PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว17ต.ค.57

ถอดถอน

สนช. เตรียมพิจารณาร่างกฎหมายอีก 2 ฉบับ ก่อนเข้าวาระขอมติเห็นชอบถอนถอน "นิคม-สมศักดิ์" หรือไม่

บรรยากาศที่รัฐสภาเช้านี้ การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด เนื่องจาก ในเวลา 10.00 น. จะมีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเร่งด่วนที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยพิจารณาต่อจากวานนี้อีก 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เพื่อกำหนดให้ทายาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเมื่อเสียชีวิตภายหลังจากที่ได้บำนาญพิเศษ เพราะเหตุพิการ ทุพพลภาพ มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จตกทอด และร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ... เพื่อเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน

โดยสมควรเปลี่ยนชื่อจาก ราชบัณฑิตยสถาน เป็น ราชบัณฑิตยสภา รวมถึงการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และการบริหารงานวิชาการให้แพร่หลายมากขึ้น

จากนั้น จึงเข้าสู่วาระการพิจารณาขอมติที่ประชุมว่าเห็นชอบให้มีการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ หรือไม่

สมาชิก สนช. ทยอยเข้าห้องประชุมแล้ว ขณะเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. เปิดรับการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน ของ สนช. 28 คน

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทยอยเข้าห้องประชุม เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายต่ออีก 2 ฉบับ ส่วนวาระพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา
ส.ว.ว่า การกระทำส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น จะพิจารณาช่วงบ่าย โดยวานนี้ ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สนช. ได้แจกสำนวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ และ นายนิคม ที่ ป.ป.ช. ส่งมาแจกให้ สนช. ทุกคนเพื่อนำไปศึกษาและประกอบการพิจารณาลงมติ

ขณะเดียวกัน ในวันนี้ เวลา 09.00-16.00 น. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. เปิดรับแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิก สนช. ที่ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเพิ่มเติม จำนวน 28 คน
กรณีเข้ารับตำแหน่ง
-----------
"พีระศักดิ์" ย้ำ ไม่หนักใจ พิจารณารับถอดถอน "สมศักดิ์-นิคม" หรือไม่ ขณะ สนช. อภิปรายได้เต็มที่ ยัน ไร้ล็อบบี้

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เปิดเผย สำนักข่าว INN ย้ำว่า ไม่หนักใจ ที่วันนี้จะมีการประชุมพิจารณาเรื่องการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ว่าจะรับหรือไม่ ซึ่งอยู่ในวาระเรื่องอื่นของการประชุม สนช. และตามข้อบังคับการประชุม มีหากมีการลงคะแนนจะต้องกระทำอย่างเปิดเผย เว้นแต่สมาชิกอยากให้ประชุมลับ จะต้องมีผู้รับรอง ซึ่งต้องเป็นมติของที่ประชุม และการอภิปรายในเรื่องดังกล่าว สมาชิกมีอิสระ สามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ส่วนระยะเวลาในการอภิปราย ต้องดูจากผู้ขออภิปรายก่อน หากมีไม่มาก อาจจะไม่กำหนดเวลา ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ได้รับสำนวนเรื่องดังกล่าวเมื่อวานที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นายพีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า เป็นการพิจารณาจากหลักกฎหมายทั้งสิ้น ยืนยันว่า ไม่มีการล็อบบี้อย่างแน่นอน
-----------
สนช. มีมติให้ประชุมลับ 175:1 เสียง เพื่อพิจารณาปมถอดถอน "สมศักดิ์-นิคม" เหตุ มีผลกระทบหลายฝ่าย

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด อยู่ในช่วงการประชุมลับ โดยก่อนหน้านี้ เมื่อที่ประชุมเข้าสู่การพิจารณาว่าจะรับสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ว่า การกระทำส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้ นายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. เสนอขอความเห็นที่ประชุมว่าให้การประชุมลับ เนื่องจากกังวลงว่าระหว่างการพิจารณา อาจมีการอภิปรายกระทบหรือพาดพิงไปยังบุคคลที่ 3 ซึ่ง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานการประชุมในขณะนั้น ได้ขอมติที่ประชุม ว่าจะเห็นตามที่ นายสมชาย ร้องขอ หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 175 เสียง ต่อ 1 เสียง ให้เป็นการประชุมแบบลับ

--------
สนช. ยังประชุมลับ ขณะ ประสาร มฤคพิทักษ์ เผย บ่ายนี้ สปช. ถกแนวทางการทำงาน แย้มมีชื่อ คำนูณ-ไพบูลย์ ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังอยู่ในช่วงการประชุมลับ เพื่อพิจารณาว่าจะรับสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ว่า การกระทำส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่

ขณะเดียวกัน นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันนี้จะมีการประชุมนอกรอบระหว่างสมาชิก สปช. ตามคำเชิญของ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก สมาชิก สปช. ด้านการเมือง เพื่อกำหนดกรอบการทำงานของ สปช. ร่วมกัน ซึ่งอาจรวมไปถึงกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย พร้อมคาดการณ์ถึงตัวแทน สปช. ใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
---------
สนช. ยังไร้ข้อสรุปถอดถอน นิคม, สมศักดิ์ มีมติเลื่อนออกไปก่อน รอบรรจุวาระใหม่ - สมาชิกขอศึกษาสำนวน ป.ป.ช.

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ซึ่งเป็นการประชุมลับได้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 40 นาที เพื่อรับพิจารณาถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป โดย นายพีระศักดิ์ พอจิตร รองประธาน สนช. คนที่ 2 ระบุว่า สาเหตุที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เพราะเอกสารที่สมาชิก สนช. ได้รับจาก ป.ป.ช. ไม่ครบ สมาชิกจึงเสนอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน เพราะไม่สามารถใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาได้

เช่นเดียวกับ นายวิทวัส บุญญสถิตย์ สมาชิก สนช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติ 165 เสียง ให้งดเว้นข้อบังการประชุมที่ต้องพิจารณาภายใน 30 วัน ซึ่งวันนี้เป็นเพียงการหารือกันเท่านั้น เพราะยังไม่ได้บรรจุเป็นวาระส่วนจะหยิบยกนำกลับมาพิจารณาเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับประธาน สนช.
----------
"พล.อ.สกนธ์" ยอมรับ สนช.ทหาร หารือถอดถอน "นิคม-สมศักดิ์" ขณะ "พล.อ.ปรีชา" ปัดล็อบบี้ ด้าน "พล.อ.วรพงษ์" ยัน อิสระในการลงมติ

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุดเข้าสู่การพิจารณาร่างกฎหมาย 2 ฉบับแล้ว ทั้งนี้ ก่อนการประชุมสมาชิก สนช. สัดส่วนทหาร ระบุถึงการพิจารณารับหรือไม่รับการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ออกจากตำแหน่ง

โดย พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เปิดเผยว่า ได้มีการพูดคุยกับกลุ่ม สนช.สายทหารถึงเรื่องการถอดถอนในวันนี้ ซึ่งจะมีสมาชิกเสนอให้การประชุมเป็นการประชุมลับ ส่วน พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ระบุว่า ไม่มีการล็อบบี้อย่างแน่นอน ด้าน พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ยืนยัน สนช. เป็นอิสระในการลงคะแนนโหวตว่า สนช. จะมีอำนาจพิจารณาถอดถอนหรือไม่
///////////
สปช.-รธน.

"วิษณุ" ย้ำ ปลาย ก.ย.-ต.ค. 58 รธน.ฉบับถาวรจะแล้วเสร็จ คาดต้นปี 59 เลือกตั้งได้ ดึงคนพลาด สปช. ร่วมทำงาน

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษในเรื่อง “ทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย” ว่า ในขณะนี้การปฏิรูปหนึ่งปีไม่อาจสำเร็จโดยง่าย เพราะไม่สามารถทำให้ทุกคนคิดเห็นเหมือนกันได้ ที่สุดแล้วการปฏิรูปต้องทำตามความต้องการเสียงข้างมาก

ทั้งนี้ คาดว่าภายในปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคมในปี 2558 การร่างรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จและอาจประกาศใช้ได้ และคาดว่า 3 เดือน หลังจากนั้นหรือในช่วงต้นปี 2559 จะสามารถเกิดการเลือกตั้งได้ ส่วนการทำประชามตินั้นจะต้องใช้เวลา 3 -6 เดือนและแม้รัฐธรรมนูญขชั่วคราวไม่ได้ระบุไว้แต่ไม่ขัดข้องหากเสียงส่วนใหญ่มีความต้องการจะทำประชามติ

