PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่พุทธอิสระ โดนวางยา

"หลวงปู่พุทธะอิสระ" โดนวางยา !
ชี้ ! ทรมานเหมือนถ่านไฟอยู่ในท้อง !
วันที่ 6 ส.ค. 57 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า แอดมินผู้ดูแล เพจหลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้โพสต์ในเพจบุ๊คตามคำที่หลวงปู่ได้พูดว่า
ฉันไม่สบายตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ฉันว่าฉันก็พยายามระมัดระวังแล้วนะ ยังเสียท่าให้คนวางยาเอาจนได้ มาในรูปผสมกับน้ำมังคุด พอฉันเข้าไปเท่านั้นแหละคุณเอ๋ย ยังกับโซดาไฟ มันร้อนตั้งแต่ลำคอจนถึงลำไส้ แต่ก็ยังทนนำปฏิบัติธรรมสวดมนต์จนเสร็จเพราะกลัวจะเสียฟอร์ม คืนนั้นทั้งคืนต้องหาวิธีขับถ่าย ดื่มน้ำหมดไป 2 โหล
พยายามทำให้ขี้ ให้เยี่ยว ทั้งคืนแทบจะไม่ได้หลับ มันทรมานแสบร้อนกระเพาะลำไส้มากเท่ามาก ยังกับมีถ่านไฟแดงๆลุกโชนอยู่ในท้องฉะนั้น ต้องใช้วิชาทั้งหมดเท่าที่มีเอามาเป็นที่พึ่ง เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมาน เช้าขึ้นยังตะกายไปบิณฑบาตจัดรายการ แต่สิ่งที่ตามมาทีนี้ไข้จับ ฉันอะไรนิดอะไรหน่อยก็ท้องอืดแน่น ต้องอาศัยสมุนไพรเคลือบกระเพาะที่ตนทำ เพื่อบรรเทาความแสบร้อน ตามด้วยยาเคลือบกระเพาะน้ำขาว ต้องฉันทุก 2 ชั่วโมง
วันที่สองของการโดนวางยา แม้มีชีวิตรอด แต่แทบหมดแรงหมดสภาพ รักษาฟอร์มเอาไว้ไม่อยู่แล้ว ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามสังขาร ไม่สามารถเดินบิณฑบาตได้ ทั้งไข้ ทั้งแสบกระเพาะลำไส้ ฉันอะไรนิดหน่อยก็อืด คงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน กว่ากระเพาะลำไส้จะกลับคืนเข้าที่เข้าทาง
ที่จริงมันก็น่าให้เขาวางยาหรอกนะ เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาใครๆก็อยากให้ฉันตาย โดยเฉพาะพวกทุรชนคนพาล เพราะฉันประกาศชัดเจนว่า จะต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม และเผอิญไอ้คนไม่ถูกต้องไม่เที่ยงธรรมมันดันมีเต็มบ้านเต็มเมือง คนชั่วคนพาลพวกนี้จึงได้เดือดเนื้อร้อนใจ ต้องการจะกำจัดผู้ขัดขวางผลประโยชน์ให้หมดไป ซึ่งก็ต้องโทษตัวฉันเอง ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับความชั่วร้ายใดๆ ชีวิตจึงตกอยู่ในการปองร้ายของคนพาลดังกล่าว
ไม่ต้องห่วง ไม่มีครั้งที่สองแน่ ฉันจะไม่ยอมตายง่าย จนกว่าคนไทยทุกคนมีความสุข ประเทศชาติชนะ พระเจ้าอยู่หัวมีความสุข และมหาปณิธานของพระโพธิญาณจะบรรลุดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้
จาก
(พลังประชาชน โค่นล้มระบบทักษิณ)

เกม "ลึก" แผน "ลับ" ลบแผล "เสียของ" ตอน...ก่อน 22 พ.ค.

เกม "ลึก" แผน "ลับ" ลบแผล "เสียของ" ตอน...ก่อน 22 พ.ค.

วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08:09:00 น.



มติชนรายวัน 4 สิงหาคม 2557


เหตุการณ์ครั้งนั้น ปลุกให้ประเทศไทยเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ความคิดหนึ่ง เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคือปัญหาทุกอย่างของประเทศ

อีกความคิดหนึ่ง เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นข้ออ้างสำหรับกลุ่มบุคคลที่ต้องการล้มระบบการปกครองที่เปิดทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรี 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญที่ตัวแทนประชาชน ในนามของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกันจัดทำขึ้น

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จูงใจให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มหาเศรษฐีของเมืองไทย กระโดดเข้าสู่วงการเมือง

การกระโดดเข้าสู่การเมืองครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณได้นำเอาเทคนิคการบริหารงานทางธุรกิจ เข้ามาดำเนินการทางการเมือง

ทั้งการสำรวจวิจัย การจัดทำโครงการขนาดใหญ่ การทำการตลาดในช่วงหาเสียง และการเจรจาต่อรองกับกลุ่มการเมืองเก่า

วิธีการต่างๆ ดังว่า ทำให้ พรรคไทยรักไทย ที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นหัวหน้าพรรค ชนะการเลือกตั้ง และเข้าสู่การบริหารประเทศในปี 2544 



ผลการเลือกตั้งได้เบียดพรรคการเมืองเก่า โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ให้กลายเป็นฝ่ายค้าน 

การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต นโยบายประชานิยมทำให้ผู้คนจำนวนมากหลงใหลศรัทธา

กระทั่งการเลือกตั้งในปี 2548 พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงท่วมท้นกว่าปี 2544 เสียอีก

แต่ขณะเดียวกัน การบริหารงานสไตล์ พ.ต.ท.ทักษิณก็สร้างศัตรูในแวดวงการเมือง และแวดวงธุรกิจไว้มหาศาล

รอยปริแตกของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดขึ้นเมื่อกำเนิดกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และขยายผลกลายเป็นม็อบในปี 2549

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกโจมตีด้วยข้อหาฉกรรจ์ 2 ข้อ

หนึ่ง คือทุจริตทางนโยบาย

หนึ่ง คือไม่จงรักภักดี


ดูเหมือน ข้อหาฉกรรจ์ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณถูกกล่าวหา จะฝังลึกในห้วงสำนึกของฝ่ายคัดค้านระบอบ พ.ต.ท.ทักษิณ มาจนถึงปัจจุบัน

พ.ต.ท.ทักษิณเจอมรสุมหนักทั้งเรื่องซื้อขายที่ดินรัชดา ขายหุ้นชินคอร์ป รวมไปถึงการบริหารราชการแผ่นดินแบบ "ล้วงลูก" และผูกขาด

การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มมีอุปสรรค พ.ต.ท.ทักษิณเริ่มถอย ทั้งลาออก และยุบสภา แต่ก็เกิดปัญหาเพราะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ ที่เห็นว่าหนทางแพ้เลือกตั้งมีมากกว่าชนะ

ในที่สุด พรรคการเมืองเหล่านั้นไม่ยอมลงสมัครรับเลือกตั้ง เกิดเป็นเหตุให้พรรคการเมืองเล็กมีค่า และมีการกล่าวหาว่าจ้างวานให้พรรคการเมืองเล็กลงสู่สนามเลือกตั้ง 

กระทั่งการเลือกตั้งเป็นโมฆะ

เหตุการณ์ในประเทศย่ำแย่ มีข้อเสนอเรื่องนายกฯมาตรา 7 แต่ในที่สุดก็ล้มแผนไป ขณะเดียวกันได้เกิดกระแสใหม่ที่ถูกเรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์" ขึ้นมา

ในปี 2549 พ.ต.ท.ทักษิณได้รับสัญญาณเตือนว่า จะเกิดการยึดอำนาจ แต่ไม่เชื่อ เพราะคิดว่าการรัฐประหารน่าจะหมดไปจากประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 แล้ว

ขณะเดียวกัน กลุ่มคนเสื้อแดงได้เกิดขึ้นมาประชันกับกลุ่มคนเสื้อเหลือง

แล้วในที่สุด เกิดการประโคมข่าว กลุ่มคนเสื้อแดงอาจจะปะทะกับกลุ่มคนเสื้อเหลือง ในวันที่ 20 กันยายน 2549

จน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ขณะนั้นถือเป็นเหตุ ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจในช่วงค่ำวันที่ 19 กันยายน 2549 

ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คนที่ไม่เชื่อว่าประเทศไทยจะมีการปฏิวัติ กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในต่างประเทศ และหลังจากวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา สถานการณ์การเมืองไทยก็ผูกโยงกันมาเรื่อยจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเหตุ - "มติชน" จะนำเสนอรายงานพิเศษเบื้องหลังการเกิดวิกฤตทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยรวบรวมเป็นตอนๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ย้อนถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งรายงานพิเศษเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม เป็นต้นไป

ใครเป็นใครในสนช.แยกเป็นหมวดหมู่

ใครเป็นใครในสนช.

1. นายทหาร ตำรวจ ชื่อดัง
- พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ (รักษาสันติภาพติมอร์/ไฟใต้)
- พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร (อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 กรณีเขาพระวิหาร)
- พลเอก ธีรเดช มีเพียร (อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน)
- พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (ผบ สส ยุค คมช)
- พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ (อดีต ผบทร)
- พลโท ปรีชา จันทร์โอชา (น้องชายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
- พลตรี จารึก อารีราชการัณย์
- พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
- พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
- พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
- พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
- พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์
- พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย (พ่อน้องพิมพ์ดาว พานิชสมัย)
- พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม (อดีต สว)
- พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (ผบทร)
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
- พลเอก อู้ด เบื้องบน (ปลัดกระทรวงกลาโหม)
- พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์

2. ภาคธุรกิจเอกชน/การเงิน
- กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูล (Toshiba)
- นายบุญชัย โชควัฒนา (ประธานกรรมการสหพัฒนพิบูลย์)
- นายสม จาตุศรีพิทักษ์ (พี่ชายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์สมัยรัฐบาลพลเอกเชาวลิต)
- นายบุญทักษ์ หวังเจริญ (CEO ธนาคารทหารไทย)
- นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ (นายกสมาคมอาหารแช่แข็งไทย)
- นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ (นายกสมาคมผู้ผลิตสบู่/ที่ปรึกษากฎหมาย)
- นางเสาวณี สุวรรณชีพ (ธนาคารแห่งประเทศไทย, กรรมการบริษัท)
- นายอิสระ ว่องกุศลกิจ (ประธานกรรมการกลุ่มน้ำตาลมิตรผล)

3. รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานในกำกับรัฐ
- นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (ปตท)
- นายสมพล เกียรติไพบูลย์ (ประธาน กลต)
- นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร (อดีตประธานกรรมการบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย)
- นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย (ผู้บริหารบริษัท/ บอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง)
- นายสุพันธุ์ มงคลสุธี (ประธานสภาอุตสาหกรรม)

4. นักวิชาการ เทคโนแครต มหาวิทยาลัย
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี (ความเชี่ยวชาญเศรษฐกิจการค้า)
- นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (NIDA)
- นายนรนิติ เศรษฐบุตร (ธรรมศาสตร์ อดีตอธิการบดี)
- นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดี ม เกษตรศาสตร์)
- นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ (อธิการบดี ม ธรรมศาสตร์)
- นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย (อธิการบดี ม ขอนแก่น)
- นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (อธิการบดี มศว.)
- นางนิสดารก์ เวชยานนท์ (NIDA)
- นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต (อธิการบดี ม เชียงใหม่)
- นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ (NIDA)
- นายภิรมย์ กมลรัตนกุล (อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน (อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)
- นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

5. ข้าราชการ อดีต/ปัจจุบัน
- นายปรีชา วัชราภัย (เลขาธิการ ก.พ.)
- นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร (อดีตผู้ว่า กรรมการ ก.พ - รัฐศาสตร์จุฬา)
- นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ (อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน และปลัดกระทรวงพาณิชย์)
- นายสีมา สีมานันท์ (อดีตเลขาธิการ ก.พ.)
- นายกล้านรงค์ จันทิก (อดีตเลขา ปปช)
- นายกิตติ วะสีนนท์ (อดีตทูต)
- นายชาญวิทย์ วสยางกูร (อดีตผู้ว่า รัฐศาสตร์จุฬา)
- นายแพทย์ธํารง ทศนาญชลี (อดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการโรงงานยาสูบ)
- นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐศาสตร์ จุฬา)
- นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา (อดีตผู้ว่าฯ - เคยขึ้นเวทีมัฆวาน ในการชุมนุมของพันธมิตร)
- นายภาณุ อุทัยรัตน์ (อดีต ผอ ศอ บต - รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
- นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ (อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัด)
- นายประมุท สูตะบุตร (อดีตข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี)
- นายพรศักดิ์ เจียรณัย (ผู้ว่าราชการจังหวัด - รัฐศาสตร์ราม)
- นายวันชัย ศารทูลทัต (อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม)
- นายวิทยา ฉายสุวรรณ (ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ (อดีตทูต)
- นายศิระชัย โชติรัตน์ (อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
- นายสถิตย์ สวินทร (อดีตอธิบดีกรมป่าไม้)
- นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล (อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ)
- นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ (ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ)
- นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ)
- นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล (เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน/ประธานบริษัท ที่ปรึกษา)
- คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ (สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา)
- นายอําพน กิตติอําพน (อดีตเลขา ครม/ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ประธานบอร์ดการบินไทย)
- นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ (อดีตอธิบดีกรมที่ดิน)
- นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช (อดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ (เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

6. สว เก่า
- นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)
- นายสมชาย แสวงการ
- นายสมพล พันธุ์มณี
- นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (อดีตรองประธานวุฒสภา คนที่ 1 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์)
- นายเจตน์ ศิรธรานนท์ (แพทยศาสตร์ มหิดล)
- นายชัชวาล อภิบาลศรี
- นายตวง อันทะไชย (นิติศาสตร์)
- นายธานี อ่อนละเอียด (นิติศาสตร์)
- นายพีระศักดิ์ พอจิต (นิติศาสตร์)
- นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ (อดีตผู้บริหารโรงแรม และมูลนิธิ/องค์กรไม่แสวงหากำไร)
- นายวิทวัส บุญญสถิตย์ (อดีตผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม)
- นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
- นายสุธรรม พันธุศักดิ์
- นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล

7. มีประสบการณ์ทางการเมือง
- นายสมพร เทพสิทธา

8. นักกฎหมาย ตุลาการ
- นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (กรรมการกฤษฎีกา ที่ปรึกษาศาลปกครอง)
- นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ (อดีตเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา)
- คุณพรทิพย์ จาละ (อดีตเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา)
- นายพรเพชร วิชิตชลชัย (อดีตตุลาการศาลฎีกา มือร่างกฎหมายของ คสช)
- นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง (เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม)
- นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด (ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา)

9. มูลนิธิ/ NGO
- นายสนิท อักษรแก้ว (ศาสตราจารย์ด้านวนศาสตร์/ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย)

10. อื่น ๆ

- คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (บุตรสาวจอมพลถนอม กิตติขจร)
- นายมณเฑียร บุญตัน (นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย อดีต สว.)