PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลด ส.ส.เหลือจังหวัดละคน! "ชัยอนันต์ สมุทวณิช" ผุดไอเดีย เปิดทางคนนอก นั่ง นายกฯ

ลด ส.ส.เหลือจังหวัดละคน! "ชัยอนันต์ สมุทวณิช" ผุดไอเดีย เปิดทางคนนอก นั่ง นายกฯ

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:08:13 น.

ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.ด้านการการเมือง เสนอให้มีการลดจำนวน ส.ส.ลงเหลือเพียง 77 คน และให้คนนอก สามารถเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เเต่ต้องผ่านการลงมติของสภา


นายชัยอนันต์ สมุทวณิช  ราชบัณฑิตและ อดีตอาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการเมือง กล่าวเสนอความคิดเห็นว่า  ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง  ต้องการคนที่มีคุณภาพ แต่ระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันใช้กับคนที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดเป็นปัญหา ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องทำให้คนมีคุณภาพ ไม่ถูกหลอกง่าย ไม่เห็นแก่เงินมากกว่าสิทธิ ไม่เชื่อข่าวลือง่ายและสนับสนุนคนอย่างไม่ลืมหูลืมตา

ทั้งนี้นายชัยอนันต์ยังได้ เสนอ การแก้ปัญหาทางการเมือง  ว่าอยู่ที่การวางกรอบอำนาจให้การเมืองส่วนบนมากกว่าส่วนล่าง จึงจำเป็นต้องอุดช่องว่างของปัญหาการเมืองด้วยการ ลดอำนาจของ ส.ส.โดยลดจำนวน ส.ส.ให้เหลือเพียง 77 คน มาจากการเลือกตั้งภายในจังหวัดๆละ 1 คน ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่าการทำหน้าที่ของ ส.ส.ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางเทคนิค เรื่องวิชาการ จึงไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมาก และให้เน้นการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น เพื่อให้ปัญหาในท้องถิ่นมีคนในพื้นที่ดูแลได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบนี้ ส.ส.ก็ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค และจะช่วยลดปัญหาการคอรัปชั่นลงอีกด้วย เพราะหากมีจำนวน ส.ส.เยอะ และมีการคอรัปชั่นเกิดขึ้น ก็จะควบคุมได้ยาก แต่หากเน้นงานท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อมีการคอรัปชั่นเกิดขึ้น ประชาชนในท้องถิ่นจะเห็นได้ง่าย

ส่วนวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ตนไม่เห็นด้วยกับระบบการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะระบบเลือกตั้งในประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมเช่น ยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด  เป็นต้น จึงอาจก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ได้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงควรมาจากการโหวตในสภา โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ส.ส.  ทั้งนี้หากมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีการลงประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ความขัดแย้งที่ต้องการขอความเห็น เชื่อว่าประชาชนจะยอมรับโดยปริยาย

สุธาชัย ยิ้ม: การปฏิวัติร่มในฮ่องกง

รากฐานทางประวัติศาสตร์ของฮ่องกง มาจากการที่อังกฤษได้เช่าเกาะฮ่องกงระยะยาวจากจีนตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๔ ในสมัยราชวงศ์แมนจู และมาสร้างเป็นศูนย์กลางการค้าในเอเชียของอังกฤษ 

ต่อมาเมื่อจีนปฏิวัติไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒ ฮ่องกงก็ยังคงเป็นดินแดนในฐานะอาณานิคมของอังกฤษ ต่อมาได้มีการเจรจาระหว่างจีนกับอังกฤษจนบรรลุข้อตกลงใน พ.ศ.๒๕๒๗ ว่า อังกฤษจะคืนอธิปไตยเหนือฮ่องกงให้กับจีนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๐ ภายใต้หลักการ ”หนึ่งประเทศ สองระบอบ” หมายถึงว่า ฮ่องกงจะยังคงพัฒนาภายใต้ระบอบทุนนิยมได้ต่อไป โดยมีสิทธิอิสระในการปกครองตนเองอีก ๕๐ ปี นอกเหนือจากการที่จีนจะเข้าควบคุมด้านการต่างประเทศและด้านกลาโหม และมีภาคผนวกที่ระบุให้ผู้ว่าฮ่องกง และสภาที่ปกครองฮ่องกงจะต้องมาจากการลงคะแนนเสียงของประชาชน

จนเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา ทางการจีนได้ผลักดันหลักการปฏิรูปการบริหารเกาะฮ่องกง ที่จะใช้ในการเลือกตั้งสภาฮ่องกงที่จะมีขึ้นใน พ.ศ.๒๕๕๙ และในการเลือกตั้งผู้ว่าฮ่องกงที่จะมีขึ้นใน พ.ศ.๒๕๖๐ โดยให้ผู้ว่าราชการที่จะมาจากการเลือกตั้ง ต้องมาจากการเสนอชื่อ ๒-๓ รายชื่อ ด้วยเสียงเกินครึ่งของคณะกรรมการเลือกตั้ง ๑๒๐๐ คน แล้วเมื่อผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชน จะต้องได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีนที่ปักกิ่ง กระบวนการนี้ เป็นเพราะจีนต้องการให้มีการคัดกรองผู้สมัครว่า จะต้องมีคุณสมบัติคือ “รักชาติจีนและรักฮ่องกง” ฝ่ายจีนเห็นว่า ด้วยวิธีการเลือกตั้งเช่นนี้ จะสร้างหลักประกันแก่เสถียรภาพและความรุ่งเรืองของฮ่องกงในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนฮ่องกงจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับวิธีการเหล่านี้ เพราะเห็นว่าเป็นการขัดหลักการประชาธิปไตยเสรี ที่ควรจะต้องให้สิทธิกับประชาชนในการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยเสรี และควรจะต้องให้มีการลงคะแนนเลือกผู้ว่าฮ่องกงทางตรงในการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๖๐
การต่อต้านคัดค้านได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน โดยสมาพันธ์นักศึกษาฮ่องกง” ได้จัดการชุมนุมกันที่หน้าสำนักงานบริหารฮ่องกง โดยตั้งข้อเรียกร้องคือ ให้ยกเลิกมาตรการปฏิรูป ๓๑ สิงหาคม ให้ประชาชนมีสิทธิเสนอผู้สมัครรายที่สี่ในการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๖๐ และผู้ว่าราชการฮ่องกงเหลียงชุนอิงลาออก กลุ่มสำคัญที่ผลักดันการชุมนุมเรียกว่า ออคคิวปาย ซ็นทรอล ด้วยความรักและสันติภาพ (Occupy Central with Love and Peace) โดยใช้วิธีการชุมนุมประท้วงอย่างสงบและสันติ ดังนั้นต่อมาคำว่า “ออกคิวปายเซนทรอล” (佔中) จะเป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยครั้งนี้

ต่อมา วันที่ ๒๖ กันยายน ทางการตำรวจพยายามเข้าสลายการชุมนุม โดยใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทย แต่ยิ่งทำให้ประชาชนฮ่องกงมาเข้าร่วมชุมนุมมากขึ้น และผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มเป็นอาวุธในการป้องกันแก้สนำตาและสเปรย์พริกไทย ทำให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ โดยเฉพาะร่มสีเหลือง จึงเรียกการเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่า การปฏิวัติร่ม

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ประชาชนหลายหมื่นคน ได้จัดการชุมนุมปิดกั้นถนนย่านธุรกิจสำคัญ ที่เขตเซนทรัล มงก๊ก จิมซาจุ่ย คอสเวย์ เบย์ และ แคนตัน โร้ด และระดมการสื่อสารต่อต้านโดยใช้”ไฟร์แชท” สื่อสารกันทางบลูทูธของสมาร์ทโฟน ทำให้ฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถปิดกั้นได้ แต่กระนั้น ทางฝ่ายผู้ชุมนุมก็ยังยืนยันนโยบายสายกลาง โดยถือว่าไม่ได้เป็นการปฏิวัติต่อต้านรัฐบาลจีน เพียงแต่ต้องการให้ฮ่องกงมีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม ลักษณะพิเศษของการประท้วงครั้งนี้ คือ การไม่มีแกนนำการประท้วงที่เป็นเอกภาพ เพราะกลุ่มที่เข้าร่วมจัดการชุมนุมมีหลายกลุ่ม และไม่ได้มีการจัดตั้งการประสานงานที่ชัดเจน การยึดสถานที่หรือการถอนจากสถานที่ชุมนุมก็ไม่มีความเป็นเอกภาพ ความพยายามในการสร้างขบวนการชุนนุมให้เป็นระบบระเบียบ จึงเป็นการดำเนินงานร่วมกันของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม

การชุมนุมยังคงบยืดเยื้อต่อมา และเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคมที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการชุมนุมใหญ่ที่สุด ที่มีประชาชนเข้าร่วมนับแสนคน จึงถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ท้าทายรัฐบาลจีนขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่กรณีจตุรัสเทียนอันเหมินที่กรุงปักิ่ง ที่มีการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนและเรียกร้องการปฏิรูปการเมือง เมื่อเดือนเมษายน-มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลจีนตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน และบาดเจ็บนับหมื่นคน ในครั้งนี้ก็มีความวิตกเช่นกันว่า รัฐบาลจีนอาจใช้ความรุนแรงในการปราบปราม เพราะการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง อาจกระทบกระเทือนถึงปัญหาทางการเมืองของจีนในกรณีอื่น เช่น กรณีธิเบต และซินเกียง ที่ประชาชนก็ต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองเช่นกัน

สำหรับ นายเหลียงชุนอิง ผู้ว่าการฮ่องกง ยืนยันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไป และเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน คืนความสงบและชีวิตปกติให้กับฮ่องกง เขายืนยันว่า เขาจำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อรักษาเสถียรภาพ และสานต่องานเกี่ยวกับการให้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งแก่พลเมืองเพื่อให้ชาวฮ่องกงทั้ง ๕ ล้านคน สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่ได้ และเขาได้มอบหมายให้ นางแคร์รี หลิน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีฮ่องกง เป็นตัวแทนในการเจรจาเรื่องการปฏิรูปการเมืองกับฝ่ายผู้ประท้วง
ส่วนท่าทีของรัฐบาลจีน ในขั้นแรกสุดคือการควบคุมข่าวสารเรื่องการประท้วงในฮ่องกงไม่ให้เข้าไปในจีนโดยไม่ได้กลั่นกรอง นอกจากนี้ทางการจีนยังยืนยันในหลักการเลือกตั้งฮ่องกงแบบเดิมว่าเป็นการถูกต้องแล้ว จีนจะไม่ทบทวนมาตรการดังกล่าว และว่า การประท้วงออกคิวปายเซนทรอลเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการทำลายเศรษฐกิจของฮ่องกง

ต่อมาในวันที่ ๔ ตุลาคม ได้เกิดการจัดตั้งม็อบชนม็อบ คือ เกิดการชุมนุมของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลฮ่องกง และปะทะกับฝ่ายชุมนุมประท้วงที่ย่านมงก็อก ฝ่ายรัฐบาลจีนก็ออกข่าวว่า มีประชาชนฮ่องกงจำนวนมากขึ้นทุกที ที่ไม่เห็นด้วยกับการประท้วงของออกคิวปายเซนทรอล และโจมตีว่า มี”การแทรกแซงของต่างชาติ”สนับสนุนการประท้วงครั้งนี้

การประท้วงในฮ่องกงยังไม่ได้ยุติลง แต่คงคาดหมายได้ว่า การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงในขณะนี้ คงยากที่จะได้รับชัยชนะ แต่ก็เป็นการสะท้อนอีกครั้งถึงความเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยนั้น เป็นกระแสของโลกปัจจุบัน ที่ใดที่ไม่มีกระบวนการการเมืองแบบประชาธิปไตย ก็จะต้องถูกต่อต้านจากประชาชนในเงื่อนไขที่แน่นอน ขบวนการประชาธิปไตยในไทยคงต้องเอาใจช่วยและสรุปบทเรียนจากฮ่องกง เพื่อจะรณรงค์ให้ไทยก้าวสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตยต่อไป

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โลกวันนี้ วันสุข ฉบับที่ ๔๘๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗

เผาโรงเรียน 6 แห่ง 2 อำเภอที่ปัตตานี

เผาโรงเรียน 6 แห่ง 2 อำเภอที่ปัตตานี

          ใต้ระอุ คนร้ายลอบเผาโรงเรียน 6 แห่งที่ปัตตานี แยกเป็น อ.ทุ่งยางแดง 5 แห่ง กับ อ.มายอ อีก 1 แห่ง ทั้งหมดเป็นโรงเรียนสายสามัญ ย้อนอดีตเผาโรงเรียนอันลือลั่นเมื่อปี 36 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ผ่านมาแล้วกว่า 20 ปีปัญหายังแก้ไม่จบ 
          สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อกลางดึกคืนวันเสาร์ที่ 11 ต.ค.ต่อเนื่องวันอาทิตย์ที่ 12 ต.ค.57 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวน ลอบวางเพลิงเผาโรงเรียน 6 แห่งใน 2 อำเภอของ จ.ปัตตานี คือ อ.ทุ่งยางแดง และ อ.มายอ
          ในส่วนของ อ.ทุ่งยางแดง มีโรงเรียนที่ถูกวางเพลิงเผา ประกอบด้วย
          1.โรงเรียนบ้านน้ำดำ ตั้งอยู่หมู่ 5 ต.น้ำดำ
          2.โรงเรียนบ้านปากู ตั้งอยู่หมู่ 5 ต.ปากู
          3.โรงเรียนบ้านเขาดิน ตั้งอยู่หมู่ 3 ต.เขาดิน
          4.โรงเรียนบ้านมะนังยง ตั้งอยู่หมู่ 4 ต.ปากู
          5.โรงเรียนบ้านตือเบาะ ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.พิเทน
          ส่วนที่ อ.มายอ โรงเรียนที่ถูกคนร้ายวางเพลิงเผา คือ โรงเรียนบ้านกาเสาะ ต.กาเสาะ
          ทั้งนี้ โรงเรียนหลายแห่งที่ถูกเผา ได้รับความเสียหาย อาคารเรียนวอด ไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ แต่บางโรงเรียนก็มีชาวบ้านและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ออกมาช่วยกันดับไฟไว้ได้ทัน ทำให้ได้รับความเสียหายไม่มากนัก เช่น โรงเรียนบ้านตือเบาะ
          สำหรับเหตุการณ์ลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนพร้อมกันหลายๆ แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนักในระยะหลัง โดยในปีนี้ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เพียงไม่กี่วัน เกิดเหตุรุนแรงกว่า 30 จุดในหลายอำเภอของ จ.นราธิวาส โดยมีโรงเรียนถูกเผา 2 แห่งใน อ.สุไหงปาดี คือ โรงเรียนบ้านโคกตา และโรงเรียนอิสลามบำรุง ทำให้เด็กๆ ไม่มีอาคารเรียน ต้องกางเต็นท์เรียนกลางแดด
          ส่วนเหตุการณ์เผาโรงเรียนพร้อมกันมากที่สุดซึ่งกลายเป็นความทรงจำอันเลวร้ายของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เหตุการณ์เผาโรงเรียน 36 แห่ง เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2536 ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย โดยโรงเรียนที่ถูกเผากระจายไปใน จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา
          นอกจากนั้น ในวันที่เกิดเหตุปล้นปืนกว่า 400 กระบอก จากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส หรือ ค่ายปิเหล็ง ซึ่งหลายคนเรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" และถือเป็นปฐมบทแห่งความรุนแรงรอบใหม่ในลักษณะการก่อการร้ายรายวันของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ในคืนเดียวกันยังมีการก่อเหตุเผาโรงเรียน 19 แห่งใน 10 อำเภอของ จ.นราธิวาส ด้วย
          การเผาโรงเรียน 6 แห่งของ จ.ปัตตานี ในวันอาทิตย์ที่ 12 ต.ค.57 จึงเป็นภาพสะท้อนที่เด่นชัดว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้ถูกแก้ไขให้หมดสิ้นไป แม้สถานการณ์โดยรวมจะดูดีขึ้นบ้างก็ตาม

สภานการณ์ใต้47-55

สภานการณ์ใต้47-55

สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด และจลาจลเกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวในลักษณะต้องการแบ่งแยกดินแดนบริเวณปัตตานีมา เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว

แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2547[4]

เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรได้ประกาศใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่สงบ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับอำนาจบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว[5] ในวันที่ 19 เดือนเดียวกัน คณะทหารได้ก่อรัฐประหารซึ่ง ทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง แต่แม้ว่าจะมีท่าทีปรองดองจากคณะผู้ยึดอำนาจก็ตาม สถานการณ์ก็ยังคงดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 1,400 คน เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น เป็น 2,579 คน เมื่กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[6]

ถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการจัดการกับความรุนแรงที่เกิด ขึ้น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองประกาศว่าสันติภาพจะกลับคืนสู่ภูมิภาคในปี พ.ศ. 2551[7] ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเกิน 3,000 คน เมื่อเดือนมีนาคมปีนั้น[8] ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ว่า เขามั่นใจว่าจะนำสันติภาพสู่ภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2553[9] แต่เมื่อถึงปลายปีนั้น ความรุนแรงได้มีเพิ่มมากขึ้น ตรงกันข้ามกับการมองโลกในแง่ดีของรัฐบาล[10] ท้ายที่สุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลจึงยอมรับว่าสถานการณ์ได้เพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถแก้ไขได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน[11]

 ลักษณะของสถานการณ์

กลุ่มกองโจรปัตตานีเริ่มต้นสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2544 เอกลักษณ์ของผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นนั้นยังคง คลุมเครือเสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั้งเดิมในภูมิภาค อย่างเช่น พูโล บีอาร์เอ็นและจีเอ็มไอพี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (อันเป็นสาขาหนึ่งของบีอาร์เอ็น) และกลุ่มติดอาวุธที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบีอาร์เอ็น คือ รันดา คัมปูรัน คีซิล[12] ส่วนคนอื่นเสนอแนะว่าความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอิสลามต่างชาติ อาทิ อัลกออิดะห์และญะมาอะห์ อิสลามียะห์ แต่ด้วยวิธีการทำงานของกองโจรในภาคใต้ ซึ่งโจมตีคลังอาวุธทหารและโรงเรียน ไม่เหมือนกับวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก มุมมองที่ว่ากองโจรในภูมิภาคมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างชาตินั้นจึงอ่อน[13]

ในตอนแรก รัฐบาลมองว่าการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจำนวนมากก็เชื่อว่า กลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยว
ข้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคดัง กล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากตำรวจเสียชีวิตไป 14 นาย ในการโจมตีหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเจ็ดเดือน อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชิน
วัตร ได้ปฏิเสธถึงบทบาทของศาสนาในการโจมตีดังกล่าว เพราะตำรวจที่เสียชีวิตไปหลายคนนั้นเป็นมุสลิมด้วย[14]

ในปีเดียวกัน ทักษิณกล่าวว่า "ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่มีผู้ก่อการร้ายอุดมการณ์ มีแต่โจรกระจอก" แต่ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เปลี่ยนท่าที และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[15]

รัฐบาลทักษิณ 1 (พ.ศ. 2544-48) มีสมาชิกรัฐสภาเป็นมุสลิมหลายสิบคน สภาจังหวัดในจังหวัดชายแดนมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเทศบาลหลายแห่งในภาคใต้มีนายกเทศมนตรีเป็นมุสลิม
มุสลิมเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากขึ้นและได้รับ เสรีภาพในการนับถือศาสนามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลทักษิณยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจที่มีเรื่องฉาวโฉ่ในด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งได้เริ่มการปราบปรามอย่างกว้างขวางในทันที การปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความไม่พอใจต่อการละเมิดดังกล่าวได้นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 2547 และ 2548[16]

หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้มีท่าทีปรองดองกับสถานการณ์มากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจเกินควรและเริ่มต้นเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ เป็นที่รู้จักกันดี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าจะเป็นการสนับสนุนการยืนยันที่ว่ามีกลุ่ม หลายกลุ่มมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสถานการณ์ และมีกลุ่มจำนวนน้อยที่สงบลงจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล[17]

[แก้] การก่อจลาจลภายในเรือนจำ

แม้ว่าจะมีการก่อจลาจลภายในเรือนจำอยู่อย่างเนืองๆ[18]ซึ่ง ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตได้แก่การก่อจลาจลในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554 นักโทษเสียชีวิต 2 ราย ที่เรือนจำ ปัตตานี[19] ปัญหาส่วนหนึ่งนอกจากพฤติกรรมของนักโทษแล้วยังพบว่าเรือนจำมีขนาดไม่มีพอกับจำนวนนักโทษที่มากขึ้นทุกวันอีกด้วย

[แก้] เหตุการณ์ทั้งหมด
[แก้] พ.ศ. 2545

30 มีนาคม - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43)
30 เมษายน - รัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43
[แก้] พ.ศ. 2547

4 มกราคม - เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง ใน จ.นราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.

นราธิวาส อันมีปืนไรเฟิล 400 กระบอก ปืนพก 20 กระบอก ปืนกล 2 กระบอก การจู่โจมครั้งนี้มีทหารตาย 4 นาย และทำให้รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายก

รัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่พอใจเป็นอย่างมาก กล่าวตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง และถึงกับพูดว่า "ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"[20]
เหตุระเบิดกลางตลาดจังหวัดปัตตานี โดยมีระเบิดทิ้งไว้ที่จักรยานยนต์
12 มีนาคม - สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
28 เมษายน - เกิดกรณีกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด คนร้ายเสียชีวิต 107 ศพ บาดเจ็บ 6 คนถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย[

ต้องการอ้างอิง]
25 ตุลาคม - เกิดกรณีตากใบ เจ้าหน้าที่สลายผู้ชุมนุมมีผู้เสียชีวิต 84 ศพ แบ่งเป็นในที่เกิดเหตุ 6 ศพ ระหว่างขนย้าย 78 คน[ต้องการอ้างอิง]
5 ธันวาคม - โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากนั้น โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่

เก็บนกกระดาษ
[แก้] พ.ศ. 2548

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2554

23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบ
17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน
3 เมษายน เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา
24 มิถุนายน กอบกุล รัญเสวะ ผอ.ร.ร.บ้านตือกอ อำเภอจะแนะ นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต
14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง
15 กรกฎาคม - จังหวัดยะลา เกิดเหตุระเบิด มีผู้บาดเจ็บ 4 คน และจังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ยิงกัน ครูเสียชีวิต 2 คน
16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่าง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[21]
18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[22]
19 กรกฎาคม - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสื่อหลายแขนงออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[23]
21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.นราธิวาส, จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา[24][25]
21 กันยายน- ทหารนาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังจากมีการจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง
เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำ ชาใน อ.ระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย
26 ตุลาคม คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน
2 พฤศจิกายน คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด
[แก้] พ.ศ. 2549
1 สิงหาคม เวลาประมาณ 20.20 น. คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[26]
31 สิงหาคม เวลา 11.20 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่ว จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[27]
4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[28]
16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 1,000 คน
ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิดมากกว่า 10 แห่ง ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนทำให้เกิดความโกลาหล[29]
21 กันยายน คนร้ายใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่ชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บ 1 รายและเสียชีวิต 1 ราย[30]
23 กันยายน ตำรวจ 4 นาย ได้รับบาดจากระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ที่จุดจอดรถ[31]
25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่ จ.ยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย[32]
28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ[33]
27 ตุลาคม คนร้ายยิงพนักงานเก็บค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา อาการสาหัส[34]
28 ตุลาคม คนร้ายลงมือก่อเหตุยิง ชาวบ้านขณะกำลังออกไปกรีดยาง เสียชีวิต 1 ราย ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี[35]
2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[36]
3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส ในเวลาไล่เลี่ยกัน คนร้ายก่อเหตุยิงลูกจ้าง 3

คนของ กอ.สสส.จชต ที่บริเวณริมถนนสาย 410 ยะลา–เบตง หมู่ที่ 5 บ้านบันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส[37]
3 พฤศจิกายน คนร้ายประมาณ 5 คน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ถล่มยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนคีรีบูรณ์วัฒนา ม.5 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ไม่มีผู้

ได้รับบาดเจ็บ[38]
4 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้ายิง รองนายกฯ อบต.บาโงสะโต เสียชีวิต[39]
4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนอีก 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา คือ โรงเรียนบ้านเตาปูน ม.3 ต.บันนังสตา โรงเรียนบ้านบางลาง ม.3 ต.บาเจาะ และโรงเรียนบ้านสาคู ม.4 ต.บาเจาะ[40]
5 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้าน อ.บันนังสตา เสียชีวิต 1 ราย[41]
5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และได้ปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[42]
5 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม หลังการเจรจาเสร็จสิ้นในช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดเสียชีวิตทันที 2 นาย ระหว่างทางกลับจากหมู่บ้าน บริเวณถนนยะลา-เบตง ต.บันนังสาเรง อ.เมือง[43]
7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี บ้านบาลอบาตะ หมู่ที่ 13 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา[44]
9 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ก่อเหตุยิงผู้รับเหมาก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนรัก หมู่ 2 บ้านดอนรัก ต.ดอนรัก จ.ปัตตานี เสียชีวิตคาที่[45]
9 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ เลขที่ 83/1 ม.7 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน[46]
9 พฤศจิกายน โชว์รูมรถยนต์ถูกลอบวางระเบิดพร้อมกัน 8 แห่ง ที่ อ.เมืองยะลา[47]
10 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถตามประกบยิงชาวบ้านขณะกำลังขับรถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงบนถนนหน้าโรงเรียนบ้านกระโด ม.1 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[48]
10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา[49]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกสะตอ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต[50]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงชาวบ้านปัตตานีหน้ามัสยิดอูแตกอแล ม.3 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต[51]
11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย[52]
12 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คนบุกเข้าบ้านพักพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง จ.ยะลา แล้วชักปืนพกสั้นประกบยิงจนเสียชีวิต[53]
13 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่พ่อ-แม่-ลูกชาวยะลาได้รับบาดเจ็บ บริเวณบนถนนสาย 410 ยะลา-เบตง หน้าสถานีอนามัย บ้านแหร ม.1 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา[54]
13 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงอุซตาชโรงเรียนปอเนาะใน ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตคาที่[55]
17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ใกล้ตลาดบางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[56]
17 พฤศจิกายน คนร้ายใช้ จยย.ประกบยิงพ่อค้าขายไอศกรีมวอลล์วัย 52 ปีระหว่างทางเข้าหมู่บ้านที่ยะลา เสียชีวิตคาที่[57]
17 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 6 คน สวมชุดดาวะห์ เข้าปล้นอาวุธปืนลูกซองจำนวน 1 กระบอก ของชุด ชรบ. ในบ้านเลขที่ 118 หมู่ 5 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[58]
18 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายนำ ศรีพลอย อายุ 73 ปีที่ออกไปเลี้ยงวัวกลางทุ่งใกล้บ้าน เสียชีวิตแล้วเผาศพจนไหม้เกรียมทิ้งไว้ก่อนหลบหนี[59]
18 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงตำรวจ ตชด. กก.ที่ 44 ค่ายพยาลิไท อ.เมืองยะลา ระหว่างเดินทางกลับบ้านเพียงลำพัง อาการสาหัส[60]
18 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ไม่มีชื่อ หมู่ที่ 1 ต.ธารโต จ.ยะลา[61]
19 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงใส่ชาวบ้านจำนวน 4 นัด ก่อนที่จะใช้ของมีคมฟันเข้าบริเวณลำคอ ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที[62]
20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[63]
21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[64]
22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก[65]
23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ[66]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส[67]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี[68]
23 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา[69]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงลูกจ้างชั่วคราวชลประทานเขื่อน จ.ปัตตานี เสียชีวิต[70]
23 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าดักซุ่มยิงใส่ชาวบ้าน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เสียชีวิต[71]
23 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงครูโรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต[72]
24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[73]
24 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน[74]
24 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดร้านขายของชำกลางตลาดอำเภอยะหา จ.ยะลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน[75]
24 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มาที่บริเวณปากทางเข้า มสธ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส[76]
[แก้] พ.ศ. 2550

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในช่วงค่ำรวมเกิดเหตุระเบิดจังหวัดยะลา 15 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 2 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 8 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง วางเพลิงจังหวัดปัตตานี 12 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 6 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง จังหวัดยะลา 1 ครั้ง ลอบยิงจังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 1 ครั้ง จังหวัดสงขลา 1 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย บาดเจ็บ 62 ราย[77]
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายชุมพล อังกุลาภินันท์ และ นายจริย สุคตะ ถูกคนร้ายใช้อาวุธมีดฆ่าสังหารเหตุเกิดที่ เขตเทศบาลเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง[78]
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกิดเหตุระเบิดที่จังหวัดยะลา ด.ต.สุบิน พฤทธิ์มงคล[79]เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย ผู้สื่อข่าวบาดเจ็บ 4 คน ชาวบ้านและตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11

คน[80]
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกธนวิถี2 เขตเทศบาลนครยะลา ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน บาดเจ็บสาหัส 5 คน ต่อมา เสียชีวิต 2 คน[81]
4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คนร้ายซุกระเบิดในรถจักรยานยนต์หน้าร้านข้าวต้มน้องเฟิร์น อ.เมือง จ.ปัตตานี ก่อนจุดชนวนระเบิดมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 25 ราย[82]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2551

2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เกิดระเบิดพร้อมกันสองจุดในอำเภอหาดใหญ่และห้าจุดในเขตเทศบาลนครสงขลาอำเภอเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 จุดที่เซเว่น อีเลฟเว่น 1จุด บนทางหลวงแผ่น

ดินหมายเลข 4และ1จุด บนถนนราษฎร์อุทิศหน้าร้านอาหารและเสาไฟฟ้าอย่างละจุด [83]
21 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เหตุการณ์คาร์บอมบ์ที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ นายชาลี บุญสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ[84]
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ และจักรยานยนต์บอมบ์ 2 จุดหน้าที่ว่าการ อ.สุคิริน ขณะมีการประชุมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านทำให้มีผู้ ได้รับบาดเจ็บ 71 รายในนี้มีบาดเจ็บสาหัส 20 ราย เสียชีวิต 1 ราย[85]
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บ้านซาไก หมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายมาหะมะ โซ๊ะซาตู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลบ้านแหร คนร้ายบุกยิง รถยนต์ทหาร ส่งผลให้ อาสาสมัครทหารพราน วิชาญ ศักดิ์สุวรรณ เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 6 ราย บ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.กาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุยิงรถยนต์ของ นายรามัน วาแมดีซ และ นางอานา วายะ บาดเจ็บสาหัส[86]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตลาดดุซงญอ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดร้านของชำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ได้แก่ 1.นายดอเลาะฮาเร็ม ตาบู อายุ 49 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดุซงญอ 2.นายอารง คาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดุซงญอ อ.จะแนะ 3.นายอดุลย์ แวอุเซ็ง ครู โรงเรียนสวนพญาวิทยา อ.จะแนะ 4.นายเลอศักดิ์ ชีวะโรจน์ พี่ชายเจ้าของร้านชำ และ 5.นายชุมพล กาญวิโรจน์ มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 10 ราย ชาวบ้าน 2 รายได้แก่ น.ส.วิลาวัณย์ สติกรกูล เจ้าของร้านชำ และ นายรอฮิม กาพอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่หมู่ 1 บ้านดุซงญอ อ.จะแนะ เด็ก 1 รายได้แก่ ด.ช.สารีฟ มะรอดิง[87]
27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้ ส.อ.อนุชิต ฐานโสภา และ พลทหารศราวุธ แก้วเกตุ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และก่อเหตุวางเพลิงอบต.สะนอ และ อบต.วัด ต.วัด รวมถึงรถยนต์ของนางอัมพิกา แซ่เล่า และ นางเพ็ญศรี ศรีระสาร วางเพลิงรถดับเพลิงของ อบต.เขาตูม ในเวลาไล่เลี่ยกันคนร้ายยิงปืนและปาระเบิดเข้าไปในบ้าน ของนายนวม ส่งผลให้ทรัพย์สินเสียหาย[88]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2552

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถนนสายเอเชีย หน้าที่ว่าการอำเภอป่าบอนคน ร้ายใช้ปืนยิงนายสถาพร ชนะสิทธิ์ นายกเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง พัทลุง นายวิเชียร เสนเรือง รองนายก และเพื่อนรวมเสียชีวิต

5 ราย และบาดเจ็บสาหัส 2 รายที่ จังหวัดพัทลุง[89]
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 คนร้ายใช้ปืนยิงพ่อค้าขายอาหาร นายอาเซม สาแม เสียชีวิต 1 รายที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส[90]
14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายศุภชัย จิตรารุวิชญ์ เสียชีวิต และได้ขโมยทรัพย์สินในรถยนต์ไป[91]
16 กันยายน พ.ศ. 2552 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุคนร้ายบุกยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านสุเป๊ะ นายมะรอซี สาเระ เสียชีวิต ส่วนนายรอยาลี สาเม๊าะ สมาชิก อบต.โคกสะตอ ได้รับบาด

เจ็บ [92]
6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุการณ์คาร์บอมบ์มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ส.ต.ท.วัชรพงษ์ อำไพฤทธิ์ ผบ.หมู่ ป.สภ.สุไหงปาดี นางปรียานุช โชติไพบูลย์พันธุ์ นายนา

แซ แวยูโซะ และบาดเจ็บ 39 คน[93]
10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บ้านบึงน้ำใส หมู่ 4 ตำบลตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายบุกยิง นายยากี น้อยทับทิม และ นายอันวา พุดารอ เสียชีวิต ทั้งสองคนเป็น เจ้าหน้าที่ชุดรักษาความ

ปลอดภัยหมู่บ้าน[94]
22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โจรใต้ใช้อาวุธปืนอาก้า ดักซุ่มยิงสายข่าวทหาร นายยาการียา ดอเลาะ และชาวบ้าน นายอาหะมะสะปี สะมะ เสียชีวิต 2 คน ที่ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส[95]
25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คนร้ายซุ่มยิง อาสาสมัครทหารพรานธานินทร์ สุวรรณกูฎ เสียชีวิต[96]
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คนร้ายซุ่มยิง นายมะยีดิง ดือราแม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านปูตะ และ นายแวดือราแม มะสะ เสียชีวิต [97]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณศาลาริมแม่น้ำปัตตานี ถนนเลียบแม่น้ำ เขต เทศบาลนครยะลามี ผู้ได้รับบาดเจ็บ 13คน เสียชิวิตสิงราย คือ ส.ต.ท.พรชัย ภูศรี ผบ.หมู่กลุ่มงานเก็บกู้ฯ

กก.ตชด.44 และ สอ.วีรวุฒิ หมุนลี สังกัดกองพันสรรพาวุธที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ชุดทำลายวัตถุระเบิด ฉก.นโณทัย ที่ 11[98]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2553

1 เมษายน พ.ศ. 2553 บริเวณเชิงเขาบูโด บ้านบาดง หมู่6 ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ เกิดเหตุคนร้ายใช้ปืนเอ็ม16 ยิงใส่ชาวบ้าน ส่งผลให้ชาวบ้าน บ้านโคกตีเต ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาสเสีย

ชีวิต 6 รายได้แก่ นายดำรงค์ ทองจินดา นายสุคนธ์ แก้วสำอาง นายธนู เซ่งสีแดง นายนิติพงษ์ เซ่งสีแดง นายสมัย เซ่งสีแดง และ นายกำพล พรายแก้ว สุนัข 2 ตัว และหมูป่า 1 ตัว เสียชีวิต คนร้ายได้

ก่อเหตุขโมยปืนของผู้เสียชีวิตไปด้วย 2 กระบอก [99]
8 เมษายน พ.ศ. 2553 อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงคนร้ายบุกยิง นายสุนีย์ ฤทธิ์ตรีเนียม อายุ 54 ปี ส.จ. เขต 2 อ.เขาชัยสน เสียชีวิต[100]
21 เมษายน พ.ศ. 2553 คนร้ายก่อเหตุปาระเบิดชนิดเอ็ม 67 เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเคารพธงชาติ ส่งผลให้ ดต.สมพงษ์ คงดำ ผบ.หมู่ ตร.ภ.จว.ปัตตานี เสียชีวิต พ.ต.ต.หญิงกูมัณฑนา เบญจมานะ

บาดเจ็บสาหัส และตำรวจบาดเจ็บ 47 ราย และคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถยนต์ขึ้นบริเวณหน้าร้านขายยาอ่าวไทย ฟามาซีตั้งอยู่ข้างสภ.เมืองปัตตานี มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 21 ราย สาหัส 2 ราย คือ นางวาสนา

พงษ์พิริยะกุล และ นายอาซู อาบู
[101]

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หมู่ 2 ต.ธารโต อำเภอธารโตนายวิชิต ดวงเต็ม บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[102]
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หมู่ 2 ต.ธารโต อำเภอธารโต นายอานนท์ สกุลทอง บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[103]
14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณตู้น้ำมันหยอดเหรียญตลาดนัดบ้านนิคม อำเภอเทพาจังหวัดสงขลาเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 คน ส่ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [104]
16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุการณ์คนร้ายโยนระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่บริเวณสะพานพระพุทธ บ้านบ่อเตย[105] อำเภอเทพาจังหวัดสงขลาส่งผลให้ ส.ต.ท.นเรศ แก้วศรีคำ เสียชีวิต และมี

ตำรวจได้รับบาดเจ็บอีกสองนาย[106]
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ท้องที่บ้านซาไก หมู่ 3 ต.บ้านแหร อ.ธารโต นายจั่ว แซ่ย่าง เสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[107]
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ท้องที่บ้านผ่านศึก หมู่ 2 ต.คีรีเขต นางแดง มณีโชติ และ ส.ต.ท.พิภพ ศรีกันยา เสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[108]
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พื้นที่บ้านผ่านศึก หมู่ 2 ต.คีรีเขต อ.ธารโต ด.ต.นิยม สุวรรณมณี ผู้บังคับหมู่งานป้องกันและปราบปราม สภ.ธารโต บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคน

ร้ายนำมาวางไว้ [109]
7 กันยายน พ.ศ. 2553 หน้าร้านอาหารอาบิสโภชนา ริมถนนสายนราธิวาส-ตันหยงมัส บ้านแกแม ม.4 ต.ตันหยงมัสคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายวิลาศ คงขำ ครู โรงเรียนบ้านมะนังกาหยี ต.มะ

นังตายอ และนางคมขำ เพชรพรม ครู โรงเรียนบ้านทุ่งโต๊ะดัง ต.มะนังตายอ เสียชีวิต[110]
7 กันยายน คนร้ายก่อเหตุวางทุ่นระเบิดส่งผลให้ นายดำ ไตรรัตน์ บาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเหยียบทุ่นระเบิด[111]
19 กันยายน อำเภอบาเจาะคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิง นายชื่น คงเพ็ชร์ นางห้อง คงเพ็ชร์ นายเจริญศิลป์ บุญทอง นางสมศรี บุญทอง(คงเพ็ชร์) เสียชีวิต รวมทั้งเผาบ้านของผู้เสียชีวิตทั้ง 3

หลัง[112]
19 พฤศจิกายน คนร้ายไม่ทราบจำนวน บุกยิง มัสยิดดารุลอิสลาม บ้านปูโป หมู่ 3 ตำบลสามัคคี จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ อาสาสมัครทหารพรานมะรอนิง เประเปะ เสียชีวิต[113]
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อำเภอกรงปีนังจังหวัดยะลาคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง ชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย คือ นายสุชาติ โพธิ์ทอง เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย คือ อส.ทพ.สมเกียรติ หนูสีแก้ว และ

ได้ก่อเหตุยิงรถยนต์จนมีชาวบ้านบาดเจ็บ 5 ราย ในวันเดียวกัน [114]
14 ธันวาคม เกิดเหตุชาวบ้านถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย ริมถนนในหมู่บ้านเจาะไอร้อง หมู่ 1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง คือ นายอับดุลเลาะห์ มะเย็ง นางเจ๊ะแย รอนิง[115]
18 ธันวาคม เขตเทศบาลนครยะลา เกิดเหตุทหารถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย คือ พลทหารซันสุดี มะแซ และ สอ..สุริยะ ชัยยัณห์ ส่วน พระสวาท เขมวิโณได้รับบาดเจ็บ [116]
21 ธันวาคม อำเภอเบตงเกิดเหตุชาวบ้านถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 รายคือ นายเฉลิมฤทธิ์ นันต๊ะฤทธิ์ และ นายนะวัชชา สิริธัชกุล[117]
25 ธันวาคม อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุทหารถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย คืออส.ทพ.สุรพล เพชรแท้ อส.ทพ.ปรีชา จันทเนตร และขโมยปืนเจ้าหน้าที่ 2 กระบอก ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 2

ราย คือ
นางรอกีเยาะ หะยีมะแซ และ นางซากรู ซอฮามะถูกยิงที่แขน[118]

25 ธันวาคม อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส คนร้ายบุกยิงบ้านของครอบครัว สือแม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส 3 รายคือ นายเปาซี สือแม นางนูรีฮัน สือแม และด.ญ.นีซมี สือแม[119]
29 ธันวาคม อำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ส่งผลให้พนักงานหมวดการทางบาดเจ็บสาหัส 3ราย นายอดุลย์ ดือราแม นายอาแว มะ นายมะซับรี ละเล็ง ชาวบ้านบาดเจ็บ 1 ราย

คือ นายสะตอปา มูนา [120]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2554

1 มกราคม คนร้ายลอบวางวัตถุต้องสงสัยตรงข้ามร้านขายผักในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าทำการตรวจสอบ คนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิด เป็นเหตุให้

ดต.กิตติ มิ่งสุข และ จ.ส.ต.กฤษฏา ทองโอ ผบ.หมู่จราจรอ.สุไหงปาตี เสียชีวิต -บาดเจ็บอีก 9 ราย[121]
3 มกราคม คนร้ายใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ป้อมจุดตรวจมะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงเข้าป้อมจุดตรวจ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[122]
3 มกราคม คนร้ายลอบวางระเบิด และยิงถล่มซ้ำเจ้าหน้าที่ทหารดักสังกัด ร้อย ร.15114 ฉก.นราธิวาส 31 บนถนนสายเจาะไอร้อง-ป่าไผ่ ขณะขี่รถจักรยานยนต์ออกจากฐาน เพื่อเดินทางไปปฏิบัติ

หน้าที่ รปภ.สถานีรถไฟเจาะไอร้อง ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย[123]
5 มกราคม คนร้ายใช้รถยนต์ขนอาวุธปืนสงครามกราดยิงรถยนต์ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยสารมาด้วย ขณะขับรถกลับประชุม ณ ที่ว่าการอำเภอระแงะ ทำให้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 4

ราย[124]
7 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง นายสิงห์ชัย สาและ ผู้ใหญ่บ้านตันหยงลิมอ เสียชีวิต[125]
8 มกราคม เทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง อาสาสมัครทหารพราน สุทธิพร กันสุริ เสียชีวิต และ อาสาสมัครทหารพราน เอกพล อินทนุพัฒน์บาดเจ็บสาหัส[126]
9 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธยิงนายมะยุ ยะโก๊ะ และนายบาหะดี ดามิ เสียชีวิต 2 ราย[127]
10 มกราคม อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส อาสาสมัครทหารพรานหะมัดมารูวาน อาแวถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิต[128]
11 มกราคม คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงส.ท.ศักดา พรรณาอดีตนักคาราเต้โดทีมชาติไทย เสียชีวิต[129]
15 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายมาโนช ชฎารัตน์ เสียชีวิต[130]
16 มกราคม อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายมะรอซี เจ๊ะแป เสียชีวิต[131]
19 มกราคม คนร้ายราว 40 คนบุกถล่มฐานทหารที่จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 รายได้แก่ ร.อ.กฤช คัมภีรญาณ ผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ 15121 2. ส.อ.เทวรัตน์ เทวา 3. พลทหาร

ประวิทย์ ชูกลิ่น และ 4.ส.อ.อับดุลเลาะ ดะหยี บาดเจ็บ 13 ราย ปืนถูกปล้น 50 กระบอก กระสุนอีก 5000 นัด [132]
7 กุมภาพันธ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลาคนร้ายลอบวางระเบิด ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บสาหัสสองราย คือ สอ.ธีรเดช มหาอุต และ พลทหาร พงษกร เขื่อนรอบเขต[133]
13 กุมภาพันธ์ ถนน ณ.นคร ข้างธนาคารนครหลวงไทย จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถยนต์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 ราย เพลิงไหม้ร้านค้า 12 หลัง[134]
21 กุมภาพันธ์ เทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมจักยานยนต์ ส่งผลให้ น.ส.สุธาสินี บัวขวัญ พนักงานขายห้างซุปเปอร์ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 17ราย รถเจ้าหน้าที่ทาง

หลวงและรถจักรยานยนต์ชาวบ้าน เสียหาย รวมถึงอาคารร้านค้าบริเวณใกล้เคียงก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน[135]
22 กุมภาพันธ์ จังหวัดสตูล คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายอภิชาต หลงตา จนถึงแก่ชีวิต [136]
15 มีนาคม อำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสคนร้ายก่อเหตุยิงร้านน้ำชามีผู้เสียชีวิตสองรายได้แก่อส.อารมณ์ โยธาทิพย์ อส.ประจำที่ว่าการอำเภอรือเสาะ และ นายพบ ทองแก้ว [137]
22 มีนาคม คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารและขโมยปืนเอ็ม16 ไปจำนวน 2 กระบอก ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นเหตุให้ ส.อ.ชเนรินทร์ กันทะ และ พลทหารนเรศ เพชรรัตน์ เสีย

ชีวิต[138]
25 มีนาคมอำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงชดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน นายซาฟูวัน สะมะแอ เสียชีวิต[139]
1 เมษายน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายก่อเหตุยิง นายอับดุลวาฮับ สะบูดิง ผอ.โรงเรียนประทีปวิทยา เสียชีวิต[140]
2 เมษายน คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถจักรยานยนต์ที่ ตลาดนัดนิคมเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 21 ราย
5 เมษายน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีคนร้ายก่อเหตุยิง นายอำนวย คงทอง ขณะซื้อของที่ตลาดนัดบ้านคลองขุด[141]
7 เมษายน จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิง นายวิเชษฐ์ บุญชัย เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำนักงานทหารผ่านศึกปัตตานี เสียชีวิต ในขณะที่คนร้ายนายอับดุลรอแม เจะแว ถูกยิงเสียชีวิตเช่น

กัน[142]
8 เมษายน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงคนร้ายก่อเหตุยิง นายสุนีย์ ฤทธิ์ตรีเนียม ส.จ. เขต 2 อ.เขาชัยสน เสียชีวิต [143]อำเภอมายอจังหวัดปัตตานีนายศรัทธา มะเด็ง ที่ปรึกษาของนายก อบต.มายอ

ถูกยิงเสียชีวิต[144]
18 เมษายน เขตเทศบาลนครยะลาเกิดเหตุการ์คาร์บอมบ์จนเป็นเหตุให้ทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 20 คน [145]
21 เมษายน พล.ต.อัคร ทิพโรจน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพระราชกำหนดการบริหาร

ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้แก่จังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี[146]
3 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่ร้านน้ำชาอำเภอบันนังสตาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย[147]
7 พฤษภาคม ริมสนามฟุตบอลหมู่บ้าน ม. 5 บ้านคอกวัว ต.ปล่องหอย อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี คนร้ายลอบวางระเบิดระหว่างการแข่งขันฟุตบอล ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย ส.ต.อ.​อา​ริ​ด

หวั่น​ละ​เบะ ส.ต.ต.สามารถ โสะห​สัน​สะ ส.ต.อ.เกรียงศักดิ์ ธนูรักษ์ และ ส.ต.อ.​ณรงค์​ฤทธิ์ สุวรรณศรี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บ 10 ราย [148]
12 พฤษภาคม คนร้ายยิง พ.ต.เศวต เศวตโสธร สัสดีอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เสียชีวิต[149]
16 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่อำเภอยะหาส่งผลให้ พระสงฆ์ มรณภาพสองรูป และวัดสวนแก้วจังหวัดยะลา กลายเป็นวัดร้าง เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 3 คน[150]
20 พฤษภาคม หลังมีชาวบ้านมาแจ้งว่ามีคนร้ายเข้ามาในพื้นที่จังหวัดยะลา, อำเภอธารโต เจ้าหน้าที่ได้นำหน่วยรบทหารพรานไปล้อมแล้วเกิดการยิงกัน คนร้ายเสียชีวิตหมด 4คน หนึ่งในนั้นคือนาย

มะแอ อภิบาลแบ, แกนนำหลักในพื้นที่ มีค่าหัวอยู่ 2,000,000บาท มี่คดีรวมแล้วทั้งหมด 28คดี รวมถึงการลอบสังหารพ.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ยึดปืน AK-47 มา

สองกระบอก แล้ว.38มาอีกกระบอกนึง ส่วนในจังหวัดนราธิวาส ได้มีการระเบิดทำให้คนได้รับบาดเจ็บ9คน [151] [152]
24 พฤษภาคม อำเภอยะหา จังหวัดยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายมูฮัดหมัดกูไซ สตาปอ เสียชีวิต[153]
25 พฤษภาคม เกิดเหตุรถยนต์ทหารถูกวางระเบิดมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 รายที่ อำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา[154]พลทหารชูชาติ แก้ววงษ์หิว ถูกคนร้ายซุ่มยิงเสียชีวิต
27 พฤษภาคม อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิงนายวรรณพจน์ จินดารัตน์ ขณะขับรถจนเสียชีวิตมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัวสองคนคือนายนภสินธุ์ ฝอยทอง และด.ต.เจ๊ะเล๊าะ ยะ

โกะ[155]
30 พฤษภาคม เกิดเหตุระเบิดถนนทางรถไฟ ริมทางรถไฟยะลาเขตเทศบาลนครยะลา มีทหารได้รับบาดเจ็บ 5 ราย ชาวบ้าน 2 ราย[156]
31 พฤษภาคม เกิดเหตุคนร้ายวางระเบิดพลาดบริเวณคอสะพาน บ้านบาลูกา หมู่ 7 ต.สามัคคี อำเภอรือเสาะส่งผลให้ นายอาบัส อาบู และ นายซอราฮูดีน ดอเลาะ คนร้ายผู้ก่อเหตุเสียชีวิต[157]คนร้าย

ที่ขับจักรยนต์ได้รับบาดเจ็บ
1 มิถุนายน นายรังสี สุภัทสรชาวบ้านถูกระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกรีดยางพารา ใน อำเภอกาบังต่อมา นายอัสมัน เฮาะมะสะเอ๊ะ ปลัดอำเภอกาบังจังหวัด ยะลาได้เดินทางไปตรวจ

เหตุการณ์ชาวบ้านเหยียบกับระเบิดจนได้รับบาดเจ็บ ทันทีที่เดินทางไปถึงปรากฏว่าได้มีเหตุระเบิดขึ้นอีกครั้งเป็นเหตุให้ เสียชีวิตภายหลังถูกระเบิด รวมถึงผู้ติดตาม นายอุสมาน เจ๊ะนิ อาสาสมัคร

เสียชีวิตในที่เกิดเหตุเช่นเดียวกัน และผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[158]หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ระเบิดได้รับบาดเจ็บจากระเบิดอีก 1 ราย รวมทั้งหมด 6 ราย
5 มิถุนายน เกิดเหตุ รถตักดินประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่อำเภอเมืองยะลา ส่งผลให้ เด็กชายศราวุธ จันทร์สุก เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย [159]เหตุการณ์อยู่ระหว่างสอบสวนว่าเป็นการวางแผน

ของคนร้ายหรือไม่
7 มิถุนายน คนร้ายใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79ยิงบริเวณ ที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ 2ครั้ง มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เจ้าหน้าที่ 1 ราย [160]
8 มิถุนายน คนร้ายบุกยิงเจ้าของร้านชำ ส่งผลให้ นายสมพงษ์ แซ่อู๋ย นายณรงค์ บรรจงคชาธาร เสียชีวิต และเกิดเหตุระเบิด 3 ครั้งใน อำเภอเจาะไอร้องมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 5 คน ส่วนที่อำเภอ

สุไหงปาดี คนร้ายบุกยิงชาวบ้านขณะขับขี่รถยนต์ส่งผลให้ นายมณฑล สมาธิทับดี เสียชีวิต นางบุญศรี ทองคำบาดเจ็บสาหัส[161]
9 มิถุนายน อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงรถยนต์ของ นายมุสตาฟา ยามูดิง เจ้าหน้าที่อาสามัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาส่งผลให้ นายมุสตาฟา ยามูดิง

เสียชีวิต นายรุสดี ดามูซอเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาบาดเจ็บสาหัส[162]
10 มิถุนายน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา นายกาเดร์ วอกา ถูกคนร้าย 2 คนใช้อาวุธปืนสั้นยิงเสียชีวิตขณะเดินทางกลับบ้าน[163]
12 มิถุนายน บนถนนสายยะหา-บ้านเนียง หมู่ 1 บ้านยะลา ต.ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายมะกอเซ็ง ปานิ เสียชีวิต และที่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลาคนร้ายใช้

อาวุธปืนสั้นยิง นายอิสมาแอ เจ๊ะมะ และ นายสะมารูดิง ซาเมาะ เสียชีวิต [164]ทั้งหมดกำลังออกมาจากตลาดสามแยกบ้านเนียง เพื่อมุ่งหน้ากลับบ้าน
13 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายบือราเฮง เปาะมะ ชาวบ้านถึงแก่ชีวิตอำเภอเมืองยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายอาแซ ยามู ชาวบ้านถึงแก่ชีวิตอำเภอยะรังคนร้ายก่อเหตุยิง นาย

มะกอเซ็ง บาเน็ง ชาวบ้านถึงแก่ชีวิต อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี นายนิแอ กาโบ๊ะ นางซาลีมะฮ์ วาเซะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส[165]
14 มิถุนายน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุคนร้ายยิง นายสุดิน มามะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.ปุโละปูโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และ ที่อำเภอยะรังคน้รายก่อเหตุยิง ด.ต.ธโน ชินนา สังกัดกก.

ตชด.43 อ.นาทวี จ.สงขลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส[166]
16 มิถุนายน ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิง ทหารเสียชีวิต 4 นาย ได้แก่ 1.สิบเอกกิตติพงษ์ สิงหา 2.สิบเอกพิชิต คำรัต 3.พลทหารคมสัน วงกลม

และ 4. พลทหารวีวัฒน์ จันทราเทพ และขโมยปืนของทหารไปด้วย จำนวน 5 กระบอก[167]
16 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลา คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ กลางเมืองยะลาส่งผลให้ ด.ต.ยืนยง ดุลยเสรี บาดเจ็บสาหัส นายมาหะมะไดเดน กาสง เจ้าหน้าที่ของ สนง.

แขวงการทางยะลา และภริยาได้รับบาดเจ็บ [168]
17 มิถุนายน ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง นายสาคร ชูเพชร ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิต[169]
18 มิถุนายน เรือนจำกลางนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส นักโทษก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ 20 นายและอาสาสมัคร 5 นาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัส 11 นาย แบ่งเปนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 9 นาย อาสาสมัคร

2 นาย ทั้งหมดต้องนำส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องจากไม่พอใจการเข้าตรวจของเจ้าหน้าที่ซึ่งพบยาเสพติดในเรือนจำ และมีเจ้าหน้าที่ทหารพรานหญิง เจ้าหน้าที่ผู้คุมขังนักโทษหญิง

อย่างละ คน ถูกจับเป็นตัวประกันในเหตุกาณ์ครั้งนี้ [170]
19 มิถุนายน จังหวัดสงขลา คนร้ายจำนวน 5 คนก่อเหตุปล้นทรัพย์และทำร้าย นายภานุ สุราตโกได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[171]หนึ่งในคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16
20 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายโสภณ สองแก้ว กำนันตำบลยุโป เสียชีวิต[172]จังหวัดปัตตานีคนร้ายก่อเหตุยิง นายยูโซ๊ะ หะยีตาเยะ เสียชีวิต[173]
22 มิถุนายน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงนายบือราเฮง สะดีแม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเป็นชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน[174]
24 มิถุนายน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสคน ร้ายก่อเหตุระเบิด ในพื้นที่ 3 จุด จนเป็นเหตุให้ นายเที่ยง ชำนาญพงศ์ และ นายวิติ๋ม ศิริ คนงานชลประทาน เสียชีวิต ตำรวจบาดเจ็บ 13 นาย [175]
28 มิถุนายน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส อส.ทพ.นูรดิง มะทา ถูกคนร้ายซุ่มยิงเสียชีวิต[176]
29 มิถุนายน อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสนายอาหมัด ดือเร๊ะถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีนายสมจิตร แก้วคงดี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต[177]

“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม

“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์13 ตุลาคม 2557 16:08 น.
“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม
        “ประยุทธ์” ชักฉุน โจรใต้เผาโรงเรียนถูกมองตบหน้านายกฯ หันเล่นงานสื่อประโคมข่าวความไม่สงบ แนะอย่าตกเป็นเครื่องมือพวกไม่หวังดี โชว์ผลงานสู่สังคมโลก ชี้ปัญหาใต้สลับซับซ้อนมาหลายร้อยปี ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช้มุสลิม แต่เป็นพวกไม่มีศาสนา 
       

      
       ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วันนี้ (13 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์สื่อด้วยท่าทีดุเดือดถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ล่าสุดมีการก่อเหตุเผาโรงเรียนในพื้นที่ว่า ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาทีทับซ้อนมานานแล้ว และวันนี้ได้ปรับโครงสร้างแล้ว ทุกหน่วยงานขับเคลื่อนโดยรัฐบาลแม้ว่ากฎหมายจะแยกกันก็ตาม แต่ก็มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 3 แท่ง ประกอบด้วยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกระทรวง ทบวง กรม โดยขับเคลื่อนทั้งหมด ปัญหาเหล่านี้สลับซับซ้อนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ตามประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ซึ่งมีคนยุแหย่เรื่องต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องพยายามปรับเปลี่ยนไป ถ้าเราไม่ทำแบบนี้ และใช้การปราบปรามอย่างเดียวเราเสียแน่นอน จะทำให้มีคนเจ็บคนตายมากกว่านี้
      
       “วันนี้แม้ว่าสถิติเหตุจะลดลง การสูญเสียจะลดลงแต่พวกเราทุกคนไม่เคยมีความสุข เพราะมนุษย์ตายคนเดียวก็ไม่ได้ จึงไม่อยากใช้คำว่า สถิติลดลงหรือคนตายลดลงจาก 100 เหลือ 50 คน ผมจะไม่พูดอย่างนี้ เพราะเป็นเรื่องของชีวิตเขาและเจ้าหน้าที่ก็ตายด้วย”
      
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งที่สื่อต้องช่วยคือต้องไปสร้างการรับรู้ว่า คนเหล่านี้ทำไมใช้ความรุนแรงกับเราแบบนี้เพราะอะไร เพราะเราไปฝืนใจหรือไปบังคับเขาหรือเปล่าวันนี้ทำให้ทุกอย่างหมดแล้วคนไทยพุทธยังได้ไม่มากเท่านี้ ตนรักทุกคนที่อยู่ในพื้นที่มาโดยตลอด วันนี้พอมีเรื่องขึ้นมาก็บอกว่าตบหน้านายกฯ มันตบตรงไหน ก็มันเกิดตนก็ทำให้ลดลง ปรับแก้ตรงนี้เป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานต่างๆ เดินหน้าแก้ปัญหาไป 7 ยุทธศาสตร์ ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน การพัฒนา การสร้างความเข้าใจมีคนทำงานอยู่ 6 หมื่นกว่าคน ถามว่าทำไมยังไม่จบเพราะมันสู้กันด้วยความคิด มีการปลุกระดมว่าไม่เป็นธรรม ยากจนเพราะรัฐเป็นอย่างนี้ เพราะศาสนาซึ่งเราต้องแก้ทั้งหมด
      
       ฉะนั้นการประเด็นการพูดคุยสันติสุข เราไม่ได้พูดสันติภาพ เพราะไม่ได้มองว่าคนเหล่านี้คือศัตรู เพราะเป็นคนไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปทุกพื้นที่หลายสิบปีนานมาแล้ว ถึงยังอยู่ได้จนถึงวันนี้ ถ้าไม่ทำวันนู้นวันนี้คงไม่อยู่กับเราแล้ว ไปแล้ว ก็ไม่รู้เหมือนกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงรับสั่งเสมอว่า คนใต้เป็นคนน่ารัก เป็นคนมีฝีมือ ปักเย็บอะไรก็ชนะได้ที่หนึ่ง ไม่มีภาคไหนปักผ้าสวยได้เท่าภาคใต้
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯ ให้สัมภาษณ์ได้หันมาถามสื่อว่า เคยดูฝีมือการปักผ้าของคนใต้หรือไม่ หรือไม่เคยรู้เรื่องการปักผ้า ไม่เคยรู้หรอกพวกนี้แล้วเมื่อไหร่จะแต่งงานได้
      
       ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้รัฐบาลรู้หรือไม่คนในพื้นที่ภาคใต้ต้องการอะไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องการความสงบสุข และเขาก็บอกว่าเจ้าหน้าทีรัฐไม่สามารถอยู่กับได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งคนเหล่านี้แอบซ้อนมา เราต้องสร้างคนเหล่านี้ให้เข้มแข็งด้วยการพัฒนา แต่ปัญหาคือคนเหล่านี้มาใช้ความรุนแรง มาฆ่าประชาชน และคนพวกนี้ก็ไม่กล้ามาหารัฐ แต่วันนี้คนจะมาหารัฐมีเยอะมาก ที่มาในกระบวนการอยากกลับบ้านมาร่วมมือกับรัฐแต่ถูกฆ่า ซึ่งคนเหล่านี้ตนคิดว่าไม่ใช่มุสลิม เป็นคนที่ไม่มีศาสนามากกว่า ถ้ามีศาสนาคงไม่ฆ่าคน
      
       ต่อข้อถามว่ากลุ่มคนที่มาก่อเหตุที่มีรายงานว่ามี 40 คนที่มาเผาโรงเรียนเป็นคนในพื้นที่หรือคนนอกพื้นที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กำลังติดตาม ผบ.ทบ.ดูแลอยู่แล้ว ถามจำนวนคนดังกล่าวเยอะไหม ไม่เยอะ แต่เป็นการเดินตัดป่าแล้วมารวมกัน ซึ่งต้องไปดูว่าเจ้าหน้าที่มีแผนกำลังป้องกันอย่างไร การข่าวว่าอย่างไร เดี๋ยวก็ต้องแก้กัน
      
       ส่วนพื้นที่สีแดงมีเยอะหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มีแดง มีที่ไหนกันมีพื้นที่ความมั่นคง 136 หมู่บ้าน 3 จังหวัด 4 อำเภอมี 2 พันกว่าหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 3 เกรด 1. พื้นที่ที่มีเหตุเกิดขึ้น 136 หมู่บ้านระดับกลาง 1 พันเกือบ 2 พันหมู่บ้าน ที่เหลือเป็น 2. หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคง และ 3. พัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ ไม่มีการบาดเจ็บสูญเสีย วันนี้เหลือ 136 หมู่บ้านที่ไม่เกิดทุกวัน ซึ่งต้องให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหา ส่วนสันติสุขก็คุยไป พัฒนาก็เร่งลงไป เวลานี้ก็เร่งไปทุกกระทรวงทั้งการศึกษา อาชีพและรายได้ไม่ใช้เฉพาะภาคใต้แต่เป็นทุกพื้นที่ ถ้าถามแบบนี้ก็ตอบแบบนี้ ถ้าประคับประคองตอบตนก็โดนทุกเรื่อง เวลานี้ตนแก้ปัญหาทุกเรื่องที่มี 108 พันเรื่อง ทำกันจนจะตายอยู่แล้ว
      
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมวิธีการเผาโรงเรียนถึงได้ย้อนกลับมาอีก พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ต้องไปถามคนเผา เมื่อถามว่า พอจะประเมินได้หรือไม่ว่าเพราะอะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผู้ก่อเหตุต้องการให้เกิดความหวาดกลัว เปิดช่องทางการสื่อสารกับสังคม ให้สังคมโลกรู้ สื่อก็โฆษณาช่วยเข้าไป เขาใช้กำลังสู้เราไม่ได้ เขาก็ต้องใช้วิธีการโฆษณาให้ต่างชาติเห็นเดี๋ยวก็เข้ามา ก็โฆษกให้เขาไปเรื่อย ๆ แล้วกัน
      
       เมื่อถามว่า กลุ่มอาร์เคเคยังมีอยู่จำนวนมากหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ลดลงเรื่อยๆ ปะทะกันบ้างแต่มีไม่เยอะขนาดนั้น เป็นชาวบ้านนุ่งโสร่งถึงเวลาก็ไปยิงคน สื่ออย่าไปเข้าข้างและไปขยายให้เขา ต้องเสนอข่าวที่เกิดประโยชน์กับบ้านเรา ถ้าเราถามเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือแผนปฏิบัติงานแล้วประเทศได้อะไรใครได้ ฝ่ายนู้นได้สร้างความหวาดกลัว สร้างสถานการณ์ให้ต่างประเทศเห็น นี่แหล่ะท่านทำแบบนี้มันจะเป็น เมื่อถามว่าวันนี้นายกฯ จะมีแนวทางเข้าถึงพัฒนาพื้นที่ภาคใต้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้ามาชาติหนึ่งแล้ว วันนี้ขับเคลื่อนทุกกระทรวงและที่ผ่านมาทุกกระทรวงก็มีงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมาเขาไม่ทำ มาทำวันนี้
“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม
       
“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม
       
“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม
       
“บิ๊กตู่” หงุดหงิด ถูกมองโจรใต้เผาโรงเรียนตบหน้านายกฯ ซัดพวกก่อเหตุไม่ใช่มุสลิม
        

สส.500 คน ประชาชนเลือกตรงได้เพียง 77คน ที่เหลือ คนดีเลือก 423 คน

ประชาชนยังไม่เข้าใจการเมืองดีพอ! !!!
สส.500 คน ประชาชนเลือกตรงได้เพียง 77คน ที่เหลือ คนดีเลือก 423 คน
ซึ่งเป็นไปตามที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ ว่า การปฎิรูปการเมืองตามแนวทาง ของ กปปส จนมาถึง คณะรัฐประหาร คนดี มีสูตรสำเร็จ คือ การลดทอนสิทธิประชาชนใหมากที่สุด โดยการอ้าง ว่า กลัวกลุ่มการเมือง กลัวการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง

ล่าสุด เจ้าเก่า คนเดิม นายชัยอนันต์ สมุทรวานิช สนช. ได้ให้ความเห็นเรื่องการ เลือกนายกรัฐมนตรี และ สส.ดังนี้

การแก้ปัญหาทางการเมือง อยู่ที่การวางกรอบอำนาจให้การเมืองส่วนบนมากกว่า ส่วนล่าง จึงจำเป็นต้องอุดช่องว่างของปัญหาการเมืองด้วย การ ลดอำนาจของ ส.ส.โดยลดจำนวน ส.ส.ให้เหลือเพียง 77 คน มาจากการเลือกตั้งภายในจังหวัดๆละ 1 คน ใช้เขต จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่าการทำหน้าที่ของ ส.ส.ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางเทคนิค เรื่องวิชาการ จึงไม่ จำเป็นต้องมีจำนวนมาก และให้เน้นการกระจายอำนาจไป ยังท้องถิ่น เพื่อให้ปัญหาในท้องถิ่นมีคนในพื้นที่ดูแลได้ อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบนี้ ส.ส.ก็ไม่ จำเป็นต้องสังกัดพรรค และจะช่วยลดปัญหาการคอรัปชั่น ลงอีกด้วย เพราะหากมีจำนวน ส.ส.เยอะ และมีการ คอรัปชั่นเกิดขึ้น ก็จะควบคุมได้ยาก แต่หากเน้นงานท้อง ถิ่นมากขึ้น เมื่อมีการคอรัปชั่นเกิดขึ้น ประชาชนในท้องถิ่น จะเห็นได้ง่าย

ส่วนวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ตนไม่เห็นด้วยกับระบบ การเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะระบบเลือกตั้งใน ประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมเช่น ยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่า ราชการจังหวัด เป็นต้น จึงอาจก่อให้เกิดการเอื้อ ประโยชน์ได้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงควรมาจากการโหวต ในสภา โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ส.ส. ทั้งนี้หากมีการ ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีการลง ประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ความขัดแย้งที่ต้องการ ขอความเห็น เชื่อว่าประชาชนจะยอมรับโดยปริยาย
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

ข้อมูล กลาโหมเกี่ยวกับสื่อมวลชน

"กลาโหม"ชงข้อมูลปฏิรูป"สื่อ"ซัดผู้ประกาศเป็นดาราหรูหรา-นักข่าวตัวจริงไส้แห้ง

เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 08:00 น.
เขียนโดย
isranews

เปิดรายงานข้อมูล"สื่อ" ในมือสนง.ปลัดกลาโหม ชง"สปช."เริ่มงานปฏิรูปทางการ พบปัญหาสำคัญเพียบ ไม่ทำหน้าที่สาธารณะ ตรวจสอบผู้มีอำนาจ"เลือกข้าง"สนับสนุนนายทุน รับใช้นักการเมือง เห็นเงินสำคัญกว่า "จรรณยาบรรณ" กลายเป็นเครื่องมือโฆษณา ผู้ประกาศกลายเป็นดาราแสดงบท"อ่านข่าว" เข้าสังคมหรูหรา นักข่าวทำงานจริงไส้แห้ง "เด็กใหม่ประสบการณ์น้อย"-"Social media" พื้นที่ระบายอารมณ์ ปลุก "ระดมพล" 

newssss

ไม่ว่าการปฎิรูป "สื่อสารมวลชน" ซึ่งถูกระบุชัดเจนให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการปฏิรูปประเทศไทย 11 ด้าน ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะกำลังเกิดขึ้นในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร

แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัดเจนในขณะนี้แล้ว คือ ในมุมมองของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม "สื่อมวลชน" คือจุดเริ่มต้นสำคัญสำคัญอย่างในปัญหาความขัดแย้งของประเทศที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของสื่อกระแสหลักที่ไม่ทำหน้าที่เพื่อสาธารณะ ตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐ เพราะถูกครอบงำทางโครงสร้างความเป็นเจ้าของ หรือถูกควบคุมโดยรัฐ นายทุน และนักการเมือง

ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ถูกใช้เป็นพื้นที่ระบายอารมณ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ไปจนถึงระดมพลในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่าจะมีหน้าที่ใดๆ ต่อสังคมโดยภาพรวม วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ส่วนสื่อสารมวลชนบางกลุ่มทำตัวเป็นดาราค่าตัวแพง ผู้ประกาศข่าวกลายเป็นดาราที่แสดงเพียงบทอ่านข่าว ขณะที่ผู้สื่อข่าวที่ทำงานหนักจริงจังมีรายได้น้อยแทบเลี้ยงครอบครัวไม่รอด

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ ของ คสช. ได้สรุปผลการศึกษาข้อมูลการทำงานของสื่อมวลชน สภาพปัญหา และกรอบความเห็นร่วมของประชาชน เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้ สปช. นำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา และข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต ใช้ชื่อว่า "กรอบความเห็น ปฏิรูปประเทศไทย ด้านสื่อสารมวลชน" มีความยาวประมาณ 78 หน้า 

มีข้อมูลสำคัญหลายส่วน อาทิ สภาพปัญหา โครงสร้างการทำงานของสื่อยุคปัจจุบัน เสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ การปรับปรุงบทบาทของสื่อ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับดูแลสื่อ เป็นต้น  

ทั้งนี้ ในเอกสารดังกล่าว ได้ระบุสภาพปัญหาด้านสื่อสารมวลชน ว่า ในห้วงวิกฤติความขัดแย้งที่ผ่านมา เริ่มจากสื่อสารมวลชนกระแสหลักที่ไม่ทำหน้าที่เพื่อสาธารณะ เนื่องจากไม่พยายามแสวงหาความจริงหรือตรวจสอบผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ระดับชาติซึ่งถูกครอบงำทางโครงสร้างจากความเป็นเจ้าของ หรือการควบคุมโดยรัฐ นายทุน และนักการเมือง

ขณะที่หนังสือพิมพ์ระดับชาติก็ถูกมองว่า “เลือกข้าง” ด้วยอคติหรือผลประโยชน์แอบแฝง ตามมาด้วย สื่อกระแสรองอย่างโทรทัศน์ดาวเทียมเคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และวิทยุธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เป็นกลางให้ข้อมูลข่าวสารด้านเดียว แถมยังเผยแพร่ความเกลียดชังให้สังคมแบ่งแยกกันมากขึ้น

ล่าสุดวิกฤติใหม่ที่อยู่ในช่วงความขัดแย้ง คือ “สื่อใหม่ (New Media) อย่างสื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งเกิดจากสื่อสังคม(Social media)” ซึ่งมักถูกใช้เป็นพื้นที่ระบายอารมณ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ไปจนถึงระดมพล ในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่าจะมีหน้าที่ใดๆ ต่อสังคมโดยภาพรวม วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ศักยภาพทางการเมืองของสื่อใหม่นี้ปรากฏทั้งในแง่บวกและลบ เอื้ออำนวยการมีส่วนร่วมทางการเมือง ควบคู่ไปกับการขยายความเข้มข้นของการแบ่งขั้วทางการเมือง

ความคาดหวังจากประชาชนต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชน พบว่าสื่อสารมวลชนจะต้องรักษาจรรยาบรรณ มีความเป็นกลาง มีหน่วยงานเฝ้าระวังการนาเสนอข่าวของสื่อสารมวลชน ไม่ให้สร้างความขัดแย้ง แตกแยก ควรมีบทลงโทษสื่อสารมวลชนที่นาเสนอข้อมูลเท็จ บิดเบือน หรือสร้างกระแสปลุกปั่น เพื่อให้สื่อสารมวลชนได้ทาหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาธารณะ ให้การศึกษา และให้ความบันเทิงในกรอบมาตรฐานวิชาชีพ

หลายฝ่ายก็ยังตั้งความหวัง จะให้สื่อสารมวลชนเป็นผู้หาทางออกให้สังคม เพราะสื่อสารมวลชนยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ตรงกลางของสังคมอยู่ดี แต่เมื่อสื่อสังคมออนไลน์ถือกำเนิดมาและเริ่มแพร่กระจายกว้างขวาง การเข้าไปใช้สื่อใหม่นี้ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ก็เริ่มปรากฏเค้าลางของความหวังทางการเมืองแบบใหม่ที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์แบบเดิมๆ เพราะผู้ใช้สื่อสามารถกาหนดวาระข่าวสารได้เอง และเลือกที่จะสื่อสารกับเครือข่ายที่คิดเห็นเหมือนๆ กันได้ สามารถสร้างการรับรู้ตัวตนสู่สาธารณะผ่านสื่อใหม่ได้

กรอบความเห็นร่วมเพื่อการปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน ในการปฏิรูปสื่อสารมวลชนปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นไม่ให้เกิดความแตกแยก หรือทำให้ความขัดแย้งในสังคม จนยกระดับเป็นความรุนแรง เนื่องจากการนำเสนอข้อมูล และการใช้ภาษาที่ปลุกเร้าและกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง (Hate speech) หรือการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)และปลุกระดมให้มวลชนคู่ขัดแย้งใช้ความรุนแรงต่อกัน การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ บิดเบือนไม่รอบด้าน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ทั้งนี้ เพราะสื่อสารมวลชนขาดความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรวิชาชีพสื่อและหน่วยงานที่รับผิดชอบขาดการควบคุมกำกับดูแล ไม่ดำเนินการอย่างจริงจังให้บุคลากรและสื่ออยู่ในกรอบ มาตรฐานจรรยาบรรณของวิชาชีพ และบทบาท อิทธิพลของเจ้าของกิจการสื่อรวมถึงประชาชนผู้บริโภคสื่อ ขาดวิจารณญาณ เหล่านี้เป็นสาเหตุส่งผลให้ความขัดแย้งในสังคมขยายตัวเป็นการใช้ความรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้

ฉะนั้นสื่อสารมวลชนจึงจาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อสารมวลชนทั้งระบบให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังของประชาชน ถึงความผาสุก สงบร่มเย็นและความเจริญก้าวหน้าของสังคมไทยอย่างยั่งยืน คณะเตรียมการปฏิรูปฯ ได้ดำเนินการสรุป กรอบความเห็นร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับออกมาเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ (1.) การปฏิรูปกิจการและการประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบ (2.) เสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ และ (3.) คุณธรรมและจริยธรรมของสื่อ

รายงานการศึกษาข้อมูลด้านสื่อ ยังระบุด้วยว่า การปฏิรูปสื่อสารมวลชน คือ การปรับตัวของสื่อสารมวลชน และผู้เสพสื่อ(ผู้บริโภคสื่อ) ไปพร้อมๆกันให้สมดุลสมกัน สื่อไม่หลอกผู้เสพสื่อ และผู้เสพสื่อไม่โดนจูงใจหรือมีภูมิป้องกันความเสี่ยงไม่โดนหลอกง่าย

โดยรากฐานปัญหาส่วนหนึ่ง มาจากสื่อสารมวลชน และการสร้างความเข้าใจที่มีผลต่อระบบแนวความคิดของคนในชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องมีสื่อสารมวลชนที่ทาหน้าที่ของสื่ออย่างที่ควรจะเป็น คือ การให้ข่าวสารที่มุ่งสร้างความปรองดองให้คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพัฒนาไปในแนวทางที่ยั่งยืนเหมาะสมกับมิติพื้นฐานวัฒนธรรมและ

จิตวิญญาณประเทศไทยในขณะที่สื่อรับใช้สังคมด้วยการนำความจริงมารายงานตามที่ได้เห็น ได้ยินการทำหน้าที่ของสื่ออย่างซื่อตรงต่ออุดมการณ์วิชาชีพ ก็เท่ากับร่วมกันปฏิรูปสิ่งต่างๆนั้นให้สำเร็จ ดังนั้น สื่อสารมวลชนทั้งระบบ ควรทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาที่ดีแก่สังคม เสมือนเป็นอีกกลไกพิเศษ ตรวจสอบบุคคล องค์กรต่างๆและกลุ่มก้อนผลประโยชน์ โดยคนปกติไม่อยากหูหนวกตาบอด แม้เกิดมาพิการก็ต้องหาทางชดเชยฉันใดก็ฉันนั้น สื่อควรเป็นตาที่ให้ความสว่างทางปัญญาแก่สังคม ไม่ใช่ครอบงำด้วยความไม่รู้หรือโฆษณาชวนเชื่อจนแสงสว่างแห่ง

"ปัญญานั้นถูกบดบังให้มืดมิด สื่อควรเป็นหูที่ได้ยินชัดเจนแก่สังคม การรับรู้ของประชาชนต้องไม่คลุมเครือ ครึ่งๆกลางๆจริงปนเท็จ หรือถูกบิดเบือน และต้องไม่แปลความผิดๆแนวทางการทำงานของสื่อสารมวลชนทั้งระบบ จึงเป็นหัวใจ ควรทำงานอย่างสอดคล้อง ยึดหลักวิชาการและกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นพื้นฐาน เช่น การเข้าสู่ระบบธุรกิจของระบบทุนนิยม คือ ปัญหาใหญ่ หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ ต้องทำรายได้ตามที่เจ้าของกิจการ และผู้ถือหุ้นสั่งการพนักงาน นักข่าว และผู้ทำงาน"

"สื่อสารมวลชนทั้งหลายก็เริ่มคิดว่าเงิน คือผลตอบแทนสาคัญในอาชีพ จรรยาบรรณที่ว่ายอมเสียเงินและค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพื่อความจริง กลายเป็นการขายเนื้อที่โฆษณา และขายข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับลูกค้าและสินค้า จึงกลายเป็นเครื่องมือโฆษณาประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อในที่สุด"

เหล่าบรรณาธิการข่าว หันเหความสนใจไปจากงานของสื่อสารมวลชนที่เคยยึดเป้าหมาย ของการทำหน้าที่พลเมืองดีต่อสังคมไป เป็นการทำลายความจงรักภักดีที่สื่อสารมวลชนเคยมีต่อผู้อ่าน และทำลายความมั่นคงเติบโตของธุรกิจสื่อสารมวลชนในระยะยาว

ความเสื่อมของนักสื่อสารมวลชน ทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ เกิดจากสาเหตุอื่นๆอีกมาก สื่อสารมวลชนทำตัวเป็นดาราค่าตัวแพง ผู้ประกาศข่าวกลายเป็นดาราที่แสดงเพียงบทอ่านข่าว ส่วนผู้สื่อข่าวที่ทำงานหนักจริงจังมีรายได้น้อยแทบเลี้ยงครอบครัวไม่รอด ผู้สื่อข่าวสงครามบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย ส่วนดาราอ่านข่าวหน้ากล้องเข้าสังคมหรูหรา

"นักข่าวรุ่นใหม่เด็กเกินไป งานมากเกินไปเกินกว่าจะเข้าหาความจริงได้ลึกซึ้ง ประสบการณ์น้อยเกินไปจนตกเป็นเครื่องมือของนักประชาสัมพันธ์ได้ก็มีมาก นักข่าวที่ร่วมมือกับนักการเมืองก็มีไม่น้อยเช่นกัน ทำให้มุมมองความจริงเรื่องประชาธิปไตยเปลี่ยนไป นักข่าวรุ่นแรกเริ่มที่เคยเป็นหัวใจของพลังสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในอดีตหายไป ดังที่กล่าวข้างต้นจึงเห็นว่างานสื่อสารมวลชนนั้นมีความสำคัญมากกว่าความเป็นธุรกิจสุดท้ายนักสื่อสารมวลชน ก็คือปุถุชน เพียงแต่ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความสามารถ มุ่งมั่นและมีโอกาส ที่จะได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน"

"ส่วนจะเป็นนักสื่อสารมวลชนที่ดีมีคุณภาพ ได้จริงและนานแค่ไหน ขึ้นอยู่ที่จิตสานึกส่วนตัวและตัวตนที่แท้จริงในความเป็นคนๆนั้น สรุปได้ว่า ขอให้สื่อสารมวลชนได้เกิดความตระหนักถึงหน้าที่และบทบาทของสื่อสารมวลชน มองไปพร้อมๆ กัน"