PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว16ม.ค.58

ถอดถอนยิ่งลักษณ์

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมพิจารณาวาระถอดถอนยิ่งลักษณ์ ชั้นกรรมาธิการซักถาม ปมทุจริตโครงการรับจำนำข้าว

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นัดสมาชิกประชุมเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วนดำเนินกระบวนการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยวันนี้ อยู่ในขั้นตอนการซักถามประเด็นตามที่สมาชิก สนช. ส่งญัตติไปยังคณะกรรมาธิการซักถาม

จากนั้น พิจารณากระทู้ถามทั่วไป เรื่อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. โดย น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถามถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
-----------------
การประชุมสภานิตบัญญัติแห่งชาติ เริ่มเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วนดำเนินกระบวนการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง 

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยวันนี้ อยู่ในขั้นตอนการซักถามประเด็นตามที่สมาชิก สนช. ส่งญัตติไปยังคณะกรรมาธิการซักถาม โดยหรรมาธิการซักถาม มีหน้าที่นำคำถามมาพิจารณาคัดกรองไม่ให้ประเด็นซ้ำซ้อนกัน และซักถามทั้งฝ่ายผู้กล่าวหาและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา

ขณะที่ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการซักถามสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์  เปิดเผยว่า ความเคลื่อนไหวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ร่วมประชุมกับทีมทนายความ และอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่ตึกชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตอบข้อซักถามของคณะกรรมาธิการซักถาม สนช. โดยที่ประชุมกรรมาธิการได้รับแจ้งว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ มีความมั่นใจและจะไปตอบข้อซักถามด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าตอบในรายละเอียดปลีกย่อย

ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นซักถาม เนื่องจากประเด็นคำถามมีจำนวนมาก จึงได้ตัดคำถามประเด็นที่ซ้ำซ้อนออก และสรุปให้ได้ไม่เกิน 50 คำถาม พร้อมจัดหมวดหมู่ความสัมพันธ์ของคำถามที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

สำหรับวันนัดแถลงปิดสำนวนคดีของนายนิคมและนายสมศักดิ์ ประธานสภานิตบัญญัติแห่งชาติ นัดเป็นในวันที่ 21 มกราคม ขณะที่คดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว นัดแถลงปิดสำนวนคดีในวันที่ 22 มกราคม ส่วนการนัดลงมติถอดถอนทั้ง 3 คดี ทั้งนายนิคม นายสมศักดิ์และนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นวันที่ 23 มกราคม นี้ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวย้ำอีกว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินกระบวนการถอดถอนที่ยึดหลักกฎหมาย
----------------
น.พ.เจตน์ ระบุทราบจากสื่อ กมธ.ตัดคำถาม ซัก ป.ป.ช. - ยิ่งลักษณ์ เหลือ 50 ข้อ เผย ลงมติถอดถอน หลังแถลงปิดคดี ใช้วิธีการลงคะแนนลับ  

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในชั้นกระบวนการซักถามวันนี้ ว่า รูปแบบจะเหมือนกับการพิจารณาในกรณีของ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ ซึ่งเบื้องต้นทราบจากสื่อว่า กรรมาธิการซักถาม ได้มีการสรุปประเด็นคำถามเหลือประมาณ 50 ข้อ จากทั้งหมด 83 ข้อ และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมาด้วยตัวเองหรือไม่ ทราบจากสื่อเท่านั้นว่าจะมาด้วยตนเอง ส่วนเรื่องเอกสารลับ ที่มีการแจกเพื่อการพิจารณานั้น ก็เป็นเพียงข้อมูลคำถาม ที่ กมธ.ซักถามสรุปมาแล้วเท่านั้น

พร้อมกันนี้ น.พ.เจตน์ ยังกล่าวด้วยว่า หลังจากมีการแถลงปิดคัดในวันที่ 21 และ 22 ม.ค.นี้แล้ว ในวันที่ 23 ม.ค. ที่จะมีการลงมติถอดถอนนั้น จะเป็นการลงมติแบบลับ เข้าคูหากาบัตร ทีละสำนวน โดยจะเป็นสำนวนของ นายนิคม กับ นายสมศักดิ์ ก่อน และจะนับคะแนนทันที ต่อด้วยในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทันที อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถตอบได้ว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอย่างไรกับการพิจารณาในครั้งนี้ ยอมรับมีการพูดคุยกันบ้าง แต่ก็คงไม่ถือเป็นข้อสรุปแต่อย่างใด
-----------
ยิ่งลักษณ์ไม่มาแจง

การประชุมสภานิตบัญญัติแห่งชาติ เริ่มเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วนดำเนินกระบวนการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง 

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยวันนี้ อยู่ในขั้นตอนการซักถามประเด็นตามที่สมาชิก สนช. ส่งญัตติไปยังคณะกรรมาธิการซักถาม โดยกรรมาธิการซักถาม มีหน้าที่นำคำถามมาพิจารณาคัดกรองไม่ให้ประเด็นซ้ำซ้อนกัน และซักถามทั้งฝ่ายผู้กล่าวหาและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่การประชุม นายพิชิต ชื่นบาน ทนายความของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ขอใช้ข้อบังคับการประชุม สนช. ข้อที่ 154 มอบหมายให้อดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 คน มาตอบข้อซักถามแทน ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายยรรยง พวงราช นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง นายทนุ
ศักดิ์ เล็กอุทัย

ทั้งนี้ ยังเรียกร้องให้ สนช.พิจารณาอย่างเป็นกลาง ไม่มีอคติ พร้อมฟังข้อเท็จจริงที่อดีตรัฐมนตรีจะชี้แจง เพื่อให้ทราบว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่เคยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งในวันแถลงปิดคดีวันที่ 22 มกราคมนี้ คาดว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ จะเดินทางมาด้วยตนเอง

