PR
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560
ท่าที ปรองดอง
"อภิสิทธิ์" ยัน เลือกตั้งไม่ใช้สาเหตุเกิดความขัดแย้ง ชี้ นิโทษกรรมไม่ใช้การแก้ไขปัญหา ขอมองไปข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองของ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ที่ให้แก้กฎหมายเพื่อสามารถนิรโทษกรรมในความผิดที่ไม่ร้ายแรงว่า ส่วนตัวได้คุยกับ นายกษิต ภิรมย์ สปท. ทำให้ทราบว่าสมาชิก สปท. หลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทาง
แก้กฎหมายนิรโทษ เพราะมันก็คงไม่ใช่การแก้ไขปัญหา อยากให้มองไปข้างหน้าอย่ากังวลกับเรื่องในอดีต ส่วนกาคที่หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายการเมืองจะไม่ร่วมมือหากไม่ได้ประโยชน์นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การสร้างความปรองดองต้องให้น้ำหนักกับข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ของส่วนรวมไม่ใช่ประโยชน์ของตัวเอง เพราะทุกวันนี้ความขัดแย้งขยายไปเป็นเรื่องของประชาชน
ส่วนความกังวลว่าการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกแยกและต้องสร้างความปรองดองนั่น ทางพรรคการเมืองไม่ได้ผูกกับการเลือกตั้ง และไม่ได้มีปัญหากัน เพราะการเลือกตั้ง แต่มีเงื่อนไขอื่นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ดังนั้น หากตีโจทย์ผิดจะทำให้หลงทาง
////////
"ชาญชัย" พร้อมร่วมรัฐบาลทำปรองดอง แนะควรเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ - เชื่อในความจริงใจของนายกฯ
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการสร้างความปรองดองที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ว่า การจะสร้างหากไม่รู้สาเหตุและเป้าหมายให้ชัดเจนจะเกิดข้อครหาว่าเป็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบางคน ช่วยคนที่ทุจริตหลายล้านบาท ไม่สามารถเอาผิดและเรียกค่าเสียหายคืนได้ ซึ่งจะทำให้หลายฝ่ายไม่ยอมรับ ส่วนตัวเชื่อในความจริงใจของนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องเห็นผลที่เป็นรูปธรรมกว่านี้ รวมถึงอยากให้ลงมือแก้ไขปัญหาในบางเรื่องที่เคยเสนอให้บังคับคดี ไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปรองดองเพียงอย่างเดียว แต่ยังคงยืนยันว่า ไม่ขัดข้องที่จะร่วมปรองดอง แต่จะให้จับมือกับคนที่ทำผิดและไม่มีการบังคับใช้กฎหมายคงไม่มีใครทำได้
------
"สุรชัย" วอนทุกฝ่ายทิ้งจุดยืนเดิม ร่วมสร้างความปรองดอง แนะ ป.ย.ป. นำความล้มเหลวในอดีตเป็นบทเรียน
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เชื่อว่า ทุกฝ่ายอยากให้การทำงานของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ประสบผลสำเร็จ โดยรัฐบาลจะนำผลการศึกษาของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในอดีต รวมถึงของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และต้องนำบทเรียนในอดีตที่มีทำให้การสร้างความปรองดองติดขัดไม่สำเร็จ มาประกอบการพิจารณา พร้อมขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องละทิ้งจุดยืนเดิม และมายืนจุดร่วมเดียวกัน เพื่อให้การทำงานของ ป.ย.ป. ในการสร้าง
ความปรองดองของประเทศประสบผลสำเร็จ
ขณะเดียวกัน นายสุรชัย ปฏิเสธให้ความเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการลงสัตยาบรรณหรือลงนามเป็น MOU เพื่อสร้างความปรองดองหรือไม่ แต่เชื่อว่า สังคมต้องการเห็นเครื่องยืนยันความแน่นอน เพื่อแสดงความจริงใจ
----------
"สุรพงษ์" ขอ ป.ย.ป. เป็นกลางทำหน้าที่อย่างดีที่สุด เชื่อนานาชาติกำลังจับตามองประเทศไทยใกล้ชิด
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกล่าวถึงคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. ว่า ขอให้คณะกรรมการดังกล่าวรีบทำหน้าที่ของตนเองโดยมีความเป็นกลางและเป็นธรรมให้มากที่สุด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการ
ดังกล่าว และเชื่อว่านานาชาติกำลังจับตามองอยู่อย่างใกล้ชิดว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าประเทศไทยเราไปในทิศทางใด
ขณะที่ฝ่ายการเมืองและกลุ่มการเมืองส่วนใหญ่ต่างออกมาสนับสนุนกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังคิดจะทำการปรองดองขึ้นในประเทศอยู่ในขณะนี้ แม้มีบางกลุ่มที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ขอให้ คสช. เดินหน้าทำไปในแนวทางที่ประชาชนให้การยอมรับได้และบ้านเมืองจะได้ก้าวพ้นและกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ไม่วุ่นวาย เกิดความเป็นธรรม ทุกคนเคารพกฎหมาย สันติสุขเกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง สังคมโลกก็จะให้การยอมรับรัฐบาลไทยในอนาคตได้
รวมถึงการค้าขาย และความสัมพันธ์กับนานาชาติก็ได้คืนสู่สภาวะปกติ โดยไทยกลับมาเป็นประชาธิปไตยที่สังคมโลกต่างให้การยอมรับและผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยก็จะเกิดความเชื่อมั่น และจะได้เดินทางกลับเข้ามาเยือนประเทศไทย
----------
"สุรชัย" ชี้ รัฐบาลมีแนวทางนิรโทษกรรมแล้ว ขณะพรุ่งนี้ เลขา ป.ย.ป. เตรียมหารือ สนช. สปท. คาดสัปดาห์หน้าชัดโครงสร้าง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง การนิรโทษกรรม หรือการอภัยโทษนั้น เป็นเรื่องของหลักการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีแนวทางอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่กลุ่มการเมืองปฏิเสธการลงนาม MOU นั้น เชื่อว่า หาก ป.ย.ป. มีความจริงจังในการทำงาน และทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ ในการพูดคุยเจรจา ก็น่าจะสามารถเปลี่ยนความเห็นได้ เพราะหากแต่ละฝ่ายไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ทุกอย่างก็จะไม่สำเร็จ ทั้งนี้ จากกรณีที่มีการวิจารณ์ว่า สัดส่วนทหารใน ป.ย.ป. มีมากเกินไปนั้น ก็ถือเป็นความเห็นที่สะท้อนมา ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะนำไปพิจารณาต่อไป
ขณะเดียวกัน นายสุรชัย ยังเปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เลขา ป.ย.ป. จะเดินทางมาเข้าพบประธาน และรองประธาน สนช. รวมถึงสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อหารือเบื้องต้นถึงแนวทางการทำงานสร้างความปรองดอง โดยคาดว่า สัปดาห์หน้า โครงสร้างของอนุกรรมการย่อยของ ป.ย.ป. จะมีความชัดเจน และทุกอย่างจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการการเมือง ของ สนช. ได้ยกร่างพระราชพระราชบัญญัติอำนวยความยุติธรรมไว้ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนช่วยเหลือในการสร้างความปรองดองได้ แต่ที่สุดแล้วควรจะต้องนำข้อเสนออื่น ๆ มาร่วมพิจารณาด้วย
-------------
นายกฯ คุยทูต UK ยัน เร่งเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ขอช่วยสนับสนุน ยึดมั่นตามโรดแมป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้การต้อนรับ นายไบรอัน จอห์น เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดี เพราะถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต และแสดงความขอบคุณที่สหราชอาณาจักร แสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงสถานการณ์ทางการเมือง ว่า ไทยกำลังเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยอยากให้สหราชอาณาจักรสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยด้วย ซึ่งเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร แสดงความเข้าใจถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยเห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการเดินหน้าตาม Roadmap เพื่อปฏิรูปด้านต่าง ๆ และวางรากฐานไปสู่การมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ทราบว่า นายอะล็อก ชาร์มา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ สหราชอาณาจักร จะเดินทางเยือนไทยสัปดาห์หน้า (26 - 28 มกราคม 2560) และหวังจะได้หารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 3 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปีนี้
ปรองดอง
"ลุงป้อม บอก "ลุงกำนัน" จะลงนามMOU หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้มีข้อตกลงว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เปรยผมไม่ว่าใครทั้งนั้น และไม่ตอบโต้ว่าคนนั่นว่างั้นงี้
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ประกาศที่จะไม่ลงนามในMOU ปรองดอง ว่า ผมไม่ว่าใครทั้งนั้น ผมบอกแล้วว่า ต้องมีข้อตกลง แต่จะลงนาม หรือไม่ ลงนาม มันอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องตกลงร่วมกันว่าเราจะอยู่ร่วมกันในอนาคตอย่างสันติ. นั่นเป็นความต้องการ เราต้องการแค่นั้น. ให้เกิดความปรองดองและในอนาคตต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. ผมพูดชัดเจนแล้ว ไม่มีว่าใครจะออกมา ว่าอย่างนั้นอย่างนี้
//
//
ลั่น ไม่ต้องเซ็น MOU --No Coup
"บิ๊กป้อม" บอกทหารไม่ต้องเซ็น MOU ไม่ปฏิวัติ เพราะไม่มีใครอยากทำ นอกจากบ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง ชี้ปฏิวัติไม่ใช่สิ่งน่ากลัว ถ้าประชาชน ไม่เอาด้วย เปรยไม่มีใครอยากยึดอำนาจ ไม่เห็นมีอะไรดี ท้าใครอยากมาแทนผมก็มาสิ
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่คสช. และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการที่พรรคเพื่อไทย เสนอให้ทหารทำ MOU ว่าจะไม่ปฏิวัติด้วยว่า ไม่ต้องไปเซ็นอะไรหรอก
เพราะไม่มีใครหรอกครับ อยากจะปฏิวัติผมยืนยันเลย ผมอยู่มาจนวันนี้ไม่มีใครอยากทำหรอก. นอกจากบ้านเมืองมันไปไม่ได้เกิดความขัดแย้งความไม่เข้าใจกัน
คิดกันไปเองไม่มีทหารที่ไหนหรอกอยากจะออกมา
"ผมอยู่มาจนตอนนี้อายุ 70 กว่าแล้ว ผมอยู่มาตั้งแต่เด็ก ไม่มีใครที่จะอยากออกมาแย่งอะไรกัน นอกจากบ้านเมืองมันไปไม่ได้
เพราะไม่มีใครหรอกครับ อยากจะปฏิวัติผมยืนยันเลย ผมอยู่มาจนวันนี้ไม่มีใครอยากทำหรอก. นอกจากบ้านเมืองมันไปไม่ได้เกิดความขัดแย้งความไม่เข้าใจกัน
คิดกันไปเองไม่มีทหารที่ไหนหรอกอยากจะออกมา
"ผมอยู่มาจนตอนนี้อายุ 70 กว่าแล้ว ผมอยู่มาตั้งแต่เด็ก ไม่มีใครที่จะอยากออกมาแย่งอะไรกัน นอกจากบ้านเมืองมันไปไม่ได้
"ผมจะบอกให้นะว่าปฏิวัตินี่ ถ้าประชาชนไม่เอาด้วยไม่มีทางได้เลย ปฏิวัติไม่ใช่สิ่งน่ากลัวเลย ถ้าประชาชนไม่เอาด้วย
แต่นี่ประชาชนเขาเห็นชอบ ที่เราเข้ามาเพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในบ้านเมือง นี่คือความคิดส่วนตัวของผม. ผมก็เชื่อว่าทหารส่วนใหญ่ก็คิดแบบผมไม่มีใครอยากจะมายึดอำนาจหรือมีอำนาจ ไม่เห็นมีอะไรดีเลยใครอยากจะมาแทนผมก็มาสิ ผมไม่ว่าหรอก"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)