PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นายกฯ เจอสาวขี่จยย.ตามเป่านกหวีดใส่ ปรี่เข้าไปขอจับมือด้วย

นายกฯ เจอสาวขี่จยย.ตามเป่านกหวีดใส่ ปรี่เข้าไปขอจับมือด้วย

Home> News> Thailand> นายกฯ เจอสาวขี่จยย.ตามเป่านกหวีดใส่ ปรี่เข้าไปขอจับมือด้วย

นายกฯ เจอสาวขี่จยย.ตามเป่านกหวีดใส่ ปรี่เข้าไปขอจับมือด้วย


 
"ยิ่งลักษณ์" ไปเพชรบูรณ์  เจอสาวขี่จักรยานยนต์ ตามเป่านกหวีดใส่ จึงเดินปรี่เข้าไปขอจับมือด้วย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางไปตรวจเยี่ยมอนุสรณ์ฐานยิงสนับสนุนพิธิภัณฑ์อาวุธและการต่อสู่รบเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดย ระหว่างคณะของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แวะชมสินค้าข้างทาง ปรากฏว่า มีผู้หญิงผมสั้น วัยประมาณ 30 ปี ขี่จักรยานยนต์ เป่านกหวีดใส่ โดยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยิ้มให้และเดินไปเรื่อยๆ ทำให้สาวห้าวดังกล่าวตามเป่าไปเรื่อยๆ

แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่หยุดเดินก่อนจะเดินเข้าไปหาผู้หญิงคนดังกล่าวโดยไม่มีท่าทีเกรงกลัวแต่อย่างใด และเมื่อเผชิญหน้ากันผู้หญิงคนดังกล่าวก็กล่าวท้าทายเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า"จะจับมั๊ยๆ" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวตอบทันทีว่า " ไม่ค่ะ ไม่มีการจับ เชิญตามสบาย ขอบคุณนะคะ ไม่เป็นไรอยากเป่าก็เป่าเลยค่ะ ขอจับมือหน่อยนะคะ"ทำให้ผู้หญิงคนดังกล่าวถึงกับอึ้งไป แต่ไม่ยอมให้จับมือ

ดิว โบกธง หรือ ดิว ปริญณภัทร สุภาพ ผู้โบกธงไตรรงค์ เหนืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556




ภาพของ ดิว โบกธง ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556 กลายเป็นภาพทางการเมืองที่ถูกนำมาแชร์ต่ออย่างมากมายบนโลกออนไลน์ และเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 อัญชลี ไพรีรักษ์ ได้พูดคุยกับ ดิว โบกธง หรือ ดิว ปริญณภัทร สุภาพ บนเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดย ดิว โบกธง เปิดใจว่า ได้เดินทางมาจาก จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. โดยตนได้ขอลางานมาชุมนุมหลายวันแล้ว ส่วนธงที่ใช้ในการโบกที่ฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้น ก็ซื้อมากว่า 2 ปีแล้ว 

และเมื่อ อัญชลี ไพรีรักษ์ ตั้งคำถามว่า เหตุใด ดิว โบกธง จึงตัดสินใจขึ้นไปยืนโบกธงอยู่บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งแต่เวลา 15.00-18.00 น. งานนี้ ดิว โบกธง ตอบอย่างชัดเจนว่า ต้องการแสดงออกเป็นเชิงสัญลักษณ์ เพื่อไล่คนชั่วออกจากประเทศ จึงได้ปีนขึ้นไปโบกธงที่ฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่ก่อนปีนขึ้นไป ตนก็ได้กราบขอขมาวิญญาณเหล่าวีรชนแล้ว ส่วนเหตุที่เลือกใช้ธงชาตินั้น เพราะอยากให้ทุกคนรู้ว่า ชาติประกอบด้วย 3 สี ดังนั้น ในการนำพาประเทศให้เดินต่อไปเราไม่อาจขาดสีหนึ่งสีใดได้ และสำหรับคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยว่าตนปีนขึ้นไปบนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิได้อย่างไรนั้น ตนขอตอบว่า ปีนขึ้นไปด้วยใจ และลงมาด้วยใจ

ซึ่งงานนี้ นอกจากเสียงชื่นชม ดิว โบกธง ในฐานะวีรบุรุษคนกล้าที่ปีนขึ้นไปยืนโบกธงเหนืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินานกว่า 6 ชั่วโมง แล้วก็ยังมีการตั้งคำถามว่า การกระทำ ดิว โบกธง สมควรเรียกว่า วีรบุรุษคนกล้า จริงหรือไม่ เพราะอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถือเป็นสถานที่สำคัญ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน ที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์จากอุดมคติ>สื่อในโลกจริง

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง :อนันต์ ลือประดิษฐ์ภาพ : กุลพันธุ์ ศิริพิมพ์อัมพร

วิกฤตการณ์ทางการเมืองของสังคมไทย มิได้มีเพียงแต่นักการเมืองเท่านั้นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่สื่อเองก็มีส่วนในความรับผิดชอบอย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้

นับเป็นนักวิชาการด้านสื่อ ที่ออกมาแสดงความเห็นอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ที่จะมีส่วนอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อแวดวงวิชาชีพสื่อเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้รับข่าวสาร อย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน

จุดประกาย ทอล์ค วันนี้ พาคุณไปพบกับ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า ที่ออกมาสะท้อนมุมมองต่อแวดวงสื่อ กับความขัดแย้งในสังคมไทย และทิศทางของ การปฏิรูปคุณภาพสื่อที่พึงจะเกิดขึ้นในอนาคต

จากความขัดแย้งในสังคมเวลานี้ ด้านหนึ่งคนกล่าวโทษนักการเมือง อีกด้านหนึ่งมองว่าสื่อน่าจะมีบทบาทในการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ คุณมองบทบาทสื่อในตอนนี้อย่างไร?


ต้องดูก่อนว่า สื่อทุกวันนี้อยู่ในภูมิทัศน์สื่อแบบไหน เช่น วิทยุกับทีวี ต่อให้มีเรื่องของ กสทช. แล้ว แต่ว่ายังไม่ได้หลุดเป็นอิสระ เหมือนอย่างที่รัฐธรรมนูญหรือตอนปฏิรูปการเมืองในยุคแรกๆ ต้องการให้เป็น เพราะฉะนั้นแล้ว คลื่นวิทยุหรือคลื่นทีวีทุกวันนี้ ยังสนับสนุนภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนเข้ามา ก็ใช้สื่อวิทยุกับทีวีเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะช่อง 11 หรือ NBT ช่อง 9 พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาก็ใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ พรรคเพื่อไทยหรือใครก็ได้ที่ขึ้นมา ไม่ยอมปล่อยให้มีพื้นที่ของความคิดเห็น ที่แตกต่างได้นำเสนอ ซึ่งตรงนี้ พอไปคุมมากๆ เลยทำให้คนไม่สามารถ นำเสนอข้อมูลอีกชุดหนึ่งออกมาได้

ถ้าเป็นสมัยก่อน พวกนี้ต้องออกไปในพื้นที่อื่น เช่น หนังสือใต้ดิน หรือว่าต้องพยายามทำตัวให้เด่นในเชิงของการประท้วง เช่น ปิดถนน ล้อมสถานที่ราชการ หรือแก้ผ้าปาอุจจาระ เพื่อชิงพื้นที่ว่างในหน้าหนังสือพิมพ์คือหน้าหนึ่ง แต่ทุกวันนี้ มันมีความต่างตรงที่ว่า มันมีดาวเทียม มีทั้งเคเบิล สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย มันทำให้มีข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่คนทั่วไปไม่สามารถหาได้จากสื่อปกติ

พอเขาไปหาจากสื่ออื่นๆ ก็ต้องยอมรับว่า มันกลายเป็นสื่อที่มีชุดความคิด ที่หลากหลาย ตั้งแต่ด้านซ้ายจัดจนขวาจัด หรือว่าสีใดสีหนึ่งไปอย่างเดียว แต่ว่าคนเขาจะเลือกดู ถ้าคนที่ไม่เลือกดูจากช่องทีวีปกติ ที่ไม่มีข้อมูลตรงนี้ เขาก็เลือกเสื้อบางเสื้อ พอเขาไปดูจากทีวีช่องสี มันก็ด้านเดียวไปเลยจริงๆ ข้อมูลจะชุดเดียวไปเลย อันนี้ทำให้คุณคล้อยตามไป โดยขาดมิติอีกด้านหนึ่ง พอขาดมิติอีกด้าน นั่นหมายความว่า ความคิดเห็นมันโดนจำกัด ข้อมูล และข้อเท็จจริงก็ถูกบิดไปในบางประเด็น เช่น บางเรื่องอาจจะมีความจริงอยู่ด้วย แต่ว่าอีกบางส่วนถูกขยายความหรือตีความ พอถูกขยายความหรือตีความ มันอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา

โดยสรุปคือ ตัวสื่อเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งครั้งนี้ อย่างไม่อาจ หลีกเลี่ยง ในหลายๆ ครั้ง จริงๆ แล้ว สื่อน่าจะช่วยทำให้คนในสังคมได้มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น กลับไม่ได้ทำ เช่น เรื่องของการปฏิรูปการเมืองที่มีการยกประเด็นขึ้นมา แล้วกลายเป็นเรื่องที่นักการเมือง ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าควรจะมีการปฏิรูปการเมือง มีงานสัมมนาหรืออภิปรายหลายชุด ไม่ว่าจะชุดของคนที่ต่อต้านรัฐบาล การอภิปราย ที่ธรรมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งกับพวกที่รัฐบาลทำขึ้นมาเอง ฝ่ายกองทัพหรือฝ่ายไหน จัด สื่อเองน่าจะเป็นช่องทางที่ทำให้ทุกฝ่ายได้นำเสนอ โดยเฉพาะการนำเสนอของ NBT ช่อง 9 หรือแม้กระทั่ง ไทยพีบีเอส ควรเปิดฟรี นำเสนอถ่ายทอดสดด้วยซ้ำไป เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่หลากหลาย

แต่ปรากฎว่า ที่ผ่านมา ไม่มีอย่างนั้น แต่เลือกที่จะนำเสนอเพียงข้อมูลบางชุด ผ่านเวทีบางเวที พอเป็นแบบนั้น ทำให้ประชาชนบางส่วน ถ้าเชื่อบางส่วนที่เห็นจากทีวีของรัฐก็จะมีความคิดความเห็นแบบหนึ่ง หรือ บางคนมองตรงนี้ว่า มันไม่ตอบสนอง เขาก็วิ่งไปหาข้อมูลอีกชุดหนึ่ง มันง่ายกับการรับเพียงด้านเดียว หรือขณะเดียวกัน มันก็ง่ายกับยุคที่มีวิกฤตเกิดขึ้น ข่าวลือต่างๆ ที่ผ่านพวกนี้เยอะ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ข่าวลือผ่านทวิตเตอร์ ข่าวลือผ่านเฟซบุ๊ค หรือกลุ่มไลน์ มันเกิดขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะกลุ่มไลน์ที่มีการแชทต่อๆ กันไป มันทำให้คนเชื่อได้ง่าย

ในเรื่องของวิทยาศาสตร์มีอยู่อย่างหนึ่งคือ ในโซเชียลมีเดีย คนพร้อมที่จะเชื่อ คนที่อยู่ในโลกสังคมออนไลน์ เพราะว่าสื่อในสังคมออนไลน์มีส่วนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้มีอิทธิพล เช่น ถ้าดูทีวี เห็นโฆษณาว่ามี หนังเรื่องหนึ่งสนุก หรือร้านอาหารร้านนี้อาหารอร่อย คนจะคิดว่าเป็นแค่โฆษณา แต่พอเป็นโซเชียลมีเดีย ที่เพื่อนบอกว่าไปกินแล้วอร่อย ไปดูหนังเรื่องนี้แล้วสนุก คนก็พร้อมที่จะเชื่อ มันเลยทำให้คนพร้อมที่จะเชื่อ หลายครั้งที่มีข่าวออกมาเรื่อยๆ ยิ่งในช่วงวิกฤตที่ไม่สามารถหาข่าวสารได้จากสภาวะปกติ คนจะวิ่งไปหาของพวกนี้ ทีนี้บางคนบอกว่าพร้อมเชื่อ ถ้าถามว่าทำไมล่ะ ต้องบอกก่อนว่า บางทีในสังคมไทย ข่าวลือก็คือข่าวจริง ซึ่งบางทีมันก็ถูกนะ มันมีความถี่อย่างนั้น คนพร้อมที่จะเชื่อ เดี๋ยวนี้บางอย่างคนเชื่อโดยไม่ต้องกรอง สื่อออนไลน์ก็เลยเป็นช่องทางหนึ่งในการกระจายข่าว

คุณมองว่าสื่อวิทยุโทรทัศน์อยู่ในกำกับของรัฐ แล้วกรณีหนังสือพิมพ์ ?

หนังสือพิมพ์เองมีอิสระมากกว่าสื่อวิทยุทีวี โดยประวัติศาสตร์และการต่อสู้ แต่ทุกวันนี้ ต้องบอกว่าสื่อหนังสือพิมพ์อาจจะมี ความแตกต่างอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างจะชัดเจนเลยว่า เชื่อในชุดความคิดชุดใดชุดหนึ่ง เหมือนเป็นกระบอกเสียงให้แก่ชุดความคิดนั้นไปเลย ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ที่อยู่กลางมีบ้างไหม ที่ให้พื้นที่ที่หลากหลาย อาจจะพอมีอยู่บ้าง แต่ว่าตัวหลักอันหนึ่ง คือเดี๋ยวนี้ประชาชนเสพสื่อหนังสือพิมพ์ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ในกระดาษอีกแล้ว แต่อ่านสื่อ ติดตามข้อมูลจากสื่อออนไลน์มากขึ้น ตรงนี้ทำให้การแสดงบทบาทผู้นำความคิด หรือผู้นำในเรื่องข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ถูกลดทอนลงไป

ยิ่งประกอบกับสื่อหนังสือพิมพ์ที่เลือกข้างแล้ว มันปะทะกันในเรื่องข้อเท็จจริงบางเรื่อง เอาง่ายๆ คือ เรื่องศาลโลกตัดสิน (คดีเขาพระวิหาร) พอศาลโลกตัดสิน ก็มีพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ เลือกที่จะบอกเลยว่าใครเสียดินแดน หรือไม่เสียดินแดน ถามว่า พาดหัวข่าวผิดไหม ก็ไม่ผิด แต่ทุกคนเลือกที่จะอธิบายบางแง่มุม ตัดประวัติศาสตร์ บางส่วนออกมา แล้วอธิบายในบางอย่าง ทุกคนถูกหมด แต่ประชาชนสับสน ประชาชนจึงเลือกเชื่อหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ตอบสนองความคิดความเชื่อของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่าเป็นห่วงนะครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ผู้รับข่าวสาร รับข้อมูลไม่รอบด้าน ?

ผู้รับข่าวสารอาจจะเลือกรับข่าวสาร ตามความคิดความเชื่อและประสบการณ์ ส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ยิ่งในสังคมไทยเราขาดในเรื่องของการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ทำให้ โดยส่วนใหญ่พร้อมที่จะเชื่อตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ประกอบกับสิ่งที่เป็นประสบการณ์ภายใน แต่พออย่างอื่นที่มันไม่ใช่ข้อมูล ที่เขารับ เขาก็เลือกที่จะปฏิเสธ คือเลือกที่จะละเลยหรือมองข้ามไป อันก็เป็นปัญหาอันหนึ่ง

ผมเป็นห่วงนะ เพราะถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ ประชาชนอาจจะได้รับข้อมูลชุดเดียวตลอดครับ และเลือกที่จะเชื่อ พอมากเข้า มันก็จะแบ่งฝ่ายว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ที่ไม่ใช่พวกของตัวเอง มีแต่แง่ลบอย่างเดียว ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือคลิปวีดิโอที่มีการ พูดคุยล่าสุด เรื่องของคนเสื้อแดงที่ถูกจ้างมาชุมนุม 200 คน ที่มีการเผยแพร่กัน ล่าสุดทางสำนักข่าวประเทศไทยเขาไปสัมภาษณ์มากลายเป็นความเห็น หรือข้อมูลอีกชุดหนึ่งเลยว่า โดนข่มขู่ โดนทำร้าย สมมุติว่าคนเลือกที่จะเชื่อข้อมูลด้านเดียว เขาก็จะเชื่อแบบนั้นไปเลย โดยที่ปฏิเสธความเชื่ออีกฝ่าย ต่อให้เป็นข้อเท็จจริงก็ตาม ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วงว่า มันทำให้ไม่เห็นความผิด หรือความบกพร่องของฝ่ายตัวเอง ขณะเดียวกันก็โจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง ควรที่จะมีการพูดคุยเพื่อที่จะให้เกิด การประนีประนอมหรือแก้ปัญหาต่างๆ มากกว่า

แกนหลักของคู่ขัดแย้ง ถึงที่สุดต้องประนีประนอมกันอยู่แล้ว แต่ในภาคพลเมือง ภาคที่เราสามารถจะคุยกันได้ ทำอย่างไรที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งตรงนี้สื่อน่าจะมีส่วนช่วย ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น มากกว่าการสาดโคลนเพียงอย่างเดียว

มันช้าเกินไปหรือไม่ ในเมื่อตอนนี้ทุกคน เลือกที่จะมีชุดความคิดของตัวเองเรียบร้อยแล้ว

ความจริงก็คือว่ายังโชคดี ที่ฝ่ายต่อต้าน รัฐบาลตอนนี้ยังไม่ได้รับชัยชนะ มันน่าจะมีเวลาในการเรียนรู้กันและกันมากขึ้น คือ ถ้าชนะเลย มันจะก่อให้เกิดลักษณะย้อนกลับไปอีกฝ่ายหนึ่ง การที่สั่งสมยาวนาน น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ เรียนรู้ว่าการปฏิรูป คืออะไร ปฏิรูปอย่างไร ของเดิมดีหรือไม่อย่างไร มิติต่างๆ เป็นอย่างไร มันน่าจะลงลึกในเรื่องของรายละเอียด มากกว่าเรื่องของ วาทกรรมในการที่จะเอาชนะกันเพียงอย่างเดียว


ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป ควรจะนำไปสู่อะไรในอนาคต?

จริงๆ แล้วต้องร่วมมือกัน ระหว่างนักข่าวที่เป็นมืออาชีพ กับประชาชนคนทั่วไป ที่ผ่านมา นักข่าว ซึ่งอาจจะเรียกว่า โมโจมัลติมีเดีย หรือนักข่าวพันธุ์ใหม่ คอนเวอร์เจนซ์เจอร์นัลริสต์ แต่ไปเน้นที่เรื่องของความเร็วในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ไม่เน้นความลึกหรือกว้างของข้อมูลข่าวสาร ที่สามารถใช้ผ่านสื่อต่างๆ ได้ ยังขาดการดึงมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการ จึงควรมีการทำข่าวเชิงสืบสวนมากกว่าการเร่งในการรายงาน เช่น สมมติว่ามีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางสังคม ทำอย่างไรให้มีความคิดเห็นจากมุมของประชาชนทางสื่อออนไลน์ที่มีเหตุผลนะครับ ไม่ใช่มีแต่การใช้อารมณ์ แล้วก็พูดคุยกัน เปิดเวทีมาคุยกับ คนที่เดินบนท้องถนน ในวันที่ 9 (ธันวาคม) นั้น แต่ละความคิดเห็นเป็นอย่างไร ผู้คนที่อยู่ราชมังคลาฯ ในส่วนของคนเสื้อแดงมีอะไรที่เห็นร่วมกัน อะไรที่เห็นต่างกัน หรือมีเรื่องไหน มีอะไรที่ร่วมกันได้บ้าง

จริงๆ แล้ว ผมเชื่อว่าเมื่อพูดถึงความไม่เท่าเทียมของสังคม เรื่องของ 2 มาตรฐาน เป็นสิ่งที่ทั้งคนเมืองและคนชนบท หรือประชาชนทั่วไปเจออยู่แล้ว ทั้งเรื่องปัญหาตำรวจ ปัญหากระบวนการยุติธรรม ปัญหาสุขภาพ เรื่องการศึกษา เป็นประเด็นร่วมที่ทุกคนน่าจะตระหนักถึง จริงๆ แล้วคนทั้งสองฝ่ายมีปัญหาเดียวกันอยู่ ผมเชื่ออย่างนั้น เพียงแต่ให้น้ำหนักต่างกัน เทนที่เราจะหาทางออกอย่างไร มันกลายเป็นเรื่องเดียว เพื่อชนะ เพื่อให้เป็นเวทีของผู้นำบางคน ซึ่งผมว่าไม่ค่อยสนใจตรงนั้นเท่าไหร่ เราสนใจในเรื่องที่จะทำอย่างไรเรื่องของปัญหาโครงสร้างต่างๆ ที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้มากที่สุด

การมาถึงของดิจิทัลทีวี จะเป็นความหวัง แค่ไหน?

กสทช. เองก็เล่นบทบาทเดิม ๆ ในเรื่องของการกำกับ เราอาจจะได้ทีวีที่ชัดขึ้น เราอาจจะได้ทีวีที่มีความหลากหลายมากขึ้นใน ตัวรายการ แต่คุณภาพก็ต้องมากขึ้นด้วย ต้องดูกันต่อไปว่า จะเป็นอย่างไร คือมันต้องปรับในตัวของคนที่ผลิตรายการด้วย ผู้บริโภคด้วย ผมอยากให้ผู้บริโภค ถ้าไม่ชอบใจต้อง มีเสียงให้มากขึ้น ไม่ชอบรายการนี้เพราะอะไร เช่น รายการที่ดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ก็ต้องพร้อมที่จะออกมา บอกว่า ไม่เอา ไม่ดูเ เละต่อต้าน เพื่อที่จะให้ตัวคุณภาพของรายการมีการปรับ หรือว่าถ้ารายการนี้ต้องการที่จะออกมาแบบนี้เพื่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมมากขึ้น ต้องพร้อมที่จะบอกว่าไม่เอา

ระยะสั้น จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงแค่ไหน?

ตลาดสื่อคงจะบูม คนทำคอนเทนท์ก็บูม โอกาสตกงานน้อยลง แต่คุณภาพต้องเถียงกันหน่อยว่า จะพัฒนาแค่ไหน ระยะสั้นมันก็เหมือนว่าอยู่ช่วงฮันนีมูน ที่ทุกอย่างกำลังสวยงาม หลังจากนี้ไปประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นจะเหนื่อยแล้ว เพราะต่างทำกำไรเพื่อที่จะให้คุ้มกับเม็ดเงินที่ลงทุนไป ขณะเดียวกัน

คู่แข่งไม่ได้มีแค่ในฟรีทีวีหรือเคเบิล แต่ว่าคู่แข่งที่ต้องดึงสายตาจากผู้ชม อยู่ในโลกออนไลน์ค่อนข้างเยอะ

คนประมูลได้ ก็ใช่ว่าจะโชคดี เพราะคนประมูลไม่สามารถทำผลกำไรได้อย่างที่คาดหวัง มันก็จะมีหนี้สินตามมา ผมว่าถ้าจะแข่งกัน ระยะแรกจะโอเค คุณภาพของรายการและพลังของผู้บริโภค น่าจะเป็นส่วนชี้วัด ถ้าผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภคแบบไหน ถ้าเรายังเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสารแบบละคร คุณก็จะได้แต่รายการแบบวาไรตี้ แต่ถ้าเกิด คุณเลือกที่จะดูรายการที่มีคุณภาพมากขึ้น แล้วก็มีเสียงมีส่วนร่วมกับรายการ มันจะทำให้ผู้ผลิตเลือกที่จะผลิตรายการที่มีคุณภาพ มากขึ้น หรือผู้ผลิตที่เขาผลิตแล้วมีคนสนับสนุน ก็ให้กำลังใจกับคนตรงนั้นด้วย

ในฐานะนักการศึกษา บุคลากรที่เข้ามาในวิชาชีพสื่อควรปรับตัวอย่างไร คุณเคยพูดถึงหลักสูตรเก่าๆ ที่ไม่ค่อยปรับตัวนัก?

ตัวหลักสูตรมันต้องปรับ ทั้งในเรื่องของเทคนิคในการนำเสนอ ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ ขณะเดียวกัน ตัวหลักสูตร สิ่งที่ต้องเน้นคือเรื่องกระบวนการคิดวิเคราะห์ของคนทำงานให้มากขึ้น เด็กนักศึกษาที่จะเข้าไป ทำอย่างไรที่จะไม่ได้เก่งเฉพาะเทคนิคในเรื่องของสื่อใหม่อย่างเดียว เต่คุณต้องมีรากฐานของการคิด การเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ คิดวิเคราะห์ต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย ซึ่งตรงนี้ ดีไม่ดีจะมีความสำคัญมากกว่าในเชิงของเทคนิคด้วยซ้ำไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะระบบการศึกษาของไทยเรา กว่าเด็กจะเข้ามาถึงอุดมศึกษา มันอาจจะอยู่ตรงปลายๆแล้ว อาจช้าไปบ้าง มันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องเป็นแบบนั้น

ข้อสำคัญอีกอย่างนะ คือการเน้นในเรื่องจริยธรรม เป็นเรื่องที่มีเส้นบางๆ ที่แยกไม่ออกระหว่างธุรกิจกับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ว่านักข่าวรับเงินตรงนี้ได้ไหม ผลประโยชน์การไปต่างประเทศ หรือผลประโยชน์อื่นๆ มันอาจจะไม่ได้ขาวดำเหมือนเมื่อก่อน แต่อะไรที่ควรหรือไม่ควร ควรจะมีการตั้งคำถามมากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ระบบการศึกษาควรที่จะเทรนเด็กไว้ด้วย

ผมอยากให้ตัวขององค์กรสื่อทุกแขนง เน้นเรื่องของจริยธรรม โดยที่ผ่านมา เวลามีปัญหา เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สภาวิทยุโทรทัศน์ หรือองค์กรต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการจัดการได้จริง ซึ่งเขาก็รู้ปัญหา คือหลายปัญหา มันต้องจัดการกันตั้งแต่ในตัวองค์กรสื่อของตัวเอง เป็นไปได้ไหมว่า ในองค์กรก็ไม่ใช่ว่ามีแต่คนของตัวเอง แต่มีคนจากภายนอกเข้ามา เพื่อที่จะให้บริหารจัดการ เพื่อความเป็นธรรมของบุคลากรด้วย เช่น องค์กรภายในโดนฟ้องว่า นักข่าวคนนี้รับเงินหรือรับผลประโยชน์จริง ก็ตั้งคณะกรรมการภายในขึ้นมาเป็นองค์กรตรวจสอบ ให้ยืนยันว่าจริงไม่จริง ถ้าจริงคุณก็จัดตามกฎระเบียบของบริษัทให้เรียบร้อย แล้วก็บอกกับสาธารณชนด้วย ซึ่งในต่างประเทศหลายๆ ประเทศ ก็มีการตั้งองค์กร แล้วก็เป็นองค์กรที่ไม่ได้เป็นแค่สื่อในองค์กรของเขา เราต้องสื่อสารกับคนอ่าน คนชม คนฟังด้วยความเข้าใจ

มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว?
ไม่เลย ผมว่าเป็นเรื่องที่ตัวองค์กรสื่อ ไม่ทำเอง ขณะที่องค์กรวิชาชีพเรียกร้อง อยากได้อิสระในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ขณะที่ปีกหนึ่งพยายามควบคุมข่าวสาร แล้วเขาบอกว่าสื่อนำเสนอข่าวสารไม่ดี ทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่ได้เข้ามาหากันเพื่อแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น มันก็สุดโต่ง ผมมักจะบอกว่า สื่อหาแต่เสรีภาพ แต่ไม่มีเรื่องของความรับผิดชอบ ไม่ได้แสดงตัวว่าต้องการรับผิดชอบ วันหนึ่งเมื่อประชาชนมาขอความช่วยเหลือ หลังจากที่โดนรัฐหรือองค์กร หรืออะไรต่างๆ คุณบอกว่าจะช่างเถอะ อย่างนั้นคุณจะหนาว

จากภาพสะท้อน สื่อไทยดูจะรับบทบาทเป็นผู้ร้ายค่อนข้างมาก ?

ในขณะเดียวกัน มันก็เปิดช่องให้เป็นพระเอกได้ ในช่องของการสร้างให้เกิดการประนีประนอมในสังคม หรือว่าสร้างพื้นที่ให้เกิดการถกเถียง สร้างสัมพันธ์สาธารณะที่มีการเจรจากันมากขึ้น สื่อเองยังได้เครดิตนั้นอยู่

