PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว24ก.ย.57 ล็อคสเปค

"ครูหยุย"ร้องคสช.เปิดรายชื่อ-อดีตส.ว.พังงายื่นกกต.สอบ "ประยุทธ์"ปัดล็อกสเปค นัดเคาะ 250 คน สัปดาห์หน้า

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกระแสข่าวการล็อกสเปคการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ขณะนี้การสรรหาในส่วนของจังหวัดมีการร้อง
เรียนกันมากถึงความไม่โปร่งใส ก็ควรจะหยุดการสรรหาและตรวจสอบให้มีความชัดเจนก่อน

อย่างไรก็ตาม ทราบว่า การสรรหารายชื่อ 11 ด้านๆ ละ 50 ชื่อนั้น น่าจะครบและใกล้เสร็จแล้ว ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสก็ควรจะเปิดเผยรายชื่อเบื้องต้นทั้งหมด ให้ประชาชนได้ตรวจสอบว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหน ให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ และให้เห็นว่ามีใครบ้าง เพื่อจะได้ตรวจสอบ หากต้องการความโปร่งใส ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คงไม่ขัดข้องที่จะเปิดเผยรายชื่อดัง
กล่าว

"สมชาย"ปูดฮั้วว่าที่สปช.หลายจังหวัด

ด้านนายสมชาย แสวงการ สนช. กล่าวว่า การคัดเลือก สปช.ขณะนี้ไม่ใช่ล็อกสเปค แต่เป็นเรื่องฮั้วกันภายในจังหวัด อยากให้จังหวัดชี้แจงว่าลงคะแนนสรรหาอย่างไรผู้ที่ได้รับการคัดเลือกออกมาเป็นกลุ่มเดียว เช่น จ.พังงา ที่ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ประธานสภาอบจ. ที่ปรึกษา อบจ. ประธานหอการค้า และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

"ผมได้ข้อมูลว่าการสรรหาในลักษณะนี้ยังมีอีกหลายจังหวัดมาก ไม่ว่าจะเป็น จ.สมุทรปราการ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี ดังนั้นควรจะมีการตรวจสอบ นอกจากนี้ในเรื่อง
ความหลากหลายก็ยังไม่มี เช่น เพศ ก็ไม่มีผู้หญิง กลุ่มอาชีพ ส่วนใหญ่เป็นเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งการเลือกแบบนี้เรียกได้ว่า จับไก่ใส่เล้า เลือกอย่างไรก็ได้ไก่ในเล้า"

นายสมชาย ยกตัวอย่างว่า อย่างในพื้นที่ในจ.พังงา มีใบปลิวออกมา จึงอยากให้ทบทวนโดยวิธีการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจรายชื่อที่จังหวัดส่งมาว่า ตรงกับใบปลิวหรือไม่ หากตรงก็ต้องอธิบายว่า ทำไมไม่เลือกคนอื่น อย่างไรก็ตาม หากมีการร้องเรียนหรือเกิดข้อสงสัย อยากเสนอให้รอการตรวจสอบให้และเลือกเท่าที่ได้ก่อน ซึ่งกกต.ต้องชี้แจงให้คสช.รับทราบ และอย่าให้เกิดการฮั้วเป็นกลุ่มแบบนี้

"พีระศักดิ์"ข้องใจอดีตส.ว.ไม่ติดโผ5คน

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 กล่าวว่า ในส่วนภาคสรรหา 11 คณะไม่มีปัญหาอะไร ขณะที่การสรรหารายจังหวัด บางจังหวัดก็พอใจ แต่มีบางจังหวัดมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะมีนายกอบจ.ที่เป็นกรรมการสรรหา ซึ่งตนได้รับแจ้งจากอดีต ส.ว.บางคนมีความสงสัยในการกระบวนการสรรหา เพราะไม่ติดรายชื่อ 1 ใน 5 ทั้งที่ผ่านการเลือกตั้งมาแล้วก่อนหน้านี้ และอยากเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปด้วย จึงไม่ทราบว่า จังหวัดใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา ส่วนตัวเห็นว่า อดีตส.ว.น่าจะได้รับเลือก ทั้งนี้หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ยื่นเรื่องมายังคสช.ได้ปูดผัวเป็นทีมสรรหา-เมียสมัครเข้ารับเลือก

ด้าน น.พ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ อดีตรองประธานวุฒิสภา และอดีต ส.ว.สุรินทร์ กล่าวว่า การสรรหา สปช.ที่จ.สุรินทร์ มีความไม่โปร่งใส เพราะกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็น นายกอบจ. แต่ผู้เข้ารับ
การสรรหารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นลูกเขย นอกจากนี้ตนทราบว่า ยังมีอีก 1 จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ที่กรรมการสรรหา เป็นสามี ส่วนผู้รับการสรรหาเป็นภรรยา ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสีย

"ผมเห็นว่า การสรรหาสปช.ในบางจังหวัดต้องมีการทบทวน หรือหากบอกว่ากระบวนการสรรหาเสร็จสิ้นแล้ว ผมก็ขอเรียกร้องไปยัง คสช.ให้ดำเนินการคัดเลือกเอง โดยในจังหวัดที่มีปัญหาความ
ไม่โปร่งใสในการสรรหาก็ให้ส่งรายชื่อทั้งหมดให้ คสช.เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง"

แฉ5สปช.พังงาล้วนใกล้ชิดทีมสรรหา

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่ จ.พังงา พบว่ามีการแจกใบปลิวที่แสดงให้เห็นถึงรายชื่อบุคคลที่ได้รับการสรรหาเป็น สปช.พังงา ล้วนเป็นบุคคลใกล้ชิดกับกรรมการสรรหา อีกทั้งไม่มีความหลากหลาย ได้แก่ 1.นายธราธิป ทองเจิม ที่ปรึกษา นายก อบจ.พังงา 2.นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ ประธานสภา อบจ.พังงา 3.นายชาญพิเชษฐ์ กิจประสานเจริญ อดีตนายกเทศบาลตำบลเกาะยาว 4.นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดพังงา 5.นายเทวะ เวชพันธ์ อดีต กกต.พังงา

"ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ กกต. ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ หากพบว่าเป็นข้อเท็จจริงอยากให้มีการทบทวน เนื่องจากเป็นการสรรหาที่ขาดความหลากหลายและส่อจะขัด
ต่อรัฐธรรมฉบับชั่วคราว และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"แหล่งข่าวระบุ

อดีตส.ว.ร้องกกต.สอบ5ว่าที่สปช.พังงา

ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายวระชาติ ทนังผล อดีตส.ว.พังงา และผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็น สปช.พังงา ได้เข้ายื่นคำร้องต่อเลขาธิการ กกต. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหา สปช. ของ คสช. เพื่อให้ตรวจสอบกรณีมีเอกสารเผยแพร่ภายในจังหวัด ระบุรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสปช.ในส่วนของจ.พังงา รวม 5 คนว่า รายชื่อดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมการสรรหาจังหวัดได้เสนอมายังคสช.จริงหรือไม่ เพราะหากเป็นความจริงก็ถือว่าไม่มีความหลากหลายทางอาชีพตามที่พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสปช.กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติให้คณะกรรมการสรรหาต้องพิจารณาต้องคัดเลือกบุคคล รวมทั้งบุคคลเหล่านี้ยังมีส่วนได้เสียกับคณะกรรมการสรรหา

นายวระชาติ กล่าวว่า ที่มายื่นให้ตรวจสอบไม่ได้เป็นเพราะว่าตนเองไม่มีชื่อติด 1 ใน 5 แต่ต้องการให้กระบวนการสรรหาเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยที่จังหวัดมีผู้เข้ารับการเสนอชื่อรวม 27
คน มีความหลากหลายทางอาชีพ หากตนเองไม่ได้รับคัดเลือกก็ไม่เป็นไร ถ้าคนที่ได้มีความเหมาะสมกว่า ซึ่งอยากให้คสช.มีการเปิดรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาทุกจังหวัด
เพื่อให้คนในสังคมและคนในจังหวัดได้ตรวจสอบและพิจารณาว่าเหมาะสมที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่

"อย่าไปกลัวว่าจะเกิดความวุ่นวาย หรือมีการวิ่งเต้น เพราะในเมื่อเราจะปฏิรูปบ้านเมืองก็ควรมีความโปร่งใส ให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม ไม่ใช่ปฏิรูปไปเสร็จแล้ว ยังจะมีการมาเดินบนถนนอีก แล้ว
บ้านเมืองก็กลับไปสู่วังวนเดิม ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ก็ได้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปยังศูนย์ดำรงธรรมของจ.พังงาแล้วและได้ทำสำเนาร้องเรียนถึงคสช.ด้วย"

นายกฯยันไม่มีล็อก-นัดเคาะสัปดาห์หน้า

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการคัดเลือก สปช.ว่า รายชื่อ 550 คนถึงคสช.แล้ว สัปดาห์ที่แล้วตนได้นั่งไล่ดูรายชื่อ สัปดาห์หน้าจะประชุมคสช.
และต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 2 ต.ค. ซึ่งรายชื่อ 550 คนที่ส่งมาก็ไม่รู้จักใครสักคน

เมื่อถามว่าจะไม่มีคำครหาเรื่องล็อกสเปคใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "มันล็อคยังไง ผมก็ไม่รู้จะล็อคยังไงเหมือนกัน" ถามย้ำว่ามีพวกใคร พวกใครหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "จะมีพวกใครหละ ทางจังหวัดก็เลือกมาโดยคณะกรรมการตั้งหลายคน และในส่วนคณะกรรมการคัดสรร 77 คน เท่าที่ทราบไม่ใช่ว่าเรารู้จักคนนั้นคนนี้ ไม่ใช่ เขาใช้โหวตคะแนนกัน"

ลั่นไม่คิดเป็นนายกฯจากการเลือกตั้ง

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงภาพรวมตลอด 4 เดือนหลังมีการยึดอำนาจการปกครองตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.จนถึงปัจจุบัน ว่า รู้สึกว่าประชาชนมีความสุขมากขึ้น แต่ คสช. และครม.มีความทุกข์ เพราะมี
ปัญหาต่าง ๆ ให้ต้องแก้มากมาย และการทำงานต้องโปร่งใส กระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด และต้องเดินหน้าทำงานต่อไป

เมื่อถามว่าคิดจะเป็นนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งบ้างหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ส่ายหน้า พร้อมกล่าวว่า "ไม่ คิดว่าชะตาของบ้านเมือง มีอยู่แล้ว พระสยามเทวาธิราชเห็นอยู่" เมื่อถามอีกว่าจะเป็นนายกฯ จากการรัฐประหารเท่านั้นหรือ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบอย่างอารมณ์ดีว่า "เดี๋ยวทุ่มเลย (จับโพเดียม) พอแล้ว” ก่อนเดินเข้าห้องทำงานตึกไทยคู่ฟ้าทันที

"วิษณุ"แย้มสปช.เข้ารอบด้านละ15-17คน

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใส่วนของการสรรหาสปช.173 คน มีคณะกรรมการกลั่นกรองให้ ก่อนส่งให้คสช.ทั้ง 11 ด้าน แต่อีก 77 คนจากจังหวัด ไม่มีคนคัดกรองให้ แต่ได้ตั้ง
กรรมกาขึ้นมาเงียบๆ กลั่นกรองกันเอง

"คนที่เข้ารอบสุดท้าย 50 คนใน 11 ด้าน ติดจริงๆ มีประมาณด้านละ 15-17 คน ถือว่าผ่านด่านมาแล้ว ควรมาตั้งเวทีใช้งาน ซึ่งตอนนั้นเขาจะรู้ว่าติดหนึ่งใน 50 คน แต่ไม่ติดใน 15 คน เพราะเราจะไม่
เอาคนนอก"

นายวิษณุ กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนที่เหลือจาก 7 พันคนที่สมัคร จะไปอยู่ในเวทีปฏิรูปที่มี พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้างานกลุ่มงานสร้างความปรองดองและการปฏิรูป ส่วนอีกเวทีที่จะตั้ง ตั้งใจใช้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฐานเพราะห้องประชุมก็มีแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ก็พร้อม เจ้าหน้าที่ก็มีถึง 200 คนก็จะช่วยได้ เรียกง่ายๆว่าเป็นเวที

ปฎิรูป 2 มีค่าตอบแทนด้วย

"รายชื่อทั้งหมด 550 คนส่งครบแล้วและเห็นหมดแล้ว คนดี คนเด่น คนดัง เข้ามามาก ห่วงก็แต่คนไม่ดี ไม่เด่น ไม่ดัง ที่น่าจะมีโอกาสบ้าง เชื่อว่าเมื่อรายชื่อออกมาจะเป็นที่พอใจของสังคม อาจจะมี
ชื่อที่ไม่คุ้นบ้าง เราต้องให้โอกาส แต่จะให้พอใจทั้งหมดคงยาก"

กกต.ยันไม่มีอำนาจสอบคัดเลือกสปช.

นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการกกต. กล่าวภายหลังการประชุมกกต. ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานกกต.ได้ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. ทั้ง 77 จังหวัด ให้กับเลขาธิการ คสช.แล้ว ส่วนกรณี
ที่มีการยื่นร้องเรียนว่าการสรรหาสปช.ในระดับจังหวัดไม่มีความโปร่งใส ตนก็ทราบแต่จากการนำของสื่อ ยังไม่เห็นการมายื่นอย่างเป็นทางการ หากมายื่น สำนักงานกกต.ก็ทำได้เพียงเสนอเรื่องไป
ยังคสช. ยกเว้นแต่คสช.จะมอบอำนาจให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงก็พร้อมจะดำเนินการ แต่ถ้าไม่มีการมอบหมาย หากมีการร้องมายังกกต. ก็ต้องส่งเรื่องไปยังคสช.เป็นผู้พิจารณา เพราะบทบาทของ
กกต.ในฐานะฝ่ายเลขานุการนั้นไม่มีอำนาจวินิจฉัย

"สุรพล"เปิดขั้นตอนเลือกสปช.ด้านการเมือง

นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการสรรหา สปช.ด้านการเมือง กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น สปช.รอบแรกว่า กรรมการสรรหาได้ใช้วิธีเสนอบัญชีรายชื่อตามดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จากนั้นได้นำบัญชีรายชื่อดังกล่าวมาพิจารณาในที่ประชุม และใช้หลักเกณฑ์คือ หากผู้สมัครรายใดที่กรรมการเลือกชื่อตรงกัน 4 คนขึ้นไป หรือ 4 คะแนนขึ้นไป จะได้รับการเสนอชื่อให้ คสช.พิจารณาคัดเลือกต่อไป

ทั้งนี้รายชื่อที่กรรมการพิจารณาพบว่ามีบุคคลที่กรรมการทั้ง 7 คนเห็นตรงกัน ประมาณ 7-8 คน, เห็นตรงกัน 6 คน มีประมาณ 6-7 คน ทำให้กรรมการแต่ละคนไม่ได้ซักถามในขั้นตอนดังกล่าวถึงเหตุผลหรือปัจจัยของการพิจารณาเลือกบุคคล ทั้งนี้ในรอบของการพิจารณารายชื่อ มีผู้ที่กรรมการเห็นตรงกันตามเกณฑ์คะแนน 4 คะแนนขึ้นไปประมาณ 40 คน ทำให้กรรมการต้องใช้วิธีพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยนำประวัติและคำแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครมาพิจารณาคัดเลือกให้ครบตามจำนวน คือ 50 คน

ทีมสรรหาด้านสื่อยันไม่มีวิ่งเต้น

พล.อ.นพดล อินทปัญญา สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา สปช.ด้านสื่อมวลชน กล่าวว่า ทางคณะกรรมการได้ใช้วิธีให้กรรมการทั้ง 6 คน ทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่เห็นสมควรได้รับตำแหน่งมาคนละ 1 บัญชี มีจำนวนชื่อทั้งสิ้น 50 คน จากนั้นได้นำรายชื่อของกรรมการมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้เกณฑ์คะแนนจากกรรมการที่เลือกชื่อที่ตรงกันสูงสุด เรียงลำดับไปจนครบ 50 รายชื่อ โดยที่ประชุมสามารถเลือกชื่อแล้วเสร็จภายในรอบเดียว

สำหรับการเลือกบุคคลที่เหมาะสมนั้นพิจารณาจากใบสมัครเป็นหลัก ส่วนกรณีที่กังวลว่าจะมีการวิ่งเต้นนั้น หากพิจารณาจากรายชื่อกรรมการ เช่น นายสำเริง คำพะอุ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส นายอรุณ งามดี อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ใครจะกล้ามาวิ่งเต้น
-----------


ความคืบหน้าการคัดเลือก สปช. 250 คน น่าจะมีความชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า และน่าจะเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในวันที่ 2 ตุลาคม หลัง กกต. ส่งรายชื่อสมาชิก สปช.ที่ผ่านการคัดเลือกใน

11 ด้าน และแบบรายจังหวัด 77 จังหวัดให้ คสช. แล้ว ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คสช.ยืนยันว่า การพิจารณาสรรหาผู้เหมาะสม หรือแม้แต่การคัดเลือกเป็น

สมาชิก สปช.ทุกขั้นตอนนั้นโปร่งใส-ไร้การล็อคสเปค

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยถึงกระแสข่าวการล็อคสเปคการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในส่วนของจังหวัดว่า เมื่อการสรรหาในส่วนของจังหวัดมีการร้อง

เรียนกันมากถึงความไม่โปร่งใส ก็ควรจะหยุดการสรรหาและตรวจสอบให้มีความชัดเจนก่อน ส่วนรายชื่อที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 ด้าน จำนวน 550 คน น่าจะมีการเปิดเผย

รายชื่อทั้งหมดให้ประชาชนได้ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส

นายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. กล่าวว่า การคัดเลือก สปช.ขณะนี้ไม่ใช่ล็อคสเปค แต่เป็นเรื่องฮั้วกันภายในจังหวัด ดังนั้นอยากให้จังหวัดชี้แจงว่ามีการลงคะแนนสรรหาอย่างไรที่ผู้ที่ได้รับการ

คัดเลือกออกมาเป็นกลุ่มเดียว

ด้าน นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ อดีตรองประธานวุฒิสภา และอดีต ส.ว.สุรินทร์ กล่าวว่า การสรรหา สปช.ที่ จ.สุรินทร์ มีความไม่โปร่งใส เพราะกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นนายก อบจ. แต่ผู้เข้ารับ

การสรรหารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นลูกเขย นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่กรรมการสรรหาเป็นสามี ส่วนผู้รับการสรรหาเป็นภรรยา ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่ง

เห็นว่าการสรรหา สปช.ในบางจังหวัดต้องมีการทบทวน หรือหากบอกว่ากระบวนการสรรหาเสร็จสิ้นแล้ว ก็ขอเรียกร้อง คสช.ให้ดำเนินการคัดเลือกเอง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง ความเป็นไปได้ที่จะเปิดเผยรายชื่อ สปช. ก่อนได้รับการคัดเลือกให้เหลือ 250 คน ว่า ขึ้นอยู่กับ คสช. ทั้งนี้ ได้เห็นรายชื่อ สปช.ทั้ง 11 ด้านแล้ว มองว่า

ใช้ได้ มีคนดี คนเด่น คนดังเข้ามามาก เมื่อเปิดชื่อ สปช.ออกมา บางคนคงคุ้นหน้ากันดี แต่ก็ต้องมีคนไม่คุ้นบ้าง เพราะเราต้องให้โอกาสคนเหล่านั้น

สำหรับรายชื่อที่ กกต.แถลงสรุป ตามกระบวนการสรรหา กกต. จากรายชื่อทั้งหมดของส่วนกลาง 4,584 คน ส่วนจังหวัด 2145 คน รวม 6,729 คน ผ่านการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหาทั้ง 11

ด้าน ได้รายชื่อ ด้านละ 50 คน รวม 550 คน ผ่านการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด ได้ชื่อจังหวัดละ 5 คน รวม 385 คน ดังนั้น รวมสรุปบัญชีรายชื่อผู้เหมาะสม.ให้คสช.คัดเลือกรวม

935 คน เพื่อเป็นสมาชิก สปช.ไม่เกิน 250 คนตามกฎหมายกำหนด
-------

รองนายกฯ "ยงยุทธ" ยัน เคาะ สปช. ต้องปิดเป็นความลับ ป้องกันโกลาหล ย้ำ ลุยปฏิรูปการศึกษา

อารดา ชื่นรุ่ง รายงาน

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม กล่าวถึงการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.
ด้านการศึกษา ว่า ได้ส่งรายชื่อจำนวน 50 รายชื่อให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. แล้ว โดยแบ่ง
เป็นสัดส่วนผู้ชายและผู้หญิง ส่วนความจำเป็นที่ต้องปิดเป็นความลับนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความโกลาหล

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการปฏิรูปด้านการศึกษา ว่า จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าระยะเวลา
1 ปี จะไม่สำเร็จ และขณะนี้อยู่ในช่วงการศึกษาโลกที่กำลังมีการพัฒนา ซึ่งบุคลากรในการศึกษาจะต้องเรียนรู้
และปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัยมากขึ้น ส่วนการทุ่มงบประมาณในด้านการศึกษา ยอมรับว่า ที่ผ่านมา การศึกษา
ไม่มีคุณภาพตามที่ทุ่มงบประมาณลงไป ซึ่งอาจเกิดจากบุคลากรที่ไม่เพียงพอ หรือไม่สนับสนุนการศึกษาภาค
เอกชนอย่างเพียงพอ
-----
"พรเพชร"  โยน คสช. เปิดชื่อ สปช. แก้ครหา มอบนโยบาย ส.เลขาสภาผู้เแทนราษฎร เน้นแก้โกง

คุณณิชา อภิรักขวะนานนท์ รายงาน

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการมอบนโยบายแก่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ว่า ในวันนี้
จะเป็นรูปแบบของการมารับทราบปัญหาการดำเนินงานเป็นหลัก ส่วนการมอบนโยบายก็จะต่อเนื่องจากปัญหาที่มีเกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้
รับทราบปัญหาแล้ว 3 ประเด็น คือ 1. ปัญหาการก่อสร้างอาคารรัฐสภาหลังใหม่ที่หยุดชะงักไป โดยจะเร่งรัดให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเดิม หรือ
ต้องมีความคืบหน้า 2. ปัญหาเรื่องค่าตอบแทนของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้น
เจรจาขอปรับแก้กฎระเบียบ ในลักษณะของขอปรับลดค่าตอบแทนของอดีตสมาชิกบางประเภท 3. ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่ถูก
อภิปรายในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ซึ่งต้องตรวจสอบว่ามีจริงหรือไม่

ทั้งนี้ นายพรเพชร ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับข้อครหาในขั้นตอนการสรรหาสมาชิก สปช. ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ในกรณีที่
คณะกรรมการสรรหาเป็นเครือญาติกับผู้ถูกสรรหา กล่าวเพียงว่าหากในอนาคต หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เชื่อว่าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ หรือ คสช. จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณี
------


/////////

นิพิฏฐ์ นำอดีต ส.ส.ปชป. แถลงเสนอแก้ราคายางพารา 5 ข้อ มั่นใจ หาก รบ.ทำตาม แก้ปัญหาได้แน่นอน


นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ พร้อมด้วยตัวแทนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายแพทย์สุกิจ อัถโถปกรณ์ และ นายนริศ ขำนุรักษ์
ร่วมแถลงข่าวถึงกรณีการแก้ไขราคายางพาราตกต่ำของรัฐบาล ว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหาอย่างพาราเป็น
วาระเร่งด่วนระดับชาติที่ต้องเร่งแก้ไข แต่จนถึงขณะนี้ราคายางพารายังไม่สูงขึ้นและมีแนวโน้มจะต่ำลง จึงกังวลว่าในช่วงต้นปีซึ่ง
เป็นฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต จะยิ่งส่งผลให้ราคายางตกต่ำลงอีก ดังนั้น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจึงข้อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหายางพารา
5 ข้อ คือ 1.รัฐบาลต้องกระกาศให้ชัดเจนว่าจะไม่ขายยางพารา 2.1 แสนล้านตัน ที่เหลืออยู่ เพื่อลดปริมาณยางพาราในตลาด
2. รัฐบาลต้องประกาศให้นำยางพารามาสร้างถนน โดยจะต้องเป็นยางพาราใหม่และไม่ต่ำกว่า 5% 3. รัฐบาลนำยางพารามาสร้าง
สนามกีฬาของหน่วยงานราชการ ตลอดจนสนามเด็กเล่น 4. รัฐบาลต้องประกาศให้นำยางพารามาจัดทำระบบกันสั่นสะเทือน
5. รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาการลงทุนด้านอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ เชื่อมั่นว่า หากรัฐบาลดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะสามารถแก้ไขปัญหายางพาราได้ และในฐานะผู้เชี่ยวชาญ
ตนและคณะยินดีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเสร็จสิ้นการแถลงข่าวทั้งหมดจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป