PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

“อภิสิทธิ์” ระบุรัฐบาลได้อำนาจเบ็ดเสร็จจากการประกาศใช้ ม.44

“อภิสิทธิ์” ระบุรัฐบาลได้อำนาจเบ็ดเสร็จจากการประกาศใช้ ม.44
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เผยรัฐบาลรัฐบาลรับรู้แรงกดดันให้ยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ยังไม่พร้อมยกเลิกโดยปราศจากเครื่องมือในการควบคุมความสงบเรียบร้อย เพราะยังกังวลว่าจะมีการเคลื่อนไหว ชี้การประกาศใช้มาตรา 44 ทำให้ได้อำนาจเต็ม
นายอภิสิทธิ์ บอกบีบีซีไทยว่า เนื้อหาของมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเช่นเดียวกับกฎอัยการศึก เพียงแต่รัฐบาลได้นำอำนาจที่มีอยู่แล้วมาจัดทำเป็นข้อ ๆ 14 ข้อ และออกเป็นคำสั่ง ซึ่งยังคงบทบาทของทหารไว้ และยังให้ทำหน้าที่ควบคู่กับตำรวจ ขณะที่คำสั่งห้ามชุมนุม ห้ามเสนอข่าว และการให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร ก็เป็นรายละเอียดที่มีอยู่ในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่แล้ว
นายอภิสิทธิ์ แนะให้รัฐบาลและ คสช. ผ่อนคลายให้ดำเนินกิจกรรมบางอย่างได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ใช่กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และยังควรหาทางผ่อนคลายการควบคุมในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป
วันนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐผู้หนึ่งออกมาระบุว่า การที่ไทยยกเลิกกฎอัยการศึก และนำมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 มาใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น ไม่ช่วยนำความเป็นประชาธิปไตยกลับคืนมา และสหรัฐมีความห่วงกังวลว่า สิ่งที่สหรัฐอยากเห็น คือการยกเลิกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และยกเลิกการควบคุมตัวบุคคลจะไม่เกิดขึ้นภายใต้มาตรา 44
ขณะที่นาย ซาอิด ราด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่า การที่ผู้นำไทยเปลี่ยนมาใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้มากขึ้น ทำลายเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งล้มล้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาลไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำให้การยกเลิกกฎอัยการศึกไม่มีความหมายสำคัญแต่อย่างใด

สหรัฐวิจารณ์ไทย ยกเลิกกฎอัยการศึกใช้ ม. 44 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

สหรัฐวิจารณ์ไทย ยกเลิกกฎอัยการศึกใช้ ม. 44 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง สหประชาชาติย้ำ ยิ่งเปิดโอกาสให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้มากขึ้น ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนออกเอกสารวิเคราะห์การใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. โดยมากเหมือนยังใช้กฎอัยการศึก แต่เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐผู้หนึ่งระบุว่า การที่ไทยยกเลิกกฎอัยการศึก และนำมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 มาใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น ไม่ช่วยนำความเป็นประชาธิปไตยกลับคืนมา และสหรัฐมีความห่วงกังวลว่า สิ่งที่สหรัฐอยากเห็น คือการยกเลิกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และยกเลิกการควบคุมตัวบุคคลนั้น จะไม่เกิดขึ้นภายใต้มาตรา 44 อย่างไรก็ตาม สหรัฐจะยินดี หากไทยสามารถนำสิทธิเสรีภาพของพลเมืองให้กลับคืนมาได้อย่างสมบูรณ์และแท้จริงมากกว่า
ด้านนาย ซาอิด ราด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่า การที่ผู้นำไทยเปลี่ยนมาใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้มากขึ้น ทำลายเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งล้มล้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาลไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำให้การยกเลิกกฎอัยการศึกไม่มีความหมายสำคัญแต่อย่างใด
รศ. ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแสดงความเห็นต่อกรณีมาตรา 44 ด้วยว่า แท้ที่จริงแล้ว ไทยยังคงอยู่ในสภาพการณ์แบบเดิม โดยการจำกัดควบคุมสิทธิต่างๆยังคงเดิม แต่ด้วยการที่มีผู้เห็นต่างทางการเมืองที่แสดงออกเพิ่มขึ้น การจำกัดควบคุมภายใต้มาตรา 44 น่าจะมีความเข้มงวดรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
ส่วนศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่เอกสารเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน กรณียกเลิกกฎอัยการศึก และนำคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 มาบังคับใช้แทนว่า ในความเป็นจริงแล้ว คำสั่งนี้โดยทั่วไปยังคงไว้ซึ่งอำนาจตามกฎอัยการศึก แต่เพิ่มเติมเรื่องที่เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยไม่ต้องรับผิดทางอาญาหรือวินัยจากการปฏิบัติหน้าที่ และไม่สามารถยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อศาลปกครองได้ กฎอัยการศึกยังคงมีบังคับใช้อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ชายแดนอื่นๆ พลเรือนยังคงต้องขึ้นศาลทหาร มีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานสอบสวนในคดีความผิดต่อพระมหากษัตริย์และความมั่นคง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนี้ การควบคุมตัวผู้กระทำความผิด ยังเป็นไปในแนวเดียวกับกฎอัยการศึก คือไม่มีสิทธิพบญาติและทนายความเช่นเดิม

'พล.อ.ไพบูลย์'สั่งเดินหน้าสอบโบนันซ่ารุกป่าสงวน

'พล.อ.ไพบูลย์'สั่งเดินหน้าสอบโบนันซ่ารุกป่าสงวน

โดย :  
  • ภาพ
  • ไพบูลย์ คุ้มฉายา,โบนันซ่า,รุกป่าสงวน
    'พล.อ.ไพบูลย์'สั่งเดินหน้าสอบโบนันซ่ารุกป่าสงวน
รูปภาพ :
1
  
"พล.อ.ไพบูลย์" สั่งดำเนินการตรวจสอบต่อหลังข้อมูลเบื้องต้นพบ "โบนันซ่า" มีการกระทำความผิดในการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนจริง

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ก่อสร้างสนามกอล์ฟและสนามแข่งรถของบริษัท โบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่า หลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่าบริษัทเอกชนดังกล่าว มีการกระทำความผิดจริง จึงสั่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อ 
กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าของโบนันซ่าถือว่ามีการทำความผิดสำเร็จแล้ว เพราะมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมาหลายปี เมื่อความผิดเกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้จะบอกว่ายอมคืนพื้นที่ให้กับทางราชการก็ไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย ส่วนเจ้าหน้าที่เคยตรวจสอบพบว่าเอกชนทำความผิดจริงมานานแล้ว แต่กลับไม่ยอมดำเนินการตามกฎหมายก็ต้องมีความผิดเช่นกัน เบื้องต้นจะเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผลที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กับหน่วยงานในสังกัดก่อน 

ด้านนายธนวัฒน์ สนิทศักดิ์ดี เจ้าหน้าที่สืบสวนชำนาญการคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ป.ป.ท. เผยหลังลงพื้นที่ตรวจสอบสนามแข่งรถโบนันซ่าสปีดเวย์ ตำบลขนงพระ อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ของบริษัท โบนันซ่าฯ ว่า เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาบุกรุกตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 เนื่องจากพบหลักฐานเอกสารที่ตรวจพบจาก น.ส.3 ก.ที่ใช้อ้างการครอบครองที่ดินดังกล่าวชัดเจนว่าสนามแข่งรถนั้นได้ก่อสร้างรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ รวมถึงบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่างหิน ประมาณ 103 ไร่ โดยหลังจากนี้จะต้องเสนอให้กรมที่ดินเพิกถอนตามกฎหมาย นอกจากนี้ในการตรวจสอบยังพบประเด็นที่นายไพวงศ์ เตชะณรงค์ มีชื่อเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ ภบท.5 ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าให้ปากคำในฐานะที่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินด้วย 

สำหรับพื้นที่ของโบนันซ่าจากการตรวจสอบพบว่านอกจากสนามแข่งรถแล้วยังมีสนามกอล์ฟและพื้นที่อีกหลายจุดที่มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมจากเอกสารสิทธิ โดยเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารเพื่อขยายผลไปตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมดของโบนันซ่า
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/641921#sthash.NQY5aYSC.dpuf

เบื้องหลังไทยตกมาตรฐานการบิน ปลอดภัยต่ำ

"วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์" เล่าเบื้องหลังไทยตกมาตรฐานการบิน ปลอดภัยต่ำ-เครื่องห่วยแตก

Prev
1 of 2
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 02 เม.ย 2558 เวลา 12:28:46 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปัญหาการตรวจสอบมาตรฐานกรมการบินพลเรือน ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ "ไอซีเอโอ" ของประเทศไทย เริ่มส่งผลกระทบวงกว้างมากขึ้น แม้ว่าล่าสุด พลเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเปิดเผยว่า  ญี่ปุ่นยอมเปิดน่านฟ้ารับสายการบินของไทยในช่วงอีก 2 เดือนจากนี้ แต่ก็ยังเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ขณะเดียวกันรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า จีนได้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ห้ามสายการบินไทย ประเภทเช่าเหมาลำ เพิ่มเที่ยวบินใหม่ไปยังจีน ขณะที่อีกหลายประเทศที่รับทราบเอกสารข้อมูลจากไอซีเอโอ ก็เริ่มตั้งข้อสังเกตต่อมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือนของไทยด้วยเช่นกัน



จากประเด็นดังกล่าว วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  อดีตรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึง "เบื้องหลังไทยสอบตกมาตรฐานความปลอดภัยการบิน" โดยระบุว่า

กรมการบินพลเรือนของไทย สอบตกมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO พบว่า ไทยมีข้อบกพร่องต่อความปลอดภัยการเดินอากาศ มีคะแนนต่ำที่สุดในอาเซียน ต่ำกว่าเขมรและลาวเสียอีก จนล่าสุด ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประกาศลดจำนวนเครื่องจากเมืองไทย

เพื่อนคนหนึ่งเป็นนายช่างใหญ่ที่สนามบิน ได้เล่าปัญหาส่วนหนึ่งให้ฟังว่า มาตรฐานความปลอดภัยของ ICAO สูงมาก เครื่องยนต์และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในเครื่องบินต้องผ่านการตรวจว่าสมบูรณ์ 100% แต่ที่เมืองไทย...

1. ที่ข่าวบอกว่าเป็นปัญหาเพราะ การเพิ่มจำนวนของสายการบินโลว์คอส ทำให้การตรวจสอบคุณภาพไม่ทั่วถึงนั้น เพื่อนบอกว่า จริง ๆ แล้วเป็นเพราะเจ้าหน้าที่นอกจากไม่พอแล้ว คุณภาพยังห่วยมาก ไม่มีความรู้เพียงพอ แถมยังเซ็นผ่านรับรองเครื่องบินง่าย ๆ เพราะมีค่าน้ำร้อนน้ำชา

2. ปัญหาที่ตลกไม่ออกคือ คนที่ไปตรวจสอบคุณภาพเครื่องบิน ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอที่จะพูดกับต่างชาติได้ การตรวจก็เลยไม่ได้มาตรฐานจริง ๆ

3. เมื่อเครื่องบินบินไปสนามบินประเทศอื่น ทางโน้นก็ตรวจเครื่องยนต์แบบมืออาชีพ ก็พบว่าเครื่องบินที่บินมาจากไทยผ่านการตรวจมาได้อย่างไร คุณภาพห่วยแตก

4. อะไหล่ทุกอย่างมีอายุการใช้งาน เมื่อถึงอายุครบกำหนดต้องเปลี่ยนอย่างเดียว แต่ที่นี่เมืองไทย คนตรวจก็สามารถเซ็นให้ผ่านได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเปลี่ยน และที่น่าเป็นห่วงคือ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ท่อหายใจ เสื้อชูชีพ ไม่แน่ใจว่าบนเครื่องบินจะหมดอายุไปนานเท่าไหร่แล้ว