ขณะเดียวกัน เราจะเห็นได้ว่า สื่อยังไม่ได้ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ เช่น การเจาะลึก การทำข่าวเชิงสืบสวนที่มันลงลึกลงไป เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ขาดหายไปบนพื้นที่สื่อ จากการที่พิจารณาข่าวของวิชาชีพสื่อ ด้านหนึ่งเพราะว่าสื่อไม่ให้น้ำหนักเรื่องนี้เท่าไหร่ มัวแต่ให้น้ำหนักข่าวที่เป็นข่าวทะเลาะกันไปมา ความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมมากกว่า แทนที่จะเลือกนำเสนอบางประเด็น แล้วเจาะลึกบางเรื่องไป ไม่แปลกใจว่าดูทีวีช่องไหนก็ตาม เปิดหนังสือพิมพ์หน้าไหนก็ตาม ข่าวจะคล้าย หรือใกล้เคียงกันหมด อาจจะเป็นนโยบาย ขององค์กรแต่ละแห่ง ว่าจะเลือกทำยังไงครับ ถ้าในส่วนของผม อยากให้ทำในส่วนที่เป็นข่าวสืบสวน เพราะมันจะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า
เป็นความจริงว่า สื่อเป็นองค์กรธุรกิจแบบหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นให้น้ำหนักกับข่าวนี้อย่างไร คิดว่าข่าวพวกนี้ขายได้ไหม ขายได้มากเท่าไหร่ แต่ไปให้น้ำหนักที่ข่าวหวือหวาที่เรียกเรทติ้งเท่านั้นเอง ซึ่งตรงนั้นมองระยะสั้น อาจจะได้คนอ่าน คนดู คนชม แต่มองระยะยาวหนึ่ง คือประชาชนเอง ก็ไม่ได้ความรู้ หรือปัญหาต่างๆ ของสังคม ก็ไม่ได้คลี่คลายด้วย และขณะเดียวกัน ตัวของคนทำงานข่าวเอง ก็ไม่ได้พัฒนาทักษะในการทำข่าว ความเป็นนักข่าวก็ลดน้อยลง ศักดิ์ศรีของการทำข่าวก็ลดน้อยลง เพราะฉะนั้น องค์กรสื่อเองน่าจะมีการทบทวน ให้มากขึ้น ว่าข่าวเชิงสืบสวนน่าจะเป็น ธงหลักก่อนหรือเปล่า ถ้าเกิดได้ เครดิตคนทำก็ตามมาเอง

โอกาสที่จะเกิดสื่อมวลชนอิสระ ผลิตคอนเทนท์ดีๆ เหมือนในต่างประเทศ ?

อยากให้มีอย่างนี้เกิดขึ้น ไม่แน่ใจว่าสังคมไทยต้องการอย่างนี้มากน้อยขนาดไหน นักข่าวที่เคยทำงานอยู่ในหนังสือพิมพ์หรือทีวีเอง ก็ออกมาในรูปแบบเว็บไซต์มากขึ้น อย่างสำนักข่าวอิสรา ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้สามารถจะผลิตข้อมูลข่าวสารแล้วอยู่รอดได้ ไม่ต้องถึงขั้นรวยเหมือนสื่อใหญ่ เป็นความคาดหวัง แต่ขณะเดียวกันผมว่าประชาชนต้องสนับสนุนด้วย เรายังไม่มีพฤติกรรมการสนับสนุนเรื่องนี้อย่างดีพอ เช่น เราพร้อม ที่จะจ่ายเงิน 20 บาท ให้แก่ขอทานเพื่อ ทำบุญ แต่เราไม่ยอมจ่าย 20 นั้น เพื่อที่จะได้ข้อมูลข่าวสืบสวน หรือสนับสนุนองค์กรสื่อที่ทำงานดีๆ ถ้าเราฝึกในเรื่องเหล่านี้ จะทำให้องค์กรสื่อทำงานเชิงสืบสวนสอบสวนได้ ผมว่าเป็นตัวหนึ่งที่สนับสนุนให้เขาทำงานอยู่รอดได้

ผมอยากให้ตัวขององค์กรสื่อทุกแขนง เน้นเรื่องของจริยธรรม โดยที่ผ่านมา เวลามีปัญหา เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สภาวิทยุโทรทัศน์ หรือองค์กรต่างๆ ไม่สามารถดาเนินการจัดการได้จริง ซึ่งเขาก็รู้ปัญหา คือหลายปัญหา มันต้องจัดการกันตั้งแต่ในตัวองค์กรสื่อของตัวเอง เป็นไปได้ไหมว่า ในองค์กรก็ไม่ใช่ว่ามีแต่คนของตัวเอง — กับ Mana Treelayapewat และ 4 อื่นๆ