PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

ข่าว27/1/60

โรลส์รอยซ์

เลขาฯ ป.ป.ช. ยัน รบ. - คสช. ไม่มีคำสั่งพิเศษคดีสินบนโรลส์ - รอยซ์ ขณะอังกฤษยินดีให้ความร่วมมือดี ยอมรับกังวล เพราะกระทบภาพลักษณ์ประเทศมาก

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า จากการประสานงานไปยัง ป.ป.ช. ของอังกฤษ (เอสเอฟโอ)

ได้รับการยืนยันว่าจะให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. ของไทยในการเปิดเผยข้อมูล สินบนโรลส์ - รอยส์ แต่ทางอังกฤษได้ขอให้ ป.ป.ช. ทำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการว่า เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่

รับผิดชอบในการตรวจสอบคดีดังกล่าว พร้อมกับขอให้ระบุประเด็นที่อยากรู้มาให้ชัดเจนเป็นข้อ ๆ ว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้าง และขอความร่วมมือทางการไทยระมัดระวังในการให้ข่าวเรื่องนี้

เพราะคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอังกฤษ ซึ่งอาจมีผลต่อรูปคดีและข้อกฎหมายของทั้งสองประเทศ

ทั้งนี้ นายสรรเสริญ ยังกล่าวต่อว่า หากได้ข้อมูลครบถ้วนก็จะมีการพิจารณาตั้งอนุกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนต่อไป แต่ยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้ เนื่องจากต้องรอข้อมูลจากต่างประเทศ

และคาดว่า ป.ป.ช. จะทำเอกสารจัดส่งไปอังกฤษได้ในสัปดาห์หน้า พร้อมยอมรับกังวล ในการทำคดีนี้ เนื่องจากเป็นคดีที่สำคัญต่อภาพลักษณ์ของประเทศ จำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ และรวดเร็ว

เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศกลับคืนมา

อย่างไรก็ตาม เลขาฯ ป.ป.ช. ยืนยันว่า รัฐบาล และ คสช. ไม่ได้มีคำสั่งใด ๆ เป็นพิเศษ สำหรับการติดตามคดีมีเพียงการกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานข้อมูลกันเพื่อให้การดำเนินการรวด

เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น
------
"จาตุรนต์" FB ชี้ ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ เพราะองค์กรต่อต้านการทุจริตถูกเปลี่ยนแปลง ครอบงำ สั่งการโดย คสช.

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และแกนนำพรรคเพื่อไทยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Chaturon Chaisang" ว่า จากการที่ประเทศไทยถูกลดอันดับในการต่อ

ต้านคอร์รัปชั่นนั้น ถ้าศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นใน 2 - 3 ปีมานี้ จะเข้าใจสาเหตุและปัญหาได้ไม่ยาก โดยปัญหาในส่วนที่เชื่อมโยงกับประเด็นที่มีการกล่าวถึงในการจัด

อันดับ คือ ระบบองค์กรที่ใช้ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ถูกกระทบอย่างรุนแรงจากการกำหนดให้ คสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบจักรวาลตามมาตรา 44 จน

สามารถพูดได้ว่าองค์กรอิสระนั้น "มีก็เหมือนไม่มี" เพราะ คสช. สั่งการองค์กรอิสระอย่างไรก็ได้ ซึ่งระบบใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยการตั้ง คกก. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตภาครัฐ จัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติขึ้นภายในสำนักงาน ป.ป.ท. เรียกโดยย่อว่า ศอตช. มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน เลขาธิการ ป.ป.ช.

เป็นกรรมการ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นกรรมการ รวมองค์กรภาคเอกชนอีก 2 องค์กร เป็นกรรมการ เท่ากับเอากลไกขององค์กรอิสระและเอกชนไปอยู่ใต้การ

นำของฝ่ายบริหาร หรือเรียกได้ว่า คสช. ได้เปลี่ยนระบบและองค์กรในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปเป็นระบบอื่น ที่ไม่ใช่ระบบที่อาศัยองค์กรอิสระ เพราะอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ คสช. และรัฐบาล

อีกทั้งไม่มีระบบถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างอำนาจอธิปไตยตามระบบประชาธิปไตย คสช. มีอำนาจเหนือองค์กรอื่นทั้งปวง

นอกจากนี้ ประชาชนและสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพในการหาข้อมูลและแสดงความคิดเห็น การหาข้อมูลถูกขัดขวางและการแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการทุจริตของรัฐ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมัก

ถูกคุกคามหรือถูกจัดการด้วยกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม เช่น คำสั่งของ คสช. ทำให้ไม่มีช่องทางที่สังคมจะสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ ดังนั้น คงต้องรอให้ถึงเวลาที่น้ำลดเสียก่อน ตอ

ถึงจะผุดให้เห็น
------------
"วีระ" FB จี้ รัฐบาล คสช. และ ป.ป.ช. ยอมรับเถอะว่าพวกคุณล้มเหลวในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "วีระ สมความคิด" ว่า รัฐบาล, คสช. บริหารประเทศมาเกือบ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2557 จน

ถึงปัจจุบัน การที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ประเมินให้ดัชนีความโปร่งใสของไทยตกต่ำ ความจริงที่ต้องยอมรับคือมีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงทำงานไร้ประสิทธิภาพ ถูกครอบงำจากอำนาจรัฐ ไม่ใช่องค์กรอิสระจริงตามรัฐธรรมนูญ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หยุดโยน

ความผิดให้คนอื่น และไม่ต้องโทษว่าองค์กรเพื่อความโปร่งใสใช้เกณฑ์ประชาธิปไตยมาประเมิน

ทั้งนี้ นายวีระ ระบุ ขอให้ดูตารางการเรียบเรียงของมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสประเทศไทย พบว่าในปี 2555 ในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไทยได้คะแนน 37 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 88

จากจำนวน 176 ประเทศ ต่อมาในปี 2556 ซึ่งยังเป็นรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไทยถูกประเมินให้คะแนนตกลงเหลือเพียง 35 คะแนน อันดับที่ 102 จากจำนวน 177 ประเทศ ใกล้เคียงกับขณะนี้เลย

และไม่ทราบว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกมาโยนความผิดให้รัฐบาลอภิสิทธิ์หรือไม่ และ ป.ป.ช. ในสมัยนั้นพูดว่ามีการใช้เกณฑ์ประชาธิปไตย มาประเมินหรือไม่อย่างไร

ดังนั้น รัฐบาล คสช. และ ป.ป.ช. ไม่ต้องไปโยนความผิดให้คนอื่น แต่ต้องยอมรับความจริง แล้วทำการแก้ไขจะดีกว่า ถ้าอยากให้ไทยได้คะแนนความโปร่งใสมากขึ้น รัฐบาล และ ป.ป.ช. ต้องใช้

ความจริงจังและความจริงใจในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น ไม่ใช่ดีแต่พูด ต้องเอาจริงกับทุกคน ทุกเรื่อง ที่มีการคอร์รัปชั่น ไม่ใช่คนใกล้ตัวและพวกพ้องของผู้มีอำนาจในรัฐบาลไปทำผิด

เสียเอง ก็ทำเป็นมองไม่เห็น บอกเป็นเรื่องส่วนตัว แล้วไม่มีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา ถ้ายังทำอย่างนี้ต่อไป รับรองได้ อันดับดัชนีความโปร่งใสของไทยในปี 2560 คงจะได้
คะแนนลดลงอีกอย่างแน่นอน
--------------
"เรืองไกร" ยื่น ป.ป.ช. ตรวจสอบ มติ ครม. สมัย "อภิสิทธิ์" ซื้อเครื่องบิน 4.9 แสนล้าน หวั่นโยงโรลส์ - รอยซ์ 

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อหรือเช่าเครื่องบินแบบ

เครื่องยนต์ต่อเนื่อง หลัง ป.ป.ช.อังกฤษ หรือ เอสเอฟโอ พบการทุจริตเรียกรับสินบนบริษัท โรลส์ - รอยซ์

ทั้งนี้ นายเรืองไกร ขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบย้อนหลัง ตั้งแต่มติของคณะรัฐมนตรี ในปี 2554 สมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีมติคณะรัฐมนตรี ในการจัดซื้อเครื่องบินเหมาลำ

จำนวน 75 ลำ และเช่าซื้ออีก 15 ลำ รวม 90 ลำ วงเงิน 492,611 ล้านบาท พร้อมระบุว่า เชื่อมั่นว่า หน่วยงานในต่างประเทศ ยินดีที่จะให้ความร่วมมือให้ข้อมูลต่อ ป.ป.ช. ตลอดจนเชื่อมั่นว่า พล.อ.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. จะสนับสนุนให้มีการตรวจสอบอย่างเต็มที่ด้วย แต่ไม่เห็นด้วย หากจะมีการใช้ ม.44 ในการตรวจสอบ
------------------

มติ สนช. รับหลักการวาระแรก ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2560 วงเงิน 190,000 ล้านบาท

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด มีมติเห็นชอบรับหลักการวาระแรกของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

เพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ วงเงิน 190,000 ล้านบาท แล้ว โดย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงหลักการว่า เนื่องจากรัฐบาล
มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง จึงจำ

เป็นต้องตั้งงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการตามเป้าหมาย 5 กลุ่ม

ขณะที่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ อภิปรายสนับสนุนให้รัฐบาลของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามร่างกฎหมายนี้ เพื่อนำเงินไปใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนทำให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้

พร้อมเห็นว่า ควรนำงบประมาณนี้ไปศึกษาเชิงลึกหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะในภาคใต้ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนแก้ปัญหาในระยะยาว รวมทั้งต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและเกิดประโยชน์สูงสุด จากนั้นที่ประชุมพิจารณากรรมาธิการเต็มสภา
-------------
"สรรเสริญ" รับ SFO กังวล หวั่นไทยใช้อำนาจภายในแทรกแซงคดีสินบนโรลส์รอยซ์ - อัตราโทษสูงสุดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานคณะทำงานสอบสวนและรวบรวมข้อมูล กรณีบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ยอมรับ

ต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (SFO) ว่า จ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2534 - 2548 รวม 3 ครั้ง วงเงินประมาณ 1.2 พันล้านบาท
และเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2543 - 2556 วงเงินประมาณ 385 ล้านบาท ว่าจากการที่ ได้พูดคุยกับ SFO เบื้องต้นแล้ว หลังจากนี้คณะทำงานจะประชุมเพื่อกำหนดกรอบคำ

ถาม ก่อนจะประสานไปอีกครั้ง

ทั้งนี้ นายสรรเสริญ ยังกล่าวอีกว่า ในเบื้องต้น SFO ยังกังวลเกี่ยวกับบทลงโทษของประเทศไทยในคดีการติดสินบน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต เหมือน

กับกรณีที่ ป.ป.ช. เคยขอข้อมูลคดี GT200 ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้เช่นกัน ซึ่งคณะทำงานฯ ป.ป.ช. ได้ยืนยันว่า โทษดังกล่าวไม่เคยนำมาใช้นานมากแล้ว และปัจจุบันคงไม่มีการนำมา
ใช้อีก รวมถึงกังวลกระบวนการดำเนินคดีว่าจะมีการใช้อำนาจภายในเข้าแทรกแซงหรือไม่ และเห็นว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับ

ชั่วคราวปี 2557 เพื่อแก้ปัญหา เพราะ ป.ป.ช. ถือเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบเรื่องทุจริตอยู่แล้ว
--------------
คณะทำงานฯ ป.ป.ช. รับคดีสินบน สอบต่อได้แค่ยุค "ทักษิณ" 2 ช่วงแรกหมดอายุความ ต้องให้หน่วยงานฟ้องแพ่ง - ส่ง ปปง. อายัดทรัพย์ 

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานคณะทำงานสอบสวนและรวบรวมข้อมูล กรณีบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ยอมรับจ่าย

สินบนให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่า จากข้อซักถามของสื่อ การจ่ายสินบนช่วงแรก เมื่อปี 2534 - 2535 และช่วงที่สองปี 2535 -

2540 หมดอายุความไปแล้ว ไม่สามารถรื้อฟื้นมาทำอะไรได้อีก นั้น หากให้ คสช. ใช้อำนาจภายในเพื่อไม่ให้คดีหมดอายุความในประเทศไทย แต่ ป.ป.ช. จะถูกจับตาเรื่องความไม่น่าเชื่อถือต่อสายตา

นานาชาติ ดังนั้น อาจให้หน่วยงานที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น บริษัท การบินไทยฯ ดำเนินการฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกความเสียหายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจร้องเรียนไปยังสำนักงานป้องกันและ

ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน และอายัดทรัพย์สินได้

ส่วนกรณีการจ่ายสินบนช่วงที่สาม เมื่อปี 2547 - 48 คณะทำงานฯ ทราบชื่ออดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มีพฤติการณ์นัดกินข้าวกับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทยฯ และนายหน้า

ตามสำนวนการสอบของ SFO แล้ว แต่ยังไม่สามารถหาข้อเชื่อมโยงได้ว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ่ายสินบนอย่างไร ต้องรอให้ได้ความชัดเจนจาก SFO ก่อน จึงจะดำเนินการต่อไป
------------
รองผู้ว่าฯ สตง. ชี้ ต้องให้ความสำคัญการป้องกัน - หน่วยงานตรวจสอบต้นน้ำ เพื่อแก้ปัญหาทุจริต 

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดอภิปราย หลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) รุ่นที่ 8 ในหัวข้อ 'คอร์รัปชั่นกับปัญหาการพัฒนาประเทศ' โดยเชิญหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องมาร่วมอภิปราย นายมณเฑียร เจริญผล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันและให้ความสำคัญกับหน่วยงานตรวจสอบต้นน้ำ เช่น สตง. ป.ป.ช. เพราะ

การทุจริตฝังรากลึกมานาน โดยเฉพาะการทุจริตเชิงนโยบาย และระบบอุปภัมภ์ ที่ยากในการตรวจสอบ

ขณะที่ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า สถานการณ์โลกไปไกลกว่าคอร์รัปชั่นแล้ว ความ

หมายคอร์รัปชั่นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนืองจากนักการเมืองเจ้าหน้าที่รัฐมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทุจริตอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการฟอกเงิน และสินบน เช่น ปัญหาสินบนโรลส์ - รอยซ์

ที่อังกฤษ และสหรัฐฯ ตรวจสอบพบ แต่ในไทยกลับตรวจสอบหาคนผิดยาก ทั้งนี้ นายสังศิต ยังยืนยันว่า รัฐบาลไทยมีอำนาจขอข้อมูลจากโรลส์ - รอยซ์ ในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ เพราะเป็นสมาชิก

ของเอเชียแปซิฟิก กรุ๊ป หรือ APG หากไม่ดำเนินการเอาผิด จะถูกตัดออกจากสมาชิก และกระทบกับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ
/////
ปรองดอง

"สุวิทย์" เผย 30 ม.ค. ประชุม ป.ย.ป. ครั้งที่ 2 หารือเรื่องงบประมาณ - แนวทางการทำงาน เดินหน้าปฏิรูปปรองดอง รับรายชื่อกรรมการยังไม่เรียบร้อย 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความ

สามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. ว่า ขณะนี้รายชื่อคณะกรรมการ ป.ย.ป.คณะใหญ่ นั้น มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 คน ทำหน้าที่กำกับดูแลร่วมกับรัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีก 2 คน และนอกจากนี้ ยังมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนคณะกรรมที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ ยังไม่แล้วเสร็จ

ซึ่งในวัน 1 ก.พ. นี้ รายชื่อทั้งหมดจะเสร็จเรียบร้อยเพื่อเตรียมพร้อมในการขับเคลื่อนงานด้านต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า คณะกรรมการ ป.ย.ป. ได้
เตรียมเดินหน้าการปฏิรูปประเทศ และการสร้างความปรองดองเดินหน้าต่อไป

ทั้งนี้ ยังเปิดเผยว่า ในวันที่ 30 ม.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ย.ป. ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประชุมมินิคาบิเนต ที่จะมีการหารือถึงงบประมาณเพื่อสร้างกลไกให้สอดคล้องกับแนวทางของ ป.ย.ป.