PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาพงานสมรสระหว่าง"พญาไม้"เผด็จ ภูรีปฏิภาณ-เจ้าสาวอดีตมิสทีนไทยแลนด์

pdated: 12 มี.ค. 2558 เวลา 21:29:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันนี้เป็นวันหวานชื่นมื่น ของ "เผด็จ ภูรีปฏิภาณ" เจ้าของนามปากกา “พญาไม้" คอลัมนิสต์ หน้า4 หนังสือพิมพ์ข่าวสด และประธานที่ปรึกษา หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ ที่สละโสด วัย 72 เข้าพิธีสมรสกับ "น้ำตาล" เจ้าสาว วัย 28 นักธุรกิจร้านอาหารเมืองกาญจนบุรีและอดีตมิสทีนไทยแลนด์ ที่หลุบพญารีสอร์ท เมืองกาญจนบุรี ซึ่งมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และญาติมิตรคนสนิทเข้าร่วมงานเป็นเกียรติกันจำนวนมากโดยบรรยากาศเป็นแบบกันเอง




รวบแล้ว! "เดียร์" คนสั่งบึ้มศาลอาญา กบดานมุกดาหาร พบสั่งการผ่านไลน์


(12มี.ค.58)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทหาร ได้ควบคุมตัว นางเดียร์ ซึ่งถูกอ้างจากกลุ่มผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพมหานครในความผิดฐานร่วมกันปาระเบิดศาลอาญาถนนรัชดาภิเษกว่า เป็นผู้บงการให้มีการปาระเบิดในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้แล้วเมื่อช่วงเย็นวันนี้ ที่ จ.มุกดาหาร และอยู่ระหว่างควบคุมตัวเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อขยายผลต่อ
http://www.matichon.co.th/online/2015/03/14261664191426166429l.jpg

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้าควบคุมตัว นางเดียร์ ได้ครั้งนี้ เป็นผลจากการสอบถามขยายผลนายวิชัย อยู่สุข หรือตั้ม ซึ่งทหารควบคุมตัวได้ก่อนหน้านี้ โดยในการสอบถามนายวิชัย ยืนยันว่า นางเดียร์ ไม่น่าจะอยู่ในประเทศออสเตรเลีย อย่างที่มีการกล่าวอ้าง ทหารและตำรวจจึงประสานงานกันในการตรวจสอบกระทั่งพบความเคลื่อนไหวว่านางเดียร์ เดินทางเข้าออกระหว่างไทยและลาว บ่อยครั้ง โดยมักใช้ด่านชายแดน จ.มุกดาหาร โดยการตรวจสอบในครั้งนี้ทำให้ทราบจุดที่นางเดียร์ พักอาศัยอยู่จึงเข้าควบคุมตัวได้ในที่สุด

สำหรับนางเดียร์ นอกจากการให้การซัดทอดของผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวก่อนหน้านี้แล้ว ทหารและตำรวจยังมีหลักฐานสำคัญคือ ไลน์ที่นางเดียร์ใช้ในการติดต่อกับ น.ส.ณัฏฐพัชร์ อ่อนมิ่ง และ ไลน์ที่ น.ส.ณัฏฐพัชร์ ใช้ติดต่อสั่งการให้นายยุทธนา เย็นภิญโญ มือปาระเบิด ลงมือปาระเบิดอาร์จีดีไฟน์เข้าไปในศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก โดยในไลน์ดังกล่าวปรากฏข้อความอ้างว่านางเดียร์ จะจ่ายเงินให้หลังจากเกิดเหตุระเบิด

สถานการณ์ข่าว12/3/58

Jab12Mar15
ถออดถอน38สว.
--------------------
ที่ประชุม สนช. เริ่มประบวนการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอด อดีต 38 ส.ว. แล้ว โดยใช้วิธีลับลงคะแนน

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา ล่าสุด ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เข้าสู่ขั้นตอนการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอด อดีต 38 ส.ว. กรณีการแก้ไขรัฐธรรมที่มา ส.ว. โดยมิชอบ ซึ่งขั้นตอนการ

ลงมติ สมาชิกต้องเข้าคูหาลงคะแนนแบบลับ ที่แบ่งการลงมติไว้ 4 กลุ่มเนื่องจากมีความผิดที่แตกต่างกัน ตามบัตรลงคะแนนสีต่าง ๆ

ขณะก่อนหน้านี้ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวรายงานความคืบหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญ โดยได้ย้ำถึงประเด็น การตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ว่า คณะทำงานดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจมากกว่าคณะรัฐมนตรี และไม่ใช่การสืบทอดอำนาจแต่เป็นการสานต่อการดำเนินงานด้านปฏิรูปประเทศเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังตอบคำถามสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงกรณีการทำประชามติ ว่า ขณะนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ไม่ได้บัญญัติถึงการทำประชามติ ซึ่งหากจะทำประชามติ ต้องมีการแก้ไข

รัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยรัฐบาล หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก่อนวันที่ 6 สิงหาคม เพราะหากไม่มีการประชามติ ก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ภายใน 4 กันยายน ตามกรอบ

ระยะเวลาที่กำหนดไว้

--------
สนช. เริ่มประชุมแล้ว เตรียมลงมติถอดถอนอดีต 38 ส.ว. หลัง กมธ.ยกร่าง แจงคืบหน้า

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด เปิดการประชุมแล้ว โดย สมาชิก สนช. เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเตรียมลงมติตามกระบวนการถอดถอนอดีต ส.ว. จำนวน 38 คน

ออกจากตำแหน่ง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบ ภายหลังจากวานนี้ เป็นการแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาระหว่าง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และตัวแทน
อดีต 38 ส.ว. ขณะเดียวกัน การประชุมในวันนี้ ได้เลื่อนขึ้นมาในเวลา 09.30 น. เพื่อให้สมาชิก สนช. รับฟังคำชี้แจงความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา จากตัวแทนกรรมาธิการยกร่างฯ

ประมาณ 30 นาที จากนั้น จึงเข้าสู่วาระการพิจารณาเรื่องด่วน ลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน อดีต 38 ส.ว. ทันที ทั้งนี้ ในขั้นตอนการลงมติ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ สมาชิก สนช. หนึ่งผู้ถูกกล่าว

หา จะไม่ร่วมลงมติด้วย เนื่องจากเป็นคู่กรณี
-------------------
สนช.ลงมติลับถอดถอน38สว.ปมแก้รธน.มิชอบ

 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งนัดประชุม สนช. ในเวลา 10.00 น. เพื่อถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา  38 คน ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา สว.  ซึ่ง

เป็นขั้นตอนการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ทั้ง 38 คน และเป็นไปตามข้อบังคับ ข้อ 157

ภายหลังจากวานนี้ ที่ประชุม สนช. ฟังการแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจาของคณะกรรมการ ปปช. ในฐานะผู้กล่าวหา ย้ำว่า อดีตสว. ทั้ง 38 คน จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและ

ผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ.2542 ตามมาตรา 58 (4)
อีกทั้งมีพฤติการณ์ลงมติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งที่รู้ว่า เป็นคนละฉบับกับร่างที่เคยเสนอก่อนหน้านี้ โดยมีการนำร่างใหม่มาสับเปลี่ยน จนทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดความมิชอบ

ขัดต่อหลักนิติบัญญัติ และอดีต ส.ว. 38 คน มีส่วนได้เสียกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยเฉพาะกรณีแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.

(แฟ้มภาพ ตัวแทนอดีต สว. แถลงปิดสำนวน) ขณะที่ตัวแทนจากอดีต 38 สว. ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ส่งตัวแทนแถลงปิดสำนวนคดี 3 คน ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาของ ปปช. พร้อมยืนยันไม่ได้จงใชใช้

อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พร้อมย้ำอีกว่า ไม่เคยมีเจตล้มล้างการปกครอง ทั้งนี้ คำร้องของ ปปช. เองก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิจารณาของ ปปช. มีอคติ ไม่รอบคอบ

สำหรับรูปแบบการลงมติ จะใช้วิธีลงมติแบบลับในคูหาลงคะแนน เนื่องจากมีผู้ถูกกล่าวจำนวนมาก และ คณะกรรมการ ปปช. ได้มีการแยกฐานความผิดของ 38 อดีต ส.ว. ออกเป็น 4 กลุ่ม ให้ลงมติ

เป็นรายบุคคล จึงกำหนดให้มีบัตรลงคะแนน 4 ใบ โดยในบัตรลงคะแนนสีต่างๆ จะมีช่องถอดถอนและไม่ถอดถอน เพื่อให้สมาชิกได้ลงมติ ซึ่งจะมีการขานชื่อให้สมาชิกมารับบัตรทีละคน คนละ 4

ใบ ไปลงคะแนนในคูหา คาดว่า การลงมติครั้งนี้ จะใช้เวลานานประมาณ 3 ชั่วโมง

(อินเสิร์ตห้องประชุม สนช.) อย่างไรก็ตาม ผลการลงคะแนน จะสามารถถอดถอนได้ตัองใช้คะแนนเสียง 3 ใน 5 คือ 132 เสียง จากสมาชิกทั้งหมด 220 คน แต่ไม่นับรวมอดีต สว. ที่ปัจจุบันเป็น

สมาชิก สนช.
------------------------
สนช.ลงมติถอดถอน38สว.แล้ว-รอผลบ่าย

 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา สว. ซึ่งเป็นขั้นตอน

การลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ทั้ง 38 คน และเป็นไปตามข้อบังคับ ข้อ 157 โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานการประชุม ชี้แจงถึงขั้นตอนการลงมติถอนถอนอดีต 38 ส.ว. โดยจะใช้วิธี

ลงมติแบบลับในคูหาลงคะแนน ทั้งนี้ มีผู้ถูกกล่าวจำนวนมาก และป.ป.ช.ได้มีการแยกฐานความผิดของ 38 อดีตส.ว.ออกเป็น 4 กลุ่ม จึงให้ลงมติเป็นรายบุคคล แยกตามฐานความผิด 4 กลุ่ม ซึ่งจะมี

บัตรลงคะแนน 4 ใบ กล่องใส่บัตรลงคะแนน 4 กล่อง ตามสีของบัตรลงคะแนน แบ่งเป็นกลุ่มที่หนึ่ง 22 คน เป็นบัตรสีส้ม //กลุ่มที่สอง 13 คน เป็นบัตรสีขาว //กลุ่มที่สาม 2 คน เป็นบัตรสีฟ้า //และ

กลุ่มสุดท้าย 1 คนเป็นบัตรสีเขียว จากนั้น ตั้งคณะกรรมการนับคะแนน 3 ชุดๆ ละ 10 คน โดยในบัตรลงคะแนนสีต่างๆ จะมีช่องถอดถอนและไม่ถอดถอนเพื่อให้สมาชิกได้ลงมติ ซึ่งจะมีการขานชื่อ

ให้สมาชิกมารับบัตรทีละคน คนละ 4 ใบ ไปลงคะแนนในคูหา ทั้งนี้ คาดว่า การลงมติครั้งนี้ จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

สำหรับ กรณีที่มีอดีตสมาชิกวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก สนช. และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. จะต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองหลังที่ประชุมมีมติถอดถอน ทำให้ตำแหน่งดังกล่าว

ต้องว่างลง ทั้งนี้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่า สมาชิก สนช. ต้องมีจำนวนไม่เกิน 220 คน และสมาชิก สปช. ไม่เกิน 250 คน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องสรรหาบุคคลเพิ่มเติม เพื่อมา

แทนตำแหน่งที่ว่างลง หรือหากต้องสรรหาเพิ่ม ก็เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในการคัดเลือก
--------------------------
สนช. มีมติไม่ถอดถอน อดีต 38 ส.ว. ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. หลังโหวตลับกว่า 3 ชั่วโมง

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อลงมติถอดถอน อดีต ส.ว. จำนวน 38 คน ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550

ประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบ ล่าสุด ภายหลังจากสมาชิกเข้าคูหากาบัตรลงคะแนนลับ ทั้ง 38 คน โดยแยกลงบัตรคะแนนตามฐานความผิด 4 กลุ่ม ตามคำร้องของ ป.ป.ช. คือ กรณีเข้าชื่อเสนอ

กฎหมาย และลงมติในวาระ 3 จำนวน 2 คน  กรณีเข้าชื่อเสนอกฎหมายและลงมติ ในวาระ 1, 2 และ 3 จำนวน 22 คน  กรณีเข้าชื่อเสนอกฎหมายและลงมติในวาระ 1 และ 3 จำนวน 13 คน  และกรณี

เข้าชื่อเสนอกฎหมายและลงมติวาระ 2 จำนวน 1 คน

จากนั้น คณะกรรมการตรวจนับคะแนนที่ตั้งขึ้นมา 3 กลุ่ม ได้นับคะแนนเสร็จสิ้น ประธานการประชุม แจ้งผลการการนับคะแนนเป็นรายบุคคล ผลปรากฏว่า ทุกกลุ่มฐานความผิดมีมติไม่ถอดถอน

ออกจากตำแหน่ง

/////////
กมธ.ยกร่างรธน.

"เจษฎ์" เผย กมธ.ยกร่าง ทบทวนเนื้อหาไปแล้ว 80-90 มาตรา  ขณะ สัดส่วนสตรี 1 ใน 3 ยังไม่มีข้อสรุป

รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ INN  ว่า การพิจารณาทบทวนเนื้อหารายมาตรา เบื้องต้นมีการนำข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นการนำรัฐธรรมนูญ

เก่ามาเทียบเคียงและการศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศ มาปรับแก้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริง และให้เชื่อมโยงกันทั้งฉบับ โดยสามารถทบทวนไปแล้วประมาณ 80-90 มาตรา

พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ ยังกล่าวด้วยว่า เนื้อหาหลักเรื่องของที่มาของนายกฯ ยังคงเหมือนเดิม ส่วนเรื่องที่ยังไม่ลงตัว คือสัดส่วนสตรี 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยหลายคนกังวลว่า

หากมีการระบุลงไปในรัฐธรรมนูญว่า สภาท้องถิ่น ต้องมีสัดส่วนสตรี 1 ใน 3 ก็จะเป็นการบังคับผู้เลือกมากเกินไป แต่หากจะระบุว่า ให้แต่ละพรรคแต่ละกลุ่มเสนอชื่อผู้หญิง 1 ใน 3 ก็เป็นการบังคับ

ผู้สมัครเช่นกัน โดยไม่ได้กังวลถึงเรื่องประสิทธิภาพการทำงานแต่อย่างใด
-------------------
"พล.อ.เลิศรัตน์" เผย ทบทวน ร่าง รธน.คืบหน้ามาก มั่นใจเสร็จตามกรอบ ภายในเดือนนี้ ก่อนนำลงพื้นที่ชี้แจง ปชช.

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้การทบทวนและปรับแก้ถ้อยคำในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 315 มาตรา มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วน

การปรับแก้นั้น ส่วนใหญ่ปรับแก้ถ้อยคำที่เขียนผิด ซึ่งถือว่าน้อยมาก นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะสามารถทบทวนเสร็จสิ้นตามกรอบระยะเวลาที่ตั้งไว้คือ ในช่วง

ปลายเดือนมีนาคม นี้ อย่างแน่นอน และหลังจากนั้นจะเป็นการลงพื้นที่เพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนได้รับทราบ

อย่างไรก็ตาม พล.อ.เลิศรัตน์ ยังย้ำว่า ในที่ประชุมแม่น้ำ 5 สาย วันที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พอใจ และชมเชยการทำงานของ

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีความรวดเร็วและคืบหน้าเป็นอย่างมาก
--------------------
กมธ.ยกร่างฯ ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดเวทีการประชาเสวนาหาทางออก 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสถาบันพระปกเกล้า จัดเวทีการประชาเสวนาหา

ทางออก สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่ โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย พิษณุโลก ตาก

เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร

ทั้งนี้ นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ นางถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความ

เห็นขอประชาชนเป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา พร้อมทั้งวิดีทัศน์ปาฐกถา เรื่องกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธาน

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คนที่ 1
-----------------------
"วิษณุ" ชี้การสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ประสบความสำเร็จ ต้องสร้างความยอมรับนับถือกับทุกคนให้ได้

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับ “กระบวนการยุติธรรมไทย” ในงานสัมมนาสาธารณะ “การพัฒนาเศรษฐกิจกับกระบวนการยุติธรรม” ว่า สิ่งที่เรียกว่ากระบวน

การยุติธรรม ในความเข้าใจของฝ่ายบริหาร นั้นคือ การดำเนินการในทุกขั้นตอน เพื่อที่จะสร้างความเป็นธรรมในทางคดีความ และสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน โดยคำสามคำที่ปรากฏใน

นิยามนี้ มีนัยที่ซ่อนอยู่  อย่างแรกหมายถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษา ถือว่าอยู่ในการดำเนินการทุกขั้นตอนต่าง ๆ แล้วก็ต้องไปเกี่ยวกับการสร้างความเป็นธรรม

ความยุติธรรม โดยนำหลักเกณฑ์มาใช้เพื่อยุติข้อกล่าวหากัน ทั้งนี้ การสร้างความเป็นธรรมก็ไม่สามารถทำให้คนทุกพึ่งพอใจได้ ยังมีบางคนไม่ได้ประโยชน์ จนกลายเป็นไม่ยอมรับนับถือ ดังนั้น

การสร้างกระบวนการยุติธรรมที่จะประสบความสำเร็จ คือต้องสร้างความยอมรับนับถือกับทุกคนให้ได้ แต่การที่มีทั้งคนพอใจ และมีคนไม่พอใจนั้น ก็ถือเป็นเคราะห์ร้ายใน
กระบวนการยุติธรรมก็ว่าได้
----------------
"วิษณุ" ชี้ กระบวนการ ยธ. ที่ดี ต้องสร้างความเชื่อถือ เชื่อมั่น ไม่มีสองมาตรฐาน และมีความทันสมัย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คุณภาพในกระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ ที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมประสบความสำเร็จ คือ 1. ต้องทำให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมี

คุณธรรม และมีความสามารถ 2. ต้องจัดให้กระบวนการยุติธรรมมีความสะดวกในการเข้าถึง ถ้าใช้เวลามากมีความซับซ้อนจะล้มเหลว และ 3. ต้องสร้างความเชื่อถือความเชื่อมั่น ไม่มีสองมาตรฐาน

และมีความทันสมัย จึงจะทำให้กระบวนการยุติธรรมประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามเสนอกฎหมายเพื่อปรับทั้งสามข้อข้างต้น เช่น กระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างกฎหมายกองทุนยุติธรรมที่ช่วยให้จำเลยขอประกันตัวได้ ช่วยคุ้มครองพยานด้วย ซึ่ง

ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังตรวจทานอยู่ และจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติในเร็ว ๆ นี้
-----------------
"ถวิลวดี" ระบุ กมธ. ยังไม่ได้ตัดสินใจ เสนอทำประชามติหรือไม่ คาด จำเป็นต้องทำเพื่อฟังเสียงประชาชน

นางถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็นขอประชาชน กล่าวว่า ความเห็นของประชาชนมีประโยชน์ต่อการร่างรัฐ

ธรรมนูญ ถึงแม้จะมีการร่างไปแล้ว ก็ยังสามารถนำไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้สามารถเดินไปได้ถูกทาง โดยในร่างฉบับนี้ได้มีการกำหนดให้ประชาชนสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่าย

นิติบัญญัติได้โดยการลงชื่อถอดถอน รวมทั้ง มีกลไกในกระบวนการตรวจสอบจากภาคประชาชน นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างสันติสุข เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ

เป็นธรรม สร้างความปรองดองด้วย

อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มี 4 ภาค มีทั้งหมด 315 มาตรา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อการบันทึกไว้ในเจตนารมณ์แต่ละมาตรา ให้มีความชัดเจนขึ้น

ทั้งนี้ นางถวิลวดี ยังระบุว่า กรรมาธิการฯ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะมีการทำประชามติหรือไม่ แต่ในอนาคตคาดว่า จะต้องมีการทำประชามติเพื่อฟังเสียงของประชาชน ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
--------------------------
"สมชัย" นำคณะ กกต. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภาล่าสุด นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง พร้อมคณะ เดินทางเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐ

ธรรมนูญ

โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวย้ำว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของการจัดการเลือกที่มีการปรับเปลี่ยนนั้น การปรับวาระในการดำรงตำแหน่ง

ของคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 วาระ วาระ 6 ปีแต่ในส่วนคณะกรรมการชุดปัจจุบันให้ยังคงวาระ 7 ปี ในการดำรงตำแหน่งเช่นเดิม ซึ่งขอบเขตหน้าที่

ในการทำงานเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 อาทิ กำหนดกฎเกณฑ์ ควบคุมการจัดการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ

จัดการเลือกตั้ง หรือ (กจต.) เข้ามาดำเนินงานในส่วนดังกล่าวแทน

//////////
ปปช.ถอดถอน ต่ออายุ

"วิชา" ย้ำ ไม่ขอต่ออายุ หมดวาระหยุดทำหน้าที่ทันที วันนี้ พิจารณารับรองสำนวนถอดถอน 250 ส.ส.

ศ.วิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในวันนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. จะมีการพิจารณารับรองสำนวนการไต่สวนของอนุกรรม

การที่มีมติให้ถอดถอน 250 อดีต ส.ว. ในประเด็นที่มาการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหากที่ประชุมเห็นตามอนุฯ ไต่สวน ก็สามารถส่งเรื่องให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ทันที ส่วนเรื่องการถอดถอน

อดีต ส.ว. วันนี้ นั้น ไม่ขอพูดถึง เพราะว่าได้ทำหน้าที่จบตามกระบวนการไปแล้ว ส่วนจะถอดถอนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ สนช. เช่นเดียวกับคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต

นายกรัฐมนตรี ในคดีจำนำข้าว และคดีของ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กับพวก กรณีระบายข้าว ก็ผ่านพ้นกระบวนการของ ป.ป.ช. ไปแล้วไม่ขอพูดถึงเช่นกัน

พร้อมกันนี้ ศ.วิชา ยังกล่าวด้วยว่า จะไม่มีการขอต่ออายุการทำงานของตนอย่างเด็ดขาด โดยจะยึดตามหลักกฎหมาย ครบวาระ ก็จะหยุดทำหน้าที่ทันที
--------------------
ป.ป.ช.ชุดใหญ่ประชุมต่อเนื่อง พิจารณาลงมติชี้มูลความผิดในสำนวนคดีถอดถอน 250 อดีต ส.ส.

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด ยังอยู่ในระหว่างการประชุมประจำสัปดาห์ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยในวันนี้จะมีการพิจารณา

ลงมติชี้มูลความผิดในสำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 250 ราย จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาวุฒิสภาโดยมิชอบ ซึ่งก่อนหน้านี้องค์คณะไต่สวนได้พิจารณา
แล้วเห็นควรให้ดำเนินการถอดถอน เนื่องจากมีพฤติการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ หากที่ประชุมมีมติรับรองผล

ขององค์คณะไต่สวน ก็จะส่งสำนวนดังกล่าวให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาถอดถอนต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากข้อกล่าวหาเดียวกันนี้ให้ สนช. พิจารณาถอดถอน ซึ่งจะมีการลงมติในวันนี้
-------------------
ป.ป.ช.มีมติเสียงข้างมาก 8-1 ชี้มูลความผิด 250 อดีต ส.ส. กรณีแก้รัฐธรรมนูญ เตรียมชง สนช.ถอดถอน

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎร จำนวน 258 จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาวุฒิสภาโดยมิชอบ โดยแบ่งเป็น 7 ฐานความผิด ซึ่งที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 8:1 เสียง ให้ชี้มูลความผิดอดีต ส.ส. 250 ราย ว่ามี

พฤติการณ์ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยผู้ถูกกล่าวหา 239 ราย มาจากการลงรายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาวุฒิสภา และลงมติในวาระ 1, 2 และ

3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข อีก 1 ราย ลงรายมือชื่อเสนอญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 2 และ 3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนอีก 10 ราย เป็นผู้ที่ลงรายมือชื่อเสนอ

ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 และวาระ 3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

นอกจากนี้ นายสรรเสริญ ยังถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติไม่ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา 38 ราย ในฐานความผิดเดียวกันว่า ในการถอดถอน สนช. พิจารณาในพฤติกรรมของการ

กระทำแม้ว่าจะเป็นฐานความผิดเดียวกัน
//////////////
/////////////////////
ม็อบให้กำลังใจปลัดสธ.

"น.พ.ณรงค์" รายงานตัวกับ "สุวพันธุ์" ทำความเข้าใจภาพรวมแล้ว ยังไม่คุยว่าให้ช่วยงานส่วนใด บอกทำความเข้าใจผู้สนับสนุนแล้วไม่ให้กระทบนายกฯ-บ้านเมือง

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเข้ารายงานตัวช่วยราชการที่ทำเนียบรัฐบาลกับ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐมนตรี

ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีการคุยงานในภาพรวม แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะให้ช่วยงานในส่วนไหน ซึ่งตนเป็นข้าราชการเมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งก็ต้องมารายงานตัวตาม
หน้าที่ ส่วนจะเข้ามาเริ่มงานเมื่อไหร่นั้น กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา

ส่วนผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้กำลังใจนั้น นานแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า ตนได้บอกกับทุกคนไปแล้วว่าเรื่องนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของนายกรัฐมนตรี และต้องการเห็น

ประเทศเดินหน้าต่อไป ขณะเดียวกันสบายใจในฐานะที่เป็นข้าราชการ และเชื่อว่าจะไม่มีการชุมนุมเพราะข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขให้บริการเต็มที่ไม่เคยเอาประชาชนเป็นตัว
ประกัน ส่วนจะมีการฟ้องร้องกรณีที่ถูกโยกย้ายกะทันหันหรือไม่นั้น ตนยังไม่ได้คิดในเรื่องดังกล่าว
-----------------
บรรยากาศที่ สธ. ตัวแทนประชาคมสาธารณสุข 500 คน ถือป้ายให้กำลังใจ อดีตปลัด สธ. โดยมีทหารและตำรววจ ดูแลความเรียบร้อย

บรรยากาศที่ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี มีตัวแทนประชาคมสาธารณสุข กว่า 500 คน ถือป้ายที่มีข้อความให้กำลังใจและนำดอกไม้มามอบให้  นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวง

สาธารณสุข เพื่อแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้าย นายแพทย์ณรงค์ ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิ ดูแลงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และถูกตั้งคณะ

กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่ถูกมองว่า ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในองค์กร

ด้าน นายแพทย์สุทัศน์ ศรีวิไล ที่ปรึกษาชมรมโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป และกรรมการบริหารประชาคม กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันนี้ ตน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้รวม

ตัวมาให้กำลังใจ เพราะที่ผ่านมา นายแพทย์ณรงค์ เป็นคนดี ทำงานจริงจัง สนองนโยบายของรัฐมาโดยตลอด  และมองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากส่วนบุคคล แต่เป็นความขัดแย้งที่ต้อง

การทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุข อย่างเต็มที่  และหลังจากนี้ จะมีการยื่นหนังสือคัดค้านการโยกย้ายดังกล่าว ส่งไปยังนายกรัฐมนตรี ว่าไม่เห็นด้วยกับการโยก

ย้าย เนื่องจากไม่มีเหตุผลชัดเจน รวมถึงการโยกย้ายอาจจะมีผู้อยู่เบื้องหลัง เพราะที่ผ่านมามีการร้องเรียนให้มีการสอบสวนการทำงานของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  เนื่อง

จากทำให้กระทรวงสาธารณสุข ขาดทุน แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการตรวจสอบ  พร้อมกันนี้จะมีการกดดันให้มีการปลด นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้แสดงความรับผิดชอบ

ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก สภ.เมืองนนทบุรี และเจ้าหน้าที่ทหาร กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 คอยดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่
----------------------
ปลัด สธ. ยันไม่ลาออกจากตำแหน่ง หลังถูกย้าย ขอบคุณประชาคมมาให้กำลังใจ จะกู้ศักดิ์ศรีให้ตัวเองกลับมา ท่ามกลาง
รปภ.เข้มทหาร จร.

สุภาพร ศรีหาวงศ์ รายงาน

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข
และในวันนี้ ตนจะเดินทางไปรายงานตัวที่สำนักนายกรัฐมนตรี แม้จะยังไม่ได้รับหนังสือคำสั่งการโยกย้าย แต่น้อมรับคำสั่งของ
นายกรัฐมนตรี ที่ให้เข้าไปช่วยราชการ พร้อมกล่าวขอบคุณประชาคมสาธารณสุข ที่มาให้กำลังใจในวันนี้ ยืนยันที่ผ่านมา ทำตาม
นโยบายของรัฐบาลมาตลอด โดยเฉพาะเรื่องนโยบายแบ่งเขตสุขภาพ และสิ่งแรกที่จะต้องทำหลังจากนี้ คือ การกู้ศักดิ์ศรีของ
ตระกูลและตนเอง กรณีที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน รวมถึงมองว่าการโยกย้ายในครั้งนี้ เป็นการคุกคามข้าราชการ โดย
เฉพาะในตำแหน่งปลัดกระทรวง เพราะถือเป็นตำแหน่งที่ได้มาจาการทำงานอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ขอฝากให้ข้าราชการทุกคนสานต่อนโยบายที่ร่วมกันคิดและทำเพื่อประชาชน ทั้งนโยบายเขตสุขภาพ/ เดินหน้าการปฏิรูป
การเงินการคลัง และเรื่องของธรรมมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้

ขณะเดียวกัน การรวมตัวในวันนี้ ไม่ใช่การชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลแต่เป็นการรวมตัวเพื่อให้นายกรัฐมนตรี หันมามองข้าราชการ
กระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการประจำ และไม่อยากให้รัฐบาลตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่มที่จะได้ประโยชน์ในการโยกย้าย
ในครั้งนี้ และภายหลังที่ นายแพทย์ณรงค์ พูดคุยกับประชาคมสาธารณสุข ได้มีการเดินพบปะและยิ้มรับดอกไม้กับเจ้าหน้าที่ ส่วน
มาตรการการรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร คอยดูแลความสงบเรียบร้อยโดยรอบพื้นที่ด้วย
-----------------
"วิษณุ" แจง เรื่องปลัด สธ. แค่ขอตัวมาช่วยงานเท่านั้น ยังดำรงตำแหน่งปลัดเหมือนเดิม ตั้งใครมาแทนไม่ได้ ไม่รู้รายละเอียดปัญหาภายใน รอบสอบ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงคำสั่งการขอตัว นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาช่วยราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่ได้เป็นการย้าย

หรือปลด เป็นการเอาตัวเข้ามาช่วยราชการที่ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ยังดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขอยู่และระหว่างนี้จะตั้งคนอื่นมาเป็นปลัดกระทรวงไม่ได้ ส่วนจะตั้งใครมาแทนก็เป็นได้

เพียงรักษาการณ์เท่านั้น และเรื่องนี้ไม่ต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาตรา 11(4)

นายวิษณุ กล่าวว่า ขณะนี้ นายแพทย์ณรงค์ ยังเป็นปลัดกระทรวงอยู่และไม่มีตำแหน่งใหม่ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในคำสั่งหากมีการให้ออกมาช่วยราชการชั่วคราว แต่ยังคงได้รับเงินเดือนปลัดฯ อยู่ แต่จะ

ไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เพราะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่การมาช่วยราชการนั้นต้องการให้รักษาสิทธิ์ในการได้รับในส่วนเงินประจำตำแหน่งจำนวน 45,000 บาทต่อไป ส่วนปัญหาภายใน

ของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ทราบรายละเอียด ซึ่งรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบแล้วและจะรายงานว่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ณรงค์ ได้เข้ารายงานตัวกับ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยราชการแล้ว
------------------------
รองโฆษก รบ.ย้ำ "น.พ.ณรงค์" ขอย้ายโดยความสมัครใจ ขอเวลาในการแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข กับ สปสช.

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำสั่งย้าย น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยย้ำว่า เป็นการขอย้าย

โดยความสมัครใจ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึง
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ถึงการขอเวลาในการแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. และเมื่อไม่สามารถแก้ไขได้จึงขอย้ายมาทำ

งานที่สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เชื่อว่าหลังจากนี้ข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขจะมีความเชื่อมั่นในการทำงานมากขึ้น และเชื่อว่า น.พ.ณรงค์ จะสามารถทำความเข้าใจกับกลุ่มแพทย์ชนบทให้
ยุติความเคลื่อนไหวขับไล่รัฐมนตรีได้

ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงไม่แก้ปัญหาด้วยการโยกย้ายตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากรัฐมนตรีเป็นผู้รับคำสั่งจาก

นายกรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนการทำงาน จึงต้องมีบุคคลในการรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
-----------------------
ป.ป.ช.มีมติเสียงข้างมาก 8-1 ชี้มูลความผิด 250 อดีต ส.ส. กรณีแก้รัฐธรรมนูญ เตรียมชง สนช.ถอดถอน

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎร จำนวน 258 จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาวุฒิสภาโดยมิชอบ โดยแบ่งเป็น 7 ฐานความผิด ซึ่งที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 8:1 เสียง ให้ชี้มูลความผิดอดีต ส.ส. 250 ราย ว่ามี

พฤติการณ์ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยผู้ถูกกล่าวหา 239 ราย มาจากการลงรายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาวุฒิสภา และลงมติในวาระ 1, 2 และ

3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข อีก 1 ราย ลงรายมือชื่อเสนอญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 2 และ 3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนอีก 10 ราย เป็นผู้ที่ลงรายมือชื่อเสนอ

ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 และวาระ 3 เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

นอกจากนี้ นายสรรเสริญ ยังถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติไม่ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา 38 ราย ในฐานความผิดเดียวกันว่า ในการถอดถอน สนช. พิจารณาในพฤติกรรมของการ

กระทำแม้ว่าจะเป็นฐานความผิดเดียวกัน

/////////////

คดีมั่นคงระเบิด

ดุสิตโพล ปชช.มองระเบิดศาลอาญาส่งสัญญาณเตือนว่าบ้านเมืองจะกลับมาวุ่นวายอีกครั้ง เชื่อสาเหตุมาจากปัญหาการเมือง

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไร กับ เหตุระเบิดบริเวณศาลอาญา" จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ จำนวน 1,271 คน

ระหว่างวันที่ 8-11 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 84.58 เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่าบ้านเมืองจะกลับมาวุ่นวายอีกครั้ง ร้อละ 78.21 เป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง, ร้อยละ

76.79% สร้างสถานการณ์ ป่วนเมือง ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ

ทั้งนี้ ร้อยละ 89.38 เชื่อว่าสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง, ร้อยละ 75.92 ต้องการสร้างกระแส สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง, ขณะเดียวกัน ร้อยละ 82.43 เห็นว่าเหตุระเบิดทำให้ภาพลักษณ์

ของประเทศเสียหาย ความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพของรัฐบาลลดน้อยลง, ร้อยละ 82.30 ประชาชนวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยและความไม่สงบของบ้านเมือง

นอกจากนี้ ร้อยละ 81.67 เห็นว่า เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้าย ควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ตั้งด่านตรวจเพิ่มสายตรวจในพื้นที่ และร้อยละ 80.88 ทุกคนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา สอดส่อง

ดูแล
------------------------
ผบก.สส.บช.น. เผย คืบคดีระเบืดศาล ยังตามล่า 2 ผู้ต้องหาที่หลบหนีอยู่ พร้อมเปิดรายชื่อทั้งหมดพรุ่งนี้

พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยถึงความคืบหน้าเหตุคนร้ายปาระเบิด บริเวณลานจอดรถหน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา

ว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงติดตามตัวผู้ต้องหาที่เหลือทั้งสองคนอยู่ หลังเมื่อวานที่ผ่านมา สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้แล้ว 7 ราย จากทั้งหมด 9 ราย และยังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหาร

พร้อมยืนยันจะมีการเปิดเผยรายชื่อพร้อมกันทั้งหมดในวันพรุ่งนี้ แต่ยังไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด ซึ่งจะได้แจ้งให้ทราบอีกครั้ง
----------------------------
รรท.ผบก.ป. เผยคืบคดีระเบิดศาลอาญา ส่งทีมร่วมสอบสวน บช.น.ด้วย ดูแลสถานที่เชิงสัญลักษณ์แล้ว

พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รักษาราชการแทนผู้บังคับการปราบปราม กล่าวถึงความคืบหน้า การสืบสวนสอบสวนคดีคนร้ายปาระเบิดศาลอาญา ว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ในส่วนของกองปราบ

ปรามได้สั่งการให้ฝ่ายสืบสวน กองกำกับการ 1 ไปร่วมทีมสืบสวนกับตำรวจนครบาล เพื่อติดตามผู้ต้องหาที่ยังหลบหนี และร่วมสืบสวนขยายผล บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุดังกล่าว

นอกจากนี้ ในส่วนของการเฝ้าระวังสถานที่ราชการสำคัญนั้น ได้สั่งการให้รถวิทยุสายตรวจ ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ หรือ ปพ. ออกตระเวน และตรวจตรา เพื่อเป็นการร่วมดูแลสถานที่

ราชการสำคัญ และสถานที่เชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง ตามที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. กำชับมาด้วย

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ ยังคงเป็นไปตามปกติ มีประชาชนเข้ามาติดต่อราชการ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เน้นตรวจตรารถยนต์ที่เข้ามาในพื้นที่ และบุคคลที่

เข้ามาในศาลอย่างเข้มงวด
-----------------------
ผบ.ตร. เผย ทหาร ตำรวจ ประสานข้อมูลคำสารภาพผู้ต้องหาบึ้มศาลอาญาก่อนส่งมอบตัวให้สัปดาห์นี้ ยังอุบผลสอบหวั่นกระทบรูปคดี

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าเหตุคนร้ายปาระเบิดศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อคืนวันที่ 7 มีนาคม 2558 ว่า ขณะนี้ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับได้อยู่ใน

ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตามกฎอัยการศึก จำนวน 7 ราย และจะส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินตามกฎหมาย ป.วิอาญา หลังครบกำหนด 7 วันตามที่มีอำนาจควบคุมตัว ซึ่งระหว่างการควบคุมตัว

ฝ่ายทหารก็มีการสอบปากคำผู้ต้องหา เพื่อขยายผลไปยังเครือข่ายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม พร้อมยืนยันว่าข้อมูลการสอบสวนทั้งหมดได้มีการประสานกับทางตำรวจอยู่ตลอด ส่วนการส่งมอบตัวผู้

ต้องหาคาดว่าจะส่งให้พนักงานสอบได้ภายในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ปฏิเสธให้ข้อมูลและรายละเอียดผลการสอบปากคำ เนื่องจากเกรงว่าจะเสียรูปคดีและกระทบต่อแนวทางการสืบสวน เพราะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงมี

ความละเอียดอ่อน

สำหรับเหตุระเบิดศาลอาญา เจ้าหน้าที่ได้ขออนุมัติศาลทหารออกหมายจับแล้วทั้งหมด 9 ราย โดยมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัว นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน อายุ 63 ปี และผู้ต้องหาคนอื่นได้แล้ว

รวม 7 คน จากทั้งหมด 9 คน โดยจะมีการส่งมอบตัวให้กับคณะพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 มีนาคม นี้
----------------------
ผบช.น. เผย ทหารนำตัวผู้ต้องหาระเบิดศาลทั้งหมดมาส่งตัวพรุ่งนี้ ก่อนนำตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ และฝากขังศาลต่อไป

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยก่อนการประชุมความคืบหน้า เหตุระเบิดหน้าศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า ในวันพรุ่งนี้ (13 มี.ค.) ทาง

เจ้าหน้าที่ทหารจะได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดที่สามารถควบคุมตัวได้ส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประมาณเวลา 08.00 น. ซึ่งเมื่อได้ตัวผู้ต้องหาก็จะมีการแจ้งข้อ

กล่าวหาให้ทราบพร้อมคุมตัวทำแผนประกอบคำรับสารภาพ บริเวณจุดเกิดเหตุในวันเดียวกัน

ด้านผู้สั่งการในแอพพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มผู้ต้องหาที่ใช้นามว่า "เดียร์" นั้น พล.ต.ท.ศรีวราห์ ระบุว่า เบื่องต้นทางผู้ต้องหาก็มีการซักทอดถึงบุคคลดังกล่าวด้วย ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

ต้องรอตรวจสอบพยานหลักฐานให้แน่ชัดก่อนการออกหมายจับ เชื่อบุคคลดังกล่าวอยู่ในประเทศ

รวมทั้งยังพบความเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบก่อนหน้านี้ด้วยโดยเฉพาะ เรื่องของนายทุนที่ให้การสนับสนุนอาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น เพราะเป็นอาวุธ

ที่ทางราชการไทยไม่มีใช้อย่างแน่นอน อยู่ระหว่างการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเอาผิดกับบุคคลดังกล่าว รวมทั้งยังตอบไม่ได้ว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในหรืออยู่นอกประเทศ
---------------------------
ผบช.น.เผยเตรียมรวบรวมพยานหลักฐานฟ้องผู้ต้องหาบึ้มพารากอน 2 รายพร้อมเตรียมรับมือเหตุระเบิดทั่วกรุ่งกว่า 100 จุดแล้ว

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีความคืบหน้าเหตุระเบิดบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม และหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพา

รากอน เมื่อวันที่ 1  กุมภาพันธุ์ ที่ผ่านมา ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมข้อมูลหลักฐานมให้ครบถ้วนเพื่อฟ้อง ผู้ต้องหาตามภาพ 2 รายที่มีการออกหมายจับไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิด

เผยรายละเอียดได้ เพราะทุกอย่างยังอยู่ในสำนวนคดี

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ทิ้งคดี โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง พร้อมเตรียมแผนรับมือร่วมกับทางกองทัพ สำหรับวันที่15มีนาคมนี้ ที่ผู้ต้องหาเคยให้การ

ว่าจะมีการก่อเหตุป่วนเมืองกว่า 100 จุด ทางกองทัพและตำรวจมีความพร้อมในการรับมืออยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยแผนการได้หวั่นผู้ก่อเหตุไหวตัวทัน
-------------------
ผบ.ตร. จี้ตำรวจคุมเข้มเช็กโกดัง ตั้งด่านสกัดป้องสวมมันสำปะหลังต่างด้าว - ขนข้าวข้ามเขต

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีวิทยุสั่งการถึง ผบช.ภ.2-6 ผบช.ตชด. และ ผบช.ก. กำชับให้ป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า ส่งออกมันสำปะหลังตามแนวชาย

แดน ตลอดจนป้องกันข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้ามเขตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงให้ทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูล แหล่งนำเข้าส่งออก โกดัง ผู้ประกอบการ และผู้ค้าสินค้าทางการ

เกษตร ในพื้นที่รับผิดชอบไว้อย่างเป็นระบบ หากมีข้อมูลหรือพบสิ่งผิดปกติ ให้ประสานเจ้าพนักงาน หรือกรมการค้าภายใน สายด่วน 1569 นอกจากนี้ ให้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และตั้งด่านตรวจค้น

บนเส้นทางหลัก เส้นทางรอง เส้นทางล่อแหลม โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเรียกตรวจค้นพานหะที่บรรทุกสินค้าทางการเกษตร ตรวจสอบว่าเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศ

เพื่อนบ้านหรือไม่ หากเป็นสินค้านำเข้าต้องตรวจสอบว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือไม่ กรณีข้าวเปลือก ข้าวสารให้ตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มีใบอนุญาตขนย้ายข้ามเขตหรือไม่ โดยให้เร่งรัด สืบสวน

ปราบปราม จับกุมสินค้าทางการเกษตร ที่นำเข้า และหรือขนย้ายโดยผิดกฎหมาย อย่างเคร่งครัด
///////////////////////
"สมชัย" ยังย้ำมติร่วม กกต. ไม่เห็นด้วย ตั้ง กจต. ให้อำนาจปลัดกระทรวง แต่งตั้งบุคคลเข้ามาจัดเลือกตั้ง เสี่ยงถูกแทรกซง

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยได้ย้ำถึงจุดยืนที่

เป็นมติร่วมกันของ กกต. ว่า การจัดตั้ง กจต. ที่ให้อำนาจปลัดกระทรวงแต่งตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง อาจทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ในฐานะที่เป็นข้าราชการ

ประจำ จึงเสนอมีแนวทางที่ป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ทั้งการเสนอให้ถอดแนวทางนี้ออก หรือแนวทางให้ปลัดกระทรวงเสนอชื่อบุคคลมากกว่าเดิม 3 เท่า เพื่อให้ กกต. ตรวจสอบ

ประวัติและคัดเลือกเข้าทำหน้าที่ จนไปถึงอำนาจในการยุติการทำงานของกรรมการ กจต. ที่เข้าข่ายประพฤติผิด

อย่างไรก็ตาม การเสนอแนวทางดังกล่าว ไม่ได้เป็นการหวงอำนาจ แต่เป็นความเห็นร่วมกันที่ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองมีช่องทางในการแทรกแซงการจัดการเลือกตั้ง
///////////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว รปภ.เข้ม ไร้วาระประชุมช่วงเช้า ขณะ "สุวพันธุ์" หารือ คกก.ข้อมูลข่าวสารของราชการ

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางเข้าปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ท่ามกลางการ

รักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำทำเนียบรัฐบาลอย่างเข้มงวด โดยในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการจัดประชุมร่วมระหว่างประธานและฝ่ายเลขานุการของคณะ

กรรมการขับเคลื่อนชุดต่างๆ 5 คณะ ครั้งที่ 1/2558 ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า

ขณะที่วาระอื่นๆ ที่น่าสนใจในที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 09.30 น. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

ณ ห้องประชุมอรรถไกวัลวที อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
----------------------
พล.อ.สรรเสริญ ยัน รบ.ไม่ได้ถังแตก เก็บภาษีบ้านวางระบบประเทศใหม่ ผู้มีรายได้มากต้องร่วมกันรับผิดชอบบ้านเมือง

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีบ้านว่าเป็นการปรับระเบียบสังคมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ใช่การรีดภาษีจากประชาชน ยืนยันว่า

รัฐบาลไม่ได้ถังแตก แต่รัฐบาลต้องการวางระบบให้ประเทศ โดยผู้มีรายได้มากจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อไม่ให้ผู้มีรายได้น้อยต้องมาแบกรับภาระมากเกินไป ขณะที่การจัด
เก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการผลักภาระไปที่ผู้ประกอบการโรงเรียน แต่เมื่อโรงเรียนกวดวิชามีรายได้ก็จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมาย
----------------------
นายกฯ สั่งชะลอภาษีที่ดิน ห่วงกระทบประชาชน ยังไม่ปรับขึ้นราคารถไฟฟ้าบีทีเอส แก้ พ.ร.บ.สลาก รอข้อสรุปอีกครั้ง

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างประธานและฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดต่าง ๆ 5 คณะ ครั้งที่ 1/2558 ที่มี พล.อ.ประยุทธ

จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ซึ่งเป็นการติดตามการขับเคลื่อนของรัฐบาล ทั้งนโยบายเร่งด่วน นโยบายสำคัญและนโยบายตามปกติของ

รัฐบาล โดยการหารือในวันนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งชะลอโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาโครงสร้างภาษีที่เหมาะสมในระยะยาวและไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ

ประชาชน ขณะเดียวกันกรณีที่มีกระแสข่าวการขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ยืนยันว่ายังไม่มีแผนในการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังฝากถึงการจัดตั้งศูนย์ one stop sevice ของภาคธุรกิจและที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งยังขาดข้อมูลจากภาคเอกชนในการต้องการแรงงานมากน้อยแค่ไหน รวมถึงการจัดตั้งศูนย์

one stop sevice ในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนของพระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีข้อสงสัยในเรื่องการจำหน่ายลอตเตอร์รี่ผ่านตู้ ย้ำว่ายังไม่ได้ข้อยุติในเรื่องดังกล่าว

ซึ่งยังติดในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม
-------------------
พล.ต.สรรเสริญ แจงข้อห่วงใยสำนักข้าหลวงใหญ่ข้อพิพาทที่ดินกับ ปชช. ยันเป็นไปตามกฎหมาย ไม่กลั่นแกล้งละเมิดสิทธิ์

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ออกแถลงการณ์แสดง

ความเป็นห่วงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ในกรณีข้อพิพาทด้านการใช้ที่ดินกับประชาชนในพี้นที่ 6 หมู่บ้านของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เป็นการทำลายพืชผลของชาวบ้านและเข้าข่ายกระทบต่อสิทธิมนุษย

ชน รวมทั้งสิทธิในที่อยู่อาศัยว่า ได้ตรวจสอบแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติป่าดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้

ให้เป็นป่าต้นน้ำที่มีความสมบูณ์

ทั้งนี้ กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในอดีตที่อนุญาตให้เอกชนเข้าไปสัมปทานใช้พื้นที่ทำประโยชน์ในด้านการเกษตรซึ่งต่อมาสัมปทานเหล่านั้นได้ทยอยหมดอายุลง

เป็นเหตุให้ประชาชนต่างพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากแกนนำรวมตัวกันบุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ไม่มีนโยบายให้มีการสัมปทานหรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในลักษณะ

เช่นนั้นอีก เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่โดยรวม จึงต้องมีการร้องขอให้ประชาชนผู้บุกรุกเหล่านั้นออกจากพื้นที่

โดยการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าวเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งหรือละเมิดต่อสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ขณะเดียวกันหากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติ จะถือเป็น

การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการปล่อยปละละเลยให้มีการบุกรุกอาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในกรอบ

ของกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม ดังนั้นอยากขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่มาแสดงความคิดเห็นได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และแสดงความคิดเห็นบนบรรทัด

ฐานที่ยอมรับได้
---------------------
พล.อ.ประวิตร เตรียมร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน 15-17 มี.ค. นี้ ที่มาเลเซีย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะ มีกำหนดเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรี

กลาโหมอาเซียน (ADMM) ครั้งที่ 9 ณ เกาะลังกาวี มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 15-17 มี.ค. 2558 โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกระทรวง

กลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านทางกลไกความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว และเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการหารือแลกเปลี่ยนมุมมองและความเห็นเพื่อตอบสนองต่อ

ภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน รวมทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้ง 10 ประเทศ ได้พบปะสร้างความคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ

การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการประสานความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกันในอนาคต นอกจากนั้นจะได้เข้าเยี่ยมคำนับและหารือกับนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ก่อนเดินทางกลับ

รายละเอียดผลการประชุมจะแจ้งให้ทราบต่อไป
//////////////
คดีการเมือง

ถวิล เปลี่ยนศรี เบิกความคดี 24 นปช. ชุมนุมไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ปี 53 นัดสืบพยานครั้งต่อไป 19 มี.ค. 09.00 น.

ศาลอาญา นัดสืบพยานโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) กับพวกรวม 24 คน

เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย, ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย

แผ่นดิน, และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 20 พ.ค.2553 ต่อเนื่องกัน เพื่อกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา

โดยในวันนี้ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พยานโจทก์ เบิกความซักค้านของทนายจำเลย โดยหลังจากเบิกความเสร็จแล้วศาลนัดสืบพยานโจทก์ปาก นายถวิล

อีกครั้งในวันที่ 19 มี.ค. เวลา 09.00 น.

////////////////
เศรษฐกิจ

สบน. รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง เดือนมกราคม 2558 ยอดคงค้าง 5.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.46 ของ GDP

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. ในฐานะโฆษก สบน. แถลงข่าวรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม ว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่

31 มกราคม 2558 มีทั้งสิ้น 5,658,059.36 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.46 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 34,085.53 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 42,109.72 ล้านบาท

นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยังกล่าวอีกว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 17 มี.ค. 2558 สบน. จะเสนอแผนการกู้เงินตามความต้องการในการใช่จ่ายวงเงิน 80,000

ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 57,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ 23,000 ล้านบาท การซ่อมสร้างถนน 34,000 ล้านบาท
-----------
บีโอไอ คลอดหลักสูตรสร้างนักลงทุนไทย ขยายโอกาสการลงทุนในตลาดอาเซียนและตลาดใหม่

นางสาวชลลดา อารีรัชชกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เปิดเผยว่า บีโอไอเตรียมเปิดหลักสูตร "สร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ" รุ่นที่ 8 และ 9 อีกครั้ง เน้นเจาะตลาดต่างประเทศพร้อมเชิญ
นักวิชการและภาคเอกชนชั้นนำให้ความรู้ด้านการลงทุน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มความรู้และทักษะให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจของแต่ละ
ประเทศ รู้รายละเอียด กฎเกณฑ์ และขั้นตอนการทำธุรกิจ โดยกำหนดประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ลาว เมียนมา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน
และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการการลงทุนหลายสาขาจากนักลงทุนต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสดีที่นัก
ลงทุนไทยจะเข้าไปสร้างธุรกิจและขยายการลงทุนเพิ่มเติม

ทั้งนี้ บีโอไอได้แบ่งโครงสร้างหลักสูตรการอบรมออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งการจัดการอบรมและ
การศึกษาลู่ทางธุรกิจในต่างประเทศด้วย
----------------
กระทรวงคมนาคม เตรียมชง ครม. ของบ 3,900 สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 เชื่อมแม่สอด-เมียวดีเร็ว ๆ นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติงบประมาณใน

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ด่านแม่สอด จังหวัดตาก ในวงเงินงบประมาณ 2,642 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในส่วนนี้กระทรวงคมนาคมจะมีการเร่งรัดงานสำคัญ ๆ ที่ด่าน

แม่สอด ในเรื่องโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ขนาด 4 ช่องจราจร สายตาก-แม่สอด ตอนที่ 3 และสายตาก-แม่สอด ตอนที่ 4 เป็นการผลักดันการก่อสร้างโครงข่ายจราจรรองรับ

การพัฒนา สำหรับการเวนคืนที่ดินเพื่อจัดซื้อให้กรมการบินพลเรือนใช้ในการขยายสนามบินแม่สอด ใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น 297 ล้าน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา รวมถึงการปรับปรุงที่ทำการ

ด่านสะเดาที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีในการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 3,900 ล้าน ในโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำเมย 2 เชื่อมแม่สอด-เมียวดี ภายในเร็วนี้ ๆ โดยใน

จำนวนงบประมาณดังกล่าวจะแบ่งเป็นการใช้งบประมาณของไทย 2,900 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาท เป็นการขอสนับสนุนจากทางพม่าที่ได้ขอให้ฝ่ายไทยดำเนินการก่อสร้าง

รถไฟไทย-จีน คมนาคมตั้งบริษัทร่วมทุน”เดินรถ” จีน 40 ไทย 60 ใช้เวลา 7 ปีคืนไทย – ยืดเคาะแหล่งเงินสิงหาคม นัดถกต่อ 6-8 พ.ค. ที่จีน

ประชุมไทยจีน_2
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรถไฟ เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในช่วงวันที่ 10-11 มีนาคม 2558 โดยมีการลงพื้นที่ที่จังหวัดหนองคายว่ามี 4 เรื่องสำคัญคือ(อ่านคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2)
1.ยืนยันรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ว่าเป็นรูปแบบรับจ้างก่อสร้างเบ็ดเสร็จ หรือ EPC ซึ่งการแบ่งความรับผิดชอบให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ในการประชุมครั้งที่ 2 คือในฝ่ายไทยจะรับผิดชอบเรื่องของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเวนคืนที่ดิน รวมทั้งจัดทำข้อมูลสนับสนุนให้กับฝ่ายจีนในการสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และสถานที่สร้างสถานีรถไฟตลอดเส้นทาง ส่วนของฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องสำรวจออกแบบและงานระบบเดินรถ ทั้งนี้ กระทรวงจะจัดให้มีเครื่องมือกับเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ร่วมด้วย
ทั้งนี้ งานก่อสร้างฐานรากพื้นฐานอาจจะให้เอกชนเข้าร่วม โดยปัจจุบันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำรายชื่อเอกชนที่มีศักยภาพแล้วประมาณ 12-15 ราย แต่ยังไม่ได้เลือกต้องพิจารณาอีกครั้ง
2.สรุปแนวทางการฝึกและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย โดยเสนอแนวคิดที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ด้วยการจัดหลักสูตรสั้น-ยาว ในสาขาที่จำเป็น โดยนายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยกตัวอย่างสาขาที่จำเป็น เช่น วิศวกรรมโยธารถไฟ, วิศวกรรมเครื่องกล, การบริหารระบบเดินรถ และเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร โดยมอบหมายให้ ร.ฟ.ท. และการรถไฟจีนจัดทำหลักสูตรมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า แบ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-6 เดือน หรือ 4-8 เดือน เริ่มต้นสิงหาคม 2558 ระยะกลาง 1-1.5 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2558 และระยะยาวมากกว่า 1.5 ปี เริ่มต้นกลางปี 2559
3.เห็นชอบข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกันในบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอซี ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนแล้วเสร็จว่า ขั้นต้น-ขั้นกลางจะทำอะไรก่อนลงนามสัญญาบ้าง ส่วนขั้นปลายจะตกลงกันในการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะประชุมหานอีกครั้งช่วงต้นเดือนเมษายนหรือปลายเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ฝ่ายจีนเสนอให้บรรจุข้อตกลงดังกล่าวลงในรายงานการประชุม ซึ่งถือว่ามีผลผูกมัดอยู่แล้ว จึงยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการ ส่วนร่างข้อตกลงฝ่ายไทยจะยังเก็บไว้ เผื่อได้ใช้ในโอกาสต่อไป
4.แหล่งเงินทุนและรูปแบบการลงทุน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ว่า จะแยกรูปแบบลงทุนเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนก่อสร้างเป็นรูปแบบ EPC และส่วนที่ 2 เรื่องการเดินรถ จะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน
ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน ไทยเสนอว่าให้เป็นการระดมทุนจากหลายแหล่ง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.กรรมสิทธิ์ที่ดินและการเวนคืน จะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 2.การก่อสร้าง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศ เนื่องจากใช้วัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 3.เทคโนโลยี ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จะใช้เงินกู้จากประเทศจีน เนื่องจากจำเป็นต้องซื้อสินค้าจากจีน 4.      เป็นเรื่องของบริษัทร่วมทุน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมว่า สัดส่วน “การดำเนินงาน” ของบริษัทร่วมทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1) ช่วง 1-3 ปีแรก จะให้จีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก 2) ช่วง 4-7 ปี ไทยและจีนร่วมดำเนินการในสัดส่วนเท่าๆ กัน และ 3) ช่วง 7 ปีเป็นต้นไป ไทยเป็นผู้ดำเนินการหลัก และให้จีนเป็นที่ปรึกษา
ขณะที่สัดส่วน “เงินลงทุน” จะต้องดูเนื้องานก่อน ซึ่งในหลักการเนื้องานที่เกี่ยวกับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานความรับผิดชอบเป็นของไทย 2 ใน 3 ส่วน ของจีนเป็น 1 ใน 3 ส่วน ส่วนการวางระบบอาณัติสัญญาณ การควมคุมการเดินรถ และเทคโนโลยีต่างๆ จีนจะรับผิดชอบ 2 ใน 3 ของไทยจะเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่ต้องสรุปความชัดเจนก่อนว่าเนื้องานส่วนต่างๆ จะมีแผนการเงินและจะได้สัดส่วนของการลงทุนเท่าไร ทั้งนี้ คาดว่าจะได้กรอบสัดส่วนในการประชุมครั้งหน้า แต่วงเงินจะไม่ทราบจนกว่าจะมีความชัดเจนของการสำรวจและออกแบบ
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงมีความตั้งใจจะแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทเป็น 3 ส่วน และให้จีนมีสัดส่วนไม่เกิน 40% ที่เหลือให้เป็นของ ร.ฟ.ท. และเอกชนไทย เนื่องจากต้องการให้ ร.ฟ.ท. มีบทบาทอยู่
ประชุมไทยจีน_1
นายอาคมกล่าวเพิ่มเติมว่าด้านเงื่อนไขการกู้เงิน ประเด็นแรกไทยเสนอว่าอยากได้ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดกว่า 2% แต่ฝ่ายจีนระบุว่าประเทศไทยมีระดับรายได้ปานกลางแล้ว เงื่อนไขในการกู้ดอกเบี้ยจะต้องสูงกว่า 2% แต่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการแรกระหว่างไทย-จีน จีนจึงให้ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% เท่าเดิมและไม่อาจให้ต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากยังติดข้อกฎหมายของจีนที่บอกว่าการปล่อยเงินกู้ต่างประเทศในโครงการพื้นฐานต่างๆ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2%
ประเด็นที่ 2 เรื่องระยะเวลาของการปลอดหนี้และการชำระหนี้คืน เบื้องต้นฝ่ายจีนระบุว่าเป็นกฎของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีนว่าต้องมีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 20 ปี ปลอดหนี้ 5-7 ปี (รวมอยู่ในระยะคืนหนี้ 20 ปี) ขณะที่ฝ่ายไทยพยายามต่อรองที่ 25-30 ปี ปลอดหนี้ 7-10 ปี ซึ่งฝ่ายจีนระบุว่าจะนำไปพิจารณาก่อน
ประเด็นที่ 3 ฝ่ายไทยต่อรองลดค่านายหน้าและค่าบริหารจัดการเงินกู้ ซึ่งคิดรวมทั้ง 2 ประเภท ประมาณ 0.5% ของเงินกู้ อย่างละ 0.25% แต่ฝ่ายจีนขอให้คำตอบหลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้วเสร็จ
ประเด็นสุดท้าย ฝ่ายไทยขอให้ใช้กฎหมายไทย เนื่องจากเราเป็นผู้กู้ ซึ่งฝ่ายจีนได้ขอเวลาศึกษาก่อน รวมไปถึงรายละเอียดการใช้อนุญาโตตุลาการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้ โดยปกติสัญญาเงินกู้แบบนี้จะต้องใช้ระบบของอนุญาโตตุลาการ และไทยยังต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย
“เงื่อนไขการเงินต่างๆ ยังต้องหารือกันก่อน หลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้ว รวมไปถึงเรื่องการออกแบบด้วย ซึ่งจะทำให้รู้ต้นทุนของโครงการ เมื่อรู้ต้นทุนแล้วจึงจะมาดูเรื่องของต้นทุนการเงินอีกที ซึ่งเราได้เร่งทั้งสองกระบวนการให้เสร็จในเดือนสิงหาคม ก็ต้องรอสิงหาคมจึงได้ข้อสรุปจริงๆ ส่วนเรื่องสัดส่วนการร่วมทุน ต้องศึกษาออกแบบบริษัทร่วมทุนร่วมกันก่อน คงจะเป็นการประชุมครั้งหน้า” นายอาคมกล่าว
พล.อ.อ. ประจินกล่าวเสริมเรื่องเงื่อนไขเงินกู้ว่า ดอกเบี้ย 2% นี้ ทางจีนยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์มาเสนอในการประชุมครั้งหน้าด้วยว่า ไทยต้องกู้เงินจำนวนเท่าไหร่ถึงจะได้ดอกเบี้ยอัตรา 2% แต่จำนวนเงินกู้ต่างๆ ยังต้องรอการศึกษาและออกแบบในเดือนสิงหาคมก่อน
พล.อ.อ. ประจินกล่าวถึงความคืบหน้าอื่นๆ ว่า ปัจจุบัน การรถไฟจีน (China Railway Corporation: CRC) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นชุดสำรวจ 20 คน แล้วคาดว่าจะตามมาอีก 30 คนรวมเป็น 50 คน ทั้งนี้ กระทรวงได้เตรียมไซต์ทำงานไว้ 3 แห่ง คือ 1) ชุดประสานงาน หรือ war-room ที่กระทรวงคมนาคม 2) เป็นส่วนที่ ร.ฟ.ท. จัดเตรียมไว้ให้ 3) เป็นในพื้นที่อาจจะเป็นที่แก่งคอยและนครราชสีมา ซึ่งเมื่อทีมงานครบแล้วจะรีบลงพื้นที่สำรวจออกแบบทันที ขณะเดียวกัน การประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ให้กระทรวงต่างประเทศจะดูแลเรื่อง VISA กระทรวงแรงงานดูเรื่องใบอนุญาตทำงานและกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษีหรือการยกเว้นภาษี
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีเรื่องที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 2 เรื่อง คือรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และของบประมาณสนับสนุนส่วนสำนักงานประสานงานไทย-จีน และค่าที่ปรึกษาการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ประเมินสินทรัพย์กรณีต้องเวนคืนที่ดิน, การบริหารโครงการ และประเมินมูลค่าโครงการ คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้วันที่ 27 มีนาคม 2558
“ขอสรุปประเด็นให้ทราบว่า นับแต่การประชุมครั้งที่ 1-3 เรามีความก้าวหน้าเรื่องของการกำหนดรูปแบบการลงทุน รูปแบบความร่วมมือ และขอบเขตของงาน ที่จะเริ่มสำรวจตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป และจะมีผลสำเร็จสำหรับช่วง 1-2 ในปลายสิงหาคมถึงต้นกันยายน และจะก่อสร้างได้ช่วงต้นตุลาคมปีนี้เป็นต้นไป 30 เดือน ส่วนช่วงที่ 3-4 จะสำรวจเดือนมีนาคม สำรวจเสร็จธันวาคม 2558 และก่อสร้างต้นปี 2559 เป็นต้นไป 36 เดือน” พล.อ.อ. ประจินกล่าว
ทั้งนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกำหนดการประชุมร่วมครั้งที่สี่ว่าจัดขึ้นที่คุนหมิง ประเทศจีน ในวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 โดยมีวาระฝ่ายจีนคือเสนอหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขเงินกู้และรูปแบบบริษัทร่วมทุน, เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของโครงการ, เสนอหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยี และคำตอบข้อเสนอของไทยที่จะไปเยี่ยมชมกิจการรถไฟที่จีน ส่วนฝ่ายไทยจะเสนอความคืบหน้าผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางจีน ยังขอให้ไทยจัดทำเรื่องแนวทางการบริหารจัดการและบำรุงรถไฟมาเสนอด้วย

เบื้องหลังดีล "มหาเศรษฐีไทย" รุมเมกะโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง

เบื้องหลังดีล "มหาเศรษฐีไทย" รุมเมกะโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง


Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 12 มี.ค. 2558 เวลา 08:55:13 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
พลันที่ "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีมีดำริดึงมหาเศรษฐีไทยลงทุนรถไฟความเร็วสูง เส้นทางเชื่อมกรุงเทพฯ กับเมืองท่องเที่ยว "หัวหิน-พัทยา" ในรูปแบบ PPP และผ่านกองทุนอินฟราฟันด์ ต่อยอดหลังจากเยือนประเทศญี่ปุ่น
"วุฒิชาติ" มือประสานสิบทิศ

คำปรารภของนายกรัฐมนตรีกลายเป็นจุดเริ่มต้นสู่แผนปฏิบัติ โดยทีมงาน "บิ๊กตู่"ประสานมายัง "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รมว.คมนาคมเจ้าของโปรเจ็กต์ ในการพบปะหารือกับบิ๊กนักธุรกิจชื่อก้องฟ้าเมืองไทย โดยมี "วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นคนกลางประสาน

ว่ากันว่าถือเป็นปฏิบัติการสายฟ้าแลบที่ "บิ๊กจิน" ตั้งตัวไม่ทัน เมื่อจู่ ๆ หัวหน้ารัฐบาลพูดถึงแผนลงทุนไฮสปีดเทรน เพราะที่ผ่านมา "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ไม่เคยหยิบโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง มรดกตกทอดจาก "รัฐบาลเพื่อไทย" มาบรรจุไว้ในโรดแมป คสช.

นอกจากรถไฟความเร็วปานกลาง 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่เซ็น MOU กับรัฐบาลจีนเมื่อ 19 ธันวาคม 2557 เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กิโลเมตรที่ "บิ๊กจิน" กำลังสับเกียร์เดินหน้าเต็มสูบ

"ซีพี-ไทยเบฟฯ" แบเบอร์

แต่เมื่อเป็นนโยบายทุกอย่างต้องเดินหน้า การหารือจึงเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3 มีนาคมที่ผ่านมา เอกชนคณะแรก "กลุ่มไทยเบฟฯ" ของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยหัวหน้าชุดคือเขยเล็ก "อัศวิน เตชะเจริญวิกุล" ผู้คุมบังเหียน บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์มาทีมเดียวกันกับ "วันชัย ศารทูลฑัต"อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งวันนี้เป็นผู้บริหารธุรกิจในเครือตระกูลสิริวัฒนภักดีภายใต้ "บจ.ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก"

ล่าสุดกำลังเร่งวางโครงข่ายระบบขนส่งทางราง ทางเรือ และสร้างคลังสินค้า เพื่อกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศทะลุถึงตลาดเออีซี

ขณะที่ "กลุ่มซี.พี.-บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์" ธุรกิจของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ถึงแม้จะได้คิวต่อจากกลุ่มไทยเบฟฯ ช้าไป 1 วัน แต่จุดหมายปลายทางไม่ต่างกัน มี "ภัคพล งามลักษณ์" ประธานคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการเป็นผู้นำทีม

อย่าลืมว่า โปรไฟล์ "ภัคพล" ไม่ธรรมดา นอกจากรั้งเก้าอี้ผู้บริหาร ซี.พี. ยังมีดีกรีเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ คสช.เซ็นแต่งตั้งปฏิบัติการดึงเศรษฐีไทยร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงจึงสร้างความคึกคักขึ้นทันตาเห็น เครือข่ายธุรกิจของ "เจ้าสัวธนินท์" เป็นกลุ่มทุนเกษตร สื่อสาร ค้าปลีก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่แตกต่างจาก "เจ้าสัวเจริญ" มีทั้งธุรกิจแอลกอฮอล์-น็อนแอลกอฮอล์ อสังหาฯ รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ

ขานโพย "บีทีเอส-ช.การช่าง" 

สีสันที่เข้มข้นขึ้นไปอีกยังมาจาก 2 ตระกูลดัง "กาญจนพาสน์-ตรีวิศวเวทย์" ที่ทำธุรกิจเดินรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟลอยฟ้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

โดยเฉพาะเจ้าพ่อบีทีเอส "คีรี กาญจนพาสน์" ที่ประกาศความมั่นใจสุดขีด ตอนนี้มีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท เป็นอาวุธนำทางที่จะเข้าร่วมลงทุนได้อย่างสบาย

ก่อนหน้านี้เพิ่งจะผนึกกับอสังหาฯ แบรนด์เนมค่าย "แสนสิริ" ของเสี่ยเศรษฐา ทวีสิน เป็นการเติมความครบเครื่องเพราะมีทั้งธุรกิจรถไฟฟ้าและอสังหาริมทรัพย์

ส่วนบิ๊กยักษ์รับเหมา ช.การช่างของ "เสี่ยปลิว ตรีวิศวเวทย์" ล่าสุดจัดทัพโครงสร้างใหม่ นำ 2 บริษัทลูก "บีอีซีแอล-บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ" ผู้รับสัมปทานทางด่วน กับ "บีเอ็มซีแอล-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า ควบรวมกันให้กลายเป็นบริษัทใหญ่ด้วยทุน 15,285 ล้านบาท

อ่านเกมธุรกิจได้ว่าปรับโครงสร้างเพื่อเสริมแกร่งการเงินและธุรกิจให้ครบวงจรทั้งรับเหมาและบริหารโครงการ รองรับโอกาสในการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ

ถึงแม้ยังไม่ประกาศตัวชัดเจน แต่เชื่อว่า "ช.การช่าง" ไม่ยอมตกขบวนแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์อย่างแน่นอน
///////////////////////

"อย่าลืมว่า โปรไฟล์ "ภัคพล" ไม่ธรรมดา นอกจากรั้งเก้าอี้ผู้บริหาร ซี.พี. ยังมีดีกรีเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ คสช.เซ็นแต่งตั้งปฏิบัติการดึงเศรษฐีไทยร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงจึงสร้างความคึกคักขึ้นทันตาเห็น เครือข่ายธุรกิจของ "เจ้าสัวธนินท์" เป็นกลุ่มทุนเกษตร สื่อสาร ค้าปลีก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่แตกต่างจาก "เจ้าสัวเจริญ" มีทั้งธุรกิจแอลกอฮอล์-น็อนแอลกอฮอล์ อสังหาฯ รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ"