PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมชาย อาสนจินดา ผู้จองหองทุบหมอข้าวตัวเองกระชิ่งเผด็จการ



 ตำนานแห่งความอดอยากปากแห้ง ของนักเขียน นักนสพ.ชื่อ ส.อาสนจินดา

เช้านี้อากาศกรุงเทพฯ สดใสหลังฝนใหญ่ต้นเดือนสิงหา ลัดดาคิดถึงครูหนังสือพิมพ์อีกคน ครู ส.อาสนจินดา

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้รู้จักมักคุ้นเป็นอันมากกับความอดอยากปากแห้งแห่งวิชาชีพ

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้มีชีวิตพลิกผันจากครูสอนหนังสือชั้นมัธยม เสมียนสหกรณ์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ พระเอกละครเวที ผู้กำกับการแสดง ผู้อำนวยการสร้าง กระทั่งถึงศิลปินแห่งชาติ

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ที่ในปี2530 ได้รางวัลดาราประกอบยอดเยี่ยมจากเรื่อง " บ้าน " ในงานงานภาพยนตร์แห่งเอเซีย

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2531 ในฐานะดาราสนับสนุนดีเด่น (ชาย) และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย

เป็นครู ส.อาสนจินดา ผู้กำกับบทภาพยนตร์คลาสสิคเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาที่เป็นตำนานของเมืองไทยอย่าง “7 ประจัญบาน” ในฐานะฮีโร่ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี

ลัดดาจะกล่าวเฉพาะเรื่องราวแห่งชีวิตพิสดารของ ส.อาสนจินดา ที่ในความทรงจำของลัดดาคนวัย 73 พอจำได้หลายเรื่อง บังเอิญ 4-5 นาทีนี้นึกได้บางเรื่อง ก็อยากบันทึกไว้

เรื่องแรก เกิดราวปีพุทธศักราช 2492 

หลังตกเก้าอี้บรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ได้ไม่กี่วัน ส.อาสนจินดา ไม่มีบ้านของตนเอง ต้องกลับไปอาศัยนอนในกุฏิพระวัดมหรรณพฯ

วันหนึ่งเขาสวมเครื่องแต่งกายที่มีอยู่ชุดเดียว นุ่งกางเกงก้นปะตัวเก่า นำต้นฉบับเรื่องสั้นชื่อ ‘หมึกพิมพ์บนฝ่ามือ’ ไปขาย อิศรา อมันตกุล ผู้ให้ความอบอุ่น ให้ความเมตตาเสมอมานับนาน

อิศรา อมันตกุล ช่วงนั้นเป็นบรรณาธิการ ‘เอกราช’ มีสำนักงานอยู่หลังอาคาร 9 ถนนราชดำเนิน
พลันที่ก้าวเข้าไปห้องกองบรรณาธิการ ได้ยินเสียงอิศรา อมันตกุล ดังขึ้นก่อนว่า

“นี่ไง เพื่อนฝูงนี่แหละ ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ธำรง พระเอกละครเวทีของนาย เขาเดินเข้ามายืนอยู่ต่อหน้าพวกเราแล้ว” 

อิศรา อมันตกุล บอกกับ ศักดิ์เกษม หุตาคม เจ้าของนามปากกา ‘อิงอร’ ชาวสงขลา ที่เข้ามารับราชการในกรุงเทพ แล้วเขียนนวนิยายเรื่อง 'ดรรชนีนาง' ลงในหนังสือประชามิตรมีชื่อเสียงโด่งดัง

เมื่อนำมาแสดงละครที่ศาลาเฉลิมนคร โดยมีพระเอกนักประพันธ์ คือ ส. อาสนจินดา 

ควรทราบว่าไม่กี่นาทีก่อนหน้านั้น ศักดิ์เกษม หุตาคม นั่งตื๊อปั้นหน้าอย่างคนมีปัญหาความคิด ให้อิศรา อมันตกุล ตกลงปลงใจรับบท ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ธำรง พระเอกละครเรื่อง ‘ดรรชนีนาง’ ที่จะแสดงบนเวทีศาลาเฉลิมนครในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้าแทน สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกตัวจริงผู้ตกปากรับคำแล้วกลับถอนตัวอย่างปัจจุบันทันด่วน

เมื่อ อิศรา อมันตกุล ปฏิเสธอย่างหัวเด็ดตีนขาดว่าเล่นไม่เป็น เล่นไม่ได้ ศักดิ์เกษม หุตาคม จึงหันมาร้องขอ ส.อาสนจินดา ให้ช่วยขายผ้าเอาหน้ารอด

ในชั้นต้น ส.อาสนจินดา ขัดข้องว่าตนเองกำลังเตรียมการจะลาบวช ที่พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา ทว่าเมื่อเห็นตัวเลขรายได้ประมาณ 1,000 บาท จากการเล่นเป็นพระเอกละคร 12 วัน 32 รอบ

ส.อาสนจินดา นั่งอึ้งนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตอบตกลงใจให้เพื่อนฝูงไชโยโห่ร้องกันลั่นโรงพิมพ์

ถามว่า ส.อาสนจินดา คิดอย่างไรกับการตัดสินใจในวันนั้น

ส.อาสนจินดา เคยตอบผู้สนิทสนมบางคนว่า เขาไม่ได้คิดอะไรมากมายหรอก ในความเป็นจริง วันนั้นเขาหิวโหยมากกว่ากินกาแฟ 8 ถ้วยต่างข้าวตั้งแต่เช้า ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเงินแค่ 6 บาท และดีใจตายโหงเมื่อยินว่าค่าตัวพระเอกจะได้ตั้งพัน

อนึ่ง มีเกร็ดเรื่องเพลงสากลเพลงหนึ่งที่ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมนั่นคือเพลง "เดือนต่ำ-ดาวตก" 

เดือนต่ำดาวตก (ฮัม) วิหคร้อง เหมือนเสียงน้องครวญคร่ำร่ำเฉลยสารภีโชยกลิ่นเรณูเชย เหมือนพี่เคยจูบเกศแก้วกานดา หอมระรวยชวนชื่นระรื่นจิตถวิลคิดครั้งเมื่อขนิษฐา สละศักดิ์ฐานันดรดวง

ดอกฟ้าต้องหนีหน้าวงศ์ญาติมาด้วยกัน ณ เวิ้งอ่าวชายฝั่ง ณ ที่นี้ น้องช่วยพี่สร้างห้องหอสวรรค์ กระท่อมน้อย (ฮัม) คอยเตือน เรือนผูกพัน ระลึกวันขวัญสวาท อนาทรัก

เพลงพม่าแปลง อัตราสองชั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ม.ล. ต่วนศรี วรวรรณ ได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลง มอญแปลง และเรียกชื่อใหม่ว่าเพลง มะตะแบ แต่คนทั่วไปเรียกว่า พม่าแปลง ใช้บรรเลงตอน

นางเอกโศกเศร้า ต่อมา ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้นำเพลงพม่าแปลงสองชั้น มาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา เพลงเดือนต่ำ-ดาวตก นี้ ครูแจ๋ว วรจักร หรือสง่า

อารัมภีร ได้เขียนเล่าความเป็นมาของเพลงไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2492 “อิงอร” หรือนายศักดิ์เกษม หุตาคม ไปที่บ้านคุณชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (ท่านเป็นสามีผู้ล่วงลับของคุณสุวรรณี ศิลปินแห่งชาติอีกท่าน
และยังมีศักดิ์เป็นปู่ของ อุ้ม จารุตม์)  และไปแต่งเนื้อเพลง เดือนต่ำ-ดาวตกใช้เวลาเพียงสั้นๆเท่านั้นก็แต่งได้สำเร็จแล้วนำทำนองเพลงพม่าแปลง สองชั้นมาดัดแปลงบรรจุคำร้อง ให้ชื่อว่า

เพลง เดือนต่ำ-ดาวตก

เพลงนี้ ปรีชา บุนยเกียรติ เป็นผู้ร้องหลังฉาก แทนพระเอก ส. อาสนจินดา โดยให้พระเอกทำลิปซิ้ง ทำให้เพลงโด่งดังมาก ปรีชา บุนยเกียรติ ได้นำติดตัวไปร้องตามวิทยุ กรมโฆษณาการ และกรม
ไปรษณีย์ที่กระจายเสียงอยูที่ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แถวๆโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ทำให้ปรีชา บุนยเกียรติ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไปนับแต่นั้นมา


***************************
เรื่องที่สอง เกิดระหว่างปี 2490 

มีสองเหตุการณ์ที่ ส.อาสนจินดา ไม่เคยลืมความอดอยากปากแห้งแสนสาหัสระหว่างเป็นบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ต้องอาศัยนอนโรงพิมพ์เพราะไม่มีบ้านอยู่

คืนหนึ่งท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เสื้อหนาวไม่มีใส่ ส.อาสนจินดา หลบลงนอนคุดคู้ห่มผ้าผวยอยู่ใต้โต๊ะทำงานที่โรงพิมพ์ 2 คูหาละแวกสะพานผ่านฟ้า กับเพื่อนรุ่นน้องสองคนชื่อ ประทีป โกมลภิส กับ สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช 

มีเพื่อนเก่า ตมธ.รุ่น 4 ของ ประทีป โกมลภิส ชื่อ สนิท เอกชัย แวะมาเยี่ยมเยียน

เมื่อยินเสียงขยับเขยื้อนเคลื่อนตัวกุกกักใต้โต๊ะทำงานในห้องที่แสงไฟสลัว สนิท เอกชัย ถาม ประทีป โกมลภิส ว่า

‘เอ็งเอาลูกหมามาเลี้ยงไว้ใต้โต๊ะนี้ด้วยหรือวะ’

ประทีป โกมลภิส รีบบอก

‘ไม่ใช่ลูกหมาโว้ย เขาเป็นลูกพี่อั๊ว เขาเป็นบรรณาธิการ เขาชื่อ ส.อาสนจินดา

พลันที่ สนิท เอกชัย ยินชื่อ ส.อาสนจินดา เขาลิงโลดยินดีว่ารู้จักชื่อเสียงเป็นนักเขียนหน้าใหม่เขียนเรื่องสั้นชื่อ ‘รอยไม้ที่หลังแขน’ กับ ‘เจ็บถึงหัวใจ’ ลงใน ‘สุภาพบุรุษ-ประชามิตร’ เขียนดีมาก ‘อั๊ว

เพิ่งอ่านวานนี้ อั๊วอยากรู้จัก’

แล้ว สนิท เอกชัย ก็นั่งคุกเข่าลงคารวะบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ที่เลิกผ้าผวยยื่นหน้าในชุดเสื้อกล้าม นุ่งผ้าขาวม้า ขึ้นมารับไหว้ให้เห็นว่าเป็น ส.อาสนจินดา หาใช่ลูกหมาไม่

อีกเหตุการณ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อ ส.อาสนจินดา ท้องกิ่วหิวโหย ไม่มีเงินเลยสักบาท ลูกน้องอีก 6-7 คน ก็โรยแรงตั้งแต่เช้าหามีอะไรตกถึงท้องไม่

ส.อาสนจินดา ตัดสินใจถอดนาฬิกาข้อมือให้ สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช นำไปเข้าโรงรับจำนำเยื้องโรงพิมพ์ ฟากถนนฝั่งตรงข้าม

หลงจู๊โรงรับจำนำพิจารณาแล้วบอกนาฬิกาข้อมืออะไรวะ เสียงดังยังกับโรงสี พลางหยิบเงินรับจำนำให้แค่ 2 บาท

สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช บอกหลงจู๊ว่า นาฬิกาเรือนนี้เป็นของลูกพี่บรรณาธิการ คนร่างสูงหล่อผมหยักศก เขาจะเอาเงินไปซื้อข้าวซื้อน้ำให้พวกอั๊วกินแค่ 2 บาท จะพอยาไส้อะไรที่ไหนกัน

ปรากฏว่า หลงจู๊เห็นใจเพิ่มให้จาก 2 บาท เป็น 8 บาท อาหารคนในกองบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ เที่ยงวันนั้น จึงมีทั้งข้าวผัด ทั้งก๋วยเตี๋ยว กินอย่างอิ่มหมีพีมันกัน 7-8 ห่อ

///////////
สมชาย อาสนจินดา
ผู้จองหองทุบหมอข้าวตัวเองกระชิ่งเผด็จการ

ส.อาสนจินดา เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และนักแสดง โดยเริ่มจากเป็นครูสอนหนังสือ ม.3 โรงเรียนอำนาจศิลป์ ต่อมาหันเอาดีไปรับราชการเป็นเสมียนสหกรณ์เชียงราย และใช้ช่วงเวลากลางคืน

เขียนเรื่องสั้นส่งให้นิตยสารสุภาพบุรุษประชามิตร ก่อนลาออกจากราชการ เพื่อเริ่มต้นนับหนึ่งงานหนังสือพิมพ์ที่กรุงเทพฯ โดยเข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกรายปักษ์ ก่อนขยับไปทำ  บางกอก

รายวัน  ที่คึกคักไปด้วยนักเขียนหนังสือพิมพ์ชื่อเฟื่องระดับ  อิศรา อมันตกุล   เสนีย์ เสาวพงศ์   อุษณา เพลิงธรรม  โดยน้องใหม่ถูกมอบหมายให้รับหน้าที่ตระเวนข่าวโรงพัก

แต่  บางกอกรายวัน  ขายดินขายดีไม่ทันไรก็ร่วงผล็อยต้องปิดตัวลง เพราะนายทุนถอดใจ

เขาตกงานอยู่พักใหญ่ ต้องหอบเสื่อผืนหมอนใบ กลับไปอาศัยวัดมหรรณพฯ อันเป็นวิวาสสถานเดิม กระทั้งเกิดรัฐประหารโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ได้อาทิตย์กว่าๆ เขา

ยังนุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำอยู่กลางลานวัด มีหนุ่ม 2 คน ชื่อ  ประทีป โกมลภิศ  และ  สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช  แนะนำตัวว่าทั้งสองได้รับหมอบหมายจากผู้ใหญ่ในคณะรัฐประหาร จะเป็นใครไม่ขอเปิด

เผย ให้เตรียมการออกหนังสือพิมพ์รายวัน  8 พฤศจิกา  จึงมาเชื้อเชิญให้นั่งเก้าอี้บรรณาธิการ อันมี  หลวงกาจสงคราม  และ  ขุนจำนง ภูมิเวท  เป็นหัวเรือใหญ่ เขาตอบตกลงในเงื่อนไขว่า  มีอิสระใน

ภาระหน้าที่บรรณาธิการอย่างเต็มภาคภูมิ ผู้ใหญ่ไม่ว่าใครในคณะรัฐประหารจะเข้ามาแทรกแซงมิได้

หนังสือพิมพ์  8 พฤศิจิกา  จึงเดินเครื่องตามมงคลฤกษ์ที่ผู้จัดการชื่อ  เทพ สาริกบุตร  โหรใหญ่เป็นผู้กำหนด มียอดขายในระยะเริ่มแรกค่อนข้างดี เพราะมีข่าวความเคลื่อนไหวติดตามจับ  ปรีดี พนมยงค์  กับพวก และบุคคลในคณะรัฐบาลชุดเก่าอย่างตื่นเต้น ต่อเนื่อง

กระทั้งวันหนึ่งคณะรัฐประการจับกุมคนหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คน ไปคุมขัง ในจำนวนนี้ มี  อิศรา อมันตกุล  หัวหน้ากองบรรณาธิการเอกราช รวมอยู่ด้วย

ต้องไม่ลืมว่า  ส.อาสนจินดา  บูชา  อิศรา อมันตกุล  ว่า เป็นพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ในอุดมการณ์ ไม่มีค่ายไม่เอียงฝ่ายไหนยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชน

เขา จึงใช้คอลัมน์บรรณาธิการ คือ บทนำ เขียนตำหนิ จอมพลป. พิบูลสงคราม หัวหน้ารัฐบาลในขณะนั้นอย่างดุเดือด การกระทำดังกล่าวเปรียบเหมือนผู้จองหองทุบหม้าข้าวตัวเอง ที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฝ่ายรัฐประหาร เขียนบทนำ ตำหนิการกระทำของงฝ่ายรัฐประหารเอง

ปัญหาจึงเกิดขึ้นภายในโรงพิมพ์โดยพลันอย่างน่าใจหาย เมื่อปรากฏว่าสัปดาห์นั้น เงินทุกบาทของกองบรรณาธิการไม่ออกตามกำหนด

ส.อาสนจินดา เป็นนกรู้ อยู่เหมือนกัน รู้ว่าตัวเองควรปฏิบัติสถานใด เพื่อมิให้พรรคพวกในกองบรรณาธิการและครอบครัวต้องระทบกระเทือนเดือนดร้อน เขาจึงบินเดี่ยว ทำหนังสือลาออก

เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับสุดท้ายที่เขาทำงานในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ก่อนหลุดวงจรทะยานเข้าสู่แวดวงบันเทิง

เขาเคยรำพึงรำพันว่า ไม่มีอาชีพใดที่ผมจะเป็นสุขได้เท่ากับเป็นนักเขียนไส้แห้ง เป็นนักหนังสือพิมพ์เตะฝุ่น ผมขอยืนยันว่าวันหนึ่งผมจะกลับมา  ทว่าในท้ายสุดหาได้กลับมาไม่ เพราะวันที่ 19

กันยายน 2536 ในวัย 71 ปีเขาปิดฉากชีวิตด้วยโรคหัวใจ
////////////
สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน 2464 - 19 กันยายน 2536)

ศิลปินอาวุโส นักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533

เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง

จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
สมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493 [1]

เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ

เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน [1] เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ

เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน [2][1] ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น

เป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรีเจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง ,หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากสูบบุหรี่จัด

รางวัล

ตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี
พ.ศ. 2500 - มงกุฏเดี่ยว (ลำดับภาพ)
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต (บทภาพยนตร์)
พ.ศ. 2505 - เรือนแพ (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2529 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ
พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค
พ.ศ. 2523 - อุกาฟ้าเหลือง (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2530 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลศิลปินแห่งชาติ
พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)
/////
กำกับภาพยนตร์
ทุรบุรุษทุย (2500)
สุภาพบุรุษสลึมสลือ (2500)
ม่วยจ๋า (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501)
ยอดชาย (2501)
เจ็ดสิงห์สมุทร (2502)
ภูติเหลือง (2502)
ฝ่ามรสุม (2502)
มัจจุราชประกาสิต (2502)
สิบสองนักสู้ (2502)
ฟูแมนจู (2503)
สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
หมู่กล้าตาย (2504)
นันทาวดี (2505)
เจ็ดประจัญบาน (2506)
เขี้ยวพิษ (2506)
เก้ามหากาฬ (2507)
จ้าวพยัคฆ์ (2507)
มงกุฎเพชร (2508)
สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
หนึ่งในสยาม (2508)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)
น้ำเพชร (2508)
น้องนุช (2508)
ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
น้ำผึ้งป่า (2508)
อรัญญิก (2508)
ลูกของแม่ (2508)
แม่ยอดชีวิต (2509)
หงส์เหิร (2509)
ชุมทางหาดใหญ่ (2509)
จอมประจัญบาน (2509)
น้ำค้าง (2509)
จามเทวี (2509)
ปีศาจดำ (2509)
แก้วกลางสลัม (2509)
มือนาง (2509)
4 สมิง (2509)
ดรุณีสีเลือด (2509)
กระเบนธง (2509)
มนุษย์ทองคำ (2510)
เหล็กเพชร (2510)
ป้อมปืนตาพระยา (2511)
ที่รักจ๋า (2511)
ขุนตาล (2512)
นางละคร (2512)
ไอ้เปีย (2512)
ตาลเดี่ยว (2512)
ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
หวานใจ (2513)
ไอ้สู้ (2513)
ทุ่งมหาราช (2513)
จอมบึง (2513)
เพชรพระอุมา (2514)
ดอกดิน (2514)
คนใจเพชร (2514)
กระท่อมปรีดา (2515)
หนองบัวแดง (2516)
เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
อย่ารักฉัน (2517)
ผู้ดีเถื่อน (2517)
โสมสลัว (2517)
แผ่นดินของเรา (2519)
หนึ่งต่อเจ็ด (2520)
ความรักไม่มีขาย (2520)
อินทรีแดง ตอนพรายมหากาฬ (2523)
ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
ศรีธนญชัย (2524)
กำแพงหัวใจ (2524)
แผ่นดินต้องสู้ (2524)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)
ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)
เสือลากหาง (2527)

แสดงภาพยนตร์

ทุรบุรุษทุย (2500)
สาปสวรรค์ (2500)
สุภาพบุรุษสลึมสลือ (2500)
ทหารเสือกรมหลวงชุมพร (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
เจ็ดสิงห์สมุทร (2502)
มัจจุราชประกาสิต (2502)
สิบสองนักสู้ (2502)
เรือนแพ (2504) รับบท เจน
มือปืนสติเฟื่อง (2504)
วายร้ายตลาดเก่า (2504)
นันทาวดี (2505)
เจ็ดประจัญบาน (2506) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
เทพบุตรนักเลง (2508)
สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
ครุฑเพชร (2508)
ผู้ใหญ่ลี (2508)
วังเสือ (2508)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)
ค่ายบางระจัน (2508)
แม่ยอดชีวิต (2509)
ลมหนาว (2509)
จอมประจัญบาน (2509)
กระเบนธง (2509)
เหนือเพชฌฆาต (2510)
ไอ้เปีย (2512)
ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
แม่ย่านาง (2513)
ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
รอยแค้น (2515)
ภูกระดึง (2516)
มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
หัวใจราชสีห์ (2518)
มาหยารัศมี (2518)
แผ่นดินของเรา (2519)
แผลเก่า (2520)
เกวียนหัก (2521) รับบท ตาแอบ
เลือดทมิฬ (2522)
สุดห้ามใจรัก (2522)
เลือดสุพรรณ (2522)
หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523) รับบท แทน
อุกาฟ้าเหลือง (2523) รับบท เฒ่าหลัก
อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หลวงเสนาะ
นายอำเภอคนใหม่ (2523)
ไข่ลูกเขย (2524)
ไอ้ค่อม (2524)
สามเสือสุพรรณ (2524)
แผ่นดินต้องสู้ (2524)
สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
ดวงตาสวรรค์ (2525)
นายอำเภอไข่ดาว (2525)
ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525)
รักข้ามรั้ว (2525)
ไอ้หนุ่มรถไถ่ (2525)
สาวจอมกวน (2525)
นิจ (2526) รับบท เจ้าคุณสุรแสนสงคราม
หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท บุญทิ้ง
สาวแดดเดียว (2526)
เลขาคนใหม่ (2526)
เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
กำนันสาว (2526) รับบท กำนันเล็ก
ดรุณี 9 ล้าน (2526)
รักที่ต้องรอ (2527)
สาวนาสั่งแฟน (2527)
อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527)
10 คงกระพัน (2527)
ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)
ทับทิมโทน (2528)
นางฟ้ากับซาตาน (2528)
สามเณรใจสิงห์ (2528)
หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท เจ้าคำแสง
สามล้อซี 5 (2528) รับบท ทองก้อน
ครูสมศรี (2529) รับบท ครูใหญ่
ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529)
แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529)
เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
วันนี้ยังมีรัก (2529)
บ้าน (2530)
อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
ทายาทคนใหม่ (2531)
ซอสามสาย (2531)
แอบฝัน (2531)
บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท มหาแจ่ม
แม่เบี้ย (2532) รับบท ลุงทิม
บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท มหาแจ่ม
บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท มหาแจ่ม
อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท สมภาร
ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2538) รับบท บ๊อก


คำแปล แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์


โดยนายนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และนายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้ระบุว่าทางพรรค ได้ออกแถลงการณ์
///
แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตยและอุปสรรคต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีประชาชนชาวไทยก็ไม่เคยหมดความหวังและไม่ท้อถอยในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง

ในการกล่าวสุนทรพจน์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตย ณ เมืองอูลัน บาตอ ประเทศมองโกเลีย ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวติติงต่อกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศว่ามีการถดถอยและเสื่อมลง โดยอ้างว่าตัวเธอ พี่ชายของเธอ และครอบครัวของเธอเป็นผู้ปกป้องคุณค่าของประชาธิปไตยและยังกล่าวว่าฝั่งของเธอนั้นเป็นตัวแทนของประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยกล่าวหาว่ามีกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยดำรงอยู่ภายในประเทศไทย

โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่าครอบครัวนายกรัฐมนตรี และโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น รํ่ารวยขึ้นมาจากการได้รับสัมปทานการสื่อสารในอดีตจากรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มของทหารจากเหตุการณ์ปฏิวัติในปี พ.ศ. 2534 ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าสู่เวทีการเมืองและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 – 2549 การบริหารราชการแผ่นดินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น เต็มไปด้วยการทุจริต คอร์รัปชั่น มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ นโยบายการทำสงครามยาเสพติด ซึ่งก่อให้เกิดการฆาตกรรมเกินขอบเขตกฎหมายหรือ “การฆ่าตัดตอน” หลายพันศพ รวมทั้งนโยบาย “กําปั้นเหล็ก” ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้เป็นหลักฐานของการขาดเป็นประชาธิปไตย

วิธีการบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ถ่วงดุล รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม และการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง นำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจนการประท้วงลุกลามออกสู่ท้องถนน และรัฐบาลในขณะนั้นกลับสนับสนุนให้มีสถานการณ์การเผชิญหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา

และในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2549 และแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว ต่อมาก็มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2550 ในการลงประชามติซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย การเลือกตั้งทั่วไปจึงได้เกิดขึ้น

นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีในต้นปีพ.ศ. 2551 จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อต่อสู้ต่อคดีทุจริต และไม่นานก่อนที่จะถึงการตัดสินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ขออนุญาตศาลเดินทางออกนอกประเทศเป็นการชั่วคราวและมิได้กลับมาสู่ประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบัน โดยศาลได้พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปีในคดีดังกล่าว

นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่ง จากการกระทำซึ่งขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และแม้ว่า นายสมัคร สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก แต่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับเป็นผู้ที่ได้รับการลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ตลอดมาทั้งนายสมัครและนายสมชายมีความพยายามที่จะเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สามารถเดินทางกลับสู่ประเทศไทยอย่างพ้นผิด และปราศจากมลทินทุกประการ เรื่องดังกล่าวเป็นชนวนก่อให้เกิดการประท้วงบนท้องถนนขึ้นอีกครั้ง หลังจากนั้นนายสมชาย ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะพรรคพลังประชาชนถูกยุบในข้อหาทุจริตในการเลือกตั้งและในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจำนวนหนึ่งที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชน ได้ตัดสินใจลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2553

โดยในช่วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ สภาพการเมืองไทยมีการเผชิญหน้า และมีความรุนแรง สืบเนื่องมาจากแนวทางแก้ว 3 ประการของ พ.ต.ท.ทักษิณและกลุ่มผู้สนับสนุน คือ พรรคเพื่อไทย กลุ่มคนเสื้อแดง และกองกําลังติดอาวุธ โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการประท้วงกับกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งศาลยุติธรรมได้มีคำพิพากษาให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และไม่ใช่เป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การชุมนุมได้มีการละเมิดสิทธิ เสรีภาพพื้นฐานของผู้อื่น และยังมีกองกำลังที่เรียกว่า “ชายชุดดำ” ใช้อาวุธสงคราม เช่น ลูกระเบิด M67 M79 และอาวุธสงครามต่างชนิด แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับถ้อยแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าการประท้วงในปีพ.ศ. 2553 นั้นเป็นไปเพื่อประชาธิปไตยและเป็นไปในแนวทางของสันติวิธี แต่ควรจะเรียกว่าเป็นการชุมนุมที่มีกองกำลังติดอาวุธ ก่อการร้ายต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ฝ่ายรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ได้นำประเทศกลับสู่ภาวะปกติด้วยกลไกต่างๆ ภายในขอบเขตของกฎหมาย

ผู้เสียชีวิต 91 คนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ระบุนั้น มีทั้งข้าราชการ ทหาร และตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษากฎหมายและความมั่นคงของประเทศ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ และผู้ประท้วงหลายคนถูกเข่นฆ่าด้วยกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ และขณะนี้กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ก็ได้มีการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายจากเหตุการณ์ดังกล่าว


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่เพื่อเป็นการแสดงออกต่อความปรองดอง ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554

นางสาวยิ่งลักษณ์ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ประเทศไทยมีความเสถียรภาพและมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง แต่นางสาวยิ่งลักษณ์กลับทำหน้าที่ด้วยการรับคำสั่งจากพี่ชาย และหลีกเลี่ยงการทำหน้าที่อย่างเช่นการเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา นางสาวยิ่งลักษณ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงดำเนินการอย่างไม่ลดละ ที่จะรวบอำนาจรัฐ และพยายามลดความน่าเชื่อถือขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระ และจนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีกลุ่มมวลชนของรัฐบาลที่เรียกว่ากลุ่มคนเสื้อแดงยังได้มีพฤติกรรมคุกคาม ข่มขู่ องค์กรตุลาการ ภาคประชาชน พรรคการเมือง และสื่อมวลชนที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อคุกคามฝ่ายตรงข้าม ด้วยพฤติกรรมดังกล่าว นางสาวยิ่งลักษณ์จึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้กล่าวประนามผู้อื่นว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์ยืนหยัดต่อหลักการว่าด้วยเสรีประชาธิปไตย ทั้งชายและหญิงควรจะได้รับความเคารพในสิทธิ การแสดงออกอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะมีความคิดทางการเมืองในฝ่ายของเสียงข้างมากหรือไม่ก็ตาม

การประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง และการคุกคามต่อองค์กรภาคประชาสังคมและผู้ที่เห็นต่าง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการบ่อนทำลายสิทธิ เสรีภาพทางการเมือง และความหวังของประชาชนชาวไทย โดยที่การตระหนักและการเล็งเห็นการคุกคามต่างๆ ต่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริงโดยประชาชนคนไทย และมิตรสหายในประชาคมโลกเท่านั้น เราจึงจะสามารถร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยของประเทศมีความยั่งยืนสืบไป

7 Dangerous Facebook's Habits: 7 นิสัยอันตรายในเฟซบุ๊ค!

ธาม เชื้อสถาปนศิริ,
นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
timeseven@gmail.com



เพราะเฟซบุ๊คเป็นโลกชุมชนเสมือนจริงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้คนเข้ามาพูดคุย บอกเล่า และสร้างความสัมพันธ์เก่าใหม่ไปพร้อมๆ กัน เมื่อชุมชนหนึ่งๆ ที่มีประชากรมากขนาดนั้น “ปฏิสัมพันธ์” ระหว่างกันย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และ ผู้คนต่างๆ นี้เอง ก็พาเอานิสัย/บุคลิกส่วนตัวเข้ามาในโลกนี้ด้วย

มีการศึกษาจากวารสารการแพทย์อเมริกันพบว่า เฟซบุ๊คทำให้คนกล้าที่จะพูดเรื่องตัวเองมากขึ้น ช่างคุยมากขึ้น และในบางราย คือ หลงตัวเองมากขึ้น อันเป็นผลมาจาก การใช้สื่อเฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารกับคนทั้งโลกว่าคุณทำอะไรอยู่ เช่นเดียวกับ ยูทูบว์ หรือ ทวิตเตอร์ ที่เน้นการสื่อสารจากตัวคุณเอง

การสื่อสารในสื่อใหม่ คือ การทำให้ .”คุณ” (you) ได้พูดเรื่องตนเองมากขึ้น
โดยมีโลกทั้งใบพร้อมฟังคุณ!

อย่างไรก็ตาม จากที่ผู้เขียนค้นดูงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม /อุปนิสัย ที่อาจเป็นที่น่ากังวลอันเกดมาจากพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คที่ขาดสติเท่าทัน

มี 7 อุปนิสัย ที่อาจพัฒนาเป็นบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาเชิงจิตวิทยาในระยะยาวของผู้ใช้เฟซบุ๊คที่อาจรู้ไม่เท่าทัน ดังนี้

(1) “หลงไหลตัวเองมากขึ้น”

เป็นอุปนิสัยแรกเริ่มที่อาจดูไม่เป็นปัญหา หรือนำไปสู่หลายๆ ปัญหา ไม่น่าเชื่อว่า เฟซบุ๊คทำให้คนหลงตัวเองมากขึ้น!

ผู้คนส่วนมากรู้เรื่องตนเองดีที่สุด ฉะนั้นพวกเขาจึงมักโพสต์ทุกอย่างที่พวกเขาภูมิใจ ง่ายที่สุดคือเรื่อง “หน้าตา” คนพวกนี้มักชอบโพสต์รูปตัวเองในมุมสวย หล่อ และเฝ้ารอคนมากดชื่นชอบหรือแสดงความคิดเห็น หรือ กระทั่งการกดปุ่มไลค์ รูปที่ตนเองเพิ่งจะโพสต์ลงไป!

เฟซบุ๊คทำให้คนขี้โม้ ขี้คุย ขี้อวดมากขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมการอวด หลายคนมักโพสต์รูปถ่ายกับรถใหม่ บ้านใหม่ ของเล่นชิ้นใหม่ บ้านใหม่ งานใหม่ สถานที่เที่ยวใหม่ๆ กระทั่งอาหารที่กำลังจะทานพวกเขาก็ไม่วายที่จะถ่ายรูปเพื่อเอามาอวดเพื่อนๆ หรืออวดว่ามีจำนวนคนมาขอเป็นเพื่อนมากมาย คนมากดชอบ แสดงความคิดเห็น ก็กลายเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาหลงตัวเองมากขึ้นไปอีก

แน่ว่า พวกเขาทำล้วนทำทุกอย่างเพื่อโปรโมทตัวเอง!


(2) “ขี้อิจฉามากขึ้น

เมื่อมีคนโพสต์เรื่องตนเอง หน้าตาดี ชีวิตดี ฐานะดี ดูดี ดูเท่ห์ คนอีกจำนวนหนึ่งที่รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่ดีแบบนั้น จึงกลายเป็นคนที่ขี้อิจฉามากขึ้น พวกเขายิ่งรู้สึกดอยค่าและไม่พอใจในชีวิตตนเอง และรู้สึกว่าตนเองเป็น “ไอ้ขี้แพ้” ตลอดเวลา

ในแง่นี้อธิบายได้ว่า “เพราะในโลกจริง ผู้คนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นคนจน ชนชั้นกลาง หลายๆ คนไม่ได้เป็นคนเก่ง คนที่ได้รับสถานะทาสังคมเฉกเช่นดารา คนดัง หรือบุคคลสาธารณะ เพื่อคนธรรมดาเหล่านั้นเข้ามาใช้เฟซบุ๊ค เขาก็เพียงแค่อยากจะรู้สึกเป็นคนเด่น คนดัง คนสำคัญบ้าง จึงต้องสร้างภาพตนเองให้ดูดีในพื้นที่สาธารณะสักเล็กน้อย เพื่อหลอกตัวเองหรือผู้อื่น การยกระดับภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น ก็มิใช่อะไรอื่น นอกจากขาอิจฉาคนอื่น ไม่ว่าจะมาจากโลกจริงหรือโลกเสมือนก็ตาม”

(3) “มองโลกในแง่ร้าย”

เฟซบุ๊คเป็นที่ที่คนชอบโพสต์เรื่องส่วนตัวดีๆ ขณะที่เรื่องส่วนรวมของสังคมมักเป็นเรื่องร้ายๆ ดังนั้นคนที่เสพข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก จึงมักเห็นเรื่องปัญหาสังคมต่างๆ ถูกหยิบขยายความ ตีความ ส่งต่อแพร่หลายกระจายวงกว้าง พวกเขาจึงรู้สึกว่า “โลกช่างโหดร้าย” และมีลักษณะไม่ไว้วางใจผู้คนเรื่องต่างๆ มากขึ้น


(4) “ชอบสอดส่องสอดรู้ชีวิตคนอื่นๆ”

เฟซบุ๊คเอื้อโอกาสให้เราสามารถสอดส่องดูชีวิตของเพื่อนเราได้อย่างไร้ขอบเขตเวลาและสถานที่ แม้จะมีระบบติดตั้งความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว แต่ผู้คนจำนวนมากก็หลงลืมการสร้างเขตแดนจำกัดพื้นที่ชีวิตของตน หลายคนถูก “หลงไหล/ติดตาม/เฝ้าดู” อย่างใกล้ชิดจากคนแปลกหน้าที่เข้ามาเป็นเพื่อน และชีวิตของเราก็ถูกคนทั้งโลกจับตามองอยู่ตลอดเวลา

การสอดส่อง ติดตาม (stalker) หรือการเข้าไปก้าวล่วงชีวิตของผู้อื่น นั่นแสดงว่าคุณมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก เพราะคุณเริ่มแยกไม่ออกระหว่าง พื้นที่สาธารณะ และความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น และนั่นอาจทำให้คุณรู้สึก “ย่ามใจและมีอำนาจเหนือชีวิตของผู้อื่น” และก้าวไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ในโลกจริงกับเขาที่คุณชื่นชอบ


(5) “เปิดเผยตนเองมากขึ้น-กันเองมากขึ้น”

ในที่นี้หมายถึง เป็นกันเองมากขึ้นกับทุกๆ คน เฟซบุ๊คมีระดับความเป็นเพื่อนมากมาย แต่ทุกคนก็หลงลืมระยะห่างทางกายภาพในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้คนในเฟซบุ๊คใช้ภาษา หรือเข้ามาพูดจาทักทายผ่านข้อความกับบุคคลต่างๆ เสมือนเป็นเพื่อนมาอย่างยาวยาน พวกเขา “ระมัดระวังและรักษาระยะห่างน้อยลง” ความสัมพันธ์กลายเป็น “ง่ายๆ และกันเอง” นั่นทำให้ภาษาพูดและ ระดับการคุกคาม การวิพากษ์วิจารณ์มีระดับรุนแรง และนำไปสู่การพูดแบบไม่ใส่ใจเขาใจเรามากขึ้น

ผู้คนในเฟซบุ๊คใช้ถ้อยคำภาษาที่กันเองมากขึ้น พวกเขาไม่รู้สึกแปลกที่จะบอกเล่าเรื่องราวความคิดความรู้สึกของตนเองกับคนแปลกหน้า

และนั่นนำมาสู่ การเปิดรับ รู้จักคนแปลกหน้ามากขึ้น และกับดักของอาชญากรในเฟซบุ๊คที่พวกเขามักใช้ คือ ถ้อยคำที่สุภาพ ท่าทางที่ดูคบได้ ไว้ใจได้ และการสร้างความไว้วางใจที่มาจากบทสนทนาที่ดูเป็นกันเอ


(6) “จมทุกข์แบกโลกซึมเศร้า”

มีหลายคนที่ในชีวิติจริงพวกเขาไม่มีความสุข พวกเขาจึงแบกโลกที่พวกเขาอยู่มาสถิตไว้ในเฟซบุ๊ค กลายเป็นแหล่งระบายอารมณ์ จมทุกข์ โศกเศร้ามากขึ้น การระบายอารมณ์ หรือแสดงความรู้สึกผิดหวังเสียใจนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่คุณอาจพบว่ามีเพื่อนบางคนที่มักจะอยู่ในอารมณ์เศร้าตลอดเวลา นั่นแสดงว่าเขาไม่สามารถหลุดพ้นก้าวข้าวสภาวะนั้นได้ และ จะกลายเป็นคนที่มีภาวะซึมเศร้าแบบออนไลน์ตลอดเวลา และคนอื่นๆ ก็จะพากันเบื่อหน่ายหรือรังเกียจพกเขา แทนที่จะเข้าใจและช่วยรักษาพวกเขา


(7) “หลงใหลยึดติดแบบอย่างชีวิตของผู้อื่น”

เฟซบุ๊คเป็นสังคมเสมือนจริง แต่ไม่ใช่โลกจริง เป็นที่ที่ผู้คนดี เลว รวย จนมาสื่อสารร่วมกัน คนธรรมดา ดารา คนดัง มาใช้ชีวิตร่วมกันในโลกออนไลน์ ผู้คนส่วนมากที่ติดเฟซบุ๊คจะแยกแยะไม่ออกระหว่างชีวิตจริง โลกจริง พวกเขาเริ่มรู้สึกยึดติด ติดตาม ผูกพันกับชีวิตของคนอื่นๆ มากขึ้น กลายเป็นว่า พวกเขาจะใช้ชีวิตของตนเองด้วยการยึดเอาชีวิตของคนอื่นเป็นแนวทาง ที่พักพิงใจ และเริ่มสนใจชีวิตตนเองน้อยลง

คนที่หลงใหลในชีวิตผู้อื่น จะสูญเสียความภูมิใจในตนเอง มากไปกว่านั้น คือ เฝ้ารอ เฝ้าคอยที่จะติดต่อติดตามสื่อสารกับผู้อื่น คนที่เขานับถือเป็นแบบอย่างตลอดเวลา เขาจะไม่สนใจชีวิตของตนเองอีกต่อไป!

ร้ายกว่านั้นคือ เขาอนุญาตให้ชีวิตคนอื่นเข้ามาควบคุมบงการชีวิตของเขาเอง
ร้ายที่สุด คือ สับสนในโลกจริง โลกเสมือน และไปใช้ชีวิตของตนเองในชีวิตเฟซบุ๊คของคนอื่น!

จะเห็นว่า เฟซบุ๊คนั้น มิใช่เชื้อโรคหรือไวรัส แต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่บ่มเพาะ ผลิต และเผยแพร่โรค อันเกิดมาจากผู้คนที่มาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมเสมือนจริง ผู้คนต่างๆ เข้ามาเสพติดมันและเปลี่ยนนิสัยตนเอง หรือย้ำสร้างนิสัยเดินตนเองให้มีความรุนแรงมากขึ้น

พลังของเฟซบุ๊ค ที่ให้การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ สภาวะไร้ขอบเขตเวลาพรมแดน และการปลดปล่อยตัว ซ่อนเร้นตนเองจากชีวิตจริง นั่นทำให้ต่างคนต่างแพร่กระจายโรคออนไลน์ได้ง่ายขึ้น หากเราใช้สื่ออย่างรู้ตระหนักเท่าทันสภาวะจิตใจตนเอง เท่าทันอารมณ์ และรู้ทันความโลกเสมือนจริงนี้ เราก็จะมีภูมิคุ้มกันสื่อและใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข!
============
ธาม เชื้อสถาปนศิริ

มาร์ค-สุเทพ ยันพบดีเอสไอ14พ.ค.นี้


มาร์ค-สุเทพ ไม่หวั่น ดีเอสไอ ส่งหมายเรียกรับทราบข้อหา ก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล พยายามฆ่า 14 พ.ค.นี้ เตรียมพบพนักงานสอบสวนตามนัด มาร์ค ลั่น ไม่ยอมให้ต่อรองเรื่องนิรโทษกรรม ไม่เสียสมาธิในการต่อสู้ทางการเมือง ด้าน สุเทพ ใช้หลักตาต่อตาฟันต่อฟัน ย้อนศร ฟ้องกลับ ธาริต-พวก ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทุกคดี รับสภาพ อยู่ในยุคอธรรมครองเมือง กร้าว ยอมติดคุกเพื่อรักษากฎหมายแต่ไม่สยบให้กับอำนาจอธรรม จวก แม้ว และพวก เหลิงอำนาจ ไม่ใช่นัก ปชต. เชื่อ ใกล้ถึงจุดจบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีเอสไอได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมาที่พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อยื่นหนังสือแจ้งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ไปรับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานดีเอสไอในวันที่ 14 พ.ค. 56 ในสองคดี ประกอบด้วย ข้อหา ก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล กรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา และฐานพยายามฆ่า นายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการเข้าควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบในปี 2553 ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็นคดีที่สองและสามหลังจากที่ดีเอสไอเคยแจ้งข้อกล่าวหาไปแล้วครั้งหนึ่ง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับนายสุเทพ ตามที่ดีเอสไอนัดหมายเพื่อรับทราบการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งก็อยู่บนฐานแนวคิดเดิมของดีเอสไอที่เคยมีการแจ้งข้อหามาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนจะฟ้องกลับหรือไม่นั้นจะต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาให้ชัดเจนก่อน โดยคาดว่าคงใช้เวลาไม่นานแตกต่างจากคราวที่แล้วที่พนักงานสอบสวนมีการบรรยายข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายยาว แต่คราวนี้คงไม่ต้องท้าวความอะไรอีก อย่างไรก็ตามแรงบีบที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อจุดยืนของตนและนายสุเทพ นอกจากทำให้ในวันที่ 14 พ.ค.นี้ต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาเท่านั้น และการดำเนินคดีกับตนและนายสุเทพ หลายคดีก็จะส่งผลเพียงแค่ทำให้ต้องใช้เวลาไปกับการต่อสู้คดีมากขึ้น แต่ยืนยันว่าไม่ทำให้เสียสมาธิในการต่อสู้ทางการเมืองที่กำลังทวีความเข้มข้นมากขึ้นในหลายประเด็น โดยเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้สังคมเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐในขณะนี้ เหมือนกับที่พรรคได้เขียนไปในจดหมายเปิดผนึกว่าทั้งตำรวจและดีเอสไอเป็นเครื่องมือทางการเมือง

“ผมเตือนไปแล้วว่าถ้าหวังว่าจะเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อต่อรองก็บอกได้ว่าไม่มีผล และไม่อยากให้คนมีหน้าที่ตามกฎหมายไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากระทำผิดกฎหมายผมก็มีสิทธิ์ที่จะใช้สิทธิเท่านั้นเอง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีต เลขาสมช.ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระบุว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอจะสะดุดพฤติกรรมของตัวเองไม่วันใดก็วันหนึ่งนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนย้ำไปหลายครั้งว่าใครก็ตามที่ไม่ทำตามเนื้อของกฎหมายในที่สุดก็ต้องรับผิดชอบ ทุกอย่างเป็นไปตามระบบ ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าเหตุใดนายธาริตจึงยังเดินหน้าแบบนี้ เพราะหากมีอำนาจการเมืองเข้าไปสั่งการในที่สุดแล้วคนทใช้อำนาจตามกฎหมายต้องเป็นคนรับผิดชอบ

ด้านนายสุเทพ กล่าวยืนยันว่า การที่นายธาริตเจ้าเก่าดำเนินคดีกับตนและนายอภิสิทธิ์เพิ่มนั้นเป็นสิ่งที่คาดหมายไว้อยู่แล้ว เพราะคนเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะยัดเยียดข้อหาสั่งฆ่า และพยายามฆ่าให้กับตนและนายอภิสิทธิ์ มาโดยตลอด แต่ตนยืนยันว่า การทำหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบจากการก่อจลาจล ก่อการร้าย มีการใช้อาวุธสงครามฆ่า ทหาร ตำรวจ และประชาชนในขณะนั้นเป็นไปตามหลักของกฎหมายซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่คืนความสงบให้บ้านเมือง และดีเอสไอไม่มีอำนาจในการสอบสวนคดีนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดังนั้นเมื่อมีการแจ้งข้อหาตนเพิ่มอีกสองคดีก็จะฟ้องกลับนายธาริตเพิ่มอีกสองคดีฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเช่นเดียวกัน

นายสุเทพ ยังฝากถึงพนักงานสอบสวนด้วยว่า ตนจะใช้สิทธิทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรม เมื่อเห้นว่านายธาริตและพวกได้ทำตัวเป็นพนักงานสอบสวนทั้งที่ไม่มีอำนาจ แต่มีเจตนาที่จะเอาผิดตนกับนายอภิสิทธิ์ ด้วยการตั้งข้อหาทั้งตนและนายอภิสิทธิ์ไปเรื่อย ๆ จนไม่สามารถกระดิกกระเดี้ยไปไหนได้ เพื่อหวังผลกดดันให้ยอมจำนนและบีบบังคับให้จำยอมในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสมุน บริวาร โดยกฎหมายที่จะออกมานั้นพยายามจะบอกว่าพวกตนจะได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งทั้งตนและนายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าไม่ต้องการได้รับการนิรโทษกรรม แต่เห็นว่ากฎหมายบ้านเมืองต้องศักดิ์สิทธิ์ ใครทำผิดต้องได้รับโทษ แต่ถ้าสู้คดีแล้วแพ้ก็ต้องรับโทษ นี่คือหลักของบ้านเมือง ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองก็จะไม่สงบสุข และเชื่อว่าความพยายามของรัฐบาลจะไม่สำเร็จ เพราะพวกตนมีหัวใจที่หนักแน่น ไม่ยอมสยบให้กับอธรรม หรือคนที่ใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เราไม่มีวันยอมแม้ต้องแลกด้วยการติดคุกก็ตาม เป็นไงเป็นกัน ขอรักษาหลักการของบ้านเมืองและหลักการของกฎหมาย จึงขอย้ำว่าจะบีบบังคับอย่างไร พวกตนก็ไม่มีวันยอมจำนน แต่จะสู้คดีตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน โดยถือว่าเกิดมามีชีวิตในประเทศไทยช่วงอธรรมครองเมืองก็ต้องก้มหน้าก้มตาสู้คดีไป

นายสุเทพ ยังเรียกร้องให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านการใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย อย่ายอมให้มีการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง อย่ายอมให้ใช้พวกมากเขียนกฎหมายยกเว้นโทษ ลบล้างความผิดให้พวกตัวเอง เพราะนั่นคือการทำลายหลักการที่สำคัญของบ้านเมือง และจะทำให้บ้านเมืองมีปัญหาต่อไปไม่สิ้นสุด ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันทุกองค์กรต้องไม่หวั่นไหว แต่ต้องทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยเชื่อว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังถูกกดดันในขณะนี้ก็จะไม่หวั่นไหวเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เห็นว่าบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้กำลังนำไปสู่ปัญหา ซึ่งพรรคก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองและประชาชนก็ต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่ของตัวเองในการรักษาประเทศด้วย

สำหรับสัญญาณที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งถึงพรรคเพื่อไทยนั้นทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นนักโทษหนีคดีมีอิทธิพลบงการนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลให้ทำตามได้ทุกเรื่อง โดยมีความฮึกเหิม เหลิงอำนาจ ไม่เคารพกฎหมายและศาล ไม่ใช่นักประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ชัยชนะของคนเหล่านี้ไม่ยั่งยืน เพราะในวันหนึ่งประชาชนจะทนไม่ได้ และวันนั้นก็จะได้รับผลกรรมที่สร้างขึ้น โดยในส่วนของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนทั้งประเทศ แต่ทำตามคำบงการของพี่ชายโดยไม่คำนึงถึงความถูก ผิด ถึงขนาดบิดเบือนข้อเท็จจริงในการกล่าวปาถกฐาทำร้ายประเทศไทยในเวทีโลกอย่างที่ไม่เคยมีผู้นำชาติไหนทำมาก่อน
//////