PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมชาย อาสนจินดา ผู้จองหองทุบหมอข้าวตัวเองกระชิ่งเผด็จการ



 ตำนานแห่งความอดอยากปากแห้ง ของนักเขียน นักนสพ.ชื่อ ส.อาสนจินดา

เช้านี้อากาศกรุงเทพฯ สดใสหลังฝนใหญ่ต้นเดือนสิงหา ลัดดาคิดถึงครูหนังสือพิมพ์อีกคน ครู ส.อาสนจินดา

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้รู้จักมักคุ้นเป็นอันมากกับความอดอยากปากแห้งแห่งวิชาชีพ

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้มีชีวิตพลิกผันจากครูสอนหนังสือชั้นมัธยม เสมียนสหกรณ์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ พระเอกละครเวที ผู้กำกับการแสดง ผู้อำนวยการสร้าง กระทั่งถึงศิลปินแห่งชาติ

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ที่ในปี2530 ได้รางวัลดาราประกอบยอดเยี่ยมจากเรื่อง " บ้าน " ในงานงานภาพยนตร์แห่งเอเซีย

เป็น ครู ส.อาสนจินดา ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2531 ในฐานะดาราสนับสนุนดีเด่น (ชาย) และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย

เป็นครู ส.อาสนจินดา ผู้กำกับบทภาพยนตร์คลาสสิคเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาที่เป็นตำนานของเมืองไทยอย่าง “7 ประจัญบาน” ในฐานะฮีโร่ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี

ลัดดาจะกล่าวเฉพาะเรื่องราวแห่งชีวิตพิสดารของ ส.อาสนจินดา ที่ในความทรงจำของลัดดาคนวัย 73 พอจำได้หลายเรื่อง บังเอิญ 4-5 นาทีนี้นึกได้บางเรื่อง ก็อยากบันทึกไว้

เรื่องแรก เกิดราวปีพุทธศักราช 2492 

หลังตกเก้าอี้บรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ได้ไม่กี่วัน ส.อาสนจินดา ไม่มีบ้านของตนเอง ต้องกลับไปอาศัยนอนในกุฏิพระวัดมหรรณพฯ

วันหนึ่งเขาสวมเครื่องแต่งกายที่มีอยู่ชุดเดียว นุ่งกางเกงก้นปะตัวเก่า นำต้นฉบับเรื่องสั้นชื่อ ‘หมึกพิมพ์บนฝ่ามือ’ ไปขาย อิศรา อมันตกุล ผู้ให้ความอบอุ่น ให้ความเมตตาเสมอมานับนาน

อิศรา อมันตกุล ช่วงนั้นเป็นบรรณาธิการ ‘เอกราช’ มีสำนักงานอยู่หลังอาคาร 9 ถนนราชดำเนิน
พลันที่ก้าวเข้าไปห้องกองบรรณาธิการ ได้ยินเสียงอิศรา อมันตกุล ดังขึ้นก่อนว่า

“นี่ไง เพื่อนฝูงนี่แหละ ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ธำรง พระเอกละครเวทีของนาย เขาเดินเข้ามายืนอยู่ต่อหน้าพวกเราแล้ว” 

อิศรา อมันตกุล บอกกับ ศักดิ์เกษม หุตาคม เจ้าของนามปากกา ‘อิงอร’ ชาวสงขลา ที่เข้ามารับราชการในกรุงเทพ แล้วเขียนนวนิยายเรื่อง 'ดรรชนีนาง' ลงในหนังสือประชามิตรมีชื่อเสียงโด่งดัง

เมื่อนำมาแสดงละครที่ศาลาเฉลิมนคร โดยมีพระเอกนักประพันธ์ คือ ส. อาสนจินดา 

ควรทราบว่าไม่กี่นาทีก่อนหน้านั้น ศักดิ์เกษม หุตาคม นั่งตื๊อปั้นหน้าอย่างคนมีปัญหาความคิด ให้อิศรา อมันตกุล ตกลงปลงใจรับบท ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ธำรง พระเอกละครเรื่อง ‘ดรรชนีนาง’ ที่จะแสดงบนเวทีศาลาเฉลิมนครในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้าแทน สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกตัวจริงผู้ตกปากรับคำแล้วกลับถอนตัวอย่างปัจจุบันทันด่วน

เมื่อ อิศรา อมันตกุล ปฏิเสธอย่างหัวเด็ดตีนขาดว่าเล่นไม่เป็น เล่นไม่ได้ ศักดิ์เกษม หุตาคม จึงหันมาร้องขอ ส.อาสนจินดา ให้ช่วยขายผ้าเอาหน้ารอด

ในชั้นต้น ส.อาสนจินดา ขัดข้องว่าตนเองกำลังเตรียมการจะลาบวช ที่พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา ทว่าเมื่อเห็นตัวเลขรายได้ประมาณ 1,000 บาท จากการเล่นเป็นพระเอกละคร 12 วัน 32 รอบ

ส.อาสนจินดา นั่งอึ้งนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วตอบตกลงใจให้เพื่อนฝูงไชโยโห่ร้องกันลั่นโรงพิมพ์

ถามว่า ส.อาสนจินดา คิดอย่างไรกับการตัดสินใจในวันนั้น

ส.อาสนจินดา เคยตอบผู้สนิทสนมบางคนว่า เขาไม่ได้คิดอะไรมากมายหรอก ในความเป็นจริง วันนั้นเขาหิวโหยมากกว่ากินกาแฟ 8 ถ้วยต่างข้าวตั้งแต่เช้า ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเงินแค่ 6 บาท และดีใจตายโหงเมื่อยินว่าค่าตัวพระเอกจะได้ตั้งพัน

อนึ่ง มีเกร็ดเรื่องเพลงสากลเพลงหนึ่งที่ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมนั่นคือเพลง "เดือนต่ำ-ดาวตก" 

เดือนต่ำดาวตก (ฮัม) วิหคร้อง เหมือนเสียงน้องครวญคร่ำร่ำเฉลยสารภีโชยกลิ่นเรณูเชย เหมือนพี่เคยจูบเกศแก้วกานดา หอมระรวยชวนชื่นระรื่นจิตถวิลคิดครั้งเมื่อขนิษฐา สละศักดิ์ฐานันดรดวง

ดอกฟ้าต้องหนีหน้าวงศ์ญาติมาด้วยกัน ณ เวิ้งอ่าวชายฝั่ง ณ ที่นี้ น้องช่วยพี่สร้างห้องหอสวรรค์ กระท่อมน้อย (ฮัม) คอยเตือน เรือนผูกพัน ระลึกวันขวัญสวาท อนาทรัก

เพลงพม่าแปลง อัตราสองชั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ม.ล. ต่วนศรี วรวรรณ ได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลง มอญแปลง และเรียกชื่อใหม่ว่าเพลง มะตะแบ แต่คนทั่วไปเรียกว่า พม่าแปลง ใช้บรรเลงตอน

นางเอกโศกเศร้า ต่อมา ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้นำเพลงพม่าแปลงสองชั้น มาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา เพลงเดือนต่ำ-ดาวตก นี้ ครูแจ๋ว วรจักร หรือสง่า

อารัมภีร ได้เขียนเล่าความเป็นมาของเพลงไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2492 “อิงอร” หรือนายศักดิ์เกษม หุตาคม ไปที่บ้านคุณชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (ท่านเป็นสามีผู้ล่วงลับของคุณสุวรรณี ศิลปินแห่งชาติอีกท่าน
และยังมีศักดิ์เป็นปู่ของ อุ้ม จารุตม์)  และไปแต่งเนื้อเพลง เดือนต่ำ-ดาวตกใช้เวลาเพียงสั้นๆเท่านั้นก็แต่งได้สำเร็จแล้วนำทำนองเพลงพม่าแปลง สองชั้นมาดัดแปลงบรรจุคำร้อง ให้ชื่อว่า

เพลง เดือนต่ำ-ดาวตก

เพลงนี้ ปรีชา บุนยเกียรติ เป็นผู้ร้องหลังฉาก แทนพระเอก ส. อาสนจินดา โดยให้พระเอกทำลิปซิ้ง ทำให้เพลงโด่งดังมาก ปรีชา บุนยเกียรติ ได้นำติดตัวไปร้องตามวิทยุ กรมโฆษณาการ และกรม
ไปรษณีย์ที่กระจายเสียงอยูที่ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แถวๆโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ทำให้ปรีชา บุนยเกียรติ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไปนับแต่นั้นมา


***************************
เรื่องที่สอง เกิดระหว่างปี 2490 

มีสองเหตุการณ์ที่ ส.อาสนจินดา ไม่เคยลืมความอดอยากปากแห้งแสนสาหัสระหว่างเป็นบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ต้องอาศัยนอนโรงพิมพ์เพราะไม่มีบ้านอยู่

คืนหนึ่งท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เสื้อหนาวไม่มีใส่ ส.อาสนจินดา หลบลงนอนคุดคู้ห่มผ้าผวยอยู่ใต้โต๊ะทำงานที่โรงพิมพ์ 2 คูหาละแวกสะพานผ่านฟ้า กับเพื่อนรุ่นน้องสองคนชื่อ ประทีป โกมลภิส กับ สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช 

มีเพื่อนเก่า ตมธ.รุ่น 4 ของ ประทีป โกมลภิส ชื่อ สนิท เอกชัย แวะมาเยี่ยมเยียน

เมื่อยินเสียงขยับเขยื้อนเคลื่อนตัวกุกกักใต้โต๊ะทำงานในห้องที่แสงไฟสลัว สนิท เอกชัย ถาม ประทีป โกมลภิส ว่า

‘เอ็งเอาลูกหมามาเลี้ยงไว้ใต้โต๊ะนี้ด้วยหรือวะ’

ประทีป โกมลภิส รีบบอก

‘ไม่ใช่ลูกหมาโว้ย เขาเป็นลูกพี่อั๊ว เขาเป็นบรรณาธิการ เขาชื่อ ส.อาสนจินดา

พลันที่ สนิท เอกชัย ยินชื่อ ส.อาสนจินดา เขาลิงโลดยินดีว่ารู้จักชื่อเสียงเป็นนักเขียนหน้าใหม่เขียนเรื่องสั้นชื่อ ‘รอยไม้ที่หลังแขน’ กับ ‘เจ็บถึงหัวใจ’ ลงใน ‘สุภาพบุรุษ-ประชามิตร’ เขียนดีมาก ‘อั๊ว

เพิ่งอ่านวานนี้ อั๊วอยากรู้จัก’

แล้ว สนิท เอกชัย ก็นั่งคุกเข่าลงคารวะบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ ที่เลิกผ้าผวยยื่นหน้าในชุดเสื้อกล้าม นุ่งผ้าขาวม้า ขึ้นมารับไหว้ให้เห็นว่าเป็น ส.อาสนจินดา หาใช่ลูกหมาไม่

อีกเหตุการณ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อ ส.อาสนจินดา ท้องกิ่วหิวโหย ไม่มีเงินเลยสักบาท ลูกน้องอีก 6-7 คน ก็โรยแรงตั้งแต่เช้าหามีอะไรตกถึงท้องไม่

ส.อาสนจินดา ตัดสินใจถอดนาฬิกาข้อมือให้ สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช นำไปเข้าโรงรับจำนำเยื้องโรงพิมพ์ ฟากถนนฝั่งตรงข้าม

หลงจู๊โรงรับจำนำพิจารณาแล้วบอกนาฬิกาข้อมืออะไรวะ เสียงดังยังกับโรงสี พลางหยิบเงินรับจำนำให้แค่ 2 บาท

สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช บอกหลงจู๊ว่า นาฬิกาเรือนนี้เป็นของลูกพี่บรรณาธิการ คนร่างสูงหล่อผมหยักศก เขาจะเอาเงินไปซื้อข้าวซื้อน้ำให้พวกอั๊วกินแค่ 2 บาท จะพอยาไส้อะไรที่ไหนกัน

ปรากฏว่า หลงจู๊เห็นใจเพิ่มให้จาก 2 บาท เป็น 8 บาท อาหารคนในกองบรรณาธิการ ‘8 พฤศจิ’ เที่ยงวันนั้น จึงมีทั้งข้าวผัด ทั้งก๋วยเตี๋ยว กินอย่างอิ่มหมีพีมันกัน 7-8 ห่อ

///////////
สมชาย อาสนจินดา
ผู้จองหองทุบหมอข้าวตัวเองกระชิ่งเผด็จการ

ส.อาสนจินดา เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และนักแสดง โดยเริ่มจากเป็นครูสอนหนังสือ ม.3 โรงเรียนอำนาจศิลป์ ต่อมาหันเอาดีไปรับราชการเป็นเสมียนสหกรณ์เชียงราย และใช้ช่วงเวลากลางคืน

เขียนเรื่องสั้นส่งให้นิตยสารสุภาพบุรุษประชามิตร ก่อนลาออกจากราชการ เพื่อเริ่มต้นนับหนึ่งงานหนังสือพิมพ์ที่กรุงเทพฯ โดยเข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกรายปักษ์ ก่อนขยับไปทำ  บางกอก

รายวัน  ที่คึกคักไปด้วยนักเขียนหนังสือพิมพ์ชื่อเฟื่องระดับ  อิศรา อมันตกุล   เสนีย์ เสาวพงศ์   อุษณา เพลิงธรรม  โดยน้องใหม่ถูกมอบหมายให้รับหน้าที่ตระเวนข่าวโรงพัก

แต่  บางกอกรายวัน  ขายดินขายดีไม่ทันไรก็ร่วงผล็อยต้องปิดตัวลง เพราะนายทุนถอดใจ

เขาตกงานอยู่พักใหญ่ ต้องหอบเสื่อผืนหมอนใบ กลับไปอาศัยวัดมหรรณพฯ อันเป็นวิวาสสถานเดิม กระทั้งเกิดรัฐประหารโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ได้อาทิตย์กว่าๆ เขา

ยังนุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำอยู่กลางลานวัด มีหนุ่ม 2 คน ชื่อ  ประทีป โกมลภิศ  และ  สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช  แนะนำตัวว่าทั้งสองได้รับหมอบหมายจากผู้ใหญ่ในคณะรัฐประหาร จะเป็นใครไม่ขอเปิด

เผย ให้เตรียมการออกหนังสือพิมพ์รายวัน  8 พฤศจิกา  จึงมาเชื้อเชิญให้นั่งเก้าอี้บรรณาธิการ อันมี  หลวงกาจสงคราม  และ  ขุนจำนง ภูมิเวท  เป็นหัวเรือใหญ่ เขาตอบตกลงในเงื่อนไขว่า  มีอิสระใน

ภาระหน้าที่บรรณาธิการอย่างเต็มภาคภูมิ ผู้ใหญ่ไม่ว่าใครในคณะรัฐประหารจะเข้ามาแทรกแซงมิได้

หนังสือพิมพ์  8 พฤศิจิกา  จึงเดินเครื่องตามมงคลฤกษ์ที่ผู้จัดการชื่อ  เทพ สาริกบุตร  โหรใหญ่เป็นผู้กำหนด มียอดขายในระยะเริ่มแรกค่อนข้างดี เพราะมีข่าวความเคลื่อนไหวติดตามจับ  ปรีดี พนมยงค์  กับพวก และบุคคลในคณะรัฐบาลชุดเก่าอย่างตื่นเต้น ต่อเนื่อง

กระทั้งวันหนึ่งคณะรัฐประการจับกุมคนหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คน ไปคุมขัง ในจำนวนนี้ มี  อิศรา อมันตกุล  หัวหน้ากองบรรณาธิการเอกราช รวมอยู่ด้วย

ต้องไม่ลืมว่า  ส.อาสนจินดา  บูชา  อิศรา อมันตกุล  ว่า เป็นพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ในอุดมการณ์ ไม่มีค่ายไม่เอียงฝ่ายไหนยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชน

เขา จึงใช้คอลัมน์บรรณาธิการ คือ บทนำ เขียนตำหนิ จอมพลป. พิบูลสงคราม หัวหน้ารัฐบาลในขณะนั้นอย่างดุเดือด การกระทำดังกล่าวเปรียบเหมือนผู้จองหองทุบหม้าข้าวตัวเอง ที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฝ่ายรัฐประหาร เขียนบทนำ ตำหนิการกระทำของงฝ่ายรัฐประหารเอง

ปัญหาจึงเกิดขึ้นภายในโรงพิมพ์โดยพลันอย่างน่าใจหาย เมื่อปรากฏว่าสัปดาห์นั้น เงินทุกบาทของกองบรรณาธิการไม่ออกตามกำหนด

ส.อาสนจินดา เป็นนกรู้ อยู่เหมือนกัน รู้ว่าตัวเองควรปฏิบัติสถานใด เพื่อมิให้พรรคพวกในกองบรรณาธิการและครอบครัวต้องระทบกระเทือนเดือนดร้อน เขาจึงบินเดี่ยว ทำหนังสือลาออก

เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับสุดท้ายที่เขาทำงานในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ก่อนหลุดวงจรทะยานเข้าสู่แวดวงบันเทิง

เขาเคยรำพึงรำพันว่า ไม่มีอาชีพใดที่ผมจะเป็นสุขได้เท่ากับเป็นนักเขียนไส้แห้ง เป็นนักหนังสือพิมพ์เตะฝุ่น ผมขอยืนยันว่าวันหนึ่งผมจะกลับมา  ทว่าในท้ายสุดหาได้กลับมาไม่ เพราะวันที่ 19

กันยายน 2536 ในวัย 71 ปีเขาปิดฉากชีวิตด้วยโรคหัวใจ
////////////
สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน 2464 - 19 กันยายน 2536)

ศิลปินอาวุโส นักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533

เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง

จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
สมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493 [1]

เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ

เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน [1] เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ

เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน [2][1] ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น

เป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรีเจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง ,หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากสูบบุหรี่จัด

รางวัล

ตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี
พ.ศ. 2500 - มงกุฏเดี่ยว (ลำดับภาพ)
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต (บทภาพยนตร์)
พ.ศ. 2505 - เรือนแพ (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2529 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ
พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค
พ.ศ. 2523 - อุกาฟ้าเหลือง (นักแสดงประกอบชาย)
พ.ศ. 2530 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)
รางวัลศิลปินแห่งชาติ
พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)
/////
กำกับภาพยนตร์
ทุรบุรุษทุย (2500)
สุภาพบุรุษสลึมสลือ (2500)
ม่วยจ๋า (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501)
ยอดชาย (2501)
เจ็ดสิงห์สมุทร (2502)
ภูติเหลือง (2502)
ฝ่ามรสุม (2502)
มัจจุราชประกาสิต (2502)
สิบสองนักสู้ (2502)
ฟูแมนจู (2503)
สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
หมู่กล้าตาย (2504)
นันทาวดี (2505)
เจ็ดประจัญบาน (2506)
เขี้ยวพิษ (2506)
เก้ามหากาฬ (2507)
จ้าวพยัคฆ์ (2507)
มงกุฎเพชร (2508)
สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
หนึ่งในสยาม (2508)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)
น้ำเพชร (2508)
น้องนุช (2508)
ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
น้ำผึ้งป่า (2508)
อรัญญิก (2508)
ลูกของแม่ (2508)
แม่ยอดชีวิต (2509)
หงส์เหิร (2509)
ชุมทางหาดใหญ่ (2509)
จอมประจัญบาน (2509)
น้ำค้าง (2509)
จามเทวี (2509)
ปีศาจดำ (2509)
แก้วกลางสลัม (2509)
มือนาง (2509)
4 สมิง (2509)
ดรุณีสีเลือด (2509)
กระเบนธง (2509)
มนุษย์ทองคำ (2510)
เหล็กเพชร (2510)
ป้อมปืนตาพระยา (2511)
ที่รักจ๋า (2511)
ขุนตาล (2512)
นางละคร (2512)
ไอ้เปีย (2512)
ตาลเดี่ยว (2512)
ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
หวานใจ (2513)
ไอ้สู้ (2513)
ทุ่งมหาราช (2513)
จอมบึง (2513)
เพชรพระอุมา (2514)
ดอกดิน (2514)
คนใจเพชร (2514)
กระท่อมปรีดา (2515)
หนองบัวแดง (2516)
เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
อย่ารักฉัน (2517)
ผู้ดีเถื่อน (2517)
โสมสลัว (2517)
แผ่นดินของเรา (2519)
หนึ่งต่อเจ็ด (2520)
ความรักไม่มีขาย (2520)
อินทรีแดง ตอนพรายมหากาฬ (2523)
ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
ศรีธนญชัย (2524)
กำแพงหัวใจ (2524)
แผ่นดินต้องสู้ (2524)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)
ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)
เสือลากหาง (2527)

แสดงภาพยนตร์

ทุรบุรุษทุย (2500)
สาปสวรรค์ (2500)
สุภาพบุรุษสลึมสลือ (2500)
ทหารเสือกรมหลวงชุมพร (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
เจ็ดสิงห์สมุทร (2502)
มัจจุราชประกาสิต (2502)
สิบสองนักสู้ (2502)
เรือนแพ (2504) รับบท เจน
มือปืนสติเฟื่อง (2504)
วายร้ายตลาดเก่า (2504)
นันทาวดี (2505)
เจ็ดประจัญบาน (2506) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
เทพบุตรนักเลง (2508)
สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
ครุฑเพชร (2508)
ผู้ใหญ่ลี (2508)
วังเสือ (2508)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)
ค่ายบางระจัน (2508)
แม่ยอดชีวิต (2509)
ลมหนาว (2509)
จอมประจัญบาน (2509)
กระเบนธง (2509)
เหนือเพชฌฆาต (2510)
ไอ้เปีย (2512)
ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
แม่ย่านาง (2513)
ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
รอยแค้น (2515)
ภูกระดึง (2516)
มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518)
หัวใจราชสีห์ (2518)
มาหยารัศมี (2518)
แผ่นดินของเรา (2519)
แผลเก่า (2520)
เกวียนหัก (2521) รับบท ตาแอบ
เลือดทมิฬ (2522)
สุดห้ามใจรัก (2522)
เลือดสุพรรณ (2522)
หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523) รับบท แทน
อุกาฟ้าเหลือง (2523) รับบท เฒ่าหลัก
อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หลวงเสนาะ
นายอำเภอคนใหม่ (2523)
ไข่ลูกเขย (2524)
ไอ้ค่อม (2524)
สามเสือสุพรรณ (2524)
แผ่นดินต้องสู้ (2524)
สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
ดวงตาสวรรค์ (2525)
นายอำเภอไข่ดาว (2525)
ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525)
รักข้ามรั้ว (2525)
ไอ้หนุ่มรถไถ่ (2525)
สาวจอมกวน (2525)
นิจ (2526) รับบท เจ้าคุณสุรแสนสงคราม
หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท บุญทิ้ง
สาวแดดเดียว (2526)
เลขาคนใหม่ (2526)
เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
กำนันสาว (2526) รับบท กำนันเล็ก
ดรุณี 9 ล้าน (2526)
รักที่ต้องรอ (2527)
สาวนาสั่งแฟน (2527)
อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527)
10 คงกระพัน (2527)
ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)
ทับทิมโทน (2528)
นางฟ้ากับซาตาน (2528)
สามเณรใจสิงห์ (2528)
หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท เจ้าคำแสง
สามล้อซี 5 (2528) รับบท ทองก้อน
ครูสมศรี (2529) รับบท ครูใหญ่
ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529)
แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529)
เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
วันนี้ยังมีรัก (2529)
บ้าน (2530)
อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
ทายาทคนใหม่ (2531)
ซอสามสาย (2531)
แอบฝัน (2531)
บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท มหาแจ่ม
แม่เบี้ย (2532) รับบท ลุงทิม
บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท มหาแจ่ม
บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท มหาแจ่ม
อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท สมภาร
ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2538) รับบท บ๊อก


ไม่มีความคิดเห็น: