PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

“ม.44” ยืดเวลาจ่ายค่าคลื่น900MHz 10 งวด-เปิดทางคืนช่องทีวีดิจิทัล

ค่ายมือถือ-ช่องทีวีดิจิทัลเฮ! มาแล้ว “ม.44” ยืดเวลาจ่ายค่าคลื่น900MHz 10 งวด-เปิดทางคืนช่องทีวีดิจิทัล
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ในปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สภาพปัญหาจากการแข่งขันทางธุรกิจสำหรับกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ปัญหาด้านความพร้อมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผลกระทบจากรายได้ของผู้ประกอบการที่สุดจริต อันส่งผลถึงความสามารถในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจำเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียม เพื่อให้การประกอบกิจการดังกล่าวสามารถดำรงอยู่ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงและการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมการประมูลคลื่นย่าน 700 MHz และ 2600 MHz ซึ่งจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G อันทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีความมั่นคงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับสาระสำคัญของคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จาก กสทช. ที่ไม่สามารถชำระเงินค่าประมูลตามกำหนดเวลาเดิมได้ ให้ยื่นหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. ภายใน 30 วันนับแต่คำสั่งนี้มีผลบังคับ เพื่อขอแบ่งชำระเงินประมูล ซึ่งสำนักงาน กสทช. จะพิจารณานำเงินประมูลคลื่นทั้งหมดแบ่งออกเป็น 10 งวด กำหนดจ่ายปีละงวด งวดละเท่าๆ กัน โดยให้ปีที่ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นได้นับเป็นงวดแรก
ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเปิดช่องให้ “คืนใบอนุญาต” ได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือไปยังสำนักงาน กสทช. ภายใน 30 วัน และให้สำนักงาน กสทช. พิจารณากำหนดค่าชดเชยให้แก่ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับในระหว่างที่ได้มีการประกอบกิจการ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้คลื่นที่ได้ชำระแล้ว
นอกจากนี้ยังให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาเรียกคลื่นคลื่นย่าน 700 MHz จากผู้รับใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล เพื่อนำไปจัดสรรใหม่สำหรับกิจการโทรคมนาคม โดยให้กำหนดการทดแทน ชดใช้ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ถูกเรียกคืน ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้ในส่วนของผู้รับใบอนุญาตช่องทีวีดจิทัล จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ดังนี้ 1. ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ต้องชำระงวดสุดท้ายของราคาขั้นต่ำหรือราคาเริ่มต้น และสองงวดสุดท้ายของราคาที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ แบ่งเป็น กรณีที่ยังไม่ได้ชำระในส่วนนี้ให้จ่ายค่าธรรมเนียมให้ครบจนถึงงวดที่ได้รับยกเว้น ภายใน 120 วัน นับจากคำสั่งมีผลบังคับใช้ กรณที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมไว้เกินจากงวดที่ได้รับยกเว้น ให้ได้รับค่าธรรมเนียมคืน
ทั้งยังให้สำนักงาน กสทช. เป็นผู้สนับสนุนการจ่ายค่าเช่าโครงข่าย (MUX) เพื่อออกอากาศจนถึงวันที่สิ้นสุดการได้รับใบอนุญาต ส่วนผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายหรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้สำนักงาน กสทช. จ่ายเงินค่าชดเชยในการปรับปรุงอุปกรณ์จากการเรียกคลื่นความถี่ตามจริง
และเพื่อประโยชน์ในการบริหารงบประมาณแผ่นดิน ให้กระทรวงการคลังไม่ต้องส่งคืนเงินในส่วนที่เหลือ ซึ่งยืมจากกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ของ กสทช. ที่นำไปใช้ในโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 26 พ.ค. 2558 (กระทรวงการคลังยืมไปทั้งหมด 14,300 ล้านบาท)

กกต.มีมติส่งปมคำนวณส.ส.บช.รายชื่อให้ศาลรธน.วินิจฉัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 11 เม.ย. 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย
////////////
คณะกรรมการการเลือกต้ัง มีมติส่งเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคานวณ เพื่อจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือท่ีแต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้พิจารณาเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคานวณจานวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ตามที่สานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังเสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เม่ือวันท่ี 11 เมษายน 2562 แล้ว มีความเห็นดังนี้
๑. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ วรรคสาม กาหนด หลักเกณฑ์วิธีการคานวณและการคิดอัตราส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ซ่ึงพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ ได้กาหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไว้ สานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังได้เสนอผล การคานวณจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซ่ึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการคานวณตามแนวทางของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้จัดทาวิธีการ คานวณสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในชั้นพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้ว ปรากฏว่า การคานวณดังกล่าวมีพรรคการเมืองหลายพรรคมีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ ในเบ้ืองต้นต่ากว่าหนึ่งคน แต่เมื่อคานวณต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ (๕) แล้ว พรรคการเมืองที่มีผลการคานวณจานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ากว่าหนึ่งคนดังกล่าว สามารถได้รับการจัดสรรจานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคน
๒. คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อ ๑ แล้วเห็นว่า
๒.๑ แม้การคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่สานักงานคณะกรรมการการ เลือกตั้งดาเนินการมาน้ัน สามารถจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ ๑๕๐ คน ซ่ึงสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่การคานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๒๘ (๕) ดังกล่าวมีผลขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๒) และ (๔) เนื่องจากมีผลให้พรรคการเมืองท่ีมีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ตาม (๒) ต่ากว่าหนึ่งคน สามารถได้รับการจัดสรรให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือได้หนึ่งคน จึงอาจทาให้พรรคการเมืองบางพรรค มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ 46/2562
วันที่ 11 เมษายน 2562
ที่จะพึงมีได้ ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๔) แต่หาก คานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ แล้ว จะทาให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ ๑๕๐ คน อีกทั้งหากไม่นาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเบื้องต้นของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ากว่าหนึ่งคนไปคิดคานวณต่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ (๕) ก็ไม่สามารถคิดคานวณจัดสรรได้ครบ ๑๕๐ คนได้เช่นกัน จึงไม่มีวิธีการใดที่จะนามาคิดคานวณให้มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้จานวน ๑๕๐ คน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๘๓ ได้
๒.๒ การคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามข้อ ๑ ซึ่งเป็นการดาเนินการ คิดคานวณตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ผลของการคานวณจะไม่สามารถนาไปประกาศผลการเลือกตั้งได้ เพราะอาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๔)
๓. อาศัยเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้เสนอเรื่องตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดอานาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๑๐ (๑) และ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ว่า กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งจะคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่มีวิธีใดที่จะทาให้ได้จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ บัญชีรายชื่อครบจานวน ๑๕๐ คนได้ มีเพียงการคานวณตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๑๒๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่สามารถจะคานวณให้ได้จานวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครบจานวน ๑๕๐ คนได้ ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจะคานวณหา จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ โดยการคิดคานวณดังกล่าวอาจทาให้พรรคการเมืองบาง พรรคที่มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ากว่าค่าเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนได้ จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคน คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถดาเนินการได้หรือไม่ และการดาเนินการดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ หรือไม่






ทีดีอาร์ไอแถลงการณ์ ม.44 ยืดหนี้มือถือ = ยกผลประโยชน์หมื่นล้านให้นายทุน

ทีดีอาร์ไอแถลงการณ์  ม.44  ยืดหนี้มือถือ = ยกผลประโยชน์หมื่นล้านให้นายทุน

สมเกียรติ ทีดีอาร์ไอ ออกแถลงการณ์ คำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 เพื่อยืดหนี้ให้บริษัทโทรศัพท์มือถือ 3 ราย เอไอเอส ทรู และดีแทค เป็นการยกประผลประโยชน์ของประชาชน 2.4 หมื่นล้านบาทให้นายทุนโทรคมนาคม
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า
"การออกคำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 เพื่อยืดหนี้ให้กับบริษัทโทรศัพท์มือถือ 3 รายคือ เอไอเอส ทรู และดีแทค ทำให้หุ้นของบริษัททั้งสามเด้งสูงขึ้นมาทันที การที่หุ้นเด้งสูงขึ้นรับข่าวลือดังกล่าวชี้ชัดเจนอย่างไม่มีข้อสังสัยว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสามจะได้ประโยชน์หากมีมาตรการยืดหนี้ออกมาจริง ซึ่งตรงกันข้ามกับความพยายามก่อนหน้านี้ของคนในภาครัฐที่บอกว่า มาตรการนี้ไม่ได้เอื้อผลประโยชน์ให้นายทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บางรายบอกว่า ทรูจะได้ประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่ดีแทคจะได้ผลประโยชน์น้อยที่สุด เพราะหนี้งวดสุดท้ายที่จะถูกยืดออกไปมีมูลค่าน้อยที่สุด 
การคำนวณของผมพบว่า ที่จริงแล้ว ทั้งสามบริษัทจะได้ผลประโยชน์ใกล้เคียงกัน แม้ว่าหนี้ก้อนสุดท้ายที่จะยืดออกไปจะใหญ่ไม่เท่ากัน แต่การปรับระยะเวลาในการยืดหนี้ที่แตกต่างกันก็ทำให้สุดท้ายได้ตัวเลขเท่าๆ กันคือ แต่ละรายได้ผลประโยชน์ไปประมาณ 8 พันล้านบาท ใกล้เคียงกันอย่างน่ามหัศจรรย์ เสมือนมีการหารือกันมาก่อนเพื่อไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน 
แม้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายอาจไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันและต่างก็ได้หมด  ผู้ที่จะเสียเปรียบจากมาตรการดังกล่าวคือ ประชาชนผู้เสียภาษี เพราะการที่รัฐยืดหนี้ให้ทั้งสามรายคือ การยกผลประโยชน์ของประชาชน 2.4 หมื่นล้านบาท ให้กับนายทุนโทรคมนาคม
ข้ออ้างเรื่องการยืดหนี้อุ้มผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเข้าประมูลคลื่น 5G ก็เป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น ด้วยหลายเหตุผลคือ หนึ่ง ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมและความจำเป็นต้องประมูลคลื่น 5G ในปีนี้ สอง ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ไม่มีใครสัญญาว่าจะเข้าประมูล 5G เลย โดยต่างพูดตรงว่า ต้องดูเงื่อนไขการประมูลและราคาเริ่มต้นก่อน 
ข้ออ้างในการยืดหนี้เพื่อให้เอกชนเข้าประมูล 5G จึงไม่ใช่ “หมูไปไก่มา” แต่ “เสียหมูไปฝ่ายเดียว” เสมือนเป็น “ค่า (แกล้ง) โง่” 
หากมีการใช้มาตรการดังกล่าวจริง ก็ต้องถือว่า รัฐบาลประยุทธ์ขาดความรับผิดชอบอย่างยิ่ง ทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง  ในทางกฎหมาย การใช้คำสั่งตามมาตรา 44 จะทำให้คสช. และรัฐบาลพ้นความรับผิดทางกฎหมาย ประชาชนไม่สามารถไปฟ้องร้องต่อศาลได้   ส่วนในทางการเมือง  การดำเนินการในช่วงหลังเลือกตั้งทำให้ไม่ถูกคู่แข่งโจมตีในการเลือกตั้งว่า เอื้อประโยชน์ให้นายทุน และการดำเนินการในช่วงก่อนสงกรานต์ ก็ถือเป็นการใช้จังหวะที่ประชาชนติดตามข่าวสารกันน้อยเพราะเป็นวันหยุดยาว  
หากรัฐบาลและ คสช. ซึ่งมาจากการยึดอำนาจและกล่าวหารัฐบาลก่อนหน้านี้ว่าทุจริตคอรัปชั่น ต้องออกคำสั่งใช้มาตรการพิเศษ เพื่อทำเรื่องที่ไม่จำเป็น สร้างความเสียหายต่อประชาชน และทำลายความน่าเชื่อถือในการทำสัญญากับภาครัฐ เพียงเพื่อเอื้อนายทุน  เราคงอดคิดไม่ได้ว่า แม้คสช. จะประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์แท้จริงที่เหนือกว่า คสช. ก็คือกลุ่มทุนบางกลุ่มนั่นเอง"

121 นักวิชาการยันหาก กกต. ไม่ถอนฟ้องประชาชน ก็ต้องฟ้องพวกเราด้วย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง 121 รายชื่อ และเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชน 63 องค์กร เข้ายื่นหนังสือเรียกร้อง กกต. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชน เปิดเผยคะแนนรายหน่วยให้ประชาชนเข้าถึงง่าย และดำเนินการคำนวณที่นั่ง ส.ส. อย่างเคร่งครัด ด้านนักวิชาการยัน หากไม่ถอนฟ้องประชาชน ให้เอา 121 รายชื่อไปฟ้องด้วย
10 เม.ย. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 11.30 น. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง(คนส.) เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้ กกต.เปิดเผยคะแนนเลือกตั้งรายหน่วยทั่วประเทศ ให้ กกต. ดำเนินการคำนวนที่นั่ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่ออย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ กกต. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ร่วมลงชื่อ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กกต. และแชร์แคมเปญถอดถอน กกต. จากเว็บไซต์ Change.org พร้อมยื่นรายชื่อ 121 นักวิชาการที่ได้ร่วมลงชื่อ และแชร์แคมเปญถอดถอน กกต. เพื่อแสดงเจตจำนงค์ว่า นักวิชาการพร้อมเคียงข้างประชาชน และพร้อมหากจะต้องถูก กกต. ฟ้องร้องดำเนินคดี
ต่อมาเวลา 11.45 น. เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชน ได้เข้ายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องต่อ กกต.ด้วยเช่นกัน โดยขอให้ กกต. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชน เปิดเผยคะแนนเลือกตั้งรายหน่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตรวจสอบได้โดยง่าย และดำเนินการคำนวณที่นั่ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่ออย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย
จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรมและหยุดดำเนินคดีประชาชน
ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะวิกฤตมากว่าทศวรรษและไม่มีแนวโน้มจะยุติโดยง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่เคารพในกติกาหรือว่าไม่ฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ รัฐประหารและรัฐบาลทหารที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่เพียงแต่ไม่สามารถคลี่คลายปัญหาหรือว่าความขัดแย้งได้ หากแต่ยังเป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้วิกฤติหยั่งลึกและขยายวงกว้างขึ้น จึงมีแต่การกลับคืนสู่สภาวะปกติที่กติกาและเสียงของประชาชนเป็นที่เคารพเท่านั้นที่จะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ได้ และมีแต่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเท่านั้นที่จะเป็นประตูพาประเทศไทยไปสู่นิติรัฐและนิติธรรม
อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมานอกจากไม่ช่วยให้ประเทศไทยพ้นสภาวะวิกฤติตามที่ควรจะเป็น กลับยิ่งซ้ำเติมให้วิกฤติรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่มีข้อพิรุธและก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิที่ไม่ตรงกับบัตรลงคะแนน จำนวนคะแนนร้อยละห้าสุดท้ายที่ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนหน่วยเลือกตั้ง หรือว่าวิธีการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อที่ผิดหลักการรวมทั้งอาจขัดรัฐธรรมนูญ ขณะที่ประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมกลับถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท ยิ่งสร้างความไม่พอใจในสังคมเพิ่มขึ้น
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เห็นว่าสภาพการณ์ดังกล่าวที่ กกต. มีส่วนก่อขึ้นกำลังพาสังคมไทยไปสู่จุดตีบตันหรือว่าวิกฤติระลอกใหม่ จึงมีข้อเรียกร้องต่อ กกต. ดังนี้
1) กกต. ต้องเปิดเผยผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงวิธีการรวบรวมผลการนับคะแนน เนื่องจากผลคะแนนรวมที่ กกต. รายงานไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ และ กกต. ยังไม่ได้ชี้แจงในประเด็นนี้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ การเปิดเผยผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้งซึ่งประชาชนร่วมเป็นประจักษ์พยานจะช่วยแก้ปัญหาความเคลือบแคลงสงสัยได้ หากผลคะแนนไม่ตรงกัน กกต. ก็ต้องนับใหม่ให้สิ้นข้อสงสัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับผลคะแนนรวมในที่สุด
2) กกต. ต้องเปิดเผยวิธีการและขั้นตอนการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อโดยละเอียดอย่างเป็นทางการ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเลือกตั้งที่สาธารณะควรได้รับทราบและตรวจสอบความถูกต้องโปร่งใสรวมทั้งใช้ในการประกอบการตัดสินใจตั้งแต่ต้น การแถลงข่าวของ กกต. ที่ผ่านมาที่ไม่ได้ระบุวิธีการลงคะแนนที่ชัดเจนยิ่งก่อให้เกิดข้อกังขาว่าอาจมีการนำวิธีการคำนวณที่ไม่ถูกต้องมาใช้ในทางที่เอื้อประโยชน์บางฝ่าย หาก กกต. ไม่เร่งสร้างความกระจ่าง รวมทั้งไม่นำวิธีการคำนวณที่ถูกต้องที่ฝ่ายต่างๆ เสนอมาประกอบการพิจารณา การประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของ กกต. ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน
3) กกต. ต้องถอนฟ้องประชาชนที่แชร์การลงชื่อถอดถอน กกต. ใน Change.org รวมถึงประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน กกต. ในลักษณะอื่น เพราะการลงชื่อและการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐและเป็นการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองตามกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี มิได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาท กกต. ตามที่ กกต. ฟ้องร้องแต่อย่างใด แทนที่จะใช้กฎหมาย “ปิดปาก” หรืออาศัยกระบวนการยุติธรรมคุกคามประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ กกต. ควรหักล้างข้อกล่าวหาและวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อเท็จจริงและด้วยเหตุด้วยผล
นอกจากนี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีผู้แชร์การลงชื่อถอดถอน กกต. จำนวน 7 คนไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน มีลักษณะเป็นการสุ่มเลือกภายใต้เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป คนส. จึงได้รวบรวมรายชื่อนักวิชาการที่ลงชื่อและแชร์การถอดถอน กกต. ใน Change.org จำนวน 121 คนตามเอกสารแนบท้ายมายื่น กกต. เพื่อแสดงการสนับสนุนผู้ถูกฟ้องร้องและเรียกร้องให้ กกต. ถอนฟ้องทุกคนที่ผ่านมา หรือไม่ก็ต้องดำเนินคดีกับนักวิชาการตามรายชื่อนี้ที่พร้อมจะสู้คดีต่อไป
ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
10 เมษายน 2562
รายชื่อนักวิชาการแนบท้าย
1) กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3) กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4) กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5) กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
6) ขจรศักดิ์ สิทธิ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
7) คณิน เชื้อดวงผุย มหาวิทยาลัยนครพนม
8) คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
9) คมลักษณ์ ไชยยะ
10) คอลิด มิดำ มหาวิทยาลัยบูรพา
11) คารินา โชติรวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12) เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13) งามศุกร์ รัตนเสถียร มหาวิทยาลัยมหิดล
14) จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15) จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16) จิราภรณ์ สมิธ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
17) ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
18) ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19) ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20) ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21) ชาญคณิต อาวรณ์
22) ชิงชัย เมธพัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา
23) เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24) ไชยันต์ รัชชกูล
25) ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
26) ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
27) ณภัค เสรีรักษ์ นักวิจัยอิสระ
28) ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
29) ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี มหาวิทยาลัยนครพนม
30) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์
31) ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการอิสระ
32) ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33) ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
34) ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
35) ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
36) ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
37) ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
38) ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
39) ธาริตา อินทนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
40) ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
41) ธีระพล อันมัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
42) นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43) นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
44) นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45) นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
46) นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47) นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
48) บดินทร์ สายแสง มหาวิทยาลัยมหิดล
49) บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
50) บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
51) บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52) บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
53) เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
54) ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
55) ประกาศ สว่างโชติ นักวิชาการเกษียณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
56) ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
57) ปราโมทย์ ระวิน
58) ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
59) พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60) พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ
61) พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
62) พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63) พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64) พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
65) พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66) พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง
67) เพ็ญศรี พานิช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
68) เพ็ญสุภา สุขคตะ อาจารย์พิเศษ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69) ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
70) มนฑิตา โรจน์ทินกร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
71) มนตรา พงษ์นิล
72) ยุกติ มุกดาวิจิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
73) เยาวนิจ กิตติธรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74) รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75) ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
76) รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทวิทยาเขตกำแพงแสน
77) วรวิทย์ บุญไทย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
78) วัชรพล พุทธรักษา นักวิชาการอิสระ
79) วันพิชิต ศรีสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
80) วาสนา ละอองปลิว วิทยาลัยสหวิทยาการ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
81) วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
82) วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
83) วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
84) วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85) วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล
86) เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
87) ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88) ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
89) ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
90) ศิวพล ชมภูพันธุ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
91) สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92) สมใจ สังข์แสตมป์
93) สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
94) สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์
95) สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96) สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
97) สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
98) สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99) สุรินทร์ อ้นพรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
100) เสนาะ เจริญพร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
101) เสาวณิต จุลวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102) เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
103) โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
104) อนุชิต สิงห์สุวรรณ มหาวิทยาลัยนครพนม
105) อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106) อโนชา สุวิชากรพงศ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
107) อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
108) อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
109) อรรถพล อนันตวรสกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
110) อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111) อรัญญา ศิริผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
112) อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
113) อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
114) อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115) อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
116) อาทิตย์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
117) อุเชนทร์ เชียงเสน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
118) อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
119) เอกรินทร์ ต่วนศิริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
120) เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
121) เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยช
10 เมษายน 2562
เรื่อง ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับประชาชน เปิดเผยผลการเลือกตั้งทุกหน่วยต่อสาธารณะ และใช้สูตรคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่เป็นธรรมและถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
เรียน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามที่มีข้อมูลปรากฏเป็นที่รับทราบโดยทั่วไปทั้งตามรายงานข่าวของสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ว่า การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภายใต้ความรับผิดชอบและการกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในช่วงเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมามีปัญหาข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยแก่ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะความล่าช้าและผิดพลาดในการจัดกระบวนการใช้สิทธิออกเสียงและการจัดการบัตรลงคะแนน ความล่าช้าและไม่โปร่งใสในการนับคะแนนและการรายงานผลการเลือกตั้งต่อสาธารณะ นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางในเรื่องแนวทางหรือสูตรการคิดคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ของ กกต. ที่อาจขัดแย้งต่อตัวบทกฎหมายตามรัฐธรรมนูญด้วย
โดยปัญหาข้อผิดพลาดและข้อสงสัยต่างๆ ดังกล่าวได้นำมาสู่การเปิดรณรงค์ ให้ประชาชนร่วมกันลงชื่อถอดถอน กกต. ผ่านทางเว็บไซต์ www.change.org ที่ปัจจุบันมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 840,000 คน รวมถึงมีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อใช้สิทธิยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ด้วยนั้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ประชาชนมีความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยโปร่งใสบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริงอันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อ กกต. และสังคมไทยโดยรวม แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงในช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 ว่า กกต. ได้แจ้งความดำเนินคดีกับประชาชนจำนวน 7 คนที่ทำการเผยแพร่ส่งต่อข้อมูลการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันลงชื่อถอดถอน กกต. ผ่านทางเว็บไซต์ www.change.org ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้องได้ออกหมายเรียกให้บุคคลที่ถูกแจ้งความเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 11 เมษายน 2562
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชน ดังมีรายชื่อแนบท้ายขอเรียนว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้งให้มีความสุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของสังคม เสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งและยั่งยืน แต่จากพฤติการณ์และท่าทีต่างๆ ของ กกต. ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นว่า กกต. กำลังเดินสวนทางกับพันธกิจขององค์กรและความคาดหวังไว้วางใจของสังคม โดยเฉพาะการวางตัวเป็นคู่ตรงข้ามแจ้งความดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญโดยสุจริต โดยทางเครือข่ายฯ มีความเห็นดังนี้
การที่ กกต. แจ้งความดำเนินคดีข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาต่อผู้เผยแพร่และรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปลงชื่อถอดถอน กกต. มีลักษณะเป็นการคุกคามการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลโดยการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อยับยั้งและสร้างความหวาดกลัว ไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการทำงานของ กกต. ทั้งที่การร่วมลงชื่อและเผยแพร่รณรงค์ดังกล่าวนั้นเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับการรับรองไว้ตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อตั้งคำถามต่อข้อสงสัยและตรวจสอบการดำเนินงานของ กกต. ในกิจการสาธารณะที่เกี่ยวพันกับสิทธิทางการเมืองของประชาชนทุกคนและมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และ กกต. ในฐานะผู้รับผิดชอบควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งย่อมมีหน้าที่ต้องรับฟัง ตรวจสอบ และชี้แจงข้อสงสัยต่อสาธารณะและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เกิดความชัดเจนจนสิ้นสงสัยและเป็นที่ยอมรับ มิใช่ตอบโต้ประชาชนด้วยการดำเนินคดีเพื่อปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมสาธารณะ ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการเสื่อมเสียชื่อเสียงความน่าเชื่อถือไว้วางใจและความโปร่งใสขององค์กร กกต. ให้แย่ไปกว่าเดิม โดยเครือข่ายฯ ขอให้ กกต. ดำเนินการถอนคำร้องทุกข์กับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 7 คนโดยทันที และยุติการแจ้งความต่อประชาชนอื่นที่เผยแพร่รณรงค์และเข้าร่วมลงชื่อถอดถอน กกต.
ปัจจุบันประชาชนยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยในความถูกต้องของรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งอันเนื่องมาจากการนำเสนอผลคะแนนของ กกต. ที่มีความผิดพลาดและเปลี่ยนแปลงไปมาหลายครั้งในลักษณะที่มีผลกระทบต่อจำนวนว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมือง โดยมาตรการที่จะช่วยให้เกิดความโปร่งใสที่สังคมเสนอเรียกร้องต่อ กกต. มาโดยตลอด คือ การเปิดเผยผลการนับคะแนนเลือกตั้งแยกเป็นรายหน่วยของทุกหน่วยการเลือกตั้ง โดยต้องเป็นหน้าที่ของ กกต. ในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะให้ประชาชนทุกคนในฐานะผู้มีส่วนได้เสียกับผลการเลือกตั้งสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก มิใช่ผลักภาระให้ประชาชนแต่ละคนต้องเดินทางไปดำเนินการยื่นเรื่องขอคัดถ่ายสำเนาข้อมูลและเสียค่าใช้จ่ายจากแต่ละหน่วยหรือเขตเลือกตั้งเอง
การคำนวนที่นั่ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 91 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัด ซึ่งหมายถึงการจัดสรรที่นั่งให้กับพรรคการเมืองที่คำนวณตาม พ.ร.ป.ฯ มาตรา 128 (2) (3) แล้วได้ผลลัพธ์ตาม (3) เป็นจํานวนเต็มก่อน และภายใต้กติกาตามมาตรา 128 (5) ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมีที่นั่ง ส.ส.​ เกินจํานวนที่จะพึงมีได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ตามผลคะแนนเลือกตั้งที่ กกต. เผยแพร่ล่าสุด พรรคการเมืองที่จะได้รับจัดสรรที่นั่ง ส.ส.​ อย่างน้อย 1 ที่นั่ง ต้องได้รับคะแนนจากประชาชนรวมทุกเขตเลือกตั้ง อย่างน้อย 71,065 คะแนนเสียง เป็นอัตราส่วนเดียวกันทุกพรรคการเมือง
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชน
รายชื่อ 63 องค์กรเครือข่ายที่ร่วมลงนาม
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน iLaw
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง
กลุ่มรักษ์น้ำอูน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร
กลุ่มเรียนรู้บางเพลย์
กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch )
กลุ่มอนุรักษ์แก่งละว้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
กลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกหนองม่วง บ้านไผ่
กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่างลำพอกและโบราณสถาน จังหวัดสุรินทร์
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุง
ขบวนการอีสานใหม่
ขบวนเครือข่ายผู้หญิงไทยภาคอีสาน
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน
เครือข่าย ๓๐๔ กินได้
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร
เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคอีสาน
เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
เครือข่ายประชาชนอีสานติดตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยพ่วงโรงไฟฟ้า
เครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
เครือข่ายเพื่อนตะวันออก
เครือข่ายรักแม่พระธรณี
เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เขต 1 เชียงใหม่
เครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ สำนักงานภาคเหนือ
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชน จ.นครราชสีมา
สมัชชาคนจน
สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย
องค์กรเครือข่ายเด็กและเยาวชนกำแพงเพชร
ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน