สภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2558 ภายใต้การนำของรัฐบาล คสช. ยังคงย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแบงก์ชาติปรับลดประมาณการเศรษฐกิจรวดเดียว 0.8% จากเดิม 3.8% เหลือ 3% ขณะที่ปรับตัวเลขจากขยายตัวเป็นติดลบทั้งส่งออกที่ติดลบ 1.5% และเงินเฟ้อที่ติดลบ 0.5% จากรายได้ที่เริ่มแย่ลง ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร การใช้จ่าย-ลงทุนยังไม่ฟื้น
EyWwB5WU57MYnKOuXxveZsTHXsDSWf5veW2UPGvkNki62522iwTSm0
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.  ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยรายงานนโยบายการเงินเดือนมิถุนายน โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากผลจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ปัญหาเชิงโครงสร้างของการส่งออกไทย รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทช่วงก่อนหน้า ทำให้การส่งออกของไทยมีแนวโน้มต่ำลง ความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับการใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด
เมธี
ทั้งนี้ถือเป็นผลพวงที่ย่ำแย่ต่อเนื่อง หลังจากกรมสรรพากรได้ออกมาระบุว่ายอดการจัดเก็บภาษีในในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557 – เม.ย.2558) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายถึงกว่า 56,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปีประมาณ 160,000 ล้านบาท
ในขณะที่ภาคการเกษตรก็ยังประสบปัญหาอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวนา และชาวสวนยาง โดยชาวนานั้นประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เนื่องจากรัฐบาล คสช. ได้ยกเลิกนโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว เช่น นโยบายจำนำข้าว หรือประกันราคาข้าว ซึ่งไม่มีมา 2 ปีแล้ว ทำให้รายได้ของชาวนาตกต่ำลงอย่างมาก อีกทั้งในปี 2558 นี้ ชาวนายังต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี โดยภาครัฐได้มีการประกาศห้ามทำนาเนื่องจากปัญหาภัยแล้งแล้ว ในส่วนของยางพารานั้น ชาวสวนยางยังคงประสบปัญหาเดิม คือ ราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งยังคงมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ
533669-01389396
ส่วนภาคการส่งออกและการลงทุนนั้น ก็ยังประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยภาคการส่งออกนั้นมีปัญหาจากทั้งการตอบโต้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงปัญหาในภาคการส่งออกของไทยเองที่มีความสามารถในการแข่งขันลดลง ส่วนภาคการลงทุนนั้นก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน โดยล่าสุดพบว่า สถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558” ของ BOI มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 306 โครงการ จำนวนเงินลงทุนเพียง 48,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำลงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2557 ที่มีจำนวนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 471 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนมากกว่า 297,000 ล้านบาท
file_1382650936
สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือ ภาคการลงทุนจากต่างชาติหากพิจารณาเป็นรายประเทศ โดยญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 เพียง 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 5,120 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปี 2557 ที่มีมากถึง 155 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 71,000 ล้านบาท
สหภาพยุโรปซึ่งเป็นต่างชาติรายใหญ่อีกราย มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 เพียง 36 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 710 ล้านบาท ต่างจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ที่มี 43 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 64,000 ล้านบาท
ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา อีก 1 คู่ค้าสำคัญของไทย BOI ระบุว่ามีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 เพียง 7 โครงการ มูลค่า 110 ล้านบาทเท่านั้น ต่างจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ที่มี 11 โครงการ มูลค่า 26,000 ล้านบาท
chad
ที่น่าตกใจก็คือ เอกสารสถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557” ดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขการขอรับการลงทุนในโครงการที่มีขนาดเงินลงทุน มากกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่เคยมีทั้งสิ้น 19 โครงการ มูลค่า 203,000 ล้านบาท นั้นปรากฏว่าในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558  “ไม่มี” ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทเลย
เงินด่วนJICA-Logo_th_455
กสทชสปส.กำไร
แต่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้รัฐบาล คสช. กลับดำเนินการกู้เงินจำนวนมากหลายโครงการเช่นกู้เงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ–รังสิต ระยะที่ 2 วงเงิน38,203ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 10,000 ล้านบาท กู้เงิน กสทช. จำนวน 14,300 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนนเร่งด่วน และกู้เงินกองทุนประกันสังคม 200,000 ล้านบาทเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งยอดหนี้สาธารณะคงค้างในเดือน เมษายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.77 ล้านล้านบาท ซึ่งยอดหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมโครงการกู้เงินที่กล่าวมาทั้ง 3 โครงการแต่อย่างใด
301257_natta_20141230_1981015420
สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของไทยในขณะนี้จึงถือว่ามีสภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก จากเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ภาครัฐยังคงดำเนินการกู้เงินเพิ่มหนี้สินให้กับประเทศ เปรียบได้กับภาวะที่เงินมีน้อยลง ไม่สามารถหาเพิ่มได้ แต่กลับเพิ่มหนี้สินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง และการที่รัฐบาล คสช.  ต้องให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ปกติแล้วรัฐบาลไทยไม่เคยกู้เงินมาก่อน อย่างเช่น กสทช. และกองทุนประกันสังคมนั้น สะท้อนให้เห็นว่าแหล่งเงินกู้หลักของรัฐบาลอย่างธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องเงินทุนใช่หรือไม่??? ถ้าเป็นเช่นนั้นเศรษฐกิจไทยคงต้องเจอปัญหาใหญ่ไม่ต่างจากปี 2540 เป็นแน่!!!