นอกจากนี้ ยังจะมีการจะจัดเวทีคู่ขนานสำหรับสภาปฏิรูป โดยการนำคณะกรรมาธิการสรรหา สปช. และบุคคลที่ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าไปเป็นสมาชิก สปช. 250 คน เข้าร่วมปฏิรูป ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะเปิดเวทีร่วมของรัฐบาล เช่น ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
----------------
"วิษณุ" แนะ สปช. ต้องนำ ม.35 ใน รธน.ชั่วคราว เข้าสู่กระบวนการปฏิรูป เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย 4 ด้าน ต้องรีบทำงานอย่างเร่งด่วน

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ ทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย ว่าการปฏิรูปยังมีโจทย์อีกหลายข้อที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต้องกลับไปคิด
และหาเหตุผลในการปรับแก้ โดยจะต้องนำมาตรา 35 ในรัฐธรรมนูญชั่วเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปด้วยเพื่อน่างรัฐธรรมนูญด้วย

พร้อมเน้นย้ำว่า การร่างรัฐธรรมนูญควรร่างให้สั้น ระวังในการเขียน เพราะหากติดขัดจะแก้ไขลำบาก ดังนั้นควรจะไปใส่รายละเอียดในกฎหมายลูก พ.ร.บ.ต่าง ๆ ที่แก้ไขได้ง่ายกว่า

นอกจากนี้มองว่า สปช. จำนวน 4 ด้านคือ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่นและด้านกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นงานที่ต้องทำงานอย่างเร่งด่วนในการเสนอแนวทางการปฏิรูป เพราะจะต้องนำข้อเสนอเขียนลงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ทัน ส่วนด้านอื่น ๆ ที่เหลือ สามารถค่อย ๆ คิดไปได้ โดยเมื่อได้ข้อสรุปไม่จำเป็นต้องรีบนำมาใส่ในรัฐธรรมนูญ แต่จะเข้าที่ประชุม สนช. เพื่อออกเป็นกฎหมายอื่นแทน
----------------
"สมบูรณ์" ยื่น ปธ.สนช. ตั้ง คกก.ตรวจสอบ "บวรศักดิ์" อ้าง ใช้ตำแหน่งเพื่อประโยชน์ บ.ถ่านโค้ก เรียกร้อง ลาออก สปช.

นายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีต ส.ส.พรรคพลังธรรม เดินทางยื่นหนังสือต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในฐานะประธานสถาบันพระปกเกล้า ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพฤติกรรม นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. กรณีที่ นายบวรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ไทยเจนเนอรัลไนซ์โคล แอนด์ โค้ก จำกัด ซึ่งเป็นกิจการโรงงานผลิตถ่านโค้ก ที่ จ.ระยอง โดยโรงงานอยู่ใกล้พื้นที่ชุมชนก่อให้เกิดมลพิษ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ นายบวรศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนสำนักหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาบิดเบือนข้อเท็จจริง ถึงโรงงานดังกล่าวว่า สามารถควบคุมมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ สถาบันพระปกเกล้า เป็นหลักสูตรเกี่ยวกับธรรมาภิบาล จึงมองว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทดังกล่าว และขอเรียกร้องให้ นายบวรศักดิ์ ลาออกจากการเป็นสมาชิก สปช.
/////////////
ภารกิจนายกฯ

นายกฯ หารือ "ฮุนเซน" ขอบคุณ หนุน รบ.ไทย ย้ำสัมพันธ์ จ่อตั้งเขต ศก.พิเศษ ขณะเตรียมเยือนกัมพูชา 30 - 31 ต.ค.

ภารกิจนายกรัฐมนตรี ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาโดย นายกรัฐมนตรี ขอบคุณไมตรีจิตและมิตรภาพ รวมทั้งการสนับสนุนที่ให้กับรัฐบาลไทย ซึ่งทั้งสองประเทศจะกระชับความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น โดยจะไม่ให้ปัญหาชายแดนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการการค้าการลงทุนระหว่างกัน ขณะเดียวกันฝ่ายไทย จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน ตรงข้ามปอยเปตของกัมพูชา เพื่อให้กัมพูชาข้ามเข้ามาทำงานได้สะดวกใกล้บ้าน ซึ่งกัมพูชาอาจพิจารณาจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ติดกันด้วยได้ ซึ่งไทยจะดูแลแรงงานกัมพูชาให้ดีที่สุด

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เห็นพ้องกับไทย ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้า เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว และเสนอให้มีการพิจารณาเรื่องนี้ ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีของไทย จะเดินทางไปเยือนกัมพูชา วันที่ 30 - 31 ตุลาคม นี้
-----
นายกฯ หารือสิงคโปร์ ยินดี สัมพันธ์ราบรื่น เร่งผลักดันทวิภาคี กระชับความร่วมมือการค้า-ลงทุน พร้อมเชิญเยือนไทย 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ระหว่างการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 10 โดย นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สิงคโปร์ มีความใกล้ชิดและราบรื่นในทุกระดับโดยเฉพาะในด้านการทหาร ทั้งสองประเทศ มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ในการผลักดันความร่วมมือในกรอบอาเซียน และกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ ในด้านความร่วมมือทวิภาคี ไทย-สิงคโปร์ เห็นพ้องที่จะเร่งผลักดันกลไกทวิภาคีระหว่างกันที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยประสงค์อยากจะกระชับความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนกับสิงคโปร์ ให้มากขึ้น และอยากเห็นภาคเอกชนของสิงคโปร์ เข้ามาลงทุนในไทย

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังได้เชิญนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบรับด้วยความยินดี รวมทั้งเชิญชวนให้สิงคโปร์ ร่วมลงทุนในด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงภายในประเทศและอาเซียน
///////////////////////////////

PePe B Lucky
34 นาที

การประชุม ASEM ที่อิตาลีผ่านไปด้วยดี หลายชาติชื่นมื่น ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะไทยเรา มีแต่คนรุมจีบ

สื่อญี่ปุ่นถีงกับโปรยหัวว่า "Thailand's coup leader works to win over EU's diplomats"
ยอมรับเลยว่าฝ่าย ตปท ของรัฐบาลนี้ทำงานได้ดีเยี่ยม สร้างอำนาจต่อรองได้ดีทั้งฝั่งตะวันตก - ตะวันออก มะกันและอียูเดินเกมส์ ตปท กับไทยพลาด ตอนนี้เริ่มกลับลำ เพราะเสียหายมาก เริ่มจากมนุษย์ป้าคริสตี้ที่ถูกย้ายกลับ ตามด้วยขายเครื่องบินเพิ่มให้ไทย กลุ่มยูโรขณะนี้ เจอพิษเศรษฐกิจรุนแรงมาก

และยังโดนรัสเซียทิ่มรายวันเพราะหลงลมตดมะกัน ถ้ารัสเซียเอาจริง ยูโรวินาศแน่ ต้องรีบกลับลำ
ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกเริ่มมีตัวเลขไม่ดีออกมาเป็นระยะๆ แต่ฝั่งอาเชียนของเรา มีเปิด AEC เต็มรูปแบบซัพพอร์ตในปีหน้า

อยากบอก ทรพีแดงยุคจูราสิคว่า ไอ้ที่นึกว่าล้มเจ้าแล้วเท่ห์ ปชต แบบแม้วๆไพร่ อำมาตย์บ้าๆบอๆน่ะ แมร่งโครตล้าหลังสุดๆ โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว
เห็นผู้นำทั้งในระบอบสังคมนิยม - ปชต ในอาเชียนเขาจับมือกันไหม
ทุกคนเขาทำเพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติที่เห็นได้เป็นรูปธรรมทั้งนั้น
ม๊อบกระจุกหมีแม้ว คงได้แค่ทำป้ายหลอกฝรั่งที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่แบบทุยทูทุย ต่อไป
------------------
"ประยุทธ์" กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมASEM เสนอเพิ่มบทบาทหุ้นส่วน"เอเชีย-ยุโรป" บริหารจัดการความเสี่ยง


เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เวลา 14.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่ Milan Congress พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 10 อย่างเป็นทางการ โดยกล่าวถ้อยแถลงระหว่างการประชุมเต็มคณะ ในหัวข้อ “การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจผ่านการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างยุโรป-เอเชีย” ณ นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี

โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยเป็นสถานที่จัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1 และยังคงมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสองภูมิภาคตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จากสถานการณ์โลกที่มีความซับซ้อน จึงต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือทั้งทางด้านการเงินและเศรษฐกิจ โดยพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรปให้มากยิ่งขึ้น

พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า การขยายความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป ต้องอาศัยภาวะความเป็นผู้นำทางการเมือง ยึดมั่นพันธกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านทรัพยากรและการลงทุน โดยเสนอยุทธศาสตร์การดำเนินการ 3 ด้านหลัก คือ ประการแรก การเพิ่มบทบาทความเป็นหุ้นส่วนกับเอเชีย สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นหนึ่งเดียว มีการร่วมระดมทุน การร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค เอเชีย การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และเทคโนโลยี ซึ่งไทยเองก็มีโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าบริการและแรงงาน เพื่อเปิดตลาดการค้าใหม่ๆ รองรับประชาคมอาเซียนและความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปในอนาคต พร้อมพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการค้าใหม่ๆ

ประการที่สอง การบริหารจัดการความเสี่ยง ที่อาจเกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค โดยมีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและกฏหมายระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคง เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือที่ยั่งยืน

ประการที่สาม การขยายความตกลงการค้าเสรีระหว่างเอเชียและยุโรป เช่นเดียวกับการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจได้มีการหารือกัน

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีได้ย้ำต่อที่ประชุม ให้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารและพลังงานในอนาคต จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความต้องที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียและอาเซียน เป็นแหล่งผลิตอาหารและพลังงานที่สำคัญ ดังนั้น ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ คือ เกษตกร ต้องได้รับการดูแล ทั้งรายได้ ราคาสินค้าเกษตร ลดความ

เหลื่อมล้ำสร้างความมั่นคงในอาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมการวิจัยด้วย

เริ่มมีการตั้งคำถามถึง สนช.


 และพิจารณา กฏหมาย ไปทีเดียวม้วนเดียวจบ ทำหน้าที่ ทั้ง สส สว ในตัวมันเอง คือสภาเดียว เน้นในเรื่อง กฏหมาย หรือตรวจสอบกลั่นกรอง งานรัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) เสมือนหน้าที่.ของ สส สว ตามรัฐธรรมนูญ ปี 40 -50 

/ สมาชิก สนช ไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย จริงๆ หรือพูดเล่น หากไม่มีความรู้เรื่อง กฏหมาย ในหน้าที่ของตน มันก็งง ไปเลยว่า มี สนช ไว้ทำไม ให้สิ้นเปลืองแอร์ เงินเดือน ภาษีประชาชน เบี้ยเลี้ยง ในการประชุมทำไม มันเสียเวลา

 / และเขาแต่งตั้งมา หากไม่ตรงกับงานหรือความถนัด ลาออกได้ ครับ เขาจะได้แต่งตั้งคนใหม่ ไม่รู้ เรื่อง ไม่มีความรู้ แล้วเป็น สนช ทำไมล๊ะ ลาออกไป ก็จบ เขาจะได้ ตั้งคนอื่นแทน 

/ มันอันแรก สนช มันต้องมีความรู้ เรื่องกฏหมาย ก่อน ส่วนท่านจะเห็นด้วย หรือไม่ ลงมติอย่างไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่มันต้องมี ความรู้ เรื่องกฏหมาย ไม่มีความรู้ เรื่องกฏหมาย แล้วจะไป เป็นตัวแทน คนทั้งชาติ เป็น สนช พิษจารณา ออกกฏหมาย กลั่นกรองกฏหมาย ได้ อย่างไร (อย่างนี้มันผิด ฝั่งผิดฝา คนเสนอแต่งตั้ง หรือผิดฝั่งผิดฝา คนที่ได้รับแต่งตั้ง นึกคิดแล้วก็มึน จริง เอาคนไม่มีความรู้ ทางกฏหมาย แถมยอมรับ เองอีกว่า ไม่ความรู้ทางกฏหมาย ไปเป็น สมาชิก สนช . งานหนักไม่ใช่เล่น ต้องแม่นข้อกฏหมาย เพราะทำหน้าที่ ควบ ทั้ง สส สว เดิม มาเป็น สนช รับผิดชอบสูงนะครับ 

/ ผมยังตกใจ ไม่น่าเชื่อครับ ไม่มีความรู้ ทางกฎหมาย แล้วเป็น สมาชิก สนช เพื่อะไร มันน่าตกใจ และ งง ครับ ไปนั่งเป็นเพื่อนคนอื่น ในที่ประชุม เออออห่อหมก ตามๆ คนอื่น เพราะไม่มีความรู้ ด้านกฎหมาย 

/ ยังคงหวัง สปช (สภาปฎิรูป) ที่จ้อรายวัน หน้าสื่อ อยากดัง หน้าสื่อโชว์ตัว แต่ไม่รู้จักคุยในที่ประชุม/ ยืดยาด อืดอาด ยิ่งกว่า เรือเกลือ แค่ตำแหน่ง ประธาน ก็เรื่องมากกันแล้ว งานนี้ ชักไม่ค่อยสวย แล้วละ แต่ยังหวัง ให้พอได้เรื่องได้ราว บ้าง ไม่รัฐประหาร เสียของ เสียเวลาเปล่า เหมือน ปี 49 /
ตอนนี้ คงคาดหวัง เอาพอผ่าน จัดระเบียบเลือกตั้ง ให้เสร็จ จบเร็ว ฟ ก็พอแล้ว ดูรูปการณ์ ยิ่งอยู่ยาว คงยิ่งขัดแย้ง หนัก จาก สนช หรือ สปช ที่ คสช. จับใส่มาเอง เสนอแต่งตั้ง เองนั่นแหละ สนช บางคนถึง ขนาดพพูดว่า นี่ ไม่ได้ อยากเป็น แต่เขาจับใส่ ชื่อมา อย่างนี้ มันไม่ไหว แล้วล๊ะครับ มันชักไม่มีอนาคต คงทำงานลำบาก ในเมื่อ ทั้งไม่มีความรู้ และไม่เต็มใจ จิตอาสา ตั้งแต่ต้น มีคนเต็มใจอาสา อีกเยอะ ใครไม่เต็มใจ ควรลาออก ไปซะ/
สปช +สนช บางคนบอกว่า ขอจ้อกับสื่อ รายวันตามปกติ เพราะไม่ได้ มาเป็น ขีข้านายก แล้วใครบอ ใครตั้ง คุณมาเป็น สปช ขี้ข้านายกฯ มโนตีกิน ในมุ้งแล้ว (ใช้คำแรง วาทกรรมทางการเมือง งง ไปเลย เหมือนคนละเรื่อง สปช ประชุมยังไม่ประชุม ขอจ้อหน้าสื่อ หามวลชน ตีกิน รายวันกันเอง. แล้วมันจะได้ ข้อสรุปไหม ให้คนชมทีวี กดคะแนนเสียงโหวตหรือไง บางเรื่อง งง ถึง งงมาก 

/ สปช + สนช คือ คนมีความรู้จริงหรือ ดูท่ามันน่าจะต้องปฎิรูป สมาชิก สปช + สนช ก่อนที่ จะปฎิรูปประเทศ แล้วครับ)

ป๋าเปรม ปรากฏตัว เปิดสานใจไทย สู่ใจใต้ ยังเป๊ะ...ยิ้มแย้ม กับ "พล.อ.อุดมเดช-ไพบูลย์"

ป๋าเปรม ปรากฏตัว เปิดสานใจไทย สู่ใจใต้ ยังเป๊ะ...ยิ้มแย้ม กับ "พล.อ.อุดมเดช-ไพบูลย์"
ป๋าเปรม พลเอกเปรม. ติณสูลานนท์. ประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่22
โดยมีืพลเอกอุดมเดช สีตบุตรรมช.กลาโหมและ ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รองผบสส./รมว.ยุติธรรม พร้อมด้วยคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ จาก3 เหล่าทัพ ร่วมด่วย ที่ สโมสรทหารบก เทเวศร์
โดยโครงการนี้เกิดขึ้น จากดำริของฯพณฯ พลเอกเปรม. ติณสูลานท์ ประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษ และได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม. ติณสูลานนท์ มูลนิธิรักเมืองไทย มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรูวิชั่น และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมกันสนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้. และทัศนศึกษาสนานที่ต่างๆ ซึ่งมีเยาวชนที่นับถือ ศาสนาอิสลาม จาก 5 จังหวัดชายแดนใต้หระกอบด้วย. จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส. สงขลา และสตูล รวม240 คน
ซึ่งเมื่อเสร็จจากการพิธีเปิดโครงการในวันนี้ เยาวชน จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ใน 10. จังหวัดภาคกลาง สำหรับการใช้ชีวิตกับครอบครัวอุปถัมภ์. นั้นเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ. เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนการ.ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เยาวชนจะได้เดินทางไปเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม. ณ อุทยานเขาใหญ่ ร่วมทั้งได้ไปทัศนศึกษา เรือหลวงจักรีนฤเบศร สถาบันวิทยาศาสตรฟ์ทางทะเล มหาวิทยาวัยบูรพาและค่ายการเรียนรู้เปิดโลกวิทยาศาสตร์