สำหรับวันนัดแถลงปิดสำนวนคดีของนายนิคมและนายสมศักดิ์ ประธานสภานิตบัญญัติแห่งชาติ นัดเป็นในวันที่ 21 มกราคม ขณะที่คดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว นัดแถลงปิดสำนวนคดีในวันที่ 22 มกราคม ส่วนการนัดลงมติถอดถอนทั้ง 3 คดี ทั้งนายนิคม นายสมศักดิ์และนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นวันที่ 23 มกราคม นี้ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวย้ำอีกว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินกระบวนการถอดถอนที่ยึดหลักกฎหมาย
----------------
"พิชิต" เผย "ยิ่งลักษณ์" ไม่มาตอบข้อซักถาม กมธ.ส่ง อดีต รมต. มาชี้แจงแทน ขอ สนช. เป็นกลาง ไม่มีอคดิ

นายพิชิต ชื่นบาน ทีมทนายความ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยก่อนการชี้แจงตอบข้อซักถามต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ทีมทนายความ ได้ร่วมประชุมโดยเห็นว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางเข้าตอบข้อซักถามกับ สนช. ในวันแถลงเปิดคดีแล้วอย่างชัดเจนไปแล้ว รวมไปถึงวันนี้ขอใช้สิทธิ์ตามข้อบังคับที่จะให้ผู้แทนคดีตอบข้อซักถามแทน จึงได้ส่งทีมทนายและอดีตรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 5 คน อาทิ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาชี้แจงตอบข้อซักถามในวันนี้ เนื่องจากเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการรับจำนำข้าวโดยตรง

นายพิชิต กล่าวอีกว่า ขอให้ สนช. วางตัวเป็นกลาง และขอให้รับฟังข้อเท็จจริงที่อดีตรัฐมนตรีชี้แจง อย่างไม่มีอคติ
---------------------
"วัชระ" ยื่นหนังสือประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และกระบวนการทำงานของตำรวจ เผย ยุคนี้ซื้อตำแหน่งจำนวนมาก

นายวัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีมีการซื้อขายตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยยืนยันว่า มีการซื้อขายตำแหน่งยุคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขั้นต่ำ 8 แสน - 30 ล้านบาท และขอท้าให้ตำรวจที่ออกมาปฏิเสธ ทำการสาบานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว

นอกจากนี้ ยังยื่นหนังสือต่อ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป ประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และกระบวนการทำงานของตำรวจ เพื่อประโยชน์ประชาชน เรียกร้องให้แยกงานสอบสวนคดีอาญาออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างเด็ดขาด โดยอาจให้สังกัดในกระทรวงยุติธรรม หรือ ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ สตช. ซึ่งมีระบบการปกครองแบบทหาร ไม่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติหน้าที่ และส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
------------------------
กมธ.ยกร่าง ผ่าน มาตรา 1 ของหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตัดวรรค แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปไว้มาตราอื่น กำลังพิจารณาในมาตราที่ 2

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม ขณะนี้ พิจารณาภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่มีการแก้ไขชื่อหมวดดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าจะต้องมีการจำแนกสิทธิให้ชัดเจน เพราะจะมีผลต่อการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมถึงจะต้องระบุหน้าที่ของรัฐให้ชัดเจนในทุกด้าน กำหนดกลไกให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งในมาตรา 1 นั้น ได้เทียบเคียงมาจากมาตรา 75 เดิมตามรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยตัดวรรค 2 ที่ระบุว่า "ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้ง ปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง" ออกไปไว้ในพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งมองว่าที่ผ่านมา เป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส.แสดงโวหารต่อที่ประชุม อย่างไรก็ตาม และขณะนี้ ได้เริ่มพิจาราณามาตรา 2 แล้ว
----------------
กรรมาธิการซักถาม ชี้ ยิ่งลักษณ์ ควรมาตอบข้อซักถามเอง ขณะทนายความชี้แจงเหตุผล ขอสมาชิกเป็นกลาง

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด เปิดประชุมแล้ว และก่อนเข้าสู่การพิจารณาในขั้นกรรมาธิการซักถามของกระบวนการถอดถอนนางสวายิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ประธานได้ขอหารือ ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการและสมาชิก สนช. ระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ มาในวันแถลงเปิดคดี ต้องมาตอบข้อซักถามวันนี้ด้วย เพราะไม่อยากให้ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ที่ให้อดีตรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนมาใช้ช่องทางตอบคำถาม อีกทั้งเปรียบเหมือนเป็นการล้วงข้อสอบเพื่อไปจัดทำสำนวนแถลงปิดคดี ขณะนายนรวิชญ์ ล้าแหล่ง ทีมทนายนางสาวยิ่งลักษณ์ว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชี้แจงเอง เนื่องจากใช้ข้อบังคับข้อที่ 154 ให้ผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงแทน จึงขอให้สมาชิกมีความเป็นกลางด้วย
-----------------
มติ สนช. เอกฉันท์ให้ประชุมลับ หารือวิธีการซักถามของกรรมาธิการ หลัง "ยิ่งลักษณ์" ไม่มาชี้แจงด้วยตนเอง

ภายหลังจากเปิดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาในขั้นกรรมาธิการซักถามของระบวนการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวแล้ว สมาชิกได้มีการถกเถียงกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางมาชี้แจงข้อซักถามด้วยตนเอง ขณะที่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานการประชุม ระบุว่า หากผู้ถูกกล่าวหาใช้ข้อบังคับการประชุมให้ผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงแทน ก็ไม่สามารถบังคับที่จะให้มาหรือไม่ได้ จากนั้น นายสมชาย แสวงการ โฆษกกรรมาธิการซักถาม ใช้ข้อบังคับที่ 13 เสนอญัตติต่อที่ประชุมให้เป็นการประชุมลับ เพื่อหารือวิธีการซักถามของคณะกรรมาธิการ กรณีผู้กล่าวหาไม่มาตอบข้อซักถาม และที่ประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ประชุมลับ ด้วยคะแนนเห็นด้วยมากถึง 153 เสียง
-----------------------
พล.อ.ประวิตร มั่นใจ วันลงมติถอดถอน จะไม่เกิดเหตุวุ่นวาย ขอทุกฝ่ายอย่าทำให้เกิดความขัดแย้ง

