PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ไม่ใช่แค่ข้อเสนอ มติคณะรัฐมนตรีเร่งจัดตั้ง Single Gateway ควบคุมเว็บไซต์




แนวทางการตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ เป็นข้อเสนอมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แม้จะไม่มีข่าวไปช่วงหนึ่ง แต่ประเด็นนี้ก็อยู่ในมติรัฐมนตรีเรื่อยมา
เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุดที่พูดถึงเรื่องนี้ (PDF) คือการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาระบุให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินงาน และรายงานความคืบหน้าภายในเดือนกันยายน
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระบุเหตุผลของการสร้างทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศนี้ว่า "เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต" โดยหากติดข้อกฎหมายใดก็ให้เร่งดำเนินการออกกฎหมายต่อไป
ที่มา - PRD.go.th
upic.me

ท่อยังตัน-แดงต้องตายไปก่อน !!

ท่อยังตัน-แดงต้องตายไปก่อน !!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 กันยายน 2558 02:21 น.

เกาะกระแส 
       
       00 ได้ยินสำนักข่าวต่างประเทศ"ขาประจำ"รายงานเข้ามาโดยอ้างคำพูดของ แกนนำเสื้อแดงอุดรฯอย่าง ขวัญชัย สารคำว่าเวลานี้ได้รับสัญญาณจาก ทักษิณ ชินวัตร "นายใหญ่"ของพวกเขาให้"แกล้งตาย"ไปก่อน เพื่อรอโอกาสกลับมาหลังการเลือกตั้ง หรือจะมีการเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้งคราวต่อไป แน่นอนว่าความหมายก็คือตอนนี้ให้อยู่นิ่งๆไปก่อนสักระยะ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงสถานการณ์ในเวลานี้ไม่เอื้ออำนวยให้พวกเขาเคลื่อนไหวได้ทุกรูปแบบ"ตามอำเภอใจ"เหมือนดังแต่ก่อน ทั้งในเรื่อง"คำสั่งพิเศษ"ตาม ม.44 ที่แทบกระดิกไม่ได้ เรื่องกระแสติดลบชาวบ้านรำคาญไม่เอาด้วย และที่สำคัญหากเคลื่อนไหวตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์"ท่อยังตัน" และเมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบแล้วก็มีทางทางเดียวคือต้องแกล้งตายไปก่อน
       
       00 ส่วนจะมีโอกาส"ตายถาวร"หรือไม่คำตอบอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช.ว่าจะเอาอย่างไร หากยังเดินหน้าใช้กม.จัดการ นั่นคือทุกคดีต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ศาลพิพากษา โดยไม่ต้องพูดถึงเรื่องการปรองดองแบบไร้สาระ ทุกอย่างมันก็จบ และในที่สุดแล้วก็จะมีอีกหลายคนที่ต้องตายแบบถาวร เพราะมีหลายคนที่กำลังรอชี้ชะตากันอยู่
       
       00 อย่างไรก็ดีสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดว่าจะสามารถทำให้คนพวกนั้นตายแบบถาวรได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคสช.จะรักษาความมาตรฐาน"ความศรัทธา"ได้อย่างคงเส้นคงวาได้หรือไม่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจฐานรากได้อย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้แค่ไหนต่างหาก เพราะถัาทำสำเร็จ ชาวนาชาวไร่ขายราคาสินค้ามีกำไร ไม่มีเรื่องทุจริตคดโกงอย่างที่รับปากเอาไว้ ต่อให้สิบ ทักษิณ ชินวัตร ก็ขวาง"ลุงตู่"ไม่ได้
       
       00 จะเรียกว่าเดินหน้าเต็มตัวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่"ตีปี๊บ"กันอย่างคึกคักเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นแนวทางแบบ"ประชารัฐ"ว่าเป็นคยามร่วมมือกันระหว่างประชาชนกับรัฐ ไม่ใช่"ประชานิยม"ที่แจกอย่างเดียว ก็ว่ากันไปสำคัญอยู่ที่ว่าประชาชนต้องได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ไม่ใช่มี"ผลประโยชน์ทับซ้อน"เป็นการทุจริตเชิงนโยบาย แบบนั้นต่างหากที่น่ารังเกียจ และงานนี้ความหวังอยู่ที่ขุนพลเศรษฐกิจ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯหากสถานการณ์ไม่กระเตื้องก็คงต้อง"ตายยกเข่ง"โดนเครือข่ายแม้วถล่มเละแน่
       
       00 อย่างไรก็ดีหากสังเกตจะพบความเคลื่อนไหวของ ทักษิณ ชินวัตร และกุนซือใกล้ตัวที่ยกขบวนมาปักหลักแถวฮ่องกง พร้อมกับนัดเอาเฉพาะพวกเครือข่ายที่เชื่อมโยงประสานกับต่างประเทศเป็นหลักก่อน อย่างน้อยก็เป็นแผนในการ"ตีจากภายนอก"เข้ามา เพราะเชื่อว่านาทีนี้จะสามารถสร้างแรงกดดันได้มากกว่าภายในที่กระแสยัง"ดึงไม่ขึ้น" ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นการเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก เพื่อเตรียม"ฉีกหน้า"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช.ระหว่างที่ไปร่วมประชุมยูเอ็นระหว่างวันที่ 24-30 ก.ย.ที่นิวยอร์กสหรัฐฯแต่งานนี้กำลังรอพิสูจน์กันว่าฝ่ายหนุนกับฝ่ายต้านใครจะมามากกว่ากัน !! 

“วิษณุ” ปรามพวกวิ่ง สปท.ไม่ต้องมา รับเจอ “มีชัย” อ้างพูดสูตรพิสดารแค่ย้ำเลือกตั้ง 2 เดือนไม่ทัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 กันยายน 2558 11:06 น
รองนายกรัฐมนตรียันไม่คุยสรรหากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศใน ครม. เผยนายกฯ บอกให้รวมชื่อเท่าที่ได้ชงก่อนบินสหรัฐฯ ถ้าโอเคให้ติดต่อ คาดทัน 6 ต.ค.อ้างเจอ “มีชัย” ทักทายแต่ไม่ได้ทาบทาม ส่วน “อานันท์” ยังไม่ได้พบ ไม่รู้ กรธ.ได้กี่คนแล้ว ส่วน สปท.ไม่ได้รับผิดชอบ อย่ามาวิ่ง อ้างพูดกฎหมายพรรคการเมืองอาจมีสูตรพิสดารตอบโต้ “จาตุรนต์” ย้ำเลือกตั้ง 2 เดือนไม่ทัน อ้างแค่ยกตัวอย่างไม่ได้โยนหินถามทาง ต่อให้หยิบฉบับอื่นมาใช้ก็ต้องปรับปรุงเป็นแรมเดือน
       
      วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่าจะไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวในการประชุม ครม.ครั้งนี้ ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเดินทางไปประชุมสหประชาชาติในวันที่ 23 ก.ย. ท่านบอกว่าให้รวบรวมรายชื่อเท่าที่ได้ก่อนที่จะเดินทาง หากนายกฯ เห็นชอบใครให้ติดต่อระหว่างที่ไม่อยู่ เพราะบางคนอาจต้องไปลาออกจากตำแหน่งอื่น หรือการมาร่างรัฐธรรมนูญห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี จึงต้องพูดให้เข้าใจ เมื่อนายกฯ กลับมาจะมีการพูดกันอีกครั้งซึ่งจะทันเวลาในวันที่ 6 ต.ค. ที่จะครบ 30 วันตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ โดยเวลานั้นต้องมีชื่อแล้ว
      
       ส่วนที่มีชื่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช.จะมาเป็นประธาน กรธ.นั้น นายวิษณุกล่าวว่า ตนได้เจอกับนายมีชัยแล้ว ได้ทักทายแต่ยังไม่ได้ทาบทาม ส่วนที่มีชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ ออกมาด้วยนั้นตนยังไม่ได้พบนายอานันท์ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของ กรธ.21 คนตอนนี้ได้กี่คนแล้ว นายวิษณุกล่าวว่า ตนไม่ทราบ นายกฯ มอบหมายให้หลายคนไปรวบรวม และตนไม่ได้ดูเฉพาะฝ่ายกฎหมาย เพราะนายกฯ บอกเพียงว่าให้ไปดูมา มีใครแล้วเสนอมา ส่วนรายชื่อทั้งหมดอยู่ที่นายกฯ อาจจะเยอะแต่ตนไม่ทราบ ขณะที่ สปท.นั้นตนไม่ได้รับผิดชอบ เรื่องดังกล่าวกรุณาทราบ ใครอย่ามาวิ่งกับตน
      
