PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ของนายกฯ

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา (Asian-African Summit) เสนอ “ข้อริเริ่มไทย-แอฟริกา” เพื่อขยายความร่วมมือการค้าและการลงทุนทั้งในภูมิภาคและแอฟริกา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลง ในโอกาสเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา (Asian-African Summit) ตามคำเชิญของนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 21– 23 เมษายน 2558 ณ Jakarta Convention Center (JCC) กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยรอ. น.พ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณอินโดนีเซียสำหรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ณ กรุงจาการ์ตา ที่ได้เวียนมาอีกครั้ง หลังจากผู้นำทั้งสองทวีปได้พบกันครั้งแรกเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ณ เมืองบันดุง และวันนี้ ผู้นำกว่า 100 ประเทศ ได้มาพบกันท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไทยในฐานะหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนเจตนารมณ์บันดุงมาโดยตลอด นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ครั้งแรกของพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
เมื่อเอเชียและแอฟริกามีความร่วมมือกันทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ภูมิภาคทั้งสองจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ปัจจุบัน มูลค่าการค้ากับเอเชียมีสัดส่วนร้อยละ 26 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของแอฟริกา รวมทั้งมีการพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยมีสายการบินหลัก 8 สายการบิน เชื่อมโยงกว่า 28 เมืองของเอเชียและแอฟริกา เมื่อพิจารณาจากภูมิรัฐศาสตร์ของไทยแล้ว ไทยสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งประเทศในภูมิภาคต่างๆ ด้วย ดังนั้นการทำงานร่วมกันจึงจะสามารถเอาชนะอุปสรรค และทั้งสองภูมิภาคจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ความรู้และประสบการณ์ในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน
นายกรัฐมนตรียังย้ำว่า จะต้องมีการผลักดันความเป็นหุ้นส่วนที่มีความพลวัตรระหว่างสองภูมิภาคต่อไป เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ ไทยพร้อมขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับแอฟริกา โดยอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของนโยบายการต่างประเทศของไทย จะเป็นหนึ่งในองค์กรหลัก รวมทั้งกรอบความร่วมมือต่างๆ อาเซียนมีบทบาทนำ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน จะมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและแอฟริกาไปสู่จุดสูงสุดได้ พร้อมๆ ไปกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม จะเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่จะเชื่อมโยงประชาชน และจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและเจตนารมณ์ที่ดีระหว่างประชาชนทั้งสองภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาต่อหุ้นส่วนของไทยในเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ เพิ่มขึ้น10 เท่า สำหรับแอฟริกา
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้น้อมนำปรัญชา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า เป็นหลักการพื้นฐานค่านิยมไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และเป็นเครื่องนำทางประเทศไทยไปสู่จุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพร้อมที่จะให้ข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์แนวทางดังกล่าวแก่มิตรประเทศ เนื่องจากความมั่นคงและมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชียและแอฟริการจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยและภูมิภาค
ปัจจุบัน แอฟริกามีโอกาสมากมายเพราะเป็นหนึ่งในทวีปที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุดทวีปหนึ่งของโลก ทั้งยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลในประเทศแอฟริกามีการปฏิรูปมากขึ้น ส่งผลให้มีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ช่วยงานและโอกาสกับประชาชน
ดังนั้น รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จของแอฟริกาโดยมีนโยบาย “ข้อริเริ่มไทย-แอฟริกา” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทุกมิติระหว่างไทยและแอฟริกา
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวในตอนท้ายว่า ภูมิภาคเรากำลังเผชิญกับความท้าทายระหว่างประเทศมากมาย อาทิ ความยากจน ความขัดแย้ง การก่อการร้าย โรคระบาด และปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หุ้นส่วนใหม่ทางยุทธศาสตร์เอเชีย-แอฟริกาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น และขอให้ร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง


รัสเซียกับจีนร่วมกันในทุกมิติ สงครามเย็นรอบใหม่กำลังจะเกิดขึ้น? กับจุดเสื่อมของจักรวรรดิอเมริกา

รัสเซียกับจีนร่วมกันในทุกมิติ สงครามเย็นรอบใหม่กำลังจะเกิดขึ้น? กับจุดเสื่อมของจักรวรรดิอเมริกา
----------
หันมาดูการวิเคราะห์ข่าวด้านการเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียจากสื่อฯฝั่งจีนกันบ้างครับ sputnik news เอาข่าวมาจาก "China Times" ของจีนที่พูดถึงความสัมพันธ์ของจีนกับรัสเซียต่อกรณีวิกฤตยูเครนมาเล่าต่อ โดย sputnik พาดหัวว่า "ความร่วมมือระหว่าง จีน-รัสเซีย กำลังจะเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก - สื่อฯจีน" วิกฤตยูเครนและการแซงชั่นจากตะวันตกถือว่าเป็นตัวเร่งการขยายความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับจีนในด้านการเมือง การทหารและด้านพลังมากขึ้น
นโยบายการเปิดกว้างของจีนและนโยบายมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซียสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันให้กับทั้งสองประเทศมากขึ้น เนื่องจากทั้งสองประเทศมีหลายอย่างโดยทั่วไปที่คล้ายกัน และกำลังมีความยินดีในการสร้างประวัติศาสตร์ในการพัฒนาด้านต่างๆในระดับทวิภาคีร่วมกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนนั้น ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากกว่าคู่อื่นในสามกลุ่ม (จีน-รัสเซีย, จีน-เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น-อินเดีย) การขยายความร่วมมือของทั้งสองประเทศถูกผลักดันโดยวิกฤตในยูเครนและการแซงชั่นจากตะวันตก (ที่กระทำต่อรัสเซีย) ซึ่งกำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามของจักวรรดิอเมริกา
รัสเซียกับจีนได้มีการขยายความสัมพันธ์ร่วมกันทั้งด้านการเมือง กองทัพ พลังงาน การลงทุน การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และทางเทคนิคในด้านอื่นๆอีก ปัจจุบันนี้ทั้งสองประเทศมียอดการค้าขายระหว่างกันถึง $100 billion (ประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท) และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่าภายใน 5 ปีข้างหน้า
ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ผู้นำของประเทศต่างๆ 26 ประเทศจะเข้าร่วมงานวัน Victory Day ที่กรุงมอสโคว์ ซึ่งประกอบด้วย จีน อินเดีย เวียตนาม เกาหลีเหนือ มองโกเลีย (และคิวบา ซึ่งพึ่งจะรับปากอย่างเป็นทางการเมื่อวันก่อนนี้เอง) นอกจากนี้รัสเซียก็ได้ตัดสินใจเข้าร่วมใน "ธนาคารเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเซีย" (AIIB) ร่วมกับจีนด้วย ซึ่งถือว่าเป็นไปตามแนวความคิดของปธน.ปูตินที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือกับประเทศเหล่านี้
รัสเซียกับจีนได้บรรลุข้อตกลงกันโดยรัสเซียจะให้การสนับสนุนเครื่องบินรบ Su-35 ให้กับจีนด้วย คาดว่าผู้นำของทั้งสองประเทศประกาศแผนการซ้อมรบร่วมกันในทะเลดำระหว่างการเจรจากันครั้งหน้า
หนังสือพิมพ์จีนมองว่า นี่แสดงให้เห็นว่ากรุงมอสโคว์กับกรุงปักกิ่งกำลังยึดจุดยุทธศาสตร์ในการเผชิญหน้ากับสหรัฐฯใน "สงครามเย็นยุคใหม่"
สมัยก่อนสหรัฐฯกับโซเวียตสร้างสงครามเย็นต่อกัน ตอนนั้นจีนก็เฉยๆ เพราะยังไม่พร้อมในหลายๆด้าน เนื่องจากพึ่งจะรอดตายจากสงครามโลกครั้งที่สองมา แต่ตอนนี้จีนผงาดขึ้นมาแล้ว และเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับรัสเซียด้วย อียูก็รู้ว่าจะเลือกฝ่ายไหน และรู้แล้วว่าฝ่ายไหนกำลังจะรุ่งและฝ่ายไหนกำลังจะร่วง ดังนั้นอียูจึงหันมาร่วมมือกับจีน ไม่สนคำขู่ของสหรัฐฯอีกต่อไป สหรัฐฯตอนนี้ตกอับพยายามจะเอาเปรียบแม้กระทั่งกับพันธมิตรของตัวเองคืออียู ด้วยการออกกฎหมายเอาเปรียบด้านการค้าร่วมกัน ทางอีก็ประท้วงสหรัฐฯทั่วยุโรป
สหรัฐฯนี่จะแพ้เกมตัวเองตลอด คือเขาจะใช้ประชาชนของแต่ละประเทศในการต่อต้านรัฐบาลของประเทศนั้น เพื่อสร้างความแตกแยกในประเทศที่กำลังจะตกเป็นเหยื่อ แต่หากรัฐบาลของประเทศเป้าหมายรู้ทันและใช้แผนเดียวกันนั้นย้อนศรสหรัฐฯบ้างโดยเรียกร้องให้ประชาชนของตน (หรือประชาชนร่วมมือกันเองหากนักการเมืองร่วมมือกับสหรัฐฯ) ลุกฮือต่อต้านนโยบายบางอย่างของรัฐบาลสหรัฐฯ สหรัฐฯก็จะถอย ไม่กล้าที่จะดันทุรังต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันก็คือกรณีของเวเนซูเอล่าที่มีการล่ารายชื่อประชาชนกว่า 10 ล้านรายชื่อเพื่อต่อต้านนโยบายของโอบามาที่จะหาเรื่องรุกรานเวเนซูเอล่าให้ได้ และการที่ชาติลาตินอเมริกันผนึกกำลังกันต่อต้านสหรัฐฯ ก็ทำให้สหรัฐฯไม่กล้าที่จะเล่นไม้แข็งกับกลุ่มประเทศเหล่านั้นอีก
ส่วนที่ยุโรปนอกจากการประท้วงคัดค้าน TTIP ของสหรัฐฯแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ FBI ก็ออกมาเขียนรายงานกล่าวหาโปแลนด์และฮังการีว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ยิวร่วมกับนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 (Holocaust) นี่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯเข้าตาจนแล้วจึงงัดสารพัดลูกไม้ออกมาขู่พวกเดียวกันเอง และเพื่อกดดันให้อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐฯต่อไป มิฉะนั้นสหรัฐฯก็จะตั้งข้อกล่าวหาลอยๆเอาแบบนี้แหละ
ประชาชนชาวโปแลนด์ก็ไม่ยอมสิ เขาก็ออกมาต่อต้านสหรัฐฯเรียกร้องให้ผอ.FBI ออกมากล่าวขอโทษชาวโปแลนด์ซะดีๆ แล้วสหรัฐฯก็กลับคำออกมากล่าวชื่นชมและยกย่องความกล้าหาญของชาวโปแลนด์และชาชนในหลายประเทศในยุโรปที่ได้ให้ความช่วยเหลือชาวยิวให้ลอดพ้นจากเงื้อมือของนาซี นี่ถ้าประชาชนในชาตินั้นๆแข็ง สหรัฐฯก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือทำได้แต่ไม่สะดวกนัก การที่สหรัฐฯออกมาเล่นเกมนี้ก็คงจะเพื่อหาทางเล่นงานโปแลนด์ที่พักหลังนี้ออกมาคัดค้านการแซงชั่นรัสเซีย และโปแลนด์เริ่มจะหันมาให้ความร่วมมือด้านการค้ากับรัสเซีย สหรัฐฯพยายามจะทำให้ชาวยิวทั่วโลกต่อต้านโปแลนด์ และสร้างความวุ่นวายทางเชื้อชาติและศาสนาขึ้นมาในโปแลนด์อีก แต่ครั้งนี้ไม่ได้ผลซะแล้ว