5. ICAO เตือนไทยมานานแล้ว แต่ระบบราชการ ไม่สนใจ ทำงานแบบไทย ๆ ไม่ใช่เรื่องของกู พอหูตาแหกมา ก็บอกว่า เดี๋ยวให้นายกฯ ไปคุยกับ นายก ญี่ปุ่น นี่คือการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ เหมือนกัน ไม่มีใครเอาความปลอดภัยของคนอื่นมาเสี่ยงหรอก

6. คงมีทยอยตามมาอีกหลายประเทศที่จะลดจำนวนเครื่องบินจากไทย ล่าสุดน่าจะเป็นสิงคโปร์

7. สรุปแล้ว ต้นเหตุปัญหานอกจากระบบราชการไทย ที่ไม่สนใจพัฒนาใด ๆ แล้ว ปัญหาการร่วมมือกันกินใต้โต๊ะของหลายองค์กร คือเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครกล้าแตะ

8. เพื่อนบอกว่าอีกนานกว่าจะแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูก นึกว่าเป็นเรื่องของกำลังคนไม่พอ เติมคนก็ไม่แก้ปัญหา แต่ต้องไปล้างระบบใหม่เลย

9. อ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ ลองฟังทางราชการจะบอกว่าอย่างไร



ที่มา : มติชนออนไลน์

อัตราโทษใหม่ตามประกาศหัวหน้า คสช. 3/2558

อัตราโทษใหม่ตามประกาศหัวหน้า คสช. 3/2558
.
ตามที่หัวหน้า คสช. ออกประกาศฉบับใหม่นั้น มีประเด็นเกี่ยวกับอัตราโทษใหม่ ซึ่งมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ดังนี้
.
++ ข้อ 9 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ถือเป็นการเพิ่มอัตราโทษ จากเดิมผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
++ ส่วนข้อ 10 ของประกาศหัวหน้า คสช. ความว่า ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
เพิ่มอัตราโทษเช่นกัน จากเดิมในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 ระบุว่าผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
++ ข้อ 11 บุคคลที่ถูกควบคุมตัว แล้วถูกปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไข หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ซึ่งลดลงกึ่งหนึ่งจากอัตราโทษเดิมในประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557 และ 40/2557 ที่ระบุว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ทำตามเงื่อนไขการปล่อยตัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
++ ขณะที่ความในข้อ 12 ของประกาศดังกล่าวมีอยู่ว่า ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะความผิดเดียวกันในประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง พบว่า อัตราโทษลดลงกึ่งหนึ่ง ซึ่งกำหนดโทษไว้ว่า จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
นอกจากนี้ ประกาศหัวหน้า คสช. ข้อ 12 ยังเพิ่มเติมข้อยกเว้นการชุมนุมทางการเมืองว่า สามารถทำได้หากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย


ชวนดูอำนาจของ “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย”ตามคําสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558

ชวนดูอำนาจของ “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย”ตามคําสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558

หลังจาก คสช. ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557

คำสั่งนี้กำหนดให้ หัวหน้า คสช. สามารถแต่งตั้ง “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” อันได้แก่ ทหารที่มียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรีขึ้นไป (ทหารชั้นสัญญาบัตร) และให้มีผู้ช่วยพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยคือทหารที่มียศต่ำกว่าเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ลงมา

โดย "เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" และ "ผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" จะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามกฎหมาย
ทั้งนี้ เจ้าพนักงานฯ ยังเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาอีกด้วย
----------------------------------------------
เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่ดําเนินการป้องกันและปราบปราม การกระทําอันเป็นความผิดดังนี้
- ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ (มาตรา 107-112)
- ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร (มาตรา 113 - 118)
- ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธ เครื่องกระสุนปืน ฯลฯ ที่ใช้เฉพาะในการสงคราม
- ความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคําสั่ง คสช. หรือ หัวหน้า คสช.
----------------------------------------------
อำนาจใหม่ของทหาร "เรียกคนรายงานตัว" "เข้าร่วมการสอบสวน" แต่ตรวจค้นจับกุมต้องมีหมายศาล
คำสั่งหัวหน้า คสช. กำหนดให้ "เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" มีอำนาจออกคําสั่ง "เรียกให้บุคคลมารายงานตัว" หรือมาให้ถ้อยคำ เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. และสามารถ "เข้าร่วมในการสอบสวน" ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน พนักงานสอบสวนได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอำนาจใหม่ที่เพิ่มให้กับเจ้าพนักงานฯ
แต่ทั้งนี้ ในการจับกุมตัวบุคคลและตรวจค้นไม่สามารถทำได้อย่างอิสระเทียบเท่ากฎอัยการศึก เช่น การจับกุมตัวบุคคลต้องเป็นผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า และการจะเข้าไปตรวจค้น ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล เคหสถาน หรือยานพานะ ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีความผิด และต้องอยู่ในภาวะเร่งด่วนที่ไม่อาจขอหมายศาลได้ทันเพราะจะทำให้ล่าช้าเกินไป หากเป็นการจับกุมในกรณีทั่วไปที่ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือการค้นที่ไม่ใช่กรณีเร่งด่วน เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจทำได้เอง ต้องขอหมายศาลก่อน
สิ่งที่ไม่แตกต่างจากกฎอัยการศึกคือ "ปิดกั้นสื่อ" เพราะ เจ้าพนักงานฯ ก็มีอำนาจออกคําสั่งห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้ แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความทําให้ประชาชนหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้
----------------------------------------------
ไม่มีการกำหนดอำนาจเรื่องการประกาศเคอร์ฟิว และตรวจค้นข่าวสาร
ประเด็นที่ขาดหายไปเมื่อเทียบกับกฎอัยการศึก เช่น อำนาจห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กําหนด หรือการประกาศเคอร์ฟิว ซึ่งเป็นสิ่งที่ คสช. เคยใช้ในช่วงต้นของการรัฐประหาร นอกจากนี้การตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ที่เป็นอำนาจในกฎอัยการศึกก็ไม่ปรากฏในคำสั่งฉบับนี้


IS บุกยึดค่ายผู้ลี้ภัย กลางเมืองหลวงซีเรีย!

นักรบของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส บุกเข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย ทำให้เกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรง ภายในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าว โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันโดยทางการปาเลสไตน์ ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในกรุงดามัสกัสดังกล่าว มีชื่อว่า ′ยาร์มุก′ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากศูนย์กลางของกรุงดามัสกัสมากนัก โดยสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เปิดเผยว่า ภายในค่ายแห่งนี้ มีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่
มากถึง 18,000 คน และมีผู้หญิงและเด็กเป็นจำนวนมาก
ซึ่งทางยูเอ็นได้เรียกร้องให้กลุ่มไอเอสยุติการสู้รบ และเปิดทางให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้ ซึ่งจนถึงขณะนี้ ทางกลุ่มไอเอส ก็ยังไม่ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะกลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรีย ซึ่งมีฐานปฏิบัติงานอยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ ก็รายงานว่า กลุ่มนักรบของไอเอส ได้เข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวแล้ว และนี่ถือเป็นครั้งแรก ที่ไอเอสเคลื่อนพลเข้ามาถึงเมืองหลวงของซีเรีย และก่อเหตุรุนแรงเช่นนี้
ทั้งนี้ ค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ยาร์มุก สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1948 หรือระหว่างสงครามอาหรับ-อิสราเอล ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียนั้น ค่ายแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์กว่า 150,000 คน และได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงของค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาไลสไตน์
แต่หลังจากเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรีย ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ก็ได้อพยพหลบหนีออกไปจำนวนมาก และสภาพความเป็นอยู่ของคนที่ยังอาศัยอยู่ที่นี่ก็เป็นไปอย่างแร้นแค้น และหากว่ากลุ่มไอเอสสามารถยึดค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ได้ ก็อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากด้วย


"คดีร้ายแรง-เชื่อหลบหนี"ศาลยกคำร้อง"ศุภชัย"ปล่อยตัวชั่วคราว ฝากขัง12วัน

"คดีร้ายแรง-เชื่อหลบหนี"ศาลยกคำร้อง"ศุภชัย"ปล่อยตัวชั่วคราว ฝากขัง12วัน
Cr:สำนักข่าวอิศรา
“ศุภชัย ศรีศุภอักษร” เข้ามอบตัวดีเอสไอตั้งแต่ 8 โมง คดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ก่อนนำตัวฝากขังศาลอาญา ล่าสุดไม่ให้ประกันตัว ฝากขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ 12 วัน ระบุพฤติการคดีสร้างความเสียหายแก่ประชาชนจำนวนมากอย่างร้ายแรง หากได้รับการปล่อยตัว อาจหลบหนี
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 เวลา 08.00 น. นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนฯ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในคดียักยอกทรัพย์สินสหกรณืเครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น หลังจากนั้น พนักงานสอบสวนฯ นำตัวนายศุภชัย มาฝากขังที่ศาลอาญา เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.
โดยทีมทนายของนายศุภชัย เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า "ได้เตรียมหลักทรัพย์เพื่อนำมาขอยื่นประกันตัวนายศุภชัยแล้ว ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่"
ขณะที่นายศุภชัย ไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแต่อย่างใด
ด้านนายธรรมนูญ อัตโชติ ตัวแทนผู้เสียหายคดีดังกล่าว เดินทางมาที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก เพื่อยื่นค้ดค้านการประกันตัวนายศุภชัย พร้อมด้วยเอกสารคำร้องขอคัดค้านประกันตัว คดีหมายเลขดำที่ 81ส/2558 และรายชื่อผู้เสียหายรวม 2,160 คน มูลค่ากว่า 5,330 ล้านบาท
"สิ่งชาวบ้านกังวลคือ คดีนี้เป็นคดีอิทธิพล หากมีการให้ประกันตัวออกไปอีก คดีก็จะยืดเยื้อออกไป ไม่จบไม่สิ้นสักที ทั้งนี้ จะรอจนกว่านายศุภชัยออกมาจากศาล และหากศาลให้การประกันตัวนายศุภชัย ก็จะเดินหน้าต่อสู้ต่อไป เพราะยังมีอีกหลายคดี " นายธรรมนูญยืนยัน
ขณะที่ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สารสิทธิ์ ผบ.สำนักคดีอาญา พิเศษ 3 กล่าวว่า ศาลจะทำการฝากขัง 12 วัน โดยคดีดังกล่าวมีโทษ 5 ปี และหากศาลให้ประกันตัวออกไป พนักงานสอบสวนก็จะยื่นคัดค้านขอไม่ให้ออกนอกประเทศต่อไป
"ต้องดูว่าศาลจะกำหนดนัดมาให้ปากคำอีกเมื่อไหร่ ส่วนพวกชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย เขาเดินทางมากันเอง ยื่นคัดค้านกันเอง ดีเอสไอไม่ได้นัดมา" พ.ต.ท.สมบูรณ์ระบุ
เมื่อถามว่า ศาลให้ใช้หลักทรัพย์เท่าไหร่ในการประตัวกันตัว พ.ต.ท.สมบูรณ์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดตรงนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจศาล
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศุภชัยให้การกับศาลเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที และยังไม่ออกมาจากการให้ปากคำต่อศาล
ต่อมาเวลา 16.20 น. ศาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายศุภชัย ศรีศุภอักษร และนำส่งตัวฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงเย็นวันนี้ โดยมีระยะเวลาในการฝากขัง 12 วัน
ส่วนสาเหตุที่ศาลยกคำร้องปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเห็นว่า ผู้ต้องหาอาศัยฐานะผู้บริหารของสหกรณ์ฯ เป็นช่องทางในการฉ้อโกงประชาชน และยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ตามที่มีการคัดค้านขอปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งการกระทำของผู้ต้องหา ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบของสหกรณ์ซึ่งเป็นระบบออมทรัพย์ มีผลต่อผู้เสียหายที่ฝากเงิน ประกอบกับมีผู้เสียหายจำนวน 2,160 คน มูลค่าความเสียหาย กว่า 5,300 ล้านบาท พนักงานสอบสวนลงความเห็นคัดค้านการประกันตัว
อีกทั้งพฤติกรรมของคดีดังกล่าว เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนจำนวนมากอย่างร้ายแรง หากได้รับการปล่อยตัว เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาอาจหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และยกคำร้องการขอปล่อยตัวชั่วคราว
ขณะที่นายวันชัย บุนนาค ทนายส่วนตัวของนายศุภชัย กล่าวว่า ที่ดิน 2 แปลง 1.18 ล้านบาทที่นำมาเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวนายศุภชัยนั้นเป็นของญาตินายศุภชัย และเตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ 3 เม.ย. 58 นี้ อีกครั้ง


คำสั่งที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของสื่อ

คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘
เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ

ข้อ ๕ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ยุติลงโดยเร็ว หรือป้องกันมิให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอํานาจออกคําสั่งห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการออกคําสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยจะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามคําสั่งด้วยก็ได้เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยก็ได้

ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามข้อ ๔ (๑) ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

′ประยุทธ์′ตั้งชุดสอบสวนคดี99ศพใหม่

′ประยุทธ์′ตั้งชุดสอบสวนคดี99ศพใหม่

วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 23:32:02 น.

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ,นางสุวณา สุวรรณจูฑะ 


เมื่อวันที่ 1 เมษายน รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แจ้งว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งที่ 68/2558 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะสอบสวนตำรวจ นำโดย พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ไปร่วมสอบสวนกับนางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ และพนักงานอัยการ ประชุมร่วมกันเพื่อวางกรอบแนวทางการสอบสวนในคดี 99 ศพที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น ขณะนี้เหลือสำนวนทั้งหมด 87 ศพ เนื่องจากดีเอสไอได้ส่งสำนวนพิจารณาเสร็จสิ้น 2 ศพ ประกอบด้วยนายพัน คำกอง อายุ 43 ปี และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 14 ปี ให้อัยการสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 กรณีนายอภิสิทธิ์ร่วมกับพระสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กระทำความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล ด้วยการออกคำสั่ง ศอฉ.ให้เจ้าหน้าที่เข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณ ถนนราชดำเนิน และแยกราชประสงค์จากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ชุมนุมตั้งแต่เดือนเมษายนถึง 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา 

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมาทางคณะทำงานได้ประชุมวางแนวทางการสอบสวนและทบทวนเพื่อแต่งตั้งพนักงานสอบสวนชุดใหม่ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาทั้งตำรวจนครบาลและดีเอสไอในชุดพนักงานสอบสวนชุดเก่านั้นได้ปรับเปลี่ยนโยกย้ายและเกษียณอายุราชการ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้น โดยทางดีเอสไอได้แต่งตั้งให้ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว และ พ.ต.ท.ไพศิษฐ์ วงศ์เมือง รองอธิบดีดีเอสไอเข้ามากำกับดูแลการสืบสวนสอบสวนในสำนวนคดีที่เหลือ โดยมีนางสุวณาเป็นหัวพนักงานสอบสวน และ พล.ต.ท.ศรีวราห์ และรองอธิบดีทั้ง 3 คนเป็นรองหัวหน้าพนักงานสอบสวน 

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปี 2553 ศาลมีคำสั่งไต่สวนเกี่ยวกับการตายแล้ว 28 ศพ ดีเอสไอได้สรุปสำนวนส่งให้อัยการแล้ว 10 ศพ และอยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนของดีเอสไอ 18 ศพ ในจำนวน 10 ศพ ประกอบด้วย 6 ศพวัดปทุมวนาราม นายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ นายชาติชาย ชาเหลา และนายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี ยังเหลือสำนวนที่ดีเอสไอส่งให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ไปชันสูตรพลิกศพให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามขั้นตอนกฎหมาย 56 ศพ ขณะนี้ทาง บช.น.ยังไม่ได้ส่งสำนวนกลับมาให้ทางดีเอสไอ อย่างไรก็ตามยังมีสำนวนคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนการตายของศาล 5 ศพ 1 ใน 5 ศพ คือนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น ทั้ง 5 ศพนี้ศาลนัดฟังคำสั่งศาลในวันที่ 5 เมษายนนี้