       นายวิษณุยังกล่าวถึงกรณีเคยออกมาพูดว่ากฎหมายพรรคการเมืองอาจมีสูตรพิสดารว่า ที่ตนพูดไม่ได้หมายความว่าเปิดช่องหรือชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เป็นการตอบคำถามที่มีคนถามถึงสูตรของนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ที่ให้ใช้สูตร 3-3-3-2 ว่าไม่สามารถทำได้ สูตรของนายจาตุรนต์ที่จะให้เวลาการเลือกตั้ง 2 เดือนนั้น ตนถามว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะต้องออกกฎหมายลูกถึง 6 ฉบับ และไม่มีใครรู้ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร อย่างกฎหมายพรรคการเมืองอาจจะพิสดาร เช่น ถ้าเป็นกฎหมายพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายพรรคการเมืองเก่าก็ต้องเลิกไป พรรคการเมืองที่เคยตั้งอยู่จะทำอย่างไร จะให้จดทะเบียนใหม่หรือหาสมาชิกใหม่ หรือไม่ยังไม่รู้ ส่วนพรรคที่ตั้งใหม่จะต้องนับหนึ่งใหม่ หากใช้เวลาเพียง 2 เดือน พรรคใหม่จะเสียเปรียบ ข้อสำคัญถ้ามันเกิดพิสดาร เขียนให้พรรคเก่าได้รับผลกระทบขึ้นมาจะวุ่นไปหมด ซึ่ง 2 เดือนจะไม่ทัน ความหมายเป็นเช่นนั้น ไม่ได้เป็นการชี้ช่องออกกฎหมายลูกก่อนกฎหมายแม่ หรือตนจะเป็นคนไปร่างฯ และไม่รู้ว่าเขาจะเขียนอย่างไร เป็นการสมมติออกมาเพื่อชี้แจงว่า 2 เดือนเป็นไปไม่ได้เท่านั้นเอง ถ้าไม่พิสดารก็ไม่เป็นไร
      
       “ตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาไม่ได้เป็นการโยนหินถามทาง แต่เป็นการสมมติขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่า 2 เดือนเป็นไปไม่ได้ ช่วยกันคิดด้วยสติปัญญา เอาฝ่าเท้ายกขึ้นมา นวดฝ่าเท้าสักทีแล้วตรองหน่อยว่า 2 เดือนมันทันจริงหรือ เมื่อตรงนี้ไม่ทัน ส่วนอื่นที่ให้ร่นมามันก็ไม่ทัน เพราะรัฐธรรมนูญเขาให้ร่างภายใน 6 เดือน ย่นหน่อยได้ แต่จะบอกว่า 2-3 เดือนพอจะเป็นได้อย่างไร เพราะต้องไปถามความเห็นคนเขาด้วย ต่อให้หยิบรัฐธรรมนูญ 40, 50 หรือ 58 ก็ต้องเอามาปรับปรุงซึ่งคงต้องให้เวลาเป็นแรมเดือน” นายวิษณุกล่าว

เปิดโฉมทีมเจรจาฝ่ายไทย....กับMara Patani

เปิดโฉมทีมเจรจาฝ่ายไทย....กับMara Patani
"พล.อ.อักษรา"ชึ้แจง"พูดคุยสันติสุข"หวังลดความตั้งใจ (Intention) ในการใช้ความรุนแรงของผู้เห็นต่างจากรัฐ ต่างกับวิธีคิดแบบโบราณในการชิงไหวชิงพริบให้ได้เปรียบในเวทีพูดคุย เผยฝ่ายไทยตั้งคณะทำงานจัดทำร่างชุดความคิดแล้ว ขณะที่ทั้ง 3 ฝ่าย เห็นชอบตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม
พล.อ.อักษรา เกิดผล หน.คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคำชี้แจงว่า ตลอดห้วงระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ใช้กำลังทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก ใช้มาตรการทางกฎหมาย ใช้การปฏิบัติการทางทหาร และงานมวลชนทุกรูปแบบ เพื่อยุติเหตุความรุนแรงในพื้นที่ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
สาเหตุเป็นเพราะกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงยังคง “มีขีดความสามารถ” และยังดำรงความเป็น “ฝ่ายริเริ่ม” ในการปฏิบัติการก่อเหตุในทุกโอกาส และบีบบังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องกลับมาเป็นฝ่ายรับ และสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์
ดังนั้นคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้เริ่มต้นติดต่อพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ให้เข้ามาร่วมบนโต๊ะพูดคุยโดยให้เหตุผลว่า ความรุนแรงจะไม่เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายใด นอกจากนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทุกครั้งทำให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องเพิ่มกำลังพลและยุทโธปกรณ์ รวมทั้งความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นจับกุมมากขึ้น ซึ่งจะไม่เกิดผลดีต่อฝ่ายใด และชี้ให้เห็นว่าการพูดคุยคือทางออกที่ดีที่สุดของทุกฝ่าย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ที่พยายามรวมตัวกันทั้ง 6 กลุ่ม เข้ามาร่วมพูดคุยแบบเต็มคณะอย่างไม่เป็นทางการจนถึงปัจจุบันรวม 3 ครั้ง
หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ขอเรียนว่ารัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยฝ่ายเดียวมาตลอด จนถึงบัดนี้ได้มีกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐได้เข้ามา “ร่วมมือ” กับรัฐในการช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยมีภาคประชาชนจับตามองและให้การสนับสนุน รวมทั้งเป็นสักขีพยานในความร่วมมือดังกล่าว
จึงนับว่าเป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นความสำเร็จที่สำคัญ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ยังมีคนคิดแบบเก่า ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการพูดคุย ยังคิดว่า เป็นการยกระดับองค์กรเพื่อนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายในปัจจุบัน เพราะมีภาคประชาชนคอยสังเกตตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา และในอนาคตเชื่อว่า จะไม่มีเฉพาะ Party A และ B ที่คุยกันเท่านั้น แต่จะมีภาคประชาชนเข้ามาร่วมพูดคุย และเป็นผู้กำหนด Road Map ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืนต่อไป เพียงแต่ในขั้นตอนแรกคณะพูดคุยฯ จำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือกับกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ให้เกิดขึ้นก่อน และความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลให้ความรุนแรงในพื้นที่ลดลงมาโดยลำดับ
สำหรับการพูดคุยเพื่อสันติสุข ที่คณะพูดคุยฯ ดำเนินการอยู่นั้น เป็นการพูดคุยเพื่อ “ลดความตั้งใจ” (Intention) ในการใช้ความรุนแรงของผู้เห็นต่างจากรัฐทุกกลุ่มแล้วหันมาใช้ขีดความสามารถที่มีอยู่ในทาง “สันติวิธี” มากกว่าการใช้ขีดความสามารถสร้างความรุนแรงในการก่อเหตุเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะแตกต่างจากเดิมที่เข้าใจว่าต้องเจรจาต่อรองตกลงกันก่อนว่า ฝ่ายหนึ่งจะได้อะไร อีกฝ่ายจะได้อะไร และต้องการอะไร เพราะวิธีคิดแบบโบราณนั้นจะนำมาซึ่งความได้เปรียบกันในเวทีพูดคุย โดยเป็นการชิงไหวชิงพริบกันและสร้างความหวาดระแวงมากกว่าความไว้วางใจ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับสิ่งที่คณะพูดคุยฯ กำลังดำเนินการอยู่คือ สร้างความไว้วางใจเพื่อแสวงหา “ความร่วมมือ” ในการแก้ปัญหาความรุนแรงร่วมกันโดยพยายามชี้ให้เห็นว่า หากใช้ความรุนแรงต่อไปก็จะไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะเด็ดขาดแม้เวลาจะผ่านไปอีกหลายสิบปี แต่สิ่งที่เสียหายคือ บ้านเมือง ประเทศชาติ และความสูญเสียของพี่น้องประชาชน
รวมทั้งอนาคตที่มืดมนของบุตรหลาน และไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นการพูดคุยเพื่อให้เกิดความร่วมมือต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญว่า เราจะเริ่มต้นร่วมมือกันอย่างไร? ในเรื่องอะไร ทั้งเรื่องความปลอดภัย การพัฒนา และความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน
กล่าวโดยสรุปในปัจจุบันคณะพูดคุยฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานในแต่ละเรื่องแล้วเพื่อจัดทำร่างชุดความคิด (Package) กระบวนการยุติธรรม แบ่งกลุ่มประเภทแยกความผิดแต่ละกรณี และกำหนดแนวทางดำเนินการผ่อนผันตามกรอบของกฎหมายไทย เพื่อให้กลุ่มผู้เห็นต่างฯ ได้เลือกให้ตรงความต้องการของแต่ละกลุ่ม หรือเป็นบุคคล
สำหรับเรื่องการพัฒนา และเรื่องพื้นที่ปลอดภัยก็เช่นเดียวกัน ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดเป็นชุดความคิดของการพัฒนาในเรื่องสำคัญเร่งด่วนแต่ละเรื่องให้ตรงใจกับพี่น้องประชาชน และพื้นที่ปลอดภัยทั้งในชุมชนเขตเมือง ชนบทป่าเขา เส้นทางสัญจร และพื้นที่ชายแดนว่า จะเริ่มพื้นที่ใดก่อนไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถ และความพร้อมของฝ่ายรัฐ รวมทั้งความร่วมมือของกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ที่ต้องร่วมกันกำหนด และเลือกวิธีการที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ถ้าหากทุกท่านมองด้วยใจเป็นธรรมแล้วจะเห็นได้ว่า ประเด็นของ “มารา ปาตานี” นั้น ที่จริงแล้วก็คือเรื่องเดียวกันกับประเด็นของคณะพูดคุยฯ โดยสามารถปรับเข้าหากันได้ทุกเรื่อง เช่น การยอมรับใน “มารา” สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยการพิสูจน์ให้เห็นในเรื่องความปลอดภัยของพื้นที่ร่วมกัน รวมทั้งการร้องขอให้ “การพูดคุย” เป็นวาระแห่งชาติ ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการพัฒนาที่สังคมทั้งประเทศยอมรับ ตลอดจนการขอสิทธิคุ้มครองทางกฎหมาย (Immunity) ก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมที่ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงได้นั่นเอง ทั้งหมดนี้สามารถแสวงหาความร่วมมือตกลงกันได้บนโต๊ะพูดคุย และแม้ว่าอาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็จะไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ จชต.
โดยความก้าวหน้าล่าสุด คณะพูดคุยฯ สามารถสร้างความเห็นชอบร่วมกันกับผู้อำนวยความสะดวก และกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ (Party B) ในการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคร่วม ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่าย ทั้ง Party A, Party B และผู้อำนวยความสะดวก รวมทั้งในอนาคตอาจมีภาคประชาชนเข้าร่วมด้วย เพื่อกำหนดรายละเอียดในการทำงานร่วมกันให้เกิดความสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืนต่อไป

นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญ พวกเคลื่อนไหวที่ฮ่องกง

Wassana Nanuam

นายกฯ ไม่ให้ความสำคัญ พวกเคลื่อนไหวที่ฮ่องกง ยันไม่เสียสมาธิทำงาน ขอ ให้เคารพกติกากันบ้าง ให้ปชช.ตัดสินใครถูก-ผิด ลั่นเวลาเขาอยู่ในหน้าที่ ผมก็ยังไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว วันนี้ผมทำงานของผม ประชาขนก็ดูแล้วกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีที่นักการเมืองไปพบ อดีตนายกฯ ทักษิณ เคลื่อนไหวฮ่องกง ว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญและไม่ทำให้เสียสมาธิ ขณะนี้ใครจะทำอะไรก็ขอให้เคารพกติกาบ้าง เพราะวันนี้ผมทำงานของผม และอยากให้ประชาชนพิจารณาว่าใครทำถูกหรือผิด
"เคารพกติกากันบ้าง เวลาเขาอยู่ในหน้าที่ ผมก็ยังไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว วันนี้ผมทำงานของผม ประชาขนก็ดูแล้วกัน เขาทำถูกหรือผิด ถ้ากลายเป็นว่าที่เขาทำมันถูกกว่าที่ผมทำก็โอเค ถ้าอย่างนี้โลกมันก็กลับตาละปัตร แต่ก็ไม่หมายความว่าเขาทำผิดทั้งหมด หรือถูกทั้งหมด ที่ผิดมันก็เยอะ ที่ถูกมันก็มีอยู่บ้าง"
แต่ทั้งนี้ก็ให้กฎหมายเป็นผู้ตัดสิน ถ้าไม่รักกฎหมายแล้วจะตัดสินด้วยอะไร ไม่ได้ต้องการให้เครดิตผม แต่ก็อย่าให้เครดิตเขาด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"นายกฯ” ให้"บิ๊กปัอม"รักษาการนายกฯ ระหว่างบินอเมริกาเผย ครม.มอบ“บิ๊กป้อม” ตามเรื่องสรรหา สปท.-กรธ.


"นายกฯ” ให้"บิ๊กปัอม"รักษาการนายกฯ ระหว่างบินอเมริกาเผย ครม.มอบ“บิ๊กป้อม” ตามเรื่องสรรหา สปท.-กรธ. เผย มีเสนอชื่อร่วม กรธ. 20-30 คนยัน ยังไม่ตัดสินใจ รอหารือร่วมครม.-คสช. อีกครั้ง ขอให้ทุกคนมองจุดหมายปลายทางร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวภายหลังการประชุมครม. ว่า ในที่ประชุมได้มอบหมายงานให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง รักษาการในช่วงที่ตนไม่อยู่ และฝากให้ดูแลติดตามในกาสรรหาสภาขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศ(สปท.) และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ซึ่งตอนนี้ยังไม่ตัดสินใจ แต่รับฟังความเห็นที่ทุกฝ่ายเสนอมา ขณะเดียวกันรายชื่อตามที่สื่อมวลชนเสนอนั้นก็จะพิจารณาทั้งหมด ซึ่งจะหารืออีกครั้งในระดับครม.-คสช. 

โดยเชื่อว่าทุกคนมีความตั้งใจ แต่ขอให้มองที่จุดมุ่งหมายสุดท้ายคือการทำให้ประเทศสงบสันติ เข้มแข็ง ลดปัญหาที่ผ่านมา มากกว่าการเลือกตั้ง และไม่ใช่มองแค่รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน

เมื่อถามว่า ขณะนี้มีชื่อคนอื่นนอกจากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษา คสช. และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ ตนเห็นตามที่หนังสือพิมพ์เสนอเท่านั้น เสนอมาก็รับฟังหมด ยังไม่ตัดสินใจใดๆทั้งสิ้น ซึ่งคนที่เข้ามาต้องหาทางออกให้ประเทศให้ได้ และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

ส่วนหลักการที่เลือกมีเพียงอย่างเดียวคือ ทำเพื่อชาติ บ้านเมือง ไม่มีอะไรมากกว่านี้ เพราะชาติไม่ใช่เล็กๆ แต่เป็นประชาชนกว่า 70 ล้านคน

อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้สนใจสมัครเป็นกรธ. แล้ว 20-30 คน ซึ่งการที่สมัครเข้ามาน้อยไม่ได้หนักใจ
ส่วนสภาขับเคลื่อนฯ ขณะนี้มีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม เพียงไม่กี่คน ไม่กี่พรรค ส่วนที่ไม่เข้ามาก็อย่ามาพูดว่าไม่เห็นด้วย ประชาชนดูอยู่ว่าที่ผ่านมาพรรคเหล่านี้วางตัวไว้ตรงไหน ที่ผ่านมาเกิดเรื่องจากใคร ไม่ยอมรับความผิดพลาด แล้วจะให้ผมสงบเรียบร้อย ปรองดองเป็นไปไม่ได้

"ดูแล้วไม่มีใครอยากเข้ามา เพราะไม่อยากอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ใครเข้ามาก็หาว่ารับใช้คสช. ส่วนคนที่ไม่เข้าก็ไม่ยอมรับ สรุปบ้านเมืองนี้ไม่มีใครอยากทำอะไร ทำอะไรก็ไม่ถูกใจทั้งหมด ผมไม่อยากกดดัน ให้อิสระทุกคนและขอข้างนอกอย่ากดดันด้วย คนเหล่านี้ไม่ได้ทำเพื่อผมแต่ทำเพื่อคนไทย"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงสัดส่วนทหารในสภาขับเคลื่อนฯ ว่า เป็นการตั้งไว้เฉยๆ มากหรือน้อยตนเฉลี่ยเอง และพร้อมเปลี่ยนสัดส่วนได้ตลอดเวลา เช่นหากส่งมา 150 รายชื่อ ก็อาจตัดเหลือ 50 หรือน้อยกว่านั้น เพราะสัดส่วนยังไม่ชัดเจน ไม่ต้องไปสนใจจำนวน แต่ควรสนใจว่าจะปฏิรูปกันอย่างไร
ทั้งนี้หากรัฐธรรมนูญต่อให้เขียนวิเศษอย่างไร แต่ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มีผล กฎหมายมีหลายมาตราแต่คนก็ยังติดคุก และไม่จำเป็นต้องเขียนขึ้นใหม่หลายๆรอบ หากทุกคนนับถือและปฏิบัติ ถ้าทำได้ตนก็ไม่จำเป็นต้องเข้ามา คนไทยจะทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญไปอีกกี่ฉบับ จำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยไปสู่สากลหรือยัง และคนไทยพร้อมที่จะเป็นสากลหรือไม

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่นพ.นิรันดิ์ พันธกิจ อดีตสปช. อยากให้นายกฯ เปิดเผยรายชื่อก่อนเดินทางไปสหรัฐฯ ว่า "เขาเป็นใคร สปช.ใครเป็นคนตั้ง เขาอยากก็อยาก แต่ผมไม่อยาก ผมเป็นคนกำหนด ตามใจคนมากก็ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง"

"นายกฯ" งอมแงม อาการหนักไข้หวัด แถมมีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล

"นายกฯ" งอมแงม อาการหนักไข้หวัด แถมมีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ต้องให้หมอรพ.พระมงกุฎฯมาฉีดยาถึงที่ทำเนียบฯ พุธนี้เข้าทำเนียบฯแต่งดภารกิจข้างนอกเตรียมเดินทางไปNewYork 23.50น.
มีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดและเจ็บคอ จนต้องงดภารกิจหลายงาน ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎ ได้เดินทางมาที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล มาตรวจอาการและทำการรักษาโดยการฉีดยาและให้ยากับนายกรัฐมนตรี ไปรับประทานเพื่อลดไข้และอาการเจ็บคอ รวมทั้งสั่งให้พักผ่อนมากขึ้น ซึ่งตลอดทั้งวัน พล.อ.ประยุทธ์ ยังคงมีอาการไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูกและมีอาการอ่อนเพลียจนเห็นได้ชัด
ส่วนภารกิจของนายกรัฐมนตรีในช่วงกลางวัน วันที่ 23 ก.ย.จะปฏิบัติภารกิจอยู่ในทำเนียบรัฐบาล และมอบหมายงานต่างๆให้รองนายกรัฐมนตรีทำแทน
โดย เวลา 23.50น.นายกรัฐมนตรี และภริยาพร้อมคณะ เดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื้อเดินทางด้วยเที่ยวบิน TG 642 เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานJohn F Kennedyโดยเที่ยวบิน NH 10 และเข้าพักที่โรงแรม One UN New York ก่อนเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015
และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70

ประชารัฐ vs ประชานิยม : พิสูจน์กันที่ผลงาน มิใช่วาทกรรม

 ประชารัฐ vs ประชานิยม : พิสูจน์กันที่ผลงาน มิใช่วาทกรรม
โดย : กาแฟดำ
“ประชารัฐ” จะดีกว่า “ประชานิยม” หรือไม่นั้นพิสูจน์กันตรงที่ จะสามารถสร้างความแข็งแกร่ง
ให้กับประชาชนใน “ฐานราก” มากกว่าเป็นเพียง “รากหญ้า” หรือไม่
“ประชารัฐ” จะเหมือน “ประชานิยม” หรือไม่ก็อยู่ที่ว่ารัฐบาลที่ทำนโยบายนี้มีเจตนาที่จะ “ซื้อความนิยม” ด้วยงบประมาณแผ่นดินเพื่อตนเองหรือพรรคพวกตนเองหรือไม่
ความเหมือนความต่างของ “ประชารัฐ” กับ “ประชานิยม” จึงไม่ได้อยู่ที่วาทกรรม หากแต่อยู่ที่ “กระบวนการ” และ “ผลที่วัดได้”
ความจริง “ประชานิยม” โดยตัวมันเองที่มาจากคำว่า populist policy นั้นไม่ได้เสียหายอะไรหากมุ่งจะทำในสิ่งที่ “ประชาชนนิยม” จริง ๆ
แต่หลายประเทศที่ผู้นำใช้นโยบาย “ลดแลกแจกแถม” เพื่อทำให้ประชาชนเสพติด ของแจกจากนักการเมืองจนงอมแงม และต้องเลือกกลับมาปกครองบ้านเมืองอีก เป็นต้นแบบของการใช้เงินเพื่อการครอบงำอำนาจ
พอยุคนักธุรกิจหมื่นล้านมาเล่นการเมือง และเห็นว่าจะใช้วิธีการเช่นนี้เพื่อสร้างความนิยมชมชอบได้ ก็หาทางใช้งบประมาณเพื่อการนี้ กลายเป็น populism ที่แปลเป็นไทยว่า “ประชานิยม” ในความหมายทางลบที่น่ารังเกียจไป
ทั้ง ๆ ที่การช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้นั้นเป็นหน้าที่ของรัฐ และการเพิ่มสวัสดิการสังคมในกับชนชั้นกลางนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างไร
การที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศแนวทาง “ประชารัฐ” โดยมีรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ระดมพลังจากฝ่ายประชาสังคม ที่นำโดยคุณหมอประเวศ วะสี เป็นความพยายามที่จะทำให้แตกต่างไปจาก “ประชานิยม” ด้วยการยืนยันว่าที่ทำนี้ไม่ได้ต้องการสร้างความนิยมชมชอบให้กับตนเองหรือกลุ่มตน เพราะไม่ว่าจะเป็นนายกฯ หรือคุณสมคิด หรือคุณหมอประเวศประกาศจะไม่เล่นการเมืองอยู่แล้ว
นโยบาย “ประชารัฐ” เน้นความร่วมมือระหว่าง “รัฐ” กับ “ประชา” ที่ประสานพลังกันสร้างความแข็งแกร่งลงไปถึง “ฐานราก” ขณะเดียวกันก็สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในเวทีระหว่างประเทศพร้อม ๆ กันไป
จะทำสำเร็จหรือไม่ไม่ได้อยู่ที่ว่างานเปิดตัวอลังการเพียงใด หรือมีคนมีชื่อเสียงมาร่วมในการแถลงเจตนารมณ์มากน้อยเพียงใด
หากแต่อยู่ที่การลงมือทำงานอย่างจริงจัง ระดมความคิดของคนทุกฝ่าย กระจายความรับผิดชอบไปสู่ท้องถิ่น ฟังเสียงคน “ฐานราก” อย่างกว้างขวาง และประเมินผลกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างความแข็งแกร่ง อำนาจต่อรอง และภูมิต้านทานให้กับคนชนบทห่างไกล ที่ยังมีช่องว่างกับชนชั้นกลางและผู้มีอันจะกินในเมืองอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
จะว่าไปแล้วการจะเรียกนโยบายกระจายรายได้ สร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนระดับฐานราก (หรือจะเรียก “รากหญ้า” ก็ไม่ได้ผิดกติกาแต่อย่างใด) และลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างเอาจริงเอาจังนั้น จะใช้ชื่ออย่างไรก็คงไม่สำคัญเท่ากับว่าคนทำจริงหรือไม่ และทำแล้วประเทศชาติได้ประโยชน์จริงหรือไม่
แต่ไหน ๆ รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่ต้องการจะได้ชื่อว่า “ลอกการบ้าน” ของรัฐบาลคุณทักษิณ และเชื่อว่าตนมีความสุจริตใจกว่า, การแข่งขันเพื่อทำความถูกต้องให้กับคนไทยในทุกระดับด้วย brand ใหม่ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้
ทุกฝ่ายในบ้านเมืองกำลังจับตา และประเมินผลงานกันอย่างขะมักเขม้นแน่นอน
- See more at:http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635638…

ยังไงผมก็ชนะ !!



ยังไงผมก็ชนะ !!
ใกล้เข้ามาแล้ว ช่วงเวลาที่ทุกคนเฝ้ารอคอย สุดยอดอภิมหาเวทีโลก เวทีการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 70 ของสมัชชาสหประชาชาติ ที่มีผู้แทนจากประเทศต่างๆ 193 ประเทศเข้าร่วม และลุงตู่ก็คือหนึ่งในนั้น
การเฝ้ามองด้วยความระทึก ลุ้น มิใช่เพียงแค่คนไทยฝ่ายเดียวเท่านั้น ในสายตาชาวโลกก็ด้วย เพราะถือว่าเป็นสุดยอดเวทีที่โลกทั้งใบจะต้องมองด้วยสายตาที่ไม่กระพริบ เนื่องจากหลายวิกฤติเกิดขึ้นพร้อมๆกันในเวลานี้
มีหลายฝ่ายรู้สึกกังวลกับเหตุการณ์ที่มีการใช้ความพยายามขัดขวาง ประท้วงลุงตู่ที่นั่น ตามที่เราๆได้ติดตามข่าวกันเป็นระยะ ในมุมมองผมกลับรู้สึกว่าเป็นผลดี แม้ถ้าในที่สุดแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดชอบในเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อย จะทำงานสำเร็จลุล่วงฝ่านไปด้วยดีก็ตาม ก็ถือว่าดีอยู่แล้ว
สมมุติหากมันเกิดการมาผิดเวทีของบรรดาเก้ง กวาง บ่าง ชะนี อีเหน แรด กระซู่ ซึ่งพวกเค้าอาจไม่รู้ว่านั่นเป็นเวทีการประชุมของสหประชาชาติ ไม่ใชของ WSPA (World Society for the Protection of Animals) คือเวทีการประชุมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก2015 อย่างที่พวกเค้าเข้าใจก็ตาม นั่นหมายถึง พวกเค้าเป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณการอยากรู้ อยากเห็นให้กับชาวโลกที่เฝ้ามองลุง ที่เป็นตัวแทนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
โดยปกติก็น่าสนใจอยู่แล้ว ที่ใครๆก็อยากรู้ว่า มันมีหรือทำรัฐประหารเพื่อการปฏิรูป แล้วเหตุใดจึงมีประชาชนส่วนหนึ่งไม่สนับสนุน แต่ก็ไม่น้อยที่ต้องการให้รัฐบาลนี้อยู่ยาว จุดที่ลุงตู่ดูจะเป็นจุดที่น่าสนใจในสายตาที่สุด อดีตนายทหารผู้นี้มีสิ่งที่คนมองว่าน่าสนใจ ว่าทำไมผู้นำคนนี้ถึงหัวแข็งกับมหาอำนาจที่เป็นเจ้าบ้าน ที่ผู้นำท่านนี้ได้รับเกียรติ ถูกเชิญร่วมวางสนทนา นั่งพูดคุยในบ้านหลังเดียวกันนี่แหละ
ลุงตู่เวลานี้ จึงเปรียบเสมือนเหรียญอีกด้านหนึ่ง ที่ชาวโลกอยากเห็น หลังจากที่ได้เห็นด้านหนึ่งจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นั่นหัวไม่แข็ง แต่อ่อนปวกเปียก ชุ่มฉ่ำ หยดย้อย หยาดเยิ้ม มุ้งมิ้ง มุ้งมิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างกันคนละขั้วอย่างสิ้นเชิง
อย่างไรก็ขอเป็นกำลังใจให้ลุงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และขอฝากความหวังไว้กับลุง ที่จะสามารถทำให้บ้านของเรา ประเทศของเราดูดีขึ้นได้ในสายตาสังคมโลก ให้โลกรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างมองแค่เปลือกไม่ได้ อะไรคือการเช้ามาในช่วงเวลาที่แผ่นดินลุกเป็นไฟ อะไรคือเหตที่มา
ทุกคำพูด ทุกอริยาบท ทุกอย่างที่ลุงสื่อออกไป ล้วนเป็นวาระสำคัญทั้งสิ้น ที่จะมีผลต่อบ้านของเรา ประเทศของเรา
โลกต้องการความจริง ในขณะเดียวกันก็มีบางกลุ่มไม่ต้องการให้โลกรู้ความจริง จึงเกิดขบวนการ การขัดขวางทุกอย่าง ทั้งบนดินใต้ดิน ทุกวิถีทาง แต่หารู้ไม่ ยิ่งทำยิ่งเป็นการเปิดทางให้ลุงได้เดินไปข้างหน้า เพราะมันคงจะไม่มีใครที่จะเห็นด้วยกับการกระทำที่เป็นการไม่หวังดีที่คนดีๆเค้าจะทำกัน
ยิ่งแรง ลุงก็ยิ่งตอบโต้ได้ด้วยความชอบธรรม ก็ยิ่งทำให้บ้านของเรา ประเทศของเราสามารถไปได้ไกล ... .
ยังจำได้ไหม ? " ยังไงผมก็ชนะ !! ."

นักวิชาการชื่อดังสหรัฐฯ เชิญ"ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์"เข้าพบ คุยการเมืองไทย

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 15:10:31 น

ดร.นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้ไม่มารายงานตามคำสั่ง คสช. โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า วันศุกร์นี้ ตนได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ Noam Chomsky ให้เข้าพบและพูดคุย โดยระบุว่า

วันศุกร์นี้ วันที่ 25 กันยายน คนเฮงซวยอย่างผมได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ Noam Chomsky ให้เข้าพบและสัมภาษณ์เดี่ยว ที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ที่บอสตัน ไม่นึกว่าผมจะได้มีโอกาสอย่างนี้ ผมจะขอความเห็นจากอาจารย์ Chomsky เรื่องรัฐประหารในไทยและการใช้กฏหมายหมิ่นกวาดล้างผู้เห็นต่าง

พูดถึงเรื่องอาจารย์ Noam Chomsky แล้ว ต้องขออธิบายว่า ผมไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวมาก่อน แต่หลังจากเกิดรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว และผมถูก คสช. แกล้งตั้งแต่วันแรก ผมได้รับกำลังใจจากอาจารย์ Noam มาตลอด และอาจารย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังสำคัญคนหนึ่งที่ผลักดันให้ญี่ปุ่นมอบสถานะผู้ลี้ภัยให้ผม แน่นอนอาจารย์ Noam เห็นว่า สิ่งที่ คสช. ทำกับผมนั้นถือเป็นอาชญากรรมและเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ แต่เผด็จการก็คือเผด็จการครับ ดังนั้น การพบกับอาจารย์ Noam ศุกร์นี้ จะไม่ใช่เป็นแค่การสัมภาษณ์ธรรมดาอย่างเดียว แต่อาจารย์คงอยากจะถามไถ่ทุกข์สุขและความสามารถที่ผมเดินทางได้อีกครั้งหนึ่ง ต้องขอบอกว่านี่คือไฮไลท์ที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตก็ว่าได้ครับ

ทั้งนี้รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์  เคยรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งผันตัวเองไปเป็นอาจารย์และนักวิจัยสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ก่อนจะย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้ไม่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามคำสั่งเรียก หลังจาก คสช.เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และยังเป็นผู้นำเสนอความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ อย่างต่อเนื่อง  กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ดำเนินการถอนหนังสือเดินทาง ด้วยอ้างเหตุที่ รศ.ปวินไม่มารายงานตัว ต่อ คสช.ล่าสุด เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยพูดถึงด้วยคำรุนแรงว่า "คนเฮงซวย"

ขณะที่ศาสตราจารย์นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) ถือเป็นนักปรัชญา-ภาษาศาสตร์  ชื่อดังของสหรัฐฯ และนักกิจกรรมทางการเมืองวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำคณะภาษาศาสตร์และปรัชญา สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) เป็นนักคิดที่ผลิตงานชิ้นสำคัญที่สุดของวงการภาษาศาสตร์ทฤษฎีในคริสต์ศตวรรษที่ 20  ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ์ 1960 ชอมสกียังเป็นที่รู้จักในวงกว้างในฐานะผู้ไม่เห็นด้วยกับอำนาจรัฐและนักอนาธิปัตย์ จากการเคลื่อนไหวทางการเมือง และการวิพากษ์ที่เขามีต่อนโยบายต่างประเทศของทั้งสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอีกหลายประเทศ ชอมสกีเรียกตนเองว่าเป็นนักสังคมนิยมเสรี ผู้เห็นพ้องกับแนวคิดอนาธิปัตย์-สหภาพนิยม

สำนักพิมพ์ไทยปฏิเสธพิมพ์ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ฉบับล่าสุด ชี้มีเนื้อหาอ่อนไหวเกี่ยวกับสถาบัน

สำนักพิมพ์ไทยปฏิเสธพิมพ์ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ฉบับล่าสุด ชี้มีเนื้อหาอ่อนไหวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ขึ้นหน้าหนึ่ง
หนังสือพิมพ์อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ได้ส่งอีเมลแจ้งไปยังสมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ว่า จะไม่มีการตีพิมพ์ฉบับล่าสุดประจำวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558 ในไทย เนื่องจากสำนักพิมพ์ที่เป็นคู่สัญญาสำหรับการตีพิมพ์ในประเทศไทย ได้แจ้งปฏิเสธที่จะพิมพ์ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ฉบับดังกล่าว เนื่องจากมีบทความที่มีเนื้อหาอ่อนไหวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในหน้าแรก
บทความดังกล่าว เขียนโดย โทมัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและอนาคตของสถาบันกษัตริย์ไทย
ทั้งนี้ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ยังได้แจ้งผ่านอีเมลว่า การตัดสินใจไม่พิมพ์ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจของสำนักพิมพ์คู่สัญญาในไทยเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจของ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ แต่อย่างใด และได้แนะนำให้สมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ เข้าอ่านเนื้อหาในฉบับล่าสุดทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทน

“บิ๊กป้อม” ไม่สน “แม้ว” อยู่ฮ่องกง รับมีชื่อ กรธ.แล้ว สั่งประสานคุมเสื้อเหลืองบึ้มกรุง

22 กันยายน 2558 15:45 น. (แก้ไขล่าสุด 22 กันยายน 2558 16:20 น.) ผู้จัดการ

“บิ๊กป้อม” ไม่สน “แม้ว” อยู่ฮ่องกง รับมีชื่อ กรธ.แล้ว สั่งประสานคุมเสื้อเหลืองบึ้มกรุง


“ประวิตร” เผยไม่ได้ประเมิน “ทักษิณ” อยู่ฮ่องกง ย้ำทำอะไรก็ได้อย่าสร้างความขัดแย้ง อย่าห่วงลิ่วล้อบินไปหา ดักกลุ่มต้าน สหรัฐฯ มีกฎหมายชุมนุม นายกฯ ไม่ห่วงอะไร รับมีชื่อ กรธ.แล้วแต่ไม่รู้มีใครได้บ้าง โต้ไม่มีข่าว “มีชัย” บอกปัด ลั่นยังไม่ทาบทามใคร ยังไม่ทราบมาเลย์คุมตัวเสื้อเหลืองบึ้มกรุง ให้ ตร.ประสาน ย้ำส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
       
       วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ที่ฮ่องกงนั้น ฝ่ายความมั่นคงประเมินได้มีการประเมินอะไรบ้างว่า ไม่ได้ประเมิน จะทำได้อย่างไร ใครจะไปจะมา เมื่อถามว่ามองการเคลื่อนไหวตรงนี้มีนัยอะไรหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่มีอะไร ตนบอกไปหลายครั้งแล้วว่าทำอะไรก็ได้แต่อย่าสร้างความขัดแย้งภายในประเทศเพราะไม่มีประโยชน์อะไร ขณะนี้อยู่ในห้วงเปลี่ยนผ่านก็ต้องช่วยกันทุกฝ่าย อีกหน่อยมีรัฐธรรมนูญก็จบแล้ว เมื่อถามว่าหากกลุ่มการเมืองจะไปพบนายทักษิณที่ฮ่องกง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีการติดตามอย่างไรบ้าง พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เขาไปหรือยัง ตนไม่รู้ เขาเป็นญาติกันหรือเปล่า ตนก็ไม่รู้ ไม่ต้องห่วง อย่าไปห่วงมาก
       
       พล.อ.ประวิตรกล่าวถึงกรณีรายงานข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำ เพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่าไม่มี ทางสหรัฐฯ มีกฎหมายไม่ใช่ไปชุมชนได้เฉยๆ จะต้องบอกจำนวน บอกเวลา บอกว่าไปชุมนุมในเรื่องอะไร ไม่ใช่เรื่องเสรีเพราะเขามีกฎหมายควบคุมดูแลอยู่ ตนก็บอกไปแล้วว่า นายกฯ ตั้งใจทำงานให้คนไทย ทำงานให้ประเทศ ทำในสิ่งที่ดีไม่ได้ทำร้ายใครเลย ฉะนั้นความดีก็จะไปปกป้องตัวท่านเอง ไม่ต้องห่วงหรอก ทั้งนี้นายกฯ ไม่ได้ฝากอะไรในที่ประชุม ครม.ท่านไม่ห่วงอะไร มีสื่อมวลชนเยอะแยะก็ต้องช่วยตน ช่วยนายกฯ ด้วย และคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น
       
       พล.อ.ประวิตรกล่าวถึงความคืบหน้าตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า มีรายชื่อแต่ไม่รู้ว่าใครได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มีรายชื่อชัดเจนหมด นาย ก. นาย ข. นาย ค. มีทั้งหมดแต่ไม่รู้ว่าใครได้ เมื่อถามว่า รายชื่อที่พิจารณาอยู่ตอนนี้มีกี่รายชื่อ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า จำไม่ได้ มีหลายคน เมื่อถามว่า ล่าสุดมีข่าวนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งประธาน กรธ. พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่มี ตนไม่เห็นได้ยินใครปฏิเสธเลย ไม่มี ยังไม่ได้คุยกับท่านเลย สื่ออย่าไปคิดเอาเอง ไปนอนคิดตั้งคำถามมาเมื่อคืนว่าจะถามอะไรดี
       
       เมื่อถามว่า ตกลงคนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทาบทามไม่ได้ออกมาปฏิเสธเป็น กรธ.ใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวตอบว่า คุณรู้ได้อย่างไรว่าทาบทามหรือไม่ทาบทาม มันไม่ใช่ตนไม่พูดอย่างนั้น เดี๋ยวก็เอาไปเขียนอีก ยังไม่ได้ทาบทามใครทั้งสิ้น เมื่อถามว่า ที่นายกรัฐมนตรี ระบุว่าให้หลายฝ่ายไปทาบทาม ส่วนตัวได้ทาบทามใครบ้าง พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ยังไม่รู้ จำไม่ได้ นายกรัฐมนตรีบอกเมื่อไหร่ ทำไมคุณรู้ดี ตนยังไม่รู้เลย ใจเย็นๆ คสช.และรัฐมนตรีเขาต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
       
       เมื่อถามว่า หลังนายกรัฐมนตรีกลับจากประชุมที่สหรัฐฯ จะมีการประชุมร่วม ครม.-คสช.อีกครั้งหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เดี๋ยวว่านายกรัฐมนตรีจะสั่งอย่างไร ให้ได้รายชื่อก่อน แล้วก็เสนอนายกรัฐมนตรี ท่านจะสั่งประชุม สั่งทำอะไรก็เรื่องของท่าน ให้ท่านตัดสินใจ อย่าไปตัดสินใจให้ท่านบ่อยหนัก
       
       พล.อ.ประวิตรกล่าวถึงกรณีที่ประเทศมาเลเซียได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยชายเสื้อเหลืองที่ปรากฏในคลิปเหตุระเบิดที่ราชประสงค์ ว่าไม่รู้ ตนไม่ทราบ ให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไปประสานงาน ตนจะบอกได้ไง เดี๋ยวบอกไม่ถูกก็มาว่าตนอีก ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานดีกว่า จับได้หรือยังก็ไม่รู้ จับใครได้ก็ไม่รู้ เมื่อถามว่า ข่าวที่ออกมาจากตำรวจมาเลเซีย ระบุว่าผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ตนไม่รู้ อย่าถามเลย ถามเหมือนตนเป็นตำรวจมาเลเซีย เขาไปสืบสวนอย่างไรไม่รู้ เดี๋ยวให้ตำรวจไทยไปคุยกับเขาก่อน เมื่อถามว่า หากมีการจับตัวได้จริงๆ การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนสามารถทำได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ทำได้

ยังไม่สละสิทธิ์"ตั๊น-จิตภัสร์" สัมภาษณ์/ตรวจร่างกายแล้ว | เดลินิวส์

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. พ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รอง ผบก.จร. ในฐานะผู้ช่วยโฆษก บช.น. เปิดเผยความคืบหน้ากรณี น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร หรือตั๊น สมัครเป็นข้าราชการตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก.สปพ.) หรือ 191 ว่า อยู่ราะหว่างขั้นตอนการพิจารณา ซึ่ง น.ส.จิตภัสร์ มีคุณสมบัติครบถ้วน หลังจากรับสมัครแล้วขั้นตอนต่อไปคือการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ บช.น. เพียงเปิดรับสมัคร เมื่อ น.ส.จิตภัสร์ มาสมัครก็ต้องรับสมัครไว้ และได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นบุคคลต้องห้ามหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ และส่งบทสัมภาษณ์ไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)พิจารณา พ.ต.อ.เอกรักษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับ น.ส.จิตภัสร์ ได้เดินทางมาสมัครเอง ที่ บก.สปพ. ในตำแหน่ง รอง สว. โดยตำแหน่งนี้มีคนมาสมัครหลายคน ซึ่งเขาไม่เคยมาที่ บช.น. เลย เพียงแต่ บก.สปพ. รับสมัคร และเสนอเรื่องขึ้นมาที่ บช.น. หน้าที่ของ บช.น. ก็ต้องทำเรื่องเสนอต่อไปให้ ตร. พิจารณา เพื่อขอเปิดตำแหน่งเนื่องจากมีความจำเป็น ถ้า ตร.เห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะรับสมัครในตำแหน่งนี้ก็ถือว่ายกเลิก ทั้งนี้ยืนยันว่าการรับสมัคร 1 ตำแหน่งไม่ได้เปิดมาเมื่อรับสมัครใครเพียงแค่คนเดียว อย่างไรก็ตามขณะนี้ไม่ได้หมายความว่า น.ส.จิตภัสร์ ได้เป็นตำรวจแล้ว ยังอยู่ขั้นตอนการรับสมัครเท่านั้นจะติดหรือเปล่ายังไม่รู้เลย ผู้สื่อข่าวถามว่า น.ส.จิตภัสร์ จะยื่นสละสิทธิ์หรือไม่ พ.ต.อ.เอกรักษ์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการสละสิทธิ์ ถ้าเกิดจะขอสละสิทธิ์ต้องมาถอนใบสมัครที่ต้นสังกัด คือ บก.สปพ. แจ้งว่าการที่มาขอสมัครคัดเลือกเป็นข้าราชการตำรวจมีความประสงค์ขอถอนใบสมัคร แต่ตอนนี้เขายังไม่ได้ยื่นมา เมื่อถามว่า น.ส.จิตภัสร์ มีหมายจับหรือไม่ พ.ต.อ.เอกรักษ์ เปิดเผยว่า เป็นหมายจับของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งเขามารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ซึ่งตอนนี้หมายจับถูกยกไป เนื่องจากผู้ต้องมารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ตอนนี้คดีอยู่ระหว่างต่อสู้คดีและการสอบสวนของดีเอสไอ ซึ่งศาลยังไม่ตัดสินยังไม่ถือว่ามีความผิด รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา เวลา 09.00 น. น.ส.จิตภัสร์ ได้เดินทางมาที่ บช.น. เพื่อสอบสัมภาษณ์ในตำแหน่งดังกล่าว โดยมีตัวแทนจากฝ่ายอำนวยการ 9 ฝ่ายอำนวยการ 5 และฝ่ายอำนวยการ 1 เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ โดยในวันนี้เมื่อเวลา 10.00 น. น.ส.จิตภัสร์ ได้เดินทางไปตรวจร่างกายที่ รพ.ตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการสมัครตำรวจ. “
อ่านต่อที่ :
ผู้ช่วยโฆษก บช.น.เผย "ตั๊น-จิตภัสร์" ยังไม่สละสิทธิ์จากการสมัครคัดเลือกเป็นข้าราชการตำรวจ บก.สปพ. ด้านเจ้าตัวเข้าสอบสมัภาษณ์และตรวจร่างกายแล้ว
DAILYNEWS.CO.TH

บทสัมภาษณ์สมาชิกสภาคองเกรส “สี จิ้นผิงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเยือนสหรัฐฯ"


บทสัมภาษณ์สมาชิกสภาคองเกรส “สี จิ้นผิงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเยือนสหรัฐฯ"

“การเยือนสหรัฐอเมริกาของสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนมีนัยยะสำคัญและเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างที่สุดเพราะถือเป็นโอกาสดีที่ผู้นำของชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายจะได้ปรึกษาหารือกันในปัญหาที่สำคัญต่างๆ” นาย ริค ลาเซน สมาชิกสภาคองเกรสกล่าวระหว่างการสัมภาษณ์กับนักข่าวซินหัว
เขากล่าวว่าการเยือนสหรัฐฯของสี จิ้นผิงครั้งนี้มีความหมายมากและการเยือนในวันที่ 22-25กันยายนนี้เป็นช่วงเวลาที่กำลังประจวบเหมาะ ลองมาดูกันว่าความคิดเห็นของเขาในแง่มุมต่างๆต่อการเยือนสหรัฐฯของสีในครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง
1.“ความหวังและอุปสรรค”
เขาเปรียบความสัมพันธ์ของสหรัฐฯและจีนว่าเป็น “เรื่องราวแห่งความหวังและอุปสรรค”โดยกล่าวว่าในขณะนี้จีนและสหรัฐฯมีความหวังและความปรารถนาที่จะร่วมมือกันในหลายๆด้านเช่นปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกอย่างเช่นปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่สีให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ แต่เขาก็กล่าวว่าความสัมพันธ์ของจีนและสหรัฐก็ยังคงมีอุปสรรคบางประการ เช่นปัญหาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์และปัญหาในทะเลจีนใต้และเขาหวังให้ทั้งสองประเทศหันหน้าเข้าหากันพร้อมทั้งพูดคุยกันในเรื่องปัญหาต่างๆในข้างต้นอย่างจริงใจ

2.เริ่มต้นทริปเยือนสหรัฐฯที่ซีแอตเทิล
สี จิ้นผิงจะเริ่มต้นทริปเยือนสหรัฐฯในเมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตันซึ่งเป็นบ้านเกิดของลาเซน และที่นั่นเองเขาจะได้พบกับบรรดาสมาชิกสภาคองเกรสจากวอชิงตัน ผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯรวมถึงชาวอเมริกันเชื้อสายจีนในรัฐดังกล่าว เมื่อถูกถามว่าหากคุณได้พบสี จิ้นผิงคุณจะถามคำถามอะไร ลาเซนตอบว่าเขาคงจะพูดถึงการสนับสนุนให้จีนเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจต่อไปเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ ทั้งยังกล่าวอีกว่าอยากให้สีมาชมผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ผลิตในรัฐวอชิงตันที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคชาวจีนต้องการเช่นอากาศยานจากบริษัทโบอิ้งและซอฟแวร์จากบริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งถือว่าเป็นสองบริษัทชั้นนำของรัฐวอชิงตัน

3.ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อถูกถามถึงความสำเร็จในความพยายามร่วมกันในการสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของสองประเทศ เขาได้ยกตัวอย่างเรื่องความพยายามร่วมกันในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทั้งสองเคยประกาศไว้ในการประชุมที่กรุงปักกิ่งในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เขาเสริมว่าอยากเห็นความร่วมมือในขั้นต่อไปของทั้งสองฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศว่าจะเป็นอย่างไร
จากนั้นเขาได้กล่าวถึงความสำเร็จประการที่สองซึ่งก็คือเรื่องสนธิสัญญาการคุ้มครองการลงทุนแบบทวิภาคี (BIT)ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาที่เข้มข้นของทั้งสองฝ่าย เพราะสนธิสัญญานี้จะเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจของทั้งสองชาติ เขากล่าวว่าสหรัฐนยังคงให้การสนับสนุนให้จีนใช้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและนโยบายการค้าที่เปิดกว้างมากขึ้น

4.มองข้ามความผกผันในความสัมพันธ์
เมื่อกล่าวถึงคณะทำงานร่วมสหรัฐ-จีน ลาเซนกล่าวว่า หนึ่งในงานของเขาคือความรู้สมาชิกใหม่ของสภาคองเกรสเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนอย่างต่อเนื่อง โดยคณะมักจะเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศจีนจากจีนรวมถึงเจ้าพนักงานรัฐของจีนมายังอาคารรัฐสภาเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจที่มีต่อประเทศจีนแก่สมาชิก นอกจากนี้ยังมีการจัดให้มีทริปดูงานที่จีนเพื่อเรียนรู้ความเป็นจีนอีกด้วย
เขากล่าวว่าตนเองได้ไปประเทศจีนมาแล้วถึง 9 ครั้งและอยากจะให้ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในความท้ามายใหม่ๆแต่ความท้าทายนั้นน่าจะเป็นปัญหาของสหรัฐอเมริกาเสียมากกว่าเพราะมีหลายคนกังวลว่าการไปจีนบ่อยๆจะทำให้คนอื่นมองว่าสมาชิกสภาคองเกรสสนิทสนมกับจีนมากเกินไป แต่อย่างไรก็ดีเขาเชื่อว่าสหรัฐฯเองก็ยังคงมองหาทางที่จะสร้างมิตรภาพกับจีน

เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นอนของทั้งสองประเทศเขาก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า“ผมคิดว่าความสัมพันธ์แบบขึ้นๆลงๆขึ้นเป็นเรื่องปกติเพราะมีขึ้นก็ย่อมมีลง”เขาเปรียบเปรยความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศว่าไม่ต่างอะไรกับตลาดหุ้นของสหรัฐฯ พร้อมทั้งแนะนำว่า “เราต้องอย่าไปมองที่ความผกผันขึ้นลงของความสัมพันธ์แต่จงมองไปข้างหน้าเพราะสิ่งนี้จะสามารถผลักดันให้ความสัมพันธ์และมิตรภาพของทั้งสองพัฒนาไปในทางที่ดีได้”
คำบรรยายภาพ:การประชุมของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ณ รีสอร์ทแอนนาเบอร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ปี 2013
สามารถติดตามการเยือนสหรัฐของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในวันที่ 22-25 กันยายนนี้ได้ที่ทวิตเตอร์ ยูทูปและเฟสบุ๊คของสำนักข่าวซินหัวดังนี้
http://twitter.com/XHNews
http://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency
http://www.youtube.com/user/ChinaViewTV

จีนคลอด guideline เปิดกว้างทางเศรษฐกิจของประเทศหวังดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมธุรกิจ

จีนคลอด guideline เปิดกว้างทางเศรษฐกิจของประเทศหวังดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมธุรกิจในจีนเพิ่มมากขึ้น
-----------
หันไปดูข่าวเกี่ยวกับนโยบายใหม่ล่าสุดด้านเศรษฐกิจของจีนบ้างนะครับ เห็นข่าวนี้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา จึงนำมาเล่าให้ฟัง สำนักข่าว People's Daily Online หนึ่งในสื่อฯของรัฐบาลกลางจีนพาดหัวข่าวว่า "China issues guideline to promote opening up"
กรุงปักกิ่ง 17 ก.ย.: รายงานข่าวบอกว่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาจีนได้ออก guideline เพื่อเปิดกว้างทางเศรษฐกิจกับโลกภายนอกมากขึ้น รัฐบาลจะเดินหน้าพัฒนาการบริหารจัดการเงินทุนต่างชาติต่อไป ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ รักษาเสถียรภาพทางการค้าของต่างชาติและสำรวจความร่วมมือจากทั่วโลก ตามเอกสารที่เปิดเผยโดยคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐสภา
แนวทางปฎิบัติฉบับนี้บอกว่า จะมีการนำรายการที่เป็นลบซึ่งระบุภาคส่วนต่างๆและธุรกิจที่มีข้อจำกัดในการลงทุนมาแก้ไข การควบคุมที่เข้มงวดจะได้รับการผ่อนคลาย และควบคุมดูแลจะได้รับการปรับปรุง
ส่วนภาคการให้บริการนั้น ซึ่งรวมถึงด้านการเงิน การศึกษา วัฒนธรรม และการดูแลสุขภาพ ก็จะเปิดให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้าถึงได้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่การกีดกัน (ข้อจำกัด/ความเข้มงวด) เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุภาพของเด็กและผู้สูงวัย การออกแบบสถาปัตยกรรม การบัญชี การตรวจสอบบัญชี โลจิสติก และอีคอมเมิร์ซก็การยกเลิก จีนจะเปิดกว้างอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้นด้วย
ในฐานะที่เป็นการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ (economic rebalancing) จีนกำลังผลักดันให้มีการเดินหน้าในการเปิดกว้างในภาคส่วนต่างๆมากขึ้น
Zhang Yansheng เลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมการด้านการศึกษาของคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติกล่าวว่า จีนต้องการที่จะสร้างบรรยากาศทางธุรกิจที่มั่นคง เปิดกว้าง และมีความโปร่งใสเพื่อดึงดูดเงินทุนเพิ่มมากขึ้น ศักยภาพและเทคโนโลยีและเพ่ิมความเร็วในการปรับโครงสร้าง (ขนาดใหญ่)
ในขณะเดียวกัน แนวทางปฏิบัติในครั้งนี้ก็บอกว่ารัฐบาลจะเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศ (outbound investment) เพิ่มมากขึ้น
บริษัทต่างๆจะได้รับการสนับสนุนให้ลงในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ด้านพลังงาน และทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ทั่วโลก ในขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งรวมทั้งรถไฟความเร็วสูง พลังงานนิวเคลียร์ การบิน และเครื่องจักรกลก็จะได้รับการส่งเสริมในระดับโลกเช่นกัน
ผู้ประกอบการรายใหญ่ของจีนได้ลงทุนในต่างประเทศไปแล้วทั้งสิ้นมูลค่า 123.12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4.37 ล้านล้านบาท) ในปี2014 เพิ่มขึ้นถึง 14.2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
Zhang Xiangchen รองคณะผู้แทนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจากกระทรวงพาณิชย์ของจีนคาดว่า การลงทุนในต่างประเทศจะยังคงเติบโตและมีเงินทุนไหลเข้าไปในระบบเป็นจำนวนมาก
ตาม guideline นี้รัฐบาลจะลดขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยากเกี่ยวกับพิธีการด้านศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำการค้าส ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่านโยบายต่างๆจะลดภาระให้กับผู้ส่งออกและส่งเสริมการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น
ส่วนในแง่ของการให้บริการนั้น guideline ฉบับนี้บอกว่ารัฐบาลจะเดินหน้าส่งเสริมภาคการให้บริการต่อไป เดินหน้าการปรับปรุงผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท เช่นข้อมูลขนาดใหญ่และเครือข่ายทางโทรศัพท์ ให้บรรุถึงมาตรฐานสากลและเพ่ิมจ้างงานจากบุคคลภายนอกแบบชั่วคราว (enhance outsourcing)
นอกจากนี้ guideline ของจีนยังระบุไว้อีกว่า จีนจะเดินหน้าสนับสนุนการค้าระดับพหุภาคี ยึดมั่นอยู่ในความร่วมมือแบบ win-win และต่อต้านการกำหนดอัตราภาษีที่สูงเกินควร (protectionism : บบการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้าให้สูง สำหรับสินค้าที่เป็นคู่แข่ง) (อันหลังนี้เท่าที่จำได้จีนเองก็พึ่งจะงัดไม้นี้มาใช้กับกรณีการนำเข้าไก่กระทงของสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้เองนะ คริๆ) จีนจะก่อตั้งเครือข่ายเขตการค้าเสรี (FTA) เพื่อเดินหน้าความร่วมมือกับต่างประเทศทั่วโลก
จีนได้ลงนามใน FTA ไปแล้ว 14 ฉบับกับประเทศต่างๆซึ่งรวมทั้งไอซ์แลนด์ สวิทเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี และออสเตรเลีย
เอาย่อๆแค่นี้ก็พอนะครับ นอกจากนี้แล้วยังมีการเปิดกว้างสิทธิสตรีและความเสมอภาคในจีนเพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่องนี้จีนทำเป็นสมุดปกขาว (white paper) ออกมาเลย (Full Text: Gender Equality and Women's Development in China)

สื่อตปท.ด่าทักษิณ

ยูเอสเอทูเดย์พาดพิง “ทักษิณ” หนึ่งในต้นแบบ “มหาเศรษฐีผู้นำเลว” ของโลก!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 มิถุนายน 2557 05:34 น.
ยูเอสเอทูเดย์พาดพิง “ทักษิณ” หนึ่งในต้นแบบ “มหาเศรษฐีผู้นำเลว” ของโลก!!
       ยูเอสเอทูเดย์ - ยูเอสเอ ทูเดย์ หนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความฉบับออนไลน์ ตั้งคำถามต่อนายเปโตร โปโรเชนโก ว่าที่ประธานาธิบดียูเครน ว่าจะเป็นสามารถก้าวเป็นผู้นำมหาเศรษฐีประชาธิปไตยที่มีประสิทธิผลคนแรกของโลกได้หรือไม่ ท่ามกลางความคาดหวังว่าเขาจะเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังล่มสลายและปกป้องประเทศจากการดำดิ่งสู่สงครามกลางเมือง หลังจากก่อนหน้านี้เหล่านักธุรกิจที่ผันตัวสู่ผู้นำประเทศที่แล้วๆ มา มักกลายร่างเป็นปิศาจ ห้อมล้อมไปด้วยปัญหาคอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรี ซิลวิโอ แบร์ลุสโกนี แห่งอิตาลี และทักษิณ ชินวัตร ของไทย
       
       ในบทความเรื่อง “Why billionaires make bad presidents” ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.usatoday.com เว็บไซต์แห่งนี้เกริ่นนำว่านายเปโตร โปโรเชนโก ว่าที่ประธานาธิบดียูเครน เข้ามาสร้างความหวังว่าเขาจะสามารถคลี่คลายเหตุเผชิญหน้ากับรัสเซีย สานสัมพันธ์กับตะวันตก พลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังอ่อนเปลี้ยและสามารถนำพาประเทศหลุดพ้นจากขอบเหวแห่งสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนแห่งนี้ชี้ว่าความหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะได้เห็นนายโปโรเชนโก กลายเป็นประธานาธิบดีมหาเศรษฐีที่มีประสิทธิผลคนแรกของโลกนั้นดูท่าจะไม่เป็นแบบนั้น
       
       หนังสือพิมพ์ชื่อดังอ้างว่าหนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือเพราะยูเครนเอง โดยชาติยุโรปตะวันออกแห่งนี้ไม่เคยทำตัวให้เหมาะสมกับประชาธิปไตยและตลาดเสรีเลย โดยเหล่าประธานาธิบดีในอดีตที่ผ่านมา ไล่ตั้งแต่ นายวิกตอร์ ยานูโควิช นายวิกตอร์ ยูเชนโก ไปจนถึง นายลีโอนิด คุชมา บ่อยครั้งมักแสดงออกถึงความสนใจแต่การสร้างฐานอำนาจและปิดปากฝ่ายค้าน มากกว่าที่จะสร้างเศรษฐกิจและประชาสังคมให้ยั่งยืน
       
       ในส่วนของนายโปโรเชนโก เจ้าของฉายา “ราชาช็อกโกแลต” จากการเป็นเจ้าของกิจการขนมหวาน เหล่าผู้มีสิทธิออกเสียงต่างพากันคาดหวังว่าเขาจะใช้อำนาจใหม่ที่เพิ่งได้รับ ซ่อมแซมสันติภาพร่วมกับรัสเซีย และอุทิศตัวเพื่อความรุ่งเรืองของยูเครน ไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์เพิ่มความร่ำรวยแก่ตนเอง ปัญหาที่มักพบกับเหล่าผู้นำมหาเศรษฐีทั้งหลายของโลก
       
       “ปัญหาของนายโปโรเชนโก ก็คือ เขาเองเป็นนักธุรกิจ” โอเล็กซีย์ ฮาราน ศาสตราจารย์ด้านการเมืองเปรียบเทียบ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติ Kyiv-Mohyla Academy บอกกับวอชิงตันโพสต์ “ปัญหาคือการแยกธุรกิจออกจากการเมือง”
       
       โดยในเรื่องนี้ทางบทความของยูเอสเอทูเดย์ ชี้ว่าการแยกทั้งสองอย่างออกจากกัน พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องยากลำบากในหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น นายซิลวิโอ แบร์ลุสโกนี เจ้าพ่อโทรคมนาคมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลี 3 สมัยระหว่างปี 1994 ถึง 2011 และเวลานี้ต้องบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 1 ปี ในความผิดฐานฉ้อโกงภาษี แถมยังกำลังต่อสู้กับข้อกล่าวหามีเพศสัมพันธ์กับโสเภณีที่ไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
       
       ขณะที่แบร์ลุสโกนีและผู้สนับสนุน บอกว่าเขาตกเป็นเหยื่อของการโจมตีของพวกฝ่ายซ้าย แต่อีกด้านหนึ่งก็พบว่าเศรษฐกิจและระบบการเมืองของอิตาลีบกพร่องอย่างมาก ตามหลังการครองอำนาจอันยาวนานของเขา
       
       อีกรายที่ ยูเอสเอ ทูเดย์ ยกตัวมาเป็นตัวอย่างก็คือ ทักษิณ ชินวัตร มหาเศรษฐีโทรคมนาคมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย โดยตอนนี้เขาหลบหนีความผิดฐานคอร์รัปชันในต่างแดน โดยสื่อมวลชนแห่งนี้บอกว่าเช่นเดียวกับนายแบร์ลุสโกนี ฝ่ายสนับสนุนทักษิณหรือคนเสื้อแดง ก็อ้างเหมือนๆ กันว่าเขาถูกเล่นงานอย่างไม่ยุติธรรมจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
       
       อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์เขา 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฐานร่ำรวยผิดปกติในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าตอนนี้ไทยถูกปกครองโดยคณะรัฐประหารท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่โซเซ จึงบ่งชี้ว่าทักษิณแทบไม่ได้ปรับปรุงรากฐานประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของประเทศเลย
       
       ส่วนคนสุดท้ายที่ยูเอสเอ ทูเดย์ ยกมาเป็นตัวอย่างก็คือ วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย โดย ปูติน ถูกนับรวมในรายชื่อผู้นำมหาเศรษฐีด้วย แม้มีข้อโต้แย้งว่าประธานาธิบดีรายนี้ไม่ได้รวยและครั้งหนึ่งก็เคยพูดว่าเขาจะทำงานเยี่ยงทาสเพื่อประชาชนชาวรัสเซียแลกกับเงินเดือนแค่เล็กๆ น้อยๆ แต่สื่อมวลชนรายงานว่าเขามีสินทรัพย์หลายพันล้านดอลลาร์ และด้วยที่ทำให้มอสโกต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่มีฝ่ายค้านอย่างแท้จริงและเมื่อเร็วๆ นี้ ชอบรุกรานเพื่อนบ้าน ทางยูเอสเอ ทูเดย์ จึงยกให้ ปูติน เป็นหนึ่งในผู้นำมหาเศรษฐีจอมเผด็จการด้วย
       
       มีคำถามว่าเป็นไปได้ไหมที่มหาเศรษฐกิจผู้มั่งคั่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับการเป็นผู้นำที่เลว ในเรื่องนี้บทความของยูเอสเอทูเดย์บอกว่าไม่เสมอไป โดยเหล่าผู้นำมหาเศรษฐีที่ก้าวสู่อำนาจส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ประเทศซึ่งมีประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามขนบธรรมเนียม อันห้อมล้อมไปด้วยปัญหาคอรัปชันและการต่อรองอยู่ฉากหลัง ประเทศซึ่งคนรวยสามารถซื้อตำแหน่งอย่างง่ายดาย และในประเทศที่ไม่สามารถกำหนดวาระดำรงตำแหน่งของผู้นำ 1 หรือ 2 สมัยได้
       
       สื่อมวลชนแห่งนี้ระบุในรายงานต่อว่าเหล่ามหาเศรษฐียังมีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผู้นำประชาธิปไตยได้ดีเท่าไหร่ ด้วยความสำเร็จของพวกเขามาจากการก่อตั้งบริษัท ละเมิดกฎระเบียบ เพิกเฉยต่อเสียงวิจารณ์ และควบคุมทุกแง่มุมของการใช้ชีวิตของตนเองและบริษัท ทั้งนี้ พอร่ำรวยแล้ว มหาเศรษฐีเหล่านี้ก็เคยชินกับอำนาจเผด็จการ อยากได้อะไรก็ต้องได้ตามต้องการ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เหล่ามหาเศรษฐีซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจโดยสันดาน จะสามารถวางมือจากผลประโยชน์ของตนเองได้อย่างทันทีทันใด
       
       ทั้งนี้ ยูเอสเอ ทูเดย์ ปิดท้ายว่าพวกเขาก็หวังเห็นผู้นำมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่สักครั้ง แต่ดูเหมือนว่านายโปโรเชนโก จะไม่ใช่คนนั้น คนที่เป็นผู้นำมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่คนแรกของโลก