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการลงมติถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี ในวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้ ว่าทางการข่าวยังไม่มีการรายงานว่าจะมีกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้กำลังใจ เนื่องจากได้บอกไปแล้วว่าหากให้กำลังใจให้โทรศัพท์พูดคุย ขณะเดียวกันขอทุกฝ่ายอย่าทำให้เกิดความขัดแย้ง เนื่องจากรัฐบาลกำลังทำงานเพื่อประเทศชาติอยู่
---------------------
สนช. เริ่มพิจารณาขั้นตอนการซักถาม คดีถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" แล้ว "วิชา" ชี้ชัดนโยบายมีช่องโหว่และอาจก่อให้เกิดการทุจริต

ความเคลื่อนไหวการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาในขั้นตอนการซักถามประเด็นถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งการทุจริตและความเสีย
หายที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว ล่าสุด ภายหลังจากที่สมาชิก สนช. ร่วมประชุมลับ เพื่อพิจารณากรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางมาด้วยตัวเอง โดยที่ประชุมมีมติให้เริ่มดำเนินการตามกระ
การซักถาม

โดย นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตอบข้อซักถามของคณะกรรมาธิการซักถามว่า ป.ป.ช. เห็นว่านโยบายดังกล่าวมีช่องโหว่และอาจก่อให้เกิดการทุจริต จึงได้แจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีได้รับทราบและเสนอให้ยกเลิกโครงการแต่ รัฐบาลทำหนังสือยืนยันดำเนินการต่อไป เพราะโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ต่อประชาชน และมีวิธีการป้องกันการทุจริตได้

อย่างไรก็ตาม ยืนยัน ว่า ป.ป.ช. ไม่ได้ดำเดินงานสองมาตรฐาน เพราะขณะนี้กำลังดำเนินการไต่สวนคดีรับประกันราคาข้าวเปลือกสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยเช่นกัน
-------------------------
"วิชา" ชี้แจงข้อซักถาม กมธ. ระบุ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล-ไต่สวนคดีอาญาควบคู่

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด ยังอยู่ระหว่างคณะกรรมาธิการซักถาม ได้ซักถามคณะกรรมการ ป.ป.ช. ฐานะผู้กล่าวหา ในประเด็นความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าว รวมถึงนอก
เหนือจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากถูกดำเนินการถอดถอน มีผลทำให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีแล้ว ยังมีความผิดอื่นหรือไม่ โดย นายวิชา มหาคุณ ตอบข้อซักถามว่า
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกระทบต่อระบบการเงิน การคลังของประเทศ ซึ่งยังไม่รวมข้าวที่เสื่อมสภาพและการขายข้าวที่ขาดทุน พร้อมยืน
ยันไม่เคยมีโครงการใดที่ก่อให้เกิดภาระหนี้สินมากเท่าโครงการนี้

นอกจากนี้ นายวิชา ชี้แจงอีกว่า ป.ป.ช. ได้มีการไต่สวนคดีอาญาควบคู่ไปด้วย เพื่อส่งสำนวนไปยังอัยการสูงสุด ในการเอาผิดทางอาญา ที่กล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
-----------------
นิวัฒน์ธำรง เผย "ยิ่งลักษณ์" ไม่มาตอบข้อซักถามเนื่องจากติดภารกิจ ยันไม่ได้มาดูข้อสอบเพื่อเตรียมแถลงวันปิดคดี

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เสียดายโอกาสในการตอบคำถามของอดีตรัฐมนตรีและทีมทนายความนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความตั้งใจมาตอบข้อซักถามในวันนี้ เพราะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานในโครงการรับจำนำข้าวโดยตรง และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของ สนช.

ทั้งนี้ การที่นางสาวยิ่งลักษณ์ไม่สามารถเดินทางมาตอบข้อซักถามได้ด้วยตนเองเนื่องจากติดภารกิจ แต่ยืนยันว่าในวันที่ 22 ม.ค. ซึ่งแถลงปิดคดี นางสาวยิ่งลักษณ์จะเดินทางมาด้วยตนเองอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวอีกว่า การเดินทางมาในวันนี้ไม่เป็นการมาดูข้อสอบเพื่อเตรียมข้อมูลใช้ในวันแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
--------------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินการประชุมต่อ โดยกรรมาธิการซักถาม ยิ่งลักษณ์ แบบไม่มีคำตอบ 35 คำถาม

ภายหลังจาก นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สั่งพักการประชุม 10 นาที เพื่อให้กรรมาธิการและคู่กรณีไปหารือ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรให้การประชุมเดินหน้าได้ เนื่องจากกรรมาธิการซักถามมีมติไม่ให้ตัวแทนชี้แจงแทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว แต่ท้ายที่สุด ที่ประชุมยึดตามมติกรรมาธิการซักถาม จากนั้น กรรมาธิการซักถามจึงอ่านคำถามจำนวน 35 ข้อโดยไม่มีคำตอบ อาทิ ตั้งคำถามถึงความรับผิดของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะผู้นำรัฐบาล เมื่อมีหลายหน่วยงาน ออกมาทักท้วง ว่าโครงการรับจำนำข้าวส่อให้เกิดการทุจริต แต่กลับไม่ยับยั่งโครงการ ปล่อยปละละเลยจนเกิดการทุจริตหลายแสนล้านบาท และมีการแสดงความรับผิดชอบต่อโครงการอย่างไร
--------------------
กรรมาธิการซักถามมีมติให้ซักถามแบบไม่มีคำตอบ และไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นชี้แจงแทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 

ขณะที่ทีมทนายความ นางสาวยิ่งลักษณ์ ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการชี้แจงการประชุม สนช. โดย นายสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการซักถาม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แจ้งผลการหารือกรรมาธิการและสมาชิก สนช. จำนวน 13 คน ที่ยื่นญัตติซักถาม ได้มติว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องมาตอบข้อซักถามด้วยตนเอง ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นชี้แจงแทน จึงใช้วิธีการถามแบบไม่มีคำตอบ ทั้งนี้ กรรมาธิการซักถาม ยืนยันว่า การพิจารณามีความเป็นธรรม อีกทั้งทำให้ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาได้ประโยชน์ที่จะนำไปเขียนสำนวนแถลงปิดคดี ด้านทีมทนาย นางสาวยิ่งลักษณ์ ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงจะได้รับ จากนั้น กรรมาธิการซักถามได้อ่านคำถามต่อที่ประชุม แต่ตัวแทนจากฝ่ายผู้ถูกกล่าวหากลับขอใช้สิทธิ์จะชี้แจงเพราะถือเป็นผู้ปฏิบัติ จนเกิดการถกเถียงกัน ประธานการประชุมจึงสักพักการประชุม 10 นาที และท้ายที่สุดที่ประชุมดำเนินการซักถามตามมติกรรมาธิการ

จากนั้น กรรมาธิการซักถาม จึงอ่านคำถามจำนวน 35 ข้อโดยไม่มีคำตอบ อาทิ ตั้งคำถามถึงความรับผิดของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะผู้นำรัฐบาล เมื่อมีหลายหน่วยงานออกมาทักท้วง ว่าโครงการรับจำนำข้าวส่อให้เกิดการทุจริต แต่กลับไม่ยับยั้งโครงการ ปล่อยปละละเลย จนเกิดการทุจริตหลายแสนล้านบาท และมีการแสดงความรับผิดชอบต่อโครงการอย่างไร

 ขณะเดียวกัน นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดภารกิจ ไม่มีเจตนาหลบเลี่ยงการตอบคำถาม และเชื่อว่าจะไม่กระทบกับมติการถอดถอน ส่วนตัวรู้สึกเสียดาย ที่อดีตรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ไม่มีโอกาสได้ตอบข้อซักถามที่เป็นประโยชน์ แต่ไม่ว่ามติของที่ประชุมจะออกมาเป็นอย่างไรก็พร้อมยอมรับ

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า วันที่ 22 มกราคมนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะเดินทางมาด้วยตนเอง
----------------------
พล.อ.ประยุทธ์ เผย ต้องดูกฎหมาย "ยิ่งลักษณ์" ไม่ชี้เเจง สนช. ได้หรือไม่ - เชื่อ ไม่เกิดความรุนเเรง ไม่ยอมหากมีการสร้างสถานการณ์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ไปชี้แจงเรื่องคดีถอนถอนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ว่า ต้องไปดูตามกฎหมายว่าทาง สนช. สามารถให้ชี้แจงได้หรือไม่ ส่วนการลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมถึง นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในวันที่ 23 มกราคม ที่จะถึงนี้ นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าผลที่ออกมา ไม่น่าก่อจะเกิดความรุนแรง และยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เกิดสถานการณ์ขึ้น โดยจะดูแลโดยใช้กฎหมายเป็นหลัก

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรียังปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่ามีกลุ่มบุคคลเตรียมการเคลื่อนไหวในวันดังกล่าวหรือไม่ โดยระบุว่าเป็นความลับและไม่สามารถเปิดเผยได้
--------------------
พรเพชร ยันไม่ได้ปิดกั้นผู้จะตอบข้อซักถามเเทน "ยิ่งลักษณ์" ย้ำผู้ถูกซักถามควรมาตอบข้อซักถามด้วยตนเอง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงว่า ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินการประชุม ดำเนินการไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ เมื่อสมาชิกไม่ประสงค์ที่จะให้ผู้แทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตอบข้อซักถามแทน กรรมาธิการจึงผ่อนปรนโดยให้มีการเปิดเผยคำถามต่อผู้ถูกกล่าวหา

ขณะเดียวกัน ยืนยันว่าการที่กรรมาธิการซักถามไม่เปิดโอกาสให้ผู้แทนของผู้ถูกกล่าวได้ตอบข้อซักถาม ไม่ใช่การปิดกั้นและไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาของ สนช. เนื่องจากสำนวนการถอดถอนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งมายัง สนช. มีความครบถ้วนทั้งพยานและหลักฐานอยู่แล้ว นอกจากนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ สามารถตอบคำถามด้วยตัวเองในวันที่ 22 ม.ค. แถลงปิดคดีได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นายพรเพชร กล่าวอีกว่า ผู้ถูกกล่าวหาควรเดินทางมาตอบข้อซักถามด้วยตนเอง
///////////////

กมธ.ยกร่าง รธน.

กมธ.ยกร่าง รธน. เตรียมพิจารณารายมาตรา ต่อเป็นวันที่ 4 เริ่มภาค 2 หมวด 2 "ไพบูลย์" มั่นใจเสร็จตามกรอบ

บรรยากาศก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด สมาชิกกรรมาธิการฯ เริ่มทยอยเข้าเตรียมตัวประชุมที่จะเริ่มขึ้นในเวลา 09.00 น. แล้ว  ซึ่งมีวาระเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะได้พิจารณาในภาค1 พระมหากษัตริย์และประชาชน หมวด 2 ประชาชน ครบทุกมาตราแล้ว และในวันนี้จะเริ่มพิจารณาภาค2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งมี 18 มาตรา ทั้งนี้ คาดว่า จะพิจารณาเสร็จทันตามกรอบระยะเวลาแน่นอน

นอกจากนี้ นายไพบูลย์ ยังได้กล่าวเรื่องการทำประชามติ ว่า ได้มีการเพิ่มเรื่องประชามติเป็น 2 ระดับ คือ ระดับของการทำประชามติจากประชาชนทั้งประเทศ และระดับท้องถิ่น เนื่องจากต้องให้มีการกระจายอำนาจ ซึ่งจะเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณารายมาตราส่วนเป็นการปรับแก้ไขเพิ่มเติม ให้มีผลเป็นรูปธรรมและให้ความสำคัญแก่ประชาชน
------------------
กมธ.ยกร่าง เริ่มพิจารณา ภาค 2 หมวด 2 แนวนโยบายแห่งรัฐแล้ว มีทั้งหมด 18 มาตรา คาดเสร็จวันนี้ 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานการประชุม ล่าสุด ได้เริ่มต้นการประชุมแล้ว ในวันนี้จะเป็นการพิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมืองที่ดี เป็นรายมาตรา โดยจะนำหมวดที่ 2 แนวนโยบายแห่งรัฐ โดยเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหน้าที่พื้นฐานของรัฐ เพื่อเป็นหลักในการกำหนดการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ที่มีทั้งหมด 18 มาตรา ขึ้นมาพิจาณาก่อน คาดว่าจะพิจารณาให้ครบทุกมาตราภายในวันนี้

ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นการประชุมได้มีการเสนอให้ปรับชื่อหมวดเป็นแนวนโยบายและหน้าที่แห่งรัฐ แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นควรให้คงไว้ซึ่งชื่อเดิม เพราะมีความเหมาะสมอยู่แล้ว
----------------
"อลงกรณ์" แถลงผลหารือ สปช. - ตัวแทน รัฐบาล ระบุ นายกฯ หนุนการทำงานเต็มที่ พร้อมใช้ ม.44 เพื่อให้เกิดการปฏิรูป

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษาและเลขานุการคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงผลการหารือกับตัวแทนรัฐบาลนำโดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นาย
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ประธาน สปช. และประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า นายกรัฐมนตรี ฝากมายัง สปช. โดยให้ส่วนราชการสนับสนุน
การทำงานของ สปช. เต็มที่ และพร้อมที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 เพื่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ รัฐบาลจะจัดทีมจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปและยกร่างกฎหมายใหม่ อีกทั้งสนับสนุนสถานที่ทำงานของ สปช. โดยเสนอให้ใช้ที่สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เนื่องจาก ปัจจุบันพื้นที่ ในการจัดประชุมไม่เพียงพอ
-----------------
กมธ.ยกร่าง รธน. พิจารณาถึง ม.5 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอปรับให้สั้นกระชับมากกว่า ปี 2550

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม โดยได้พิจารณาหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในมาตรา 4 รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาชาติ ทั้งนี้ โดยมาตราดังกล่าว เห็นควรให้ไว้ตามร่างเดิม ซึ่งเทียบเคียงตามมาตรา 81 ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550

จากนั้น ได้พิจารณามาตรา 5 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า มาตราดังกล่าว ครอบคลุมยุทธศาสตร์ และผลประโยชน์ชาติแล้ว เป็นการวางระบบให้เอื้อต่อการสร้างความเป็นพลเมือง และจะต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ เสนอให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำให้ครอบคลุม กระชับ และชัดเจน กว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นต่อการมีส่วนร่วม ไม่มีการย้ายไปไว้ในส่วนอื่น
--------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณารายมาตรา หมวดแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐต่อเนื่อง ถึงมาตรา 7 แล้ว

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม โดยได้พิจารณาหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในมาตรา 7 รัฐต้องดำเนินตามนโนบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และตัดสินใจทางการเมืองวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการบริการสาธารณะ

โดยก่อนหน้านั้น ในมาตราที่ 6 ซึ่งเทียบเคียงตามมาตรา 35 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 โดยคงไว้ตามร่างเดิม ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ ขอให้แก้ไขข้อความให้กระชับและชัดเจน พร้อมเพิ่มเติมในการบันทึกเจตนารมณ์เอาไว้
-------------------
คำนูณ เผยพิจารณาร่างภาค 2 เสร็จตามกำหนด วางหลักใหม่ประเด็นถอดถอน เพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราวันที่ 5 ว่าได้พิจารณาภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ในหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 18 มาตรา ประกอบด้วย แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา วัฒนธรรม  และการต่างประเทศ ทั้งนี้ ยืนยันว่า วันนี้จะต้องพิจารณามาตราที่เหลือให้แล้วเสร็จ รวมทั้งสิ้น 90 มาตรา ส่วนในวันที่ 19-23 ม.ค. จะเริ่มพิจารณาภาค 3 นิติธรรม ศาล หมวด 1 กระบวนการยุติธรรม หมวด 2 การใช้อำนาจรัฐ มีทั้งหมด 28 มาตรา

นอกจากนี้ นายคำนูณ ได้กล่าวถึงการพิจารณาในส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมทางการเมือง และส่วนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ว่า มีหลายมาตราที่วางหลักการถอดถอนใหม่ โดยแบ่งเป็นการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น หากกรณีที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว จะตัดสิทธิ์ทางการเมือง และไม่ให้ดำรงตำแหน่งอื่น รายละเอียดอื่น ๆ จะอยู่ในหมวดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
--------------------
โฆษก กมธ.ยกร่าง เผย ใน รธน.ฉบับใหม่ กำหนดกลไกป้องกันทุจริตเข้ม - 17 ม.ค. บวรศักดิ์ ร่วม "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ"

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในร่างรัฐธรรมนูนฉบับนี้ได้เสนอให้มีการกำหนดกลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ พลเมืองย่อมมีสิทธิร้องขอ ติดตามการตรวจสอบการดำเนินงานหรือ การปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ รวมถึงการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน การจัดซื้อจัดจ้าง การรับบริจาคและการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง ตลอดจนผู้สมัครรับเลือกตั้งในทุกจังหวัด พร้อมกันนี้ จะต้องเปิดเผยรายรับรายจ่ายให้สาธารณะชนได้รับทราบ

อย่างไรก็ตาม ในวันเสาร์ที่ 17 ม.ค. นี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเดินทางไปร่วมโครงการสัมมนา เวทีการประชาเสวนาหาทางออก "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ" และในวันที่ 19 ม.ค. จะมีการประมวลผลการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ผ่านไปแล้วทั้งหมด
---------------------
กมธ.ยกร่าง ถึง ม.11 ลดความเลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม ม.8 เพิ่มคุ้มครองลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาคนไทยในต่างประเทศ

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด อยู่ในระหว่างการพิจารณาในมาตรา 11 ว่าด้วยเรื่องรัฐต้องจัดให้มีการพัฒนาการทางกฎหมายให้ทันสมัย ลดความเลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม

โดยก่อนหน้านี้ในการพิจารณา มาตรา 8 ว่าด้วยเรื่องรัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีกรรมาธิการอภิปรายขอให้เพิ่มเติมถ้อยคำในส่วนของ
การคุ้มครองและสนับสนุนการจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศด้วย และมาตรา 10 ว่าด้วยเรื่องรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง มีกรรมาธิการเสนอให้มีการปรับแก้ถ้อยคำ แต่ประธานเห็นควรให้ระบุไว้ในเจตนารมณ์

ส่วนในมาตรา 9 ว่าด้วยเรื่องรัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งคณะกรรมาธิการให้พักการพิจารณาไว้ชั่วคราว
เพื่อให้คณะอนุกรรมาธิการปรับแก้ให้มีความกระชับมากขึ้น
---------
ประธาน กมธ.ยกร่าง พร้อมรับฟังควรามคิดเห็น ปชช. ตู้ ปณ.9 ปณฝ.รัฐสภา 10350 ผ่านไปรษณีย์ 1,300 แห่งทั่วประเทศ

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รับมอบกล่องรับความเห็นของประชาชน ที่ส่งผ่านทางบริษัท ไปรษณีไทย จำกัด ในการร่วมสนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนี้ ยังได้เปิดจุดวางกล่องรับฟังความคิดเห็น ณ ที่ทำการไปรษณีย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างหลากหลาย พร้อมรวบรวมความคิดเห็นส่งให้แก่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไปยังตู้ ปณ.9 ปณฝ.รัฐสภา 10350

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2558 โดยหลังจากนี้ไปรษณีย์ไทยจะกระจายกล่องรับฟังความคิดเห็นไปยังที่ทำการไปรษณีย์ทั้ง 1,300 แห่งทั่วประเทศ
----------------
กสม.ออกประกาศชื่นชมและสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรณีบัญญัติคำว่าเพศสภาพไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ

ตามที่โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต่อสื่อมวลชนว่า ที่ประชุมได้พิจารณา มาตรา (1/2/2) 7 กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีการบัญญัติคำใหม่ คือ คำว่า เพศสภาพ นั้น

นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและการสาธารณสุข ขอแสดงความชื่นชมและสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณากำหนดคำว่า เพศสภาพ ไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มบุคคล อันหมายรวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยไม่เจาะจงเฉพาะเพศกำเนิดเท่านั้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการประกาศบังคับใช้แล้ว รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเสริมให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐที่คำนึงถึงเพศสภาพอย่างแท้จริง

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยินดีให้การสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐต้องการข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค เท่าเทียม และ เคารพสิทธิมนุษยชน

/////////////
สัมปทานปิโตเลียม

"อลงกรณ์" ระบุ คุย "วิษณุ" ส่วนใหญ่เน้นเรื่องประสานงาน เรื่องสัมปทานปิโตรเลียม แนะทุกฝ่ายรอนายกฯ ตัดสินใจหลังรับรายงาน สปช.

นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (วิป สปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่จะเป็นแนวทางในการทำงานและการประสานงาน ระหว่างคณะรัฐมนตรี กับ สปช. เพื่อให้เป็นไปตามแผนโรดแมป จึงได้มีมติที่จะตั้งวิปทำงานร่วมกัน และ รองนายกฯ วิษณุ ก็ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วง และยืนยันจะให้การสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่ด้วย

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณี มติ สปช. ไม่ให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ว่า เรื่องดังกล่าว นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถามความเห็นมา ในระหว่างนี้ สปช. กำลังรวบรวม รายงาน เพื่อส่งไปยังนายกฯ หน่วยงานอื่นๆ หรือผู้รับผิดชอบใดๆ ก็ไม่ควรที่จะออกมาแสดงความเห็น ควรรอให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจ ดำเนินการอย่างไรต่อไป จะดีกว่า เช่นเดียวกับเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์มือถือเป็นวินาที ก็ควรจะรอให้ คณะรัฐมนตรี พิจารณาข้อเสนอก่อนเช่นกัน หน่วยงานรับผิดชอบอื่นๆ ก็ไม่ควรดำเนินการใดๆ เพราะอาจจะขัดแย้ง และเกิดผลกระทบได้
-------------------
อลงกรณ์ แจง หารือตัวแทน รัฐบาล ไม่ได้กดดัน ให้ทำตามความเห็น สปช. เรื่องสัมปทานปิโตรเลียม

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษาและเลขานุการคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงผลหลังการหารือกับตัวแทนรัฐบาล นำโดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในกรณีที่ สปช. มีมติว่าไม่ควรเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21 นั้น นายกรัฐมนตรี จะนำความเห็นของ สปช. ไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่า การหารือดังกล่าวไม่ได้เป็นการกดดันจากฝ่ายรัฐบาล ในการเร่งรัดให้ สปช. ดำเนินงานในการปฏิรูปแต่อย่างใด ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความชื่นชมว่า สปช. ทำงานดีกว่าที่คาดไว้ พร้อมย้ำว่าจะทำอย่างไรให้มีการปฏิรูปเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญ และมีการจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จในการปฏิรูปประเทศ
---------------------
นายกฯ ยันโปร่งใสปฏิรูปพลังงาน ไม่อยากให้เคลื่อนไหวปลุกระดม - ย้ำทำความเข้าใจโรงเรียนสอนให้ น.ร. เกลียด คสช.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มีมติไม่เห็นชอบในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ว่า ตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่ต้องดำเนินการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่ที่ผ่านมาถือเป็นการแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ

อย่างไรก็ตาม ประเทศจะต้องมีความมั่นคงด้านพลังงาน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนในเรื่องพลังงานสำหรับอนาคต จึงขอให้ประชาชนพิจารณาข้อมูลให้รอบด้านและมองถึงประโยชน์ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลยืนยันดำเนินการทุกอย่างให้มีความโปร่งใสมากที่สุด

ทั้งนี้ จะไม่ให้ทุกฝ่ายออกมาเคลื่อนไหวให้เกิดความขัดแย้งและขออย่าปลุกระดม

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่า มีข้อมูลด้านความมั่นคงระบุว่ามีบางโรงเรียนสอนให้เด็กนักเรียนเกลียดชัง คสช. แต่พบว่ามีจำนวนไม่มาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจ จึงอยากสร้างความเข้าใจว่า คสช. เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับประเทศ เดินหน้าปฏิรูปและจะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคง จึงขออย่าสร้างความเกลียดชังให้กับเด็ก
-----------------------
ธีระชัย ขอรัฐชะลอสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21แนะปฏิรูปการคลังปิโตรเลียมให้เหมาะสม

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยยังต้องระวังปัจจัยการเมืองภายในประเทศ เนื่องจากประชาชนคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายดูแลปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหากการเมืองไม่มีเสถียรภาพก็อาจทำให้โครงการลงทุนชะงักได้ จึงเสนอให้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชุมชน ส่วนกรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เห็นว่าควรชะลอออกไปก่อน โดยควรจะปฏิรูปการคลังปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศไทย เนื่องจากการจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐจากสัมปทานยังอยู่ในระดับต่ำที่ 3-4 ล้านพันบาท เทียบกับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมหลักแสนล้านบาท ทั้งนี้ สัดส่วนการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐจากระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีอยู่ที่ร้อยละ 62 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ร้อยละ 64
///////////
ความเคลื่อนไหวนายกฯ

พล.อ.ประยุทธ์ ยก ในหลวง-พระราชินี เป็นครูของแผ่นดิน ฝากครูช่วยสอนเด็กให้เป็นคนดี เคารพกฎหมาย รัฐบาลสัญญาจะทำให้ทุกคนมีความสุข

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวปราศรัยเนื่องในพิธีการวันครูประจำปี 2558 ว่า วันนี้เป็นวันครู ซึ่งมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงถือเป็นครูแผ่นดิน โดยในช่วงเช้าส่วนตัวคิดถึงพระคุณของแม่ซึ่งเป็นครูเหมือนกัน และดีใจที่พบกับคุณครูที่เคยสอนทั้งสองท่าน

อย่างไรก็ตาม การจะทำให้การจะทำให้การศึกษาของประเทศก้าวหน้านั้น ต้องคิดตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน โดยต้องทำอย่างตั้งใจ เสียสละ และอดทน และต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ขอฝากให้ครูทุกคนเตรียมการสร้างบุคลากรในอนาคต สอนเด็กให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ให้ขัดแย้งและมีเหตุผลไม่ถูกชักนำและมีระเบียบวินัย อีกทั้งต้องพัฒนาครูและนักเรียนให้สอดคล้องกัน โดยรัฐบาลพยายามทำให้ทุกคนมีความสุขและขอให้กำลังใจบุคลากรทางการศึกษาด้วย
------------------
พล.อ.ประวิตร แจงหน้าที่ คกก.ขับเคลื่อนนโยบาย คสช. แค่ช่วยเหลือดูแลการทำงานแต่ละกระทรวง ไม่ใช่การจับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงคณะกรรมการขับเคลื่อนทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนเป็นประธาน ว่า การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนติดตามงานของ คสช. และรัฐบาล โดยจะมอบหมายให้คณะกรรมการเข้าไปช่วยเหลือดูแลการทำงานของแต่ละกระทรวง ซึ่งไม่ใช่การจับผิดเพราะการทำงานของรัฐมนตรี ทุกคนทำได้ดีอยู่แล้ว ทั้งนี้ จะเร่งใหัเกิดการประชุมครั้งแรกโดยเร็วที่สุด

ส่วนความคืบหน้าการพูดคุยเจรจาสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ขณะนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายงานให้ พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก ในฐานะหัวหน้าทีมพูดคุยสันติสุขเป็นตัวแทนไปพูดคุยและทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและวางแผนการเจรจาอยู่แล้ว
/////////////
อญก.คดี

โฆษก ตร. ชี้ทราบข้อมูล "บอส" คดียักยอกเงิน สจล. แล้ว ลั่นมีมากกว่า 1 คน เชื่อหากได้ตัว กิตติศักดิ์ มา จะมีความชัดเจนกว่าเดิม

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าคดียักยอกเงินสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยยอมรับว่า ตำรวจพอจะทราบข้อมูล
ของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง หรือที่ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีในคดีนี้ มักอ้างถึง "บอส" แต่ยังไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดได้ โดยระบุว่า อาจมีมากกว่า 1 คน ซึ่งหากได้ตัว นายกิตติศักดิ์ มา เชื่อว่าจะมีความชัดเจนมากกว่านี้ แต่มั่นใจว่า ถึงไม่ได้ตัว นายกิตติศักดิ์ แต่ตำรวจกำลังตรวจสอบเส้นทางการเงินทั้งหมด เชื่อว่าจะสาวไปถึงผู้อยู่เบื้องหลังแน่นอน ซึ่งหากพบข้อมูลเงินไปถึงบัญชีบุคคลใด ก็จะเรียกตัวมาสอบปากคำ โดยยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วน นายเกียรติศักดิ์ พบว่า ล่าสุดเดินทางออกจากฮ่องกงแล้ว แต่ยังไม่พบเดินทางเข้าประเทศอังกฤษ ตามที่ นายภาดา บัวขาว ผู้ต้องหาอีกรายให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม คดีนี้มีอายุความ 10-15 ปี
-------------------

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สั่ง "พ.ต.ท." ลูกชายยายยัดดอกไม้พาแม่ตรวจสภาพจิต ระวังไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ

พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร ที่ปรึกษา (สบ 10) สั่งการในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปก.ตร. ให้กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ประสานกองบัญชาการตำรวจนครบาล กรณี นางจำเนียร โพธิ์กลัด ยัดเยียดขายดอกไม้ โดยผู้ซื้อไม่เต็มใจตามที่ปรากฏเป็นข่าว โดยให้ พ.ต.ท.อนุวัฒน์ โพธิ์กลัด พนักงานสอบสวน ผู้ชำนาญการพิเศษ สน.หัวหมาก ซึ่งเป็นลูกชายเกลี้ยกล่อมมารดาให้เข้ารับการตรวจสอบทางจิตและบำบัดรักษาโดยเร่งด่วน รวมทั้งเฝ้าระวังไม่ให้ก่อเหตุซ้ำอีก

นอกจากนี้ สั่งการให้ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี เร่งรัดสืบสวนสอบสวนติดตามตัวคนร้ายฆ่านักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ท้องที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ กำชับให้ตรวจสอบพยานหลักฐานให้มีความชัดเจน รวมทั้งวางมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก รวมทั้งสั่งการให้ ภ.จว.สมุทรสาคร เร่งรัดสืบสวนสอบสวนติดตามจับกุมคนร้าย ฆ่านักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน ท้องที่ สภ.กระทุ่มแบน และได้เร่งรัดให้สืบสวนสอบสวนคดีฆ่า ผอ.โรงเรียนวิริยะเธียรวิทยา ในพื้นที่ สภ.หาดใหญ่ กำชับพิสูจน์ทราบช่วงเวลาที่เสียชีวิตเชื่อมโยงไปในเวลาที่คนร้ายใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ตาย

ขณะเดียวกัน ยังสั่งกำชับให้ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี ประสานฝ่ายปกครองในพื้นที่กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาโรงงานทำดอกไม้ไฟระเบิด เนื่องจากเกิดเหตุขึ้นบ่อยมาก นอกจากนี้ ได้ชมเชย

การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจกองร้อย ตชด.414 ที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาและตรวจยึดของกลางยาบ้าและไอซ์ ได้เป็นจำนวนมาก ในท้องที่ สภ.สลุย จ.ชุมพร รวมทั้งเร่งรัดสืบสวนขยาย
ผลเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
----------------
//////////////
เศรษฐกิจผันผวน

"ธีระชัย" มองปี 58 เศรษฐกิจผันผวน แนะรัฐรักษาเสถียรภาพการเมือง หนุนเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2558 เชื่อว่าจะเป็นปีแห่งความผันผวนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งราคาน้ำมันและสินค้าที่ปรับตัวลดลง แต่ในส่วนของแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี นั้น จะขยายตัวได้มากกว่าในปี 2557 อย่างแน่นอน

พร้อมกันนี้ ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังคงชะลอตัวโดยเฉพาะในสหภาพยุโรป รวมทั้งแนวโน้มค่าเงินยูโรจะอ่อนค่าลงโดยเห็นได้จากธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์มีการประกาศลอยตัวสกุลเงินฟรังก์ ให้เงินฟรังก์แข็งค่าขึ้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการประกอบด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนซึ่งจะต้องมีการวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ประชาชนหันไปพึ่งหนี้นอกระบบ

นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนรวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
---------------------
เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดข้าวนาปี ปี 57/58 มีผลผลิตรวม 27.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.06% จากน้ำฝนมีเพียงพอ

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2557/58 โดยภาพรวมผลผลิตมีปริมาณ 27.1
ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 0.06 จากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่ประสบภัยหนาวอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เมล็ดลีบและอุทกภัยเหมือนเช่นในช่วงปลายปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วงตั้งท้องถึงเก็บเกี่ยว ส่วนเนื้อที่เพาะปลูกนั้น พบว่า ลดลงทุกภาค เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายภาครัฐ และราคาข้าวมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน และเกษตรกรในภาคใต้เปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน

ทั้งนี้ ในภาพรวมเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมากในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2557 เนื่องจากปีนี้ฝนมาล่าช้า

ด้าน นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการและโฆษก สศก. กล่าวว่า เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2557 ซึ่งเป็นเดือนที่ผลผลิตออกมาก ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยตันละ 7,878 และ 7,862 บาท โดยราคาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงกันยายนถึงตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งราคาอยู่ที่ตันละ 8,000 บาท และลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่  ตันละ 8,130 บาท เนื่องจากสต๊อกข้าวของรัฐมีจำนวนมาก และมีผลผลิตออกมาต่อเนื่องสำหรับราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิความชื้นไม่เกิน 15% ที่เกษตรกรขายได้ พบว่า ลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนตุลาคม 2557 ที่ตันละ 14,179 บาท เหลือเพียงตันละ 11,649 บาทในเดือนธันวาคม 2557

อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวมีโอกาสปรับตัวลดลงอีกหากความต้องการข้าวลดลง ทั้งนี้ เกษตรกรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่มีการปรับตัวโดยปลูกข้าว Rice Berry แทนข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นข้าวที่มีความต้องการของตลาดมาก และขายได้ราคาดี ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับราคาข้าวในปัจจุบันยังคงต่ำกว่าต้นทุน และอาจทรงตัวอยู่ในระดับนี้ในปี 2558 จึงขอให้เกษตรกรพยายามลดต้นทุนการผลิตและผลิตข้าวที่มีคุณภาพ โดยเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดี ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
----------------------
คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า มอง เศรษฐกิจไทยปีนี้ โต 4% ส่งออก 3.2% จับตาราคาน้ำมันดิบ มอง NPL ไม่เป็นปัญหารุนแรง 

นางณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยกับ รายการ ไอ.เอ็น.เอ็น.โฟกัสเศรษฐกิจ ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4 โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากการบริโภค การลงทุนภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ขณะที่ การส่งออก มองว่า จะดีกว่าปี 57 โดยคาดว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 3.2 สำหรับกรณีที่อียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP นั้น มองว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกไม่มาก เพราะผู้ประกอบการไทย ได้มีการปรับตัวและรู้ล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ เศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมัน ซึ่งหากปรับลดลง ก็จะกระทบต่อกำลังซื้อของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน

นางณดา กล่าวอีกว่า สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหารุนแรง เพราะเศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นตัว ส่วนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนนั้นจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ลงทุนเกินตัว มีการวางแผนการเงิน การตลาด การผลิตอย่างรอบคอบ
-----------------
กระทรวงพาณิชย์ เลื่อนประกาศราคาแนะสินค้าต้นสัปดาห์หน้า รอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า วันนี้ กรมฯ ยังไม่สามารถประกาศราคาแนะนำประเภทอาหารสด อาทิ เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ แก๊สหุงต้ม ได้ทันตามกำหนดภายในวันนี้ เนื่องจากขอเวลาติดตามต้นทุนราคาอาหารดังกล่าวอีกระยะ คาดว่าจะสามารถประกาศราคาแนะนำอย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า ซึ่งราคาแนะนำที่จะประกาศจะเป็นราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ โดยจะไม่เป็นราคาตายตัว

และสำหรับน้ำมันหล่อลื่น บริษัทค้าน้ำมันปรับราคาลงบ้างแล้ว ส่วนสินค้าอื่นไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี เม็ดพลาสติก เหล็ก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คาดว่าจะปรับราคาลงภายในปลายเดือนมกราคม นี้ จึงอยากให้ประชาชนสบายใจว่า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการจะปรับตัวลดลงด้วย