PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

“ธวัชชัย” ทิ้งบอมบ์! ปูดก๊วนการเมืองส่อป่วนใต้ 15-17 ก.ค. แฉ 2 พรรครวมหัวระดมคนนับล้านไล่รัฐ

“สปช.ธวัชชัย” ปูดแหล่งข่าวบอกแนวร่วมเตรียมก่อเหตุชายแดนใต้ 15-17 ก.ค.นี้ เชื่อฝีมือกลุ่มการเมืองหวังได้งบลงพื้นที่เพิ่ม แฉ 2 พรรคลงขันก่อการล่า 1 ล้านคน ใช้ชาวใต้เป็นกองหน้า อีสานเป็นทัพกลาง ชุมนุมล้มรัฐบาลในกรุงเทพฯ บี้หยุดเคลื่อนไหวแล้วมาหนุนเดินหน้าปฏิรูป แนะกระทรวงการต่างประเทศแจงที่มาชาวอุยกูร์ และปัญหาให้คนในชาติรู้ โอ่ใครไม่คบเหลือแค่จีนกับอินเดียประเทศก็ไปได้ ด้าน “สปช.ศรีสะเกษ” สอนคณาจารย์อบรมเด็กให้เป็นคนดีภายใต้กรอบประเพณี
       
       
       วันนี้ (14 ก.ค.) ที่รัฐสภา พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น และอดีตแม่ทัพภาคที่ 2 พร้อม สปช.แถลงข่าวถึงความเป็นได้ของการก่อเหตุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ในวันที่ 15-17 ก.ค.ว่า เนื่องจากตนได้ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เคยทำงานร่วมกับตน ทราบดีว่ามีกลุ่มที่จะก่อความไม่สงบอยู่กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย กลุ่มค้ายาเสพติด กลุ่มค้าน้ำมันเถื่อน กลุ่มก่อการร้าย และกลุ่มการเมือง สาเหตุหลักของสถานการณ์รุนแรงในขณะนี้มาจากกลุ่มการเมืองที่ต้องการเคลื่อนไหว เพราะถ้าหากมีความรุนแรง งบประมาณที่ลงไปในพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ตนทราบข่าวมาว่ามีพรรคการเมือง 2 พรรคลงขันให้ก่อสถานการณ์ก่อการร้ายและเตรียมจัดตั้งแกนนำรวบรวมคนในอัตรา 1 ต่อ 100 คน ซึ่งจะรวบรวมให้ได้อย่างน้อย 1 ล้านคน โดยมีประชาชนจากภาคใต้เป็นกองหน้าและกองหลัง ส่วนประชาชนจากภาคอีสานเป็นกองกลาง เพื่อเข้ามาชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลในกรุงเทพฯ รวมไปถึงสถานการณ์ทางการเมืองมีความรุนแรงขึ้น โดยมีความต้องการให้เกิดการล้มรัฐบาล ทำให้การทำงานของรัฐบาลมีความลำบากขึ้น ดังนั้นตนขอเรียกร้องไปยังกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ให้หยุดการเคลื่อนไหวแล้วสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อช่วยกันพัฒนาปฏิรูปประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้
       
       ส่วนกรณีการส่งชาวอุยกูร์ว่ามีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับต่างประเทศได้เข้าใจหรือไม่ พล.อ.ธวัชชัยกล่าวว่า ตนคิดว่าจำเป็นต้องชี้แจงให้คนไทยได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงมากกว่าว่าชาวอุยกูร์นั้นมีที่ไปที่มาอย่างไร ปัญหาอยู่ตรงไหน ข้อมูลเหล่านี้นั้นสามารถหาได้ตามอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ตนเห็นว่าเป็นการจัดการตามหลักการจัดการผู้ร้ายข้ามแดน และเชื่อว่าต่อให้ทั่วโลกไม่ยอมติดต่อกับไทย แต่หากได้คบหากับจีนและอินเดียที่มีพลังทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศไทยยังขับเคลื่อนต่อไปได้
       
       ด้าน พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภรานนท์ สมาชิก สปช.จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า พล.อ.ธวัชชัย และพล.อ.ประยุทธ์ ได้ดูแลปัญหาชายแดนมาอย่างต่อเนื่อง จึงวอนให้ประชาชน นักศึกษา และคณาจารย์ ร่วมกันสร้างประเทศให้เกิดความสงบสุข โดยเฉพาะคณาจารย์มีหน้าที่อบรมนักศึกษาให้เป็นคนดีภายใต้กรอบประเพณีไทย ขณะที่นักศึกษามีหน้าที่ต้องเรียนและมาบริหารประเทศในอนาคต จึงฝากนักศึกษาที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่อย่าเพิ่งเคลื่อนไหวเพื่อให้ประเทศเกิดความสงบ เพื่อให้รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาให้ทันนานาอารยประเทศ
///////
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ข่าวที่อ้างว่าจะมีการระดมมวลชนเป็นล้านจาก 2 พรรคการเมืองนั้น ความเป็นจริงแล้วคงเป็นเรื่องยากครับถ้ารัฐบาลยังคงสร้างผลงานเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ก็จะครองใจประชาชนได้ แล้วจึงจะมีฐานมวลชนของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องหวั่นเกรงฐานจากมวลชนของพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น=>แต่ถ้ารัฐบาลเข้ามาเพื่อถ่วงดุลอำนาจไม่ให้เป็นศัตรูกับการเมืองขั้วไหน(เผื่อจับมือกันในอนาคต)โดยไม่สนใจความผิดชอบชั่วดี แล้วมุ่งแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ โกงชาติบ้านเมืองเพื่อหวังจะหาเงินมาตั้งพรรคการเมืองในอนาคต นอกจากจะไม่มีทางชนะพรรคการเมืองในระบบทุนสามานย์ที่เชี่ยวชาญในการระดมเงินงบประมาณ และนโยบายซื้อเสียงประชาชนแล้ว ก่อนถึงเวลานั้นประชาชนทุกภาคส่วนก็อาจจะรวมตัวกันมาขับไล่รัฐบาลโกงชาติบ้านเมืองอีกก็ได้=>เลือกเอาครับ!!!

       

บิ๊กตู่ บอกขอพรพระพิรุณ เผยดีใจ ฝนตก ห่วงเกษตรกร

พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้ง หลังจากเมื่อคืนวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมามีฝนตกในหลายพื้นที่ ซึ่งยอมรับว่า “ดีใจ เมื่อคืสวดมนต์ขอพระพิรุณ ขอให้ทุกคน ขอให้ประเทศชาติปลอดภัย ขอให้ประเทศชาติสงบสุข ขอให้สื่อน่ารัก ขอทุกวัน ไม่ได้พูดเล่น”

เมื่อถามว่าได้มีการส่งกำลังทหารไปช่วยในพื้นที่แล้งในการขุดลอกคูคลองหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารไปนานแล้ว มีแผนงานอยู่แล้ว ที่ไปเจาะบ่อบาดาลก็มีเจ้าหน้าที่ทหารไปด้วย ส่วนที่บางพื้นที่ที่ไม่ได้ลงไปทำ เพราะว่าบางพื้นที่ขุดลอกคูคลองได้ บางพื้นที่เก็บกักน้ำไม่ได้ ไม่ใช่ตรงไหนก็ทำได้ และงบประมาณมีหรือไม่ และเครื่องไม้เครื่องมือเรามีเพียงพอหรือไม่ มีเครื่องมือขุดเจาะกี่ตัว อยู่ที่ไหนบ้าง ก็รวบรวมมากำหนดเป้าหมาย 500 บ่อ ใครจะรับผิดชอบตรงไหนบ้าง เขาทำกันแบบนี้

“ถามอะไรให้มันสร้างสรรค์สิ ดีกว่านะ ขุดแล้วเป็นอย่างไร ดีขึ้นไหม แบบนี้ตอบง่าย ถ้าถามว่า มันแล้งจะทำอย่างไร ก็มันแล้งไง เข้าใจคำว่าแล้งไหม เราต้องทำให้คนอยู่ได้ก่อน ประทังชีวิตและการเกษตรไปก่อน เมื่อเราประทังการเกษตรไม่ไหว ก็ต้องยอมรับ เพราะคนเดือดร้อนสำคัญกว่า มันก็ต้องเลือกหรือแบ่งขั้นตอนช่วงที่แล้วทำมาได้ก็ทำมา รักษาทั้งสองส่วน พอวันนี้เริ่มเดือดร้อนการประปาก็ต้องดูการเกษตร ว่าจะเอาอย่างไร ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะฉะนั้นการเกษตรเนี่ย ผมก็อยากบอกว่าผมไม่ได้ไปรังเกียจรังงอน ผมสงสารท่านมากกว่า แต่มันจนใจจริงๆ ถ้าท่านจะทำก็ต้องรอน้ำฝน ไม่เช่นนั้นท่านลงทุนไปแล้วมันก็เสียหาย มันไม่ได้ประโยชน์ เดี๋ยวก็ไปหากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีใครเดือดร้อนก็บอกมา ท่านต้องเป็นกลุ่มให้ได้ว่าตรงนี้เดือดร้อน ไม่ใช่คนหนึ่งมาร้อง แล้วมาอีกคนหนึ่ง ไม่รู้จะช่วยตรงไหน เอาคนละบ่อหรือ รวมแปลงนา รวมพื้นที่ สิ่งที่เราจัดนี่คือการโซนนิ่งไง เราก็จะรู้แล้วว่าตรงไหนควรปลูกพืชน้ำมาก น้ำน้อย นี่คือเวลาพลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างการรับรู้ ให้เขารู้ว่าต่อไปทำนาไม่ได้แล้วนะ มันนอกเขตชลประทาน ถ้าในเขตก็ทำไร่ แต่ถ้าน้ำไม่มาก็ไม่มีเหมือนกัน คนทุกจะได้ปรับเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นทุกคนก็บอกว่าไปห้ามเขาทำนาแล้วเขาจะทำอะไร พูดอย่างนี้มันไม่จบ มันเสียหายหมด สรุปคือชาวนายังทำงานต่อไป ถึงมันจะทำปีละสามครั้ง ได้ผลประโยชน์ครั้งเดียว ท่านก็เชียร์เขาทำต่อไปก็แล้วกัน ผมรับผิดชอบให้ไม่ได้”

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลก็เตรียมแผนงานในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต เตรียมพื้นที่ให้ปลูก เตรียมข้อมูลว่าพื้นที่ไหนควรปลูกพืชอะไร ถ้าเป็นพืชป้อนโรงงานจะเป็นตรงไหน ให้เกิดธุรกิจในชุมชน ชาวไร่ชาวนามีเงิน สหกรณ์มีเงินไปซื้อของมาเก็บ มาแปรรูป ประชาชนจะได้เข้มแข็ง เขาเรียกว่าให้เบ็ดแล้วให้วิธีการตกปลาด้วย แต่วันนี้ปลาไม่มีตกเพราะฝนแล้ง ก็ต้องหาปลามาแจก คือต้องช่วยเหลือคนเดือดร้อน คิดแบบนี้จะได้ไปด้วยกันได้ ถ้าตนทำอะไรไม่ดีก็บอกมา ถ้าบอกแล้วยังไม่แก้ ก็ค่อยด่าตน นี่พอแตะปั๊บก็ด่าหมด ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ทำไม่ได้ อย่าว่าตนเลย ถึงมีอำนาจเต็มก็ทำไม่ได้ เพราะความขัดแย้งมันสูง ใครจะอยากให้ขัดแย้งเพิ่มขึ้น ไม่ใช่มาบอกว่าไม่กล้าทำ ถ้าไม่กล้ามาไม่มายืนตรงนี้


นายกฯยันจะไปUN กล่าวสุนทรพจน์

นายกฯยันจะไปUN กล่าวสุนทรพจน์ ยันUN เขาเชิญมาอยู่ ก็จะไปตามกำหนดกย. ระบุ UN ให้เกียรติ
นายกฯ บิ๊กตู่ พลเอกประยุทธ์ หัวหน้า คสช.ให้กำลังใจนักกีฬาผู้พิการทางสติปัญญาทีมชาติไทย53คนก่อนไปแข่งขันThe 2015 Special Olympics World Summer Games ที่LA ระบุกีฬามีแพ้มีชนะ แต่ต้องตั้งใจ ไปชนะ กลับมาค่อยว่ากัน
ฝากนักกีฬา ผู้สอนSpecial Olympics เป็นทูตพิเศษ แจงแทนไป ไปแข่งอเมริกา ดีที่ไปได้ ผมยังไม่ได้ไปเลย มีแต่จะไปUN ถ้าเขาให้ไป เขาเชิญมาแล้ว ก็จะไปตามกำหนด ย้ำ ไม่หวังอำนาจ ผลประโยชน์ อย่ามาโทษทหาร โทษรัฐบาลนึ้ เปรียบเทียบดู ผมทำอะไรเสียหาย มั้ย เผยบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยงบประมาณจำกัด มันยาก ขอทุกฝ่ายสงบ ด้วยจิตใจของตนเอง ไม่ใช่เพื่อผม แต่เพื่อทุกคน ได้เห็นรอยยิ้ม เดิมๆ กลับมา ต่างชาติมองเรา ดีขึ้น สบายใจ เห็นรอยยิ้ม เผยประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้ง อย่าให้เกิดขึ้นอีก ใน10ข้อ ยังตกลงกันไม่ได้ ขอแค่7-8ข้อตกลงกันได้ อีก2 ข้อค่อยมาว่ากัน เรียงลำดับก่อน-หลัง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงจะเดินทางไปร่วมประชุมที่องค์การสหประชาชาติในเดือนกันยายนนี้ว่า ถึงวันนี้ทางยูเอ็นก็ยังเชิญมาอยู่ เขายังไม่ได้เลิกเชิญตน แต่ไปครั้งนี้เป็นคนละเรื่องไม่ได้ไปที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่เขาเชิญไปเพื่อให้ตนไปแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทางยูเอ็นให้เกียรติกับตน ตนก็รับมาเตรียมการ ก็สุดแล้วแต่ว่า เมื่อถึงเวลาจะเกิดอะไรขึ้น ตนก็ไม่รู้ แต่ตนก็พร้อมที่จะพูดกับคนทุกคนและทุกประเทศในโลก
ส่วนประเด็นที่จะนำไปแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเวทีที่พูดถึงความร่วมมือของประชาคมโลก แต่ไม่ได้พูดถึงประชาธิปไตยไทย พูดถึงเรื่องของโลกร้อน วิสัยทัศน์ในการทำอย่างไรให้โลกนี้ปลอดภัย การดูแลคนทุกหมู่เหล่า ทุกประเทศ ทุกเชื้อชาติ ทุกวรรณะ ส่วนเรื่องปลีกย่อยก็เป็นเรื่องการปกครองของแต่ละประเทศ ซึ่งก็เป็นเรื่องของแต่งะประเทศ หลักการของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ต้องมีความขัดแย้งอยู่แล้ว แล้วทำไมเราต้องไปขยายความขัดแย้งของเขามาทำให้เรามีปัญหา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องต่างๆ ทุกคนก็รู้ดีว่าปัญหาเกิดมาจากที่ไหนก่อน และวันนี้ตนเข้ามาทำอะไร ไม่ใช่ของมันดีอยู่แล้ว แล้วตนมาทำให้แย่ลง ที่ผ่านมามันแย่จนจะติดดินอยู่แล้ว ตนก็เข้ามาพยุงไว้เท่านั้นเอง
"ท่านก็พยายามจะพูดให้ผมเสียหาย ผมขอถามว่าถ้ามันแย่ลงเพราะอะไร ไปหามาให้เจอก่อน วันนี้ขอร้องว่าอย่าพูดให้เศรษฐกิจมันแย่ลง บางครั้งเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว แล้วก็มาพูดกันออกไป ถ้าเวลาปกติจะว่าใครวิจารณ์ใครว่าไม่มีความรู้ สามารถวิจารณ์ได้ แต่วันนี้เป็นยุคและเวลาแห่งความร่วมมือ เวลาแห่งการขยายความเข้าใจที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ แล้วเรื่องของผลงานจะไปใจร้อนไม่ได้ ไม่ว่าจะกี่รัฐบาล บางเรื่องสำเร็จหรือไม่ วันนี้รัฐบาลนี้มาทำสำเร็จสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ในกิจกรรมต่างๆ ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว ในเวลา 1-2 ปีที่ทำงานมา บางอย่างก็ทำได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ถ้าเปรียบเทียบเฉพาะสถานการณ์วันนี้ของรัฐบาล โดยไม่พูดถึงสถานการณ์และความเป็นมามันก็ต้องแย่ลงเป็นธรรมดา เพราะสถานการณ์แต่ละปีมันแตกต่างกัน แม้แต่ปี 2549 ก็ยังไม่เหมือนสถานการณ์ปัจจุบันเลย ประชาชนแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไร ฝากให้สื่อไปวิเคราะห์กันใหม่"


โปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญชั่วคราว2557ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2558 แล้ว เปิดทางทำประชามติ

โปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญชั่วคราว2557ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2558 แล้ว เปิดทางทำประชามติ
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 17.15 น. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรี พร้อมเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้รับทราบแล้วว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว(แก้ไขเพิ่มเติม) 2557 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนายกฯได้รับทราบและมอบหมายให้สำนักเลขาฯ ครม. จัดพิมพ์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำนวน 500 เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ
http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/064/1.PDF

ช่วงเย็นวันที่ 15 ก.ค.เว็บไซต์สำนักราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)ได้เผยแพร่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2558 โดยสาระสำคัญ ได้มีการแก้ไขในส่วนของคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสนช.กรรมการอื่น รวมถึงคณะรัฐมนตรี(ครม.)จากที่ต้องไม่เคยถูกถอดถอนสิทธิเลือกตั้ง แก้ไขเป็นไม่อยู่ในระหว่างการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ยกเว้นกรณีถูกตัดสิทธิ์จากคดีทุจริต การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทำต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้ 3.ขยายเวลาการทำงานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จากเดิมอีกไม่เกิน 30 วัน
นอกจากนี้ มีการแก้ไขเมื่อสปช.มีมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีการนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ดำเนินการ ขณะเดียวกัน เมื่อสปช.ลงมติไม่ว่าจะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ยุบสปช.พร้อมให้ตั้ง“สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ”จำนวน 200 คน เพื่อเสนอแนะการปฏิรูป ส่วนกรณีที่สปช.สิ้นสุดลงโดยกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่สิ้นสุด ให้กมธ.ยกร่างฯปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เว้นแต่จะมีประชามติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในกรณีเช่นนั้น ให้กมธ.ยกร่างฯส้ินสุดลงนับตั้งแต่วันประกาศผลการออกเสียงทำประชามติ แต่กรณีที่มีประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ให้กมธ.ยกร่างฯยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อจัดทำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่จำเป็นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของกมธ.ยกร่างฯให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญประกาศใช้
นอกจากนี้ เมื่อกมธ.ยกร่างฯ 36 คน สิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ให้ตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานและกรรมการอื่นไม่เกิน 20 คน เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรับฟังความเห็นประชาชนภายใน 180 วัน เมื่อร่างเสร็จให้ทำประชามติอีกครั้ง


หน.คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 20 ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

หน.คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 20 ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2558  เรื่อง ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยระบุว่า  โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
 พ.ศ. 2553 ไปจนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
2. ให้กรรมการปฏิรูปกฎหมายที่อยู่ในตําแหน่งจนครบวาระไปแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2553 พ้นจากตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
3. ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ให้สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรี
4. คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

www.innnews.co.th

ขยายเวลาการพิจารณาคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอีก 30 วัน เปิดทางให้ทำประชามติ

ราชกิจจานุเบกษา ขยายเวลาการพิจารณาคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอีก 30 วัน เปิดทางให้ทำประชามติ
เว็บไซค์ราชกิจจานุเบกษามีประกาศรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557  มาตรา 37 ระบุให้เวลาคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตามคำขอแก้ไข โดยเปิดโอกาสให้ขอขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนด ทั้งนี้ต้องชี้แจงเหตุผลจำเป็นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติรับทราบ
โดยหลังจากพิจารณาปรับแก้เสร็จแล้ว ให้ส่งต่อไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยกำหนดให้ สปช. ดำเนินการลงมติเพื่อพิจารณารับ/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญหลังจากรับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 5 วัน
ซึ่งหาก สปช. มีมติรับร่างรัฐธรรมนูญก็จะไปสู่การทำประชามติของประชาชน และหากประชาชนมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะไปสู่ขั้นตอนของการเลือกตั้ง

โปรดเกล้าฯ 'รธน.ชั่วคราว' แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่1แล้ว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (15ก.ค.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ 

มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘” 

มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป 

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” 

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหกของมาตรา ๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ 
“การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย พระมหากษัตริย์ จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทําต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้” 

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 

“มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง ในการนี้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่คําขอแก้ไขเพิ่มเติมมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นจํานวนมากหรืออาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีมติให้ขยายระยะเวลาพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมออกไปได้อีกครั้งหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว และให้แจ้งมติขยายระยะเวลาพร้อมเหตุผลให้สภาปฏิรูปแห่งชาติทราบก่อนครบกําหนดเวลานั้นด้วย 

เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งแล้วให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วให้สภาปฏิรูปแห่งชาติรอไว้สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อพ้นกําหนดนี้แล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประชุมเพื่อลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับภายในสามวันนับแต่วันที่ครบกําหนดดังกล่าว ในการนี้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ มิได้ เว้นแต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้แก้ไขเฉพาะในกรณีพบเห็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสําคัญและจําเป็นต้องแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน

เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสอง ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบและให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยเร็ว โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดําเนินการให้มีการออกเสียงประชามติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง  
ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ให้นําพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกําหนดโทษมาใช้บังคับแก่การดําเนินการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย 

การจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ โดยต้องกระทําในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ในการนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติเสนอประเด็นอื่นใดที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่มเติมพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วย สภาละไม่เกินหนึ่งประเด็น ก็ได้ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับประเด็นใด ให้แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติและให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการให้มีการออกเสียงประชามติสําหรับประเด็นนั้นในคราวเดียวกันกับการจัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีดังกล่าวนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ 

การมีมติเสนอประเด็นตามวรรคสี่ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติกระทําในวันเดียวกับการมีมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติภายในสามวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดวันออกเสียงประชามติตามวรรคสี่ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าสามสิบวันแต่ไม่ช้ากว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งร่างรัฐธรรมนูญให้แก่ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติได้ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของครัวเรือนทั้งหมดที่ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 

ในการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายก่อนวันทีรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และภายใต้บังคับมาตรา ๓๗/๑ ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 

ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมาหรือเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป” 

มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๗/๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ 
“มาตรา ๓๗/๑ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๗ วรรคสี่ และเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับประเด็นดังกล่าว และมีผลให้บทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดําเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ แล้วส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเป็นการชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือในกรณีที่ 
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าบทบัญญัติใดยังไม่สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติและได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญคืนให้แก่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการแก้ไขตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วซึ่งต้องทําให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไปตามมาตรา ๓๗วรรคเจ็ด โดยให้นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมสมบูรณ์แล้ว” 


มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 
“มาตรา ๓๘ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นอนสั ิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ 
(๑) สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนด 
(๒) สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามมาตรา ๓๗ ไม่ว่าจะมีมติเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม 


เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามมาตรา ๓๔ หรือเมื่อมีกรณีตาม (๑) หรือเมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย แต่มิให้นํามาตรา ๓๓ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่พ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุดังกล่าว 

มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงโดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่สิ้นสุดลง ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเว้นแต่จะมีประชามติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ในกรณีเช่นนั้น ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงนับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ แต่ในกรณีที่มีประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อจัดทําร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จําเป็นเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น 

ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงโดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่สิ้นสุดลงหากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งในระหว่างนั้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ และให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตําแหน่งที่ว่างโดยเร็ว โดยมิให้นํามาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง 
วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับ” 

มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๙/๑ มาตรา ๓๙/๒ และมาตรา ๓๙/๓ 
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ 
“มาตรา ๓๙/๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๙ หรือนับแต่วันที่ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปตามมาตรา ๓๗ วรรคแปด แล้วแต่กรณี ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกไม่เกินยี่สิบคน เพื่อทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้นํามาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

ในระหว่างการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญรับฟังความคิดเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชน ประกอบด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกําหนดเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกําหนด 

เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบ และให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยเร็ว โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดําเนินการให้มีการออกเสียงประชามติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นํามาตรา ๓๗ วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด และวรรคแปด มาตรา ๓๗/๑ และมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 

มาตรา ๓๙/๒ เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ มิให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้อีก และให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้นแทนสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อดําเนินการให้เกิดการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ สืบต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยให้คํานึงถึงความสําคัญเร่งด่วนและความสัมฤทธิผลของการปฏิรูปในระยะเวลาที่เหลืออยู่ และให้นํามาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง (๑)และวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

ให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำากว่าสามสิบห้าปี โดยให้แต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง 

ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนหนึ่งและเป็นรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไม่เกินสองคน ทั้งนี้ตามมติของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 

ให้นํามาตรา ๑๓ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับแก่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอํานาจของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 

มาตรา ๓๙/๓ ให้นํามาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑ มาใช้บังคับแก่ประธาน รองประธานและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และประธานและกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม” 

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา ๔๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


“เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และให้นํามาตรา ๓๗ วรรคแปด มาใช้บังคับโดยอนุโลม” 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 
นายกรัฐมนตรี 


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อกําหนดวิธีการจัดทําประชามติร่างรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติอื่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญนี้
คลิ๊กอ่าน รายละเอียรัฐธรรมนูญ ได้ที่นี่ 

การชุมนุมสาธารณะ มีผลมีผลบังคับสิงหาคมนี้

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ มีผลมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศ ซึ่งจะตรงกับเดือนสิงหาคมนี้ 
    
กฎหมายฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ กำหนดสถานที่ต้องห้าม มิให้จัดการชุมนุมในรัศมี 150 เมตร อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระตำหนัก รวมถึงสถานที่ราชการ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล เว้นแต่มีการจัดให้มีสถานที่ เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่นั้น
ไม่เดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมในเวลากลางคืน และต้องไม่ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมที่ใช้เครื่องขยายเสียงตั้งแต่เวลา 00.00 - 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น และ ผู้ชุมนุมต้องแจ้งวัน เวลา และสถานที่ชุมนุม ต่อหัวหน้าสถานีตำรวจผู้รับผิดชอบ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
///////////
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 รวม 5 หมวด 35 มาตรา ยกเว้นการชุมนุม 6 ประเภท ระบุผู้ใดประสงค์จัดชุมนุม ต้องแจ้งต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก
.
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและโดยสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี
.
อีกทั้งยังเพื่อให้ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน หรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น 
คลิ๊กดูรายละเอียดกฎหมาย พรบ.การชุมนุมในที่สาธารณะ

โปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 แก้ไขเพิ่มเติม 9 มาตราแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 แก้ไขเพิ่มเติม 9 มาตราแล้ว

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 64 ก เผยแพร่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติมขึ้น

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นปีที่ 70 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

นายกฯบิ๊กตู่ ไม่รับลูก บิ๊กเยิ้ม พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร สปช. เพื่อนตท.12 ที่ปูดข่าว 2พรรคลงขัน ล้มรัฐบาล

นายกฯบิ๊กตู่ ไม่รับลูก บิ๊กเยิ้ม พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร สปช. เพื่อนตท.12 ที่ปูดข่าว 2พรรคลงขัน ล้มรัฐบาล ไช่ไปถาม สปช. ยันสำนักข่าวกรอง สมช.หน่วยข่าว ก็ไม่มีรายงานมา แต่จะไม่ถามแม้เป็นเพื่อน เพราะ"ในเรื่องงานผมไม่มีเพื่อน" เผย รู้มี ความพยายามในการล้มรัฐบาลอยู่แล้ว สื่อก็รู้นี่ แต่หน่วยข่าวยังไม่ได้รายงานผม อาจบอกเล่ากันมาหรือเปล่า ไม่รู้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีพล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงว่า มีพรรคการเมือง 2 พรรคลงขันให้ก่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมจัดตั้งแกนนำรวบรวมคนจากภาคใต้และภาคกลางมาโค่นล้มรัฐบาล ว่า ตนได้ตรวจสอบเรื่องนี้กับสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แล้วพล.อ.ธวัชชัย เป็นใคร เขาขึ้นอยู่กับใครซึ่งเป็นเรื่องของเขา แต่ทางสมช.ได้ตอบตนมาแล้วว่ายังไม่รับข่าว ก็จบ ตนฟังแบบนี้ เพราะต้องฟังข้าราชการเนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบ

ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่กระบวนการในการล้มรัฐบาลยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สื่อก็รู้ไม่ใช่เหรอ ก็ไปหาเขามาไม่ใช่เหรอ ท่านก็รู้ดีแล้วมาถามตนทำไม ก็สื่ออยู่ตรงกลางก็ไปหาทุกพวกมาอยู่แล้ว
“ผมได้รับรายงานว่าทั้งประเทศไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรเกิดขึ้น เรื่องเดิมก็เยอะอยู่แล้ว และไปขุดอีกเรื่องขึ้นมาอีก เอากันเข้าไป แล้วเศรษฐกิจมันคงดีขึ้นหรอก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามว่าจะมีการเรียกพล.อ.ธวัชชัย มาพูดคุยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรียกทำไม เป็นเรื่องของสปช. ที่จะไปเรียก เมื่อถามย้ำว่าในฐานะเพื่อนจะมีการพูดคุยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่มีเพื่อนในเรื่องทำงาน เมื่อถามว่าการให้เปิดเผยในลักษณะนี้จะเป็นการสร้างความตกใจให้สังคมหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ไปถามพล.อ.ธวัชชัย สิ และเวลาที่สื่อเขียนนั้นตกใจยิ่งกว่านี้อีก แต่ตนไม่ได้ว่าทุกคน ทำไมไม่ไปถามคนเขียน

มื่อถามว่านายกฯมั่นใจว่าไม่มีใครสามารถมาล้มล้างรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ไม่ใช่ไม่มีใคร ผมไม่ได้ท้าทายใคร ผมกำลังทำงานของผม ฉะนั้นถ้าใครมาทำให้ผมทำงานไม่ได้ก็เป็นเรื่องเขาต้องรับผิดชอบไป ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น ทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าประเทศชาติเสียหาย วันหน้าก็รับผิดชอบกันเอาเอง ถ้าค้านเรื่องนี้เรื่องโน้น แล้วมันเกิดปัญหาในวันหน้า ก็จำตัวเองไว้แล้วกัน แล้วให้ประชาชนไปไล่ดูเอาเอง ผมไม่อยู่ด้วยแล้ว”

ส่วนที่มีการระบุว่าถึงพรรคการเมืองสองพรรคจะมีการสืบสวนหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า งานบางงานไม่ต้องสั่ง เขาทำหน้าที่อยู่แล้ว หน่วยงานเขามีเยอะแยะ คนเป็นแสนๆ เขาทำอยู่แล้ว ทั้งหน่วยข่าวกรอง สมช. ฝ่ายความมั่นคง กี่กระทรวงเขาทำหมดแล้ว ถ้ามีก็สรุปมาว่ามี ซึ่งจะมีมาตรการว่าจะทำอะไรต่อไป คือการบังคับใช้กฎหมาย ถ้ามันผิดกฎหมายก็ทำไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้มันไม่มีหลักฐาน เป็นการกล่าวเหมือนบอกเล่ากันมาหรือเปล่า ตนก็ไม่รู้ ไปสอบกันเอาเอง นายกฯต้องสั่งทุกเรื่องเลยหรือไง ต้องเข้าใจระบบสายงานปกติบ้าง ที่มีหน่วยงานเยอะแยะ ไม่อย่างนั้นก็ยุบไปหมดเลย ไม่ต้องมี

ภัยแล้างกับทฤษฎ่ีสมรู้ร่วมคิด?

เมื่อคืนผมฝัน เป็นมโน ว่า ....
ภัยแล้งครั้งนี้ ...ดูมีกระบวนการ " สมรู้ร่วมคิด " คล้าย ๆ กับตอนอมาตย์ ถล่มรัฐบาลยิงลักษณ์ ด้วยน้ำท่วม
กำลังพล สำคัญของ ฝ่ายอมาตย์ อย่างที่เรารู้กัน ได้แก่ NGO องค์กรณ์ อิสระ ตุลาการ ที่เขาแต่งตั้งขึ้นมากินผลประโยชน์ โดยรัฐธรรมนูญ 50 และ ที่เป็นพลังใต้ดินสำคัญคือ....ข้าราชการ....ที่เติบโตเป็นใหญ่มาได้ด้วยระบบอมาตย์คำจุน
รัฐบาลจักบริหารบ้านเมืองได้ ต้องอาศัย ข้าราชการ ....
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดนวางยาโดยข้าราชการของอมาตย์ มาแล้วครบเครื่อง ทั้งจำนำข้าว ทั้ง บริหารจัดการน้ำ ดีว่าแข็ง เกร่งจริง จึงพอประคองชาติไปได้ ..จนมาถูกยึดอำนาจเพราะทหารโจร
ปัจจุบันข้าราชการ มีทั้งแดง และ เหลือง ....ข้าราชการสีแดง ระดับสำคัญ ทหารสั่งย้ายหมด แต่ ข้าราชการฝ่ายอมาตย์ มันไม่กล้า เพราะ เกรงใจกัน
เล่นกันนิ่ม ๆ ตาใส ๆ แกล้งโง่ ..เงินกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ จึงไม่ขยับค้างท่อให้ ประยุทธ โมโห อยู่กว่าครึ่ง คนปล่อยข่าว โอนเงิน 10000 ล้านไปสืงคโปร์ ยุทธก็ไม่กล้าจับ ต้องพาลไปเล่นคนแชร์ เพราะอะไร ...
เพราะคนกันเอง เคยเกรงใจกัน ยกหูหากันท่านก็ รับปากจะดูแล ...ก็แค่นั้น
มาถึงเรื่องน้ำ ...
เรามีเขื่อน ยักษ์ 3 เขื่อน กักน้ำได้ ร่วม 8000 ล้านลูกบากศ์เมตร ...แต่เรายังต้องเจอปัญหาภัยแล้ง ที่ขณะนี้เน้นเป้าเดิมพื้นที่ภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาดินแดนที่ได้ชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ ชุ่มชื่นที่สุด ...
พื้นที่เป้าหมายเดียวกับ ตอนน้ำท่วมที่ยิงลักษณ์โดน ..
อยุธยา ปทุมธานี ..มีโรงงานอุตสาหกรรมหลัก ๆ สำคัญ ๆ อยู่จำนวนมาก ต้องการใช้น้ำจำนวนมากในการจัดการ ภัยแล้ง...อาจกระทบการลงทุน
ซ้ำเติมเศรษฐกิจ ..เช่นเดียวกับตอนน้ำท่วม
เป็นไปได้อย่างไร ที่คนของกรมชลประทาน จะไม่รู้เท่าทัน พยากรณ์อากาศ ที่เฝ้าจับจ้อง เอลณิญโญ่แบบตาไม่กระพริบ ...แล้ว ซื่อบื้อ ปล่อยน้ำตามปกติจนหมดเขื่อน ...???
กว่าประยุทธจะรู้ก็สายไป...จนเป็นเหตุให้อารมณ์ไม่ดี อัดกรมชล ฯ ออกสื่อไปครั้งหนึ่งที่เชียงใหม่
ล่าสุดมาอ่านสัมภาษณ์ ปลอดประสพ ยิ่งคิดมาก ...
http://www.khonthaiuk.eu/forum/index.php?topic=31198.0
เป็นไปได้อย่างไร ที่กรมชลจะบ้องตื้นได้ใจถึงขนาดนั้น ...
ที่แน่ ๆ ไม่มโน คือ ยกเลิกกฏอัยการศึก มาใช้ ม 44 คือการปล่อยข้าราชการเป็นอิสระ คือ จุดผิดพลาดของทหาร ..อย่าที่เคยพูดเอาไว้ในรายการ
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี : ฤาคนไทยจะอดน้ำตายจริงจริง
KHONTHAIUK.EU

ผบ.สส.ยังไม่รู้ข้อมูล"พลเอกธวัชชัย"แฉแผนล้มรัฐบาล

ผบ.สส." ถกผบ.เหล่าทัพ เร่งทำงานตามโรดแมพ เชื่อรัฐ-คสช.เดินตามโรดแมพได้ ยอมรับยังไม่สงบ แต่กองทัพสามารถควบคุมได้วอนสื่อสำคัญช่วยทำสถานการณ์ในประเทศดีขึ้น จะได้เลือกตั้งเร็ว เผยยังไม่รู้ข้อมูล"พลเอกธวัชชัย"แฉแผนล้มรัฐบาล ขอถามก่อนเพราะเป็นเพื่อนตท12 เผยข่าวกรองทหารยังไม่มีรายงานนี้
พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร ผบ.สส.กล่าวว่า ได้หารือ ผบ.เหล่าทัพ เรื่องงานของรัฐบาลและนโยบายคสช. เพื่อให้เป็นไปตามโรดแมพที่วางไว้
ส่วนการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลมีหลายกรอบ ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ และได้รับมอบหมายให้ช่วยผลักดันและกำกับการทำงานโดยภาพรวมรวมถึงการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยทางเหล่าทัพมั่นใจว่าสามารถทำตามโรดแมพที่วางไว้
ส่วน กรณีที่พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แฉ2พรรคการเมืองใหญ่ลงขันล้มรัฐบาล แต่ในฐานะเพื่อนตท.12 จะไปคุยกับพลเอกธวัชชัย เพื่อถามรายละเอียด แต่ทางหน่วยข่าวกรองของทหารยังไม่มีการรายงานในเรื่องนี้ ซึ่งจะติดตามข้อเท็จจริงต่อไป
แต่ยอมรับว่าสถานการณ์ภายในประเทศยังไม่สงบ แต่ทางกองทัพยังสามารถควบคุมได้ และผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงแก้ไขได้อยู่ และ ขอความร่วมมือสื่อมวลชนระมัดระวังในการนำเสนอข่าว โดยขอให้เน้นการนำเสนอข่าวที่สร้างสรรค์ ส่วนข่าวที่ไม่ดีหรืออาจสร้างผล กระทบ จนเกิดความขัดแย้งก็ขอให้หลีกเลี่ยงหรืองดการนำเสนอ เพราะเชื่อว่าสื่อมวลชนมีความสำคัญในการทำให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น และเมื่อสถานการณ์ในประเทศดี ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งที่เร็วขึ้น


อาสาด่านตรวจจำนายไม่ได้ ′ผบช.น.′ถูกเรียกเป่า5ครั้ง ลงไปจวกขาดไหวพริบ

อาสาด่านตรวจจำนายไม่ได้ ′ผบช.น.′ถูกเรียกเป่า5ครั้ง ลงไปจวกขาดไหวพริบ

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
http://www.matichon.co.th/online/2015/07/14369161931436916284l.jpg

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พล.ต.ต.ชาญเทพ เสสะเวช รอง ผบช.น. พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น. ประชุมหารือการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ร่วมกับผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.1-9) ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ผบก.สส.บช.น.) รอง ผบก.น.1-9 ผู้กำกับการ (ผกก.) 88 สถานี รอง ผกก.จร. และ สว.จร.กว่า 400 นาย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

พล.ต.ท.ศรีวราห์กล่าวในที่ประชุมว่า ปัญหางานจราจรแบ่งออกเป็น 1.ปัญหาเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถประมาท น่าหวาดเสียว อาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและทรัพย์สิน หรือไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ตามที่ปรากฏเป็นข่าว คลิป หรือภาพข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอ 2.ปัญหาไม่พบเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลากลางวัน และได้รับคำตำหนิจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ว่าช่วงเวลารถติดไม่มีตำรวจจราจรออกมายืนดูแลอำนวยความสะดวกเลย


พล.ต.ท.ศรีวราห์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นขอสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรยืนเฝ้าตามแยกหรือป้อมจราจรไว้ก่อนช่วงเวลา 05.00-23.00 น. หากไม่เห็นจะจัดการ รอง ผกก.จร.พื้นที่นั้น และให้ บก.น.1-9 ส่งแผนจราจรเพื่อตรวจดูสภาพการจราจรจุดที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในพื้นที่ภายในเวลา 18.00 น. ส่วนด่านตรวจเมานั้น ตนขับรถยนต์หลังประชุมเสร็จ แต่งกายนอกเครื่องแบบ เคยถูกให้เป่าถึง 5 ครั้ง ทั้งที่บอกเจ้าหน้าที่อาสาสมัครไปแล้วว่าไม่ได้ดื่ม แต่ยังให้เป่า ดังนั้นขอให้มีการคัดเลือกอาสาสมัครช่วยงานจราจรที่มีคุณภาพ เพื่อไม่ทำให้ประชาชนเสียหาย

"ผมเจอด่านตรวจเมา เปิดกระจกตามปกติ บอกว่าไม่ได้ดื่มมา แต่อาสาก็บอกว่าคุณต้องเป่า ครั้งที่ 2 ผมก็บอกอีกว่าไม่ได้ดื่ม อาสาก็บอกว่าคุณต้องเป่า ผมพูดถึง 5 ครั้ง อาสาก็ไม่ยอม ซึ่งถ้าเป็นคนมีคุณภาพ มีไหวพริบ ก็ต้องรู้แล้วว่าระหว่างพูดคุยนั้นมีกลิ่นสุราหรือไม่ จนต้องแสดงตัวว่าผมเป็นใคร และลงไปจวก ซึ่งไม่เฉพาะที่ด่านตรวจเมาหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเท่านั้น วันนั้นผมเจอด่านตรวจเมาที่หน้าศาลอาญาด้วย พฤติกรรมเหมือนกันทั้ง 2 ด่าน"พล.ต.ท.ศรีวราห์กล่าว

“บิ๊กป้อม” สั่ง จัดการ “คำรณวิทย์”พกปืน ยันรัฐบาลไม่ปล่อยปละละเลย สั่งตร.ทำตาม กม.

“บิ๊กป้อม” สั่ง จัดการ “คำรณวิทย์”พกปืน ยันรัฐบาลไม่ปล่อยปละละเลย สั่งตร.ทำตาม กม. พร้อมให้กระทรวงคมนาคม –การท่าฯ-ตม. ดูความบกพร่องของเครื่องมือตรวจอาวุธ ก่อนหาคนผิดให้ได้
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงนโยบายในการปรับปรุงมาตรการตรวจค้นอาวุธในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลังเกิดกรณีที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถูกจับกุมที่สนามบินประเทศญี่ปุ่นหลังจากตรวจพบอาวุธปืนว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ดูแลอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมที่ต้องดำเนินการเรื่องนี้ให้ชัดเจนว่าเครื่องมือในการตรวจจับอาวุธหรือสิ่งผิดปกตินั้นมีความเสียหายหรือไม่
สำหรับกรณีของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยประสานข้อมูลทางคดีกับทางญี่ปุ่นนั้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทำงานก่อน ผมยังตอบอะไรไม่ได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับกฎหมายที่จะชี้ว่าใครถูก ใครผิด
"แต่ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้เด็ดขาด และจะยึดกฎหมายเป็นหลัก "
ซึ่งผู้รับผิดชอบคือ กระทรวงคมนาคม การท่าฯ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ต้องมาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไร ในฝ่ายบริหารได้สั่งการไปแล้วว่าให้ทำไปตามกฎหมาย สิ่งใดที่ยังทำไม่ถูกกฎหมาย ก็ต้องทำให้ถูกกฎหมาย


เปิดโลกทัศน์ใหม่ ประวัติการณ์สะท้านฟ้า ยานนาซาโฉบใกล้พลูโต

หลังจากการเผยแพร่ภาพสุดตื่นตา ในประเด็นของปานยักษ์รูปหัวใจที่ประทับอยู่บนดาวพลูโต บนพื้นที่สีแดงกล่ำ ที่ ‘นิว โฮไรซอน’จับภาพให้ชาวโลกได้ยลโฉมสุดตระการตา…

จากกรณีที่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา จัดการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ยานอวกาศ นิว โฮไรซอน เดินทางผ่านดาวเคราะห์แคระ พลูโต เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญในการสำรวจ วิจัย และนำเอารายละเอียดมาพัฒนาการศึกษา ให้เกิดความเข้าใจในระบบสุริยะมากขึ้น

ภารกิจพิชิตพลูโตของ ‘นิว โฮไรซอน’ มีเป้าหมายเพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาวพลูโตและดวงจันทร์ชารอน พร้อมทั้งศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวทั้ง 2 ดวงด้วย พร้อมกันนี้ นิว โฮไรซอน ออกเดินทางจากโลกในวันที่ 19 ม.ค.2549 เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่ดาวพลูโตจะถูกลดชั้นจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ให้เป็นแค่ดาวเคราะห์แคระ

ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า ในฐานะที่พลูโต แต่กระนั้นขนาดของพลูโต ที่ก่อนหน้านี้ สามารถวัดได้ยาก เนื่องด้วยปัจจัยทางด้านระยะทาง และชั้นบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมีขนาดใหญ่กว่าที่มนุษย์คาดการณ์ไว้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,473 ไมล์ (ราว 2,370 กิโลเมตร) ใหญ่กว่าที่เคยเชื่อในอดีต ส่วนในด้านของสี แม้นักวิทยาศตร์จะยังไม่ฟันธงว่า แท้ที่จริงแล้ว พลูโตมีสีใด แต่ภาพที่จับได้นั้น แสดงให้เห็นว่า ดาวพลูโต มีสีน้ำตาลแดง

พลูโต แผ่นดินที่ห่างไกลจากโลกกว่า 3,000 ล้านไมล์ (หรือราว 4,828 ล้านกิโลเมตร) จากโลก ด้วยงบประมาณ 23,829 ล้านบาท ที่นำพา ยานอวกาศ ‘นิว โฮไรซอน’ หรือ เส้นขอบฟ้าใหม่ ไปสู่ดวงดาวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่เรียกว่า ‘แถบไคเปอร์’ ด้วยความเร็วกว่า 36,000 ไมล์ หรือราว 57,936 เมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เร็วที่สุด ในบรรดายานที่ทะยานออกจากวงโคจรโลก

‘เบรนแดน โอเวนส์’ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกันการสำรวจดาวพลูโต ว่าแม้การดำเนินการจะเป็นเรื่องยาก และอาศัยระยะเวลายาวนาน แต่กระนั้นการเรียนรู้องค์ประกอบเกี่ยวกับดาวดวงนี้ ถือเป็นปัจจัยที่ดีในการยกระดับระบบสุริยะในอนาคต

ทว่า พลูโต เป็นที่ประจักษ์ในปี 2473 โดยการค้นพบของ ‘ไคลด์ ทอมบอ’ นักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐฯ จากการใช้เครื่องมือ กล้องโทรทรรศน์ จากหอดูดาวโลเวลล์ รัฐแอริโซนา

แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ ของการเดินทางไปยังดาวเคราะห์แคระดวงนี้ จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลจากข้อมูลในการปฏิบัติภารกิจ เป็นระยะเวลาหลายเดือน

ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงมีข้อถกเถียงกันในด้านของพื้นผิวบนผืนแผ่นดินดาวพลูโต จากบทความในไซต์ ‘New HorizonsNASA’s Mission to Pluto’ที่ระบุข้อขัดแย้งในด้านของสีที่แท้จริงของดาวพลูโตที่ยังคงคลุมเครือ ทั้งข้อสันนิษฐานว่ามีสพีช สีแดงกล่ำ หรือสีน้ำตาลกันแน่

ซึ่ง เว็บไซต์ของ ‘นิว โฮไรซอน’ เผยภาพหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า สีของดาวพลูโต อาจประกอบไปด้วยสีสันอันหลากหลาย ซึ่งทางภาพตะวันตก จะมีรูปทรงกรวยสีพีช และจุดสีดำบริเวณทิศตะวันออก และส่วนกลางพบว่ามีสีฟัา และสีแดง เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า สีที่แตกต่างกันไปนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางภูมิประเทศ

อย่างไรก็ตาม จากระยะเวลาในการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เดินทางมายาวนานพร้อมด้วย ปัจจัยต่าง ๆ ของการเดินทางไปยังดาวเคราะห์แคระดวงนี้ จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลจากข้อมูลในการปฏิบัติภารกิจ เป็นระยะเวลาหลายเดือน