PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผู้ว่าฯ กทม. ยอมถอยยึดหอศิลปกรุงเทพฯ “ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม. ก็จะไม่เข้าไปยุ่ง”

ผู้ว่าฯ กทม. ยอมถอยยึดหอศิลปกรุงเทพฯ “ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม. ก็จะไม่เข้าไปยุ่ง”
.
หลังมีกระแสการคัดค้านต่อกรณีที่ กทม. จะเข้าไปบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นแคมเปญรณรงค์ใน change.org โดยมีผู้ลงชื่อร่วมสนับสนุนล่าสุดกว่า 13,000 คน (17.00 น)
.
ล่าสุด พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ผู้ว่าฯ อัศวินระบุว่า กทม. จะยอมถอยหากประชาชนไม่เห็นด้วย โดยมีเนื้อหาระบุว่า
.
‘Ars Longa, Vita Brevis’ ประโยคดังกล่าวได้รับการแปลอย่างลึกซึ้ง โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีใจความว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” แสดงถึงความสำคัญของศิลปะ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องการสนับสนุนให้ประชาชนมีพื้นที่สาธารณะปราศจากการแทรกแซงเพื่อสร้างสรรค์งานศิลป์ ไม่ว่าจะใช้เพื่อการแสดงออก เพื่อศึกษาหรือร่วมแบ่งปันงานศิลป์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในจุดสำคัญของประเทศที่ใช้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้
จากการที่มีกระแสข่าวในทำนองว่า กทม. จะนำพื้นที่ในหอศิลปกรุงเทพฯ ทั้งหมดไปทำอย่างอื่น หรือแม้กระทั่งนำไปทำห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงแคมเปญออกมา คัดค้านการที่ กทม. จะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครด้วยตนเองนั้น
ผมคงต้องตอบว่า กทม. ไม่เคยคิด และไม่มีทางที่จะทำลายสถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศเรา เพียงแต่เราต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนของหอศิลปกรุงเทพฯ ยังไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ เราต้องการนำพื้นที่เหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หนึ่งในแนวทางที่อยากจะปรับปรุงก็คือ การนำพื้นที่เหล่านั้นมาปรับเป็นให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนได้เข้ามาใช้ สร้างสรรค์งานศิลป์ ทำงาน พบปะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือที่เรียกกันว่า Co-Working Space ในส่วนนิทรรศการก็ยังจะต้องใช้เพื่อแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเดิม
แต่การที่ กทม. จะเข้าไปพัฒนาพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้น อาจติดด้วยระเบียบและกฎหมายการมอบกิจการให้มูลนิธิ กทม. จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่เหล่านั้น เพื่อให้ทุกคนมีพื้นที่ที่ให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันและดึงดูดให้ประชาชนสนใจงานศิลป์มากขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนานั้นอาจมีการดึงผู้ที่เกี่ยวข้องและมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญมาช่วยพัฒนา
ผมเชื่อมั่นว่าศิลปะเป็นเรื่องของอิสระทางความคิดและจินตนาการ ศิลปะเป็นสิ่งจรรโลงใจหาใช่เพื่อวัตถุประสงค์ใด และสถานที่แสดงศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้จะต้องยังคงอยู่เพื่อประชาชนทุกคนครับ
สุดท้ายนี้ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม. ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพัฒนาในพื้นดังกล่าวครับ
.
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/
Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร #BACC #News#TheStandardCo #TheStandardTH #StandUpForThePeople

มีแผนไปสระแก้ว เปิดด่าน ร่วม"ฮุนเซน"

มีแผนไปสระแก้ว เปิดด่าน ร่วม"ฮุนเซน"
"บิ๊กตู่" ยอมรับ มึแผนไป "สระแก้ว" ร่วมเปิดด่านชายแดน แต่ยกเลิก เพราะ"ฮุนเซน" ไม่ว่าง ยันไม่ได้มีแผนจะไป "ดูด"ใคร หรือกลัวโยงการเมืองจึงยกเลิก วอนอย่าบิดเบือน ชี้ สส.ย้ายพรรค แล้วใช่ว่าจะได้รับเลือกตั้ง วอนเคารพการตัดสินใจจองประชาชน ชี้แม้ยังไม่เข้าสู่การเลือกตั้ง ยังมีการยุยงปลุกปั่นให้ร้ายเช่นนี้ และเมื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะเป็นไง แจงเคยรู้จักนานแล้ว "เสนาะ เทียนทอง" แต่ไม่ได้ใกล้ชิด สนิทสนม หริอเกี่ยวข้องใดๆ กัน
พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่จ.สระแก้ว ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการไปพบใคร หรือจะไปดูด ส.ส.ในพื้นที่ หรือไปพบปะประชาชน และไม่ใช่ เกรงว่าจะถูกมองเชื่อมโยงทางการเมือง จึงได้ยกเลิกภารกิจไป
"เพราะแต่เดิมนั้น ได้กำหนดว่าจะเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดด่านชายแดนร่วมกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่เนื่องจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาติดภารกิจจึงต้อง ยกเลิกกำหนดการ"
"นายกฯ ไม่ต้องการให้สื่อมวลชนหรือนักการเมืองนำประเด็นนี้ไปบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิด
ส่วนการย้ายพรรคหรือรวมพรรค ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันว่าผู้นั้น จะได้เป็น ส.ส. หากไม่มีผลงาน หรือไม่ได้รับความไว้วางใจ ประชาชน ก็ไม่เลือกอยู่แล้ว จึงไม่อยากให้กังวลจนมากเกินไป และต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชนด้วย"
นายกรัฐมนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงด้วยว่า แม้ขณะนี้ยังไม่เข้าสู่การเลือกตั้ง แต่มีการยุยงปลุกปั่นให้ร้ายเช่นนี้ และเมื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
ส่วนกรณีนายเสนาะ เทียนทอง นั้น นายกฯ เคยรู้จักมานานแล้ว แต่ไม่ได้ใกล้ชิดสนิทสนม หรือเกี่ยวข้องใด ๆ กัน

นี่ ขนาดยังไม่เลือกตั้ง นะ!!

นี่ ขนาดยังไม่เลือกตั้ง นะ!!
(13/5/61)"บิ๊กตู่" ยันไม่ได้ ลงพื้นที่ เพื่อ"ดูด"สส.วอนอย่าบิดเบือน ชี้ สส.ย้ายพรรค แล้วใช่ว่าจะได้รับเลือกตั้ง วอนเคารพการตัดสินใจของประชาชน เปรย นี่ขนาดยังไม่เลือกตั้ง ยังยุยงปลุกปั่นให้ร้าย ขนาดนี้ แล้วถ้าเลือกตั้ง จะขนาดไหน
พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ต้องการลงพื้นที่เพื้อไป ดูดใคร
"นายกฯ ไม่ต้องการให้สื่อมวลชน หรือนักการเมืองนำประเด็นนี้ ไปบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิด"
ส่วนการย้ายพรรคหรือรวมพรรค ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันว่าผู้นั้น จะได้เป็น ส.ส. หากไม่มีผลงาน หรือไม่ได้รับความไว้วางใจ ประชาชน ก็ไม่เลือกอยู่แล้ว จึงไม่อยากให้กังวลจนมากเกินไป และต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชนด้วย"
นายกรัฐมนตรี ยังแสดงความเป็นห่วงด้วยว่า แม้ขณะนี้ยังไม่เข้าสู่การเลือกตั้ง แต่มีการยุยงปลุกปั่นให้ร้ายเช่นนี้ และเมื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
ส่วนการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่จ.สระแก้ว ว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการไปพบใคร หรือจะไปดูด ส.ส.ในพื้นที่ หรือไปพบปะประชาชน และไม่ใช่ เกรงว่าจะถูกมองเชื่อมโยงทางการเมือง จึงได้ยกเลิกภารกิจไป
"เพราะแต่เดิมนั้น ได้กำหนดว่าจะเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดด่านชายแดนร่วมกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่เนื่องจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาติดภารกิจจึงต้อง ยกเลิกกำหนดการ"

"เสี่ยหนู" ในงานเลี้ยงฉลอง "ดร.หญิงหน่อย" คุณหญิงสุดารัตน์"

"เสี่ยหนู อนุทิน" บอกแล้วว่า "ไม่ได้ โดน ดูดดดดด"... แม้จะไป ต้อนรับ "บิ๊กตู่" กระหึ่ม บุรีรัมย์....
แถมยิ่ง "บิ๊กตู่" เห็นภาพ "เสี่ยหนู" ในงานเลี้ยงฉลอง "ดร.หญิงหน่อย" คุณหญิงสุดารัตน์" รับปริญญาเอก ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อคืน 13พค....คงรู้สึก "เหมือนอะไร ติดคอ"....อย่างที่ "เสี่ยหนู" บอกไว้ "ดูดไป ติดคอตาย"....5555
เสี่ยหนู มาทำหน้าที่ ช่างภาพ ให้ หญิงหน่อย
"เสี่ยหนู" เพื่อนเยอะ มากคอนเนคชั่น ไปทุกขั้ว ทุกงาน ทุกสาย.....ไปได้หมด ประมาณว่า พร้อมร่วมรัฐบาล ไม่ว่า ใครชนะ !!! นั่นเอง
แต่ข่าวว่า. ในวงการ ทหาร และนักการเมือง แซว เสี่ยหนู ว่า "ว่าที่ นายกฯ" กันเลยทีเดียว !!!! เพราะมี แบ็คอัพ กองหนุนพิเศษ !! จึงไม่อาจมองข้าม!!
ภาพจาก เพจ-Anuthin Chanvirakul

อดีต สส.ปชป.ชู “ชวน” หวนนั่งนายกรัฐมนตรี มั่นใจฐานเสียงใต้แน่น

อดีต สส.ปชป.ชู “ชวน” หวนนั่งนายกรัฐมนตรี มั่นใจฐานเสียงใต้แน่น



ภาพจากเฟสบุ๊ก Democrat Party, Thailand
อดีตสส.ปชป.ชี้ประชาชนภาคใต้หนุน “ชวน” คัมแบกนายกรัฐมนตรี หลังนายมหาธีร์ฯได้รับเลือกนายกฯมาเลเซีย ปชป.มั่นใจฐานเสียภาคใต้ กวาดที่นั่ง สส.ไม่น้อยกว่า 50 คน
วันที่ 14 พ.ค. ผศ.ดร.พีรยศ ราฮิมมูลา อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรค ปชป.เปิดเผยว่า จากที่ประชาชนมาเลเซียเลือกนายมหาธีร์ มูฮัมหมัด อายุ 92 ปี กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนั้น มีประชาชนในภาคใต้จำนวนมาก นึกถึงนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี วัยอายุ 79 ปี ยังสามารถหวนกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป.และนายกรัฐมนตรีได้

“ด้วย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถและความซื่อสัตว์สุจริตและยังเป็นแบบอย่างนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย หากเราสามารถกระตุ้นให้ประชาชนไทยตื่นตัวเกลียดการทุจริตคอร์รัปชั่นและ การใช้อำนาจรัฐในทางผิดได้” นายพีรยศ กล่าว
รายงานข่าวจากสาขาพรรคประชาธิปัตย์สงขลาระบุว่าว่าจากการสำรวจอดีต สส.ของพรรคในภาคใต้ครั้งล่าสุด ยังไม่มีอดีต สส.พรรคคนใดที่จะย้ายพรรค เพียงมีกระแสข่าวเท่านั้นว่าจะมี อดีต สส.ย้ายพรรค หากมี อดีต สส.ย้ายพรรคจริง พรรค ปชป.ไม่มีปัญหา ยังมีผู้ที่เสนอตัวลงสมัครในนามพรรค ปชป.แต่ละเขตไม่น้อยกว่า 4-5 คน และยังมั่นใจว่าผู้สมัครของพรรค ปชป.ยังได้รับการเลือกตั้งมากกว่าเดิมคือ 50 คน ถึงแม้จะมีพรรคการเมืองหลายพรรคพยายามดูดอดีต สส.ของพรรค ปชป.ก็ตาม

“สุวัจน์”ชู ‘โน พรอบเบลม’ การเมืองสูตร ‘น้าชาติ’ (คลิป)


“สุวัจน์”ชู ‘โน พรอบเบลม’ การเมืองสูตร ‘น้าชาติ’ (คลิป)



หมายเหตุ – นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) ให้สัมภาษณ์ “มติชน” สะท้อนภาพการเมืองในสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี กับการเมืองในปัจจุบันภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญ 2560
ในฐานะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเห็นการเมืองไทยในยุคหลังๆ นี้อย่างไร
ก็ต้องยอมรับว่า หลายสิ่งหลายอย่างมันต่างไปจากอดีตเยอะ มองการเมืองทุกวันนี้แล้วผมคิดถึงการเมืองในสมัยน้าชาติ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ผมว่าหลังๆ ที่การเมืองมันขัดแย้งกันมาก เพราะบางครั้งเราขาดศาลพระภูมิหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นตัวละครที่เป็นผู้ใหญ่ทางการเมืองไป สมัยก่อนเรายังมีคนอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ป๋าบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ คุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ซึ่งแต่ละคนล้วนมีบุคลิกที่จะสร้างความไม่เครียด อาจจะด้วยคำพูด หรือแม้แต่การเอื้อมมือไปโอบไหล่คนกลุ่มต่างๆ ที่มีความขัดแย้งทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้ ซึ่ง พล.อ.ชาติชายก็ถือได้ว่าเป็นคนที่มีบุคลิกแบบนั้น อาจจะด้วยความที่ผ่านประสบการณ์มาเยอะ จึงมีหลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในตัวเอง ทั้งความเป็นนักการเมือง นักการทหาร นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม นักการทูต ซึ่งยังไม่รวมถึงชีวิตส่วนตัวที่มีความเป็นหนุ่มอยู่ตลอดเวลา
ผมอยู่กับ พล.อ.ชาติชาย รับใช้ใกล้ชิด 7-8 ปี ตั้งแต่เป็น ส.ส.โคราชสมัยแรก พรรคปวงชนชาวไทย ก็ได้รับโอกาสเข้าร่วมรัฐบาล เป็นรัฐมนตรีตั้งแต่อายุ 34 ปี หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พล.อ.ชาติชายตั้งพรรคชาติพัฒนาก็ย้ายมาอยู่ด้วย อยู่กับท่านมาโดยตลอดจนท่านถึงแก่อสัญกรรมในปี 2541 ได้เห็นวิธีคิด วิธีพูด วิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติตนเองในฐานะนักการเมืองจากการเลือกตั้ง มีสปิริต มีน้ำใจทางการเมือง แล้วรักษาคำพูด อีกทั้งยังมีบุคลิก โดยเฉพาะการสร้างแนวร่วมในการแก้ปัญหาด้วยประโยคที่ว่า โน พรอบเบลม (No problem) ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ โน พรอบเบลม ไม่มีปัญหาเสมอๆ เพื่อสร้างความสบายใจให้กับประชาชนว่าเราสามารถจัดการมันได้
อีกอย่าง ผมมองว่า พล.อ.ชาติชาย มีหัวใจเป็นนักประชาธิปไตยสูง เข้าใจพื้นฐานของการเมืองไทย มักพูดเสมอว่าการเมืองจบเป็นยกๆ การเมืองมีปัญหา แต่เมื่อยุบสภาแล้ว เลือกตั้งใหม่ให้ประชาชนตัดสินแล้ว เรื่องเก่าก็ลบเทป ไม่ใช่หยิบมาคาอกคาใจ แล้วมาสร้างเดดล็อกทางการเมือง คำว่าประชาธิปไตยชนะเสียงเดียวก็พอแล้ว เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่าท่านเข้าใจสมดุลทางการเมืองเป็นอย่างดี เพราะคนแพ้จะได้ไม่ช้ำใจ คนชนะก็ไม่ย่ามใจ เสียงเยอะๆ สำหรับท่านมันไม่จำเป็น เพราะการเมืองแบบ พล.อ.ชาติชาย เอาชนะกันแค่พอสมควร เพื่อรักษามิตรภาพเอาไว้ เพราะถ้าการเมืองไม่สมดุล ประชาธิปไตยก็ไม่สมบูรณ์
และที่สำคัญที่สุด ท่านเป็นคนที่มีสปิริตทางการเมืองสูงมาก ถ้าจำกันได้หลังจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ลาออก ด้วยวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 พรรคร่วมรัฐบาลได้เสนอชื่อ พล.อ.ชาติชาย เป็นนายกฯ แต่ทางประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลแข่ง โดยเสนอนายชวน หลีกภัย เป็นแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งการเลือกนายกฯคราวนั้น ได้มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่างูเห่าเกิดขึ้น ตอนนั้นเสียงก้ำกึ่งกันมาก ก่อนโหวตระหว่างไปสภาก็มีผู้ใหญ่ของประชาธิปัตย์โทรหาผม บอก สุวัจน์ ไปเรียนน้าชาติเถอะว่า เสียงท่านคงแพ้ท่านชวน ดังนั้น อย่าแข่งกันเลย ชาติพัฒนามาร่วมรัฐบาลโดยให้นายชวนเป็นดีกว่า ถ้าไม่เช่นนั้น คงได้เป็นฝ่านค้าน ผมก็เรียนท่านตามนั้น ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ได้ๆ ผมรับปากจิ๋วไว้แล้ว เดี๋ยวผิดคำพูดกับจิ๋ว
ผมจำได้แม่น หลังจากสภาโหวตเสร็จ ก็กลับมานั่งติดตามข่าวอยู่ที่บ้านราชครูกับท่าน เพราะไม่มีใครทราบว่า ผลจะออกอย่างไร แต่พอมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งท่านชวน เป็นนายกฯ พล.อ.ชาติชาย ก็ให้ผมโทรหาท่านชวนทันที แล้วท่านก็หยิบโทรศัพท์ไปพูดว่า ยินดีด้วยนะ ถ้าประชาธิปัตย์มีอะไรให้ชาติพัฒนาสนับสนุนก็ด้วยความยินดี เป็นคำพูดที่ผมได้ยินแล้วก็รู้สึกว่า ในใจท่านก็คงผิดหวัง เพราะมีโอกาสจะกลับมาเป็นนายกฯครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกถูกยึดอำนาจ แต่ด้วยสปิริต ท่านไม่ได้แสดงอาการอะไร แต่ยังหยิบโทรศัพท์ให้ผมต่อไปถึงนายชวนด้วย ถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมไม่ค่อยจะได้เห็นจากใคร

มองการเมืองในสมัย พล.อ.ชาติชายแล้ว อยากเห็นอะไรในวันที่การเมืองปลดล็อกแล้ว

อยากเห็นการลืมอดีตแห่งความขัดแย้ง เพราะด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลก และด้วยภูมิศาสตร์ของไทย เรายังมีโอกาสดีๆ ทางเศรษฐกิจอยู่อีกมาก และด้วยโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่รัฐบาลนี้ได้ริเริ่มไว้จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ ไทยเป็นประเทศที่มีอนาคตซึ่งทุกคนมองเห็น ถ้าไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่เรามีอยู่ ใครประเทศใดในภูมิภาคนี้ก็ต่อกรกับเรายาก ดังนั้น หลังการปลดล็อก หรือการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น เราต้องทำให้โลกเห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะไม่ใช่เรื่องที่ใครต่อใครจะไม่เชื่อมั่นเราอีก ถ้าเราทำให้โลกเห็นได้ว่าการเมืองไทยจะเป็นมาตรฐานสากล มีการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับ ได้รัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับ มีคนดีๆ ที่เข้าสู่ระบบการเมือง ทำการเมืองไม่มีความขัดแย้ง พรรคการเมืองเล่นกันตามกติกา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีปัญหาก็ใช้กลไกตามกติกาของระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นทางออก
ส่วนตัวผมอยากเห็นทุกพรรคการเมืองร่วมมือกัน เล่นการเมืองกันอย่างสร้างสรรค์ เล่นการเมืองแบบที่ พล.อ.ชาติชายเคยพูดไว้ว่า หันหน้าเข้าหากัน สร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย หมายถึงลืมอดีตแห่งความขัดแย้ง พยายามทำการเมืองกันด้วยกฎด้วยกติกา เลือกตั้งใครจะแพ้ใครจะชนะก็ไม่เป็นไร แต่ทุกอย่างขอให้เป็นไปตามกติกา เราต้องไม่ไปสร้างเดดล็อกให้การเมืองเดินไปถึงทางตันอีก ถ้าทำได้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมา
ดูเหมือนว่าวันนี้กติกาตามกฎหมายลูกจะยังเปลี่ยนแปลงตามผู้มีอำนาจได้อยู่ตลอดเวลา
ก็ต้องรอดูกันให้ชัดเจนว่าเลือกตั้งจะมีขึ้นเมื่อใด ทุกอย่างอยู่ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เพียงแต่มีบางประเด็นที่ต้องรอการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญ แต่เท่าที่ฟังดูจากหลายฝ่ายก็ค่อนข้างมั่นใจถึงโรดแมป.ของการเลือกตั้งในเวลาใกล้เคียงกรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2562

รู้สึกว่ากระบวนการต่างๆ ก่อนนำไปสู่การเลือกตั้งมันยากลำบากสำหรับพรรคการเมืองหรือไม่

ทุกพรรคก็เล่นตามกติกาเหมือนกัน (play by rule) ไม่มีใครได้รับข้อยกเว้น เมื่อกติกาออกมาแบบนี้ ถ้าอยากจะชนะทุกพรรคก็คงต้องปรับกลยุทธ์ หรือหาแผนว่าจะเล่นกับเกมนี้ได้อย่างไร เหมือนกับเล่นฟุตบอลก็จะต้องไปวางแผนตามกติกาว่าถ้าเจอคู่แข่งแบบนี้ แล้วจะวางตัวผู้เล่นกันอย่างไร แม้ว่าวันนี้กติกาที่เห็นจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ทุกคนก็ต้องเล่นด้วยกติกาเดียวกัน การเมืองเป็นเรื่องของการอาสาตัวเอง ไม่มีใครบังคับ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ หากไม่ชอบกติกาก็ไม่ควรลงไปเล่น ถ้าจะเสนอตัวเองเข้ามาเล่น ก็ต้องควรจะต้องเล่นตามกติกา แต่เมื่อเล่นกันแล้วเห็นกติกาไหนมันยากไป ไม่เหมาะก็หารือกันหลังจากมีการเลือกตั้งได้ว่าควรจะปรับอะไรไหมเพื่อให้เกมมันสนุกมากขึ้น มีความยากลำบากน้อยลง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ชม
วันนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้กำหนดกติกากำลังเตรียมตัวเพื่อลงสนามการเมืองด้วย
เมื่อมีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นใหม่ กฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร ทั้งพรรคการเมืองเก่าและใหม่ หรือใครก็ตามที่อยากจะเล่นการเมืองก็ควรอยู่ในวิถีทางของกติกานี้ เพราะถือว่าเป็นกติกาที่เกิดขึ้น โดยที่พี่น้องประชาชนได้ตอบรับด้วยผลของการทำประชามติไปแล้ว

แต่กติกาที่จะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีเสียง ส.ว. 250 คนเข้ามาร่วมกำหนดตัวนายกฯ

ก็เป็นไปตามบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ใน 5 ปีแรก ถือเป็นกติกาไปแล้ว แต่ผมคิดว่า ถ้าดูเจตนารมณ์ผู้เขียนก็ยังให้ความสำคัญกับ ส.ส.อยู่ แต่อาจจะมองว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศ จึงให้มีอีกองค์กรหนึ่งขึ้นมาเพื่อมาช่วยกันดูแลให้เกิดความเข้มแข็ง
มองอย่างไรกับประเด็นเรื่องนายกฯคนนอก เพราะวันนี้ผ่านมา 30 ปีแล้วนับตั้งแต่ลง ส.ส.สมัยแรก กลับมาเป็นประเด็นอีกรอบ
จะเป็นนายกฯคนในหรือคนนอก ส่วนตัวผมรับได้ เพราะถ้าดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้อยู่แล้วว่า กว่าจะถึงนายกฯคนนอกได้จะต้องมีเหตุการณ์ต่างๆ ตามเงื่อนไขของบทเฉพาะกาลก่อน ซึ่งก็กำหนดแค่เฉพาะ 5 ปีแรกเท่านั้นที่จะต้องใช้เสียง 750 คน โดยจะมีเสียง ส.ว. 250 คน เข้ามาร่วมกับ ส.ส. 500 คนโหวตเลือกนายกฯ ไม่ได้ใช้ตลอดไป ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ 750 คนต้องเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อนายกฯ 3 คนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.เสียงเกิน 25 เสียงขึ้นไปด้วย พรรคไหนได้เสียง ส.ส.ไม่ถึง 25 คน บัญชีรายชื่อนายกฯของพรรคนั้นก็จะไม่มีสิทธิเข้าแข่งขันในที่ประชุมรัฐสภาได้ ถือเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญกับคนจากพรรคการเมืองก่อน

เมื่อประชาชนรับรู้ตั้งแต่ต้นประชาชนก็ตัดสินใจตั้งแต่ต้นเช่นกันว่า จะเลือกใครเป็น ส.ส. แล้วจะได้ใครมาเป็นนายกฯ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่การตัดสินใจของพี่น้องประชาชนไม่ได้ตัดสินใจจากนโยบายหรือตัวผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเท่านั้น แต่จะตัดสินใจจากบัญชีรายชื่อนายกฯเพิ่มเติมด้วย ถือเป็นองค์ประกอบใหม่ที่จะเป็นตัวแปรใหม่ในการตัดสินใจของพี่น้องประชาชน อีกทั้งแคนดิเดตนายกฯที่พรรคการเมืองเสนอยังเปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วย เมื่อก่อนยังเปลี่ยนได้ คนที่เป็นหัวหน้าพรรคอาจจะไม่ได้เป็นนายกฯ แต่ครั้งนี้จะล็อกตั้งแต่ต้นด้วยบัญชีที่เสนอก่อนการเลือกตั้ง
แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเขียนต่อไปอีกว่า หากเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อนายกฯไม่ได้สมาชิกเข้าชื่อเลือกคนนอกได้
ถือเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญเผื่อไว้ไม่ให้เกิดเดดล็อกทางการเมือง เพราะหากเกิดชุลมุนไม่สามารถหาเสียงเกิน 376 เสียงโหวตคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อได้ ก็ยังเปิดช่องให้เข้าชื่อเพื่อปลดล็อกเลือกบุคคลนอกบัญชีรายชื่อได้ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาการกำหนดว่าคนเป็นนายกฯต้องเป็น ส.ส.บางครั้งทำให้เรามีเดดล็อก อย่างในระหว่างการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็มีเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตเกิดขึ้นในปี 2557 แม้จะอยากแก้ไขวิกฤตร่วมกัน
รู้เลยว่าต้องการอะไร แล้วจะทำอย่างไรจึงจะแก้ได้ แต่รัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องเอาไว้
ถามว่า เปิดช่องให้มีนายกฯคนนอกหรือไม่ ผมมองว่าเป็นบันไดหนีไฟในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า เวลาไฟไหม้ลงลิฟต์ไม่ได้ก็ค่อยมาลงบันไดหนีไฟ ไม่ได้หมายความว่าเริ่มต้นก็จะใช้บันไดหนีไฟเลย ลองใช้ลิฟต์ก่อน แต่ถ้าลิฟต์เสียก็มาออกบันไดหนีไฟเอา ดังนั้น ถ้าเลือกตั้งแล้ว ยังหา 375 เลือกนายกฯในบัญชีไม่ได้ ก็ยังไม่ตัน เพราะยังมีอีกทาง โดยใช้เสียง 2 ใน 3 เพื่อปลดล็อกเลือกคนนอกบัญชีได้ ถือเป็นเจตนารมณ์ที่ดีของผู้ร่างที่นำวิกฤตของบ้านเมืองที่ผ่านมา มาเขียนเปิดช่องให้มีหนทางในการคลี่คลายวิกฤต แต่ก็ไม่ได้ลืมสาระสำคัญที่ว่า คนในที่มาจากการเลือกตั้งต้องมาก่อน

กติกาแบบนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับผู้มีอำนาจปัจจุบัน

ผมเชื่อว่าพรรคที่จัดตั้งใหม่ถ้าเสนอชื่อนายกฯที่สมาร์ทๆ ขึ้นมาสู้แล้วโดนใจประชาชนขึ้นมาก็อาจเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่เกิดขึ้น อาจจะได้คะแนนเสียงอย่างที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้คิด ด้วยกติกาใหม่ ผมจึงเห็นว่าไฮไลต์ของการหาเสียงเลือกตั้ง จะอยู่ที่ประเด็นที่ว่านายกฯที่แต่ละพรรคเสนอเพิ่มเติมจากเรื่องของนโยบาย เป็นของใหม่ที่มีนัยสำคัญ เพราะพรรคเล็กอาจจะเสียเปรียบพรรคใหญ่ในเรื่องนโยบาย แต่การนำเสนอตัวนายกฯที่โดนใจประชาชน ผมว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่พรรคเล็กสามารถทำงานได้แบบไม่เสียเปรียบใคร
แสดงว่าแคนดิเดตนายกฯจะเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งได้เหมือนกัน
สมมุติพรรคใหญ่นำเสนอนโยบายดีมาก แต่เสนอแคนดิเดตนายกฯไม่มีที่มาที่ไป เพราะคิดว่ามีเสียงข้างมาก บางทีก็ฝืนๆ ความรู้สึกประชาชนเหมือนกัน การมีเสียงข้างมากจะต้องมีแคนดิเดตนายกฯที่ประชาชนเอาด้วย
มองปรากฏการณ์ของพลังดูดอดีต ส.ส.อย่างไร
การดูดก็คือการย้ายพรรค ผมมอง 2 มุม ย้ายเพราะอยากไป กับย้ายเพราะพรรคอยากได้ เพราะพรรคที่จัดตั้งขึ้นใหม่อาจจะยังไม่มีบุคลากร จึงอยากได้คนที่มีโอกาสเป็น ส.ส.มากที่สุด ถือเป็นเรื่องปกติ ส.ส.ย้ายพรรคไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่มันเกิดขึ้นอยู่ตลอด โดยเฉพาะในช่วงการเว้นวรรคประชาธิปไตย หรือทุกครั้งที่มีการยุบสภา ทุกคนก็ต้องคิดใหม่ แต่คนที่จะบอกว่าการย้ายนั้นถูกต้องหรือไม่อยู่ที่ประชาชน ทุกอย่างต้องผ่านการเลือกตั้ง ถ้าคุณไม่มีความชอบธรรม หรือขาดเหตุผลเพียงพอในการย้ายพรรค หรือไปอยู่กับพรรคที่ประชาชนไม่ชอบ ประวัติศาสตร์ทางการเมืองบอกมาตลอด หลายคนสอบตกอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดกันมาแล้วก็มีเยอะ การย้ายพรรคไม่ได้หมายความว่าความเป็น ส.ส.จะตามไปโดยอัตโนมัติ
แน่นอน การเรียนลัดทำพรรคการเมืองก็จะต้องใช้คนที่มีโอกาสเป็น ส.ส.มากที่สุด นั่นก็คืออดีต ส.ส.เก่า แต่ในการทำการเมืองให้ยั่งยืนก็เหมือนกับการทำทีมสโมสรฟุตบอล เมื่อยังไม่มีเลือดเนื้อเชื้อไข หรืออคาเดมีก็ต้องดึงตัวผู้เล่นอื่นมาอยู่ทีมเรา แต่วันนี้ทุกสโมสรมีอคาเดมี สร้างเลือดเนื้อเชื้อไขขึ้นมา คนเหล่านี้จะเรียนรู้ประเพณี วิธีคิด วิธีการเล่นของทีม และข้อดีที่สำคัญของคนเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขก็คือ ค่าตัวไม่แพง การเมืองก็เหมือนฟุตบอล เราต้องให้เวลาเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเอง สร้างคนที่เติบโตมากับวัฒนธรรมทางการเมืองของพรรค ผสมผสานกับคนรุ่นเก่าถึงจะเป็นสูตรการเมืองค็อกเทลที่ลงตัว
มองกระแสคนรุ่นใหม่ขณะนี้อย่างไร เป็นความหวังของการเมืองไทยได้หรือไม่
สมัยผมเล่นการเมืองแรกๆ เป็น ส.ส. โคราชเขตเดียวกับ พล.อ.ชาติชาย เวลามีงานท่านก็มักให้คนไปตามให้มานั่งข้างๆ บอกให้ผมฝึกงานไว้ ด้วยการทำหน้าที่แทนเวลาต้องมอบสิ่งของให้กับประชาชน วันที่พรรคปวงชนชาวไทยที่ผมสังกัดอยู่ ได้ร่วมรัฐบาลกับท่าน ท่านก็ได้เน้นย้ำกับ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก หัวหน้าพรรคว่า การเมืองต้องมีคนรุ่นใหม่มาทดแทน วันที่ผมได้เป็นรัฐมนตรีโควต้าพรรคปวงชนชาวไทยในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ท่านก็บอกกับผม ขณะที่ไปกราบท่านที่บ้านราชครูในวันที่ผมได้รับตำแหน่งอยู่ 2 ประโยคว่า ท่านอายุ 70 กว่าแล้ว บ้านเมืองต้องมีคนรุ่นใหม่ ต้องมีคนรุ่นที่สอง เราต้องเตรียมตัวกัน ท่านบอกว่าผมเป็นคนรุ่นที่สอง จึงให้ผมมาเตรียมตัว ผมก็รู้สึกว่าเราเป็นคู่ต่อสู้กันมาในเขตเดียวกัน ท่านก็ว่า เฮ้ย ก่อนเลือกตั้งคือการเมือง แต่หลังเลือกตั้งคือบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องที่จะมาแข่งขันกันแล้ว เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันทำงาน
ถามว่านักการเมืองรุ่นใหม่จำเป็นหรือไม่ ผมตอบเลยว่าจำเป็น จำเป็นแบบมากๆด้วย วันนี้ทุกพรรคต้องช่วยกันสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อวางหลักเกณฑ์ในการบริหารประเทศ ยิ่งวันนี้สังคมโลกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ที่มีเทคโนโลยีเป็นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่มีความรุนแรง รวดเร็วและมีขนาดมหึมา ความท้าทายของไทยที่อยู่ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จึงยิ่งมีความจำเป็นมากที่จะต้องได้คนรุ่นใหม่ที่ทันยุค ทันสมัย ทันกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของโลกเข้ามาสู่การเมือง โดยที่คนรุ่นเก่าต้องไม่ทิ้งเขา ต้องเป็นพี่เลี้ยง เป็นหลังบ้านคอยระวังไม่ให้กลไกทางการเมืองที่มีหลายมิติ สลับซับซ้อนไปได้ไม่กระทบงานของคนรุ่นใหม่เขา
ผมอยากเห็นทุกพรรคสร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมทั้งให้โอกาสคนรุ่นใหม่จริงๆ ไม่ใช่เอาคนรุ่นใหม่มาใช้หาเสียงทางการเมือง เพื่อให้เกิดชัยชนะเท่านั้น แต่ต้องสร้างค็อกเทลผสมทั้งคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ให้ได้ โดยที่คนรุ่นเก่าต้องมอบหมายภารกิจให้คนรุ่นใหม่มากๆ โดยเฉพาะภารกิจในการบริหารจัดการ วางนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ถ้าทำได้ถือได้ว่า นี่คือเป็นการปฏิรูปการเมืองจริงๆ


ทีมการเมือง