนายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง นพ.เหวง และนายนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล ได้เดินทางเข้าฟังคำพิพากษา
ล่าสุด15.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำคุก นายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง นพ.เหวง คนละ 2 ปี 8 เดือน ลดลงจากศาลชั้นต้นที่พิพากษาจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน เนื่องจากปรับลดโทษให้เหมาะกับพฤติการณ์ ส่านนายนพรุฒ พิพากษายืนตามชั้นต้น ล่าสุดทนายอยู่ระหว่างการขอประกันตัวจำเลย เพื่อสู้ต่อในชั้นศาลฎีกาต่อไป

ท่องคาถา "ยึด โรดแมพๆๆ"



ท่องคาถา "ยึด โรดแมพๆๆ"
บิ๊กป้อม ไม่สน"สวนดุสิตโพลล์"ให้เลื่อนเลือกตั้งไป ปี 61 เพราะมีพระราชพิธีสำคัญ และให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง. ยันรัฐบาล ไม่ได้ดูที่ผลโพลล์. แต่ยึดโรดแมพเดิม ส่วนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน ยันไม่เคยคิดจะอยู่กี่ปี อยู่ได้หรือไม่ได้ แต่ต้องทำตามโรดแมพ ให้ได้ เปรย ตอนนี้ยังไม่จบขั้นที่1 เลย แถมปฏิรูปอีกกว่า100เรื่อง
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรองหน.คสช. กล่าวถึง ผล"สวนดุสิตโพลล์" ที่ประชาชนต้องการให้เลื่อนเลือกตั้งไป ปี 61 เพราะมีพระราชพิธีสำคัญ และให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง นั้น ว่า รัฐบาล ไม่ได้ดูที่ผลโพลล์. แต่ยึดโรดแมพเดิม ส่วนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน
เมื่อถามว่า ถ้าอยู่ต่อถึง ปี2561 ยังทำงานไหวมั้ย พลเอกประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลเรา ไม่เคยคิดจะอยู่กี่ปี อยู่ได้หรือไม่ได้ แต่ต้องทำตามโรดแมพ ให้ได้
เมื่อถามว่า ได้หารือกับ พลเอกประยุทธ์ หรือไม่ว่า มีปัจจัยอะไร ที่อาจทำให้เลื่อนเลือกตั้ง ไม่เป็นไปตามโรดแมพ พลเอกประวิตร กล่าวว่า ยังไงก็ยึดตามโรดแมพ ตอนนี้โรดแมพ ขั้นที่1 ยังไม่เสร็จเลย มีขั้นที่2-3 ไปสู่การเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาล มันมีขั้นตอนของมัน ไม่เป็นไรหรอก
ส่วนเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งนั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า เราก็กำลังดำเนินการอยู่ เพราะมี 100กว่าเรื่อง

"บิ๊กแกละ" ถกคสช. ข้อห่วงใย"บิ๊กตู่" สั่งทหาร ชี้แจงประชาชน รัฐบาล-คสช.ยึดโรดแมพเดิม



"บิ๊กแกละ" ถกคสช. ข้อห่วงใย"บิ๊กตู่" สั่งทหาร ชี้แจงประชาชน รัฐบาล-คสช.ยึดโรดแมพเดิม เดินหน้าสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ ยันทำให้ดีที่สุด ชี้ทำกิจกรรมใด ให้เรียบร้อย และอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
ที่กองบัญชาการกองทัพบก พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองผบ.ทบ./รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. กล่าวว่า พลเอกพิสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังได้กำชับให้ทุกส่วนได้ปฏิบัติตามข้อห่วงใยของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการชี้แจงต่อสาธารณะ ยืนยันถึงการเดินหน้าประเทศยังเป็นไปตามโรดแมพของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการเดินหน้างานสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ จึงควรที่จะได้ร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้ดีที่สุด
การดำเนินกิจกรรมใดๆ ขอให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

สาเหตุ 8 ประการที่ทำให้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยภาคใต้



1.ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในวงกว้าง
2.ป่าต้นน้ำถูกทำลายจากเขื่อน การทำไม้เถื่อน การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และเหมืองแร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหมืองเถื่อน มีมากที่ อ.นบพิตำและ อ.สิชล จ.นครฯ
3.ปัญหาผังเมือง รวมถึงการสร้างถนนและระบบระบายน้ำของเมือง
4.ลำน้ำ (ภาคใต้เรียกว่าคลอง) ถูกบุกรุก/ตื้นเขิน ทำให้น้ำล้นตลิ่ง
5.การสร้างเขื่อนและประตูระบายน้ำ การบริหารจัดการเขื่อนตอนบนโดยกักน้ำไว้ แทนที่จะทยอยปล่อย ทำให้เมื่อฝนตกหนัก น้ำล้นสปิลเวย์ และซ้ำเติมภัยพิบัติในพื้นที่ท้ายเขื่อน ส่วนประตูระบายน้ำ ขวางทางน้ำให้ออกทะเลช้าลง
6.พื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะพรุที่เป็นแก้มลิงธรรมชาติถูกบุกรุก มีการถมสร้างบ้าน สร้างตลาด สร้างสนามบิน เช่น สนามบินนครฯ สถานที่ราชการ และถูกยึดครองไปทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่ (plantation) โดยเฉพาะสวนปาล์ม ฯลฯ เมื่อแก้มลิงหายไป น้ำก็ท่วมพื้นที่ทางตอนล่างหนักกว่าเดิม
7.ถนนเป็นเขื่อนขวางทางน้ำอย่างดี ไม่มีท่อระบาย หรือมีแต่เล็กมาก สะพานแคบ ทำให้กีดชวางทางน้ำ
8.การสร้างเขื่อนกันทรายปากแม่น้ำ เช่น บริเวณชุมชนที่ติดกับปากแม่น้ำหลังสวน จ.ชุมพร น้ำท่วมเพราะเขื่อนกันทรายบีบทางน้ำ ทำให้น้ำไหลลงทะเลช้าและยกระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก (ดูภาพประกอบ น้ำจากแม่น้ำหลังสวนด้านซ้ายมือสูงกว่าน้ำทะเลด้านขวามือ)
ความรุนแรง แต่ละที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่ ซึ่งต้องพิจารณาในระดับจุลภาค (micro) ด้วย
สาเหตุแรกเป็นภัยธรรมชาติ สาเหตุที่ 2-8 ฝีมือมนุษย์ล้วนๆ
ขอบคุณภาพจากคุณ Saowanee Nimpanpayungwong