PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชัย ชิดชอบ

ชัย ชิดชอบ (5 เมษายน พ.ศ. 2471 — ) อายุ 86 ปีเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​แบบสัดส่วน พรรคภูมิใจไทย ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคพลังประชาชน ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่โดนใบแดง [1] ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)หลายสมัย และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ[แก้]

นายชัย ชิดชอบ เกิดที่จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ [2]

นายชัย ชิดชอบ ใช้วุฒิการศึกษา ม.6 ถึง พ.ศ. 2539 ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี นายชัย จึงสมัครเรียนต่อ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐ
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชีวิตส่วนตัว นายชัย ชิดชอบ สมรสกับนางละออง ชิดชอบ มีบุตรชาย 5 คน หญิง 1 คน บุตรคนกลางคือนายเนวิน ชิดชอบ นายชัยชื่นชอบนักการเมืองชาวอิสราเอลคนหนึ่ง ที่ชื่อ โมเช่ ดายัน ถึง
ขนาดตั้งฉายาให้ตัวเองว่า "ชัย โมเช่"

งานการเมือง[แก้]

นายชัย ชิดชอบ เริ่มงานการเมืองจากการเมืองท้องถิ่น เป็นกำนันตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และทำธุรกิจโรงโม่หิน ชื่อโรงโม่หินศิลาชัย ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มงานการเมืองตั้งแต่
พ.ศ. 2500 โดยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคประชาธิปัตย์ แต่สอบตก [3] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัยติดต่อกัน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 (อิสระ) , 2522 (พรรคประชาราษฎร์), 2526 (พรรคกิจสังคม), 2529 (พรรคสหประชาธิปไตย) , 2535/2 2538 (พรรคชาติไทย) , 2539 (พรรคเอกภาพ) ​ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​แบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ. 2548 (พรรคไทยรักไทย) และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2549 [4]

นายชัย ชิดชอบ ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกครอบครองที่ดินสงวนของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการแจ้งให้กรมที่ดินเพิกถอนที่ดินดังกล่าว [5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 2[6]

ประธานรัฐสภา[แก้]

นายชัย ชิดชอบ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (ก่อนหน้านี้นายชัยได้ทำหน้าที่เป็นประธาน
สภาฯชั่วคราว ในการคัดสรรผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานสภาฯซึ่งนายยงยุทธ ได้รับเลือกไป เนื่องจากนายชัยเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในสภาฯ) นายชัยได้ทำหน้าที่ประธานโดยได้ขึ้นนั่งบนบัลลังก์

โดยที่เจ้าหน้าที่ยังมิได้อ่านประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งตามธรรมเนียม ทำให้นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส. ฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ได้ทักท้วง ซึ่งนายชัยอ้างว่าจะรีบไปงานศพ ทั้งนี้
ขณะที่นายชัยจะคุกเข่าสดับพระบรมราชโองการฯ ก็เกิดเซคะมำ และเมื่อคุกเข่ารับฟังเสร็จแล้ว เมื่อจะลุกขึ้นก็ลุกไม่ขึ้น แต่นายชัยก็พยายามจะลุกให้ได้ จึงทำให้เซถลาไปข้างหน้า จนนายนิสิต สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ที่มาร่วมในพิธีด้วย รีบเข้าไปพยุงนายชัยให้ยืนขึ้นเป็นปรกติ และเดินกลับไปห้องประชุมได้[7]

อนึ่ง ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส. หนองบัวลำภู พรรคพลังประชาชน ได้เสนอ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลัง
ประชาชน เป็นผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แต่นายจุมพฏไม่เห็นชอบด้วย นายพิษณุจึงมีทีท่าจะเสนอคนอื่นแทน

นายชัย ชิดชอบ จึงกล่าวขึ้นกลางที่ประชุมว่า "จะเสนอใครถามเจ้าตัวก่อนว่าเขารับหรือไม่ เจ้าตัวไม่เอายังเสือกเสนออยู่อีก จะเสนอใครก็รีบเสนอ เสียเวล่ำเวลา" ท่ามกลางความตกตะลึงของ ส.ส. ในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ความหงุดหงิดของนายชัยเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มประชุมแล้ว เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงของ ส.ส. ที่เข้าประชุม จนนายชัยต้องกดสัญญาณเรียกถึงหกครั้ง และสั่งให้นับองค์ประชุมอีกหลายครั้ง ทั้งนี้ ในวันต่อมา นายชัยก็ได้กล่าวขอโทษ ส.ส. สำหรับกรณีดังกล่าว[8] [9] [10] [11]

ด้วยความที่นายชัย ชิดชอบ ได้กลับมาเล่นการเมืองอีกครั้งเมื่อมีอายุมากแล้ว จึงได้รับการเรียกขานเล่น ๆ จากสื่อมวลชน ว่า "ปู่ชัย" หรือ "ลุงชัย" และในปลายปี พ.ศ. 2552 ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาว่า "ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์" อันเนื่องจากการทำหน้าที่ประธานสภาฯที่มีลูกล่อลูกชนและมีมุกตลกแพรวพราวเสมอ[12]

สถานการณ์ข่าว 9ต.ค.57

สปช.ใหม่ รายงานตัววันที่ 2 คึกคัก

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เวลา 08.00 น. ที่อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เปิดให้สมาชิก สปช.เข้ารายงานตัวเป็นวันที่ 2 ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยนายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ เดินทางเข้ารายงานตัวเป็นคนแรกในเวลา 08.10 น. จากนั้นสมาชิกคนอื่นๆต่างทยอยเข้ารายงานตัว อาทิ นายเจน นำชัยศิริ นายกาศพล
แก้วประพาฬ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา นางสุกัญญา สุดบรรทัด พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ นายชัย ชิดชอบ เป็นต้น และในเวลา 08.35 น.นายพรเพชร
วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เดินทางมาตรวจความเรียบร้อยสถานที่รับรายงานตัวของ สปช.ด้วย
---
กกต.พร้อมส่งประวัติผู้สอบตกสปช.ถึงมือคสช.พรุ่งนี้

นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงานกกต.ได้จัดเตรียมประวัติและรายละเอียดของผู้ที่เสนอชื่อเข้ารับคัดเลือกมาเป็นสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สปช.) ในส่วนของผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. ทั้งหมด 7,370 คน แบ่งเป็น 11 ด้าน 4,585 คน และระดับจังหวัด 2,785 คน ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประสานมา เพื่อขอนำรายชื่อและประวัติของบุคคลที่ไม่ได้รับคัดเลือกเป็นสปช.กลับมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจจะได้รับการพิจารณาเข้ามาช่วยเหลืองานด้านการปฏิรูปประเทศ เนื่อง

จากเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าสามารถส่งประวัติดังกล่าวได้ภายในวันศุกร์ที่ 10 ต.ค.นี้แน่นอน
-----
ชัยไม่ขัดนั่งปธ.สปช.หากถูกทาบ ยันภูมิใจไทยหนุนปฏิรูป

ที่รัฐสภา วันที่ 9 ต.ค.2557 นายชัย ชิดชอบ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวภายหลังรายงานตัวถึงตำแหน่งประธานสปช.ว่า หากมีการทาบทามคิดว่า ตราบใดที่กำลังวังชา ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ได้ เพราะมีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนชาติ ส่วนนโยบายของพรรคพรรคภูมิใจไทย อยากให้มีการปฏิรูปทุกด้าน เพราะตั้งแต่เล่นการเมืองมา 42 ปี ครั้งนี้เฟะที่สุด โดยเฉพาะเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น สำหรับแนวทางการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ยังไม่ครอบคลุม คิดว่าน่าจะเพิ่มตัวแทน สปช.จากทั้ง 77 จังหวัด ควรเสนอแนวทางปฏิรูป

เมื่อถามว่าระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ 6 เดือนถือว่าเหมาะสมหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ถือว่าเร็วไป แต่เมื่อคสช.วางกฎเกณฑ์เอาไว้ก็น่าจะเร็วกว่านั้น ก็อยู่ที่แนวความคิด และที่วางกรอบไว้ไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ อยู่ที่การปรองดองด้วย ทุกฝ่ายต้องรวมความคิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

"นักวิชาการมีบทบาทสำคัญแต่ไม่เคยปฏิบัติเลย ต้องให้นักปฏิบัติมาทำกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ปฏิบัติได้หรือไม่ ทหารมีระเบียบวินัยตามครรลองของเขา จะทำอย่างไรให้นักการเมืองหรือผู้ที่จะมาแก้ไขปัญหามีแนวความคิด มีระเบียบวินัย ที่สำคัญต้องมีหิริโอตัปปะด้วย ส่วนร่างเสร็จแล้วดีก็ไม่ต้องทำประชามติแต่ถ้าเขียนไม่ดีค่อยทำ" นายชัย กล่าว

เมื่อถามว่าการปฏิรูปมีนักการเมืองเข้าร่วมน้อยจะมีผลกระทบหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ทุกพรรคการเมืองมีตัวแทนเข้ามาร่วมหมด แต่ไม่แสดงตัว เพราะไม่อยากแปดเปื้อน แต่ตนไม่กลัวแม้จะถูกโคลนตมก็สู้ เพราะต้องการที่จะปฏิรูปจริงๆ ทั้งนี้รู้สึกแปลกใจก่อนหน้านี้มีนักวิชาการออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการปฏิรูปเป็นจำนวนมาก แต่พอเอาเข้าจริงกลับไม่มีใครเข้ามาร่วมเลย
////////
มติปปช.ส่งปมถอดถอนยิ่งลักษณ์ให้สนช.

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เวลา 16.00 น. นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ชี้แจงกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติให้ส่งรายการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีรายละเอียดคือ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 มีมติชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (1) กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล อันเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 58 ให้ส่งรายงานและเอกสาร ที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 273 ต่อไปนั้นในระหว่างการจัดทำรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อส่งไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และได้มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์

ในวันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ประชุมเพื่อพิจารณาว่า จะส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จดังกล่าวไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ดำเนินการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม แต่การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลใช้บังคับต่อไป ทั้งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งมาตรา 6 ได้บัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสองร้อยยี่สิบคน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติด้วยเสียงข้างมากให้ส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมเอกสารและความเห็นไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
--------
ประยุทธ์ชี้ตีความถอดถอนเป็นเรื่องฝ่ายกฎหมาย

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เวลา 13.30 น.ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวถึงปัญหาการตีความอำนาจการพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ที่รับเรื่องมาจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่า เรื่องนี้มันเกิดขึ้นและเสร็จแล้วหรือยัง ที่ถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่มีอยู่แล้วนั้น คุณเป็นนักกฎหมายหรือ คุณจบกฎหมายกันมาหรืออย่างไร ให้ฝ่ายกฎหมายเขาคุยกันก่อนดีกว่า ส่วนตัวก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีหรือไม่มีอำนาจในเรื่องของการถอนถอด รัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่อยู่ ถ้าคุณบอกว่าเรื่องนี้ไม่ให้ถอดถอนคนที่เห็นด้วยเขาก็บอกว่าไม่ถอดถอน แต่คนอีกกลุ่มก็ออกมาบอกว่าถอดถอนได้ วันนี้มันมีอยู่สองข้างแล้วจะให้ตัดสินใจอย่างไร ถึงขณะนี้เขาก็ยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้สักอย่าง มันก็เป็นแบบนี้อยู่ตลอดจะไปไหนก็ไปไม่ได้

"ผมเองก็ยังไม่รู้ ยังพูดอะไรไม่ได้ จะบอกว่าอะไรถูกหรือผิดยังไม่ได้ เรื่องนี้ก็ต้องให้ผู้ที่รับผิดชอบหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเขาได้ตัดสินใจ พอจะเริ่มพูดหรือแสดงความเห็น พวกคุณก็ออกมาแสดงความเห็น แล้วมันจะทำอย่างไรกับประเทศดี ปล่อยให้คนที่รับผิดชอบทำงานกันบ้าง สื่อเองก็ข้อให้เสนอข้อเท็จจริงอย่าไปแสดงความคิดเห็นมากนัก ให้คนเขาคิด และทำงาน เราต้องช่วยกันรับผิดชอบ ไม่ใช่คุ้ยกันไปเรื่อย สร้างปัญหาต่อไปเรื่อยๆ แล้วใครรับผิดชอบ ผมนะ ผมคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างขุ่นเคือง
-----------
สุรชัยเชื่อปธ.สนช.ชงหารือสอยนิคม-สมศักดิ์สัปดาห์หน้า

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวถึงการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ส่งเรื่องคดีถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ว่า ขณะนี้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาสำนวนการถอดถอน ยังไม่ได้สั่งการอะไรลงมา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องมีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสนช. เพื่อดำเนินการภายใน 30 วันตามข้อบังคับการประชุม ทั้งนี้ หากนายพรเพชรเห็นว่า มีประเด็นที่จะต้องหารือก่อน อาจนำเข้าสู่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสนช. หรือ วิปสนช. ซึ่งเข้าใจว่า นายพรเพชร คงต้องการให้มีวิปสนช.ถาวรก่อน โดยล่าสุดที่ประชุมวิปชั่วคราวได้มีการจัดสมาชิกลงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำสนช.ประจำ 16 คณะเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอที่ประชุมสนช.รับรอง หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกสมาชิกเพื่อทำหน้าที่ในวิปสนช. ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่นายพรเพชรจะนำเรื่องถอดถอนเข้าหารือในที่ประชุมวิปสนช.ภายในสัปดาห์หน้า หรือหากนายพรเพชรคิดว่าไม่มีปัญหาก็ใช้อำนาจประธานสนช.บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระประชุมได้ ซึ่งคาดว่าสัปดาห์หน้าคงมีความชัดเจนมากขึ้น
//////
นายกฯรับมีปรับครม.ช่วยงานเพิ่ม

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เวลา 13.30 น.ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่จะมีการปรับครม.โดยแต่งตั้งนายอำนวย ปะติเส อดีตรมช.คลัง เข้ามาดำรงตำแหน่งรมช.เกษตรและสหกรณ์ ว่า คงต้องมาช่วยกัน ก็มีการเสนอตอนนี้ปัญหามันทับซ้อนกันมาก

เมื่อถามย้ำว่า สรุปว่าใช่นายอำนวยใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ยิ้มก่อนกล่าวว่า ไม่รู้ ให้รอดูการโปรดเกล้าฯก่อนแล้วกัน

ต่อข้อถามที่ว่า มีการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯไปแล้วหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ผมมีชื่อแล้ว คิดไว้แล้ว ก็ขอให้รอการโปรดเกล้าฯลงมา ทำไมจะต้องมาถามย้ำ มันอะไรนักหนา ก็ผมบอกว่าให้รอการโปรดเกล้าฯลงมาแล้วทำไมต้องมาถามอีกว่าทูลเกล้าฯไปแล้วหรือยัง จะถามด้วยไหมว่าผมเซ็นแล้วหรือยัง ก็ผมบอกแล้วว่าให้รอการโปรดเกล้าฯจะถามอะไรกันมากมาย

ผู้สื่อข่าวพยายามถามอีกว่า สรุปแล้วจะมีการปรับครม.กี่ตำแหน่งจะปรับให้ครบเต็มจำนวนหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า ตอนนี้มีอยู่เท่าไหร่ เมื่อผู้สื่อข่าวตอบว่า มีรัฐมนตรี 33 คน ขาดอยู่ 2
ตำแหน่ง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถาม แต่หันไปกระเซ้าผู้สื่อข่าวว่า "แล้วอยากเป็นกันไหมล่ะ"

ต่อข้อถามถึงกรณีที่ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ นพ.รัชตะตัดสินใจเอง เมื่อถามว่า จะทำให้เป็นบรรทัดฐานกับรัฐมนตรีคนอื่นที่มีตำแหน่งอื่นอยู่ด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า จะให้เป็นบรรทัดฐานอะไร คุณอย่ามาโยงกับพวกผมสิ อย่ามาสร้างแรงกดดัน เขาเป็นข้าราชการประจำ พวกสื่อก็อย่านำมาโยงเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องนั้น มันเป็นคนละเรื่องนะ
--------
"ไพบูลย์"สั่งปปท.ส่งเจ้าหน้าที่ประกบจ่ายเงินชาวนา

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) นายประยงค์ ปรียาจิตต์. เลขาธิการป.ป.ท. เปิดเผยว่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้สั่งการให้ป.ป.ท.เข้าร่วมตรวจสอบโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท. เนื่องจากเกรงว่าเงินจะไม่ถึงมือชาวนาหรืออาจจะถูกหัวคิว หรือชาวนาถูกเจ้าของที่ดินขอมีส่วนแบ่งในจำนวนเงินดังกล่าว ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานป.ป.ท.ในเขตพื้นที่ประจำภาคต่าง ๆ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การจ่ายเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกรณีที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะผิดปกติด้วย

นอกจากนี้ยังได้ประสานไปยังกรมวิชาการเกษตรเพื่อขอเอกสารหลักฐานมาประกอบการตรวจสอบ เนื่องจากการจ่ายเงินช่วยเหลือครั้งนี้จะมีทั้งชาวนาผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และชาวนาที่เช่าที่ดินจากนายทุน ซึ่งรัฐบาลมีจุดประสงค์ต้องการช่วยชาวนาผู้ปลูกข้าว ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงไม่มีสิทธิมาขอส่วนแบ่งที่รัฐบาลจ่ายให้ชาวนา ดังนั้นหากชาวนารายใดได้รับความเดือดร้อน ถูกหักหัวคิว ให้ร้องเข้ามาที่สายด่วน 1206 ส่วนเรื่องกาตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินเป็นหน้าที่ของสำนักตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)และธนาคารเพื่อการเกษตรฯ(ธกส.)สำหรับโครงการช่วยเหลือชาวนา เป็นผลจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2557/58 เพิ่มเติมจากมาตรการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว คือการจ่ายเงินชาวนาทุกครัวเรือน ตามพื้นที่ที่ปลูกข้าวจริงแต่ไม่เกินครัวเรือนละ 15,000บาท โดยตามพื้นที่ที่ปลูกข้าวจริงแต่ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท โดยจะมีการจ่ายเงินในวันที่ 20 ตุลาคมนี้
------
"อนุพงษ์"เข้มขู่ผู้ว่าฯ ฟันไม่เลี้ยงอมเงินช่วยชาวนาไร่ละพัน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย แนวทางปฏิบัติราชการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้กับผู้บริหารระดับสูง อาทิ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมต่างๆ ผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ถ่ายทอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นครั้งแรกไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหาร อปท. ปลัด อปท.และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมรับฟังนโยบายผ่านจอมอนิเตอร์จากพื้นที่บริเวณหอประชุมศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศว่า ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ว่าฯ ลงมาถึงนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกรายต้องรับผิดชอบ หากเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ไปไม่ถึงมือของชาวนาจริงๆ

ผมจ่ายไปแล้วต้องลงไปสู่ชาวนาจริงๆ ทางท้องถิ่นช่วยสำรวจมาว่า นาย ก.ทำกี่ไร่ นาย ข.ทำกี่ไร่ ท่านต้องรับรองมาให้ผม ถ้าผมจ่ายลงไปแล้วต้องถึงตัว แต่ถ้ามีปัญหา เงินลงไปไม่ถึงมือ ทุกท่านต้องรับผิดชอบ? พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
////
ประยุทธ์ยันร่างรธน.เป็นไปตามขั้นตอน

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เวลา 13.30 น.ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แสดงความกังวลถึงกรอบระยะเวลา 6 เดือนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ขอให้ใจเย็นเขามีกำหนดการอยู่แล้ว ซึ่งต้องเตรียมโรดแมปของเขาเช่นกัน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ต้องดูว่าเหลือเวลาเท่าไหร่ จะเดินหน้าอย่างไรจะปฏิรูปให้มีความก้าวหน้าอย่างไร ไม่ใช่แค่ประชุมสภาฯลงความเห็นแล้วจะจบ หลายอย่างต้องถามว่ารัฐบาลเห็นชอบหรือไม่ หากเห็นชอบก็ต้องผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกเป็นกฎหมายและข้อมูลของสภาปฏิรูปที่มีการจัดทำเป็นรูปเล่ม เนื้อหามีความเห็นจากทุกสีเสื้อ เดี๋ยวจะเกิดข้อครหาว่าเสื้อสีโน้นสีนี้ไม่ได้เขามา ขอให้ไปดูได้เพราะมีตัวแทนเข้ามาทั้งหมด แม้แต่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ก็ได้มาแสดงความคิดเห็น ซึ่งทุกคนต่างก็มีความหวังดีกับประเทศ แต่ถึงวันนี้เมื่อไม่ได้มีการสมัครเข้ามาเป็น สปช. แต่เราก็จะดูความคิดเห็นทั้งหมดที่ผ่านมาด้วย ยืนยันว่าเราฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่ม

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่าถึง การร่างรัฐธรรมนูญว่า อย่างเพิ่งกังวล ถ้าพูดมาเดี๋ยวก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น เราควรทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องเล็กมาก ทำเรื่องเล็กมากให้ไม่มีปัญหา แต่กลับเอาเรื่องเล็กมาให้เป็นเรื่องใหญ่สุด เริ่มมาก็เอาเรื่องการเมือง สุดท้ายก็มากลับมาที่ตนอีกว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งเพื่อจะได้มีประสิทธิภาพ อย่าเพิ่งไปพูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย วันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น การเมืองต้องเริ่มต้นโดยการเข้าสู่กระบวนการว่าเราจะเดินไปอย่างไร ใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล เรื่องนี้ก็ต้องไปคิด ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ต้องว่ากัน มีทั้งฝ่ายกฎหมายและฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่าเพิ่งไปกังวลถ้าทุกคนเห็นว่าประเทศชาติจะไปอย่างไรก็ไปตามนั้น คงไม่มีอะไรไปบังคับได้ เราต้องฟังเสียงคนไทยทั้งประเทศ
/////////
คลื่นใต้น้ำ

โฆษกกอ.รมน. ปัดตอบขบวนการคลื่นใต้น้ำต่อต้านรบ.

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมระบุว่าขณะนี้ยังมีขบวนการคลื่นใต้น้ำต่อต้านรัฐบาล ว่า เป็นไปตามฝ่ายบริหารชี้แจง ซึ่งตนไม่สามารถให้รายละเอียดได้ ในส่วนของกอ.รมน.ได้รายงานสถานการณ์แต่ละวัน

และทำงานควบคู่กับกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(กกล.รส.) ส่วนจะมีการพิจารณายกเลิกหรือผ่อนคลายการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ท่องเที่ยวก่อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาเรื่องดังกล่าว
-------
ศพ "อภิวันท์" ถึงไทย 11 ต.ค. นี้

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 นายสมคิด เชื้อคง อดีตส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีการกำหนดเลื่อนรับร่างพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรออกไปเป็นวันที่ 11
ต.ค. เวลา 15.20 น. โดยเที่ยวบินที่ TG621 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากขั้นตอนการเตรียมเอกสารยังไม่พร้อม อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีกลุ่มคนที่เคารพรักพ.อ.อภิวันท์ไปรับศพที่สนามบิน
จำนวน 300-400 คน เป็นการไปให้กำลังใจ โดยไม่มีกิจกรรมการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่กลุ่มส.ส.ที่สนิท และส.ส.ที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงจะไปรอรับศพที่วัดบางไผ่ จังหวัดนนทบุรีในบ่ายวันที่ 11 ต.ค.

ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีคำสั่งจากทหารห้ามไปรับศพ พ.อ.อภิวัทน์ ส่วนกำหนดการรดน้ำศพนั้นจะจัดขึ้นในวันที่ 12 ต.ค.ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่องเดียวกันว่า ขอเชิญพี่น้องร่วมไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายให้กับ
พ.อ.อภิวันท์ ตามกำหนดการเบื้องต้นดังนี้ วันที่ 11 ต.ค. เวลา 15.20 น.ถึงประเทศไทยด้วย TG621 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และวันที่ 12 ต.ค. เวลา 13:00 น. รดน้ำศพ ณ วัดบางไผ่ จ.นนทบุรี
----------
อุดมเดชวอนบางกลุ่มอย่าใช้ปมงานศพอภิวันท์เคลื่อนไหว

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2557 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการเคลื่อนไหวใต้ดินที่จะต่อต้านการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ตนยอมรับว่าแนวความคิดของคนเป็นเรื่องเปลี่ยนยาก ซึ่งทางกองทัพบกในฐานะที่เป็นกลไกของรัฐบาลก็ได้ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ภายใต้การดูแลของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) โดยให้แต่ละกองทัพภาคได้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนทุกพื้นที่ เพราะรู้ว่าพื้นที่ใดเรียบร้อย และมีพื้นที่ใดไม่เรียบร้อย  หรือพื้นที่ใดหนัก หรือเบา อีกทั้งก็รู้ว่ามีใครคิดอะไรอยู่ ทั้งนี้นายกฯได้ให้โอกาสทุกฝ่ายสามารถเดินเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อให้เกิดความปรองดอง อย่างไรก็ตามตนได้เน้นย้ำกับเจ้าหน้าที่ให้ควบคุมสถานการณ์ให้ได้

ส่วนกรณีที่มีบางกลุ่มพยายามจะใช้ประเด็นงานศพของ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มาเคลื่อนไหวนั้น พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า คิดว่าเรื่องดังกล่าวทางนายกฯ และรองนายกฯได้พูดชัดเจนว่าเรื่องพิธีกรรมนั้นเป็นเรื่องปกติ สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่อย่านำประเด็นดังกล่าวมาจุดกระแส เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และทำไม่ได้ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
////////////
ทหารบุกค้นบ่อนย่านราชเทวี

พ.ท.ชายธนัญชา วาจรัต ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 27 รักษาพระองค์ นางลักษณา โรจนธำรงค์ ผอ.เขตราชเทวี นายสมนึก นิยมการ หัวหน้าฝ่ายโยธา เขตราชเทวี พร้อมด้วยทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พญาไท ร่วมตรวจค้นอาคาร 4 ชั้น 4 คูหา เลขที่ 252/22 ซอยเพชรบุรี 5 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.หลังได้รับแจ้งว่าอาคารดังกล่าวมีการดัดแปลงอาคารเพื่อเตรียมเปิดเป็นบ่อน เมื่อไปถึงอาคารดังกล่าว พบเป็นตึกแถว 4 คูหา 4 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่กว่า จากการตรวจสอบพบว่าที่ชั้น 1-3 มีการดัดแปลงต่อเติมอาคารเป็นห้องโถงกว้างหรูหรา มีเครื่องตรวจจับโลหะและอาวุธแบบที่ใช้ในสนามบิน ส่วนชั้น 4 มีการปูพรมและบุผนัง ขณะที่ชั้นดาดฟ้าพบอุปกรณ์ที่เตรียมประกอบเป็นโต๊ะบาคาร่า และการตกแต่งสถานที่ที่มีลักษณะคล้ายบ่อน

พ.ท.ชายธนัญชา เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้สถานที่ดังกล่าวเคยเปิดเป็นบ่อนกิ่งเพชรมาก่อน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมและปิดบ่อนดังกล่าวไปแล้ว กระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับแจ้งมาว่าสถานที่นี้มีการเตรียมเปิดเป็นบ่อนอีกครั้ง จึงนำกำลังเข้ามาตรวจสอบ ก็พบชายอายุประมาณ 60 ปี ทำหน้าที่เฝ้าอาคารดังกล่าว ได้แจ้งว่า สถานที่ดังกล่าวเตรียมเปิดเป็นผับเท่านั้น จึงได้ทำการตักเตือนไป ต่อมาในวันนี้เจ้าหน้าที่กลับได้รับรายงานอีกครั้งว่าอาคารนี้มีการต่อเติมและดัดแปลงซึ่งมีลักษณะคล้ายเตรียมเปิดบ่อนอย่างอลังการ จึงนำกำลังเข้าตรวจสอบอีกครั้ง ก็พบอุปกรณ์สำหรับไว้เล่นการพนัน และเตรียมประกอบเป็นโต๊ะบาคาร่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่า มีนางปราณี หรือ "เจ๊เพี๊ยะ" เป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว

ด้านนางลักษณา กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าอาคารดังกล่าวมีการดัดแปลง รวมถึงมีการใช้งานอาคารผิดประเภท หลังจากนี้จะเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะตรวจสอบไปยังสำนักงานเขตเพื่อดูว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน และอาคารดังกล่าว รวมทั้งตรวจสอบว่าอาคารดังกล่าวมีการขออนุญาตปลูกสร้างเมื่อใด และมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารหรือไม่ จากนั้นจะทำหนังสือไปยังเจ้าของเพื่อให้นำใบอนุญาตดัดแปลงอาคารมาให้เจ้าหน้าภายใน 7 วัน และหากพบว่าเจ้าของไม่มีใบอนุญาตขอดัดแปลงอาคารดังกล่าว จะออกคำสั่งระงับการดัดแปลง พร้อมแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารต่อไป